โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บูกัตติ เวย์รอน

ดัชนี บูกัตติ เวย์รอน

ูกัตติ เวย์รอน (Bugatti Veyron) เป็นรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง เครื่องยนต์กลางลำหลัง ขับเคลื่อนสี่ล้อ (M4) 2 ประตู 2 ที่นั่ง ผลิตโดย บริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติฝรั่งเศส บูกัตติ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือโฟล์คสวาเก็น เป็นรถต้นแบบที่ออกแบบขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1999 ใช้ชื่อว่า EB 18/4 "Veyron" เปิดตัวครั้งแรกอย่างเป็นทางการเมื่อ 19 ตุลาคม ค.ศ. 2005 ที่ งานโตเกียวมอเตอร์โชว์ ออกแบบโดย นักออกแบบรถยนต์ชาวสโลวาเกีย โจเซฟ แคแบน (Jozef Kaban) บูกัตติ เวย์รอน ได้รับการบันทึกลงกินเนสบุ๊คว่าเป็นรถที่เร็วที่สุดในโลก ด้วยสถิติความเร็วสูงสุด 431.072 กิโลเมตร/ชั่วโมง (ในรุ่น Super Sport) ซึ่งเร็วกว่า เอสซีซีเอโร่ (SCC AERO) ที่ทำได้ 412.29 กิโลเมตร/ชั่วโมง (สำหรับ เวย์รอนรุ่นแรกนั้นสร้างความเร็วสูงสุดได้ที่ 408.47 กิโลเมตร/ชั่วโมง) และวันที่ 13 เมษายน ปี ค.ศ. 2013 บูกัตติ เวย์รอน ก็ได้บันทึกสถิติใหม่ ด้วยความเร็วสูงที่สุดเท่าที่โรสเตอร์เคยมีมา ด้วยรุ่น เวย์รอน แกรนด์ สปอร์ต วิเทสส์ (Veyron Grand Sport Vitesse) ซึ่งสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 408.84 km/h บูกัตติ เวย์รอน แต่ละคันมีราคาสูงถึง 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 165 ล้านบาท เมื่อนำเข้าไทย จึงทำให้บูกัตติ เวย์รอน เคยได้รับการจัดอันดับเป็นรถยนต์ที่มีราคาสูงที่สุดในโลก ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงติดอันดับ 1 ใน 10 อยู่อย่างเสมอ ถึงแม้จะตกจากอันดับ 1 ไปก็ตาม บูกัตติ เวย์รอน ได้รับรางวัล "รถแห่งทศวรรษ" (Car of the Decade) ประจำช่วงปี ค.ศ. 2000 – 2009 จาก รายการท็อปเกียร์ ของบีบีซี และยังได้รับรางวัลจากท็อปเกียร์ ในปี ค.ศ. 2005 ว่า "เป็นรถที่ขับขี่ดีที่สุดในทุกๆปี" (Best Car Driven All Year).

10 ความสัมพันธ์: บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษมอลไซม์อะลูมิเนียมประเภทของรถยนต์ประเทศฝรั่งเศสประเทศสโลวาเกียแรงม้าแคว้นอาลซัสโฟล์กสวาเกนโลหะเจือ

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ

ริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: บูกัตติ เวย์รอนและบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

มอลไซม์

มอลไซม์ (Molsheim,; Molsheim) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดบา-แร็งในแคว้นอาลซัสในประเทศฝรั่งเศส เมืองมอลไซม์ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่ง.

ใหม่!!: บูกัตติ เวย์รอนและมอลไซม์ · ดูเพิ่มเติม »

อะลูมิเนียม

มื่อวัดในทั้งปริมาณและมูลค่า การใช้อะลูมิเนียมมีมากกว่าโลหะอื่น ๆ ยกเว้นเหล็ก และมีความสำคัญในเศรษฐกิจโลกทุกด้าน อะลูมิเนียมบริสุทธิ์มีแรงต้านการดึงต่ำ แต่สามารถนำไปผสมกับธาตุต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม แมงกานีส และซิลิกอน (เช่น duralumin) ในปัจจุบันวัสดุเกือบทั้งหมดที่เรียกว่าอะลูมิเนียมเป็นโลหะผสมของอะลูมิเนียม อะลูมิเนียมบริสุทธิ์พบเฉพาะเมื่อต้องการความทนต่อการกัดกร่อนมากกว่าความแข็งแรงและความแข็ง เมื่อรวมกับกระบวนการทางความร้อนและกลการ (thermo-mechanical processing) โลหะผสมของอะลูมิเนียมมีคุณสมบัติทางกลศาสตร์ที่ดีขึ้น โลหะผสมอะลูมิเนียมเป็นส่วนสำคัญของเครื่องบินและจรวดเนื่องจากมีอัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง อะลูมิเนียมสามารถสะท้อนแสงที่มองเห็นได้ดีเยี่ยม (~99%) และสามารถสะท้อนแสงอินฟราเรดได้ดี (~95%) อะลูมิเนียมชั้นบาง ๆ สามารถสร้างบนพื้นผิวเรียบด้วยวิธีการควบแน่นของไอสารเคมี (chemical vapor deposition) หรือวิธีการทางเคมี เพื่อสร้างผิวเคลือบออปติคัล (optical coating) และกระจกเงา ผิวเคลือบเหล่านี้จะเกิดชั้นอะลูมิเนียมออกไซด์ที่บางยิ่งกว่า ที่ไม่สึกกร่อนเหมือนผิวเคลือบเงิน กระจกเงาเกือบทั้งหมดสร้างโดยใช้อะลูมิเนียมชั้นบางบนผิวหลังของแผ่นกระจกลอย (float glass).

ใหม่!!: บูกัตติ เวย์รอนและอะลูมิเนียม · ดูเพิ่มเติม »

ประเภทของรถยนต์

รถยนต์สามารถจำแนกได้เป็นหลายประเภท ซึ่งมีชื่อเรียกดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: บูกัตติ เวย์รอนและประเภทของรถยนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: บูกัตติ เวย์รอนและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสโลวาเกีย

ลวาเกีย (Slovakia; Slovensko) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสโลวัก (Slovak Republic; Slovenská republika) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับเช็กเกีย ทางเหนือติดต่อกับโปแลนด์ ทางตะวันออกติดต่อกับยูเครน ทางใต้ติดต่อกับฮังการี และทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับออสเตรีย เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศคือเมืองหลวงบราติสลาวา ปัจจุบันสโลวาเกียเป็นรัฐสมาชิกรัฐหนึ่งของสหภาพยุโรป และได้เปลี่ยนสกุลเงินของประเทศจากกอรูนาสโลวักมาเป็นยูโรเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552.

ใหม่!!: บูกัตติ เวย์รอนและประเทศสโลวาเกีย · ดูเพิ่มเติม »

แรงม้า

แรงม้า (horsepower ย่อ: hp) เป็นชื่อของหน่วยวัดกำลังหรืออัตราการทำงานในเชิงฟิสิกส์หลายหน่วย ตัวแปรเปลี่ยนหน่วยที่ใช้กันสามัญที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกำลังไฟฟ้า คือ 1 แรงม้.

ใหม่!!: บูกัตติ เวย์รอนและแรงม้า · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นอาลซัส

อาลซัส (Alsace) หรือ แอลซ็อส (อัลเซเชียน: Elsàss) เป็นอดีตแคว้นในประเทศฝรั่งเศส (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นกร็องแต็สต์) ตั้งอยู่บริเวณพรมแดนทางทิศตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส และทางทิศตะวันตกของแม่น้ำไรน์ ติดกับประเทศเยอรมนีและสวิตเซอร์แลนด์ มีเมืองหลักและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือเมืองสทราซบูร์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และต่อมาประเทศฝรั่งเศสกับเยอรมนีผลัดกันครอบครองแคว้นอาลซัสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 20 เดิมอาลซัสเคยเป็นของเยอรมนี แต่หลังจากสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ฝรั่งเศสแย่งแคว้นอาลซัสและลอแรนไปจากเยอรมนีทำให้ชาวอาลซัสและชาวลอแรนไม่พอใจฝรั่งเศส จึงเกิดสงครามฝรั่งเศส-อาลซัสและสงครามฝรั่งเศส-ลอแรน โดยฝรั่งเศสต้องสู้กับชาวอาลซัสและชาวลอแรน แต่ในที่สุดฝรั่งเศสก็สามารถปราบชาวอาลซัสและลอแรนลงได้ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 แคว้นอาลซัสค่อย ๆ ถูกปรับปรุงในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และกลายเป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส บ่อยครั้งที่แคว้นอาลซัสได้ถูกกล่าวรวมกับแคว้นลอแรน เนื่องจากการครอบครองดินแดนของแคว้นทั้งสอง (อาลซัส-ลอแรน) เป็นที่เลื่องชื่อในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 จนถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเยอรมนีรวมกับปรัสเซียและไซลีเซียเข้าโจมตีฝรั่งเศสและสามารถยึดอาลซัสและลอแรนคืนมาได้ระยะหนึ่ง พอเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฝรั่งเศสซึ่งชนะสงครามจึงเอาอาลซัสและลอแรนคืนมา หลังจากนั้นในสงครามโลกครั้งที่สอง นาซีเยอรมันได้เข้ายึดปารีสและขู่ให้ฝรั่งเศสยกอาลซัสและลอแรนคืนให้เยอรมนี อาลซัสและลอแรนจึงกลับเป็นของเยอรมนีอีกครั้ง เมื่อเยอรมนีนาซีแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีก็คืนอาลซัส-ลอแรนแก่ฝรั่งเศส ในช่วงสงครามเย็นชาวเยอรมันในอาลซัสและลอแรนก็ประท้วงกันอีกครั้ง รัฐบาลฝรั่งเศสต้องคอยปราบปรามเลยยอมให้ชาวอาลซัสและชาวลอแรนใช้ภาษาเยอรมันได้ในที่สุด แต่ชาวเยอรมันบางกลุ่มไม่พอใจยังก่อการร้ายในอาลซัสอยู่เรื่อยมาจนเป็นปัญหาถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันอาลซัสเป็นของฝรั่งเศสอย่างสมบรูณ์ แม้ว่าแคว้นอาลซัสจะเป็นแคว้นที่มีคนพูดภาษาเยอรมันอยู่มากทางประวัติศาสตร์ แต่ปัจจุบันชาวอาลซัสก็สามารถพูดภาษาฝรั่งเศสประมาณร้อยละ 25 ของประชากรพื้นเมืองสามารถพูดภาษาอัลเซเชียน (Alsatian) โดยเป็นภาษาแม่หรือภาษาเยอรมัน (เป็นภาษาที่ 2).

ใหม่!!: บูกัตติ เวย์รอนและแคว้นอาลซัส · ดูเพิ่มเติม »

โฟล์กสวาเกน

ฟล์กสวาเกน (Volkswagen, ย่อว่า VW) เป็นรถยนต์ที่ถือกำเนิดในเยอรมันในสมัยของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งถูกตั้งโจทย์ว่าต้องเป็นรถที่มีสมรรถนะดีพอ ประโยชน์ใช้สอยมากพอ และราคาถูกเท่ารถจักรยานยนต์ (ในสมัยนั้น) อีกด้วย โดยผู้ออกแบบรถ คือ แฟร์ดีนันด์ พอร์เชอ ผู้ให้กำเนิดรถยนต์ยี่ห้อปอร์เช่ (Porsche) โฟล์กสวาเกนหมายถึง "รถของประชาชน" ในภาษาเยอรมัน คำขวัญปัจจุบันคือ Das Auto (ภาษาเยอรมัน แปลว่า รถยนต์) โฟล์คสวาเกน เป็นผู้ผลิตรถยนต์เยอรมันและเป็นยี่ห้อที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ขายในกลุ่มโฟล์คสวาเกนซึ่งปัจจุบันเป็นเจ้าของหลายยี่ห้อด้วยกันอาทิ ออดี้,เบนท์ลีย์, บูกัตติ, ลัมโบร์กีนี, ซีท ถือหุ้น 49.9% ของปอร์เช่, สโกด้า และรถบรรทุกสแกนเนีย รถโฟร์คสวาเกน รู้จักกันส่วนมากว่า "รถเต่า" (ชื่อรุ่นของมันคือ Beetle อ่านว่า บีเทิล) ซึ่งมีมาตั้งแต่รุ่นแรกสุด ออกแบบมาคล้ายกับ เต่า และยังคงความเป็นเอกลักษณ์ไว้จนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: บูกัตติ เวย์รอนและโฟล์กสวาเกน · ดูเพิ่มเติม »

โลหะเจือ

ลหะเจือ โลหะผสม หรือ อัลลอย (alloy) คือวัสดุที่เกิดจากการรวมกันของโลหะตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยวัสดุโลหะเจือที่ได้จะมีคุณสมบัติแตกต่างจากส่วนประกอบเดิมของมัน โลหะเจือถ้าเกิดจากโลหะ 2 ชนิด เรียกว่า ไบนารี่อัลลอย (binary alloy), 3 ชนิด เรียกว่า เทอร์นารี่อัลลอย (ternary alloy), 4 ชนิด เรียกว่า ควอเทอร์นารี่อัลลอย (quaternary alloy) ตามธรรมดาโลหะเจือจะถูกออกแบบให้มีคุณสมบัติที่ต้องการมากกว่าการดูที่ส่วนผสมของมัน ตัวอย่างเช่น เหล็กกล้าจะแข็งแรงกว่าเหล็กซึ่งเป็นธาตุเหล็ก ทองเหลืองจะมีความทนทานมากกว่าทองแดง แต่มีความสวยงามน่าดึงดูดใจมากกว่าสังกะสี ต่างจากโลหะบริสุทธิ์ โลหะเจือหลายชนิดไม่ได้มีจุดหลอมเหลวจุดเดียว มันจะมีช่วงหลอมเหลว (melting range) แทน ซึ่งในวัสดุจะเป็นของผสมระหว่างเฟสของแข็งและของเหลว อุณหภูมิที่ซึ่งการหลอมเหลวเริ่มเรียกว่า โซลิดัส (solidus) และอุณหภูมิที่ซึ่งการหลอมเหลวหมดเรียกว่า ลิควิดัส (liquidus) โลหะเจือพิเศษสามารถจะออกแบบให้มีจุดหลอมเหลวเดียวได้ ซึ่งเรียกโลหะเจือนี้ว่า ยูทีติกมิกซ์เจอร์ (eutectic mixture) บางครั้งโลหะเจือตั้งชื่อตามโลหะพื้นฐาน เช่น ทอง 14 เค หรือ 14 การัต (58%) ทองคำ คือโลหะเจือที่มีทองอยู่ 58 % ที่เหลือเป็นโลหะอื่น เช่นเดียวกับ เงิน ใช้ในเพชร (jewellery) และอะลูมิเนียม โลหะเจือมีดังนี้.

ใหม่!!: บูกัตติ เวย์รอนและโลหะเจือ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Bugatti Veyron

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »