โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประภัสสร เสวิกุล

ดัชนี ประภัสสร เสวิกุล

ประภัสสร เสวิกุล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พุทธศักราช 2554 (22 เมษายน พ.ศ. 2491 — 18 กันยายน พ.ศ. 2558) เป็นนักเขียนที่ได้รับความนิยมจากนักอ่านและเป็นที่ยอมรับในวงวรรณกรรมร่วมสมัยของไทยในช่วงเวลากว่า 40 ปี ท่านได้สร้างสรรค์ผลงานอันมีคุณค่าทั้งนวนิยาย เรื่องสั้น บทกวี สารคดี จำนวนมาก ผลงานจำนวนไม่น้อยได้รับรางวัลในระดับชาติหลายเรื่อง ได้มีผู้นำไปสร้างสรรค์เป็นศิลปะแขนงอื่น คือ ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ อีกจำนวนหนึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ วรรณกรรมของนายประภัสสร เสวิกุล มิใช่เพียงให้ความบันเทิงใจแก่ผู้อ่าน แต่ให้ภาพสมจริงของสังคมและชีวิตมนุษย์ ผลงานที่สร้างขึ้นอย่างประณีต ผสมผสานข้อมูลกับจินตนาการอย่างเหมาะสม นำเสนอด้วยฝีมือการประพันธ์ และภาษาที่เลือกสรรแล้ว พร้อมทั้งให้ข้อคิดคติธรรมแก่ผู้อ่าน ได้แสดงให้เป็นที่ประจักษ์ว่าท่านเป็นนักเขียนที่มีอุดมคติและมีสำนึกความรับผิดชอบต่อนักอ่านและสังคม งานประพันธ์ทุกเรื่องของท่านจะฉายภาพให้ผู้อ่านได้เห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ คุณธรรมและค่านิยมประการต่าง ๆ ได้แก่ ความเป็นผู้นำ มิตรภาพ การพึ่งตนเอง ความขยันหมั่นเพียร ความกล้า สู้ชีวิต ความอดออม ความเมตตา ความกตัญญู ความซื่อสัตย์ ความสามัคคี การเคารพเชื่อฟังผู้อาวุโส การหมั่นแสวงหาความรู้ ตลอดจนการเห็นคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ เพราะท่านเชื่อมั่นว่าด้านดีของมนุษย์และคุณลักษณะที่ดีของคนไทย จะเป็นพลังสำคัญที่จะธำรงรักษาสังคมและมนุษยชาติไว้ นอกจากการสร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมไว้เป็นสิ่งจรรโลงใจแก่ผู้อ่านแล้ว นายประภัสสร เสวิกุล ยังมีบทบาทสำคัญในการเชิดชูเกียรติและศักดิ์ศรีของนักเขียนรุ่นอาวุโส ส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ทางวรรณกรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่วงการนักเขียนและวงวรรณกรรมร่วมสมัยของไทย รวมทั้งถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ด้านการประพันธ์เพื่อสร้างนักเขียนรุ่นเยาว์ให้ก้าวไปสู่การเป็นนักเขียนอาชี.

21 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2491พ.ศ. 2555พ.ศ. 2558มาลัย ชูพินิจมนัส จรรยงค์ราชกิจจานุเบกษาลอดลายมังกรลิลิตตะเลงพ่ายศิลปินแห่งชาติหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชอำนาจขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุนคุณหญิงฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิประมูล อุณหธูปโคลงโลกนิติเวลาในขวดแก้วเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์18 กันยายน22 เมษายน5 ธันวาคม

พ.ศ. 2491

ทธศักราช 2491 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1948.

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและพ.ศ. 2491 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2555

ทธศักราช 2555 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2012 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีมะโรง จัตวาศก จุลศักราช 1374 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้..

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและพ.ศ. 2555 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2558

ทธศักราช 2558 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2015 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน นับเป็นปีที่ 2015 ตามกำหนดสากลศักร.

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและพ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

มาลัย ชูพินิจ

มาลัย ชูพินิจ เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2449 ที่บ้านริมแม่น้ำปิง ตำบลคลองสวนหมาก (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนครชุม) อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรของ นายสอน และนางระเบียบชูพินิจ บิดาและมารดาประกอบอาชีพทางด้านการค้าไม้สักและไม้กระยาเลย เป็นนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของไทย นิยมเรียกกันทั่วไปว่า ครูมาลัย ใช้นามปากกา "แม่อนงค์" "น้อย อินทนนท์" "นายฉันทนา" เป็นต้น ในวัยเด็ก มาลัย ชูพินิจ เข้ารับการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดกำแพงเพชร จนจบชั้นประโยคประถมศึกษา เมื่ออายุประมาณ 10 ปี จึงเข้าไปศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับสูงจนจบประโยคมัธยมศึกษา (ม.8) เมื่อ ปี..

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและมาลัย ชูพินิจ · ดูเพิ่มเติม »

มนัส จรรยงค์

มนัส จรรยงค์ (10 มิถุนายน พ.ศ. 2450 ที่จังหวัดเพชรบุรี — 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508) เป็นนักเขียนชาวไทย ได้รับการยกย่องว่าเป็น "ราชาเรื่องสั้นของเมืองไทย " มนัส จรรยงค์ เกิดที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรคนโตในจำนวน 10 คนของนายผ่องและนางเยื้อน จรรยงค์ เมื่อจบชั้นมัธยม 2 บิดามารดาได้ส่งไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพ ที่โรงเรียนสุขุมาลัย วัดพิชัยญาติ โดยพักอาศัยอยู่ที่บ้านเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) แล้วไปเป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจนจบชั้นมัธยม 6 และออกจากโรงเรียนเมื่อขึ้นชั้นมัธยม 7 เพราะผลการเรียนตกต่ำ ออกไปเผชิญชีวิตภายนอกเป็นนักแสดงกายกรรม แอบโดยสารใต้ท้องรถไฟเพื่อไปเป็นกรรมกรเหมืองแร่ที่ภาคใต้ และถูกนายตรวจจับได้ จึงต้องเดินเท้ากลับ เมื่อ..

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและมนัส จรรยงค์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette, เรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือรวบรวมคำประกาศของทางราชการ โดยเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย นพศก จุลศักราช 1219 ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 นับเป็นเอกสารหลักในการแจ้งประกาศ กฎหมาย และคำสั่งทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการจวบจนปัจจุบันนี้ นับเป็นสิ่งพิมพ์ของไทยที่มีอายุยาวนานที่สุด โดยมีสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์และเผยแพร.

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและราชกิจจานุเบกษา · ดูเพิ่มเติม »

ลอดลายมังกร

ลอดลายมังกร เป็นนวนิยายที่ประพันธ์โดย ประภัสสร เสวิกุล ว่าด้วยเรื่องราวของชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ที่ชื่อ เหลียง สือพาณิชย์ ที่สร้างเนื้อสร้างตัวจากเสื่อผืนหมอนใบจนกลายเป็นมหาเศรษฐี ได้รับรางวัลชมเชยประเภทนวนิยาย จากการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2533.

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและลอดลายมังกร · ดูเพิ่มเติม »

ลิลิตตะเลงพ่าย

ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นบทประพันธ์ประเภทลิลิต ประพันธ์ขึ้นโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในวาระงานพระราชพิธีฉลองตึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในรัชกาลที่ 3 โดยตะเลงในที่นี้หมายถึง พม่า ที่มาของเรื่อง 1.พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) 2.วรรณคดีเก่าเรื่อง ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ 3.จินตนาการของผู้แต่ง คือ ช่วงบทนิราศ จุดมุ่งหมายในการแต่ง 1.เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 2.ฉลองตึกวัดพระเชนตุพนฯ สมัย รัชกาลที่ 3 3.สร้างสมบารมีของผู้แต่ง (เพราะผู้แต่งขอไว้ว่าถ้าแต่งเสร็จขอให้สำเร็จสู่พระนิพพาน).

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและลิลิตตะเลงพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปินแห่งชาติ

ลปินแห่งชาติ ของประเทศไทย หมายถึงศิลปินผู้มีความสามารถ มีผลงานสร้างสรรค์และพัฒนาเป็นที่ยอมรับของวงการ และมีผลงานเป็นประโยชน์ต่อสังคม นับตั้งแต่เริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติ (พ.ศ. 2528) ถึงสิ้นปี..

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและศิลปินแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

ตราจารย์พิเศษ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (20 เมษายน พ.ศ. 2454 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538) นักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ นับเป็นปูชนียบุคคลท่านหนึ่งของไทย เป็นน้องชายแท้ ๆ ของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี 4 สมัย สื่อมวลชนจึงนิยมเรียกทั้งคู่ว่า "หม่อมพี่ หม่อมน้อง" นอกจากนี้ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ และ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ยังมีพี่สาวคือ หม่อมราชวงศ์บุญรับ พินิจชนคดี (สมรสกับ พลตำรวจเอกพระพินิจชนคดี หรือ พินิจ อินทรทูต) เมื่อปลายปี..

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจ

นักสังคมวิทยานิยาม อำนาจ ว่าเป็นความสามารถในการกำหนดให้ผู้อื่นเป็นหรือกระทำตามความต้องการของตนเอง แม้ว่าผู้อื่นจะขัดขืนก็ตาม การกำหนดนี้อาจไม่จำเป็นต้องมีการบีบบังคับ (ด้วยกำลังหรือด้วยการขู่ว่าจะใช้กำลัง) ดังนั้น "อำนาจ" ในแนวคิดทางสังคมวิทยา จึงมีความหมายครอบคลุมถึงอำนาจทางกายภาพและอำนาจการเมือง ในภาษาที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน คำว่า "อำนาจ" จะมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า "อิทธิพล" (influence) ถ้าจะกล่าวในกรณีทั่วไปมากกว่านี้ เราสามารถนิยาม "อำนาจ" ว่าเป็นความสามารถฝ่ายเดียว หรือเกือบจะฝ่ายเดียว, หรือศักยภาพในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอะไรบางอย่าง ซึ่งมักจะเป็นชีวิตของผู้คน ผ่านทางการกระทำของตนเอง หรือผู้อื่น.

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและอำนาจ · ดูเพิ่มเติม »

ขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน

อหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน เป็นบทประพันธ์แนวนวนิยายของประภัสสร เสวิกุล เคยถูกนำไปดัดแปลงเป็นการแสดงมาแล้ว 3 ครั้ง.

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน · ดูเพิ่มเติม »

คุณหญิง

ณหญิง เป็นคำนำหน้าใช้สำหรับสตรีที่สมรสแล้วซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้น จตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.) ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) และทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) ส่วนสตรีที่ยังมิได้สมรสให้ใช้คำนำหน้าว่า "คุณ" ยกเว้น สตรีในราชตระกูลตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป รวมทั้ง หม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง ยังคงใช้พระนามและคำนำหน้านามเดิม นอกจากนี้ คำว่า คุณหญิง ยังใช้เป็นนามลำลองของ หม่อมราชวงศ์หญิง อีกด้วย เช่น หม่อมราชวงศ์ ศรีคำรุ้ง ยุคล มีนามลำลองว่า คุณหญิงแมงมุม เป็นต้น.

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและคุณหญิง · ดูเพิ่มเติม »

ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ

ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ (23 พฤศจิกายน 2474 -) นักเขียนนวนิยายที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของไทย ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2540 เป็นเจ้าของนามปากกา พนมเทียน ผู้แต่ง เพชรพระอุมา ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ เกิดที่จังหวัดปัตตานี เป็นบุตรคนสุดท้องของขุนวิเศษสุวรรณภูมิ กับนางสะอาด รัตนกุล เริ่มเขียนนวนิยายเรื่องแรกตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เรื่อง “เห่าดง” ลงในสมุดอ่านกันเล่น เมื่อ พ.ศ. 2484 นอกจากเขียนนวนิยายแล้ว ฉัตรชัยยังเป็นคอลัมนิสต์เขียนบทความเกี่ยวกับอาวุธปืน ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารบางฉบับด้วย โดยใช้ชื่อจริง และนามปากกา "ก้อง สุรกานต์".

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ประมูล อุณหธูป

ประมูล อุณหธูป นักเขียนที่ใช้นามปากกาว่า อุษณา เพลิงธรรม มีผลงานเด่น เช่น เรื่องของจัน ดารา ที่นำไปทำเป็นภาพยนตร์ ชื่อ จัน ดารา และมีผลงานเรื่องสั้นได้แก่ ชุดช่อประยงคุ์ และแกมเก็จ โดยการแปลเขามักใช้ชื่อจริงเรื่องแรก คือ โลกียชน ซึ่งแปลจากเรื่อง ตอร์ติล์ยาแฟลท ของจอห์น สไตน์เบ็ค หลังจากนั้นก็มีเรื่องแปลเรื่องอื่น ๆ ติดตามมา อีกหลายเล่ม เช่น ปีศาจสันนิวาส จอมทรนง แสนแค้น ซาลาโก้ เก็บเบี้ยในรังโจร โลงของอีส้า เป็นต้น.

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและประมูล อุณหธูป · ดูเพิ่มเติม »

โคลงโลกนิติ

ลงโลกนิติ เป็นวรรณกรรมประเภทคำสอน ในลักษณะของโคลงสุภาษิต คำว่า โลกนิติ (อ่านว่า โลก-กะ-นิด) แปลว่า ระเบียบแบบแผนแห่งโลก เนื้อหาในโคลงโลกนิติจึงมุ่งแสดงความจริงของโลกและสัจธรรมของชีวิต เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้เท่าทันต่อโลก และเข้าใจในความเป็นไปของชีวิต พร้อมเป็นแม่แบบเพื่อให้ผู้อ่านได้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้องดีงามสืบไป โคลงโลกนิติมีความไพเราะเหมาะสมทั้งด้านรูปแบบและเนื้อหาปรัชญาสาระ ครบคุณค่าทางวรรณกรรม ทำให้เป็นที่แพร่หลายในหมู่คนทั่วไป บางท่านกล่าวยกย่องโคลงโลกนิติว่าเป็น อมตะวรรณกรรมคำสอน หรือ ยอดสุภาษิตอมตะ, ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นบทอ่านในหนังสือแบบเรียนสำหรับนักเรียนนักศึกษาอยู่ทุกยุคสมัย และได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน.

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและโคลงโลกนิติ · ดูเพิ่มเติม »

เวลาในขวดแก้ว

วลาในขวดแก้ว เป็นนวนิยายไทยของ ประภัสสร เสวิกุล มีเนื้อหาสะท้อนชีวิตและปัญหาของวัยรุ่นในด้านต่างๆ ทั้งครอบครัว ความรัก การศึกษา สังคม และการเมือง จัดพิมพ์เป็นพ็อคเก็ตบุ๊คครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2528 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2534 ได้มีการสร้างเป็นภาพยนตร์ไทย โดย ประยูร วงศ์ชื่น นำแสดงโดย นฤเบศร์ จินปิ่นเพชร, ปวีณา ชารีฟสกุล และ วาสนา พูนผล ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จทั้งรายได้และคำนิยม โดยได้รับรางวัลจากสองสถาบันคือ รางวัลสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2534 จำนวน 4 รางวัล และรางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 2 ประจำปี..

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและเวลาในขวดแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์

รื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ (The Most Admirable Order of the Direkgunabhorn) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 เพื่อพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน แบ่งออกเป็น 7 ชั้น พระราชทานแก่บุรุษและสตรีตามที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควร.

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

18 กันยายน

วันที่ 18 กันยายน เป็นวันที่ 261 ของปี (วันที่ 262 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 104 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและ18 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

22 เมษายน

วันที่ 22 เมษายน เป็นวันที่ 112 ของปี (วันที่ 113 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 253 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและ22 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

5 ธันวาคม

วันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันที่ 339 ของปี (วันที่ 340 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 26 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ประภัสสร เสวิกุลและ5 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »