โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปีช้างและอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปีช้างและอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ

ปีช้าง vs. อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ

ปีช้าง คือปีที่กองทัพช้างที่นำโดย อับรอหะหฺ อัลอัชรอม อุปราชแห่งฮะบะชะหฺ (อบิสสิเนีย หรือเอธิโอเปียปัจจุบัน) หมายโจมตีมักกะหฺ อับรอหะหฺนับถือศาสนาคริสต์ พวกเขาได้สร้างโบสถ์คริสเตียนที่ใหญ่โตในเมืองศอนอาอฺ (ซานา) ในยะมัน (เยเมน) เพื่อให้เป็นที่แสวงบุญของชาวคริสเตียนในอาระเบียและแอฟริกา และเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการค้าขายแห่งใหม่ในภูมิภาค เมื่อพวกเขาเห็นว่า กะอฺบะหฺในมักกะหฺเป็นอุปสรรคต่อการเผยแพร่ศาสนาคริสเตียนและการดึงดูดผู้คนไปศอนอาอฺ ก็คิดทำลายกะอฺบะหฺ ด้วยเหตุนี้จึงกรีฑาทัพช้างมุ่งหน้าสู่พระมหานครมักกะหฺ ในปี ค.ศ. 570 ซึ่งเป็นปีเดียวกันที่นบีมุฮัมมัด(ศ)ประสูติ เมื่อมาถึงชานเมืองมักกะหฺ กองทัพของอับรอหะหฺก็ปล้นฝูงอูฐของอับดุลมุฏฏอลิบ ปู่ของนบีมุฮัมมัด ไป 700 ตัว แล้วส่งทูตเข้ามาพบกับอับดุลมุฏฏอลิบ ผู้เป็นหัวหน้าชาวเมืองมักกะหฺ เพื่อบอกจุดประสงค์ของการยกทัพมาครั้งนี้ว่า มาเพื่อถล่มทำลายกะอฺบะหฺ อับดุลมุฏฏอลิบจึงขอเจรจากับอับรอหะหฺเป็นการส่วนตัว เมื่ออับดุลมุฏฏอลิบเข้าพบอับรอหะหฺ เขาก็ขอร้องให้อับรอหะหฺคืนอูฐที่ทหารปล้นไป อับรอหะหฺจึงแปลกใจเหตุใดจึงไม่ได้ขอร้องเรื่องกะอฺบะหฺ อับดุลมุฏฏอลิบกล่าวว่า "อูฐเป็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงมาทวง ทว่ากะอฺบะหฺเป็นของอัลลอหฺ จึงเป็นหน้าที่ของพระองค์ที่จะพิทักษ์ หรือจะปล่อยให้ชะตาของมันอยู่ในมือของท่าน" อับรอหะหฺรู้สึกแปลกใจในคำตอบนั้น จึงคืนอูฐทั้งหมดให้อับดุลมุฏฏอลิบ เมื่ออับดุลมุฏฏอลิบกลับไป ก็ป่าวประกาศให้ชาวมักกะหฺหลบหนีออกจากพระมหานคร ไปซ่อนตัวตามภูเขาต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ไพร่พลของอับรอหะหฺทำร้าย เมื่อทัพอับรอหะหฺเข้ามาถึงมักกะหฺ ก็ปรากฏมีฝูงนกบินว่อนเหนือพระมหานครจนมืดฟ้ามัวดิน แล้วนกแต่ละตัวก็ทิ้งก้อนหินลงมา จนทำให้ไพร่พลของอับรอหะหฺล้มตายเป็นอันมาก อับร่อฮะหฺเองจึงหนีกลับไปศอนอาอ์ แต่ก็มีนกตัวหนึ่งบินตามเขาไปตลอดทาง เมื่ออับรอหะหฺเข้าพบกษัตริย์แห่งฮะบะชะหฺก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง กษัตริย์ถามว่า นกอะไรหรือที่ทำปาฏิหาริย์เช่นนั้น อับรอหะหฺจึงเงยหน้าขึ้นชี้นกที่ติดตามเขามาตลอดทาง นกตัวนั้นก็ทิ้งก้อนหินตกลงมาบนศีรษะของเขา อับรอหะหฺก็สิ้นชีพในบัดดล ไม่ใช่ปกติวิสัยที่ชาวอาหรับจะได้เห็นช้างหรือกองทัพช้าง จึงเรียกกองทัพของอับรอหะหฺว่า ”อัศฮาบ อัลฟีล” (บรรดาเจ้าของช้าง) และจดจำเหตุการณ์ปีนั้นได้อย่างแม่นยำ และเรียกปีนั้นว่า ”อาม อัลฟีล” (ปีช้าง) ตั้งแต่นั้นมามีการนับศักราชโดยเริ่มจากปีช้าง เช่นมุฮัมมัดเกิดในปีช้าง เป็นต้น อัลกุรอานได้กล่าวถึงเรื่องกองทัพช้างในซูเราะหฺที่ 105 เหตุการณ์กองทัพช้างยังอยู่ในความทรงจำของชาวมักกะหฺตลอดมา เมื่อโองการนี้ประทานลงมา ชาวมักกะหฺจึงรำลึกถึงปาฏิหาริย์ ที่เคยปรากฏในอดีตเมื่อสี่สิบกว่าปีที่แล้ว และไม่สามารถปฏิเสธต่อการอารักขาของอัลลอหฺต่อกะอฺบะหฺอันศักดิ์สิทธิ์นั้น เหตุการณ์ดังกล่าวยังชี้ให้เห็นถึงความศรัทธามั่นของอับดุลมุฏฏอลิบที่มีต่ออัลลอหฺ อันเป็นหลักฐานหนึ่งที่บ่งบอกว่า อับดุลมุฏฏอลิบ บิดาของอับดุลลอหฺ ผู้ซึ่งเป็นบิดาของมุฮัมมัด และบิดาของ อะบูฏอลิบ ผู้ซึ่งเป็นบิดาของอะลีย์ เป็นผู้ที่ยึดมั่นในศาสนาของอิบรอฮีมและอิสมาอีล เขาได้กล่าวในบทกวีว่า หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ศาสนาอิสลาม. อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ (علي بن أﺑﻲ طالب; ʿAlī ibn Abī Ṭālib) เป็นบุตรเขยของศาสนทูตมุฮัมมัด อิมามที่ 1 ตามทัศนะชีอะฮ์ อย่างไรก็ตามทัศนะของมัซฮับซุนนี อิมามอะลีเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่ 4 และศูฟีย์เกือบทุกสายถือว่าเป็นปฐมาจารย์ ต่างก็ยกย่อง อะลี ว่าเป็นสาวกผู้ทรงธรรมและเป็นปราชญ์ผู้ประเสริฐเล.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปีช้างและอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ

ปีช้างและอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กะอ์บะฮ์มักกะฮ์มุฮัมมัดอะบูฏอลิบ

กะอ์บะฮ์

กะอ์บะฮ์ กะอ์บะฮ์ หรือ กะอ์บะห์ เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า ลูกบาศก์ กะอ์บะฮ์ตั้งอยู่ในใจกลางมัสยิดฮะรอม ในนครมักกะฮ์ เป็น กิบลัต (ชุมทิศ, จุดหมายในการผินหน้าไป) ของมุสลิมยามนมาซ และเป็นสถานที่ฏอวาฟ (เวียนรอบ) ในการประกอบพิธีอุมเราะฮ์และฮัจญ์ มีคำบันทึกบอกเล่าว่า อาคารหลังนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยนบีอาดัมมนุษย์คนแรกเพื่อใช้เป็นสถานที่เคารพสักการะอัลลอฮ์ในโลก แต่หลังจากนั้นก็พังทลายลงเมื่อเกิดเหตุการณ์ อุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ จนน้ำท่วมโลกในสมัยศาสดานูฮฺ คัมภีร์อัลกุรอาน (2:127 และ 22:26-27) ระบุว่า กะอ์บะฮ์ได้ถูกสร้างขึ้นโดยนบีอิบรอฮีมและอิสมาอีล บุตรชายของท่านตามคำบัญชาของอัลลอฮ์ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการเคารพสักการะพระองค์ หลังจากนั้นอัลลอฮ์ก็ได้บัญชานบีอิบรอฮีมให้เรียกร้องเชิญชวนผู้คนให้มาเคารพสักการะพระองค์ ณ ที่บ้านหลังนี้ นับตั้งแต่นั้นมา ผู้คนที่ศรัทธาในอัลลอฮ์ตามคำเชิญชวนของนบีอิบรอฮีมจากทั่วสารทิศก็ได้ทยอยกันเดินทางมาสักการะอัลลอฮ์ต่อเนื่องกันมาโดยมิได้ขาด เนื่องจากกะอ์บะฮ์เป็นบ้านแห่งแรกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่สำหรับการเคารพสักการะอัลลอฮ์ ดังนั้น กะอ์บะฮ์จึงได้รับการขนามว่า บัยตุลลอฮฺ บ้านแห่งอัลลอฮ์ หลังจากนบีอิบรอฮีมและอิสมาอีลเสียชีวิต ผู้คนในแผ่นดินอารเบียได้ละทิ้งคำสอนของท่านทั้งสอง และได้นำเอาเทวรูปต่าง ๆ มาเคารพสักการะแทนอัลลอฮ์ หรือไม่ก็ตั้งเทวรูปขึ้นเป็นพระเจ้าควบคู่ไปกับอัลลอฮ์ จนกระทั่งมีเทวรูปรอบกะอ์บะฮ์เป็นจำนวนมากมายถึงสามร้อยกว่ารูป ตั้งเรียงรายทั้งในและนอกกะอ์บะฮ์ แต่หลังจากที่นบีมุฮัมมัดได้เข้ายึดนครมักกะฮ์แล้ว ท่านก็ได้สั่งให้ทำลายเทวรูปทั้งหมดที่อยู่ข้างในและรอบกะอบะฮฺ ตั้งแต่นั้นมาแผ่นดินฮะรอมก็เป็นเขตปลอดเทวรูป ไม่มีการเคารพสักการะสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์แต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ในตอนที่ท่านมุฮัมมัดยังไม่ได้เป็นศาสดา ชาวนครมักกะฮ์ได้ร่วมแรงร่วมใจพากันซ่อมแซมกะอ์บะฮ์ที่สึกหรอเนื่องจากอุทกภัย แต่เนื่องจากทุนในการบูรณะอันเป็นทรัพย์สินที่บริสุทธิ์ที่เรี่ยไรมามีไม่เพียงพอ ชาวนครมักกะฮ์จึงสามารถซ่อมแซมได้ไม่เหมือนกับอาคารดั้งเดิม ปล่อยให้ส่วนที่เรียกว่า ฮิญรุ อิสมาอีล (ห้องและที่ฝังศพของท่านนบีอิสมาอีล) ว่างอยู่ เพียงแต่เอาหินก่อขึ้นเป็นกำแพงกั้นไว้ ในเวลาต่อมาท่านนบีมุฮัมมัดได้กล่าวว่า หากมิเพราะ ยุคญาหิลียะฮฺเพิ่งผ่านไปได้ไม่นาน ฉันก็คงจะต่อเติมกะอ์บะฮ์ให้เป็นเช่นแบบเดิม ในสมัยที่อับดุลลอฮฺ อิบนุซซุเบร หลานตาคอลีฟะฮฺ อะบูบักรฺ แข็งเมืองต่อ อับดุลมะลิก บินมัรวาน คอลีฟะฮฺ (กษัตริย์) ซีเรีย ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองมักกะฮ์ งานชิ้นหนึ่งที่ท่านทำก็คือการบูรณะต่อเติมผนังกะอ์บะฮ์ออกไปสองด้านจนถึงกำแพง ฮิจญ์รุ อิสมาอีล ให้อาคารกะอ์บะฮ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทว่าเมื่ออับดุลลอฮฺแพ้ศึกและถูกสังหาร พวกทหารซีเรียก็เผาและถล่มทำลายกะอ์บะฮ์ที่อับดุลลอฮฺทำไว้ แล้วให้สร้างขึ้นมาใหม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเหมือนเดิมอีกครั้ง กะอฺบะหที่มีอยู่ในวันนี้ เป็นอาคารที่ถูกสร้างขึ้นด้วยหินธรรมชาติ ตัวอาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมีความกว้างยาวด้านละประมาณ 40 ฟุต และสูงประมาณ 50 ฟุต ผนังทั้งสี่ไม่มีหน้าต่าง มีแต่เพียงประตูด้านเดียว ข้างในว่างเปล่า ตรงมุมด้านหนึ่งของตัวอาคารเป็นที่ตั้งของ หินดำ (อัลฮะญัร อัลอัสวัด) ซึ่งในอดีตเป็นพลอยสีดำเม็ดใหญ่ แต่ต่อมาที่ได้แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แต่ก็ยังตั้งอยู่ที่มุมข้างประตู ปกปิดด้วยแก้วและครอบทับด้วยเงิน ประตูของกะอ์บะฮ์ที่เปลี่ยนเมื่อเวลา 20 ปีมานี้ ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์ มุมที่ติดตั้งพลอยสีดำนี้ใช้เป็นจุดเริ่มต้นและจุดครบรอบของการเวียนรอบกะอ์บะฮ์ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่จำเป็นอย่างหนึ่งของการประกอบพิธีอุมเราะฮฺและฮัจญ์ ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รัฐบาลผู้ปกครองมหานครมักกะฮ์จะมีหน้าที่เป็นผู้ดูแลกะอ์บะฮ์และจัดเตรียมความสะดวกให้แก่ผู้ที่มาทำฮัจญ์ สิ่งที่ต้องทำทุกปีคือการเปลี่ยนมุ้งกะอ์บะฮ์ ในซาอุดีอาระเบียจะมีโรงงานทอมุ้งนี้โดยเฉพาะ โดยจะมีช่างผู้มีฝีมือจากต่างประเทศมาทำมุ้งนี้โดยเฉพาะ มุ้งกะอ์บะฮ์นี้ทอด้วยด้ายไหมสีดำ แล้วประดับด้วยการปักดิ้นทองเป็นตัวอักษรภาษาอาหรับวิจิตรงดงาม ตัวอักษรที่เขียนคือโองการจากอัลกุรอานและพระนามของอัลลอฮ์ เมื่อถึงเทศกาลฮัจญ์จะมีการเปลี่ยนมุ้งใหม่และยกขอบมุ้งขึ้นจนจนเห็นฝาผนังทั้งสี่ด้าน เนื่องจากมุ้งนี้มีสีดำ จึงทำให้คนเข้าใจว่าหินดำคือตัวกะอ์บะฮ์ แต่ความจริงแล้วหินดำคือพลอยสีดำที่ประดิษฐานอยู่ที่มุมกะอ์บะฮ์ต่างหาก อีกอย่างกะอ์บะฮ์เป็นชุมทิศ เวลานมาซจะมีการหันไปทางกะอ์บะฮ์นี้ จึงทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ากะอ์บะฮ์คือหินดำศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวมุสลิมเคารพบูชา ซึ่งความจริงแล้ว กะอ์บะฮ์เป็นเพียงจุดศูนย์รวมและจุดศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของมุสลิมทั่วโลกเท่านั้น.

กะอ์บะฮ์และปีช้าง · กะอ์บะฮ์และอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ · ดูเพิ่มเติม »

มักกะฮ์

มักกะฮ์ มีชื่อเต็มว่า มักกะตุลมุกัรเราะมะฮ์ (مكة المكرمة) นอกจากนี้ยังมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น อุมมุลกุรอ (มารดาบ้านเมือง) และบักกะฮ์ เป็นเมืองตั้งอยู่ที่พิกัด ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ห่างจากเมืองท่าญิดดะฮ์ 73 กิโลเมตร อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 277 เมตร ห่างจากทะเลแดง 80 กิโลเมตร มักกะฮ์เป็นพระนครชุมทิศของโลกอิสลาม เป็นสถานที่ตั้งของกะอ์บะฮ์ มักกะฮ์ หมวดหมู่:ศาสนสถานอิสลาม หมวดหมู่:เมืองศักดิ์สิทธิ์.

ปีช้างและมักกะฮ์ · มักกะฮ์และอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด

นบีมุฮัมมัด หรือ มุหัมมัด หรือ พระมะหะหมัด (محمد แปลว่า ผู้ได้รับการสรรเสริญ) เป็นนบีคนสุดท้ายของศาสนาอิสลาม ที่อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้ง ท่านมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น มุสตอฟา, ฏอฮา, ยาซีน และ อะฮฺมั.

ปีช้างและมุฮัมมัด · มุฮัมมัดและอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ · ดูเพิ่มเติม »

อะบูฏอลิบ

อะบูฏอลิบ บิน อับดิลมุฏฏอลิบ เป็นพี่ชายของ อับดุลลอหฺ บิดาของศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เป็นศาสดาของอิสลาม และเป็นบิดาของ อะลีย์ ผู้เป็นอิมามคนแรกของอิสลามชีอะหฺ และคอลีฟะหฺคนที่ 4 ของอิสลามซุนนี อะบูฏอลิบ รับศาสนทูตมุฮัมมัด มาเลี้ยงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ อะบูฏอลิบ มีภรรยาชื่อ ฟาฏิมะหฺ บินตุ อะสัด มีบุตรธิดา 6 คนคือ 1.

ปีช้างและอะบูฏอลิบ · อะบูฏอลิบและอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปีช้างและอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ

ปีช้าง มี 12 ความสัมพันธ์ขณะที่ อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ มี 12 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 16.67% = 4 / (12 + 12)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปีช้างและอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »