โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปาณินิ

ดัชนี ปาณินิ

ปาณินิ (Pāṇini; पाणिनि) เป็นนักไวยากรณ์ชาวอินเดียสมัยโบราณ ตามตำนานระบุว่ามีชีวิตในช่วง 520 - 460 ปีก่อนคริสตกาล แต่มีการศึกษาพบว่ามีชิวิตอยู่ประมาณช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล อาศัยอยู่ในเมืองคันธาระ และนับว่ามีชื่อเสียงมากที่สุดในฐานะนักไวยากรณ์ภาษาสันสกฤต โดยเฉพาะการวางสูตรถึง 3,959 สูตร หรือหลัก ในด้านสัณฐานวิทยา (Morphology) โดยมีชื่อเรียกว่า อัษฏาธยายี ซึ่งหมายถึงคัมภีร์ 8 บท นั่นเอง แต่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "ไวยากรณ์ของปาณินิ" ไวยากรณ์ของปาณินิชิ้นนี้ นับเป็นจุดสิ้นสุดของภาษาสันสกฤตยุคพระเวท โดยการนำไปสู่ภาษาสันสกฤตแบบแผน (Classical Sanskrit) หมวดหมู่:ชาวอินเดีย หมวดหมู่:ภาษาสันสกฤต.

4 ความสัมพันธ์: ภาษาพระเวทภาษาสันสกฤตอัษฏาธยายีประเทศอินเดีย

ภาษาพระเวท

ษาพระเวท (Vedic Sanskrit) เป็นคำที่ใช้เรียกภาษาของชาวอารยันในยุคเริ่มแรก (ก่อนพ.ศ. 43) ซึ่งเป็นภาษาที่ชาวอารยันใช้เขียนคัมภีร์พระเวทและเป็นต้นตระกูลของภาษาอื่นๆในอินเดีย กล่าวคือเมื่อชาวอารยันติดต่อกับสมาคมกับชาวพื้นเมืองเดิมในอินเดียทำให้เกิดการปะปนกันของภาษาจนวิวัฒนาการเป็นภาษาปรากฤต เช่น ภาษามคธี ภาษาอรรธมคธี ภาษาเศารเสนี ภาษามหาราษฏระ ในยุคนี้เอง นักปราชญ์ชาวอารยันที่ยังใช้ภาษาพระเวทอยู่นั้นเห็นว่า หากปล่อยไว้ภาษาของตนจะปะปนกับภาษาอื่นจนเสียความบริสุทธิ์ของภาษาไป จึงมีการจัดระเบียบภาษาพระเวทขึ้นใหม่โดยวางกฎเกณฑ์ให้เป็นระบบ ตำราไวยากรณ์ที่มีชื่อเสียงคืออัษฏาธยายีของปาณินิ ภาษาที่จัดระเบียบแล้วนี้เรียกภาษาสันสกฤต ส่วนภาษาปรากฤตทั้งหลายนั้นได้วิวัฒนาการมาเป็นภาษาที่ใช้ในอินเดียปัจจุบัน เช่น ภาษาฮินดี ภาษามราฐี ภาษาคุชราต ภาษาเบงกาลี ภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู ภาษาพาชตู ภาษาสิงหล เป็นต้น.

ใหม่!!: ปาณินิและภาษาพระเวท · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: ปาณินิและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

อัษฏาธยายี

อัษฏาธยายี (หมายถึง "คัมภีร์ 8 บท") เป็นหลักไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยทราบ และนับเป็นงานที่เก่าแก่ที่รู้เท่าที่เคยรู้จักกันมา ในด้านภาษาศาสตร์พรรณนา ภาษาศาสตร์ทั่วไป และอาจรวมถึงภาษาศาสตร์โดยรวมด้วย ผลงานชิ้นนี้รจนาขึ้นในราว 400 ปีก่อนคริสตกาล โดยนักไวยากรณ์ชาวคันธาระ ชื่อว่า ปาณินิ โดยได้บรรยายถึงไวยากรณ์ของภาษาสันสกฤตแบบแผนอย่างสมบูรณ์ และยังกล่าวถึงข้อยกเว้นอันเป็นลักษณะในภาษาสันสกฤตก่อนยุคแบบแผน (ภาษาสันสกฤตยุคพระเวท) ไว้หลายลักษณะด้วย ผลงานของปาณินินับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง และประสบความสำเร็จในการบรรยายไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตอย่างดี แม้นักไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตในชั้นหลัง ก็นิยมใช้หลักของปาณินิ งานชิ้นนี้ยังคงมีการนำมาใช้ หรืออ้างอิง ในการสอนภาษาสันสกฤตแม้ในปัจจุบัน ไวยากรณ์ของปาณินิมีด้วยกันหลายภาค โดยมีหลักทางสัณฐานวิทยา ในทางภาษาศาสตร์ ดังนี้.

ใหม่!!: ปาณินิและอัษฏาธยายี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ปาณินิและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »