โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บารายตะวันตก

ดัชนี บารายตะวันตก

แก้ไข บารายตะวันตก บารายตะวันตก (បារាយណ៍ទឹក​ថ្លា; West Baray) เป็นบาราย (อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นเสมือนทะเลสาบน้ำจืด ที่ใช้เพื่อการเกษตร) ที่สร้างขึ้นในอาณาจักรขอม อยู่ทางตะวันตกของนครธม มีขนาดกว้าง 2.2 กิโลเมตร ยาว 8 กิโลเมตร ลึกโดยเฉลี่ย 7 เมตร มีพื้นที่ 1,760 เฮกเตอร์ จุน้ำได้ราว 123 ล้านลูกบาศก์ลิตร ใจกลางของบาราย มีเกาะเล็ก ๆ ตั้งอยู่ เรียกว่า แม่บุญตะวันตกสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ซึ่งยังคงมีน้ำขังอยู่จนถึงทุกวันนี้ สามารถใช้เป็นแหล่งประมงน้ำจืด และพื้นที่พักผ่อนของชาวเสียมราฐ ต่างจากบารายตะวันออกที่ปัจจุบันตื้นเขินไปแล้ว หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในประเทศกัมพูชา หมวดหมู่:ปราสาทขอม.

7 ความสัมพันธ์: บารายบารายตะวันออกพระเจ้าสูรยวรรมันที่ 1จักรวรรดิขแมร์ปราสาทแม่บุญตะวันตกนครธมเสียมราฐ

บาราย

บาราย (បារាយ; Baray) เป็นแหล่งเก็บน้ำที่ถูกสร้างขึ้นในรูปแบบของอาณาจักรขอมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บารายที่ใหญ่ที่สุด มีอยู่สองแห่งคือ บารายตะวันออก และ บารายตะวันตก ในเมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา บารายมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า นักประวัติศาสตร์ต่างสันนิษฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับความหมายและการทำงานของบาราย บางท่านเชื่อว่า บารายเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์ทางมโนมัย ซึ่งแสดงความหมายถึงทะเลที่อยู่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ท่านอื่น ๆ มีทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้บารายเป็นแหล่งเก็บน้ำ สำหรับการชลประทานของไร่นาต่าง ๆ ทฤษฎีต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะเป็นไปได้ว่า บารายได้ถูกสร้างขึ้นมาด้วยทั้งสองเหตุผล หรือเหตุผลอื่น ๆ อีก หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้าง หมวดหมู่:เมืองพระนคร หมวดหมู่:ปราสาทขอม.

ใหม่!!: บารายตะวันตกและบาราย · ดูเพิ่มเติม »

บารายตะวันออก

รายตะวันออก (បារាយណ៍ខាងកើត; East Baray) ในปัจจุบันเป็น บาราย ที่เหือดแห้งหายไปแล้ว เป็นแหล่งเก็บน้ำสำคัญในอดีตใน เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของกำแพงเมือง นครธม บารายตะวันออกถูกสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 1443 (หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 10) ในรัชสมัยของ พระเจ้ายโศวรมัน บารายแห่งนี้ถูกหล่อเลี้ยงโดยแม่น้ำเสียมราฐ บารายแห่งนี้เป็นบารายที่ใหญ่ที่สุดอันดับสอง รองลงมาจาก บารายตะวันตก วัดคร่าว ๆ ได้ 7,150 คูณ 1,740 เมตร และบรรจุน้ำเกือบ 50 ล้าน ลูกบาศก์เมตรของน้ำ รูปสลักที่เล่าเรื่องการก่อสร้างบาราย พบได้ตามมุมทั้งสี่ของสิ่งก่อสร้าง ตอนแรก บารายแห่งนี้ ถูกเรียกว่า ยโศดรตตกะ ตามชื่อกษัตริย์ผู้สร้าง บัณฑิตแบ่งแยกกันตามความคิดของวัตถุประสงค์ของบารายนี้ และบารายอื่น ๆ โดยทฤษฎีบางทฤษฎี ชาวขอมกักเก็บน้ำสำหรับการชลประทาน แต่ไม่มีร่องรอยการแกะสลักที่บ่งบอกถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทฤษฎีอื่น ๆ คือ บารายถูกสร้างขึ้นมาหลัก ๆ ไว้สำหรับทางศาสนา ซึ่งแสดงถึงทะเลแห่งการสร้าง ซึ่งล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ที่อยู่อาศัยของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู บารายตะวันออกในปัจจุบันไม่ได้บรรจุน้ำแล้ว แต่เค้าโครงของมันยังคงปรากฏให้เห็นเด่นชัดในภาพถ่ายทางอากาศ ตรงใจกลางของบาราย คือ ปราสาทแม่บุญตะวันออก ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นยกระดับที่เคยเป็นเกาะมาก่อนในอดีต ตอนที่บารายยังบรรจุน้ำ.

ใหม่!!: บารายตะวันตกและบารายตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าสูรยวรรมันที่ 1

ูรยวรรมันที่ 1 เอกสารไทยบางทีว่า สุริยวรมันที่ 1 (សូរ្យវរ្ម័នទី១ สูรฺยวรฺมันที ๑; Suryavarman I; ? – ค.ศ. 1050) สิ้นพระชนม์แล้วได้พระนามว่า นิพพานบท (និវ្វានបទ นิวฺวานบท) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมร เสวยราชย์ตั้งแต..

ใหม่!!: บารายตะวันตกและพระเจ้าสูรยวรรมันที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิขแมร์

ักรวรรดิขแมร์ หรือ อาณาจักรเขมร หรือบางแหล่งเรียกว่า อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ประเทศไทย ลาว และบางส่วนของเวียดนามในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัย และแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรเขมรสืบทอดอำนาจจากอาณาจักรเจนฬา มีสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะกับอาณาจักรข้างเคียง เช่น อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรจามปา มรดกที่สำคัญที่สุดของอาณาจักรเขมรคือ นครวัด และ นครธม ซึ่งเคยเป็นนครหลวงเมื่อครั้งอาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด และยังมีลัทธิความเชื่อต่างๆ อย่างหลากหลาย ศาสนาหลักของอาณาจักรนี้ได้แก่ ศาสนาฮินดู พุทธศาสนามหายาน และพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งได้รับจากศรีลังกา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13.

ใหม่!!: บารายตะวันตกและจักรวรรดิขแมร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทแม่บุญตะวันตก

ปราสาทแม่บุญตะวันตกบนเกาะกลางน้ำ ตัวปราสาทและกำแพงที่เหลืออยู่ทางด้านตะวันออก ปราสาทแม่บุญตะวันตก (ប្រាសាទមេបុណ្យខាងលិច) เป็นปราสาทที่ตั้งอยู่ในเมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา บริเวณกึ่งกลางบารายตะวันตกซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองพระนคร วันที่สร้างไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัด แต่จากพยานหลักฐานกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 หรือพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ในฤดูแล้ง สามารถเข้าถึงตัวปราสาทได้โดยทางบก แต่ในฤดูฝน น้ำจะท่วมรอบๆ ปราสาทซึ่งตั้งอยู่บนที่ดอนจะกลายเป็นเกาะอยู่ในบาร.

ใหม่!!: บารายตะวันตกและปราสาทแม่บุญตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

นครธม

อวโลกิเตศวร ที่ประตูด้านใต้ ประตูทางเข้านครธมด้านใต้ นครธม (អង្គរធំ) เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ภายในเมืองมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรกๆ และที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน และมีพื้นที่สำคัญอื่นๆ รายล้อมพื้นที่ชัยภูมิถัดไปทางเหนือ จุดเด่นที่สุดคือทางเข้าด้านใต้ ที่มีลักษณะเป็นหน้า 4 หน้า ก่อนจะเข้าสู่บริเวณนี้ จะเป็นแถวของยักษ์ (อสูร) ทางด้านขวา และเทวดาทางด้านซ้าย เรียงรายแบกพญานาคอยู่สองข้างสะพาน เมื่อเข้าสู่ใจกลางนครธมจะพบสิ่งก่อสร้างต่างๆ บริเวณประตูด้านใต้นี้ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ได้ดีกว่าบริเวณอื่นๆ อีก 3 ด้าน.

ใหม่!!: บารายตะวันตกและนครธม · ดูเพิ่มเติม »

เสียมราฐ

ียมราฐ หรือ เสียมเรียบ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: บารายตะวันตกและเสียมราฐ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »