โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปรัสเซีย

ดัชนี ปรัสเซีย

ปรัสเซีย (Prussia) หรือ พร็อยเซิน (Preußen) หรือ โบรุสเซีย (ละติน: Borussia) เป็นรัฐที่รุ่งเรืองที่สุดในบรรดารัฐทั้งหลายของชนชาติเยอรมัน มีจุดกำเนิดจากดัชชีปรัสเซียและรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค อันเป็นรัฐหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของภูมิภาคที่ชื่อว่าพร็อยเซิน รัฐแห่งนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์นเป็นเวลาหลายศตวรรษ การมีกองทัพที่เข็มแข็งทำให้ปรัสเซียประสบความสำเร็จในการแผ่ขยายดินแดน ปรัสเซียมีเมืองหลวงเดิมอยู่ที่เคอนิจส์แบร์กก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปยังเบอร์ลินในปี 1701 ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (ปี 1814–15) ซึ่งจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ภายหลังถูกทำให้ปั่นป่วนจากสงครามนโปเลียน ปรัสเซียได้รับดินแดนส่วนใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนีซึ่งรวมถึงรัฐร่ำรวยถ่านหินอย่างรัฐรูร์ (Ruhr) อิทธิพลทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของปรัสเซียได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ปรัสเซีบกลายเป็นหัวใจของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือในปี 1867 และของจักรวรรดิเยอรมันในปี 1871 ปรัสเซียในยุคจักรวรรดิเยอรมนี้มีอาณาเขตไพศาลมากกว่ารัฐเยอรมันที่เหลือรวมกันเสียอีก ชนชั้นนำของปรัสเซียมักจะระบุว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวเยอรมัน" มากกว่าบอกว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวปรัสเซีย".

45 ความสัมพันธ์: บรันเดินบวร์ค-ปรัสเซียฟรันซ์ ฟอน พาเพินพรรคนาซีพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซียพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาภาษาเยอรมันมหาอำนาจระบอบนาซีรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ครัฐเดี่ยวรัฐเนอชาแตลราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์นราชอาณาจักรปรัสเซียศาสนายูดาห์สมาพันธรัฐเยอรมันสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือสาธารณรัฐไวมาร์สงครามชเลสวิจครั้งที่สองสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียสงครามออสเตรีย-ปรัสเซียสงครามนโปเลียนสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งออทโท ฟอน บิสมาร์คอัลเบร็คท์ ดยุกแห่งปรัสเซียจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีจักรวรรดิสวีเดนจักรวรรดิออสเตรียจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิเยอรมันดัชชีปรัสเซียประเทศฝรั่งเศสประเทศโปแลนด์ประเทศเยอรมนีนาซีเยอรมนีแฮร์มันน์ เกอริงแคว้นคาลินินกราดโรมันคาทอลิกโปรเตสแตนต์ไกลช์ชัลทุงไรชส์มาร์คเบอร์ลินเกาเคอนิจส์แบร์ก

บรันเดินบวร์ค-ปรัสเซีย

รันเดินบวร์ค-ปรัสเซีย (Brandenburg-Preußen, Brandenburg-Prussia) เป็นรัฐร่วมประมุขที่เกิดจากการรวมตัวระหว่างดัชชีปรัสเซียและรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์คในปี ค.ศ. 1618 รัฐนี้ปกครองโดยสาขาของราชวงศ์โฮเอ็นโซลเลิร์นที่ก่อนหน้านั้นปกครองบรันเดินบวร์ค คำว่า "บรันเดินบวร์ค-ปรัสเซีย" เป็นคำที่ใช้เรียกสหราชอาณาจักรนี้มาจนถึงปี..

ใหม่!!: ปรัสเซียและบรันเดินบวร์ค-ปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันซ์ ฟอน พาเพิน

ฟรันซ์ โยเซฟ แฮร์มัน ไมเคิล มาเรีย ฟอน พาเพิน ซู คอนนิเกน(Franz Joseph Hermann Michael Maria von Papen zu Köningen)(29 ตุลาคม ค.ศ.1879 – 2 พฤษภาคม ค.ศ.1969)เป็นขุนนางเยอรมัน,เจ้าหน้าที่เสนาธิการและนักการเมือง เขาทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีในปี..1932 และในฐานะรองนายกรัฐมนตรีภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในปี..1933–1934 เขาเป็นกลุ่มที่ปรึกษาใกล้ชิดกับประธานาธิบดีเพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กในช่วงปลายของสาธารณรัฐไวมาร.

ใหม่!!: ปรัสเซียและฟรันซ์ ฟอน พาเพิน · ดูเพิ่มเติม »

พรรคนาซี

รรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (Nationalsozialistische Deutsche Arbeiterpartei, ย่อ: NSDAP) หรือ พรรคนาซี เดิมมีผู้เข้าร่วมเพียง 7 คน เป็นพรรคการเมืองที่ปกครองประเทศเยอรมนีช่วงไรช์ที่สาม ตั้งแต..

ใหม่!!: ปรัสเซียและพรรคนาซี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย

ระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย (Friedrich I; Frederick I of Prussia; 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1657 - 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1713) หรือ ฟรีดริชที่ 3 ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบูร์ก แห่งราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์นเป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกของรัฐมาร์เกรฟบรันเดนบูร์กระหว่าง ค.ศ. 1688 จนถึง ค.ศ. 1713 และดยุกแห่งดัชชีปรัสเซียโดยการเป็นรัฐร่วมประมุข ตำแหน่งหลังได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นราชอาณาจักรโดยฟรีดริชเป็นปฐมกษัตริย์ของราชอาณาจักรปรัสเซียระหว่าง ค.ศ. 1701 จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1713 สมเด็จพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 เป็นพระโอรสองค์ที่สามของฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบูร์ก กับพระชายาองค์แรกหลุยส์ เฮนเรียตแห่งออเรนจ์-นาซอ พระธิดาองค์โตของเฟรเดอริค เฮนรี เจ้าชายแห่งออเรนจ์ และอมาเลียแห่งโซล์มส์-บราวน์เฟลส์ พระญาติสายพระมารดาคือสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ เมื่อฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 สวรรคตเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1688 ก็ทรงสืบทอดราชสมบัติต่อจากพระบิดาเป็น ฟรีดริชที่ 3 ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบูร์ก.

ใหม่!!: ปรัสเซียและพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย

ระเจ้าฟรีดริชที่ 2 (เยอรมัน: Friedrich II.; อังกฤษ: Frederick II หรือ พระเจ้าฟรีดริชมหาราช (24 มกราคม ค.ศ. 1712 - 17 สิงหาคม ค.ศ. 1786 เป็นพระมหากษัตริย์ปรัสเซียจากราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น โดยทรงครองราชย์ระหว่างปีค.ศ. 1740 จนถึงปีค.ศ. 1786 พระองค์ทรงเป็นลำดับที่สามและ ‘กษัตริย์ในปรัสเซีย(King in Prussia)’ องค์สุดท้าย ก่อนที่จะฉลองพระอิสรยยศขึ้นเป็น ‘กษัตริย์แห่งปรัสเซีย(King of Prussia)’ หลังจากที่ได้รับดินแดนทางประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของปรัสเซีย นอกจากนั้นก็ยังทรงดำรงตำแหน่งผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบวร์กในพระนามว่า “ฟรีดริชที่ 4” และทรงได้รับสมญานามว่า ‘พระเจ้าฟรีดริชมหาราช’ และมีพระนามเล่นว่า ‘เจ้าฟริทซ์แก่(der Alte Fritz)” พระเจ้าฟรีดริชทรงมีความสนพระทัยทางศิลปะตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และทรงพยายามหนีจาการควบคุมจากพระบิดาครั้งหนึ่งแต่ไม่สำเร็จ พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 พระราชบิดาทรงเข้มงวดจนได้รับสมญานามว่า “กษัตริย์ทหาร” เมื่อยังทรงพระเยาว์ฟรีดริชทรงถูกบังคับให้ดูการประหารชีวิตอย่างทารุณของพระสหายที่ทรงรู้จักกันมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ในปีแรกทรงโจมตีจักรวรรดิออสเตรียและยึดครองบริเวณไซลีเซีย ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโปแลนด์ปัจจุบันซึ่งเป็นดินแดนยึดครองที่มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานในการขยายดินแดนของปรัสเซียและเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ราชอาณาจักรปรัสเซีย ในบั้นปลายของชีวิตพระเจ้าฟรีดริชทรงรวมอาณาจักรต่าง ๆ ที่เคยเป็นราชรัฐเล็กของปรัสเซียเข้าด้วยกันรวมทั้งดินแดนที่ทรงได้มาจากการแบ่งแยกโปแลนด์ พระเจ้าฟรีดริชทรงเป็นผู้สนับสนุนการปกครองระบบที่มีพื้นฐานมาจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม ทรงติดต่อสื่อสารกับวอลแตร์ นักปรัชญาเป็นเวลาราวห้าสิบปี และมีความสนิทสนมกันมากแต่ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์ก็เต็มไปด้วยความขัดแย้งโดยตลอด พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ๆ คือการปรับปรุงระบบการบริหารราชการและข้าราชการ และยังทรงสนับสนุนเสรีภาพของการนับถือศาสนา ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปินและนักปรัชญา เมื่อสิ้นพระชนม์ร่างของพระองค์ถูกฝังอยู่ที่พระราชวังที่โปรดปรานที่วังซองส์ซูซิที่เมืองพอทสดัม เมื่อสิ้นพระชนม์ บัลลังก์ตกไปเป็นของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 พระราชนัดดาเพราะพระองค์เองไม่มีพระราชโอรส ฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 เป็นพระโอรสของเจ้าชายเอากุสท์ วิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย พระอนุชาของพระเจ้าฟรีดริชเอง.

ใหม่!!: ปรัสเซียและพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา

“การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา” โดยฌ็อง-บาติสต์ อีซาแบ ราว ค.ศ. 1819 แม้ว่าผู้แทนจากทุกรัฐที่เข้าร่วมสงครามจะได้รับการเชิญมาประชุม แต่การต่อรองที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นไปโดย “สี่มหาอำนาจ” ซึ่งได้แก่บริเตน รัสเซีย ฝรั่งเศส และออสเตรีย การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (Congress of Vienna) คือ การประชุมราชทูตจากรัฐต่าง ๆ ในยุโรป มีรัฐบุรุษออสเตรีย เคลเมนส์ เวนเซิล ฟอน เมทเทอร์นิช (Klemens Wenzel von Metternich) เป็นประธาน ประชุมกันที่เวียนนาระหว่างเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: ปรัสเซียและการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: ปรัสเซียและภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาอำนาจ

มหาอำนาจ หมายถึงรัฐซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถแผ่อิทธิพลในระดับโลกได้ ลักษณะของรัฐมหาอำนาจ คือ ครอบครองอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจ ตลอดจนอิทธิพลทางการทูตและอำนาจแบบอ่อน (soft power) ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ประเทศด้อยอำนาจต้องพิจารณาความเห็นของมหาอำนาจก่อนดำเนินการใด ๆ ของตน นักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระบุว่า ลักษณะของสถานภาพมหาอำนาจสามารถจำแนกเป็นขีดความสามารถของอำนาจ และมิติสถานภาพ ในบางครั้ง สถานภาพมหาอำนาจได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในการประชุมที่สำคัญ ดังเช่น การประชุมแห่งเวียนนาDanilovic, Vesna.

ใหม่!!: ปรัสเซียและมหาอำนาจ · ดูเพิ่มเติม »

ระบอบนาซี

นาซี (Nazism; บ้างสะกดว่า Naziism "JAPAN: Imitation of Naziism?"; Nationalsozialismus) หรือ ชาติสังคมนิยม เป็นอุดมการณ์และวิถีปฏิบัติของพรรคนาซีและนาซีเยอรมนีPayne, Stanley G. 1995.

ใหม่!!: ปรัสเซียและระบอบนาซี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค

รัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค (Markgrafschaft Brandenburg) เป็นรัฐมาร์เกรฟที่สำคัญของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1157 และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1806 อีกชื่อหนึ่งของอาณาจักรคือ “อาณาจักรชายแดนแห่งบรันเดินบวร์ค” (March of Brandenburg หรือ Mark Brandenburg) มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของเยอรมนี และยุโรปตอนกลาง รัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์คเกิดจากอาณาจักรชายแดนตอนเหนือ (Northern March) ที่ก่อตั้งโดยชนสลาฟเวนด์ (Wends) มาเกรฟผู้ปกครองอาณาจักรได้รับการเลื่อนฐานะขึ้นเป็นเจ้าชายผู้คัดเลือกโดยพระราชบัญญัติทอง ค.ศ. 1356 ผู้เป็นผู้มีสิทธิในการเลือกตั้งจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ฉะนั้นบางครั้งจึงรู้จักกันในชื่อว่า “อาณาจักรเลือกตั้งแห่งบรันเดินบวร์ค” ด้วย (Electorate of Brandenburg หรือ Kurfürstentum Brandenburg) ในปี ค.ศ. 1415 ราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์นก็ขึ้นมามีอำนาจปกครองบรันเดินบวร์ค บรันเดินบวร์คเจริญอำนาจขึ้นอย่างรวดเร็วระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 และในที่สุดก็ได้อาณาจักรดยุคแห่งปรัสเซีย เข้ามาอยู่ในครอบครอง บรันเดินบวร์ค-ปรัสเซียกลายมาเป็นต้นกำเนิดของราชอาณาจักรปรัสเซียที่กลายมาเป็นรัฐผู้นำของเยอรมนีระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 แม้ว่าตำแหน่งสูงสุดของผู้มีสิทธิเลือกตั้งคือตำแหน่ง “พระมหากษัตริย์แห่งปรัสเซีย” แต่อำนาจที่แท้จริงก็จำกัดอยู่ในบรันเดินบวร์ค และในเมืองหลวงเบอร์ลิน และพอทสดัม แม้ว่ารัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์คจะสิ้นสุดลงด้วยการยุบตัวของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1806 แต่ก็มาแทนด้วยจังหวัดบรันเดินบวร์คของปรัสเซียในปี..

ใหม่!!: ปรัสเซียและรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเดี่ยว

แผนที่แสดงประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยว รัฐเดี่ยว (unitary state) เป็นรัฐซึ่งปกครองเป็นหน่วยเดี่ยว โดยรัฐบาลกลางอยู่ในระดับสูงสุด และเขตการบริหารใด ๆ (ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารระดับย่อยของรัฐ) สามารถใช้อำนาจได้เฉพาะตามที่รัฐบาลกลางเลือกจะมอบหมายให้ทำการแทนเท่านั้น รัฐจำนวนมากในโลกมีรูปแบบรัฐเป็นรัฐเดี่ยว รัฐเดี่ยวตรงข้ามกับรัฐสหพันธ์ (หรือสหพันธรัฐ) ในรัฐเดี่ยว รัฐบาลกลางอาจจัดตั้งหรือยุบหน่วยงานบริหารระดับย่อยของรัฐ และอำนาจของหนวยงานเหล่านี้อาจถูกขยายเพิ่มเติมหรือย่อลงได้ แม้อำนาจทางการเมืองในรัฐเดี่ยวอาจมีการมอบหมายให้ทำการแทนผ่านการมอบอำนาจปกครองสู่รัฐบาลท้องถิ่นโดยบทกฎหมาย หากรัฐบาลกลางยังอยู่ในระดับสูงสุด ซึ่งอาจยกเลิกนิติกรรมของรัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจหรือตัดทอนอำนาจของรัฐบาลท้องถิ่นก็ได้ สหราชอาณาจักรเป็นตัวอย่างหนึ่งของรัฐเดี่ยว สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ซึ่ง ร่วมกับแคว้นอังกฤษ เป็นสี่ประเทศอันประกอบขึ้นเป็นสหราชอาณาจักร มีอำนาจที่ได้รับมอบซึ่งปกครองตนเองระดับหนึ่ง โดบทั้งสกอตแลนด์ เวลส์และไอร์แลนด์เหนือ ต่างมีฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติของตนเอง แต่อำนาจที่ได้รับมอบทั้งหมดล้วนแต่เป็นที่รัฐบาลกลางของอังกฤษมอบหมายให้ทำการแทนทั้งสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจไม่อาจคัดค้านการเห็นชอบตามรัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัติที่รัฐสภาออก และอำนาจของรัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจนั้น รัฐบาลกลาง (หมายถึง รัฐสภาพร้อมด้วยรัฐบาลอันประกอบด้วยคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า) สามารถเพิกถอนหรือลดย่อลงได้ ตัวอย่างเช่น รัฐสภาไอร์แลนด์เหนือเคยถูกพักไว้สี่ครั้ง โดยอำนาจได้ถ่ายโอนไปยังสำนักไอร์แลนด์เหนือของรัฐบาลกลาง ยูเครนเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐไครเมียในประเทศมีระดับการปกครองตนเองและมีคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติปกครอง ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 สาธารณรัฐดังกล่าวยังได้มีตำแหน่งประธานาธิบดีซึ่งถูกยุบไปเพราะการโน้มเอียงแบ่งแยกซึ่งเจตนาจะโอนไครเมียให้แก่รัสเซีย หมวดหมู่:ระบอบการปกครอง หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์การเมือง.

ใหม่!!: ปรัสเซียและรัฐเดี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเนอชาแตล

รัฐเนอชาแตล (Canton de Neuchâtel) เป็นรัฐในภาครอมังดีทางตะวันตกของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส จากข้อมูลปี..

ใหม่!!: ปรัสเซียและรัฐเนอชาแตล · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น

ราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น (Haus Hohenzollern) เป็นราชตระกูลเยอรมันและโรมาเนียของยุโรปที่ปกครองปรัสเซีย, เยอรมนี และ โรมาเนีย บริเวณดั้งเดิมของราชวงศ์อยู่ในบริเวณเมืองเฮ็คคิงเงิน (Hechingen) ในชวาเบินที่ก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ชื่อราชวงศ์มาจากที่พำนักของตระกูลที่เรียกว่าปราสาทโฮเอินโซลเลิร์น (Burg Hohenzollern) คำขวัญของตระกูลคือ “Nihil Sine Deo” (ไม่มีสิ่งใดถ้าไม่มีพระเจ้า) ตราประจำตระกูลเริ่มใช้ในปี..

ใหม่!!: ปรัสเซียและราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรปรัสเซีย

ราชอาณาจักรปรัสเซีย (Kingdom of Prussia) เป็นราชอาณาจักรหนึ่งของชนชาติเยอรมัน ดำรงอยู่ระหว่างปีค.ศ. 1701 ถึง 1918 ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศเยอรมนี โปแลนด์ รัสเซีย ลิทัวเนีย เดนมาร์ก เบลเยียม และเช็กเกียในปัจจุบัน ราชอาณาจักรปรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจของยุโรปในศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยของพระเจ้าฟรีดริชมหาราช และยิ่งทรงอำนาจขึ้นจนสามารถเป็นแกนนำในการชักนำรัฐเยอรมันต่างๆให้ทำการรวมชาติกันเป็นจักรวรรดิเยอรมัน ในปี 1871.

ใหม่!!: ปรัสเซียและราชอาณาจักรปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: ปรัสเซียและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

สมาพันธรัฐเยอรมัน

มาพันธรัฐเยอรมัน (German Confederation; Deutscher Bund) เป็นสมาคม 39 รัฐเยอรมันในยุโรปกลางอย่างหลวม ตั้งขึ้นโดยการประชุมใหญ่แห่งเวียนน..

ใหม่!!: ปรัสเซียและสมาพันธรัฐเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ

มาพันธรัฐเยอรมันเหนือ (Norddeutscher Bund) คือชื่อของรัฐชาติเยอรมันซึ่งดำรงอยู่ระหว่าง กรกฎาคม..

ใหม่!!: ปรัสเซียและสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐไวมาร์

รณรัฐไวมาร์ (Weimarer Republik) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกประเทศเยอรมนีในยุคสาธารณรัฐระหว่างปี..

ใหม่!!: ปรัสเซียและสาธารณรัฐไวมาร์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง

งครามชเลสวิจครั้งที่สอง (2.; Deutsch-Dänischer Krieg) เป็นความขัดแย้งทางการทหารระหว่างเดนมาร์ก และ ปรัสเซีย เป็นผลพันธ์ของ ปัญหาชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์ โดยสงครามเริ่มขึ่นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1864, เมื่อ กองทัพปรัสเซียข้ามพรมแดนสู่ชเลสวิจ สงครามจบลงในวันที่ 30 ตุลาคม 1864 ด้วยความพ่ายแพ้ของเดนมาร์ก, โดยตาม สนธิสัญญาเวียนนา เดนมาร์กต้องคืนดัชชีชเลสวิก, โฮลชไตน์, และ Saxe-Lauenburg ให้กับ ปรัสเซีย และ ออสเตรี.

ใหม่!!: ปรัสเซียและสงครามชเลสวิจครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย

งครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย หรือ สงครามฝรั่งเศส-เยอรมนี หรือ สงครามฟรังโก - ปรัสเซีย (Franco-Prussian War หรือ Franco-German War) ในฝรั่งเศสเรียกกันว่า "สงคราม..

ใหม่!!: ปรัสเซียและสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย

งครามออสเตรีย-ปรัสเซีย (Austro-Prussian War) หรือ สงครามเจ็ดสัปดาห์ (Seven Weeks' War) หรือ สงครามรวมชาติ (Unification War) หรือ สงครามพี่น้อง (Brothers War) เป็นสงครามในปี..

ใหม่!!: ปรัสเซียและสงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามนโปเลียน

งครามนโปเลียน (Napoleonic Wars, Guerres napoléoniennes) เป็นสงครามต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียน และพันธมิตรต่าง ๆ ของยุโรป และฝ่ายพันมิตรต่อต้านที่เริ่มขึ้นราว..

ใหม่!!: ปรัสเซียและสงครามนโปเลียน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ปรัสเซียและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: ปรัสเซียและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ออทโท ฟอน บิสมาร์ค

ออทโท อีดวร์ท เลโอโพลด์ ฟอน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน (Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen) หรือที่นิยมเรียกว่า ออทโท ฟอน บิสมาร์ค เป็นรัฐบุรุษและนักการทูตแห่งราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน เขาเป็นผู้นำทางการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุโรประหว่างทศวรรษ 1860 ถึง 1890 และดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งจักรวรรดิเยอรมันระหว่าง 1871 ถึง 1890 ในปี 1862 พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 1890 เขานำพาปรัสเซียเข้าสู่สงครามสามครั้งอันได้แก่ สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง, สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย และได้รับชัยชนะในสงครามทั้งสาม หลังชนะในสงครามกับออสเตรีย บิสมาร์คได้ยุบสมาพันธรัฐเยอรมันทิ้ง และจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนืออันมีปรัสเซียเป็นแกนนำขึ้นมาแทน ศูนย์อำนาจทางการเมืองของยุโรปภาคพื้นทวีปได้ย้ายจากกรุงเวียนนาของออสเตรียไปยังกรุงเบอร์ลินของปรัสเซีย และเมื่อปรัสเซียมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแล้ว บิสมาร์คก็ได้สถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมัน โดยทูลเชิญพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมันพระองค์แรกในปี 1871 บิสมาร์คจึงกลายเป็นทั้งนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ความสำเร็จในการรวมชาติเยอรมันในปี 1871 บิสมาร์คได้ใช้ทักษะทางการทูตของเขารักษาดุลอำนาจของเยอรมันในยุโรปไว้ บิสมาร์คได้อุทิศตนเองในการพยายามรักษาสันติภาพในบรรดามหาอำนาจเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่เยอรมันผนวกแคว้นอัลซัค-ลอแรน (Alsace-Lorraine) มาจากฝรั่งเศส ได้จุดชนวนขบวนการชาตินิยมขึ้นในฝรั่งเศส การเรืองอำนาจของเยอรมันทำให้เกิดภาวะ "กลัวเยอรมัน" (Germanophobia) ขึ้นในฝรั่งเศส เป็นความครุกครุ่นก่อนปะทุเป็นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นโยบาย realpolitik ของบิสมาร์คประกอบกับบารมีที่มากล้นของเขาทำให้บิสมาร์คได้รับสมญาว่า นายกฯเหล็ก ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดดของเยอรมันถือเป็นรากฐานของนโยบายเหล่านี้ บิสมาร์คเป็นคนไม่ชอบการล่าอาณานิคมแต่เขาก็จำยอมฝืนใจต้องสร้างจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันขึ้นจากเสียงเรียกร้องของบรรดาชนชั้นนำและมวลชนในจักรวรรดิ บิสมาร์คมีชั้นเชิงทางการทูตชนิดหาตัวจับได้ยาก เขาเล่นกลการเมืองด้วยการจัดการประชุม การเจรจา และการร่วมเป็นพันธมิตรที่สอดประสานกันอย่างซับซ้อนหลายครั้งเพื่อถ่วงดุลอำนาจในทวีปยุโรปให้เกิดสันติสุขตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 และ 1880 ได้สำเร็จ ไม่เพียงด้านการทูตและการต่างประเทศเท่านั้น บิสมาร์คยังเป็นปรมาจารย์ด้านการเมืองในประเทศ เขาริเริ่มรัฐสวัสดิการเป็นครั้งแรกในโลกสมัยใหม่ มีเป้าหมายเพื่อดึงการสนับสนุนของมวลชนจากชนชั้นแรงงาน ซึ่งมิเช่นนั้นแล้วมวลชนเหล่านี้อาจไปเข้าร่วมกับสังคมนิยมซึ่งเป็นศัตรูของเขาได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 เขาเข้าเป็นพันธมิตรกับเสรีนิยม (ผู้นิยมอัตราภาษีศุลกากรระดับต่ำและต่อต้านคาทอลิก) และต่อสู้กับศาสนจักรคาทอลิกที่ซึ่งถูกขนานนามว่า คุลทูร์คัมพฟ์ (Kulturkampf; การต่อสู้ทางวัฒนธรรม) แต่พ่ายแพ้ โดยฝ่ายศาสนจักรตอบโต้ด้วยการจัดตั้งพรรคกลาง (Centre Party) อันทรงพลังและใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายเพื่อให้ได้ที่นั่งในสภา ด้วยเหตุนี้บิสมาร์คจึงกลับลำ ล้มเลิกปฏิบัติการคุลทูร์คัมพฟ์ ตัดขาดกับฝ่ายเสรีนิยม กำหนดภาษีศุลกากรแบบคุ้มกัน และร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพรรคกลางเพื่อต่อกรกับฝ่ายสังคมนิยม บิสมาร์คเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในนิกายลูเทอแรนอย่างมาก จึงจงรักภักดีต่อกษัตริย์ของตนผู้ซึ่งมีทัศนะขัดแย้งกับเขา แต่ท้ายที่สุดก็ทรงโอนอ่อนและสนับสนุนเขาจากคำแนะนำของพระมเหสีและพระรัชทายาท ในขณะนั้นสภาไรชส์ทาคมาจากเลือกตั้งแบบสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายชาวเยอรมัน แต่ไรชส์ทาคไม่มีอำนาจควบคุมนโยบายของรัฐบาลมากนัก บิสมาร์คไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยจึงปกครองผ่านระบบข้าราชการประจำที่แข็งแกร่งและได้รับการฝึกฝนมาดีในอุ้งมือของอภิชนยุงเคอร์เดิมซึ่งประกอบด้วยขุนนางเจ้าที่ดินในปรัสเซียตะวันออก ในรัชกาลพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 เขาเป็นผู้ควบคุมกิจการในประเทศและต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ จนเมื่อจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ถอดเขาจากตำแหน่งในปี 1890 เมื่อเขาอายุได้ 75 ปี บิสมาร์คผู้เป็นขุนนางศักดินา ยุงเคอร์ มีบุคคลิกเด่น ๆ คือหัวรั้น ปากกล้า และบางครั้งเอาแต่ใจ แต่ในขณะเดียวกันก็สุภาพ มีเสน่ห์ และมีไหวพริบด้วยเช่นกัน ในบางโอกาสเขาก็เป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรง บิสมาร์ครักษาอำนาจของเขาด้วยการเล่นละครแสดงบทบาทอ่อนไหวพร้อมขู่ว่าจะลาออกจากตำแหน่งอยู่ซ้ำ ๆ ซึ่งมักจะทำให้พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ทรงเกรงกลัว นอกจากนี้บิสมาร์คไม่เพียงแต่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับกิจการภายในและต่างประเทศอันยาวไกลเท่านั้น แต่ยังมีทักษะที่สามารถเล่นกลทางการเมืองเพื่อแทรกแซงสถานการณ์อันซับซ้อนที่กำลังดำเนินไปในระยะสั้นได้ด้วย จนกลายเป็นผู้นำที่ถูกนักประวัติศาสตร์ขนานนามว่าเป็น "ฝ่ายอนุรักษนิยมสายปฏิวัติ" (revolutionary conservatism) สำหรับนักชาตินิยมเยอรมัน บิสมาร์คคือวีรบุรุษของพวกเขา มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ของบิสมาร์คหลายแห่งเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ก่อตั้ง จักรวรรดิไรซ์ ยุคใหม่ นักประวัติศาสตร์หลายคนเองก็ชื่นชมเขาในฐานะผู้มีวิสัยทัศน์ไกล ผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรวมเยอรมนีให้เป็นหนึ่งเดียวและช่วยให้ยุโรปดำรงสันติภาพเอาไว้ได้ผ่านการทูตอันชาญฉลาดของ.

ใหม่!!: ปรัสเซียและออทโท ฟอน บิสมาร์ค · ดูเพิ่มเติม »

อัลเบร็คท์ ดยุกแห่งปรัสเซีย

อัลเบร็คท์ ดยุกแห่งปรัสเซีย (Albrecht von Preussen; Albert, Duke of Prussia) (17 พฤษภาคม ค.ศ. 1490 - 20 มีนาคม ค.ศ. 1568) อัลเบร็คท์เป็นเจ้าชายผู้คัดเลือกของ Grand Master of the Teutonic Knights และดยุกแห่งปรัสเซียตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ปรัสเซียและอัลเบร็คท์ ดยุกแห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี

ักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (Wilhelm II หรือ Friedrich Wilhelm Albert Viktor von Preußen 27 มกราคม พ.ศ. 2402 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2484) หรือ พระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 เป็นพระราชโอรสใน พระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 กับพระราชธิดาในสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิเยอรมัน และพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งปรัสเซีย ทรงดำรงวาระตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ถึง 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) ทรงเป็นผู้ที่มีความชื่นชมในศักยภาพทางทหารของจักรวรรดิ ทรงเห็นว่ากองทัพเป็นผู้รวมชาติเยอรมันและสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับจักรวรรดิ หาใช่สมาชิกรัฐสภาไม่ พระองค์จึงทรงมุ่งมั่นที่จะใช้กำลังทหารเพื่อขยายอิทธิพลของจักรวรรดิเยอรมันไปทั่วโลก ซึ่งมีผลต่อสถานการณีการเมืองในยุโรปอย่างมาก ก่อให้เกิดการช่วงชิงผลประโยชน์และอำนาจซึ่งกันและกัน ตลอดจนเกิดการแบ่งแยกมหาอำนาจยุโรปเป็น 2 ค่าย จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในที่สุด หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงใน..

ใหม่!!: ปรัสเซียและจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิสวีเดน

ักรวรรดิสวีเดน หรือ ราชอาณาจักรสวีเดน ในช่วงระหว่างปีค.ศ. 1561 (หลังจากสวีเดนยึดเอสโตเนีย) และในปีค.ศ. 1721 (เมื่อสวีเดนยกพื้นที่ขนาดใหญ่ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของฟินแลนด์ต่อมหาอำนาจรัสเซีย) ระหว่างนั้น สวีเดนเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของยุโรป ในสวีเดน สมัยก่อนจะเรียกว่า stormaktstiden ซึ่งหมายถึง มหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ โดยเริ่มต้นในปี 1611 (เมื่อ กุสตาวัส อาดอลฟัส ขึ้นเป็นกษัตริย์) และจบลงในปีค.ศ. 1718 (การสวรรคตของพระเจ้าคาร์ลที่ 12 แห่งสวีเดน และจุดจบของมหาสงครามเหนือ) โดยการเพิ่มอำนาจทางการเมือง จุดประเด็นสำคัญคือการกลายเป็นหนึ่งในสองอำนาจเพื่อค้ำประกันสันติภาพแห่งเวสต์ฟาเลีย (Peace of Westphalia) ซึ่งถูกเข้าร่วมเพื่อเพิ่มดินแดนที่อนุญาตให้อยู่ใกล้ได้อย่างสมบูรณ์ตามแนวคิดทะเลบอลติก เป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของระยะเวลาที่แตกต่างกันในประวัติศาสตร์ยุโรป หลังจากการตายของกุสตาวัส อดอลฟัส ในปี 1632 จักรวรรดิที่ยืนยาวนี้ถูกควบคุมโดยพวกขุนนางชั้นสูง โดยส่วนมากเป็นพวกของตระกูลออกเซนสเตียร์นาเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ความน่าสนใจของขุนนางชั้นสูงตรงกันข้ามกับวิถีทางแห่งเท่าเทียมกัน เช่น การส่งเสริมความเท่าเทียมกันแบบดั้งเดิมในที่ดินภายในสวีเดนถูกเห็นชอบโดยพระมหากษัตริย์และชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับในช่วงระหว่างสมัยกฎตระกูลเดอ แฟคโต ระบบข้าแผ่นดินไม่ถูกยกเลิก และมีแนวโน้มที่จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมถูกกฎหมายในสวีเดนอย่างชอบธรรม แต่การปรับปรุงครั้งใหญ่ในปีค.ศ. 1680 ผลักดันให้ความพยายามของชนชั้นสูงสิ้นสุดลง และเรียกร้องพวกเขาให้คืนนิคมอุตสาหกรรมที่พวกเขาได้รับจากมกุฎกษัตริย์ ระบบข้าแผ่นดินนี้ อย่างไรก็ตาม ยังคงถูกบังคับใช้ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และชาวสวีดิชในเอสโตเนีย ที่ที่ใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ของวิถีทางแห่งความเท่าเทียมกันถูกขัดขวางโดนสนธิสัญญาจากสิ่งที่พวกเขาได้รั.

ใหม่!!: ปรัสเซียและจักรวรรดิสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย

ักรวรรดิออสเตรีย (Austrian Empire; Kaisertum Österreich) เป็นจักรวรรดิที่ก่อตั้งจากอาณาบริเวณที่เหลือจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ที่ประเทศออสเตรียในปัจจุบัน รุ่งเรืองในช่วง..

ใหม่!!: ปรัสเซียและจักรวรรดิออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: ปรัสเซียและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเยอรมัน

ักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Kaiserreich) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกแผ่นดินของชาวเยอรมัน ตั้งแต่ที่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันใน..

ใหม่!!: ปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีปรัสเซีย

ัชชีปรัสเซีย หรือ ดัชชีพรอยเซิน (Herzogtum Preußen; Prusy Książęce; Prūsijos kunigaikštystė; Duchy of Prussia) เป็นดัชชีที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแคว้นปรัสเซีย รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1525 จนมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1618 รัฐนี้เริ่มจากการเป็นดัชชีโปรเตสแตนต์ที่ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาเยอรมัน โปแลนด์ และ ปรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1525 ระหว่างการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์อัลเบรชท์ผู้เป็นแกรนด์มาสเตอร์แห่งคณะอัศวินทิวทอนิกก็ยุบคณะและตั้งตนเป็นอัลเบรชท์ ดยุกแห่งปรัสเซีย ดัชชีของอัลเบรชท์มีเมืองหลวงอยู่ที่เคอนิกสแบร์กก็ได้รับการก่อตั้งขึ้นภายใต้ราชบัลลังก์แห่งราชอาณาจักรโปแลนด์ (Crown of the Kingdom of Poland) ที่ต่อมาตกไปอยู่ในความครอบครองของเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบูร์กแห่งราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์นในปี ค.ศ. 1618 การรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรครั้งนี้เรียกว่าบรันเดนบูร์ก-ปรัสเซีย ฟรีดิช วิลเฮล์มได้รับอำนาจบริหารราชอาณาจักรเต็มที่ในปี ค.ศ. 1657 สนธิสัญญาเวห์เลา (Treaty of Wehlau) ที่ได้รับการยืนยันในปี ค.ศ. 1660 ในสนธิสัญญาโอลิวา ดัชชีปรัสเซียได้รับการเลื่อนฐานะขึ้นเป็นราชอาณาจักรปรัสเซียในปี ค.ศ. 1701.

ใหม่!!: ปรัสเซียและดัชชีปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: ปรัสเซียและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ปรัสเซียและประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: ปรัสเซียและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ปรัสเซียและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แฮร์มันน์ เกอริง

แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง (Hermann Wilhelm Göring) เป็นผู้นำทางทหารของไรช์ที่สามที่ตำแหน่งจอมพลไรช์ และยังเป็นผู้นำระดับสูงของพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (พรรคนาซี) เขามีบทบาทสำคัญในการขยายระบบเผด็จการของพรรคนาซีให้ครอบคลุมทั่วเยอรมนี รวมทั้งสร้างเสริมแสนยานุภาพทางทหารของเยอรมนีโดยเฉพาะกองทัพอากาศให้มีความแข็งแกร่ง ภายหลังนาซีล่มสลาย เขาถูกตัดสินประหารชีวิตในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก แต่เขาก็จบชีวิตตนเองด้วยการกลืนไซยาไนด์ก่อนหน้าการประหารชีวิตไม่กี่ชั่วโมง และก่อนกลืนไซยาไนด์เขาได้ตระโกนว่า "ไฮล์ ฮิตเลอร์".

ใหม่!!: ปรัสเซียและแฮร์มันน์ เกอริง · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นคาลินินกราด

แคว้นคาลีนินกราด (Калинингра́дская о́бласть) เป็นเขตการปกครองของสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลบอลติก.

ใหม่!!: ปรัสเซียและแคว้นคาลินินกราด · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ปรัสเซียและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: ปรัสเซียและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไกลช์ชัลทุง

กลช์ชัลทุง (Gleichschaltung) หมายถึง "การประสานงาน" หรือ "การทำให้เป็นแบบเดียวกัน" เป็นคำที่ใช้เรียกการเปลี่ยนแปลงของพรรคนาซีในการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเยอรมนีเป็นแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง จุดประสงค์ของแนวความคิดดังกล่าว คือ การกำจัดลัทธิเฉพาะบุคคล โดยการบีบบังคับให้ทุกคนปฏิบัติตามหลักการเดียวกัน และกำหนดกรอบความคิดให้อยู่ในความเหมาะสม ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังตำรวจอย่างเข้มงว.

ใหม่!!: ปรัสเซียและไกลช์ชัลทุง · ดูเพิ่มเติม »

ไรชส์มาร์ค

รชส์มาร์ค (Reichsmark) เป็นสกุลเงินของเยอรมนีมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ปรัสเซียและไรชส์มาร์ค · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: ปรัสเซียและเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เกา

การแบ่งการปกครองของเยอรมนี ''(เกา)'' ในสมัยกลาง ประมาณปี ค.ศ. 1000 เกา (Gau) เป็นคำในภาษาเยอรมันสำหรับใช้เรียกเขตการปกครองภายในประเทศ คำดังกล่าวใช้ในยุคกลาง ซึ่งเป็นการนำมาจากการปกครองที่เรียกว่า "ไชร์" ของอังกฤษ ต่อมา คำนี้ได้ถูกนำมาใช้อีกครั้งหนึ่งในสมัยนาซีเยอรมนี.

ใหม่!!: ปรัสเซียและเกา · ดูเพิ่มเติม »

เคอนิจส์แบร์ก

ปรัสเซียตะวันออก ตั้งแต่ปี 1919 ถึงปี 1939 ตราประจำเมืองเคอนิจส์แบร์ก เคอนิจส์แบร์ก (Königsberg) เป็นอดีตชื่อเมืองของเมืองคาลินินกราด โดยเป็นอดีตเมืองของชาวปรัสเซียเก่า ในสมัย Sambian ต่อมาเมืองนี้เป็นเมืองของ อัศวินทิวทอนิก, ดัชชีปรัสเซีย, ราชอาณาจักรปรัสเซีย, จักรวรรดิรัสเซีย และ เยอรมนี จนถึงปี 1946 หลังจากที่ถูกทำลายในช่วง สงครามโลกครั้งที่สองโดยกองทัพโซเวียต เคอนิจส์แบร์กถูกผนวกโดยสหภาพโซเวียต ต่อมาเมืองเคอนิจส์แบร์กถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองคาลินินกราด ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เคอนิจส์แบร์ก ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ในปี 1944 และในช่วงถูกล้อม ในปี 1945 เคอนิจส์แบร์กถูกยึดครองและปกครองโดยสหภาพโซเวียต ชาวเยอรมันที่อยู่ในเมืองถูกขับไล่ทั้งหมดและแทนที่ด้วยชาวรัสเซียและเชื้อชาติอื่นในสหภาพโซเวียต ตามนโยบายการแผลงเป็นรัสเซีย เคอนิจส์แบร์ก ถูกใช้ชื่อในภาษารัสเซียในชื่อ "Kyonigsberg" (Кёнигсберг) ก่อนถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเมือง "คาลินินกราด" ในปี 1946 ซึ่งตั้งชื่อตามประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียต มีฮาอิล คาลีนิน.

ใหม่!!: ปรัสเซียและเคอนิจส์แบร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Prussiaพรอยส์เซิน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »