โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บอร์โดและแซ็งเตมีลียง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง บอร์โดและแซ็งเตมีลียง

บอร์โด vs. แซ็งเตมีลียง

อร์โด (Bordeaux,, บางครั้งในไทยมีสะกดว่า บอร์โดซ์ และ บอร์กโดซ์) เป็นเมืองท่าตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลักของจังหวัดฌีรงด์และของแคว้นนูแวลากีแตน มีชื่อเสียงอย่างมากมายจากไร่องุ่นที่พบเห็นในตลอดเส้นทางเข้าสู่เมืองและไวน์ประจำแคว้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 โดยสถานที่ทำไวน์สำคัญ ๆ ที่ผู้รักไวน์ชาวไทยน่าจะรู้จักก็คือ แซ็งเตมีลียง, โปยัก (Pauillac), แซ็งแต็สแต็ฟ (Saint-Estèphe) และโซแตร์น (Sauternes) มีแม่น้ำการอนไหลผ่านและออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติกที่เมืองซูลัก-ซูร์-แมร์ และยังมีท่าเรือปอร์เดอลาลูน (Port de la Lune) ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปีค.ศ. 2007 อีกด้วย สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญภายในเมือง ส่วนมากเป็นสิ่งก่อสร้างที่ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่อดีตกาล เช่น สิ่งก่อสร้างสมัยโรมันอย่าง Palais Gallien, ถนนคนเดินที่ยาวที่สุดในยุโรปที่ La rue Sainte-Catherine, ประตูเมืองสุดคลาสสิกอย่าง Porte Cailhau เป็นต้น บอร์โดถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช โดยเดิมมีชื่อว่า "บูร์ดีกาลา" (Burdigala) ในภาษาละติน ทำให้ทุกแห่งในเมืองเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนาน. แซ็งเตมีลียง (Saint-Émilion) เป็นเมืองขนาดเล็กเมืองหนึ่งในจังหวัดฌีรงด์ แคว้นอากีแตน ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ห่างจากเมืองบอร์โด ประมาณ 35 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ การทำไวน์ได้เป็นอาชีพหลักของคนพื้นเมือง โดยมีประวัติศาสตร์การผลิตไวน์อันยาวนานเริ่มตั้งสมัยโรมัน ราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 และมากขึ้นในสมัยยุคกลาง อันเป็นผลแห่งความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินและธรรมชาติในเขตอากีแตน แซ็งเตมีลียงอยู่ในทางผ่านของเส้นทางของนักแสวงบุญเซนต์เจมส์ใหญ่ จึงกลายเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยโบสถ์ วิหาร สำนักสงฆ์ และโรงพยาบาล ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมา ต่อมา ตัวเมืองยังได้รับสิทธิในการปกครองตนเองในสมัยที่ปกครองโดยประเทศอังกฤษช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในปัจจุบันแซ็งเตมีลียงเป็นชุมชนผลิตไวน์ที่สำคัญและเลื่องชื่อที่สุดแห่งหนึ่ง มีทัศนียภาพสวยงาม ทั้งทางธรรมชาติ (โดยเฉพาะไร่องุ่น) และสถาปัตยกรรมยุคโบราณ เขตตัวเมืองแซ็งเตมีลียงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก ในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง บอร์โดและแซ็งเตมีลียง

บอร์โดและแซ็งเตมีลียง มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มรดกโลกองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติจังหวัดฌีรงด์ประเทศฝรั่งเศส

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

บอร์โดและมรดกโลก · มรดกโลกและแซ็งเตมีลียง · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

บอร์โดและองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ · องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติและแซ็งเตมีลียง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดฌีรงด์

ีรงด์ (Gironde; Gironda) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในแคว้นนูแวลากีแตนในประเทศฝรั่งเศส ฌีรงด์เป็นชื่อโดยทั่วไปของชะวากทะเลฌีรงด์ที่แม่น้ำการอนและแม่น้ำดอร์ดอญมาบรรจบกัน ฌีรงด์เป็นหนึ่งใน 83 จังหวัดที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1790 จากบางส่วนของอดีตจังหวัดกุยแยนและกัสกอญ ระหว่างปี..

จังหวัดฌีรงด์และบอร์โด · จังหวัดฌีรงด์และแซ็งเตมีลียง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

บอร์โดและประเทศฝรั่งเศส · ประเทศฝรั่งเศสและแซ็งเตมีลียง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง บอร์โดและแซ็งเตมีลียง

บอร์โด มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ แซ็งเตมีลียง มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 16.67% = 4 / (13 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง บอร์โดและแซ็งเตมีลียง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »