โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาทอง

ดัชนี ปลาทอง

ปลาทอง หรือ ปลาเงินปลาทอง (goldfish) เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น เดิมใช้บริโภค ต่อมาถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จนกลายเป็นปลาสวยงามในปัจจุบัน.

49 ความสัมพันธ์: ชาวจีนชูบุงกิ้นชนิดย่อยฟุนะพ.ศ. 2503พ.ศ. 2554พันธุ์ป่ากรุงเทพมหานครการคาดหมายคงชีพยะมะโตะโกริยะมะรันชูลักเล่ห์ลูกโป่ง (ปลาทอง)วากิ้นวาโตไนวงศ์ปลาตะเพียนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสิงห์ญี่ปุ่นสิงห์จีนสิงห์ดำตามิดสีทองออรันดาอันดับปลาตะเพียนอาณาจักรอยุธยาฮวงจุ้ยฮ่องกงจังหวัดจังหวัดโอซากะความเชื่อคาโรลัส ลินเนียสตากลับตุลาคมตู้ปลาซะไกประเทศญี่ปุ่นประเทศสิงคโปร์ประเทศจีนประเทศไทยปลาสวยงามปลาทองปลาทอง (สกุล)ปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำจืดปลาไนโทะซะกินโคเมทไทยสยามเกล็ดแก้ว

ชาวจีน

รูปวาดในกรุงปักกิ่งแสดงถึงชนเผ่าทั้ง 56 ของจีน ชาวจีน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ปลาทองและชาวจีน · ดูเพิ่มเติม »

ชูบุงกิ้น

ูบุงกิ้น ชูบุงกิ้น (Shubunkin; シュブンキン; โรมะจิ: shubunkin) ปลาทองชูบุงกิ้น มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษอยู่ด้วยกันหลายชื่อ อาทิเช่น SPECKLED GOLDFISH, HARLEQUIN GOLDFISH, VERMILION GOLDFISH และ RED BROCADE เป็นปลาที่เพิ่งเกิดขึ้นในต้นศตวรรษที่ 20 นี้ โดยนักเพาะพันธุ์ปลาทองจากนครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น คือ นาย Kichigoro Akiyama โดยนำปลาทอง 3 ชนิด คือ ปลาทองพันธุ์ตาโปน 3 สี (5สี) มาผสมข้ามพันธุ์กับปลาทองพันธุ์วากิ้น ซึ่งมีหางสี่ แบบสั้น ต่อมาก็นำมาผสมกับปลาทองพันธุ์ ฮิบุนะ(ปลาทองธรรมดา) จากนั้นเขาก็ได้คัดเลือกลูกปลาขึ้นมาราว 14-15 ตัว จากจำนวนปลาทั้งสิ้น 2หมื่นกว่าฟอง ซึ่งลูกปลาที่เขาเพาะพันธุ์ขึ้นได้มีหางยาวมีเกล็ดบางใส และมีสีหลากหลายสีอยู่ในตัวเดียวกัน ซึ่งนาย Shinnosuke Matsubara ได้ขนานนามให้ปลาตัวนี้ว่า “Red Marked Calico” หรือ "Shubunkin" ต่อมาลูกปลาทองชูบุงกิ้นได้เข้าไปแพร่หลายในประเทศอังกฤษในสมัยราชาภิเษกอวยพรเจ้ายอร์ชที่ 6 ในสมัยนั้นได้มีพ่อค้าปลาบางรายได้ตั้งชื่อปลาชนิดนี้ว่า “Coronation Fish” หรือปลาราชาภิเษก ทั้งนี้เพราะปลาชนิดนี้มีจุดประขึ้นเป็นสีต่างๆ แต่ชื่อนี้ก็ใช้เพียงเพื่อผลประโยชน์ในเชิงการค้าเท่านั้น และในเวลาต่อมาปลาทองชนิดนี้ ก็ได้วิวัฒนาการจนได้ปลาทอง 2 สายพันธุ์ London Shubunkin และ Bristol Shubunkin ซึ่งปลาทองทั้ง 2 สายพันธุ์จะมีรูปร่างและสีสันที่เหมือนๆ กัน ต่างกันตรงที่ปลาทอง Bristol Shubunkin จะมีครีบและหางยื่นยาวและสูงกว่า แต่แบบ London Shubunkin ดูจะได้รับความนิยมมากว่าในประเทศอังกฤษ ปลาทองชูบุงกิ้นเป็นปลาทองที่มีความแข็งแรงอดทนมากชนิดหนึ่ง มีเกล็ดบางใสแต่ไม่เงาแวววาวเหมือนปลาทองทั่วๆไป ลำตัวมีลักษณะคล้ายปลาทองสามัญแต่จะเพรียวกว่า มีครีบที่สมบรูณ์และยาวกว่า ปลายหางจะมนกลม เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วและต้องการพื้นที่ในที่เลี้ยงพอสมควร ปลาทองชนิดนี้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดถัวเฉลี่ยราว 9 นิ้ว มีอายุยืนยาวราว 10-20 ปี จัดว่าเป็นปลาทองที่ค่อนข้างเลี้ยงง่าย สามารถเลี้ยงได้ในกลางแจ้งตลอดทั้งปี เป็นปลาที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี สามารถเลี้ยงได้ในที่ๆแม้มีอุณหภูมิต่ำ แต่ไม่ควรให้ปลาอยู่ในที่ๆ มีอุณหภูมิต่ำกว่า 60 องศาF เป็นระยะเวลานานๆ เพราะความเย็นอาจทำให้กระเพาะลมของปลาเกิดการผิดปกติ ปลาชนิดนี้มีด้วยกันหลากหลายสี อาทิเช่น สีแดง ขาว ส้ม ทอง น้ำตาล ดำ เหลือง ม่วงเข้ม น้ำเงิน เทา สำหรับในบ้านเราปลาทองพันธุ์ชูบุงกิ้นมันรู้จักดีในนามของ “ปลาทองหางซิว” แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเป็นที่แพร่หลายนัก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเป็นปลาทองที่รูปร่างธรรมดาๆ จึงทำให้ไม่ค่อยเป็นที่สนใจกันเท่าใ.

ใหม่!!: ปลาทองและชูบุงกิ้น · ดูเพิ่มเติม »

ชนิดย่อย

นิดย่อย หรือ พันธุ์ย่อย หรือ สปีชีส์ย่อย (subspecies) หมายถึง สิ่งมีชีวิตในสกุล (genus) เดียวกัน และจัดอยู่ในชนิด (species) เดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่สามารถแยกแยะออกเป็นชนิดใหม่ได้ จึงจัดเป็นชนิดย่อย โดยใช้ชื่อไตรนาม เช่น เต่าปูลู (Platysternon megacephalum pequense) เต่าปูลูเหนือ (Platysternon megacephalum megacephalum) เต่าปูลูใต้ (Platysternon megacephalum vogeli) เป็นต้น ความแตกต่างของชนิดย่อยมักอยู่ที่ลวดลาย สีสัน หรือขนาดลำตัว อันเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่อยู่ที่แตกต่างกัน ปกติชนิดย่อยของสัตว์นิยมเรียกว่า subspecies ส่วนพืชเรียกว่า variety.

ใหม่!!: ปลาทองและชนิดย่อย · ดูเพิ่มเติม »

ฟุนะ

ฟุนะ(ปลาทองป่า) ฟุนะ (Carassius; フナ; โรมะจิ: funa) เป็นปลาทองป่าในแหล่งน้ำธรรมชาติของประเทศจีน ที่มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายกับปลาทั่วๆไป มีสีเขียวเข้ม และสีน้ำตาล แต่ดั้งเดิมถือเป็นปลาที่นิยมนำมาเป็นอาหารจนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านเลี้ยงฟุนะไว้ในบ่อ บริเวณบ้านเพื่อไว้เป็นอาหาร และได้เกิดลูกปลาที่แตกต่างจากพ่อแม่ คือมีสีส้ม ชาวบานในระแวกนั้นจึงสนใจและได้เลี้ยงไว้ จนมีการพัฒนามาเป็นปลาทองสายพันธุ์ต่างๆในปัจจุบัน ซึ่งชาวจีนจะเรียกปลาทองฟุนะที่หาได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติว่า chi yu ฟุนะที่วางขายตามตลาดเพื่อนำไปประกอบอาหารในประเทศจีน.

ใหม่!!: ปลาทองและฟุนะ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2503

ทธศักราช 2503 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1960 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลาทองและพ.ศ. 2503 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2554

ทธศักราช 2554 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2011 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ปลาทองและพ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

พันธุ์ป่า

ันธุ์ป่าหรือไวลด์ไทป์ (wild type) เป็นฟีโนไทป์หนึ่งของสิ่งมีชีวิตสปีชีส์หนึ่งๆ ที่เป็นรูปแบบพื้นฐานเกิดขึ้นเองและพบได้ในธรรมชาติ ตามความเข้าใจเดิมนั้นลักษณะที่เป็นพันธุ์ป่าหมายถึงลักษณะที่เกิดจากอัลลีล "ปกติ" ของโลคัสนั้นๆ ซึ่งไม่เหมือนกับอัลลีล "กลายพันธุ์" ซึ่งไม่ปกติ ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าโลคัสส่วนใหญ่ของยีนนั้นมีอัลลีลหลายรูปแบบซึ่งมีความถี่แตกต่างกันไปตามภูมิประเทศที่สิ่งมีชีวิตนั้นๆ อยู่อาศัย ดังนั้นรูปแบบพันธุ์ป่าที่เป็นพื้นฐานจริงๆ นั้น จึงไม่มีอยู่จริง อย่างไรก็ดีโดยทั่วไปนั้นถือว่าอัลลีลที่พบบ่อยที่สุด หรือมีความถี่มากที่สุด จะถือว่าเป็นอัลลีลที่เป็นพันธุ์ป่า หลักการว่าด้วยการมีอยู่ของไวลด์ไทป์มีประโยชน์ในการศึกษาสิ่งมีชีวิตต้นแบบเช่นแมลงวันผลไม้ Drosophila melanogaster ซึ่งลักษณะปรากฎ (ฟีโนไทป์) บางอย่างของแมลงวันนี้ เช่น สีตา หรือรูปร่างปีก สามารถถูกเปลี่ยนแปลงโดยการเกิดการกลายพันธุ์ในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น การมีตาสีขาว การมีร่องที่ปีก เป็นต้น อัลลีลที่เป็นไวลด์ไทป์จะถูกกำหนดด้วยสัญลักษณ์ "+" ที่ด้านบน.

ใหม่!!: ปลาทองและพันธุ์ป่า · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ปลาทองและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

การคาดหมายคงชีพ

การคาดหมายคงชีพ (life expectancy) เป็นค่าเฉลี่ยทางสถิติจำนวนปีที่มนุษย์คนหนึ่งมีชีวิต โดยสันนิษฐานภาวะการตายระหว่างช่วงเวลาที่กำหนด ค่านี้แปรผันตามภูมิภาคและยุคสมัย ในยุคสำริดและยุคเหล็ก การคาดหมายคงชีพ คือ 26 ปี แต่ค่าเฉลี่ยของโลกใน..

ใหม่!!: ปลาทองและการคาดหมายคงชีพ · ดูเพิ่มเติม »

ยะมะโตะโกริยะมะ

ฝาปิดท่อถนนรูปปลาทอง ยะมะโตะโกริยะมะ เป็นเมืองขนาดเล็กที่ตั้งอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศญี่ปุ่นในจังหวัดนะระ ใกล้กับเมืองโอะซะกะ โดยนั่งรถไฟไปประมาณ 30 นาที เป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น เมืองแห่งปลาทอง (City of Goldfish) เนื่องจากเป็นเมืองที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร โดยมีผู้ทำฟาร์มปลาทองประมาณ 300 ครอบครัว และผลผลิตปลาทองโดยเฉลี่ยในแต่ละปีของเมืองนี้อยู่ที่ 60 ล้านตัว (ข้อมูลปี พ.ศ. 2545) ถือว่าเป็นอันดับสองของประเทศญี่ปุ่นรองจากเมืองฮะมะมะสึเท่านั้น โดยการเพาะเลี้ยงปลาทองของประชากรในเมืองยะมะโตะโคริยะมะ สืบทอดกันมาไม่ต่ำกว่า 500 ปี หลังสงครามภายในประเทศ โดยประชากรที่ยึดอาชีพเพาะเลี้ยงปลาทองส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากซามูไรของโชกุนโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ปลาทองส่วนใหญ่ที่เพาะขยายพันธุ์จากที่นี่ จะเป็นปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมและได้รับความนิยม เนื่องจากมีการอนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์กันมาอย่างต่อเนื่อง โดยตระกูลที่มีบทบาทมากในการเพาะพันธุ์ปลาทองที่นี่คือ ตระกูลชิมาดะ ถนนหนทาง ตลอดจนป้ายบอกทางสาธารณะต่าง ๆ ในเมืองยะมะโตะโคริยะมะ มักทำเป็นรูปปลาทอง อันเป็นเสมือนสัญลักษณ์ประจำเมือง.

ใหม่!!: ปลาทองและยะมะโตะโกริยะมะ · ดูเพิ่มเติม »

รันชู

รันชู รันชู หรือ รันจู (ランチュウ; Ranchu) เป็นสายพันธุ์ของปลาทองสายพันธุ์หนึ่ง ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม รันชู ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมา ในราวปี ค.ศ. 1700 ที่ประเทศญี่ปุ่น หลังจากการเกิดขึ้นมาของปลาทองสายพันธุ์สิงห์จีน โดยชาวญี่ปุ่นได้นำปลาทองสิงห์ญี่ปุ่นมาพัฒนาจนได้เป็นปลาทองสายพันธุ์ใหม่ที่แตกต่างไปจากปลาทองสิงห์ญี่ปุ่นที่มีอยู่ และเรียกชื่อปลาทองสายพันธุ์นี้ว่า "รันชู" หรือ "รันจู" ปลาทองรันชูเป็นปลาทองที่มีลักษณะคล้ายกับปลาทองสิงห์ญี่ปุ่นมาก โดยเป็นปลาทองที่มีลำตัวอ้วนหนา บึกบึน ไม่มีครีบหลัง ลักษณะของปลาทองรันชูที่สวย ได้มาตรฐาน คือ ต้องมีช่วงหลังโค้งลาดลงได้สัดส่วน ไม่นูนไปข้างหน้าหรือข้างหลังจนเกินไป ความโค้งของหลังไม่ตื้นหรือลึกเกินไป ไม่จำเป็นต้องมีหลังที่โค้งเรียบ ส่วนท้องด้านข้างควรโป่งพอง แนวลำตัวเริ่มจากจะงอยปากจนถึงปลายหางต้องอยู่ในแนวเส้นตรงไม่บิดเบี้ยวหรือโค้งงอ เกล็ดควรมีความสม่ำเสมอเรียงตัวกันเป็นระเบียบจากต้นคอจนถึงโคนหาง และเป็นเงางามแลดูสดใสแวววาว โคนหางใหญ่ บึกบึน แลดูมีพละกำลัง ส่วนหลังดูเมื่อมองจากด้านบนจะแลดูคล้ายเหรียญโคบัน (小判) ครีบหางต้องแผ่กว้าง สมดุลกันทั้งด้านซ้ายและขวา ไม่บิดโค้งงอ มีขนาดที่เหมาะสมกับลำตัว ลักษณะของครีบหางมีสองแบบ คือ หางสามแฉก และสี่แฉก มุมยกของหางควรทำมุมไม่เกิน 45 องศา กับแผ่นหลัง ไหล่หางงุ้มมาข้างหน้าเล็กน้อย ส่วนปลายของหางไม่ควรยกสูงกว่าแนวของสันหลัง สีของปลาทองรันชู มีสีขาว, แสด, แดง หรือแม้กระทั่งดำ เป็นสีเดียวตลอดทั้งตัว หรือจะเป็นหลายสีผสมกันก็ได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นสีในโทนเข้มหรืออ่อน ควรมีความเงางามของเกล็ดและเรียงเป็นระเบียบสวยงาม มีรูปทรงลำตัวที่ดี ขณะว่ายน้ำไม่เชิดหัวขึ้นหรือก้มหัวจนต่ำเกินไป มีพละกำลังในการว่ายน้ำ พริ้วสวยไม่อืดอาด มีการสะบัดสะโพกที่สวยงาม ครีบทวารหรือครีบก้น ต้องมี จะมีเดี่ยวหรือมีคู่ก็ได้ หากมีควรมีคู่กัน ส่วนครีบอื่น ๆ ไม่มีครีบหลัง มีครีบอก และครีบท้องอย่างละหนึ่งคู่ มีขนาดเท่ากัน ส่วนหัว มีช่องของดวงตาห่างและมีระยะห่างช่วงริมฝีปากจนถึงนัยน์ตาควรจะยาว กลุ้มวุ้นบนหัวทั้งสามส่วนไม่กำหนดลักษณะที่แน่นอน เพียงแต่ให้แลดูแล้วสมดุลกลมกลืนเหมาะสมกับช่วงลำตัว ส่วนของหัววุ้นบนหัว ต้องปิดทั้งแผ่นปิดเหงือก, ข้างแก้มไปจนถึงริมฝีปาก และบนส่วนหัว แต่ต้องไม่มีขนาดเหมือน ชิชิ คาชิร.

ใหม่!!: ปลาทองและรันชู · ดูเพิ่มเติม »

ลักเล่ห์

ระวังสับสนกับ รักเร่ ซึ่งเป็นพืช ลักเล่ห์สีดำสนิท จัดเป็นลักเล่ห์แบบที่คุ้นเคยที่สุด ลักเล่ห์หางผีเสื้อ หรีอบัตเตอร์ฟลายเทล ลักเล่ห์ หรือที่นิยมสะกดว่า รักเล่ห์ (Telescope eye, Moor; デメキン; โรมะจิ: demekin) เป็นสายพันธุ์ของปลาทองสวยงามสายพันธุ์หนึ่ง ลักษณะเด่นของลักเล่ห์ คือ ดวงตาที่โปนยื่นออกมาจนดูคล้ายกับกล้องส่องทางไกล หรือกล้องดูดาว สอดคล้องกับชื่อในภาษาอังกฤษ มีต้นกำเนิดที่ประเทศจีนราวศตวรรษที่ 15-16 แต่มีการพัฒนาสายพันธุ์จนเป็นที่รู้จักในปัจจุบันที่ประเทศญี่ปุ่น เดิมทีนั้นคำว่าลักเล่ห์ จะใช้เรียกเฉพาะปลาที่มีสีดำสนิทเท่านั้น ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า "Black moor" ส่วนปลาที่มีสีอื่น ๆ จะเรียกว่า "ตาโปนญี่ปุ่น" จะไม่ใช้คำว่าลักเล่ห์ แม้จะมีลักษณะเหมือนกันทุกอย่างก็ตาม แต่ต่างกันเพียงสีก็ตาม นอกจากนี้แล้วยังมียังมีปลาตาโปนที่มีสีส้ม, ส้ม-ขาว, ขาวแดง และยังมีตาโปนสามสี ที่มีสีส้ม, ดำ, ฟ้า หรือเท่ารวมกันอยู่บนตัว ต่อมาก็ถูกพัฒนาให้มีครบ 5 สี เรียกว่า "ตาโปนห้าสี" นอกจากนี้ยังมีลักเล่ห์ทับทิมที่มีลำตัวสีเหลืองนวล, ลักเล่ห์แพนด้าที่มีสีสลับดำ-ขาว ดูคล้ายกับหมีแพนด้า, ลักเล่ห์สีนากที่มีลำตัวสีน้ำตาลแกมเขียวหรือชื่อหนึ่ง ก็คือ ลักเล่ห์สีช็อกโกแล็ต หรือ ลักเล่ห์บัตเตอร์ฟลาย ที่มองจากด้านบนแล้วจะเห็นครีบหางที่กางแผ่ออกเหมือนปีกผีเสื้อ ลักษณะที่ดีของปลาทองลักเล่ห์ คือ ดวงตาทั้งสองข้างต้องโตเท่ากัน แก้วตากลมไม่แบน และอวัยวะส่วนอื่น ๆ อยู่ในสภาพปกติ ครีบต่าง ๆ ต้องไม่พับ หัก หรือโค้งงอ ลักเล่ห์เมื่อยังอายุน้อยอยู่ลูกตาจะไม่โปนออกมา โดยทั่วไปจะให้ปลามีอายุได้สัก 3-6 เดือน ลูกตาจึงค่อย ๆ ยื่นออกมาให้เห็น ลักเล่ห์เป็นปลาทองที่มีครีบหรือกระโดงหลัง แต่โดยรวมเป็นปลาทองที่มีขนาดไม่ใหญ่นนัก โดยส่วนใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ราว 3-4 นิ้ว การเลี้ยงที่ดีควรเลี้ยงในน้ำที่มีความลึกประมาณ 40 เซนติเมตร สามารถเลี้ยงในตู้ได้ แต่มุมมองที่สวยที่สุด คือ การมองจากด้านบน หรือท็อปวิว คือการเลี้ยงในอ่างเช่นเดียวกับรันชูหรือสิงห์ญี่ปุ่น ชื่อ "ลักเล่ห์" ในภาษาไทยนั้น มีที่มาจากร้านค้าที่ชื่อ "เล่ห์ประดิษฐ์" เป็นบริษัทผู้ผลิตไม้แบตมินตัน และจำหน่ายอุปกรณ์กีฬาย่านสี่พระยา ซึ่งเจ้าของร้านได้เป็นผู้นำเอาปลาทองลักเล่ห์จำนวนมากเข้ามาเลี้ยงเป็นผู้แรกในประเทศไทย จนเป็นที่เผยแพร่และรู้จักกันในหมู่นักเลี้ยงปลาในประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีชาวจีนนำเข้ามาแล้วบ้างแต่ไม่ได้รับความนิยมเท่า แต่เดิมเรียกสั้น ๆ ว่า "เล่ห์" หรือ "ร้านเล่ห์" แล้วเพี้ยนกลายเป็นคำว่า "ลักเล่ห์" เช่นในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ปลาทองและลักเล่ห์ · ดูเพิ่มเติม »

ลูกโป่ง (ปลาทอง)

ลูกโป่ง ลูกโป่ง (Bubble eye; スイホウガン; โรมะจิ: Suihogan) เป็นสายพันธุ์ของปลาทองชนิดหนึ่ง ที่ปรากฏในปัจจุบัน เป็นปลาที่มีลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดเจนคือ มีถุงใต้ตาขนาดใหญ่ที่มีเส้นเลือดอยู่ภายใน ปูดยื่นออกมาทั้งสองข้างแลดูคล้ายลูกโป่ง จึงเป็นที่มาของชื่อ มีลักษณะลำตัวเรียวยาว ครีบทุกครีบสั้น ไม่มีครีบหลังซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้คล้ายกับปลาทองอีกสายพันธุ์หนึ่งคือ สิงห์จีน, สิงห์ญี่ปุ่น และ รันชู ลูกโป่ง เป็นปลาทองที่มีสายพันธุ์กำเนิดมาจากประเทศจีน นับว่าเป็นปลาทองอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีความเปราะบาง เลี้ยงยาก ทั้งนี้เพราะผู้เลี้ยงต้องคอยระวังมิให้ถุงใต้ตานั้นแตก ซึ่งอาจจะทำให้ปลาพิการหรือตายได้เลย เพราะปลาจะเสียการทรงตัวและติดเชื้อโรค ลูกโป่งนับว่าเป็นปลาทองที่มีสีสันหลากหลายมากที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง เพราะมีทั้ง เหลือง, แดง, ขาว, เหลือง, ส้ม หรือหลากหลายสีสันในตัวเดียวหรือแม้กระทั่งน้ำตาลดำทั้งตัว เมื่อยังเล็ก ถุงใต้ตาจะยังเล็กอยู่และจะโตขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุขัยปลา จนกระทั่งเจริญเติบโตเต็มที่เมื่ออายุได้ 2 ขวบปี ลูกโป่งมีอายุขัยเต็มที่ราว 5 ปี.

ใหม่!!: ปลาทองและลูกโป่ง (ปลาทอง) · ดูเพิ่มเติม »

วากิ้น

วากิ้น(วากิ้นดั้งเดิม) วากิ้น (Wakin; ワキン; โรมะจิ: wakin) เป็นปลาทองสายพันธุ์หนึ่งที่มีแหล่งกำเนิดที่ประเทศจีน ในช่วงราชวงศ์จิน มันคือบรรพบุรุษของปลาทองตัวอ้วนกลมทั้งหลาย เมื่อปี 1502 วากิ้นได้ถูกนำเข้ามายังประเทศญี่ปุ่น ยุคมุโระมะจิ ในจังหวัดโอะซะกะ และซะไก วากิ้นในประเทศไทยมีฟาร์มบางที่ที่เพาะวากิ้นกันอยู่ แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก ลักษณะของสายพันธุ์ลำตัวเรียวยาว และใหญ่ มีครับหางเดียว และคู่ สีบนลำตัวสีส้ม, สีแดง เป็นต้น วากิ้นสามารภแบ่งได้เป็น 2 ประเภท 1.

ใหม่!!: ปลาทองและวากิ้น · ดูเพิ่มเติม »

วาโตไน

วาโตไน วาโตไน (Watonai; ワトウナイ; โรมะจิ: watounai) เป็นปลาทองที่มีแหล่งกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะคล้ายวากิ้น แตกต่างกันกันที่วาโตไนมีครีบที่ยาวกว่า มันได้รับการผสมสายพันธุ์ระหว่าง วากิ้น - ริวกิ้น ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ของประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ปลาทองและวาโตไน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ใหม่!!: ปลาทองและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาทองและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาทองและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สิงห์ญี่ปุ่น

งห์ญี่ปุ่น สิงห์ญี่ปุ่น (Ranchu) เป็นปลาทองสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาภายในประเทศไทย มีลำตัวที่อ้วนหนา ดูบึกบึน แข็งแรง ไม่มีครีบหลัง ดูแลคล้ายกับรันชูหรือสิงห์จีนมาก แต่ทว่าสิงห์ญี่ปุ่นจะมีส่วนหัวที่เล็กกว่า ไม่มีวุ้นบนหัวหรือมีแต่ก็น้อยกว่า ลำตัวสั้น หลังโค้งมน หางสั้นและเชิดขึ้น แลดูสง่า ปลาทองสิงห์ญี่ปุ่นที่สวยงามนั้น ต้องมีส่วนหลังที่โค้งมนเป็นรูปครึ่งวงกลม เหมือนไข่ผ่าซีก ดูจากด้านข้างแล้วลำตัวปลาะต้องกว้าง หัวไม่ทิ่มหรือต่ำลงไป การว่ายน้ำต้องทำได้อย่างสมดุล มีสง่างาม ปลาทองสิงห์ญี่ปุ่นนั้นมีความแตกต่างจากรันชู ตรงที่สิงห์ญี่ปุ่นนั้นมีลำตัวที่สมส่วน ดูกลมกลึงกว่า อีกทั้งมีข้อหางที่เล็กและลึกกว่า ดังนั้นจึงเหมาะแก่การเลี้ยงในตู้กระจก หรือ ไซด์วิว (Side View) ขณะที่รันชูนั้นจะสวยงามกว่าเมื่อได้มองจากด้านบน จึงเหมาะแก่การเลี้ยงในบ่อหรืออ่างมากกว่า จึงเรียกว่า ทอปวิว (Top View).

ใหม่!!: ปลาทองและสิงห์ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

สิงห์จีน

งห์จีน สิงห์จีน (Lionhead, Chinese lionhead) เป็นปลาทองสวยงามสายพันธุ์หนึ่ง ที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม สิงห์จีนเป็นปลาทองที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นในประเทศจีน ในราวศตวรรษที่ 17 หรือ 18 โดยเรียกชื่อมาจาก ชีชี (石獅) หรือสิงโตหินรูปปั้นที่ทำหน้าที่ทวารบาลเฝ้าประตูต่าง ๆ ตามสถาปัตยกรรมแบบจีน สิงห์จีน เป็นปลาทองอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีลำตัวป้อม สั้น แลดูหนาบึกบึน ไม่มีครีบหลัง มีส่วนของวุ้นที่หัวมากกว่ารันชูหรือสิงห์ญี่ปุ่น ในบางตัวอาจมีวุ้นปกคลุมมิดทั้งดวงตาเลยก็ได้ มีส่วนคอที่สั้น ลักษณะของปลาทองสิงห์จีนที่ได้มาตรฐานว่า สวย คือ ส่วนหลังโค้ง หางบานออกพอประมาณต้องได้ฉาก ลำตัวไม่ว่าจะสั้นหรือยาวต้องได้สัดส่วน ถ้าเป็นปลาลำตัวยาวปลานั้นต้องอ้วนใหญ่ แกนสันหลัง หาง ครีบทวาร ครีบหน้า และบริเวณหัวต้องใหญ่ ได้สัดส่วนด้วย หากเป็นปลาลำตัวสั้นส่วนต่าง ๆไม่ว่าบริเวณสันหลัง ครีบต่าง ๆ และลำตัวต้องสั้นได้สัดส่วน.

ใหม่!!: ปลาทองและสิงห์จีน · ดูเพิ่มเติม »

สิงห์ดำตามิด

งห์ดำตามิดเพศผู้ สิงห์ดำตามิด หรือ สิงห์สยาม (Black pearl, Black siam) เป็นปลาทองสายพันธุ์หนึ่ง ที่ได้รับความนิยมเลี้ยงในปัจจุบัน มีลักษณะเด่นคือ ลำตัวสีดำสนิททั้งตัวไม่เว้นแม้กระทั่งส่วนท้อง ส่วนหัวมีก้อนเนื้อที่เรียกว่า วุ้น ขนาดใหญ่และปิดจนมิดมองไม่เห็นลูกตา ลักษณะส่วนอื่นทั่วไปก็คล้ายกับสายพันธุ์หัวสิงห์ คือ ครีบทุกครีบสั้น ไม่มีครีบหลัง โคนหางใหญ่ แข็งแรง สิงห์ดำตามิดหรือสิงห์สยามนั้น เป็นปลาทองอีกสายพันธุ์หนึ่งที่ชาวไทยเป็นผู้คิดค้นสายพันธุ์ขึ้นมา โดยเริ่มขึ้นที่สหกรณ์ปลาสวยงาม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาจากสายพันธุ์หัวสิงห์ จนได้เป็นสายพันธุ์แท้ที่มีความนิ่งในพันธุกรรมและมีเอกลักษณ์เฉพาะสายพันธุ์ ปัจจุบัน สิงห์ดำตามิด เป็นปลาทองอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันมาก โดยในตลาดปลาสวยงาม มักพบปลาทองสายพันธุ์นี้ขายอยู่เสมอ.

ใหม่!!: ปลาทองและสิงห์ดำตามิด · ดูเพิ่มเติม »

สีทอง

สีทอง เป็นสีเหลืองแกมส้ม และเป็นสีของทองคำในธรรมชาติ ทอง.

ใหม่!!: ปลาทองและสีทอง · ดูเพิ่มเติม »

ออรันดา

ออรันดา (Oranda) เป็นสายพันธุ์ของปลาทองชนิดหนึ่งที่เกิดจากการนำปลาทองสายพันธุ์ริวกิ้น และสายพันธุ์หัวสิงห์มาผสมกัน จัดเป็นปลาทองอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีประวัติสายพันธุ์ที่ยาวนาน.

ใหม่!!: ปลาทองและออรันดา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาตะเพียน

อันดับปลาตะเพียน หรือ อันดับปลากินพืช (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cypriniformes, Carp, Barb, Loach, Minnow, Chinese suckerfish, Garra) เป็นอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปลาตะเพียน, ปลาทอง, ปลาคาร์ป, ปลาซิว เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ Cyprinidae มีลักษณะโดยรวมคือ ลำตัวมีเกล็ด ส่วนใหญ่แบนข้าง สันท้องกลมหรือเป็นสันคม ไม่มีหนามที่สันท้อง ตาไม่มีหนังคลุม ปากมีหลายตำแหน่งทั้งอยู่ตรงด้านหน้า เฉียงขึ้น หรืออยู่ทางด้านล่าง บางชนิดยืดหดได้เล็กน้อย บางชนิดมีลักษณะคล้ายปากดูด ส่วนใหญ่ไม่มีฟันบนขากรรไกรหรือบางชนิดที่มีก็มีไม่เกิน 8 ซี่ รอยต่อส่วนปลายของขากรรไกรล่างมีปมยื่นออกมาเรียกว่า ซิมไซซีล นอบ ริมฝีปากบางอาจมีหรือไม่มีติ่งเนื้อ บางชนิดไม่มีริมฝีปาก ไม่มีหนามใต้ตา หรือหน้าตา ช่องเปิดเหงือกกว้างกระดูกโอเพอร์เคิล เจริญดี มีหนวด 1-2 คู่ หรือไม่มี ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายของครีบหลังอาจแข็ง หรือไม่แข็ง อาจมีหยักด้านในหรือไม่มี ไม่มีครีบไขมัน มีฟันที่หลอดคอ 1-3 แถว ขอบปากเป็นกระดูกพรีแมคซิลลา ขากรรไกรบนยืดหดได้ บางชนิดครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว มีครีบหลังตอนเดียว ถุงลมมีขนาดค่อนข้างใหญ่ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นสองตอน ไม่ถูกแผ่นกระดูกปกคลุมไว้ เป็นปลาที่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภูมิภาคของโลก ทั้งอเมริกาเหนือ, ทวีปยูเรเชียและทวีปเอเชีย มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ พบในน้ำจืดมากกว่าทะเล ส่วนใหญ่เป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหาร ไม่มีกระเพาะอาหาร แต่ก็มีหลายชนิดที่กินเนื้อหรือแพลงก์ตอน เป็นปลาที่มนุษย์คุ้นเคยมานานเพราะใช้เป็นอาหาร นอกเหนือจากปลาในวงศ์ Cyprinidae แล้ว ยังมีปลาในวงศ์อื่นอีกที่อยู่ในอันดับนี้ประมาณ 5-6 วงศ์ ได้แก.

ใหม่!!: ปลาทองและอันดับปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ปลาทองและอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

ฮวงจุ้ย

วงจุ้ย มาจากภาษาจีน 风水 (สำเนียงกลางว่า เฟิงสุ่ย) และอาจหมายถึง.

ใหม่!!: ปลาทองและฮวงจุ้ย · ดูเพิ่มเติม »

ฮ่องกง

องกง (Hong Kong; 香港) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China) เป็นเขตปกครองตนเองริมฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ในทางภูมิศาสตร์มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและทะเลจีนใต้โอบรอบ ฮ่องกงเป็นที่รู้จักในสกายไลน์ (skyline) ขยายและท่าเรือธรรมชาติลึก มีเนื้อที่ 1,104 กม.

ใหม่!!: ปลาทองและฮ่องกง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัด

ังหวัด หรือมณฑล (province) คือชื่อเรียกหน่วยการปกครองระดับหนึ่ง โดยปกติจะเป็นระดับใหญ่ที่สุดในประเทศ หรือรัฐ (ลำดับแรกในการแบ่งการปกครอง) คำว่าจังหวัดใช้เรียก province ในประเทศไทย ส่วนมณฑลใช้กับบางประเทศ เช่น มณฑลยูนนาน (Yunnan Province) ในประเทศจีน หรือ.

ใหม่!!: ปลาทองและจังหวัด · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดโอซากะ

ลากลางจังหวัดโอซากะ จังหวัดโอซากะ เป็นส่วนหนึ่งของเขตแดนคันไซ ภูมิภาคคิงกิ เกาะฮนชู ประเทศญี่ปุ่น มีเมืองเอกคือโอซากะ เป็นใจกลางของพื้นที่เคียวโตะ-โอซากะ-.

ใหม่!!: ปลาทองและจังหวัดโอซากะ · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อ

วามเชื่อ (belief) หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน.

ใหม่!!: ปลาทองและความเชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: ปลาทองและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ตากลับ

ตากลับ ตากลับ (Celestial Eye; チョウテンガン; โรมะจิ: Chotangan) เป็นปลาทองที่มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า "โซเตนกัง" ซึ่งมีความหมายว่า ปลาตาดูฟ้าดูดาวหรือตามุ่งสวรรค์ สาเหตุเนื่อจากปลาทองชนิดนี้มีตาหงายกลับขึ้นข้างบนผิดจากปลาทองชนิดอื่นๆ นั่นเอง เคยมีนิทานจีนอยู่เรื่องหนึ่งเล่าต่อกันว่าปลาตัวนี้เกิดขึ้นในสมัยราชาภิเษกฮ่องเต้จีนพระองค์หนึ่ง โดยองค์ฮ่องเต้ได้ทอดพระเนตรลงในบ่อปลาก็พบว่าปลาทองตัวนี้ได้พลิกตาขึ้นมาจ้องมองพระองค์คล้ายกับต้องการแสดงการคารวะสรรเสริญพระองค์ มีบางตำนานได้กล่าวไว้ว่า ปลาทองพันธุ์ตาโปน ซึ่งถูกนำไปเลี้ยงไว้ในไหที่มีปากแคบ ทำให้ปลาต้องคอยแหงนตาขึ้นมองข้างบนอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากแสงสว่างภายในไม่เพียงพอ จนกระทั่งทำให้ตาของปลาหงายขึ้นตลอดกาล ซึ่งเรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงเรื่องที่ชาวจีนเล่าขานกันมาแต่โบราณกาล สำหรับประวัติแท้จริงของต้นกำเนิด ปลาทองพันธุ์นี้ยังไม่มีหลักฐานยืนยันเป็นที่แน่ชัด ลักษณะของปลาทองชนิดนี้จะมีลำตัวคล้ายกับปลาทองหัวสิงห์ แต่ครีบและหางจะไม่ตั้งแผ่เหมือนปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ ในสมัยแรกนั้น ปลาทองพันธุ์นี้มีครีบหางที่ยาว ความยาวของหางพอๆ กับความยาวของลำตัว สีของตัวปลาเป็นสีส้มออกทองเป็นปลาที่ไม่มีครีบกระโดงหลังเหมือนปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ ต่อมาในราวปี..

ใหม่!!: ปลาทองและตากลับ · ดูเพิ่มเติม »

ตุลาคม

ตุลาคม เป็นเดือนที่ 10 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนตุลาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีตุล และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีพิจิก แต่ในทางดาราศาสตร์ เดือนตุลาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวและไปอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งตอนต้นเดือนพฤศจิกายน เดือนตุลาคมในภาษาอังกฤษ October มาจากภาษาละติน octo เนื่องจากเป็นเดือนที่ 8 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนตุลาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: ปลาทองและตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

ตู้ปลา

ตู้ปลาที่เลี้ยงปลาน้ำจืดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ปลาตะพาก, ปลาตะพัด ในสวนสัตว์บริสตอล ประเทศอังกฤษ ตู้ปลาแบบทั่วไปภายในบ้านเรือน ขนาด 80x30 เซนติเมตร ตู้ปลา (Aquarium) คือ ภาชนะหลักสำหรับการเลี้ยงปลาสวยงาม มีรูปทรงต่าง ๆ กัน โดยมากมักจะทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยผลิตจากวัสดุประเภทกระจกหรืออะครีลิค มีขนาดแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ประมาณ 1 ฟุต จนถึงหลายเมตรในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ซึ่งตู้ปลาที่มีขนาดใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในน้อยกว่าหรือช้ากว่าตู้ปลาที่มีขนาดเล็ก โดยมากแล้วตู้ปลาที่ผลิตจากกระจกจะเชื่อมต่อกันด้วยกาวซิลิโคนแบบกันน้ำ ซึ่งมีความเหนียวทนทานต่อการละลายของน้ำ ขณะที่ประเภทที่ผลิตจากอะครีลิคจะมีความทนทานกว่า เนื่องจากไม่แตกหักได้ง่าย แต่ก็จะมีราคาขายที่สูงกว่า ซึ่งตู้ปลาแบบที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้วยแล้ว จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: ปลาทองและตู้ปลา · ดูเพิ่มเติม »

ซะไก

ซะไก เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในจังหวัดโอซะกะ ประเทศญี่ปุ่น ในอดีตซะไกเคยเป็นเมืองท่าที่ใหญ่และสำคัญที่สุดของญี่ปุ่นตั้งแต่ยุคกลาง ซะไกในปัจจุบันก่อตั้งขึ้นในวันที่ 1 เมษายน..

ใหม่!!: ปลาทองและซะไก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ปลาทองและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: ปลาทองและประเทศสิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ปลาทองและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ปลาทองและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: ปลาทองและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทอง

ปลาทอง หรือ ปลาเงินปลาทอง (goldfish) เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น เดิมใช้บริโภค ต่อมาถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จนกลายเป็นปลาสวยงามในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ปลาทองและปลาทอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทอง (สกุล)

ปลาทอง (Goldfish, Common carp, Crucian carp) เป็นสกุลของปลาน้ำจืด ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Carassius (/คา-ราส-สิ-อัส/) ในวงศ์ย่อย Cyprininae เป็นปลาที่มนุษย์คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เหมือนกับปลาในสกุล Cyprinus ที่เดิมอยู่รวมอยู่ด้วยกันมาก่อน ในฐานะของปลาที่เป็นปลาใช้ในการบริโภค และต่อมาได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีรูปร่าง และสีสันสวยงามมากขึ้น เพื่อเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยชาวจีนเมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ปลาในสกุลนี้ มีรูปร่างทั่วไปเหมือนกับปลาในสกุล Cyprinus จุดที่แตกต่างกันคือ ไม่มีหนวดที่ริมฝีปาก และมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่เฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออก และบางส่วนในรัสเซียเท่านั้น ขณะที่บางชนิดเป็นปลาเฉพาะถิ่นพบได้เฉพาะทะเลสาบบิวะ ที่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น.

ใหม่!!: ปลาทองและปลาทอง (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาทองและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: ปลาทองและปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไน

ปลาไน หรือ ปลาคาร์ปธรรมดา (carp, common carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyprinus carpio อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่เชื่อว่าเป็นปลาที่มนุษย์เลี้ยงเป็นชนิดแรกของโลกเพื่อเป็นอาหาร โดยเลี้ยงในประเทศจีนเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว โดยเริ่มพร้อมกับปลาทอง.

ใหม่!!: ปลาทองและปลาไน · ดูเพิ่มเติม »

โทะซะกิน

ทะซะกิน โทะซะกิน (Tosakin; 土佐金 แปลว่า ปลาทอง หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า โทะซะ) เป็นสายพันธุ์ปลาทองสายพันธุ์หนึ่ง ที่พัฒนาขึ้นมาโดยมนุษย์ ได้ชื่อว่าเป็น ราชินีแห่งปลาทอง ด้วยความที่มีครีบหางพริ้วไหว และเบ่งบานกางออกเวลาว่ายน้ำ เหมือนผู้หญิงใส่กระโปรงบาน โทะซะกินที่สวยนั้น ต้องมีลำตัวเป็นทรงหยดน้ำ โคนหางใหญ่ ครีบหางเบ่งบานและเป็นลอนสวยงาม โดยเฉพาะครีบหางที่อยู่กึ่งกลางลำตัวควรบานแผ่ออกและมีลักษณะโค้งได้รูป ส่วนครีบด้านข้างทั้งสองข้างควรกางแผ่ออกโดยทำมุมฉากกับลำตัว โทะซะกินนั้นเป็นปลาทองที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากริวกิ้น ราวปี ค.ศ. 1845 ที่เมืองโคชิ โดย นายคัตซูซาบุโร ซูกะ ได้นำปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์โอซาก้ารันชูมาผสมข้ามพันธุ์กับปลาทองริวกิ้น ซึ่งผลออกมาว่าลูกปลาทองที่เพาะพันธุ์ขึ้นได้มีบางส่วนมีลักษณะผ่าเหล่าไปจากลูกปลาทองตัวอื่นๆ โดยลูกปลาที่มีลักษณะผ่าเหล่าจะมีส่วนหางที่มีลักษณะแตกต่างไปจากปลาทองทั่วๆ ไป อย่างแทบไม่น่าเชื่อ เพราะครีบของปลาทองเหล่านั้นแทนที่จะตั้งชันหรือเบ่งบานเหมือนปลาพ่อแม่พันธุ์ แต่กลับมีปลายหางทั้งสองลักษณะรวมอยู่ในตัวเดียวกัน นั่นคือ ครีบหางด้านข้างทั้งสองข้างจะตั้งชันและยื่นชี้ไปทางด้านหน้าของลำตัว ส่วนครีบหางตรงกลางกลับหักมุมลงด้านล่าง ช่วยให้ครีบหางของปลาเกิดเป็นรอนคล้ายรูปคลื่น โดยเฉพาะหางของปลามีลักษณะบานออก ด้วยความสวยงามโดยเฉพาะครีบหาง ทำให้ในประเทศไทยเองนั้น โทะซะกินเป็นปลาทองที่มีขายและเลี้ยงกันเป็นจำนวนน้อย และทำให้ปลามีราคาแพงขึ้นอีกด้วย เนื่องจากเลี้ยงยาก ต้องใช้ความละเอียดในการเลี้ยงสูงกว่าปลาทองสายพันธุ์อื่นๆ เพราะปลาจะแพ้คลอรีนและความสกปรกของน้ำได้ง่ายกว่าปลาทองสายพันธุ์อื่นๆ จึงหาผู้เลี้ยงได้น้อยรายที่จะสามารถเลี้ยงได้สวยได้.

ใหม่!!: ปลาทองและโทะซะกิน · ดูเพิ่มเติม »

โคเมท

มทสีดำ โคเมท (Comet) เป็นปลาทองสายพันธุ์หนึ่งที่ปรากฏในปัจจุบัน มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมที่สหรัฐอเมริกา ลักษณะของโคเมทคือ ลำตัวผอมเพรียวยาวแลดูคล้ายปลาคาร์ป ครีบทุกครีบยาวโดยเฉพาะครีบหาง ลำตัวมักมีสีเดียวล้วน ๆ เช่น สีขาวหรือสีแดง ขนาดเมื่อโตเต็มที่สามารถยาวได้ถึง 12 นิ้ว จัดว่าเป็นปลาทองสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากสายพันธุ์หนึ่ง โดยชื่อ โคเมท นั้น หมายถึงดาวหาง ทั้งนี้เพราะความที่มีลักษณะเพรียวยาวเหมือนดาวหางนั่นเอง โคเมทในประเทศแถบตะวันตก เช่น ที่สหรัฐอเมริกาหรืออังกฤษจะเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมาก และมีราคาสูง แต่สำหรับในประเทศไทยและแถบเอเชียนั้น สายพันธุ์นี้กลับไม่ได้รับความนิยมเท่าและมีราคาต่ำ ทั้งที่ปลาทองสายพันธุ์นี้จัดว่าเลี้ยงง่ายกว่าสายพันธุ์อื่นมาก ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีจุดเด่นเพียงพอที่จะทำให้แลดูสวยงามเหมือนสายพันธุ์อื่น อีกทั้งยังมีลักษณะทั่วไปคล้ายปลาคาร์ปอีกด้วย จึงทำให้มีความเข้าใจผิดและสับสนกันระหว่างปลาทั้งสองชนิดนี้เสมอ ๆ โดยเฉพาะในตัวที่ยังเล็กอยู่ และบางคนอาจจะเลี้ยงปนกันในบ่อเดียวกันด้ว.

ใหม่!!: ปลาทองและโคเมท · ดูเพิ่มเติม »

ไทยสยาม

ทยสยาม (Thai Siam) โดยทั่วไปหมายถึง คือกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งพูดภาษาไทยกลาง หรือมี เชื้อชาติไทยสยามผสมอยู่ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และอาศัยกระจายอยู่ในประเทศอื่นทั่วโลก โดยคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาคริสต์ ในความหมายทางชาติพันธุ์ ใช้เฉพาะเจาะจงถึงคนไทยภาคกลาง หรือเดิมเรียกว่า ชาวสยาม แต่ในความหมายมุมกว้าง สามารถหมายความครอบคลุมถึง กลุ่มชาติพันธุ์ไทย อื่นๆ ทั้งนอกและในราชอาณาจักร เช่น ไทยโคราช ไทยอีสาน ไทยโยเดีย หรือ ไทยเกาะกง เช่นกัน.

ใหม่!!: ปลาทองและไทยสยาม · ดูเพิ่มเติม »

เกล็ดแก้ว

กล็ดแก้วหัววุ้น เกล็ดแก้ว (Pearlscale; チンシュリン; โรมะจิ: chinshurin) เป็นปลาทองสายพันธุ์หนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันในปัจจุบัน มีรูปร่างลักษณะ ตัวอ้วนกลมคล้ายลูกกอล์ฟ มีลักษณะเด่นคือ เกล็ดทุกเกล็ดจะปูดนูนออกมา จึงเป็นที่มาของชื่อเกล็ดแก้ว หัวมีขนาดเล็กมาก จนอาจนับได้ว่าเป็นปลาทองสายพันธุ์ที่มีหัวเล็กที่สุด ครีบหางแผ่กางออกแลดูสวยงาม สีสันของลำตัวมีมากมายหลากหลาย ทั้ง ขาว, น้ำตาล, เหลืองและส้ม และหลากหลายสีในตัวเดียวกัน แต่ไม่พบปลาที่มีสีดำทั้งตัว และมีทั้งหัววุ้นและหัวมงกุฎ เกล็ดแก้วเป็นปลาทองที่ชาวไทยเป็นผู้เพาะพันธุ์ขึ้นมาเป็นครั้งแรก แต่ทว่าไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดเป็นผู้คิดค้นและทำไว้ตั้งแต่เมื่อไหร.

ใหม่!!: ปลาทองและเกล็ดแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Carassius auratus auratusGoldfishปลาเงินปลาทอง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »