โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศญี่ปุ่นและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศญี่ปุ่นและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

ประเทศญี่ปุ่น vs. สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน.. งครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (Second Sino-Japanese War;; 日中戦争) ระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 ถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2488 เป็นสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สองต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองเรียกว่า "สงครามแปซิฟิก" และดำเนินเรื่อยมาจนยุติลงพร้อมกับสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ย้อนกลับไปใน พ.ศ. 2474 ญี่ปุ่นได้เข้ารุกรานแมนจูเรีย ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่ากรณีมุกเดน ทำให้ญี่ปุ่นสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในดินแดนจีนแผ่นดินใหญ่ได้ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล อันเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของสงครามครั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มต้นสงครามจนถึง..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศญี่ปุ่นและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

ประเทศญี่ปุ่นและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง มี 16 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2485พ.ศ. 2488กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นการบุกครองแมนจูเรียของสหภาพโซเวียตการฟื้นฟูเมจิการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์สันนิบาตชาติสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งสงครามแปซิฟิกสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประชาธิปไตยประเทศจีนประเทศไต้หวันแมนจูเรีย

พ.ศ. 2485

ทธศักราช 2485 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1942 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ประเทศญี่ปุ่นและพ.ศ. 2485 · พ.ศ. 2485และสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2488

ทธศักราช 2488 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1945 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ประเทศญี่ปุ่นและพ.ศ. 2488 · พ.ศ. 2488และสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น

กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น หรือ JSDF บางครั้งเรียกว่า JSF หรือ SDF เป็นบุคลากรจากประเทศญี่ปุ่นที่ถูกจัดตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงเพื่อแทนที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ถูกยุบ และฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครองญี่ปุ่น ในเวลาหลังสงคราม กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นถูกใช้งานในเฉพาะภายในประเทศมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศอธิปไตยชาติเพียงอย่างเดียวและไม่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ ยกเว้นในสถานการณ์ที่เป็นการป้องกันตนเองในขอบเขตที่จำกัดเท่านั้น แม้อาจมีภารกิจในต่างประเทศในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ แต่ล่าสุดในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ครม.ญี่ปุ่นได้ตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นใหม่สรุปได้ว่า กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นจะสามารถส่งทหารไปปฏิบัติภารกิจการป้องกันตนเองร่วมได้(Collectvie-Self Defence) ตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อปกป้องชาติหนึ่งจากการถูกรุกราน โดยญี่ปุ่นจะสามารถไปช่วยเหลือชาติพันธมิตรใกล้ชิดที่ถูกโจมตีได้ หากการโจมตีนั้นเป็นภัยคุกคามต่อการดำรงอยู่ของญี่ปุ่นและไม่มีวิธีอื่นในการปกป้องชีวิตชาวญี่ปุ่น ในด้านการพัฒนาอาวุธ ในรธน.ญี่ปุ่นถูกกำหนดห้ามพัฒนาอาวุธในเชิงรุก ส่วนในด้านการห้ามส่งออกอาวุธนั้น แม้ญี่ปุ่นจะเป็นผู้กำหนดขึ้นเองเมื่อปีพ.ศ. 2510 แต่ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ญี่ปุ่นได้ผ่อนคลายกฎห้ามส่งออกอาวุธ โดยสามารถส่งออกอาวุธและมีส่วนร่วมในการผลิตอาวุธกับนานาชาติได้ แต่ญี่ปุ่นจะไม่ส่งออกอาวุธให้แก่ประเทศที่ตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง หรืออาจเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงของนานาชาติ นอกจากนี้ การจำหน่ายอาวุธก็จะต้องเป็นไปเพื่อส่งเสริมสันติภาพสากลคือต้องเป็นยุทโธปกรณ์ที่ไม่ใช่เพื่อสังหาร และเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงของญี่ปุ่นเอง ส่วนในด้านการสนันสนุนกองกำลังต่างชาติ ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศแก้ไขกฎบัตรว่าด้วยการสนับสนุนต่างชาติ โดยสามารถมอบทุนสนับสนุนภารกิจของกองกำลังต่างชาติที่มิใช่การสู้ร.

กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและประเทศญี่ปุ่น · กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองแมนจูเรียของสหภาพโซเวียต

การบุกครองแมนจูเรียของสหภาพโซเวียต ยังเป็นที่รู้จักในฐานะกลยุทธปฏิบัติการรุกแมนจูเรีย (Манчжурская стратегическая наступательная операция, lit. Manchzhurskaya Strategicheskaya Nastupatelnaya Operaciya) หรือปฏิบัติการแมนจูเรีย (Маньчжурская операция) เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 1945 กองทัพแดงแห่งสหภาพโซเวียตได้รุกรานรัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่นคือรัฐแมนจูกัว มันเป็นการทัพครั้งสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองและใหญ่ที่สุดของสงครามโซเวียต-ญี่ปุ่น ในปี 1945 ที่ได้กลับมาสู้รบกันอีกครั้งระหว่างสหภาพโซเวียตและจักรวรรดิญี่ปุ่น หลังจากสงบศึกกันเป็นเวลาเกือบหกปี ผลประโยชน์ที่ได้รับของโซเวียตคือ แมนจูกัว, เหม่งเจียง (มองโกลเลีย), ดินแดนเกาหลีทางตอนเหนือ.

การบุกครองแมนจูเรียของสหภาพโซเวียตและประเทศญี่ปุ่น · การบุกครองแมนจูเรียของสหภาพโซเวียตและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

การฟื้นฟูเมจิ

การฟื้นฟูพระราชอำนาจสมัยเมจิ (Meiji Restoration) หรือ การปฏิวัติเมจิ (Meiji Revolution) การปฏิรูปเมจิ (Meiji Reform) หรือ การปรับปรุงเมจิ (Meiji Renewal) เป็นเหตุการณ์การปฏิรูปประเทศญี่ปุ่นในปี..

การฟื้นฟูเมจิและประเทศญี่ปุ่น · การฟื้นฟูเมจิและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์

การโจมตีท่าเพิร์ลเป็นการโจมตีทางทหารอย่างจู่โจมของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นต่อฐานทัพเรือสหรัฐที่ท่าเพิร์ล ดินแดนฮาวาย ในเช้าวันที่ 7 ธันวาคม..

การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์และประเทศญี่ปุ่น · การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์และสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สันนิบาตชาติ

ันนิบาตชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นใน..

ประเทศญี่ปุ่นและสันนิบาตชาติ · สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองและสันนิบาตชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง

งครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (First Sino-Japanese War) หรือ สงครามญี่ปุ่น-ชิง หรือ สงครามเจี่ยอู่ (甲午戰爭) เป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิชิงกับจักรวรรดิญี่ปุ่นเพื่อครอบครองคาบสมุทรเกาหลี สงครามนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความอ่อนแอของราชวงศ์ชิง และการประสบผลสำเร็จของญี่ปุ่นที่พัฒนาชาติให้ทันสมัยตามแบบชาติตะวันตกซึ่งเริ่มมาตั้งแต่จักรพรรดิเมจิขึ้นครองราชย์ ส่งผลให้อิทธิพลของราชวงศ์ชิงเสื่อมถอยลงจนนำไปสู่การปฏิวัติในปี..

ประเทศญี่ปุ่นและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง · สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามแปซิฟิก

งครามแปซิฟิก (Pacific War) หรือ สงครามมหาเอเชียบูรพา (Greater East Asia War; 大東亜戦争, Dai Tō-A Sensō) เป็นเขตสงครามหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง สู้รบกันในมหาสมุทรแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเป็นหลัก มีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าสงครามแปซิฟิกเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 หรือ 8 ธันวาคม 1941 เมื่อญี่ปุ่นบุกครองประเทศไทยและโจมตีอาณานิคมของบริติช ได้แก่ มาลายา สิงคโปร์และฮ่องกง ตลอดจนฐานทัพสหรัฐในหมู่เกาะฮาวาย หมู่เกาะเวก เกาะกวมและฟิลิปปินส์ ทว่า สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่นและสาธารณรัฐจีนมีมาต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 1937 โดยมีความเป็นปรปักษ์ย้อนหลังไปถึงวันที่ 19 กันยายน 1931 เมื่อประเทศญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรีย จักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มนโยบายชาตินิยมโดยใช้คำขวัญที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" (Asia for Asiatics) วันที่ 3 พฤศจิกายน..

ประเทศญี่ปุ่นและสงครามแปซิฟิก · สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองและสงครามแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ประเทศญี่ปุ่นและสงครามโลกครั้งที่สอง · สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ประเทศญี่ปุ่นและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

ณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council; UNSC) เป็นหนึ่งใน 6 เสาหลักของสหประชาชาติ และเป็นองค์กรในสหประชาชาติที่มีอิทธิพลรองลงมาจากสมัชชาใหญ่ เป็นองค์กรที่มีอำนาจในการเรียกระดมพลจากรัฐสมาชิกในสหประชาชาติเพื่อจัดตั้งเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปปฏิบัติหน้าที่รักษาสันติภาพในประเทศและสงครามต่างๆ และยังมีอำนาจในการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อประเทศต่าง.

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและประเทศญี่ปุ่น · คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ประชาธิปไตยและประเทศญี่ปุ่น · ประชาธิปไตยและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่น · ประเทศจีนและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไต้หวัน · ประเทศไต้หวันและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

แมนจูเรีย

นแดนแมนจูเรีย แมนจูเรีย เป็นแคว้นหนึ่งทางเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ในบางบริบทอาจหมายถึงแคว้นหนึ่งของประเทศจีน (ปัจจุบันเรียกว่าจีนตะวันออกเฉียงเหนือ) หรือครอบคลุมถึงประเทศรัสเซีย ดินแดนนี้เป็นถิ่นอาศัยของชาวเซียนเปย์ ชาวชี่ตัน และชาวแมนจู (ชื่อแคว้นมาจากชื่อชนกลุ่มนี้) ซึ่งสถาปนารัฐของตนขึ้นหลายรัฐในดินแดนนี้.

ประเทศญี่ปุ่นและแมนจูเรีย · สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองและแมนจูเรีย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศญี่ปุ่นและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

ประเทศญี่ปุ่น มี 366 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง มี 92 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 16, ดัชนี Jaccard คือ 3.49% = 16 / (366 + 92)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศญี่ปุ่นและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »