โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาเทวดาสกาแลร์และสัตว์มีแกนสันหลัง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลาเทวดาสกาแลร์และสัตว์มีแกนสันหลัง

ปลาเทวดาสกาแลร์ vs. สัตว์มีแกนสันหลัง

ปลาเทวดาสกาแลร์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาเทวดา (Angelfish, Freshwater angelfish, Lesser angelfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) เป็นปลาเทวดาชนิดที่รู้จักกันดีที่สุด เนื่องจากเป็นต้นสายพันธุ์ของปลาเทวดาทั้งหมดที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยปลาเทวดาสกาแลร์มีสีลำตัวเป็นสีเทาอมเขียวและมีประกายสีเงินเคลือบทับทั่วตัว ปลาที่พบในบางแหล่งจะมีจุดสีแดงเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณไหล่ บริเวณหลังจะเป็นสีน้ำตาลเขียวมะกอก เมื่อต้องแสงไฟหรือแสงแดดจะเห็นประกายสีน้ำตาลแดงแวววาว มีโครงสร้างลำตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบนข้างมากโดยส่วนยาวจากปลายปากถึงโคนหางจะยาวกว่าแนวตั้งของลำตัวเล็กน้อย แถวเกล็ดจากขอบเหงือกลากยาวไปจรดครีบหางมีทั้งสิ้น 33-38 เกล็ด ลายบนตัวจะเป็นเส้นคาดแนวตั้งใหญ่จำนวนสี่เส้นเห็นได้ชัดเจน และจะมีเส้นเล็ก ๆ ที่สั้นและจางกว่าคั่นแต่ละเส้นใหญ่นั้นอีกรวม 3 เส้น เส้นทุกเส้นจะเป็นสีดำหรือเทาแก่ เส้นที่ดำและเข้มสุดจะเป็นเส้นคาดเอว (เส้นที่ 5) ที่ลากจากยอดครีบบนลงมาจรดปลายครีบล่าง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 นิ้ว พบกระจายพันธุ์อยู่เป็นฝูง ตามแหล่งน้ำของแม่น้ำสายใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ อาทิ แม่น้ำอเมซอน, แม่น้ำโอริโนโค โดยเฉพาะในแหล่งน้ำที่มีพืชน้ำขึ้นหนาแน่น และสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ตั้งแต่ 6.0-7.5 ซึ่งน้ำจะมีสภาพความเป็นกรดเล็กน้อย ปลาเทวดาสกาแลร์ นับเป็นปลาเทวดาชนิดที่เป็นที่รู้จักและนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายที่สุด ซึ่งปัจจุบันได้มีการเพาะขยายพันธุ์ไปต่าง ๆ จนมีสีสันและลวดลายผิดแผกไปจากปลาดั้งเดิมในธรรมชาติมากมาย อาท. ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาเทวดาสกาแลร์และสัตว์มีแกนสันหลัง

ปลาเทวดาสกาแลร์และสัตว์มีแกนสันหลัง มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สัตว์

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ปลาเทวดาสกาแลร์และสัตว์ · สัตว์และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาเทวดาสกาแลร์และสัตว์มีแกนสันหลัง

ปลาเทวดาสกาแลร์ มี 26 ความสัมพันธ์ขณะที่ สัตว์มีแกนสันหลัง มี 22 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.08% = 1 / (26 + 22)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาเทวดาสกาแลร์และสัตว์มีแกนสันหลัง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »