โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศไทยและสภาผู้แทนราษฎรไทย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศไทยและสภาผู้แทนราษฎรไทย

ประเทศไทย vs. สภาผู้แทนราษฎรไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก. ผู้แทนราษฎรไทย ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด 500 คน และแบ่งการได้มาออกเป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จำนวน 350 คน และแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง โดยให้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง จำนวน 150 คน ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรูปแบบนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ทั้งนี้อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สภาผู้แทนราษฎรมีหน้าที่โดยตรงในทางนิติบัญญัติ ซึ่งร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ ก็ด้วยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และยังมีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินด้วย เช่น การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี การตั้งกระทู้ถาม และการเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ทั้งนี้ เป็นไปตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ปัจจุบันสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร จนถึงวันก่อนวันเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศไทยและสภาผู้แทนราษฎรไทย

ประเทศไทยและสภาผู้แทนราษฎรไทย มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กรุงเทพมหานครการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557ระบบรัฐสภารัฐสภาไทยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560วุฒิสภาไทยศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)สภาผู้แทนราษฎรไทยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557ประชาธิปไตยนายกรัฐมนตรีไทย

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

กรุงเทพมหานครและประเทศไทย · กรุงเทพมหานครและสภาผู้แทนราษฎรไทย · ดูเพิ่มเติม »

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป..

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557และประเทศไทย · การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557และสภาผู้แทนราษฎรไทย · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรัฐสภา

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ที่ไม่มีอำนาจในการปกครอง ระบบรัฐสภา เป็นกลไกการปกครอง ที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลมีที่มาจากรัฐสภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติ และมีความรับผิดชอบต่อสภา ในระบบรัฐสภา ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ และตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลมักจะแยกออกจากกัน โดยหัวหน้ารัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ตามการสืบสันตติวงศ์ หรือประธานาธิบดีจากการเลือกตั้ง ระบบรัฐสภาสมัยใหม่มีต้นกำเนิดในอังกฤษใน ศตวรรษที่17 โดยมีประเทศที่ใช้ระบบสาธารณรัฐระบบรัฐสภาได้แก่ เยอรมนี อิตาลี อินเดีย ออสเตรีย ฮังการี ตุรกี อิรัก อิสราเอล ปากีสถาน สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ กรีซ เซอร์เบีย เช็กเกีย บัลแกเรีย เนปาล บังกลาเทศ เอธิโอเปีย ซูรินาม เป็นต้น ส่วนประเทศที่ใช้ระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญได้แก่ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ไทย กัมพูชา มาเลเซีย สเปน สวีเดน นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ลักเซมเบิร์ก ลิกเตนสไตน์ โมนาโก อันดอร์รา เป็นต้น.

ประเทศไทยและระบบรัฐสภา · ระบบรัฐสภาและสภาผู้แทนราษฎรไทย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาไทย

รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสภานิติบัญญัติระดับชาติของประเทศไทย เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติอันเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติให้รัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นการปกครองโดยใช้ระบบสองสภา โดยทั้งสองสภาจะประชุมร่วมกันหรือแยกกันแล้วแต่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง อย่างไรก็ดีตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ยังคงทำหน้าที่รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาต่อไป และให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติแห่งชาติสิ้นสุดลงในวันก่อนวันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปที่จัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

ประเทศไทยและรัฐสภาไทย · รัฐสภาไทยและสภาผู้แทนราษฎรไทย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 20 ซึ่งจัดร่างโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในระหว่าง..

ประเทศไทยและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 · รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560และสภาผู้แทนราษฎรไทย · ดูเพิ่มเติม »

วุฒิสภาไทย

วุฒิสภาไทย หรือเดิมมีชื่อว่า "พฤฒสภา" เป็นวุฒิสภาของประเทศไทย โดยเป็นสภาสูงในรัฐสภาไทยคู่กับสภาผู้แทนราษฎรไทยซึ่งเป็นสภาล่าง วุฒิสภาไทยเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2489 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 แบ่งรูปแบบสำคัญออกเป็น 2 ยุค คือ ยุคสมาชิกวุฒิสภาจากการแต่งตั้ง และยุคสมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้งและการสรรหา ปัจจุบันสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทนวุฒิสภา โดยมี นายนัฑ ผาสุข เป็นเลขาธิการว.

ประเทศไทยและวุฒิสภาไทย · วุฒิสภาไทยและสภาผู้แทนราษฎรไทย · ดูเพิ่มเติม »

ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)

ลรัฐธรรมนูญ (ย่อ: ศร.) เป็นองค์กรตุลาการที่จัดตั้งขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ยุบเลิกไป และมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดีทั่วไป.

ประเทศไทยและศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย) · ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)และสภาผู้แทนราษฎรไทย · ดูเพิ่มเติม »

สภาผู้แทนราษฎรไทย

ผู้แทนราษฎรไทย ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมด 500 คน และแบ่งการได้มาออกเป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จำนวน 350 คน และแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง โดยให้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง จำนวน 150 คน ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรูปแบบนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ทั้งนี้อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สภาผู้แทนราษฎรมีหน้าที่โดยตรงในทางนิติบัญญัติ ซึ่งร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ ก็ด้วยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และยังมีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินด้วย เช่น การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี การตั้งกระทู้ถาม และการเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ทั้งนี้ เป็นไปตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ปัจจุบันสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร จนถึงวันก่อนวันเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

ประเทศไทยและสภาผู้แทนราษฎรไทย · สภาผู้แทนราษฎรไทยและสภาผู้แทนราษฎรไทย · ดูเพิ่มเติม »

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557

นิติบัญญัติแห่งชาต..

ประเทศไทยและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557 · สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557และสภาผู้แทนราษฎรไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ประชาธิปไตยและประเทศไทย · ประชาธิปไตยและสภาผู้แทนราษฎรไทย · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรีไทย

นายกรัฐมนตรีไทย เป็นประธานแห่งคณะรัฐมนตรีไทย และทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาลของประเทศไทย โดยมีจุดกำเนิดมาจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภา โดยปกติแล้วนายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยจะมีที่มาจากสภาผู้แทนราษฎรไทย ซึ่งโดยหลักแล้วถือว่านายกรัฐมนตรีมีต้องมาจากการแต่งตั้งทางอ้อมโดยประชาชน แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมติสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สภาที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง) ซึ่งผลการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีปรากฏว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี.

นายกรัฐมนตรีไทยและประเทศไทย · นายกรัฐมนตรีไทยและสภาผู้แทนราษฎรไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศไทยและสภาผู้แทนราษฎรไทย

ประเทศไทย มี 527 ความสัมพันธ์ขณะที่ สภาผู้แทนราษฎรไทย มี 181 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 1.55% = 11 / (527 + 181)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศไทยและสภาผู้แทนราษฎรไทย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »