โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์

ดัชนี ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์

อร์แลนด์ราว ค.ศ. 1014 ที่ประกอบด้วยอาณาจักรต่างๆ ที่เป็นอริต่อกัน ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์ (History of Ireland) การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ครั้งแรกในไอร์แลนด์เริ่มขึ้นราว 8000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมื่อหมู่ชนของระบบสังคมล่าสัตว์-เก็บพืชผักเริ่มเดินทางเข้ามาจากแผ่นดินใหญ่ยุโรปอาจจะโดยทางสะพานแผ่นดินที่เคยเชื่อมระหว่างสองทวีป หลักฐานทางโบราณคดีของประชากรกลุ่มนี้แทบจะไม่มีร่องรอยให้เห็น แต่ผู้สืบเชื้อสายจากคนกลุ่มนี้และต่อมาของกลุ่มคนที่โยกย้ายเข้ามาจากคาบสมุทรไอบีเรียก็ได้ทิ้งร่องรอยของแหล่งโบราณคดีสำคัญๆ ของยุคหินใหม่เอาไว้ เช่นอนุสรณ์นิวเกรนจ์ การมาถึงของนักบุญแพทริคและผู้เผยแพร่ศาสนาในต้นจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 คริสต์ศาสนาก็เข้ามาแทนที่ลัทธิพหุเทวนิยมของเคลติคที่มาสิ้นสุดลงโดยสิ้นเชิงในปี ค.ศ. 600 ตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 800 และอีกกว่าหนึ่งร้อยปีหลังจากนั้น ไวกิงก็เข้ามารุกรานไอร์แลนด์ และสร้างความวุ่นวายและความเสียหายให้แก่วัฒนธรรมของสำนักสงฆ์และกลุ่มตระกูลท้องถิ่นต่างๆ บนเกาะไอร์แลนด์ แต่กระนั้นสถาบันทั้งสองก็พิสูจน์ตนเองว่ามีความมั่นคงพอที่จะเอาตัวรอดและสามารถผสานกลืนไปกับวัฒนธรรมผู้ที่เข้ามารุกรานได้ การเข้ามาของอัศวินรับจ้างแคมโบร-นอร์มันภายใต้ริชาร์ด เดอ แคลร์ เอิร์ลแห่งเพมโบรคที่ 2 หรือที่เรียกกันว่า "Strongbow" ในปี..

33 ความสัมพันธ์: ชาวสกอตแลนด์ชาวอังกฤษชาวไวกิงชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์พ.ศ. 1143พ.ศ. 1343พ.ศ. 2077พ.ศ. 2156พ.ศ. 2234พ.ศ. 2372พ.ศ. 2465พ.ศ. 2491พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800การเลิกกีดกันชาวคาทอลิกยุคหินใหม่ยุโรปภาคพื้นทวีปราชอาณาจักรอังกฤษศาสนาคริสต์สหราชอาณาจักรสะพานแผ่นดินสงครามโลกครั้งที่หนึ่งคาบสมุทรไอบีเรียประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักรประวัติศาสตร์อังกฤษประเทศไอร์แลนด์นอริชนอร์มันนักล่า-เก็บของป่าโรมันคาทอลิกโครงการกูเทนแบร์กโปรเตสแตนต์ไอร์แลนด์เหนือเสรีรัฐไอริช

ชาวสกอตแลนด์

--> |region5.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และชาวสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอังกฤษ

วอังกฤษ เป็นกลุ่มของชาวยุโรปที่เคยอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของบริเตนใหญ่ เป็นชาวแองโกล-แซกซอนส์ ที่ปัจจุบันอาศัยกระจายอยู่หลายประเทศทั่วโลก ในสหราชอาณาจักร มีอยู่ 45,265,093 คน สหรัฐอเมริกา 24,515,138 คน แคนาดา 5,978,875 คน ออสเตรเลีย 6.4 ล้านคน และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ชาวอังกฤษส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และชาวอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวไวกิง

แผนที่แสดงการตั้งถิ่นฐานสแกนดิเนเวียของชาวไวกิง สีแดงเข้ม-ระว่าง ค.ศ.701-800, สีแดง-ระหว่าง ค.ศ. 801-900, สีส้มเข้ม-ระว่าง ค.ศ. 901-1000, และสีเหลือง-ระว่าง ค.ศ. 1001-1100, บริเวณสีเขียวแสดงพื้นที่ที่มักถูกโจมตีโดยพวกไวกิงบ่อยแต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานมาก ไวกิง (Vikings) ในความหมายหลักหมายถึงชนเผ่านักรบ นักการค้า และนักตั้งถิ่นฐานจากนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก ซึ่งบุกรบชนะ ยึดครอง และตั้งอาณานิคมอาณาเขตในส่วนใหญ่ของอังกฤษ นอร์ม็องดี และรัสเซียเมื่อระหว่างประมาณ..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และชาวไวกิง · ดูเพิ่มเติม »

ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์

รูปเคารพของนักบุญแอนโทนีอธิการผู้ริเริ่มใช้ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์ ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์' (Christian monasticism) เป็นวิถีการปฏิบัติที่เริ่มวิวัฒนาการมาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก โดยอาศัยแบบอย่างและอุดมคติจากคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งรวมทั้งพันธสัญญาเดิมด้วย แต่มิได้ระบุไว้อย่างเป็นทางการ จนกระทั่งมีการบัญญัติวินัยของนักบวชขึ้นเช่น วินัยของนักบุญบาซิล วินัยของนักบุญเบเนดิกต์ วินัยของนักบุญออกัสติน ตลอดจนกฎหมายศาสนจักรคาทอลิกซึ่งระบุถึงการใช้ชีวิตอารามวาสี ผู้ที่ใช้ชีวิตอารามวาสีเรียกว่านักพรต (ชาย) และนักพรตหญิง หรือเรียกโดยรวม ๆ ว่าอารามิกชน ในสมัยแรก นักพรตไม่ใด้อาศัยในอาราม แต่เป็นฤๅษีที่อยู่โดดเดี่ยวในป่า เมื่อนักพรตเริ่มมีจำนวนมากขึ้น จึงหันมาอาศัยอยู่ร่วมกัน จนกลายเป็นชุมชนนักพรตในอารามที่ยึดถือการปฏิบัติแบบพรตนิยม.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1143

ทธศักราช 1143 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และพ.ศ. 1143 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1343

ทธศักราช 1343 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และพ.ศ. 1343 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2077

ทธศักราช 2077 ใกล้เคียงกั..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และพ.ศ. 2077 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2156

ทธศักราช 2156 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1613.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และพ.ศ. 2156 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2234

ทธศักราช 2234 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และพ.ศ. 2234 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2372

ทธศักราช 2372 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และพ.ศ. 2372 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2465

ทธศักราช 2465 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1922 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และพ.ศ. 2465 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2491

ทธศักราช 2491 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1948.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และพ.ศ. 2491 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800

งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ พระราชบัญญัติสห..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800 · ดูเพิ่มเติม »

การเลิกกีดกันชาวคาทอลิก

แสตมป์ออกในปี ค.ศ. 1929 ฉลองโอกาส “การปลดแอกคาทอลิก” โดยมีภาพเหมือนของแดเนียล โอคอนเนลล์ การเลิกกีดกันคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก หรือการเลิกกีดกันชาวคาทอลิก (Catholic Emancipation; Catholic relief) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่เป็นการลดหรือการยกเลิกการจำกัดสิทธิของคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกในไอร์แลนด์ ที่เป็นผลมาจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติและกฎหมายของบริเตนในไอร์แลนด์ที่รวมทั้งพระราชบัญญัติสมานฉันท์, the พระราชบัญญัติทดสอบ และ ประมวลกฎหมายอาญาของไอร์แลนด์ ประมวลกฎหมายอาญาเป็นบทบัญญัติหลายฉบับที่บังคับใช้ในไอร์แลนด์ภายใต้การปกครองของบริเตน ที่มีวัตถุประสงค์ในการพยายามยุบเลิกอำนาจของฝ่ายเสียงข้างมากในไอร์แลนด์ผู้เป็นโรมันคาทอลิก การบังคับยกเลิกอำนาจทั้งทางโลกและทางธรรมของพระสันตะปาปาส่งผลกระทบกระเทือนต่อผู้ถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในไอร์แลนด์เป็นอันมาก หลังจากการเสียชีวิตของเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวตเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1766เป็นเวลา 70 ปีสถาบันพระสันตะปาปาก็ยอมรับราชวงศ์ฮาโนเวอร์ว่าเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอังกฤษ, สกอตแลนด์ และ ไอร์แลนด์โดยถูกต้อง หลังจากนั้นกฎหมายอาญาก็เริ่มได้รับการยุบเลิก พระราชบัญญัติฉบับสำคัญที่สุดของการปลดแอกคาทอลิกคือ พระราชบัญญัติเพื่อการผ่อนปรนสิทธิของโรมันคาทอลิก..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และการเลิกกีดกันชาวคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

ยุคหินใหม่

หมู่บ้านในสมัยยุคหินใหม่ ในสกอตแลนด์ที่สมบูรณ์ที่สุดในทวีปยุโรป ยุคหินใหม่ (Neolithic หรือ New Stone Age) อยู่ในช่วงเวลาประมาณ 10200-4500/2000 ปีก่อนคริสตกาล โดยเป็นช่วงเวลาระหว่างยุคหินกลางกับยุคโลหะซึ่งมนุษย์ในยุคนี้อาศัยรวมกันอยู่เป็นหมู่บ้าน เริ่มรู้จักทำการเกษตรอย่างเป็นระบบ สามารถเพาะปลูกพืชและเก็บไว้เป็นอาหาร รู้จักทอผ้าและทำเครื่องปั้นดินเผา และเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูกได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์จากสังคมล่าสัตว์มาเป็นสังคมเกษตรกรรม ที่ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง มีการสร้างที่พักอาศัยถาวรเป็นกระท่อมดินเหนียวและตั้งหลักแหล่งตามบริเวณลุ่มน้ำ ยุคหินใหม่เป็นยุคเกษตรกรรม พืชเพาะปลูกที่สำคัญ คือ ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ และพืชอื่นๆ รู้จักใช้เครื่องมือล่าสัตว์และทำภาชนะจากดินเหนียว สำหรับเก็บข้าวเปลือกและใส่อาหาร สัตว์เลี้ยง ได้แก่ สุนัข แพะ แกะ และยังคงล่าสัตว์ เช่น กวาง กระต่าย หมูป่า สภาพชีวิตมนุษย์ในยุคหินใหม่ เปลี่ยนแปลงชีวิตตามความเป็นอยู่จากที่สูงมาอยู่ที่ราบใกล้แหล่งน้ำ โดยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่บ้านบนเนิน และดำรงชีวิตตามเศรษฐกิจใหม่ ได้แก่ เกษตรกรรม และพบว่ามีผลิตผลมากกว่าที่จะบริโภค ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและการค้าขาย สมัยหินใหม่จัดเป็นการปฏิวัติครั้งแรกของมนุษย์ ที่ประสบความสำเร็จขั้นต้นในการปรับตัวให้เข้ากับข้อจำกัดของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องร่อนเร่ย้ายถิ่น และเป็นช่วงเวลา เริ่มต้นการรวมกลุ่มเป็นหลักแหล่ง ในบริเวณที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ยุคหลังจากยุคหินใหม่คือ ยุคทองแดง (Chalcolithic) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุคสำริด (Bronze Age).

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และยุคหินใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปภาคพื้นทวีป

รปภาคพื้นทวีป ยุโรปภาคพื้นทวีป (Continental Europe) หรือยุโรปแผ่นดินใหญ่ (Mainland Europe) หรือทวีป (the Continent) คือแผ่นดินทวีปยุโรปที่ยกเว้นเกาะต่างๆ และบางครั้งก็ยกเว้นคาบสมุทร ในการใช้ในอังกฤษคำนี้นี้หมายถึงทวีปยุโรปที่ยกเว้นสหราชอาณาจักร, เกาะแมน, ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์ ความหมายโดยทั่วไปของ “ยุโรปภาคพื้นทวีป” หมายถึง “ยุโรปแผ่นดินใหญ่ที่ไม่รวมสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์” ประเทศเกาะอื่นที่ไม่รวมคือไซปรัสและมอลตา แต่ในบริเวณอื่นของยุโรปความหมายของคำนี้อาจจะแตกต่างออกไป เช่นในบางคำจำกัดความก็ขยายไปถึงประเทศภายในเทือกเขายูราลและเทือกเขาคอเคซัสWA.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และยุโรปภาคพื้นทวีป · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอังกฤษ

ราชอาณาจักรอังกฤษ (Kingdom of England.) เป็นราชอาณาจักรระหว่างปี..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และราชอาณาจักรอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สะพานแผ่นดิน

การแลกเปลี่ยนทางภูมิสัตวภาพระหว่างทวีปอเมริกา สะพานแผ่นดิน (land bridge) ทางชีวภูมิศาสตร์ หมายถึงคอคอดหรือแผ่นดินที่กว้างกว่านั้น ที่เชื่อมระหว่างแผ่นดินสองแผ่นดินที่ตามปกติแล้วแยกจากกัน การเชื่อมทำให้เกิดภาวะที่ทำให้สัตว์บกและพืชสามารถเดินทางข้ามแลกเปลี่ยนไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนใหม่ได้ สะพานแผ่นดินอาจจะเกิดได้จากการการร่นถอยของทะเลเมื่อระดับน้ำทะเลแห้งเหือดลง ที่ทำให้บริเวณไหล่ทวีปที่เคยอยู่ใต้น้ำตื้นเขินขึ้น หรือเมื่อแผ่นเปลือกโลกเลื่อนตัวจนทำให้เกิดแผ่นดินใหม่ขึ้น หรือเมื่อท้องทะเลสูงตัวขึ้นในกรณีแผ่นดินสูงคืนตัวหลังการละลายของธารน้ำแข็ง (Post-glacial rebound) หลังจากยุคน้ำแข็งสิ้นสุดลง.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และสะพานแผ่นดิน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรไอบีเรีย

มุทรไอบีเรีย คาบสมุทรไอบีเรีย (Iberian Peninsula; Península Ibérica; Península Ibérica; Península Ibèrica) ตั้งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 582,860 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นคาบสมุทรที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของทวีปยุโรปรองจากคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ทางทิศเหนือติดกับเทือกเขาพิเรนีสและประเทศฝรั่งเศส ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศใต้สุดติดกับช่องแคบยิบรอลตาร์ คาบสมุทรไอบีเรียมีความยาวประมาณ 900 กิโลเมตร กว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 900 กิโลเมตร รูปร่างคล้ายสีเหลี่ยมพื้นผ้า พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและเทือกเขา พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณเทือกเขาเซียร์ราเนบาดา เป็นบริเวณแห้งแล้งมากแห่งหนึ่งในคาบสมุทร เมืองที่สำคัญที่อยู่ในคาบสมุทรไอบีเรีย ได้แก่ มาดริด บาร์เซโลนา บาเลนเซีย เซบียา บิลบาโอ ลิสบอน โปร์ตู และยิบรอลตาร.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และคาบสมุทรไอบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักร

ประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักร (History of the United Kingdom) เป็นประวัติศาสตร์ของอาณาจักรที่เกิดจากการรวมตัวของราชอาณาจักรอังกฤษที่รวมทั้งราชอาณาจักรเวลส์ กับ ราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นอาณาจักรเดียวกันเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมค.ศ. 1707 ตามสนธิสัญญาสหภาพ (Treaty of Union) ที่ลงนามกันเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคนค.ศ. 1706 พระราชบัญญัติได้รับการอนุมัติทั้งโดยรัฐสภาแห่งอังกฤษและรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ แต่ละสภาก็ผ่านพระราชบัญญัติสหภาพ ก่อนหน้านั้นราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นราชอาณาจักรอิสระที่แยกจากกันแม้ว่าจะมีการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ร่วม (Union of the Crowns) กันมตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อังกฤษ

อังกฤษ เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุด และมีประชากรมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในสหราชอาณาจักร ประวัติศาสตร์อังกฤษเริ่มขึ้นเมื่อมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เมื่อหลายพันปีมาแล้ว ภูมิภาคที่ปัจจุบันคืออังกฤษภายในสหราชอาณาจักรเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นีอันเดอร์ธอลราว 230,000 ปีมาแล้ว ขณะที่มนุษย์โฮโมเซเพียนซึ่งเป็นมนุษย์สมัยใหม่เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานราว 29,000 ปีมาแล้ว แต่การอยู่ต่อเนื่องกันโดยตลอดเริ่มขึ้นราว 11,000 ปีมาแล้วในปลายยุคน้ำแข็ง ในบริเวณภูมิภาคนี้ยังมีร่องรอยของมนุษย์สมัยต่างๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เริ่มตั้งแต่ยุคหินกลาง, ยุคหินใหม่ และ ยุคสำริด เช่น สโตนเฮนจ์ และเนินดินที่เอฟบรี ในยุคเหล็กอังกฤษก็เช่นเดียวกับบริเตนทั้งหมดทางใต้ของเฟิร์ธออฟฟอร์ธเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนเคลต์ที่เป็นกลุ่มชนที่เรียกว่า บริเตน (Briton) หรือเผ่าเบลแจ ในปี..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และประวัติศาสตร์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไอร์แลนด์

อร์แลนด์ (Ireland, หรือ; Éire เอเหรอะ) คำบรรยายระบอบการปกครองของประเทศนี้ (ไม่ใช่ชื่อทางการ) คือ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Republic of Ireland; Poblacht na hÉireann) นับเป็นสมาชิกที่อยู่ไกลสุดทางตะวันตกของสหภาพยุโรป มีประชากร 4 ล้านกว่าคน เป็นประเทศบนเกาะไอร์แลนด์ อยู่ห่างจากทวีปยุโรปไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5 ใน 6 ของเกาะดังกล่าว (ส่วนที่เหลืออีก 1 ใน 6 ของเกาะไอร์แลนด์ เรียกว่า ไอร์แลนด์เหนือ เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ) ในการแข่งขันรักบี้ระดับนานาชาติ นักกีฬาจากทั้งสาธารณรัฐไอร์แลนด์ และแคว้นไอร์แลนด์เหนือ จะเข้าร่วมในทีมเดียวกัน ในชื่อทีมสหพันธ์รักบี้ไอร์แลนด์ นอกจากนี้ไอร์แลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ใช้เงินยูโร.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และประเทศไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นอริช

“มหาวิหารนอริช” ในนอริช นอริช (Norwich,, สะกดอ่าน: Nor-rich) เป็นนครที่ตั้งอยู่ในนอร์โฟล์คในอีสต์แองเกลียในภาคตะวันออกของอังกฤษในอังกฤษ เป็นเมืองบริหารส่วนภูมิภาคและเมืองหลวงของนอร์โฟล์ค ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 นอริชเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นที่สองของอังกฤษรองจากลอนดอน ที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ และเป็นที่ตั้งของมหาวิหารนอร.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และนอริช · ดูเพิ่มเติม »

นอร์มัน

ีแดงเป็นบริเวณที่นอร์มันได้รับชัยชนะ นอกจากนั้นก็ยังได้รับชัยชนะต่อหมู่เกาะมอลตีส และบางส่วนของตูนิเซีย และลิเบีย นอร์มัน (Normans) คือกลุ่มชนผู้ให้นามแก่ดินแดนนอร์ม็องดีซึ่งเป็นบริเวณทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ชนนอร์มันสืบเชื้อสายมาจากไวกิงผู้ได้รับชัยชนะต่อผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่แต่เดิมที่เป็นชนแฟรงค์ (Franks) และกอลล์-โรมัน (Gallo-Roman) ความเป็น “ชนนอร์มัน” เริ่มเป็นที่รู้จักกันเป็นครั้งแรกราวครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 10 และค่อยๆ วิวัฒนาการเรื่อยมาในคริสต์ศตวรรษต่อๆ มาจนกระทั่งสูญหายไปจากการเป็นกลุ่มชนที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 คำว่า “นอร์มัน” มาจากคำว่า “นอร์สเม็น” หรือ “นอร์ธเม็น” (Norsemen หรือ Northmen) ตามชื่อไวกิงจากสแกนดิเนเวียผู้ก่อตั้งนอร์ม็องดี หรือ “นอร์ธมานเนีย” เดิมในภาษาละติน ชนนอร์มันมีบทบาทสำคัญในทางการเมือง, การทหารและวัฒนธรรมของยุโรปและแม้แต่ในตะวันออกใกล้ (Near East) ชนนอร์มันมีชื่อเสียงในทางการรณรงค์และความศรัทธาทางคริสต์ศาสนา และยอมรับการใช้ภาษากอลล์-โรมานซ์ในดินแดนที่ไปตั้งถิ่นฐานอย่างรวดเร็ว สำเนียงการพูดและการใช้ภาษาที่ได้รับมากลายมาเป็นภาษานอร์มันซึ่งเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางวรรณกรรม อาณาจักรดยุคแห่งนอร์ม็องดี (Duchy of Normandy) ที่เป็นดินแดนที่เกิดจากสนธิสัญญากับราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นอาณาบริเวณการปกครองที่มีความสำคัญที่สุดบริเวณหนึ่งในยุคกลางของฝรั่งเศส ทางด้านการสงครามชนนอร์มันขยายดินแดนโดยการรุกรานและยึดครองโดยเฉพาะในการยึดครองอังกฤษในการรุกรานและยึดครองอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1066 และการรุกรานและยึดครองอิตาลีตอนใต้ นอกจากในด้านการเมืองและการปกครองแล้วชนนอร์มันก็ยังมีชื่อเสียงทางด้านการสถาปัตยกรรมที่มีพื้นฐานมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ และความสามารถทางด้านดนตรี อิทธิพลของนอร์มันในด้านต่างๆ แผ่ขยายจากบริเวณที่ยึดครองตั้งแต่อาณาจักรครูเสดต่างๆ ในตะวันออกใกล้ไปจนถึงสกอตแลนด์ และเวลส์ ในสหราชอาณาจักร และในไอร์แลนด์ ในการศึกษาประวัติศาสตร์ (historiography) ของรัสเซีย คำว่า “นอร์มัน” มักจะใช้สำหรับชนวารันเจียน (Varangians) ซึ่งมาจากไวกิง ในการศึกษาประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสก็เช่นกันมักจะเป็นคำที่หมายถึงไวกิงกลุ่มต่างๆ ผู้รุกรานฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก่อนจะตั้งหลักแหล่งในนอร์ม็องดี.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

นักล่า-เก็บของป่า

นักล่า-รวบรวมพืชผล (hunter-gatherer) หมายถึงมนุษย์ในสังคมที่ได้อาหารส่วนมากหรือทั้งหมด จากการเก็บพืชในป่าหรือล่าสัตว์ป่า เปรียบเทียบกับสังคมเกษตร ที่โดยหลักพึ่งพืชสัตว์พันธุ์ที่ปรับนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร การหากินวิธีนี้เป็นการปรับตัวแบบแรกและที่ยืนยงที่สุดของคน โดยเป็นวิธีหากินใน 90 เปอร์เซนต์ของประวัติศาสตร์มนุษย์ แต่ว่าหลังจากการเกิดขึ้นของสังคมเกษตรกรรมโดยมากในโลก สังคมเกษตรและสังคมเลี้ยงสัตว์ก็ได้แทนที่หรือพิชิตสังคมนักล่า-รวบรวมพืชผล โดยมีกลุ่มที่จัดเป็นนักล่า-รวบรวมพืชผลเหลือเพียงไม่กี่สังคมในปัจจุบัน และหลายกลุ่มจริง ๆ ก็มีการปลูกพืชสวนและเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปด้ว.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และนักล่า-เก็บของป่า · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โครงการกูเทนแบร์ก

รงการกูเทนแบร์ก (Project Gutenberg หรือเรียกชื่อย่อว่า PG) เป็นโครงการอาสาสมัครเพื่อการแปรงานทางวัฒนธรรมเช่นงานวรรณกรรมเป็นดิจิทัลเพื่อการเก็บรักษาและเผยแพร่แก่สาธารณชน โครงการกูเทนแบร์กก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1971 โดยไมเคิล เอส ฮาร์ท (Michael S. Hart) และเป็นห้องสมุดดิจิทัลที่เก่าที่สุด สื่อที่สะสมเป็นหนังสือทั้งเล่ม (full text) ที่ลิขสิทธิ์หมดอายุและเป็นสมบัติของสาธารณชน โครงการกูเทนแบร์กพยายามทำให้สาธารณชนสามารถใช้หนังสือเหล่านี้โดยไม่ต้องเสียเงินเท่าที่จะทำได้ และในรูปแบบที่ใช้ได้กับคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป (open format) ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2007 โครงการกูเทนแบร์กกล่าวว่ามีสื่อกว่า 24,000 สื่อในโครงการ โครงการกูเทนแบร์กเกี่ยวข้องกับโครงการอื่นๆ ที่เป็นองค์การอิสระอีกหลายโครงการที่มีจุดประสงค์คล้ายคลึงกันและได้รับอนุญาตให้ใช้ตรา “Project Gutenberg” ถ้าเป็นไปได้ หนังสือหรือสื่อของโครงการกูเทนแบร์กจะเป็นเนื้อหาที่ไม่มีรูปแบบ (plain text) แต่รูปแบบอื่นก็มีให้เช่น HTML หนังสือหรือสื่อส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษแต่ก็มีบ้างที่เป็นภาษาอื่น โครงการมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ โครงการผู้ตรวจสอบ (Distributed Proofreaders หรือเรียกชื่อย่อว่า DP) ซึ่งเป็นกลุ่มอาสาสมัครอินเทอร์เน็ตที่ช่วยตรวจสอบหนังสือและสือก่อนที่จะเผยแพร่แก่สาธารณชนในโครงการกูเทนแบร์ก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และโครงการกูเทนแบร์ก · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอร์แลนด์เหนือ

อร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland; Tuaisceart Éireann ทวฌเชอรท์ เอรัน) คือ 1 ใน 4 ประเทศองค์ประกอบของสหราชอาณาจักรซึ่งประกอบด้วยอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ไอร์แลนด์เหนือตั้งอยู่บนเกาะไอร์แลนด์ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกและใต้ติดประเทศไอร์แลนด์ ทิศเหนือติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับช่องแคบเหนือ และทิศตะวันออกติดกับทะเลไอริช เมืองหลวงมีชื่อว่า เบลฟาสต์ ซึ่งมีประชากรประมาณ 333,000 คน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และไอร์แลนด์เหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เสรีรัฐไอริช

รีรัฐไอริช (Irish Free State; Saorstát Éireann) เป็นเสรีรัฐที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1922 ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาอังกฤษ-ไอร์แลนด์ที่ลงนามโดยรัฐบาลบริเตนและผู้แทนไอร์แลนด์สิบสองเดือนก่อนหน้านั้น ในวันที่ก่อตั้งเสรีรัฐประกอบด้วยเกาะไอร์แลนด์ทั้งเกาะยกเว้นแต่ไอร์แลนด์เหนือที่แยกตัวออกมาเกือบจะทันทีตามสิทธิ "แยกตัว" ที่ระบุไว้ในสนธิสัญญา เสรีรัฐไอริชมาแทนที่สาธารณรัฐไอร์แลนด์ที่ประกาศตนเป็นรัฐโดยพฤตินัยมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1919 เสรีรัฐไอริชมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1937 เมื่อประชาชนออกเสียงสนับสนุนข้อเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับ ค.ศ. 1922 แต่ยังไม่ประกาศตัวเป็นสาธารณรัฐจนกระทั้งปี 1949.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์และเสรีรัฐไอริช · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

History of IrelandIrish history

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »