โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระบรมราชานุญาตและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระบรมราชานุญาตและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

พระบรมราชานุญาต vs. ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

มเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งแคนาดาพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เป็นกฎหมายในสภาสูงแห่งแคนาดาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1939 การพระราชทาน พระบรมราชานุญาต (Royal assent) เป็นวิธีการที่พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญทรงรับรองให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติของรัฐสภาอย่างเป็นทางการ สิทธิในการไม่ทรงยอมมอบพระบรมราชานุญาตเป็นสิทธิที่ใช้กันบ่อยในอดีตแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาก็เกือบไม่มีการใช้สิทธินี้แล้ว สิทธิยับยั้งพระบรมราชานุญาตเป็นสิทธิส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสิทธิที่แปลงไปใช้ในระบบการปกครองของสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่าการยับยั้งของประธานาธิบดี (Presidential veto) การพระราชทาน “พระบรมราชานุญาต” บางครั้งก็เป็นการกระทำอย่างมีพิธีรีตอง ในสหราชอาณาจักรพระมหากษัตริย์อาจจะทรงแต่งตั้ง “Lords Commissioners” ให้เป็นผู้ประกาศอ่านพระบรมราชานุมัติในพิธีที่ทำที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ พระราชวังบักกิงแฮม หรือที่ประทับอื่น แต่การพระราชทานพระบรมราชานุญาตสำหรับหนังสือตราตั้งจะเป็นพิธีที่เล็กกว่า ในประเทศอื่น ๆ รวมทั้งประเทศออสเตรเลียและประเทศแคนาดา ผู้สำเร็จราชการอาจจะเป็นผู้ลงนามในร่างพระราชบัญญัติ ในแต่ละกรณีรัฐสภาก็ต้องประกาศการอนุญาต ทั้งสองวิธี “Lords Commissioners” หรือผู้แทนพระองค์ก็อาจจะอ่านประกาศการอนุญาตแก่ทั้งสองสภาของรัฐสภาร่วมกัน หรืออาจจะเป็นการประกาศที่แยกกันในกรณีนั้นผู้อ่านประกาศการอนุญาตก็คือประธาน. ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระบรมราชานุญาตและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

พระบรมราชานุญาตและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระมหากษัตริย์

พระมหากษัตริย์

กษัตริย์ หรือ พระมหากษัตริย์ คือประมุขหรือผู้ปกครองสูงสุดของรัฐ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือในราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีน้อยมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็ก พระมหากษัตริย์เป็นได้ด้วยการสืบสันตติวงศ์หรือโดยการยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์พระองค์เดิมแล้วปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ การสืบสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์จะสืบทอดต่อกันมาโดยเชื้อพระวงศ์ เรียกว่าพระราชวงศ์ เมื่อสิ้นสุดการสืบทอดโดยเชื้อพระวงศ์ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะเป็นตันพระราชวงศ์ใหม่ หรือเป็นผู้สถาปนาพระราชวงศ์ พระมหากษัตริย์อาจมีคำเรียกแตกต่างกัน เช่น พระราชาธิบดี พระจักรพรรดิ พระราชา เจ้ามหาชีวิต เป็นต้น กษัตริย์ ในสังคมฮินดู ยังหมายถึงวรรณะที่ 2 จาก 4 วรรณะ คือวรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร.

พระบรมราชานุญาตและพระมหากษัตริย์ · พระมหากษัตริย์และราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระบรมราชานุญาตและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

พระบรมราชานุญาต มี 8 ความสัมพันธ์ขณะที่ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มี 36 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.27% = 1 / (8 + 36)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระบรมราชานุญาตและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »