โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี

ดัชนี บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี

บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี หรือ ดินแดนแอนตาร์กติกาของสหราชอาณาจักร (British Antarctic Territory) เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกาซึ่งสหราชอาณาจักรประกาศอ้างสิทธิครอบครอง มีขอบเขตตั้งแต่ขั้วโลกใต้จนถึงละติจูดที่ 60 องศาเหนือ และช่วงระหว่างลองติจูด 20 องศาตะวันตก ถึงลองติจูด 80 องศาตะวันตก แม้ว่าสหราชอาณาจักรจะเริ่มอ้างสิทธิในพื้นที่นี้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2451 ก็ตาม แต่การจัดตั้งเขตการปกครองได้มีขึ้นภายหลังเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2505 พื้นที่ของดินแดนแห่งนี้ครอบคลุมดินแดนต่าง ๆ ซึ่งเคยอยู่ในความดูแลของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ถึง 3 ส่วนคือ เกรอัมแลนด์ (Graham Land) หมู่เกาะเซาท์ออร์กนีย์ (South Orkney Islands) และหมู่เกาะเซาท์เชตแลนด์ (South Shetland Islands) และทับซ้อนกับดินแดนทวีปแอนตาร์กติกาที่ประกาศอ้างสิทธิโดยอาร์เจนตินา (อาร์เจนไทน์แอนตาร์กติกา) และชิลี (จังหวัดอันตาร์ตีกาชีเลนา) ผู้ที่พำนักอยู่ในดินแดนนี้ได้แก่เจ้าหน้าที่วิจัยและสนับสนุนการสำรวจทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของคณะสำรวจทวีปแอนตาร์ติกาของสหราชอาณาจักร (British Antarctic Survey) รวมทั้งองค์กรและสถานีสำรวจของอาร์เจนตินา ชิลี และประเทศอื่น ๆ หมวดหมู่:ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร หมวดหมู่:ทวีปแอนตาร์กติกา.

22 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2451พ.ศ. 2505ก็อดเซฟเดอะควีนภาษาราชการภาษาอังกฤษลองจิจูดละติจูดสหราชอาณาจักรหมู่เกาะฟอล์กแลนด์หมู่เกาะเซาท์ออร์กนีย์อาร์เจนไทน์แอนตาร์กติกาธงชาติบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีทวีปแอนตาร์กติกาขั้วโลกใต้ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนตราแผ่นดินของบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีประชากรประเทศชิลีประเทศอาร์เจนตินาปอนด์สเตอร์ลิงเพลงชาติ3 มีนาคม

พ.ศ. 2451

ทธศักราช 2451 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1908 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและพ.ศ. 2451 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2505

ทธศักราช 2505 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1962 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและพ.ศ. 2505 · ดูเพิ่มเติม »

ก็อดเซฟเดอะควีน

ลงก็อดเซฟเดอะควีน หรือ ก็อดเซฟเดอะคิง เป็นเพลงปลุกใจ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมีของสหราชอาณาจักร เพลงนี้ใช้เป็นหนึ่งในสองเพลงชาติของนิวซีแลนด์ เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีของประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และประเทศอื่น ๆ ในเครือจักรภพ ทั้งยังใช้เป็นเพลงคำนับสำหรับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์อังกฤษด้วย หากประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ จะใช้ชื่อเพลงว่า ก็อดเซฟเดอะคิง แต่ถ้าพระราชินีทรงเป็นประมุขก็จะใช้ชื่อเพลงว่า ก็อดเซฟเดอะควีน ในภาษาไทยไม่นิยมแปลชื่อเพลงนี้ออกมาโดยตรง แต่มักเรียกทับศัพท์ว่า ก็อดเซฟเดอะคิง หรือ ก็อดเซฟเดอะควีน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ ตามลักษณะของเพลง.

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและก็อดเซฟเดอะควีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาราชการ

ษาทางการ หรือ ภาษาราชการ คือภาษาที่มีการกำหนดให้เป็นภาษาหลักในการติดต่อสื่อสารภายในประเทศและเขตแดนที่ติดต่อกับประเทศนั้น บางครั้งภาษาท้องถิ่นถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภาษาทางการเพราะมีการใช้การติดต่อกับทางส่วนการปกครองของท้องที่นั้น ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่มีภาษาทางการ 1 ภาษา บางประเทศมีภาษาทางการ 2 ภาษาขึ้นไป เช่น เบลเยียม แคนาดา ฟินแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ ขณะเดียวกันบางประเทศไม่มีภาษาทางการ เช่น สหรัฐอเมริกา สวีเดน ฯลฯ ภาษาทางการของบางประเทศที่อยู่ภายใต้อาณานิคม เช่น ภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศส ถูกใช้เป็นภาษาทางการ ถึงแม้ว่าไม่ใช่ภาษาที่มีการใช้เป็นหลักในประเทศนั้นๆ ในประเทศไอร์แลนด์ ภาษาไอร์แลนด์ (ไอริช) เป็นภาษาทางการและเป็นภาษาประจำชาติของประเทศ แต่มีผู้ใช้ภาษาไอร์แลนด์น้อยกว่า 1 ใน 3 ของประชากรประเทศ ขณะที่ผู้คนส่วนมากใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ในบางประเทศมีการโต้เถียงอย่างรุนแรง ในประเด็นที่ว่าควรใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการของประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้น ใช้ภาษาไทยมาตรฐาน เป็น "ภาษากลาง" ที่ได้พัฒนารูปแบบขึ้นมาจากภาษาไทยถิ่นกลางมาโดยลำดับ จนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นกลางอื่นๆ เรียกอีกอย่างว่าเป็นภาษาหนังสือ เป็นภาษาที่ใช้ในเอกสารราชการ การประชุมที่เป็นทางการ หนังสือ และตำราต่างๆ โดยปรากฏแนวการพัฒนาเป็นภาษากลางตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5.

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและภาษาราชการ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ลองจิจูด

ลองติจูด (longitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นแวง แทนด้วยอักษรกรีก λ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก โดยวัดไปทางตะวันออกหรือตะวันตกจากเส้นสมมติในแนวเหนือ-ใต้ที่เรียกว่าเส้นเมริเดียนแรก พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ละติจูด ลองติจูดมีหน่วยเป็นองศา นับจาก 0 องศาที่เส้นเมริเดียนแรกไปทางตะวันออก +180 องศา และไปทางตะวันตก −180 องศา ลองติจูดต่างจากละติจูด ตรงที่ละติจูดมีเส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นอ้างอิงตามธรรมชาติ ลองติจูดจึงต้องกำหนดเส้นสมมติขึ้นมาหนึ่งเส้นสำหรับอ้างอิง ใน ค.ศ. 1884 การประชุมเมอริเดียนนานาชาติ (International Meridian Conference) จึงได้กำหนดให้เส้นเวลากรีนนิช เป็นเส้นเวลาไพร์มเมอริเดียน และเป็นลองติจูด 0 องศา หมวดหมู่:การเดินเรือ หมวดหมู่:ภูมิมาตรศาสตร์ *.

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและลองจิจูด · ดูเพิ่มเติม »

ละติจูด

ละติจูด (latitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นรุ้ง แทนด้วยอักษรกรีก φ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลกและแบ่งเขตสภาวะอากาศโดยวัดจากเส้นศูนย์สูตร พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ลองจิจูด พื้นที่ที่มีพิกัดละติจูดต่างกัน จะมีภูมิอากาศ (climate) และสภาพอากาศ (weather) ต่างกัน ละติจูดมีค่าตั้งแต่ 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตร ไปจนถึง 90 องศาที่บริเวณขั้วโลก (นับเป็น 90 องศาเหนือหรือใต้) เนื่องจากเป็นการวัดมุมจากจุดสมมติที่เส้นศูนย์สูตรไปยังจุดขั้วโลกที่ 90 อง.

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและละติจูด · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะฟอล์กแลนด์

หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (Falkland Islands) หรือ หมู่เกาะมัลบีนัส (Islas Malvinas) เป็นกลุ่มเกาะตั้งอยู่ในหมู่เกาะแอตแลนติกใต้บนไหล่ทวีปปาตาโกเนีย หมู่เกาะหลักอยู่ห่างจากชายฝั่งปาตาโกเนียที่ละติจูดราว 52° ใต้ ไปทางตะวันออกราว 500 กิโลเมตร กลุ่มเกาะมีพื้นที่ 12,173 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะฟอล์กแลนด์ตะวันออก ฟอล์กแลนด์ตะวันตก และเกาะที่เล็กกว่าอื่นอีก 776 เกาะ หมู่เกาะดังกล่าวเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร มีระดับการปกครองตนเองภายในสูง โดยมีสหราชอาณาจักรรับประกันรัฐบาลที่ดีและรับผิดชอบด้านการป้องกันภัยและการต่างประเทศ เมืองหลวง คือ สแตนลีย์บนเกาะฟอล์กแลนด์ตะวันออก มีการถกเถียงว่าด้วยการค้นพบหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ครั้งแรกและการล่าอาณานิคมโดยชาวยุโรปในกาลต่อมา หลายช่วง หมู่เกาะมีนิคมฝรั่งเศส อังกฤษ สเปนและอาร์เจนตินา อังกฤษสถาปนาการปกครองอีกครั้งใน..

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะเซาท์ออร์กนีย์

หมู่เกาะเซาท์ออร์กนีย์ (South Orkney Islands) เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรใต้ ทางตอนใต้ของทะเลสโกเชีย ห่างจากปลายสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติกไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 604 กม.

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและหมู่เกาะเซาท์ออร์กนีย์ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เจนไทน์แอนตาร์กติกา

อาร์เจนไทน์แอนตาร์กติกา (arjentine Antarctica) หรือ อันตาร์ตีแอนตาร์กติกา (Antártida arjentine) เป็นส่วนหนึ่งของแอนตาร์กติกาที่อาร์เจนตินาใช้อ้างสิทธิ์ว่าเป็นของตน ประกอบด้วยคาบสมุทรแอนตาร์กติกและส่วนที่เป็นสามเหลี่ยมยื่นไปถึงขั้วโลกใต้ จำกัดขนาดโดยเมอริเดียน 25° ตะวันตก และ 74° ตะวันตก และเส้นขนาน 60° ใต้.

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและอาร์เจนไทน์แอนตาร์กติกา · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี

งชาติบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี ธงชาติบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีขาว กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ที่มุมธงบนด้านคันธงมีภาพธงชาติสหราชอาณาจักร ในพื้นธงสีขาวนั้นประดับด้วยภาพตราราชการของบริติชแอนตาร์กติกเทอร์ริทอรี ธงนี้เป็นธงใช้สำหรับดินแดน สถานีวิจัย และธงสำหรับสำนักงานและศูนย์บัญชาการการสำรวจเขตบริติชแอนตาร์กติกเป็นหลัก สำหรับเรือของคณะสำรวจจะใช้ธงลักษณะคล้ายกันแต่มีพื้นสีน้ำเงินตามอย่างธงเรือราชการของสหราชอาณาจักร ส่วนผู้ตรวจการประจำดินแดนแห่งนี้ใช้ธงชาติสหราชอาณาจักรประดับด้วยภาพตราราชการประจำดินแดนที่กลางธงเป็นเครื่องหมายสำคัญ รัฐบาลสหราชอาณาจักรกำหนดให้มีธงนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2506 หลังมีการจัดตั้งเขตการปกครองแห่งนี้ขึ้นเพียง 1 ปี โดยก่อนหน้านี้เขตการปกครองดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ จึงใช้ธงชาติหมู่เกาะฟอล์กแลนด์เป็นสัญลักษณ์ ไฟล์:Government Ensign of the British Antarctic Territory.svg|ธงเรือราชการสำหรับบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี ไฟล์:Flag of the Commissioner of the British Antarctic Territory.svg|ธงผู้ตรวจการแห่งบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี (Commissioner of the British Antarctic Territory).

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและธงชาติบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอนตาร์กติกา

วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและทวีปแอนตาร์กติกา · ดูเพิ่มเติม »

ขั้วโลกใต้

ั้วโลกใต้ (South Pole) เป็นจุดที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก.

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและขั้วโลกใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน

ที่ตั้งของดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร (British Overseas Territories) คือดินแดน 14 ดินแดนที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของสหราชอาณาจักร แต่ไม่ได้นับเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี

ตราแผ่นดินของบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี มีลักษณะเป็นตราอาร์ม รูปโล่พื้นสีขาว มีแถบขวางรูปคลื่นสีฟ้า 3 แถบที่ตอนบนของโล่ บนพื้นโล่นั้นแบ่งเป็นช่องสามเหลี่ยมหัวกลับพื้นสีแดง ภายในมีรูปคบเพลิง ถัดจากโล่ขึ้นไปเป็นหมวกเกราะอัศวินโบราณ ประดับด้วยพู่ประดับสีขาว-น้ำเงิน คาดด้วยผ้าโพกสีเดียวกัน ตอนบนสุดนั้นเป็นเครื่องยอดรูปเรือสำรวจชื่อ อาร์เอสเอส ดิสคัฟเวอรี (RRS Discovery) ซึ่งเป็นเรือที่ โรเบิร์ต ฟอลคอน สก็อตต์ และเออร์เนสต์ แชคเคิลตัน นักสำรวจชาวอังกฤษ ใช้เดินทางมาสำรวจขั้วโลกใต้ในปี ค.ศ. 1901 (พ.ศ. 2444) ตราดังกล่าวนี้ตั้งอยู่บนพื้นรองรูปพื้นหญ้าสีเขียว (ครึ่งซ้าย) และพื้นน้ำแข็งสีขาว (ครึ่งขวา) มีราชสีห์สีทองยืนผงาดประคองข้างตราด้านซ้าย หมายถึงสหราชอาณาจักร ส่วนด้านขวาประคองด้วยนกเพนกวินจักรพรรดิ อันเป็นสัตว์ที่สามารถพบได้ทั่วไปในขั้วโลกใต้ เบื้องล่างสุดมีแพรแถบสีเหลือง จารึกคำขวัญเป็นอักษรสีแดงใจความ "Research and Discovery" แปลความได้ว่า "สำรวจและค้นพบ" ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของดินแดนส่วนนี้ ตราดังกล่าวนี้ ทางการสหราชอาณาจักรเริ่มกำหนดให้ใช้ได้เมื่อปี ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) ขณะที่ดินแดนส่วนนี้ยังจัดให้อยู่ในความดูแลของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (พร้อมกันกับตราแผ่นดินของเกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช).

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและตราแผ่นดินของบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี · ดูเพิ่มเติม »

ประชากร

ประชากร หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งมีชีวิตสปีชีส์หนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เดียวกัน ในระยะเวลาเดียวกัน วิชาพลศาสตร์ประชากร ศึกษาโครงสร้างประชากรทั้งในแง่ของขนาด อายุ และเพศ รวมถึงภาวะการตาย พฤติกรรมการสืบพันธุ์ และการเพิ่มของประชากร ประชากรศาสตร์ ศึกษาพลศาสตร์ประชากรของมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาประชากรในด้านสังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ประชากรนั้นต้องถือสัญชาติในรัฐที่ตนอยู่ แตกต่างจากบุคคลที่อยู่ภายใต้อำนาจรัฐ เช่น คนที่มาเปลี่ยนเที่ยวบินที่ประเทศไทย และ ต้องมีสิทธิพิเศษเหนือประชากรที่มาจากรัฐอื่น หากอยู่ในดินแดนของรัฐนั้น ตามสายโลหิต หรือตามสิทธิที่จะได้รับตามรัฐธรรมนูญ ความหนาแน่นประชากร คือ จำนวนคนหรือสิ่งมีชีวิตต่อหน่วยพื้นที่ พื้นที่ใดมีความหนาแน่นประชากรสูง แสดงว่ามีจำนวนประชากรมาก หมวดหมู่:สังคม * หมวดหมู่:ประชากร id:Penduduk#Penduduk dunia.

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและประชากร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศชิลี

ลี (Chile ชีเล) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐชิลี (Republic of Chile; República de Chile) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาใต้ มีเนื้อที่ติดชายฝั่งทะเลยาวระหว่างเทือกเขาแอนดีสกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีอาณาเขตจรดประเทศอาร์เจนตินาทางทิศตะวันออก จรดโบลิเวียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และจรดเปรูทางทิศเหนือ ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกของประเทศมีความยาว 6,435 กิโลเมตร ซีไอเอ ชิลีมีดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยครอบครองหมู่เกาะควนเฟร์นันเดซ เกาะซาลาอีโกเมซ หมู่เกาะเดสเบนตูราดัส และเกาะอีสเตอร์ในโพลินีเซีย ชิลียังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนในแอนตาร์กติกาด้ว.

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและประเทศชิลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอาร์เจนตินา

อาร์เจนตินา (อังกฤษและArgentina อารฺเฆนตีนา (สเปน)) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐอาร์เจนตินา (Argentine Republic; República Argentina) เป็นหนึ่งในประเทศในทวีปอเมริกาใต้ (ลาตินอเมริกา) ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอนดีสทางทิศตะวันตก และมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ มีพรมแดนจดประเทศปารากวัยและประเทศโบลิเวียทางภาคเหนือ จดประเทศอุรุกวัยและประเทศบราซิลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจดประเทศชิลีทางภาคตะวันตกและภาคใต้ อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของทวีปอเมริกาใต้ รองจากบราซิล และมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก.

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและประเทศอาร์เจนตินา · ดูเพิ่มเติม »

ปอนด์สเตอร์ลิง

ปอนด์สเตอร์ลิง (pound sterling) คือ มาตราเงินของอังกฤษ.

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและปอนด์สเตอร์ลิง · ดูเพิ่มเติม »

เพลงชาติ

ภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ประกอบเพลงชาติ มักมีการใช้ภาพประกอบเพลงที่แสดงถึงความฮึกเหิมและปลุกใจให้รักชาติ (ตัวอย่างในที่นี้ เป็นภาพยนตร์เพลงชาติสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2487) เพลงชาติ (National anthem) หมายถึง บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้น เพื่อปลุกเร้าให้หวนระลึกถึงหรือสรรเสริญประวัติศาสตร์ชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ หรือการต่อสู้ของชนในชาติ โดยได้รับการยอมรับจากรัฐบาลของชาตินั้น ๆ อย่างเป็นทางการ หรือความตกลงใจร่วมกันของประชาชนในชาติว่า เพลงดังกล่าวเป็นเพลงประจำชาติของตน ในหนังสือ "เพลงชาติ" โดย สุกรี เจริญสุข ได้กล่าวถึงความหมายของเพลงชาติไว้ 4 ประการ คือ.

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและเพลงชาติ · ดูเพิ่มเติม »

3 มีนาคม

วันที่ 3 มีนาคม เป็นวันที่ 62 ของปี (วันที่ 63 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 303 วันในปีนั้น/.

ใหม่!!: บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีและ3 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

British Antarctic Territoryบริติชแอนตาร์กติกเทอร์ริทอรี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »