โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลากินยุง

ดัชนี ปลากินยุง

ปลากินยุง (Mosquitofish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gambusia affinis อยู่ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliidae) มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายปลาหางนกยูง ซึ่งเป็นปลาที่มีความใกล้เคียงกันและอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ทว่าปลาแกมบูเซียมีขนาดรูปร่างที่ใหญ่กว่า ปากแหลมกว่าและปลายปากจะเชิดขึ้นด้านบน ที่ตามีเส้นสีเข้มพาดในแนวดิ่งผ่านรูม่านตาลงมาถึงใต้ตา มีครีบหลัง ลำตัวกลมมีโครง 7 ซี่ ครีบก้นและครีบท้อง มีโครง 6 ซี่ ที่เส้นข้างลำตัวมีเกล็ด 27-30 อัน ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ เมื่อโตเต็มที่อาจจะมีขนาดยาวได้ถึง 3 นิ้ว ในขณะที่ตัวผู้มีขนาดยาวเพียง 1.5 นิ้ว ทั้งนี้ปลาตัวเมียและตัวผู้มีจุดสีเข้ม ซึ่งมักเห็นได้ชัดเจนเมื่อยังเล็ก ต่อเมื่อโตขึ้นจุดดังกล่าวมักจางลง หากดูด้านข้างของปลาตัวเมียในที่สว่างจ้าจะเห็นสีเหลือบของสีเขียว, สีฟ้า และสีเหลือง โดยรวมแล้วสีสันจะสวยสดกว่าปลาหางนกยูง ปลาแกมบูเซียเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือ แถบรัฐเทกซัส โดยมีพฤติกรรมเหมือนเช่นปลาในวงศ์ปลาสอดชนิดอื่น ๆ กล่าวคือ เป็นปลาที่หากินอยู่บริเวณผิวน้ำ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง สามารถปรับตัวอยู่ได้ทุกสภาพแหล่งน้ำ ทั้งห้วย, หนอง, คลอง, บึง หรือในที่ ๆ ที่แหล่งน้ำไม่สะอาด มีออกซิเจนต่ำ ปลาแกมบูเซีย มีอายุขัยตลอดชีวิตอยู่ได้ราว 12 เดือน หรือ 1 ปี ในบางตัวอาจอยู่ได้ยาวถึง 15 เดือน กินจำพวก ตัวอ่อนของแมลงเช่น ลูกน้ำเป็นอาหาร รวมถึงแพลงก์ตอนพืช, แพลงก์ตอนสัตว์, ตะไคร่น้ำ และไดอะตอมได้ด้วย ลูกปลาที่เกิดใหม่มีขนาดยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร และสามารถกินลูกน้ำได้ทันที เฉลี่ยแล้วในวันหนึ่ง ปลาแกมบูเซียตัวหนึ่งอาจกินลูกน้ำได้เป็นร้อยตัว ซึ่งนับได้ว่ากินเก่งกว่าปลาหางนกยูงมาก ปลาตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 6-8 สัปดาห์ ปลาตัวเมียมีถุงพิเศษใช้เก็บน้ำเชื้อของตัวผู้ ซึ่งการผสมพันธุ์หนึ่งครั้งจะมีน้ำเชื้อมากพอ สำหรับใช้ผสมกับไข่ได้หลายท้อง ปลาแกมบูเซียออกลูกเป็นตัวโดยจะออกลูกท้องละ 40-100 ตัว (ใช้เวลาออกลูก 21-28 วันต่อหนึ่งท้อง) แต่ละท้องห่างกันประมาณ 6 สัปดาห์ และตลอดชีวิตของจะตั้งท้องได้ 3-4 ครั้ง.

28 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2396การร่วมเพศการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามมิลลิเมตรรัฐเท็กซัสลูกน้ำ (แก้ความกำกวม)วงศ์ปลาสอดสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัปดาห์สีน้ำเงินสีเหลืองสีเขียวสปีชีส์อสุจิออกซิเจนอันดับปลาหัวตะกั่วทวีปอเมริกาเหนือตะไคร่น้ำปลาหางนกยูงปลาที่มีก้านครีบปลาแกมบูเซียนิ้ว (หน่วยความยาวระบบอังกฤษ)แพลงก์ตอนแมลงไดอะตอมเดือน

พ.ศ. 2396

ทธศักราช 2396 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1853.

ใหม่!!: ปลากินยุงและพ.ศ. 2396 · ดูเพิ่มเติม »

การร่วมเพศ

'''Coition of a Hemisected Man and Woman''' (ประมาณ ค.ศ. 1492) วาดโดย เลโอนาร์โด ดา วินชี แสดงให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในร่างกายในการร่วมเพศระหว่างชาย-หญิง quote.

ใหม่!!: ปลากินยุงและการร่วมเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: ปลากินยุงและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: ปลากินยุงและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

มิลลิเมตร

มิลลิเมตร อักษรย่อ มม. (Millimetre: mm) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 x 10-3 เมตร.

ใหม่!!: ปลากินยุงและมิลลิเมตร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเท็กซัส

ท็กซัส (Texas) เป็นรัฐที่อยู่ทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ทั้งหมด 695,622 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 22.8 ล้านคน เท็กซัสเป็นรัฐที่ใหญ่เป็นอันดับสองทั้งพื้นที่และประชากร รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับที่ 28 ในปี พ.ศ. 2388 อักษรย่อของที่ทำการไปรษณีย์สหรัฐคือ TX.

ใหม่!!: ปลากินยุงและรัฐเท็กซัส · ดูเพิ่มเติม »

ลูกน้ำ (แก้ความกำกวม)

ลูกน้ำ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ปลากินยุงและลูกน้ำ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสอด

วงศ์ปลาสอด (Molly) วงศ์ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Poeciliidae อยู่ในอันดับปลาหัวตะกั่ว หรืออันดับปลาออกลูกเป็นตัว (Cyprinodontiformes) มีชื่อสามัญเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า "มอลลี่" (Molly) และมีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า "ปลาสอด" ซึ่งเข้าใจว่าคงเพี้ยนมาจากคำว่า "Sword" ที่หมายถึง "ดาบ" อันเป็นลักษณะของปลายหางของปลาในวงศ์นี้บางสกุลที่คล้ายกับวงดาบ มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่สหรัฐอเมริกาภาคตะวันออก, อเมริกากลาง, จนถึงทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ นอกจากนี้ยังพบในบางส่วนของทวีปแอฟริกาทางตอนใต้จนถึงเกาะมาดากัสการ์ด้วย เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง มีพฤติกรรมหากินอยู่ตามผิวน้ำ ตัวผู้กับตัวเมียมีลักษณะที่แตกต่างกันเห็นได้ชัดเจน โดยตัวผู้มีรูปร่างเล็กกว่า แต่มีสีสันและครีบต่าง ๆ ยาวกว่า ขณะที่ตัวเมียตัวโตกว่า ท้องอูมกว่า แต่ครีบและหางสั้นกุดกว่า รวมทั้งสีสันซีดกว่าในบางชนิดด้วย นอกจากนี้ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของปลาวงศ์นี้ คือ เป็นปลาที่ปฏิสนธิภายในตัว ออกลูกเป็นตัว โดยออกลูกได้ครั้งละ 2-300 ตัว เป็นที่รู้จักกันดีในแง่ของการเป็นปลาสวยงาม มีหลายชนิดในหลายสกุล เช่น ปลาหางนกยูง (Poecilia reticulata), ปลาเซลฟิน (P. latipinna), ปลาเอนด์เลอร์ (P. wingei), ปลาสอดหางดาบ (Xiphophorus hellerii) ปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีความหลากหลายจากดั้งเดิมยิ่งขึ้นมากมาย โดยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907 ที่เยอรมนี จนเกิดเป็นชนิดใหม่ขึ้นมา เช่น "เพลตี้" (Platy) หรือ ปลาเซลฟินที่ได้ครีบหลังสูงและใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก จนดูคล้ายใบเรือจริง ๆ หรือ ปลาสอดมิดไนท์ที่พัฒนาจนทั้งตัวเป็นสีดำสนิท สำหรับในประเทศไทย ปลาในวงศ์นี้ ได้ถูกนำเข้ามาสู่ประเทศครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเลี้ยงในอ่างบัวของผู้มีฐานะ จนถึงปัจจุบันได้กลายเป็นปลาสวยงามที่เป็นที่รู้จักกันดี ด้วยคุณสมบัติที่เลี้ยงง่าย เติบโตไว ขยายพันธุ์ง่าย และมีราคาถูก อีกทั้งยังมีประโยชน์คือสามารถกินแมลงขนาดเล็ก ๆ ทีมีวงจรชีวิตในน้ำได้ด้วย จึงใช้เป็นปลาที่จำกัดลูกน้ำยุงต่าง ๆ มีชื่อเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลากินยุง" และยังนิยมเพาะเพื่อเป็นปลาเหยื่อสำหรับปลากินเนื้อขนาดใหญ่กว่าด้วย โดยคำว่า "Poeciliidae" ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า "ποικίλος" (poikilos) หมายถึง "มีสีสันที่แตกต่างหลากหลาย".

ใหม่!!: ปลากินยุงและวงศ์ปลาสอด · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลากินยุงและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลากินยุงและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัปดาห์

ัปดาห์ เป็นหน่วยวัดเวลาเท่ากับเจ็ดวัน เป็นหน่วยเล็กกว่าเดือน อย่างไรก็ดี บางครั้งคำว่า "สัปดาห์" นี้ยังหมายถึงหน่วยวัดเวลาอื่นซึ่งน้อยหรือมากกว่าเจ็ด โดยในประวัติศาสตร์ สัปดาห์หนึ่งยาวสี่ถึงสิบวันในที่ต่าง ๆ กัน หลักฐานการนับว่าสัปดาห์หนึ่งมีเจ็ดวันอย่างต่อเนื่องมานั้นปรากฏในหมู่ชาวยิวระหว่างการคุมขังที่บาบิโลน (Babylonian Captivity) ในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ทั้งศาสนายูดาย (ตามบรรยายการสรรค์สร้างในโทราห์/ไบเบิล) และบาบิโลนโบราณใช้สัปดาห์เจ็ดวัน วัฒนธรรมอื่นได้รับเอาสัปดาห์เจ็ดวันไปในเวลาแตกต่างกัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึง 3 จักรวรรดิโรมันค่อย ๆ แทนที่ปฏิทินโรมันซึ่งสัปดาห์หนึ่งมีแปดวันด้วยสัปดาห์เจ็ดวัน ชาวฮินดูอาจรับสัปดาห์เจ็ดวันก่อนศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานว่าชาวจีนบางกลุ่มได้ใช้สัปดาห์เจ็ดวันตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4.

ใหม่!!: ปลากินยุงและสัปดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำเงิน

ีน้ำเงิน เป็นหนึ่งในแม่สี ทั้งแม่สีทางแสง และทางวัตถุธาตุ เป็นแม่สีที่มีความยาวคลื่นต่ำที่สุด แสงสีน้ำเงินมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 440-490 นาโนเมตร เป็นสีที่ใกล้เคียงกับสีฟ้าและสีกรมท่า และถือเป็น 1 ในแม่สีร่วมกับ สีแดง และสีเขียว สีน้ำเงิน เป็นสีในกลุ่มสีโทนเย็น สีน้ำเงินเป็นสีที่สร้างความสุขุมเยือกเย็น หนักแน่นและละเอียดรอบคอบ ใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจและการแสดงออกทางศิลปะได้ดีอีกด้วย ขณะที่สีฟ้าให้ความรู้สึกแบบเดียวกับสีเขียว คือ สบายตา ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง โล่งใจ ลดความร้อนรุ่มกระวนกระวายใจลงได้.

ใหม่!!: ปลากินยุงและสีน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

สีเหลือง

ีเหลือง เป็น 1 ใน 3 แม่สี ร่วมกับสีแดง และสีน้ำเงิน โดยปกติสีจะมีอยู่สองโทน คือ สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น แต่สีเหลืองเป็นสีที่อยู่ตรงกลางระหว่าง สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น จึงสามารถเลือกใช้สีเหลืองเข้าไปผสมผสานได้กับสีทั้งสองโทน ซึ่งนอกจากสีเหลืองแล้วยังมีสีม่วงอีกสีหนึ่งที่มีลักษณะดังกล่าว.

ใหม่!!: ปลากินยุงและสีเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

สีเขียว

ีเขียว เป็นสีสีหนึ่งบนคลื่นที่ตามองเห็น ตั้งอยู่ระหว่างสีน้ำเงินและสีเหลือง สีเขียวเกิดจากแสงที่ความยาวคลื่นประมาณ 495-570 นาโนเมตร สีเขียวในแม่สีเชิงลบที่ใช้สำหรับระบายสีและพิมพ์สีเกิดจากสีเหลืองผสมกับสีน้ำเงิน หรือสีเหลืองผสมกับสีน้ำเงินอมเขียว ในระบบสี RGB ที่พบในโทรทัศน์และจอคอมพิวเตอร์ เป็นสีที่มาจากแม่สีเชิงบวก ร่วมกับสีแดงและสีน้ำเงิน ซึ่งต่างก็ผสมกันจนกลายเป็นสีอื่น ๆ ได้ ในภาษาอังกฤษใหม่ คำว่า green (สีเขียว) มาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า grene จากรากศัพท์ภาษาเยอรมันเดียวกันกับคำว่าคำว่า "grass" และ "grow" สีเขียวเป็นสีของการปลูกหญ้าและใบไม้ ด้วยเหตุนี้สีเขียวจึงเป็นสีของฤดูใบไม้ผลิ ความเจริญเติบโต และธรรมชาติEva Heller, Psychologie de la couleur- effets et symboliques.

ใหม่!!: ปลากินยุงและสีเขียว · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลากินยุงและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อสุจิ

อสุจิ สามารถหมายถึงสารผสมระหว่าง.

ใหม่!!: ปลากินยุงและอสุจิ · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: ปลากินยุงและออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาหัวตะกั่ว

อันดับปลาหัวตะกั่ว หรือ อันดับปลาออกลูกเป็นตัว (Toothcarp) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งขนาดเล็กอันดับหนึ่ง พบกระจายพันธุ์โดยทั่วไปในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อยของเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ใช้ชื่ออันดับว่า Cyprinodontiformes โดยมากแล้วเป็นปลาที่มีขนาดเล็กมีความยาวโดยเฉลี่ยไม่เกิน 10 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินและอาศัยบริเวณผิวน้ำ โดยเฉพาะริมฝั่งที่มีไม้น้ำหรือร่มไม้ขึ้นครึ้ม ส่วนมากมีสีสันสวยงาม มีความแตกต่างระหว่างตัวผู้และตัวเมียค่อนข้างชัดเจน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้, แอฟริกา และบางส่วนในทวีปเอเชีย เช่น เอเชียใต้ และเอเชียอาคเนย์ ปลาในอันดับนี้ส่วนมากออกลูกเป็นไข่ แต่มีบางชนิดออกลูกเป็นตัว ชนิดที่ออกลูกเป็นตัวจะมีลักษณะเฉพาะ คือ ตัวผู้จะมีอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งมีการพัฒนาลักษณะโครงสร้างมาจากก้านครีบก้นคือ จะมีลักษณะแหลมยาวเรียกว่า โกโนโพเดียม ซึ่งจะใช้เป็นอวัยวะนี้ผสมพันธุ์กับตัวเมียส่วนอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของตัวเมียจะมีช่องเพศอยู่บริเวณหน้าครีบก้น ซึ่งตัวผู้จะใช้อวัยวะที่เรียกว่าโกโนโพเดียม สอดเข้าไปในช่องเพศของตัวเมีย และส่งน้ำเชื้อเข้าไปผสมกับไข่ของตัวเมียหรืออาจจะถูกเก็บไว้ในท่อนำไข่ ปลาในอันดับนี้สามารถออกลูกเป็นตัว โดยไข่ที่อยู่ในท้องของตัวเมียจะถูกผสมโดยน้ำเชื้อของตัวผู้ และไข่ก็จะพัฒนาอยู่ในท้องของตัวเมียจนกระทั่งฟักออกเป็นตัว ซึ่งปลาตัวเมียที่ได้ผสมกับปลาตัวผู้เพียงครั้งเดียว จะสามารถให้ลูกได้ต่อไปอีกหลายครั้ง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับการผสมพันธุ์กับตัวผู้อีกเลย โดยไข่จะผสมพันธุ์กับน้ำเชื้อที่ถูกกักเก็บไว้ในท่อนำไข่ ซึ่งการที่ปลาออกลูกเป็นตัวตัวเมียสามารถกักเก็บน้ำเชื้อตัวผู้ได้ยาวนานนั้นขึ้นอยู่ชนิดและความสมบูรณ์ของตัวแม่ปลา ปลาในอันดับนี้โดยรวม เป็นที่รู้จักกันดีของมนุษย์ โดยมิได้นำมารับประทานเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่มีการนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามกันมาอย่างยาวนานแล้ว เพราะเลี้ยงง่าย มีความสวยงาม เนื่องจากเป็นปลาขนาดเล็ก และมักว่ายอยู่บรเวณผิวน้ำ ซึ่งในปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์กันอย่างกว้างขวางนเกิดเป็นสายพันธุ์แปลก ๆ และสวยงามกว่าที่มีอยู่ในธรรมชาติจริง ๆ มากมาย อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการกำจัดลูกน้ำซึ่งเป็นตัวอ่อนของยุงได้เป็นอย่างดีอีกด้วย โดยปลาในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ วงศ์ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilidae) และ วงศ์ปลาสอด (Poeciliidae) ซึ่งรวมถึงปลาหางนกยูง (Poecilia reticulata) ด้ว.

ใหม่!!: ปลากินยุงและอันดับปลาหัวตะกั่ว · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: ปลากินยุงและทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ตะไคร่น้ำ

ตะไคร่น้ำ คือ สาหร่ายเซลล์เดียวซึ่งเกาะยึดในพื้นที่ที่มีน้ำไหล เพราะน้ำที่ไหลมีทั้งออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และสารอาหารไหลเวียนดี แสงดี สาหร่ายพวกนี้จะมายึดเกาะ กลายเป็นผืนเขียว ๆ ตะไคร่น้ำยังประกอบไปด้วยสาหร่ายชนิดต่าง ๆ รวมทั้งพวกไซยาโนแบคทีเรียมาเกาะกลุ่มอยู่รวมตัวกัน บางกลุ่มเกาะยึดในบริเวณที่เปียกชื้น บางกลุ่มอยู่ในน้ำ แต่ละกลุ่มจะมีสีที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าตะไคร่น้ำมีสาหร่ายกลุ่มใดเป็นองค์ประกอบ มักจะสับสนกับเทา ที่ป็นสาหร่ายน้ำจื.

ใหม่!!: ปลากินยุงและตะไคร่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหางนกยูง

ปลาหางนกยูง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliidae).

ใหม่!!: ปลากินยุงและปลาหางนกยูง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลากินยุงและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแกมบูเซีย

ปลาแกมบูเซีย (Gambusias, Topminnows) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Gambusia (/แกม-บู-เซีย-อา/) ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliidae) จัดเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัวจำพวกหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับปลาในวงศ์นี้สกุลอื่นทั่วไปหรือคล้ายปลาหางนกยูง แต่มีขนาดใหญ่กว่า ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 3 นิ้วในตัวเมีย และ 1.5 นิ้ว ในตัวผู้ กระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐเท็กซัส ของสหรัฐอเมริกา ไปจนถึงแคริบเบียน และทวีปอเมริกาใต้ มีลักษณะเด่น คือ มีศักยภาพในการกินลูกน้ำ ซึ่งเป็นตัวอ่อนของยุงได้เป็นอย่างดี โดยกินในปริมาณที่มาก แม้แต่ลูกปลาที่เกิดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปลากินยุง (G. affinis) จึงเป็นนิยมนำเข้ามาในประเทศต่าง ๆ เพื่อกำจัดยุงในแหล่งน้ำต่าง.

ใหม่!!: ปลากินยุงและปลาแกมบูเซีย · ดูเพิ่มเติม »

นิ้ว (หน่วยความยาวระบบอังกฤษ)

นิ้ว (inch; พหูพจน์: inches; ย่อว่า in หรือ ″ (ดับเบิลไพรม์)) เป็นหน่วยวัดความยาวในระบบอังกฤษ นิยามโดยเป็น ของฟุต หรือเท่ากับ 0.0254 เมตรพอดี นอกจากนี้การแบ่งหน่วยย่อยมักใช้เศษส่วนอย่างต่ำกำกับเช่น ″ จะไม่เขียนเป็น 2.375″ หรือ ″.

ใหม่!!: ปลากินยุงและนิ้ว (หน่วยความยาวระบบอังกฤษ) · ดูเพิ่มเติม »

แพลงก์ตอน

แพลงก์ตอน แพลงก์ตอน (plankton) มาจากคำว่า πλανκτος ("planktos") ในภาษากรีกแปลว่า wanderer หรือผู้ท่องเที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย คือสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ที่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ไม่สามารถว่ายน้ำไปยังทิศทางที่ต้องการอย่างอิสร.

ใหม่!!: ปลากินยุงและแพลงก์ตอน · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

ใหม่!!: ปลากินยุงและแมลง · ดูเพิ่มเติม »

ไดอะตอม

ไดอะตอม เป็นสาหร่ายเซลล์เดียว จัดอยู่ในอาณาจักรโครมาลวีโอลาตา สามารถพบได้ในแหล่งน้ำทั่วไป ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงสร้างของไดอะตอมประกอบด้วย ซิลิกา ห่อหุ้มไซโทพลาสซึม ซึ่งเป็นที่เก็บออร์แกเนลล์ทั้งหมด ไดอะตอมมีประมาณ 10,000 ชนิด แต่ละชนิดก็จะมีรูปร่างที่แตกต่างกัน เช่น เป็นทรงกลม คล้ายไข่ เรือ หรือจาน เป็นต้น ขยายพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์ ในสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่เหมาะสม ไดอะตอมสามารถแบ่งเซลล์ได้ 1,000,000,000 เซลล์ภายใน 1 เดือน ไดอะตอมมีประโยชน์หลายประการต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เป็นอาหารของปลา หอย สัตว์น้ำต่างๆ มนุษย์นำไดอะตอมมาใช้ขัดโลหะ ใช้เป็นฉนวนของเตาไฟ เครื่องทำความเย็น และอุตสาหกรรมต่างๆ ไดอะตอม มาจากคำว่า “Dia” ในภาษากรีก หมายถึง ข้าม พาด ขวาง และ “tome” หมายถึง ตัด เพราะว่า ไดอะตอมสามารถตัดหรือแบ่งตัวเองเป็นสองภาคได้ หมวดหมู่:ชีววิทยาทางทะเล หมวดหมู่:โครมาลวีโอลาตา.

ใหม่!!: ปลากินยุงและไดอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

เดือน

ือน คือชื่อเรียกดวงจันทร์ เช่นเดือนหงาย หรือเดือนดับ หรือเป็นหน่วยวัดระยะเวลา เท่ากับระยะเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ซึ่งมีระยะประมาณ 29.53 วัน โดยปกติ หนึ่งเดือน หมายถึงช่วงเวลาประมาณ 30 วัน เดือนมีวิธีการนับต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: ปลากินยุงและเดือน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Gambusia affinis

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »