โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประสาทวิทยาศาสตร์และเจตจำนงเสรี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประสาทวิทยาศาสตร์และเจตจำนงเสรี

ประสาทวิทยาศาสตร์ vs. เจตจำนงเสรี

ประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง (neuroanatomy), หน้าที่, การเจริญเติบโต (neural development), พันธุศาสตร์, ชีวเคมี, สรีรวิทยา, เภสัชวิทยา และพยาธิวิทยาของระบบประสาท นอกจากนี้การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและการเรียนรู้ยังถือว่าเป็นสาขาของประสาทวิทยาอีกด้วย การศึกษาทางชีววิทยาของสมองของมนุษย์มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกันของสาขาวิชาต่าง ๆ ในหลายระดับ มีตั้งแต่ระดับโมเลกุลไปจนถึงระดับเซลล์ (นิวรอน) ซึ่งมีทั้งระดับการทำงานของกลุ่มของนิวรอนจำนวนน้อย เช่น ในคอลัมน์ของสมองส่วนคอร์เทกซ์ (cortical columns) ไปจนถึงระดับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบประสาทการมองเห็น และไปจนถึงระดับการทำงานของระบบขนาดใหญ่ เช่น การทำงานของสมองส่วนซีรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือ ซีรีเบลลัม และการทำงานของสมองทั้งหมด ระดับสูงสุดของการศึกษาวิชาประสาทวิทยา คือ การนำวิธีการศึกษาทางประสาทวิทยาไปรวมกับการศึกษาทางปริชานประสาทวิทยาศาสตร์ หรือประสาทวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการรับรู้ (cognitive neuroscience) อันเป็นสาขาวิชาที่พัฒนามาจากวิชา จิตวิทยาการรับรู้ (cognitive psychology) แต่ปัจจุบันได้แยกออกมาเป็นสาขาวิชาหนึ่ง ปริชานประสาทวิทยาศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ทำให้เราเข้าใจการทำงานของจิตใจ (mind) และการมีสติ (consciousness) จากเหตุมายังผล ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาทางวิชาจิตวิทยาอันเป็นการศึกษาจากผลมายังเหตุ นักวิทยาศาสตร์บางท่านเชื่อว่าปริชานประสาทวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติมจากการศึกษาทางจิตวิทยา และบางทีอาจจะดีกว่าจนกระทั่งมาแทนที่ความรู้ทางจิตวิทยาที่เชื่อกันมาได้ หัวข้อการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ อาทิเช่น. แผนภาพอย่างง่ายแสดงมุมมองทางปรัชญาต่อเจตจำนงเสรีและนิยัตินิยม เจตจำนงเสรี (free will) เป็นความสามารถของตัวกระทำที่จะเลือกโดยไม่ถูกจำกัดจากปัจจัยบางอย่าง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องเดิมมีข้อจำกัดทางอภิปรัชญา (ตัวอย่างเช่น นิยัตินิยมทางตรรกะ จิตวิทยาเชิงเหตุผล หรือเทววิทยา) ข้อจำกัดทางกายภาพ (ตัวอย่างเช่น โซ่ตรวนหรือการจองจำ) ข้อจำกัดทางสังคม (ตัวอย่างเช่น การข่มขู่ลงโทษหรือการตำหนิโทษ หรือข้อจำกัดเชิงโครงสร้าง) และข้อจำกัดทางจิต (ตัวอย่างเช่น การบังคับหรือโรคกลัว ความผิดปกติทางประสาทวิทยาศาสตร์ หรือความโน้มเอียงรับโรคทางพันธุกรรม) หลักเจตจำนงเสรีมีการส่อความทางศาสนา กฎหมาย จริยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเช่น ในขอบเขตศาสนา เจตจำนงเสรีส่อความว่า เจตจำนงและทางเลือกหนึ่ง ๆ สามารถมีพร้อมกับพระเจ้าที่มีอำนาจไร้ขอบเขตได้ ในทางกฎหมาย เจตจำนงเสรีมีผลต่อการพิจารณาการลงโทษและการฟื้นฟูสภาพ ในทางจริยศาสตร์ เจตจำนงเสรีอาจส่อความว่า ปัจเจกบุคคลสามารถรับผิดชอบทางศีลธรรมต่อการกระทำของตนหรือไม่ ในทางวิทยาศาสตร์ การค้นพบทางประสาทวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเจตจำนงเสรีอาจเสนอวิธีต่าง ๆ ที่การทำนายพฤติกรรมของมนุษ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประสาทวิทยาศาสตร์และเจตจำนงเสรี

ประสาทวิทยาศาสตร์และเจตจำนงเสรี มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประสาทวิทยาศาสตร์และเจตจำนงเสรี

ประสาทวิทยาศาสตร์ มี 26 ความสัมพันธ์ขณะที่ เจตจำนงเสรี มี 4 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (26 + 4)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประสาทวิทยาศาสตร์และเจตจำนงเสรี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »