โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาฉลามและปลาน้ำเค็ม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลาฉลามและปลาน้ำเค็ม

ปลาฉลาม vs. ปลาน้ำเค็ม

ปลาฉลาม (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus) แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้. ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาฉลามและปลาน้ำเค็ม

ปลาฉลามและปลาน้ำเค็ม มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชายฝั่งการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำน้ำกร่อย

ชายฝั่ง

ฝั่งทางตะวันออกของบราซิล ชายฝั่ง คือแนวชายทะเลขึ้นไปบนบกจนถึงบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด มักมีลักษณะโค้งและเว้าแตกต่างกันออกไป บ้างก็เป็นหน้าผาหินสูงชัน และบางแห่งก็เป็นชายหาดระดับต่ำที่แผ่ขยายออกไปกว้างขวางแทรกสลับอยู่ระหว่างภูเขาและโขดหิน แรงที่ทำให้เกิดรูปร่างของชายฝั่งแบบต่างๆ เกิดจากแรงจากกระแสคลื่นและลมในทะเลที่ก่อให้เกิดขบวนการกัดกร่อน พัดพาและสะสมตัวของตะกอน เศษหินและแร่ที่เกิดจากขบวนการภายในโลกที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการยกตัวหรือจมตัว.

ชายฝั่งและปลาฉลาม · ชายฝั่งและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และปลาฉลาม · การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

right right right ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (river delta) จะเกิดเฉพาะกับแม่น้ำที่พัดพาเอาตะกอนขนาดเล็ก ๆ จำพวกทรายละเอียดและโคลนมากับลำน้ำเป็นปริมาณมาก แล้วมาตกตะกอนทับถมกันบริเวณปากแม่น้ำ เมื่อแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ ความเร็วของน้ำในแม่น้ำจะลดลงและตะกอนที่แม่น้ำพัดมาจะค่อย ๆ สะสมตัวบริเวณดังกล่าว ในบางแห่งขณะน้ำขึ้นน้ำลง กระแสน้ำจะพัดพาเอาทรายและโคลนออกไปสู่ทะเลไกลออกไปจึงไม่มีดินดอนปากแม่น้ำเกิดขึ้น ถ้าในกรณีที่กระแสน้ำขึ้นลงไม่ส่งอิทธิพลรุนแรง แม่น้ำก็จะพัดพาเอาตะกอนมาสะสมอยู่เรื่อย ๆ โดยทรายหยาบจะตกตะกอนลงเป็นพวกแรกและนาน ๆ เข้าก็จะปรากฏเป็นสันทรายบริเวณปากแม่น้ำ ในที่สุดแม่น้ำก็จะแตกแขนงออกเป็นสองสาขาในเวลาต่อมา ในเวลาต่อมาแม่น้ำทั้งสองสาขาก็จะถูกปิดกั้นด้วยสันทราย ทำให้สาขาแม่น้ำแตกออกเป็นสาขาลำน้ำย่อยลงไปอีก ดินดอนโดยทั่วไปมักมีสาขาของลำน้ำที่แตกแขนงจากแม่น้ำใหญ่ โคลนเนื้อละเอียดจะถูกพัดพาไปไกลจากสันทรายและตกตะกอนสะสมตัวกันแผ่คลุมท้องทะเลหรือทะเลสาบในบริเวณที่กว้างขวางเป็นรูปคล้ายพัดหรืองอกตัวลงทะเลตลอดเวลา โดยธรรมดาแล้วแม่น้ำทุกสายที่ไหลลงทะเลหรือทะเลสาบจะมีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเกิดขึ้นเสมอ ที่เราเรียกกันว่า "เดลต้า" (delta) เพราะว่าบริเวณดังกล่าวมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ซึ่งถึงแม้ว่าดินดอนจะไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมนักภูมิศาสตร์โดยทั่วไปก็เรียกว่า "เดลต้า" แม่น้ำสายใหญ่ ๆ เช่นในเอเชีย เช่น แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสในอิรัก ซึ่งเดิมเมืองโบราณชื่ออัวร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้วอยู่ติดทะเล แต่ปัจจุบันเมืองดังกล่าวอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน 240 กิโลเมตร แม่น้ำพรหมบุตรใน.

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำและปลาฉลาม · ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

น้ำกร่อย

น้ำกร่อย (Brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand.

น้ำกร่อยและปลาฉลาม · น้ำกร่อยและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาฉลามและปลาน้ำเค็ม

ปลาฉลาม มี 54 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปลาน้ำเค็ม มี 21 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 5.33% = 4 / (54 + 21)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาฉลามและปลาน้ำเค็ม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »