โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปฏิทินปักขคณนาและวันพระ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปฏิทินปักขคณนาและวันพระ

ปฏิทินปักขคณนา vs. วันพระ

กระดานปักขคณนา ใช้อักษรขอมบาลี (เหมือนอักษรเขมร) กำกับตัวเดินหมุด ปักขคณนา หรือ ปักษคณนา เป็นปฏิทินจันทรคติไทยประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีการคำนวณหาวันขึ้นแรมให้แม่นยำตรงตามการโคจรของดวงจันทร์เป็นสำคัญ โดยไม่ได้นับวันตามการขึ้นตกของดวงอาทิตย์ แต่ใช้วิธีการนับโดยการยึดหาวันเพ็ญ และ วันดับ แทน สำหรับการคำนวณวันที่จะใช้กระดานปักขคณนา ในการช่วยคำนวณ ซึ่งจะซับซ้อนกว่าการนับปกติ สำหรับระบบปฏิทินจันทรคติแบบปักขคณนานี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงค้นคิดวิธีคำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุติ เพื่อใช้ในการทำศาสนกิจต่อไป. ทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตรที่วัดในวันพระ (ภาพ: การทำบุญใส่บาตรในกรุงเวียงจันทร์ ประเทศลาว) วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ) วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุก ๆ วัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน 8 ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน 14 หรือ 15 ค่ำ) แล้วแต่กรณี หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย วันพระในปัจจุบัน คงเหลือธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และเขมร (ในอดีตประเทศเหล่านี้ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการ) โดยพุทธศาสนิกชนเถรวาทนับถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญที่จะถือโอกาสไปวัดเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปมากกว่าในวันอื่น ในประเทศไทย หลังจากวันพระได้ถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ทำให้วันพระที่กำหนดวันตามปฏิทินจันทรคติส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทั่วไป (เช่น วันพระไปตรงกับวันทำงานปกติ) ซึ่งคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญในปัจจุบันที่ทำให้พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยห่างจากการเข้าวัดเพื่อทำบุญในวันพระ นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เพราะปกติในวันขึ้น 14 ค่ำปกติ ก่อนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปฏิทินปักขคณนาและวันพระ

ปฏิทินปักขคณนาและวันพระ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): จันทร์เพ็ญปฏิทินจันทรคติไทย

จันทร์เพ็ญ

นอวกาศกาลิเลโลถ่ายภาพดวงจันทร์หลายภาพแล้วนำมาประกอบเป็นภาพเดียว เมื่อ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2535 โดยเดินทางไปเพื่อสำรวจระบบดาวพฤหัส ระหว่าง พ.ศ. 2538 - 2540 สีในภาพถูกปรับแต่งเพราะกล้อง CCD นั้นไวต่อความยาวคลื่นใกล้อินฟราเรด ที่สายตาของมนุษย์มองไม่เห็น จันทร์เพ็ญ หรือ วันเพ็ญ (Full moon) คือวันที่พระจันทร์เต็มดวง ตามปฏิทินจันทรคติไทย นับเป็นวัน "ขึ้น 15 ค่ำ" (หรือ วัน 15 ค่ำ ตามปฏิทินจันทรคติจีน) อันเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งด้านตรงข้ามของโลก เมื่อพิจารณาจากตำแหน่งดวงอาทิตย์ ในโอกาสนี้ดวงจันทร์ที่เห็นจากพื้นผิวของโลกจะดูสว่างเต็มดวง เพราะรับแสงโดยตรงจากดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม ภาพดวงจันทร์ที่เราเห็นเต็มดวงนั้น เป็นเพียงครึ่งหนึ่งของพื้นผิวทั้งหมดของดวงจันทร์ที่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิต.

จันทร์เพ็ญและปฏิทินปักขคณนา · จันทร์เพ็ญและวันพระ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินจันทรคติไทย

ปฏิทินจันทรคติไทย (อังกฤษ: Thai lunar calendar) คือ ปฏิทินที่นับตามคติการโคจรของดวงจันทร์ โดยหมายดูจากปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม สำหรับปฏิทินจันทรคติ ของไทย จะมีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้.

ปฏิทินจันทรคติไทยและปฏิทินปักขคณนา · ปฏิทินจันทรคติไทยและวันพระ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปฏิทินปักขคณนาและวันพระ

ปฏิทินปักขคณนา มี 12 ความสัมพันธ์ขณะที่ วันพระ มี 23 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 5.71% = 2 / (12 + 23)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปฏิทินปักขคณนาและวันพระ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »