โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปากคลองตลาด

ดัชนี ปากคลองตลาด

ตลาดดอกไม้ ปากคลองตลาด (Pak Khlong Talat) เป็นตลาดสดขนาดใหญ่ บริเวณถนนจักรเพชร ยาวจนไปถึงถนนมหาราช ตั้งโอบล้อมวัดราชบูรณะ โรงเรียนราชินีและโรงเรียนสวนกุหลาบ ประกอบไปด้วยตลาดใหญ่ถึง 4 แห่งตั้งติด ๆ กัน ปัจจุบันเน้นขายสินค้าเกษตรกรรมที่เน้นการค้าส่งผัก ผลไม้และดอกไม้สด ปากคลองตลาดติดอันดับที่ 4 (จากการจัดอันดับ 1 ใน 10 ของตลาดดอกไม้ทั่วโลก) ยังเป็นตลาดกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกอีกด้ว.

19 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกรุงเทพมหานครวัดบุรณศิริมาตยารามวัดราชบุรณราชวรวิหารสะพานพระพุทธยอดฟ้าสถานีหัวลำโพงสนุก.คอมห้องแถวองค์การตลาดถนนจักรวรรดิ์ถนนจักรเพชรตลาดตลาดนัดแม่น้ำท่าจีนแม่น้ำเจ้าพระยาโรงเรียนราชินีโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเขตพระนคร

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: ปากคลองตลาดและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: ปากคลองตลาดและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ปากคลองตลาดและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

วัดบุรณศิริมาตยาราม

วัดบุรณศิริมาตยาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่บนถนนอัษฎางค์ แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างโดยเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ว่า กรมหมื่นเสนีเทพ (พระองค์เจ้าอสุนี) พระโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เป็นผู้สร้างวัดขึ้นแต่ยังค้างอยู่ จนกระทั่งพระยามหาอำมาตย์ (ต่อมาคือ เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (บุญศรี ต้นสกุล บุรณศิริ)) ดำเนินการสร้างต่อจนเสร็จ ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดศิริอำมาตยาราม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อวัดมาเป็น วัดบุรณศิริมาตยาราม เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม..

ใหม่!!: ปากคลองตลาดและวัดบุรณศิริมาตยาราม · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชบุรณราชวรวิหาร

วัดราชบุรณราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ "วัดเลียบ" เชื่อกันว่าพ่อค้าชาวจีนนาม "เลี้ยบ" เป็นผู้สร้างถวาย ตั้งอยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วัดนี้เป็นวัดหนึ่งตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐาน พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบ เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานนามว่า "วัดราชบุรณะ" ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากวัดตั้งอยู่ใกล้เคียงกับสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ คือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า และ โรงไฟฟ้าวัดเลียบ สถานที่สำคัญ ๆ ของวัด รวมทั้งพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือขรัวอินโข่ง จึงถูกระเบิดทำลายจนหมด ปัจจุบันวัดราชบุรณะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหม.

ใหม่!!: ปากคลองตลาดและวัดราชบุรณราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระพุทธยอดฟ้า

มุมสูงของสะพานพระพุทธยอดฟ้าและสะพานพระปกเกล้า สะพานพระพุทธยอดฟ้า หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (Phra Phuttha Yodfa Bridge, Memorial Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เชื่อมการคมนาคมติดต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร ที่ปลายถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กับปลายถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท.

ใหม่!!: ปากคลองตลาดและสะพานพระพุทธยอดฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

สถานีหัวลำโพง

นีหัวลำโพง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ปากคลองตลาดและสถานีหัวลำโพง · ดูเพิ่มเติม »

สนุก.คอม

นุก.คอม (Sanook.com ตราสัญลักษณ์สะกดว่า Sanook!) เป็นเว็บท่าที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ของประเทศไทยมาโดยตลอดนับตั้งแต่เริ่มดำเนินการ เว็บไซต์ สนุก.คอม ก่อตั้งโดย ปรเมศวร์ มินศิริ เมื่อปี..

ใหม่!!: ปากคลองตลาดและสนุก.คอม · ดูเพิ่มเติม »

ห้องแถว

ตึกแถว ย่านบางรัก ห้องแถว หรือ ตึกแถว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า อาคารพาณิชย์ (shophouse) เป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทหนึ่งของทั้งคนพื้นเมืองและคนเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเอกลักษณ์ผสมผสานที่สื่อให้เห็นที่ศูนย์กลางประวัติศาสตร์ของเมืองส่วนมากและเมืองในท้องถิ่นนั้น ห้องแถวเป็นที่อยู่อาศัยและทำการค้า ประกอบธุรกิจขนาดย่อม ที่เป็นการขายปลีกเป็นส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในชุมชนที่หนาแน่น ในแหล่งธุรกิจกลางเมืองและชุมชนรอบเมือง โดยชั้นล่างจะแบ่งเป็นร้านค้าย่อย ชั้นสองเป็นที่อยู่อาศัย ในกรณีสูงกว่านั้นอาจทำเป็นที่เก็บสินค้าชั่วคราว มักมีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิวัฒนาการมาจากห้องแถวไม้และห้องแถวก่ออิฐถือปูน ในกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2526) วิเคราะห์ศัพท์ ห้องแถว คือ อาคารที่พักอาศัย หรืออาคารพาณิชย์ ซึ่งปลูกสร้างติดต่อกันเป็นแถวเกินสองห้อง และประกอบด้วยวัตถุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่ ส่วน ตึกแถว จะประกอบด้วยวัสดุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี..

ใหม่!!: ปากคลองตลาดและห้องแถว · ดูเพิ่มเติม »

องค์การตลาด

องค์การตลาด (Marketing Organization) เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2496 เพื่อดำเนินการจัดระเบียบการค้าของพ่อค้าแม่ค้าบริเวณข้างวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และพัฒนาต่อเนื่องจนเป็นตลาดปากคลองตลาด ปัจจุบันมีตลาดสาขาอยู่ในจังหวัดลำพูน ฉะเชิงเทรา ลพบุรี และกรุงเทพมหานคร รวมจำนวนทั้งสิ้น 5 แห่ง.

ใหม่!!: ปากคลองตลาดและองค์การตลาด · ดูเพิ่มเติม »

ถนนจักรวรรดิ์

นนจักรวรรดิ์ช่วงแยกวัดตึก ถนนจักรวรรดิ์ (Thanon Chakkrawat) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เริ่มจากถนนเจริญกรุงที่สี่แยกเอส. เอ. บี. (ตรงข้ามถนนวรจักรในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ จากนั้นตัดผ่านถนนเยาวราชที่สี่แยกวัดตึก เข้าสู่ท้องที่แขวงจักรวรรดิ สิ้นสุดที่ถนนจักรเพชร สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2436 เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองและเป็นประโยชน์แก่ราษฎร จะได้ใช้เดินทางไปมาค้าขายและใช้รถม้าได้โดยสะดวก และพระราชทานชื่อถนนตามชื่อวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร (วัดสามปลื้ม) ซึ่งถนนนี้ตัดผ่าน ปรากฏในเอกสารการก่อสร้างถนนจักรวรรดิ์ว่า แต่เดิมนั้นกำหนดให้ตัดถนนจักรวรรดิ์ไปจดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของพระยาอนุชิตชาญไชย แต่ครั้งแรกพระอนุชิตชาญไชยไม่เต็มใจ และได้กราบบังคมทูลไม่ตกลงใจเด็ดขาด โดยขออย่าให้ถนนตัดผ่านบ้านเรือนที่อยู่อาศัย กระทรวงนครบาลจึงแก้ไขแนวถนน ให้ตัดผ่านบ้านของหลวงไมตรีวานิชและบ้านของพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง ซึ่งทำให้แนวถนนต้องอ้อมมาก ต่อมาพระยาอนุชิตชาญไชยได้กราบบังคมทูลว่า ยินดีให้ตัดถนนผ่านที่ดินได้ แต่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์กราบบังคมทูลว่า การแก้แนวถนนจักรวรรดิ์ให้ไปลงในที่ดินของพระอินทราธิบดีนั้น เจ้าของเต็มใจออกเงินค่าทำถนน และยังซื้อที่ดินผู้อื่นที่ถนนต้องตัดผ่านทั้งหมดถวายด้วย รัฐบาลไม่ต้องเสียเงินค่าทำถนนอีก นอกจากนี้ กรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์ทรงไม่แน่พระทัยว่า พระยาอนุชิตชาญไชยซึ่งไม่เต็มใจแต่แรกนั้นจะยอมเสียเงินค่าทำถนนด้วยหรือไม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า ให้สร้างถนนจักรวรรดิ์ตามแนวที่แก้ไขใหม่ เพราะเป็นทางที่รัฐบาลได้ประโยชน์ แนวถนนจักรวรรดิ์จึงไปสุดริมแม่น้ำเจ้าพระยาในที่ดินที่เป็นที่ตั้งบ้านเรือนของพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง.

ใหม่!!: ปากคลองตลาดและถนนจักรวรรดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนจักรเพชร

นนจักรเพชร (Thanon Chak Phet) เป็นถนนในท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มจากถนนเยาวราชตรงข้ามกับถนนมหาไชย ตามแนวขนานคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) แยกเลี้ยวตรงไปปากคลองตลาด ช่วงหัวเลี้ยวเป็นเชิงสะพานพระปกเกล้า ตัดผ่านถนนตรีเพชร ผ่านปลายถนนบ้านหม้อถึงเชิงสะพานเจริญรัช 31 มีความยาวทั้งสิ้น 1,120 เมตร ถนนจักรเพชรสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2441 โปรดเกล้าฯ ให้กรมโยธาธิการก่อสร้างถนนมีทางเดินสองข้างจากป้อมจักรเพชร หน้าวัดราชบุรณราชวรวิหาร (วัดเลียบ) ไปถึงปากคลองตลาด ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนต่ออีกช่วงหนึ่ง จากถนนเยาวราชมาตามแนวถนนกับกำแพงพระนครจนถึงป้อมจักรเพชร แล้วพระราชทานชื่อว่า "ถนนจักรเพชร" ตามชื่อป้อมจักรเพชรที่ถนนสายนี้ตัดผ่าน ทั้งนี้บริเวณรอบ ๆ ถนนจักรเพชรยังมีสิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีความเก่าแก่สวยงามหลายแห่ง เช่น พระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ เชิงสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ หรือสะพานพุทธ, อาคารพาณิชย์ตามแนวปากคลองตลาด เป็นต้น.

ใหม่!!: ปากคลองตลาดและถนนจักรเพชร · ดูเพิ่มเติม »

ตลาด

ตลาดสดในสิงคโปร์ ตลาด เป็นการชุมนุมกันทางสังคม แลกเปลี่ยนสินค้ากัน ในภาษาทั่วไป ตลาดหมายความรวมถึงสถานที่ที่มนุษย์มาชุมนุมกันเพื่อค้าขาย ในทางเศรษฐศาสตร์ ตลาดหมายถึงการแลกเปลี่ยนซื้อขาย โดยไม่มีความหมายของสถานที่ทางกายภาพ การค้าขายของไทยสมัยก่อนนั้น เน้นทางน้ำเป็นหลัก เพราะการคมนาคมทางน้ำเป็นการคมนาคมหลักของคนไทย ซึ่งอาจจะเห็นได้จากการมีตลาดน้ำต่าง ๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้าและบริการตามความถนัดของแต่ละครอบครัว เป็นแหล่งรายได้ที่สุจริตของแต่ละครอบครัว เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในชุมชนรวมถึงจากภายนอกเข้าสู่ชุมชนด้วย และยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในระดับชุมชน รวมถึงการช่วยธำรงรักษาวัฒนธรรมประเพณีในชุมชน ในกรณีของชุมชนที่มีวัฒนธรรมความเป็นมา จากการที่กลุ่มคนในชุมชนมีการสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีด้วยกัน คำว่า "ตลาด" สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "ยี่สาร" ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า "บาซาร์" ในภาษาเปอร์เซีย ซึ่งแปลว่า "ตลาด" ตามชาวเปอร์เซียเริ่มเข้ามาในประเทศไทยสมัยพระเจ้าปราสาททอง.

ใหม่!!: ปากคลองตลาดและตลาด · ดูเพิ่มเติม »

ตลาดนัด

ตลาดนัดแห่งหนึ่งในอินเดีย ตลาดนัด คือตลาด ที่มีการกำหนดวันเปิดซื้อขายเป็นบางวันหรือบางเวลา ปกติแล้วจะมีลักษณะเป็นตลาดสดซึ่งขายอาหารสดเป็นหลัก ในวันที่มีตลาดนัดจะมีผู้คนคึกคักทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย สินค้าอาจวางขายกับพื้นหรือวางบนโต๊ะหรือแผงที่สร้างขึ้นอย่างหยาบๆ นอกจากนี้ยังอาจมีรถกระบะวางขายสินค้าเบ็ดเตล็ดจำพวกของใช้ในครัวมาวางขายด้วย มักมีการขายอาหารปรุงเสร็จและขนมสำหรับผู้จับจ่ายซื้อขายในตลาดนัดด้วย ตลาดนัดอาจจัดในสถานที่ที่แน่นอน หรือเปลี่ยนสถานที่ก็ได้ ความแตกต่างของตลาดนัดและตลาดสดก็คือ ตลาดสดนั้นเป็นตลาดที่มีสินค้าวางขายทุกวัน (อาจเว้นบางวันตามกำหนด) แต่ตลาดนัดมีกำหนดซื้อขายเพียงไม่กี่วันต่อสัปดาห์ หากเปิดขายเป็นประจำทุกวันก็จะไม่เรียกว่าตลาดนัด นอกจากนี้ตลาดนัดยังอาจขายสินค้าที่หลากหลาย ไม่จำเป็นต้องขายอาหารสดเพียงอย่างเดียว เช่น เสื้อผ้า แผงหนังสือ เป็นต้น ปัจจุบันมีการเปิดตลาดนัดกว้างขวางขึ้น และมีการใช้คำว่าตลาดนัดสำหรับสินค้าอื่นๆ นอกเหนือจากอาหารสด เช่น ตลาดนัดรถยนต์ ตลาดนัด ฯลฯ.

ใหม่!!: ปากคลองตลาดและตลาดนัด · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำท่าจีน

แม่น้ำท่าจีน เป็นแม่น้ำที่แยกตัวออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ตำบลท่าซุงบริเวณปากคลองมะขามเฒ่า จึงเรียกแม่น้ำนั้นว่า คลองมะขามเฒ่า และมาหักเลี้ยวเป็นแยกแม่น้ำที่ไหลไปเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาได้อีกที ตรงที่เป็นพื้นที่ปากคลอง ตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท กับ ฝั่งตะวันตกที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านจังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะไหลออกสู่อ่าวไทยที่ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 325 กิโลเมตร แม่น้ำท่าจีนมีชื่อเรียกหลายชื่อ ตอนที่ไหลผ่านจังหวัดชัยนาทเรียกว่า "แม่น้ำมะขามเฒ่า" ตอนที่ผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี เรียกว่า "แม่น้ำสุพรรณบุรี" ตอนที่ผ่านจังหวัดนครปฐมเรียกว่า "แม่น้ำนครชัยศรี" ส่วนตอนที่ไหลผ่านจังหวัดสมุทรสาครและไหลลงสู่อ่าวไทยเรียกว่า "แม่น้ำท่าจีน".

ใหม่!!: ปากคลองตลาดและแม่น้ำท่าจีน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: ปากคลองตลาดและแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนราชินี

รงเรียนราชินี เป็นโรงเรียนเก่าแก่แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่เลขที่ 444 ถนนมหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ผู้ทรงให้กำเนิดโรงเรียนคือ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2447 ณ ตึกแถวมุมถนนอัษฎางค์และถนนจักรเพชร ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ตึกริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ปากคลองตลาด และมีการเปิดรับนักเรียนกินนอนขึ้นใน..

ใหม่!!: ปากคลองตลาดและโรงเรียนราชินี · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

รงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (อักษรย่อ: ส.ก./S.K.) เป็นโรงเรียนชายล้วนในระดับชั้น มัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งโดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 88 ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บนเนื้อที่ 11 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 7 หลัง ห้องเรียนทั้งหมด 78 ห้อง นอกจากนี้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยยังโดดเด่นในเรื่องคุณภาพมาตรฐานของศิษย์เก่าที่จบไปโดยเฉพาะด้านวิชาการ ภาษา และความเป็นผู้นำ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็น 1 ในกลุ่มโรงเรียนจตุรมิตรสามัคคี ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย มีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมของทั้ง 4 โรงเรียน โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพในทุกๆ 2 ปี นอกจากการแข่งขันฟุตบอล ยังมี การแปรอักษร ของทั้ง 4 โรงเรียน ซึ่งเป็นอีกสัญลักษณ์สำคัญของงาน โดยกีฬาจตุรมิตรสามัคคีจะจัดขึ้นในทุกๆ 4 ปี ที่ สนามศุภชลาศัย นอกจากนี้ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ยังมีงานกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ และงานชุมนุมลูกเสือสวนกุหลาบสัมพันธ์ ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับโรงเรียนใน เครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้.

ใหม่!!: ปากคลองตลาดและโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ปากคลองตลาดและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ย่านปากคลองตลาดตลาดปากคลองตลาดปากคลองตลาด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »