โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประพจน์

ดัชนี ประพจน์

ในตรรกศาสตร์และปรัชญา ประพจน์ (proposition) หมายถึงประโยคบอกเล่า (หรือประโยคปฏิเสธเชิงบอกเล่า) ที่มีเนื้อหาหรือความหมาย หรือหมายถึงรูปแบบของสัญลักษณ์ เครื่องหมาย หรือเสียงที่ทำให้เกิดประโยคบอกเล่าที่มีความหมาย ความหมายของประพจน์รวมไปถึงสมบัติที่บอกได้ว่าเป็นความจริงหรือความเท็จ (ตีความด้วยค่าความจริง) และประพจน์เช่นนั้นถือว่าเป็น truthbearer ส่วนประโยคคำถาม คำสั่ง ขอร้อง คำอุทาน หรือประโยคที่ไม่สามารถระบุค่าความจริงได้ ไม่เป็นประพจน.

6 ความสัมพันธ์: สมการความจริงค่าความจริงตรรกศาสตร์ตัวแปรปรัชญา

สมการ

มการ หมายถึงประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ที่ใช้แสดงว่าสองสิ่งเหมือนกัน หรือเทียบเท่ากัน ที่เชื่อมด้วยเครื่องหมายเท่ากับ ดังตัวอย่าง สมการมักใช้เป็นการกำหนดสภาความเท่ากันของสองที่มีอย่างน้อยหนึ่งตัว ตัวอย่างเช่น เมื่อเราให้ค่าใดๆ กับ x สมการนี้จะเป็นจริงเสมอ ทั้งสองสมการข้างต้นเป็นตัวอย่างหนึ่งของสมการที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งหมายความว่า สมการจะเป็นจริงโดยไม่ต้องมีการแทนค่าใดๆ ลงในตัวแปร สำหรับสมการต่อไปนี้ไม่ได้เป็นเอกลักษณ์ สมการข้างบนนี้จะไม่เป็นจริงเมื่อแทนค่าอื่นใด แต่จะเป็นจริงแค่เพียงค่าเดียว เราเรียกค่าที่ทำให้สมการเป็นจริงนั้นว่า รากของสมการ สำหรับรากของสมการดังกล่าวคือ 1 ดังนั้น สมการนี้สามารถเป็นจริงได้ ขึ้นอยู่กับค่าของ x เรียก x ที่ทำให้สมการเป็นจริงว่า "คำตอบของสมการ" นั่นคือการแก้สมการจึงเป็นการหาคำตอบของสมการวิธีหนึง เช่น 2x - 8.

ใหม่!!: ประพจน์และสมการ · ดูเพิ่มเติม »

ความจริง

วามจริง ถูกใช้อย่างสอดคล้องบ่อยครั้งกับข้อเท็จจริงและความเป็นจริงMerriam-Webster's Online Dictionary,, 2005 หรือความเที่ยงตรง ของต้นแบบ, มาตรฐาน หรือความคิด หลักปรัชญาตรงข้ามของความจริงคือความผิด ซึ่งสามารถใช้ในทางความหมายเชิงตรรกะ, รูปธรรม หรือจริยธรรมได้อย่างพ้องกัน แนวคิดของความจริงคืออภิปรายและถกเถียงในอรรถาธิบายหลากหลายประเด็น รวมถึงในเรื่องปรัชญาและศาสนา โดยกิจกรรมหลายอย่างของมนุษย์ใช้ความจริง เช่น วิทยาศาสตร์, นิติศาสตร์ และชีวิตประจำวัน หลากหลายทฤษฎีและมุมมองของความจริงยังคงถูกถกเถียงในหมู่นักปรัชญาและนักวิชาการ ภาษาและคำพูดคือสิ่งที่มนุษย์ใช้สื่อสารระหว่างกันและกัน และแนวคิดดังกล่าวเคยมองความจริงว่าเป็นเกณฑ์ของความจริง (criterion of truth) นอกจากนี้ยังมีคำถามมากมาย เช่น สิ่งใดถือเป็นความจริง, ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ว่าสิ่งใดจริงสิ่งใดไม่จริง และความจริงเป็นอัตวิสัยหรือรูปธรรม เป็นความสัมพันธ์หรือความสัมบูรณ์ หลายศาสนาพิจารณาการรอบรู้ความจริงทั้งหมดของสิ่งทั้งมวล (สัพพัญญู) ว่าเป็นลักษณะของเทวดาหรือความเหนือธรรมชาต.

ใหม่!!: ประพจน์และความจริง · ดูเพิ่มเติม »

ค่าความจริง

ค่าความจริง (Truth value) ในทางตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ หมายถึง ค่าที่ใช้บ่งบอกว่าประพจน์ใดเป็นความจริง ในเรื่องของตรรกศาสตร์แบบฉบับ (classical logic) ค่าความจริงมีเพียงสองอย่างเท่านั้นคือ ค่าจริง (true) และค่าเท็จ (false) แต่สำหรับตรรกศาสตร์คลุมเครือ (fuzzy logic) หรือตรรกศาสตร์หลายค่า (multi-valued logic) ค่าความจริงอาจจะมีค่าอย่างอื่นที่นอกเหนือจากนั้นก็ได้ เซตของค่าความจริง ทำให้เกิดพีชคณิตแบบบูล (Boolean algebra) ซึ่งคำนวณด้วยวิธีที่คล้ายพีชคณิตแล้วให้ผลเฉพาะในเซตเท่านั้น ส่วนพีชคณิตแบบอื่นอาจมีการใช้เซตของค่าความจริงในตรรกศาสตร์ที่ไม่ได้เป็นแบบฉบับ ตัวอย่างเช่น ตรรกศาสตร์สหัชญาณนิยม (intuitionistic logic) หรือพีชคณิตเฮย์ทิง (Heyting algebra) เป็นต้น ในการเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์จะให้ความหมายของค่า 0 เป็นค่าเท็จ และค่าอื่นที่ไม่ใช่ 0 (รวมทั้ง 1) หมายถึงค่าจริง และภาษาโปรแกรมบางภาษาอาจมีค่าว่าง (null) อยู่ด้วย ซึ่งไม่ใช่ทั้งค่าจริงและค่าเท็จ หมวดหมู่:ตรรกศาสตร์.

ใหม่!!: ประพจน์และค่าความจริง · ดูเพิ่มเติม »

ตรรกศาสตร์

ตรรกศาสตร์ (logic - มีรากศัพท์จากภาษากรีกคือ λόγος, logos) โดยทั่วไปประกอบด้วยการศึกษารูปแบบของข้อโต้แย้งอย่างเป็นระบบ ข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผลคือข้อโต้แย้งที่มีความสัมพันธ์ของการสนับสนุนเชิงตรรกะที่เฉพาะเจาะจงระหว่างข้อสมมุติพื้นฐานของข้อโต้แย้งและข้อสรุป ตรรกศาสตร์เป็นการศึกษาเชิงปรัชญาว่าด้วยการให้เหตุผล โดยมักจะเป็นส่วนสำคัญของวิชาปรัชญา คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงภาษาศาสตร์ ตรรกศาสตร์เป็นการตรวจสอบข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผล (valid argument) หรือการให้เหตุผลแบบผิดๆ (fallacies) ตรรกศาสตร์ เป็นการศึกษาที่มีมานานโดยมนุษยชาติที่เจริญแล้ว เช่น กรีก จีน หรืออินเดีย และถูกยกขึ้นเป็นสาขาวิชาหนึ่งโดย อริสโตเติล.

ใหม่!!: ประพจน์และตรรกศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวแปร

ตัวแปร (variable) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ประพจน์และตัวแปร · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: ประพจน์และปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »