โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาเทวดาสกาแลร์และวงศ์ย่อยปลาหมอสี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลาเทวดาสกาแลร์และวงศ์ย่อยปลาหมอสี

ปลาเทวดาสกาแลร์ vs. วงศ์ย่อยปลาหมอสี

ปลาเทวดาสกาแลร์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาเทวดา (Angelfish, Freshwater angelfish, Lesser angelfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) เป็นปลาเทวดาชนิดที่รู้จักกันดีที่สุด เนื่องจากเป็นต้นสายพันธุ์ของปลาเทวดาทั้งหมดที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยปลาเทวดาสกาแลร์มีสีลำตัวเป็นสีเทาอมเขียวและมีประกายสีเงินเคลือบทับทั่วตัว ปลาที่พบในบางแหล่งจะมีจุดสีแดงเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณไหล่ บริเวณหลังจะเป็นสีน้ำตาลเขียวมะกอก เมื่อต้องแสงไฟหรือแสงแดดจะเห็นประกายสีน้ำตาลแดงแวววาว มีโครงสร้างลำตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบนข้างมากโดยส่วนยาวจากปลายปากถึงโคนหางจะยาวกว่าแนวตั้งของลำตัวเล็กน้อย แถวเกล็ดจากขอบเหงือกลากยาวไปจรดครีบหางมีทั้งสิ้น 33-38 เกล็ด ลายบนตัวจะเป็นเส้นคาดแนวตั้งใหญ่จำนวนสี่เส้นเห็นได้ชัดเจน และจะมีเส้นเล็ก ๆ ที่สั้นและจางกว่าคั่นแต่ละเส้นใหญ่นั้นอีกรวม 3 เส้น เส้นทุกเส้นจะเป็นสีดำหรือเทาแก่ เส้นที่ดำและเข้มสุดจะเป็นเส้นคาดเอว (เส้นที่ 5) ที่ลากจากยอดครีบบนลงมาจรดปลายครีบล่าง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 นิ้ว พบกระจายพันธุ์อยู่เป็นฝูง ตามแหล่งน้ำของแม่น้ำสายใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ อาทิ แม่น้ำอเมซอน, แม่น้ำโอริโนโค โดยเฉพาะในแหล่งน้ำที่มีพืชน้ำขึ้นหนาแน่น และสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ตั้งแต่ 6.0-7.5 ซึ่งน้ำจะมีสภาพความเป็นกรดเล็กน้อย ปลาเทวดาสกาแลร์ นับเป็นปลาเทวดาชนิดที่เป็นที่รู้จักและนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายที่สุด ซึ่งปัจจุบันได้มีการเพาะขยายพันธุ์ไปต่าง ๆ จนมีสีสันและลวดลายผิดแผกไปจากปลาดั้งเดิมในธรรมชาติมากมาย อาท. วงศ์ย่อยปลาหมอสี เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlasomatinae ปลาที่ถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ย่อยนี้ เป็นปลาที่พบแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐเท็กซัส ในตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา, หมู่เกาะแคริบเบียน, อเมริกากลาง จนถึงอเมริกาใต้ โดยแบ่งได้ทั้งหมด 37 สกุล.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาเทวดาสกาแลร์และวงศ์ย่อยปลาหมอสี

ปลาเทวดาสกาแลร์และวงศ์ย่อยปลาหมอสี มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วงศ์ปลาหมอสีสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลากะพงทวีปอเมริกาใต้ปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำจืดปลาเทวดาปลาเทวดาอัลตั้ม

วงศ์ปลาหมอสี

วงศ์ปลาหมอสี (Cichlids) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,000 ชนิด นับเป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (/ซิค-ลิด-เด/) ชื่อสามัญในภาษาไทยนิยมเรียกว่า "ปลาหมอสี" ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่จึงมักมีชื่อขึ้นต้นว่า "ปลาหมอ" ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิด ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด แต่มีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีประมาณ 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีบางชนิดพบได้ในตอนล่างของทวีปอเมริกาเหนือ อีกสี่ชนิดพบในตะวันออกกลาง และอีกสามชนิดพบในอินเดีย ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาบางชนิด เช่น ปลานิล จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดา, ปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ์ เป็นต้น.

ปลาเทวดาสกาแลร์และวงศ์ปลาหมอสี · วงศ์ปลาหมอสีและวงศ์ย่อยปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ปลาเทวดาสกาแลร์และสัตว์ · วงศ์ย่อยปลาหมอสีและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ปลาเทวดาสกาแลร์และสัตว์มีแกนสันหลัง · วงศ์ย่อยปลาหมอสีและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ปลาเทวดาสกาแลร์และอันดับปลากะพง · วงศ์ย่อยปลาหมอสีและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ทวีปอเมริกาใต้และปลาเทวดาสกาแลร์ · ทวีปอเมริกาใต้และวงศ์ย่อยปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ปลาที่มีก้านครีบและปลาเทวดาสกาแลร์ · ปลาที่มีก้านครีบและวงศ์ย่อยปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ปลาน้ำจืดและปลาเทวดาสกาแลร์ · ปลาน้ำจืดและวงศ์ย่อยปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเทวดา

ปลาเทวดา (Angelfish) เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Pterophyllum (/เทอ-โร-ฟิล-ลั่ม/; เป็นภาษาละตินแปลว่า "ครีบใบไม้" ซึ่งหมายถึง ลักษณะรูปร่างลำตัวที่คม) ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามกันอย่างหลากหล.

ปลาเทวดาและปลาเทวดาสกาแลร์ · ปลาเทวดาและวงศ์ย่อยปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเทวดาอัลตั้ม

ปลาเทวดาอัลตั้ม (Altum angelfish, Deep angelfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จำพวกปลาเทวดา ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีลักษณะทั่วไปเหมือนปลาเทวดาชนิดอื่น ๆ แต่มีความแตกต่างออกไป คือมีความสูงของลำตัวเมื่อโตได้เต็มที่ถึง 15 นิ้ว ขณะที่ความยาวจากหัวถึงหางเพียง 8 นิ้วเท่านั้น จึงจัดเป็นปลาเทวดาชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีส่วนหน้าผากที่ลาดกว่าชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด มีพื้นลำตัวสีเทาอมเขียวและมีประกายสีเงินเคลือบทับทั่วตัว และมีลายเส้นสีดำจนหรือสีน้ำตาลไหม้พาดลำตัวเป็นแนวตั้งกลมกลืนกับจุดบนลำตัวก็ได้ โดยเส้นที่ยาวสุดจะเป็นเส้นที่ 5 ซึ่งเป็นเส้นบริเวณโคนหาง กระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำอเมซอน, ตอนเหนือของแม่น้ำโอริโนโก และตอนเหนือของแม่น้ำริโอเนโกร ในประเทศโคลัมเบีย และเวเนซุเอลา ในลุ่มน้ำที่มีพืชไม้น้ำขึ้นหนาแน่น สภาพน้ำมีความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ตั้งแต่ 4.8-6.2 ปลาเทวดาอัลตั้ม ในระยะแรกนิยมเรียกกันว่า "ปลาเทวดาป่้า" หรือ"ปลาเทวดายักษ์" นอกจากนี้ยังมีอีกชื่อเรีัยกหนึ่งว่า "ปลาเทวดาอัลตั้มโคลัมเบีย" เป็นปลาเทวดาที่นิยมเลี้ยงกัน โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ มีความสวยงาม แต่เป็นปลาที่เพาะขยายพันธุ์ได้ยากและเลี้ยงยากกว่าปลาเทวดาชนิดอื่น เนื่องจากมีความเปราะบางมากต่อสภาพแวดล้อมและสภาพน้ำ จึงมีราคาซื้อขา่ยที่สูงสุดในบรรดาปลาเทวดาทั้งหมด ปัจจุบันมีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่สามารถเพาะขยายพันธุ์จนส่งออกขายได้ คือ ญี่ปุ่น และไต้หวัน ขณะที่ในผู้เลี้ยงบางคน ปลาที่เลี้ยงไว้อาจออกไข่ในตู้ได้ โดยปลาจะวางไข่ติดกับวัตถุใต้น้ำที่มีลักษณะค่อนข้างมั่นคงแข็งแรง เช่น ใบของพืชน้ำ การวางไข่แต่ละครั้งประมาณ 300-1,000 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัวราว 36 ชั่วโมง ปลาที่พร้อมจะผสมพันธุ์และวางไข่ได้มีอายุตั้งแต่ 8-10 เดือนขึ้นไป.

ปลาเทวดาสกาแลร์และปลาเทวดาอัลตั้ม · ปลาเทวดาอัลตั้มและวงศ์ย่อยปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาเทวดาสกาแลร์และวงศ์ย่อยปลาหมอสี

ปลาเทวดาสกาแลร์ มี 26 ความสัมพันธ์ขณะที่ วงศ์ย่อยปลาหมอสี มี 23 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 18.37% = 9 / (26 + 23)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาเทวดาสกาแลร์และวงศ์ย่อยปลาหมอสี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »