โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปปัญจสูทนี

ดัชนี ปปัญจสูทนี

ปปัญจสูทนี คือ คัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายความในมัชฌิมนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆสะเป็นผู้เรียบเรียงขึ้นจากอรรถกถาภาษาสิงหฬ เมื่อราว..

10 ความสัมพันธ์: พระพุทธโฆสะพระสุตตันตปิฎกภาษาบาลีภาษาสิงหลมูลปัณณาสก์สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)สังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุทธสุชีพ ปุญญานุภาพอรรถกถาอรรถกถามูลปริยายวรรค

พระพุทธโฆสะ

ระพุทธโฆสะ ในประเทศไทยมักเรียกว่า พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ในนิกายเถรวาทผู้มีชีวิตอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นผู้แต่งคัมภีร์หลายเล่ม ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งรวบรวมแนวคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ การตีความคำสอนในพระพุทธศาสนาของท่านถือเป็นแนวคิดที่ใช้เป็นหลักในนิกายเถรวาทในปัจจุบัน ทั้งนักวิชาการตะวันตกและชาวพุทธเถรวาทต่างยอมรับว่าท่านเป็นอรรถกถาจารย์ที่สำคัญที่สุดในนิกายเถรวาท.

ใหม่!!: ปปัญจสูทนีและพระพุทธโฆสะ · ดูเพิ่มเติม »

พระสุตตันตปิฎก

ระสุตตันตปิฎก เป็นชื่อของปิฎกฉบับหนึ่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม พระสุตตันตปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรม ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาสาระ บุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ตลอดจนบทประพันธ์ ชาดก หรือ เรื่องราวอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกล่าวโดยรวมก็คือ คำสอนที่ประกอบด้วยองค์ 9 ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ นั่นเอง นับเป็นธรรมขันธ์ได้ 21,000 พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ 5 คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททกนิกาย ใช้อักษรย่อว่า ที ม สัง อัง ขุ อักษรย่อทั้ง 5 คำนี้เรียกกันว่า หัวใจพระสูตร.

ใหม่!!: ปปัญจสูทนีและพระสุตตันตปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: ปปัญจสูทนีและภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสิงหล

ษาสิงหล (සිංහල) เป็นภาษาของชาวสิงหล ซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศศรีลังกา เป็นภาษาในสาขาอินโด-อารยันของตระกูลอินโด-ยูโรเปียน มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษามัลดีฟส์ของประเทศมัลดีฟส์ มีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 15 ล้านคน เจ้าชายวิชายาและพรรคพวกนำชาวสิงหลอพยพเข้าสู่เกาะลังกาเมื่อราว 500 ปีก่อนพุทธศักราช วรรณคดีจำนวนมากในศรีลังกาได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา และวรรณคดีอินเดีย การติดต่อกับชาวทมิฬทำให้มีศัพท์ภาษาทมิฬปนอยู่ นอกจากนี้ยังมีคำยืมจากภาษาดัตช์ ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษ เป็นจำนวนมากเพราะเคยถูกปกครองโดยชาติเหล่านี้ เขียนด้วยอักษรสิงหลที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี รัฐบาลศรีลังกาประกาศให้ภาษาสิงหลเป็นภาษาราชการเมื่อปี พ.ศ. 2499 และบังคับให้โรงเรียนทุกโรงเรียนสอนหนังสือด้วยภาษาสิงหล ทำให้ชาวทมิฬ ไม่พอใ.

ใหม่!!: ปปัญจสูทนีและภาษาสิงหล · ดูเพิ่มเติม »

มูลปัณณาสก์

มูลปัณณาสก์ จัดเป็น เล่มที่ 1 (ลำดับพระไตรปิฎก เล่มที่ 12) มี 5 วรรค 50 สูตร ดังนี้ มูลปริยายวรรค (10 สูตร), สีหนาทวรรค (10 สูตร), โอปัมมวรรค (10 สูตร), มหายมกวรรค (10 สูตร) และจูฬยมกวรรค (10 สูตร).

ใหม่!!: ปปัญจสูทนีและมูลปัณณาสก์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

ตราจารย์พิเศษ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิม ประยุทธ์ อารยางกูร ฉายา ปยุตฺโต หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา "ป.

ใหม่!!: ปปัญจสูทนีและสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) · ดูเพิ่มเติม »

สังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุทธ

ถ้ำสัตตบรรณคูหาสถานที่ปฐมสังคายนา ปฐมสังคายนา เป็นการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก กระทำขึ้นหลังจากพระโคตมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้เพียง 3 เดือน สาเหตุสืบเนื่องมาจากพระมหากัสสปะ เมื่อทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานจึงรีบเดินทางมาจากเมืองปาวา แต่ระหว่างทางพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นปุถุชนได้ร้องไห้คร่ำครวญขึ้นมาทำให้มีภิกษุผู้บวชเมื่อแก่นามว่าสุภัททะ ได้กล่าววาจาจาบจ้วงพระพุทธเจ้าพระมหากัสสปะจะลงโทษพระสุภัททะแต่ก็รอให้ผ่านพิธีถวายพระเพลิงเสียก่อน หลังจากพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระได้ผ่านไปแล้ว 3 เดือนพระมหากัสสปะจึงได้ชักชวนพระอรหันต์ทั้งสิ้น 500 รูปมาร่วมสังคายนาพระไตรปิฎกโดยมีท่านเป็นประธานและทำหน้าที่ซักถามพระวินัยและพระธรรมส่วน พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาพระวินัย และพระอานนท์ซึ่ง 1 วันก่อนสังคายนาท่านได้บำเพ็ญธรรมจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรม และได้พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภก โดยสถานที่ทำปฐมสังคายนาคือ ถ้ำสัตบรรณคูหา กระทำทั้งสิ้น 7 เดือนจึงสำเร็จ ผลของการสังคายนา ไม่มีพระสงฆ์รูปใดกล่าวดูหมิ่น หมวดหมู่:สังคายนาในศาสนาพุทธ.

ใหม่!!: ปปัญจสูทนีและสังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สุชีพ ปุญญานุภาพ

ีพ ปุญญานุภาพ (13 เมษายน พ.ศ. 2460 — 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543) เป็นนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับทั้งจากพุทธศาสนิกชนและคณะสงฆ์ไทยอย่างกว้างขวาง ในฐานะที่สมบูรณ์ด้วยวิชาความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างเยี่ยมยอด หาใครเทียมได้ยาก ในเวลาเดียวกัน ก็มีความประพฤติที่ดีงาม สุภาพอ่อนโยน ระหว่างที่ท่านเคยบวชเป็นพระอยู่ในชื่อว่า สุชีโว ภิกขุ ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด เพราะประการแรก ท่านเชี่ยวชาญพระพุทธศาสนาเป็นเลิศ ประการที่สอง ท่านรอบรู้วิชาการสมัยใหม่อย่างเยี่ยม ประการที่สาม ท่านเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่บรรยายธรรมเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้เกิดการติดต่อระหว่างชาวพุทธในต่างประเทศกับประเทศไทย แม้ว่าท่านจะมีภาระงานมากมาย แต่ท่านก็เป็นนักเขียน ที่ผลิตงานเขียน ทั้งในรูปหนังสือและตำราเผยแพร่ความรู้ด้านพุทธศาสนา รวมทั้งนวนิยายอิงธรรมะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังเป็นผู้บุกเบิกทำพจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนาอีกด้วย อาจารย์สุชีพได้ถึงแก่กรรมลง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ปปัญจสูทนีและสุชีพ ปุญญานุภาพ · ดูเพิ่มเติม »

อรรถกถา

ัมภีร์อรรถกถาบาลีในปัจจุบันเป็นผลงานการแปลของพระพุทธโฆสะ ที่แปลยกจากภาษาสิงหลขึ้นสู่ภาษาบาลี อรรถกถา (Atthakatha; อ่านว่า อัดถะกะถา) คือคัมภีร์ที่รวบรวมคำอธิบายความในพระไตรปิฎกภาษาบาลี เรียกว่า คัมภีร์อรรถกถา บ้าง ปกรณ์อรรถกถา บ้าง อรรถกถา จัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระไตรปิฎก และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลายในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา คัมภีร์อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ ๆ บ้าง ยกข้อความหรือประโยคยาวๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง แสดงทัศนะและวินิจฉัยของผู้แต่งสอดแทรกเข้าไว้บ้าง ลักษณะการอธิบายความในพระไตรปิฎกของอรรถกถานั้น ไม่ได้นำทุกเรื่องในพระไตรปิฎกมาอธิบาย แต่นำเฉพาะบางศัพท์ วลี ประโยค หรือบางเรื่องที่อรรถกถาจารย์เห็นว่าควรอธิบายเพิ่มเติมเท่านั้น ดังนั้นบางเรื่องในพระไตรปิฎกจึงไม่มีอรรถกถาขยายความ เพราะอรรถกถาจารย์เห็นว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกส่วนนั้นเข้าใจได้ง่ายนั่นเอง.

ใหม่!!: ปปัญจสูทนีและอรรถกถา · ดูเพิ่มเติม »

อรรถกถามูลปริยายวรรค

อรรถกถามูลปริยายวรรค เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ปปัญจสูทนี พระสูตรในมูลปริยายวรรคมี 10 พระสูตร ได้แก่ มูลปริยายสูตร, สัพพาสวสังวรสูตร, ธรรมทายาทสูตร, ภยเภรวสูตร, อนังคณสูตร, อากังเขยยสูตร, วัตถูปมสูตร, สัลเลขสูตร, สัมมาทิฏฐิสูตร และสติปัฏฐานสูตร ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ได้มีคำอธิบายตามลำดับ ดังนี้ อรรถกถา มูลปริยายสูตร พระสูตรนี้ว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลธรรมทั้งปวง กล่าวคือพื้นฐานของปุถุชน, ภิกษุผู้เป็นเสขะ, ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ และภูมิของพระศาสดา ซึ่งผู้รจนาอรรถกถาได้อธิบายเพิ่มเติมถึงความหมายของบุคคลเหล่านี้ และให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณลักษณะต่างๆ เช่น การระบุว่า พระอนาคามี และพระขีณาสพชั้นสุทธาวาส ย่อมมีเฉพาะในเวลาที่พระพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นเท่านั้น ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงอุบัติขึ้น แม้ตลอดอสงไขยกัลป ในกาลนั้น ภูมินั้นย่อมว่างเปล่า พระอรหันต์นั้น ท่านเห็นโทษในความกำหนัด พิจารณาเห็นทุกข์อยู่เป็นผู้ หลุดพ้นแล้ว ด้วยอัปปณิหิตวิโมก.

ใหม่!!: ปปัญจสูทนีและอรรถกถามูลปริยายวรรค · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »