โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาฉลามหางยาว

ดัชนี ปลาฉลามหางยาว

ปลาฉลามหางยาว (Thresher shark, Long-tailed shark) เป็นปลากระดูกอ่อนประเภทปลาฉลามวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Alopiidae ในอันดับปลาฉลามขาว (Lamniformes) โดยมีเพียงสกุลเดียว คือ Alopias แม้ว่าปลาฉลามหางยาวจะอยู่ในอันดับเดียวกันกับปลาฉลามขาว แต่ปลาฉลามหางยาวมีอุปนิสัยที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง โดยเป็นปลาที่ขี้อาย หาตัวพบเห็นได้ยากมาก แม้ว่าจะพบได้ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก แต่สถานที่ ๆ พบเห็นตัวได้มีเพียงไม่กี่แห่ง ปลาฉลามหางยาว มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวเพรียวยาวทรงกระสวย ดวงตากลมโตมีขนาดใหญ่ แต่มีปากขนาดเล็กและส่วนหัวที่กลมเล็ก ลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ครีบหางตอนบนยาวมากอันเป็นลักษณะเด่นและเป็นที่มาของชื่อ ยามเมื่อว่ายน้ำครีบหางส่วนนี้สามารถขยับขึ้นลงได้ด้วย ครีบอกมีขนาดใหญ่ ปลาฉลามหางยาว มีประสาทรับกลิ่นที่ไวมากเช่นเดียวกับปลาฉลามทั่วไป เป็นปลาที่ล่าปลาชนิดอื่นในแนวปะการังกินเป็นอาหาร สามารถพบได้ในระดับความลึกกว่า 150 เมตร จัดเป็นปลาที่พบเห็นได้ยาก โดยแหล่งที่ขึ้นชื่อที่พบเห็นได้บ่อย คือ เกาะมาลาปัสกัว ที่อยู่ทางเหนือของเกาะเซบู ของทะเลฟิลิปปิน จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำดูปลาฉลามหางยาวจนขึ้นชื่อ.

12 ความสัมพันธ์: ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคพืดหินปะการังสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังหูฉลามอันดับปลาฉลามขาวทะเลฟิลิปปินปลากระดูกอ่อนปลาฉลามหางยาวหน้าหนูปลาฉลามหางยาวธรรมดาปลาฉลามขาวเกาะมาลาปัสกัว

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค

ั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค (ชั้นย่อย: Elasmobranchii) เป็นชั้นย่อยของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ปลาในชั้นนี้มีวิวัฒนาการมาจากยุคดีโวเนียนยุคต้น (เมื่อ 400 ล้านปีก่อน) จนถึงปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลาในชั้นนี้คือ ไม่มีถุงลมช่วยในการว่ายน้ำ มีช่องเหงือกทั้งหมด 5-7 คู่เปิดออกสู่ภายนอกเพื่อใช้ในการหายใจ ครีบหลังแข็งมีเกล็ดแบบสาก มีฟันที่แข็งแรงหลายชุดในปาก ปากอยู่ต่ำลงมาทางด้านท้อง มีขากรรไกรที่ไม่เชื่อมติดกับกะโหลก และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกอ่อนจะแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง รูจมูกทั้ง 2 ข้างไม่ทะลุเข้าช่องปาก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมอง 10 คู่ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการปฏิสนธิภายใน โดยที่ออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนเจริญในท่อรังไข่ เพศผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นแท่ง 1 คู่ซึ่งวิวัฒนาการมาจากครีบ อยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน บริเวณครีบท้อง ใช้สำหรับผสมพันธุ์และปล่อยอสุจิ ขณะที่เพศเมียจะมีช่องคลอด เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวและชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค · ดูเพิ่มเติม »

พืดหินปะการัง

แผนที่แสดงการกระจายตัวของแนวปะการังทั่วโลก แนวปะการัง หรือ พืดหินปะการัง เป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อน และมีความหลากหลายมากที่สุดในทะเล แนวปะการังจัดเป็นสิ่งก่อสร้างของสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นหินปูนที่มีความแข็ง โดยสัตว์ทะเลขนาดเล็กคือ ปะการัง รวมถึงซากของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในทะเลอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น สาหร่ายหินปูน, หอยที่มีเปลือกแข็ง เป็นต้น ทั้งปะการังเองและสิ่งมีชีวิตที่สร้างหินปูนได้ เมื่อตายไปแล้วจะยังคงเหลือซากหินปูนทับถมพอกพูน ซึ่งถือว่าเป็นขบวนการสร้างแนวปะการัง ซากหินปูนเหล่านั้นค่อย ๆ ผุกร่อนเป็นผงตะกอน ซึ่งส่วนหนึ่งก็ยังคงสะสมพอกพูนในแนวปะการัง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจถูกพัดพาล่องลอยไปตามกระแสน้ำไปทับถมพอกพูนเป็นชายหาด การเจริญเติบโตของแนวปะการังเป็นไปอย่างช้า ๆ ในแต่ละปี ปะการังบางชนิดอาจเพิ่มขนาดของตนเองขึ้นมาได้เพียง 2-5 เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งกว่าที่ปะการังจะสร้างตนเองจนแข็งแรงเป็นแนวพืดได้ต้องใช้เวลานับหมื่น ๆ ปี โดยแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ที่มีเนื้อที่กว้างขวางกว่า 1,562 ไมล์ (2,500 กิโลเมตร) มีแนวปะการังมากกว่า 2,900 แนว ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรกดกโลกทางธรรมชาติ และแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลก คือ สามเหลี่ยมปะการัง ที่ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างน่านน้ำของฟิลิปปินส์ เช่น อุทยานธรรมชาติปะการังตุบบาตาฮา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะโซโลมอน และติมอร์เลสเต คิดเป็น 1 ใน 3 ของแนวปะการังที่มีอยู่ในโลก และมีความหลากหลายของชนิดปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังคิดเป็นร้อยละ 35 ของปลาที่อาศัยในแนวปะการังทั้งหมดทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวและพืดหินปะการัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

หูฉลาม

หูฉลามปรุงเสร็จ หูฉลาม หรือ ซุปหูฉลาม หรือ ฮื่อฉี่ ในสำเนียงแต้จิ๋ว (จีนตัวเต็ม: 魚翅, จีนตัวย่อ: 鱼翅) เป็นอาหารจีนที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีอย่างหนึ่ง ประวัติของหูฉลามนั้นย้อนไปได้ถึงสมัยราชวงศ์หมิง หูฉลาม นั้นปรุงมาจากครีบส่วนต่าง ๆ ของปลาฉลาม โดยใช้วิธีการปรุงคล้ายกับกระเพาะปลา คือ มีความหนีดคาว และมีส่วนผสมอย่างอื่น เช่น เนื้อไก่, เนื้อหมู, ขาหมู, กระดูกไก่, กระดูกหมู และเครื่องยาจีนต่าง ๆ ซึ่งครีบของปลาฉลามนั้น มีลักษณะเป็นกระดูกอ่อนที่แบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือฐานครีบและก้านครีบ ซึ่งเป็นกระดูกที่มีลักษณะเป็นเส้น ๆ เพื่อช่วยให้ปลาฉลามสามารถแผ่ครีบออกได้ ซึ่งส่วนที่นำมาทำเป็นหูฉลามนั้น ก็คือ ก้านครีบ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการหลายอย่าง ตั้งแต่การแตกแห้ง ต้มจนเปื่อย และขูดหนังทิ้งจนเหลือแต่กระดูกอ่อน โดยมีความเชื่อกันว่าหูฉลามที่นำมาต้มจนเปื่อยและตุ๋นจนได้ที่จะกลายเป็นอาหารวิเศษในการบำรุงร่างกาย แต่คุณค่าในทางอาหารแล้ว หูฉลามหนึ่งชามมีค่าเท่ากับไข่เป็ดฟองเดียวเท่านั้น หูฉลาม จัดว่าเป็นอาหารที่มีราคาแพง เป็นอาหารหลักในช่วงงานเทศกาลต่าง ๆ เช่น เทศกาลตรุษจีน, งานแต่งงานในจีน, ฮ่องกง, ไต้หวัน และอีกหลายประเทศที่มีชาวจีนอาศัยอยู่ อาทิเช่น สิงคโปร์ ไทย โดยภัตตาคารแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ ขายหูฉลามในราคาจานละ 16 ดอลลาร์ จากการขายหูฉลามนั้น ทำให้ทั่วโลกมีการล่าปลาฉลามเพื่อตัดเอาครีบมาทำเป็นหูฉลามมากขึ้น รายงานของกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) ระบุว่า มีปลาฉลามจำนวนกว่า 73 ล้านตัวถูกฆ่าในทุก ๆ ปี และในปี..

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวและหูฉลาม · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามขาว

อันดับปลาฉลามขาว (Mackerel shark) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนในชั้นปลาฉลามอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อว่า Lamniformes มีลักษณะโดยรวม คือ มีช่องเปิดเหงือกด้านละ 5 ช่อง ช่องเปิดเหงือกช่องที่ 4 และช่องที่ 5 อยู่เหนือฐานของครีบอก ไม่มีช่องรับน้ำบริเวณด้านหลังของตาหรือถ้ามีจะมีขนาดเล็ก จมูกไม่มีหนวด และไม่มีร่องเชื่อมระหว่างจมูก และปาก nตาอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัวเยื้องขึ้นมาทางด้านบนเล็กน้อย ครีบหลังทั้งสองครีบไม่มีหนามแข็งอยู่ทางด้านหน้า มีครีบหลัง 2 ครีบ มีครีบก้น ปากกว้างเป็นแบบพระจันทร์เสี้ยวมุมปากอยู่ทางด้านหลังของตา จะงอยปากแหลมเป็นรูปกรวย มีทั้งหมดทั้งสิ้น 7 วงศ์ 60 ชนิดที่ยังคงมีชีวิตมาจนถึงปัจจุบันนี้.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวและอันดับปลาฉลามขาว · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลฟิลิปปิน

ทะเลฟิลิปปิน ทะเลฟิลิปปิน (Dagat Pilipinas; Philippine Sea) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ มีร่องลึกได้แก่ ร่องลึกฟิลิปปินเทรนซ์และมาเรียนาเทรนซ์ ที่เป็นจุดลึกที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวและทะเลฟิลิปปิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวและปลากระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามหางยาวหน้าหนู

ปลาฉลามหางยาวหน้าหนู หรือ ปลาฉลามหางยาวตาโต (Bigeye thresher shark, False thresher) ปลากระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลามชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาฉลามหางยาว (Alopiidae) โดยคำว่า superciliosus ที่ใช้เป็นชื่อวิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาละตินคำว่า super หมายถึง "เหนือ" และ ciliosus หมายถึง "คิ้ว" อันหมายถึง ร่องที่อยู่เหนือดวงตา ปลาฉลามหางยาวตาโต มีรูปร่างลักษณะเหมือนกับปลาฉลามหางยาวชนิดอื่นทั่วไป มีร่างกายสีเทาออกม่วงกลมกลืนไปกับสีของสภาพแวดล้อม มีดวงตากลมโตรูปลูกแพร์ขนาดใหญ่กว่าปลาฉลามหางยาวชนิดอื่น โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร นับว่าเป็นขนาดของตาของสัตว์โลกที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ใช่สัตว์จำพวกนก สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพของทะเลลึกที่มืดมิดที่มีปริมาณแสงน้อย นอกจากนี้แล้วยังสามารถที่ปรับอุณหภูมิในร่างกายให้อุ่นกว่าอุณหภูมิของน้ำที่อาศัยอยู่ โดยจะมีอุณหภูมิร่างกายอยู่ที่ 2-4 องศาเซลเซียส ปลาฉลามหางยาวตาโต จัดเป็นปลาฉลามกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีขนาดเฉลี่ยประมาณ 4.6 เมตร หรือเล็กกว่านี้ พบใหญ่ที่สุด 4.8 เมตร น้ำหนักประมาณ 360 กิโลกรัม ปลาฉลามหางยาวตาโต อาศัยอยู่ในมหาสมุทรที่มีความลึกกว่า 500 เมตร น้ำมีอุณหภูมิเย็น พบได้ในหลายพื้นที่ทั่วโลก แต่จะพบได้บ่อยที่มหาสมุทรแอตแลนติก รวมถึงบางส่วนในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียด้วย เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไว ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ล่าปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำต่าง ๆ กินเป็นอาหาร โดยใช้ครีบหางท่อนบนที่ยาวใหญ่นั้นตีไล่เหยื่อ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 12-13 ปีในตัวเมีย และ 9-10 ปีในตัวผู้ ลูกปลาเกิดใหม่มีความยาว 70-106 เซนติเมตร โดยเกิดเป็นตัวจากไข่ในช่องท้องของปลาตัวแม่ เป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่งที่ถูกจับและใช้ประโยชน์ในทางการประมง และก็ถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน 10 ชนิดของปลาฉลามที่ถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวและปลาฉลามหางยาวหน้าหนู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามหางยาวธรรมดา

ปลาฉลามหางยาวธรรมดา หรือ ปลาฉลามเทรเชอร์ (Common thresher shark, Thresher shark, Long-tailed thresher shark) ปลากระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง จำพวกปลาฉลาม อยู่ในวงศ์ปลาฉลามหางยาว (Alopiidae) โดยที่คำว่า vulpinus นั้นแปลงมาจากภาษาละตินคำว่า vulpes หมายถึง "หมาจิ้งจอก" ซึ่งในบางแหล่งข้อมูลที่มีข้อมูลเก่าอาจจะใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alopias vulpes จัดเป็นปลาฉลามกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง โดยมีความยาวเฉลี่ยเต็มที่ประมาณ 5.5-6.1 เมตร น้ำหนักตัวหนักได้ถึง 499 กิโลกรัม มีลักษณะเด่น คือ ครีบหางส่วนบนที่ยาวมาก คิดเป็นร้อยละ 50 ของขนาดตัว และมีน้ำหนักส่วนหางมากถึงร้อยละ 33 ของน้ำหนักตัวทั้งหมด ซึ่งครีบหางนี้ยามว่ายน้ำสามารถโบกขึ้นลงไปในแนวตั้งได้ด้วย ส่วนหัวมีขนาดกลมเล็ก ปากเล็ก ขากรรไกรเล็ก ภายในปากมีฟันแหลม ๆ คมซี่เล็ก ๆ จำนวนมาก ดวงตากลมโตมีขนาดใหญ่ ลำตัวสีขาวปลอดหรือขาวเงินแวววาวทั้งตัว ครีบอกแหลมยาว ครีบหลังตอนที่ 2 มีขนาดเล็ก ปลาฉลามหางยาวธรรมดา เป็นปลาฉลามที่มีนิสัยขี้อาย มักพบเห็นตัวได้ยากมาก เป็นปลาที่หากินและอาศัยอยู่ตามลำพัง โดยล่าปลาขนาดเล็กรวมถึงสัตว์น้ำอื่น ๆ กินเป็นอาหาร โดยมีวิธีการล่าเหยื่อด้วยการตีวนรอบฝูงเหยื่อให้เกิดน้ำวน เพื่อให้เหยื่อเกิดอาการตื่นตระหนกและจับทิศทางไม่ถูก จากนั้นปลาฉลามหางยาวธรรมดาก็จะว่ายผ่าตรงกลางวงไปงับกินเหยื่อทันที จัดเป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่งที่ว่ายน้ำได้ว่องไวมาก เป็นปลาที่พบได้ทั่วโลกในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น แต่ก็ถือว่าเป็นปลาที่พบเห็นได้ยากมาก สามารถพบเห็นได้ในที่ลึกถึง 500 เมตร แต่ปลาฉลามหางยาวธรรมดาก็สามารถว่ายเข้าชายฝั่งและเขตที่น้ำตื้นได้ด้วยเช่นกัน รวมถึงสามารถกระโดดได้สูงขึ้นเหนือน้ำได้ด้วย เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว โดยลูกปลาจะกินกันเองตั้งแต่อยู่ในท้องแม่เหมือนปลาฉลามชนิดอื่นอีกหลายชนิด ลูกปลาแรกเกิดมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร โดยออกลูกครั้งละ 2-6 ตัว เป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่ง ที่ถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์จากการทำประมง จนถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน 10 ชนิดของปลาฉลามที่ใกล้สูญพันธุ์ที่สุดของโลก โดยนำชิ้นส่วนต่าง ๆ ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรือบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ ที่เกาะมาลาปาสกัว ทางตอนเหนือของเกาะเซบู ในทะเลฟิลิปปิน เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พบปลาฉลามหางยาวธรรมดาได้บ่อย จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำดูปลาฉลามหางยาวจนขึ้นชื่อ.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวและปลาฉลามหางยาวธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามขาว

ปลาฉลามขาว (Great white shark) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง มีขนาดตัวที่ค่อนข้างใหญ่ พบได้ตามเขตชายฝั่งแถบทะเลใหญ่ มีความยาวประมาณ 6 เมตร น้ำหนักประมาณ 2250 กิโลกรัม ทำให้ปลาฉลามขาวเป็นปลากินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงเป็นสัตว์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย และเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชี่ส์เดียวในสกุล Carcharodon ที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์อยู่ในปัจจุบัน โดยเป็นปลาที่ถือกำเนิดมาแล้วนานกว่า 16 ล้านปี.

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวและปลาฉลามขาว · ดูเพิ่มเติม »

เกาะมาลาปัสกัว

กาะมาลาปัสกัวด้านเหนือ เกาะมาลาปัสกัวด้านใต้ เกาะมาลาปัสกัว (Malapascua) เป็นเกาะขนาดเล็กในประเทศฟิลิปปินส์ อยู่ในทะเลวิซายาส ห่างจากจุดเหนือสุดของเกาะเซบูไปทางเหนือซึ่งเป็นช่องแคบน้ำตื้นเป็นระยะทาง 6.8 กิโลเมตร การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอยู่ในเขตตำบลโลกอน ดาอันบันตายัน เกาะเซบู ตัวเกาะมาลาปัสกัวมีพื้นที่เพียงราว 2.5×1 ตารางกิโลเมตร มีหมู่บ้านบนเกาะ 8 หมู่บ้าน เกาะมาลาปัสกัวมีชื่อเสียงเมื่อต้นทศวรรษที่ 1990 ในฐานะจุดดำน้ำที่น่าสนใจ ก่อนหน้านั้น เกาะมาลาปัสกัวเป็นเกาะที่รู้จักกันทั่วไปเพราะมีหาดทรายขาวกว้างใหญ่ที่เรียกว่าเบาน์ตีบีช แต่ชื่อเสียงในปัจจุบันมาจากแนวปะการังรอบเกาะ รวมถึงหน้าผาปะการัง ที่สวยงาม รวมถึงความโดดเด่นในจุดที่ห่างเกาะเช่นที่เกาะกาโต ที่ตื้นโมนาด และที่ตื้นเกมด ที่ตื้นโมนาดเป็นที่ราบสูงซึ่งนักดำน้ำจะพบปลาฉลามหางยาวและปลากระเบนราหูได้เป็นประจำ อาชีพของชาวเกาะมาลาปัสกัวส่วนใหญ่เป็นอาชีพเกี่ยวกับการบริการนักท่องเที่ยว และมีบางส่วนที่หาเลี้ยงชีพด้วยการประมงพื้นบ้าน ยามเย็นที่หาดเบาน์ตี ในทางศาสนา มีความเชื่อว่า เกาะมาลาปัสกัว หรือตำบลโลกอน เป็นที่ซึ่งแม่พระแห่งผู้ถูกทอดทิ้งทรงแสดงปาฏิหาริย์เมื่อราว..

ใหม่!!: ปลาฉลามหางยาวและเกาะมาลาปัสกัว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AlopiasAlopiidaeLong-tailed sharkThresher sharkวงศ์ปลาฉลามหางยาวฉลามหางยาว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »