โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศไทยและประเทศไอซ์แลนด์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศไทยและประเทศไอซ์แลนด์

ประเทศไทย vs. ประเทศไอซ์แลนด์

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก. อซ์แลนด์ (Iceland; อิสตลันต์) เป็นประเทศนอร์ดิกในยุโรปเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ระหว่างกรีนแลนด์ นอร์เวย์ และสหราชอาณาจักร มีเมืองหลวงคือเรคยาวิก ไอซ์แลนด์มีประชากรประมาณสามแสนคน มีพื้นที่ประเทศรวม 102,775 ตารางกิโลเมตร เรียกข้อมูลวันที่ 2008-03-03 นับว่ามีประชากรเบาบาง จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ ปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศไทยและประเทศไอซ์แลนด์

ประเทศไทยและประเทศไอซ์แลนด์ มี 17 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กองทุนการเงินระหว่างประเทศภาษาอังกฤษภาษาไทยระบบรัฐสภาศาสนาประจำชาติสภานิติบัญญัติสหรัฐสหประชาชาติสงครามโลกครั้งที่สององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นดัชนีการพัฒนามนุษย์ประชาธิปไตยประเทศจีนประเทศไทยประเทศเนเธอร์แลนด์โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

ัญลักษณ์ของ IMF กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) หรือ ไอเอ็มเอฟ (IMF) เป็นองค์กรที่รัฐบาลของกลุ่มประเทศพันธมิตรได้ร่วมก่อตั้งขึ้น มีฐานะเป็นทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ โดยมีข้อบังคับว่าประเทศที่จะเป็นสมาชิกธนาคารโลก และจะต้องเป็นสมาชิกของ IMF ด้วย เริ่มเปิดดำเนินการในเดือนมีนาคม ปี..

กองทุนการเงินระหว่างประเทศและประเทศไทย · กองทุนการเงินระหว่างประเทศและประเทศไอซ์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ประเทศไทยและภาษาอังกฤษ · ประเทศไอซ์แลนด์และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ประเทศไทยและภาษาไทย · ประเทศไอซ์แลนด์และภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรัฐสภา

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ที่ไม่มีอำนาจในการปกครอง ระบบรัฐสภา เป็นกลไกการปกครอง ที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลมีที่มาจากรัฐสภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติ และมีความรับผิดชอบต่อสภา ในระบบรัฐสภา ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ และตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลมักจะแยกออกจากกัน โดยหัวหน้ารัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ตามการสืบสันตติวงศ์ หรือประธานาธิบดีจากการเลือกตั้ง ระบบรัฐสภาสมัยใหม่มีต้นกำเนิดในอังกฤษใน ศตวรรษที่17 โดยมีประเทศที่ใช้ระบบสาธารณรัฐระบบรัฐสภาได้แก่ เยอรมนี อิตาลี อินเดีย ออสเตรีย ฮังการี ตุรกี อิรัก อิสราเอล ปากีสถาน สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ กรีซ เซอร์เบีย เช็กเกีย บัลแกเรีย เนปาล บังกลาเทศ เอธิโอเปีย ซูรินาม เป็นต้น ส่วนประเทศที่ใช้ระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญได้แก่ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ไทย กัมพูชา มาเลเซีย สเปน สวีเดน นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ลักเซมเบิร์ก ลิกเตนสไตน์ โมนาโก อันดอร์รา เป็นต้น.

ประเทศไทยและระบบรัฐสภา · ประเทศไอซ์แลนด์และระบบรัฐสภา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาประจำชาติ

นาประจำรัฐ หรือ ศาสนาประจำชาติ (state religion) บางทีเรียก ศาสนาซึ่งเป็นที่ยอมรับ (established religion) หรือ ศาสนาทางการ (official religion) เป็นคณะหรือลัทธิทางศาสนาที่รัฐอธิปไตยรัฐหนึ่ง ๆ อนุมัติอย่างเป็นทางการ รัฐที่มีศาสนาอย่างเป็นทางการนั้น แม้ไม่ใช่รัฐฆราวาส ก็ไม่จำต้องเป็นรัฐแบบเทวาธิปไตยเสมอไป เช่น รัฐที่ผู้ปกครองควบตำแหน่งทั้งทางโลกและทางสงฆ์ ส่วนศาสนาประจำรัฐนั้น แม้ได้รับอนุมัติจากรัฐ ก็ไม่จำเป็นที่รัฐจะอยู่ในความควบคุมของศาสนา หรือศาสนาจะอยู่ในความควบคุมของรัฐเสมอไป ศาสนาประจำรัฐนั้นปรากฏโฉมอยู่ทั่วทุกวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างลัทธิศาสนาและรัฐนั้นเป็นที่ถกเถียงกันมาแต่โบราณ เช่น ในงานของแวร์โร (Varro) ที่เรียกศาสนาประจำรัฐว่า ศาสนาของพลเมือง (theologia civilis) สำหรับศาสนาคริสต์นั้น คริสตจักรที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐเป็นแห่งแรก คือ คริสตจักรอัครทูตอาร์เมเนีย (Armenian Apostolic Church) ซึ่งตั้งขึ้นใน..

ประเทศไทยและศาสนาประจำชาติ · ประเทศไอซ์แลนด์และศาสนาประจำชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สภานิติบัญญัติ

นิติบัญญัติเป็นสภาปรึกษาหารือชนิดหนึ่งซึ่งมีอำนาจผ่าน แก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกกฎหมาย กฎหมายที่เกิดจากสภานิติบัญญัติเรียก กฎหมายลายลักษณ์อักษร นอกเหนือไปจากการตรากฎหมายแล้ว สภานิติบัญญัติยังมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการเพิ่มหรือลดภาษีและมีมติเห็นชอบงบประมาณและร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงินอื่น สภานิติบัญญัติมีหลายชื่อ ที่พบมากที่สุด คือ รัฐสภาและคองเกรส (congress) โดยสองคำนี้มีความหมายจำเพาะกว่า ในการปกครองระบบรัฐสภา ฝ่ายบริหารรับผิดชอบต่อสภานิติบัญญัติซึ่งอาจถอดถอนฝ่ายบริหารได้ด้วยการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในระบบประธานาธิบดี ตามลัทธิการแยกใช้อำนาจ สภานิติบัญญัติถูกมองว่าเป็นอิสระและเป็นการปกครองแขนงหนึ่งซึ่งเสมอกับฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร องค์ประกอบหลักของสภานิติบัญญัติ คือ มีตั้งแต่หนึ่งสภา (chamber/house) เป็นต้นไป สภา คือ การประชุมซึ่งสามารถอภิปรายและลงมติในร่างกฎหมายได้ สภานิติบัญญัติซึ่งมีสภาเดียว เรียก สภาเดียว ส่วนสภานิติบัญญัติที่มีสองสภา เรียก ระบบสองสภา ซึ่งปกติอธิบายเป็นสภาสูงและสภาล่าง โดยมักมีหน้าที่อำนาจและวิธีการเลือกสมาชิกต่างกัน นอกจากนี้ ยังมีสภานิติบัญญัติที่มีมากกว่าสองสภา แต่ไม่ค่อยพบ ในระบบรัฐสภาส่วนมาก สภาล่างเป็นสภาที่มีอำนาจกว่า ขณะที่สภาสูงเป็นเพียงสภาให้คำปรึกษาหรือทบทวน อย่างไรก็ดี ในระบบประธานาธิบดี อำนาจของสองสภามักคล้ายหรือเท่ากัน ในสหพันธรัฐ สภาสูงมักเป็นตัวแทนของรัฐที่มารวมกัน (component state) ซึ่งรวมถึงสภานิติบัญญัติเหนือชาติของสหภาพยุโรปด้วย ด้วยจุดประสงค์นี้ สภาสูงอาจมีผู้แทนจากรัฐบาลของรัฐ ดังเช่นในกรณีสหภาพยุโรปและเยอรมนี หรือมาจากการเลือกตั้งตามสูตรซึ่งให้การมีผู้แทนเท่าเทียมกันแก่รัฐซึ่งมีประชากรน้อยกว่า เช่นในกรณีออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน.

ประเทศไทยและสภานิติบัญญัติ · ประเทศไอซ์แลนด์และสภานิติบัญญัติ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ประเทศไทยและสหรัฐ · ประเทศไอซ์แลนด์และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

ประเทศไทยและสหประชาชาติ · ประเทศไอซ์แลนด์และสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ประเทศไทยและสงครามโลกครั้งที่สอง · ประเทศไอซ์แลนด์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ โออีซีดี (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD) เป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และยอมรับระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการค้าเสรีในการร่วมกันและพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปและโลก แต่เดิมองค์กรนี้ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในนามองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรปหรือโออีอีซี (Organization for European Economic Co-operation: OEEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน..1948 (พ.ศ. 2491) ในช่วงสมัยสงครามเย็น วัตถุประสงค์คือเพื่อร่วมมือกันฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจของประเทศยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้กลับคืนมาและคงไว้อย่างมั่นคงตามแนวทางเศรษฐกิจทุนนิยมโดยแผนการมาร์แชลล์ สัญญาในการก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 เมษายน..1948 โดยมีสมาชิกประเทศยุโรปตะวันตกจำนวน 19 ประเทศ เป็นผู้ลงนาม ได้แก่ ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, กรีซ, ไอซ์แลนด์, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, นอร์เวย์, เนเธอร์แลนด์,โปรตุเกส, อังกฤษ, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, ตุรกี, สหรัฐอเมริกา,เยอรมนีตะวันตกและแคว้นอิสระของตรีเอสเต โปสเตอร์สำหรับแผนมาร์แชลล์แสดงธงชาติของประเทศในยุโรปตะวันตก รวมไปถึงแคว้นอิสระตรีเอสเตที่มีพื้นหลังสีฟ้าอย่างเป็นทางการของสหประชาชาติ นอกจากจะเป็นการฟื้นฟูยุโรปแล้วยังเป็นการต่อต้านหยุดยั้งไม่ให้อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตมาเผยแพร่ที่ยุโรปตะวันตกและยังเป็นการโน้มน้าวให้ยุโรปตะวันออกที่เป็นประเทศบริวารให้เห็นด้วยและเข้าร่วม แต่ในขณะเดียวกัน สหภาพโซเวียตภายใต้การนำของโจเซฟ สตาลินได้หวาดระแวงแผนการมาร์แชลล์ โดยมองว่า เป็นแผนการร้ายของสหรัฐฯที่จะขยายอิทธิพลและเผยแพร่ลัทธิระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจทุนนิยมเข้าสู่ยุโรปตะวันออกจึงทำการบีบบังคับประเทศบริวารในยุโรปตะวันออกให้ปฏิเสธแผนการดังกล่าวและได้เสนอแผนการโมโลตอฟ(Molotov Plan)ในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ขึ้นมาแทนเพื่อเป็นการโต้ตอบแผนการมาร์แชล พร้อมก่อตั้งสภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจหรือคอมิคอน (Council for Mutual Economic Assistance, Comecon) เพื่อเป็นการคานอำนาจจากองค์กรโออีอีซีเช่นเดียวกับสนธิสัญญาวอร์ซอต่อต้านองค์กรนาโต (แต่จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1991 คอมิคอนก็ได้ถูกยกเลิกไปพร้อมกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต) ต่อมาในช่วงหลังสงครามเย็นก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่จากองค์กรโออีอีซีมาเป็นโออีซีดี และมีการลงนามกันใหม่อีกครั้ง ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศล เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม..

ประเทศไทยและองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ · ประเทศไอซ์แลนด์และองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น

accessdate.

ประเทศไทยและผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น · ประเทศไอซ์แลนด์และผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น · ดูเพิ่มเติม »

ดัชนีการพัฒนามนุษย์

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index: HDI) คือดัชนีทางสถิติแบบองค์รวมที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการคาดหมายคงชีพ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อหัว ซึ่งใช้จัดลำดับการพัฒนามนุษย์ในแต่ละประเทศเป็น 4 กลุ่ม ยิ่งประเทศใดมีระดับการคาดหมายคงชีพ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อหัวมาก ก็จะยิ่งส่งผลให้ระดับการพัฒนามนุษย์มากตามไปด้วย ทั้งนี้ดัชนีดังกล่าวถูกพัฒนาโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวปากีสถาน มาห์บับ อุล ฮัก ร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดีย อมรรตยะ เสน ซึ่งได้วางกรอบการศึกษาไว้ว่าผู้คนสามารถที่จะ "เป็น" หรือ "กระทำ" สิ่งที่ตนปรารถนาในชีวิตได้หรือไม่ และเผยแพร่รายงานการศึกษาโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี..

ดัชนีการพัฒนามนุษย์และประเทศไทย · ดัชนีการพัฒนามนุษย์และประเทศไอซ์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ประชาธิปไตยและประเทศไทย · ประชาธิปไตยและประเทศไอซ์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ประเทศจีนและประเทศไทย · ประเทศจีนและประเทศไอซ์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ประเทศไทยและประเทศไทย · ประเทศไทยและประเทศไอซ์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศไทย · ประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศไอซ์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ

ัญลักษณ์ของยูเอ็นดีพี สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Program: UNDP) มีสำนักงานใหญ่ที่ เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เป็นองค์การพหุภาคี เพื่อช่วยเหลือด้านการพัฒนา และเป็นหน่วยงานสำคัญในการประสานงานความช่วยเหลือในด้านการพัฒนาของสหประชาชาติ โดยเริ่มจากการขยายการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ แก่ประเทศกำลังพัฒนา ด้วยหลักการดำเนินการแบบสากลและเป็นกลางในทางการเมือง ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ๆสำคัญๆ มีสมาชิก 170 ประเทศ เพื่อร่วมมือในการวางแผน และดำเนินโครงการในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม.

ประเทศไทยและโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ · ประเทศไอซ์แลนด์และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศไทยและประเทศไอซ์แลนด์

ประเทศไทย มี 527 ความสัมพันธ์ขณะที่ ประเทศไอซ์แลนด์ มี 121 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 17, ดัชนี Jaccard คือ 2.62% = 17 / (527 + 121)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศไทยและประเทศไอซ์แลนด์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »