เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส

ดัชนี ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส

ซนต์คิตส์และเนวิส (Saint Kitts and Nevis) หรือชื่อทางการคือ สหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิส (Federation of Saint Kitts and Nevis) ตั้งอยู่ในหมู่เกาะลีเวิร์ด (Leeward Islands) เป็นประเทศเกาะในทะเลแคริบเบียนและเป็นประเทศที่เล็กที่สุดในซีกโลกตะวันตก เมืองหลวงและหน่วยงานรัฐบาลของสหพันธรัฐส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนเกาะเซนต์คิตส์ (หรือเซนต์คริสโตเฟอร์) ที่มีขนาดใหญ่กว่า ส่วนรัฐที่เล็กกว่าคือ เนวิส (Nevis) ตั้งอยู่ห่างจากเกาะเซนต์คิตส์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 3 กิโลเมตร ตามประวัติศาสตร์แล้ว แองกวิลลาซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐด้วย เรียกว่า เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา แม้ว่าทั้งเกาะเซนต์คิตส์และเกาะเนวิสตั้งอยู่ภายในหมู่เกาะลีเวิร์ด แต่ทั้ง 2 เกาะก็ตั้งอยู่ใกล้กับเกาะอื่น ๆ อีกมากมายด้วย ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีเกาะซินต์เอิสตาซียึส เกาะซาบา เกาะแซ็ง-บาร์เตเลมี และเกาะเซนต์มาร์ติน ทางตะวันออกเฉียงเหนือมีเกาะแอนติกาและบาร์บูดา และทางตะวันออกเฉียงใต้มีเกาะมอนต์เซอร์รัต ทั้งชื่อ Saint Christopher และ Saint Kitts ปรากฏอยู่ใน.

เปิดใน Google Maps

สารบัญ

  1. 23 ความสัมพันธ์: บาร์บูดาบาสแตร์พ.ศ. 2526ก็อดเซฟเดอะควีนภาษาอังกฤษมอนต์เซอร์รัตราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรสหราชอาณาจักรหมู่เกาะลีเวิร์ดทะเลแคริบเบียนซาบาซินต์เอิสตาซียึสแองกวิลลาแซ็ง-บาร์เตเลมีโอแลนด์ออฟบิวทีเพลงสรรเสริญพระบารมีเกาะเซนต์มาร์ตินเอกราชเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลาเซนต์คิตส์เนวิส19 กันยายน

  2. ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ
  3. ประเทศในเขตแคริบเบียน
  4. รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2526
  5. สหพันธ์ราชาธิปไตย
  6. อดีตอาณานิคมและรัฐในอารักขาของอังกฤษในทวีปอเมริกา

บาร์บูดา

บาร์บูดา (Barbuda) เป็นเกาะในทะเลแคริบเบียนตะวันตก ส่วนหนึ่งของประเทศแอนติกาและบาร์บูดา เกาะมีประชากรราว 1,638 คน (ค.ศ.

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและบาร์บูดา

บาสแตร์

บาสแตร์ (Basseterre) เป็นเมืองหลวงของสหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิส มีประชากรราว 15,500 คนจากการสำรวจในปี 2000 ท่าเรือบาสแตร์ตั้งอยู่ที่พิกัด บนชายหาดตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเซนต์คิตส์ และเป็น 1 ในศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญของเกาะลีวาร์ด บาสแตร์ถือเป็น 1 ในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในแคริบเบียนตะวันออก หมวดหมู่:เมืองหลวง หมวดหมู่:ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส.

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและบาสแตร์

พ.ศ. 2526

ทธศักราช 2526 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1983 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและพ.ศ. 2526

ก็อดเซฟเดอะควีน

ลงก็อดเซฟเดอะควีน หรือ ก็อดเซฟเดอะคิง เป็นเพลงปลุกใจ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมีของสหราชอาณาจักร เพลงนี้ใช้เป็นหนึ่งในสองเพลงชาติของนิวซีแลนด์ เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีของประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และประเทศอื่น ๆ ในเครือจักรภพ ทั้งยังใช้เป็นเพลงคำนับสำหรับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์อังกฤษด้วย หากประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ จะใช้ชื่อเพลงว่า ก็อดเซฟเดอะคิง แต่ถ้าพระราชินีทรงเป็นประมุขก็จะใช้ชื่อเพลงว่า ก็อดเซฟเดอะควีน ในภาษาไทยไม่นิยมแปลชื่อเพลงนี้ออกมาโดยตรง แต่มักเรียกทับศัพท์ว่า ก็อดเซฟเดอะคิง หรือ ก็อดเซฟเดอะควีน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ ตามลักษณะของเพลง.

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและก็อดเซฟเดอะควีน

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและภาษาอังกฤษ

มอนต์เซอร์รัต

มอนต์เซอร์รัต เป็นดินแดนโพ้นทะเลอังกฤษในทะเลแคริบเบียน ตั้งอยู่ในแนวหมู่เกาะแอนทิลลิสน้อย (Lesser Antilles Islands) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะลีวาร์ด ยาว 16 กิโลเมตร กว้าง 11 กิโลเมตร มีพื้นที่ 40 ตารางกิโลเมตร ชื่อของเกาะมอนเซอร์รัตนี้ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เป็นผู้ตั้งขึ้นในคราวเดินทางแสวงหาโลกใหม่ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและมอนต์เซอร์รัต

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) เป็นพระประมุขของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพัน..

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและสหราชอาณาจักร

หมู่เกาะลีเวิร์ด

หมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลิส: หมู่เกาะลีเวิร์ดอยู่ทางทิศเหนือ และหมู่เกาะวินด์เวิร์ดอยู่ทางทิศใต้ ส่วนหมู่เกาะลีเวิร์ดแอนทิลลีสอยู่ทางทิศตะวันตก หมู่เกาะลีเวิร์ด (Leeward Islands) เป็นหมู่เกาะทางตะวันออกของหมู่เกาะเวสต์อินดีส ทางตอนเหนือของหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส ที่เรียกชื่อว่าหมู่เกาะลีเวิร์ดเนื่องจากตั้งอยู่ในที่กำบังลมที่พัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แนวหมู่เกาะตั้งต้นจากเกาะดอมินีกาซึ่งอยู่ทางใต้ไปยังหมู่เกาะเวอร์จินที่อยู่ทางเหนือ.

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและหมู่เกาะลีเวิร์ด

ทะเลแคริบเบียน

แผนทีภูมิภาคอเมริกากลางและทะเลแคริบเบียน ทะเลแคริบเบียนมองจากอวกาศ (ด้านบนซ้าย) ทะเลแคริบเบียน (Caribbean Sea, หรือ; Mar Caribe) เป็นทะเลเขตร้อนในซีกโลกตะวันตก ส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเม็กซิโก ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแผ่นเปลือกโลกแคริบเบียน โดยทางทิศใต้จดทวีปอเมริกาใต้ ทางทิศตะวันตกและทิศใต้จดประเทศเม็กซิโกและอเมริกากลาง และทางทิศเหนือและทิศตะวันออกจดหมู่เกาะแอนทิลลีส ได้แก่ เกาะคิวบา เกาะฮิสปันโยลา เกาะจาเมกา และเกาะเปอร์โตริโกในหมู่เกาะเกรตเตอร์แอนทิลลีสทางทิศเหนือ ส่วนหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส (เช่น เกาะแองกวิลลา เกาะดอมินีกา เกาะเซนต์ลูเซีย) อยู่ทางทิศตะวันออก พื้นที่ทั้งหมดของทะเลแคริบเบียน หมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลนี้ และชายฝั่งที่ติดต่อกัน รวมเรียกกันในชื่อภูมิภาคแคริบเบียน ทะเลแคริบเบียนเป็นหนึ่งในทะเลที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ประมาณ 2,754,000 ตารางกิโลเมตร (1,063,000 ตารางไมล์) จุดที่ลึกที่สุดของทะเลนี้คือ Cayman Trough อยู่ระหว่างคิวบากับจาเมกา ที่ความลึก 7,686 เมตร (25,220 ฟุต) ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ชายฝั่งแคริบเบียนมีอ่าวอยู่หลายแห่ง เช่น อ่าวเวเนซุเอลา อ่าวดาริเอน อ่าวโมสกิโตส และอ่าวฮอนดูรั.

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและทะเลแคริบเบียน

ซาบา

ซาบา (Saba) เป็นเกาะแห่งหนึ่งในหมู่เกาะลีเวิร์ดในทะเลแคริบเบียน และเป็นเทศบาลรูปแบบพิเศษ (เรียกอย่างเป็นทางการว่า "ทบวงการเมือง") ที่เล็กที่สุดของประเทศเนเธอร์แลนด์ ตัวเกาะส่วนใหญ่ประกอบขึ้นจากเมานต์ซีเนอรี (Mount Scenery) ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่อาจยังมีพลัง ด้วยความสูง 887 เมตร ภูเขาลูกนี้จึงเป็นจุดที่สูงที่สุดในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เกาะซาบารวมกับเกาะกรีนมีสถานภาพเป็นเทศบาลรูปแบบพิเศษในประเทศเนเธอร์แลนด์หลังจากที่ดินแดนเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสถูกยุบเลิกเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม..

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและซาบา

ซินต์เอิสตาซียึส

ซินต์เอิสตาซียึส (Sint Eustatius) หรือที่คนในท้องถิ่นเรียกกันเล่น ๆ ว่า สเตเชีย (Statia)Tuchman, Barbara W. The First Salute: A View of the American Revolution New York:Ballantine Books, 1988.

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและซินต์เอิสตาซียึส

แองกวิลลา

แองกวิลลา (Anguilla) เป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในทะเลแคริบเบียน หนึ่งในกลุ่มเกาะที่อยู่ทางเหนือสุดของหมู่เกาะลีเวิร์ดในภูมิภาคเลสเซอร์แอนทิลลิส แองกวิลลาประกอบด้วยเกาะหลักแองกวิลลายาว 26 กิโลเมตร (16 ไมล์) กว้าง 5 กิโลเมตร (3 ไมล์) และกลุ่มเกาะเล็ก ๆ ซึ่งไม่มีคนอาศัยอย่างถาวร เมืองหลักของดินแดนแห่งนี้คือเดอะแวลลีย์ (The Valley) มีเนื้อที่รวมทั้งหมด 102 ตารางกิโลเมตร (39.4 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 13,500 คน (พ.ศ.

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและแองกวิลลา

แซ็ง-บาร์เตเลมี

แซ็ง-บาร์เตเลมี (Saint-Barthélemy) เป็นเขตชุมชนโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ในหมู่เกาะลีเวิร์ดในทะเลแคริบเบียน มีเมืองหลวงคือกุสตาวียา มีพื้นที่ 22.1 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 8,902 คน.

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและแซ็ง-บาร์เตเลมี

โอแลนด์ออฟบิวที

อแลนด์ออฟบิวที เป็นเพลงชาติของประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส ประพันธ์เนื้อร้องและทำนองโดย เคนริค จอร์จ (Kenrick Georges) ได้รับการประกาศให้เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและโอแลนด์ออฟบิวที

เพลงสรรเสริญพระบารมี

ำว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมี" (royal anthem) โดยการแปลเทียบเคียงจากชื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีของไทย (แปลตามตัวว่า เพลงยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์) เพลงชนิดนี้เป็นเพลงปลุกใจชนิดหนึ่ง โดยมากจะคล้ายคลึงกับเพลงชาติ แต่มักใช้กับบรรดาพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ เนื้อหาของเพลงมักเป็นไปในทางถวายพระพรแด่สถาบันพระมหากษัตริย์ เพลงประเภทนี้นิยมบรรเลงในยามที่พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์เสด็จออกในที่สาธารณะ เช่น การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ การเสด็จออกมหาสมาคม และการเสด็จพระราชดำเนินในที่ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงในวาระโอกาสสำคัญของพระราชวงศ์ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี เป็นต้น.

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและเพลงสรรเสริญพระบารมี

เกาะเซนต์มาร์ติน

ซนต์มาร์ติน (Saint Martin), แซ็ง-มาร์แต็ง (Saint-Martin) หรือ ซินต์มาร์เติน (Sint Maarten) เป็นเกาะทางตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลแคริบเบียน ห่างจากเปอร์โตริโกทางทิศตะวันออกราว 300 กม.

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและเกาะเซนต์มาร์ติน

เอกราช

อกราช คือ ความเป็นอิสระในการปกครองตนเองของชาติหรือรัฐ มีอำนาจอธิปไตยไม่ถูกกดขี่ควบคุมทางการเมืองหรือเป็นอาณานิคมจากรัฐบาลภายนอก.

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและเอกราช

เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา

เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา เป็นชื่ออาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งตั้งอยู่ในแถบทะเลแคริบเบียน ประกอบด้วยดินแดนของแองกวิลลาและประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสในปัจจุบัน รัฐดังกล่าวนี้ต่อมาได้กลายเป็นมณฑลหนึ่งของสหพันธรัฐเวสต์อินดิสในปี ค.ศ.

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา

เซนต์คิตส์

กาะเซนต์คิตส์ (Saint Kitts) หรือ เกาะเซนต์คริสโตเฟอร์ (Saint Christopher Island) เป็นเกาะในเวสต์อินดีส์ ของประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส ฝั่งตะวันตกของเกาะติดกับทะเลแคริบเบียน ส่วนชายฝั่งตะวันออกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก เกาะเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะลีเวิร์ด ในเลสเซอร์แอนทิลลีส ตั้งอยู่ห่างจากเมืองไมแอมี รัฐฟลอริดาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 2,100 กม.

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและเซนต์คิตส์

เนวิส

ฝั่งตะวันออกของเนวิส, ป้องกันบางส่วนโดย แนวปะการัง. เบย์ระยะยาวจะเห็นอยู่เบื้องหน้า Main Street, ชาร์ลส, เนวิส ส่วนหนึ่งของชายฝั่งตะวันตกของ Nevis รวมทั้งสถานที่ตั้งของ ฤดูใบไม้ผลิของเนลสัน เนวิส (Nevis) เป็นเกาะใน ทะเลแคริบเบียน ที่เป็นส่วนหนึ่งของเส้นโค้งด้านในของ เกาะลีเวิร์ด ห่วงโซ่ของ หมู่เกาะอินเดียตะวันตก ตั้งอยู่ใกล้ปลายด้านเหนือของเลสเซอร์แอนทิลลีส เกาะนี้ห่างออกไปประมาณ 350 กิโลเมตรจากตะวันออกเฉียงใต้ของเปอร์โตริโก และห่าง 80 กิโลเมตรทางทิศตะวันตกของแอนติกา มีพื้นที่ 93 ตารางกิโลเมตร และมีเมืองหลวงคือ ชาร์ลสทาวน์ เนวิสตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเซนต์คิตส์ของสหพันธ์เซนต์คิตส์และเนวิส สองเกาะจะถูกแยกออกด้วยช่องแคบ ยาว 3.22 กิโลเมตร ที่เรียกว่า "The Narrows" เนวิสเป็นรูปกรวยในรูปร่างที่มียอดภูเขาไฟที่รู้จักกันเป็น Nevis Peak ที่ศูนย์กลาง เกาะเป็นฝอยบนชายฝั่งตะวันตกและทางเหนือของหาดทรายตามที่ประกอบด้วยส่วนผสมของทรายปะการังสีขาวด้วยทรายสีน้ำตาลและสีดำซึ่งได้รับการกัดเซาะและชะล้างลงจากหินภูเขาไฟที่กำเนิดขึ้นบนเกาะ ที่ราบชายฝั่งกว้าง 1 กิโลเมตร (0.6 ไมล์) มีน้ำพุน้ำจืดธรรมชาติเช่นเดียวกับที่ไม่ใช้ดื่ม ภูเขาไฟ น้ำพุร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแนวชายฝั่งตะวันตก.

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและเนวิส

19 กันยายน

วันที่ 19 กันยายน เป็นวันที่ 262 ของปี (วันที่ 263 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 103 วันในปีนั้น.

ดู ประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสและ19 กันยายน

ดูเพิ่มเติม

ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ

ประเทศในเขตแคริบเบียน

รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2526

สหพันธ์ราชาธิปไตย

อดีตอาณานิคมและรัฐในอารักขาของอังกฤษในทวีปอเมริกา

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Saint Kitts and Nevisสหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิสเซนต์คิตส์และเนวิส