โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โน

ดัชนี นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โน

ซาดี การ์โน นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โน (Nicolas Léonard Sadi Carnot; 1 มิถุนายน ค.ศ. 1796 - 24 สิงหาคม ค.ศ. 1832) เป็นนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส และนายช่างวิศวกรประจำกองทัพ ซึ่งคิดค้นทฤษฎีเครื่องจักรความร้อนได้สำเร็จจริง จากงานวิจัยเรื่อง Reflections on the Motive Power of Fire ในปี..1824 ปัจจุบันทฤษฎีนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "วัฏจักรการ์โน" เป็นผู้วางรากฐานกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ หรืออาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นนักอุณหพลศาสตร์คนแรกของโลก ซึ่งคิดค้นหลักการพื้นฐานต่าง ๆ มากมายเช่น ประสิทธิภาพการ์โน ทฤษฎีการ์โน เครื่องจักรความร้อนการ์โน เป็นต้น การ์โนเกิดในกรุงปารีส เป็นบุตรชายคนโตของนักเรขาคณิตและนายทหารผู้มีชื่อเสียง คือ ลาซาร์ นีกอลา มาร์เกอริต การ์โน (Lazare Nicholas Marguerite Carnot) น้องชายของเขาคือ อีปอลิต การ์โน (Hippolyte Carnot) ซึ่งเป็นบิดาของมารี ฟร็องซัว ซาดี การ์โน (Marie François Sadi Carnot ประธานาธิบดีของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างปี ค.ศ.1887-1894) เมื่อการ์โนอายุ 16 ปี (ค.ศ. 1812) ได้เข้าศึกษาที่วิทยาลัยโพลีเทคนิค École ที่ซึ่งมีอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงเช่น ซีเมอง เดอนี ปัวซง (Siméon Denis Poisson) และอ็องเดร-มารี อ็องแปร์ (André-Marie Ampère) หลังจบการศึกษาเขาได้เป็นนายทหารในกองทัพบกฝรั่งเศส ต่อมาจึงได้ให้ความสนใจในงานวิจัยทางด้านฟิสิกส์ โดยเฉพาะทฤษฎีเกี่ยวกับความร้อน ปี..1815 หลังจากนโปเลียนถูกโค่นอำนาจ พ่อของเขาก็ต้องลี้ภัย การ์โนต้องออกจากกองทัพฝรั่งเศส และใช้เวลาไปกับการวิจัยและเขียนหนังสือ การ์โนเผยแพร่บทความเรื่อง Réflexions sur la puissance motrice du feu ("Reflections on the Motive Power of Fire") ในปี..1824 ขณะอายุ 28 ปี ซึ่งเป็นยุคเครื่องจักรไอน้ำเฟื่องฟู บทความอธิบายถึงเครื่องจักรความร้อนในลักษณะต่างๆ โดยพยายามอธิบายเหตุผลว่า เครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ไอน้ำความร้อนสูงจะทำงานได้ดีกว่าเนื่องจากอุณหภูมิของระบบที่สูงกว่าอุณหภูมิภายนอก ทฤษฎีของการ์โนไม่ได้ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักรไอน้ำ มันจึงไม่ค่อยได้รับความสนใจนัก การ์โนเสียชีวิตจากอหิวาตกโรคเมื่อปี ค.ศ. 1832 ขณะอายุเพียง 36 ปี เครื่องใช้ส่วนตัวรวมทั้งงานเขียนของเขาถูกนำไปฝังทั้งหมดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ จึงเหลืองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏต่อมาในปัจจุบันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น งานเขียนของการ์โนเป็นที่รู้จักขึ้นมาเนื่องจากเอมีล กลาแปรง (Émile Clapeyron) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส นำไปปรับปรุงต่อยอดความคิดในปี..1834 หลังจากนั้น เคลาซิอุสและเคลวิน ได้พัฒนาแนวคิดเรื่องเอนโทรปีและกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ ออกมาในที่สุด หมวดหมู่:นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส.

19 ความสัมพันธ์: ฟิสิกส์พ.ศ. 2339พ.ศ. 2375กฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์รูดอล์ฟ เคลาซิอุสวิลเลียม ทอมสัน บารอนเคลวินที่ 1อหิวาตกโรคอุณหพลศาสตร์อ็องเดร-มารี อ็องแปร์ทฤษฎีประธานาธิบดีประเทศฝรั่งเศสปารีสนโปเลียนเบอนัว ปอล เอมีล กลาแปรงเรขาคณิตเอนโทรปีเครื่องจักรความร้อนเครื่องจักรไอน้ำ

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2339

ทธศักราช 2339 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1796 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและพ.ศ. 2339 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2375

ทธศักราช 2375 ตรงกับคริสต์ศักราช 1832 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและพ.ศ. 2375 · ดูเพิ่มเติม »

กฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์

กฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์ กล่าวถึงการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปีหรือพลังงานเสียในระบบอิสระ โดยอธิบายได้หลายแบบดังนี้.

ใหม่!!: นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและกฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รูดอล์ฟ เคลาซิอุส

รูดอล์ฟ เคลาซิอุส ผู้คิดค้น เอนโทรปี รูดอล์ฟ จูเลียส เอมมานูเอล เคลาซิอุส (Rudolf Julius Emanuel Clausius) (2 มกราคม ค.ศ. 1822 – 24 สิงหาคม ค.ศ. 1888) เป็นนักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้วางรากฐานของอุณหพลศาสตร์ โดยนำหลักการ "วัฎจักรการ์โนต์" ของซาดี การ์โนต์ มาศึกษาต่อยอด ทำให้ทฤษฎีความร้อนมีหลักการที่หนักแน่นมั่นคงขึ้น ในปี..

ใหม่!!: นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและรูดอล์ฟ เคลาซิอุส · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม ทอมสัน บารอนเคลวินที่ 1

วิลเลียม ธอมสัน บารอนเคลวิน ที่หนึ่ง (William Thomson, 1st Baron Kelvin; (26 มิถุนายน ค.ศ. 1824 - 17 ธันวาคม ค.ศ. 1907) เป็นนักฟิสิกส์คณิตศาสตร์และวิศวกร ที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มีผลงานสำคัญคือการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่พิสูจน์ผลทางด้านไฟฟ้าและอุณหพลศาสตร์ ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้พัฒนามาตรฐานการวัดอุณหภูมิสัมบูรณ์ คือระบบเคลวิน (Kelvin) เขาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น บารอนเคลวิน ในปี ค.ศ. 1892 เพื่อเป็นเกียรติแก่การคิดค้นของเขา โดยนำชื่อมาจากแม่น้ำเคลวิน ที่ไหลผ่านมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ในสก็อตแลนด์ แต่เนื่องจากเขาไม่มีทายาทสืบตระกูล ตำแหน่งบารอนเคลวินจึงมีเพียง บารอนเคลวินที่หนึ่ง เพียงคนเดียวเท่านั้น.

ใหม่!!: นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและวิลเลียม ทอมสัน บารอนเคลวินที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

อหิวาตกโรค

อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า (cholera) คือ โรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ที่ลำไส้เล็ก ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียนเป็นหลัก เรียกว่า "ลงราก" จึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคลงราก" ก็มี และถ้าเกิดแก่สัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ วัว ควาย เรียก "กลี" ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ในผู้ป่วยรุนแรงอาจทำให้มีผิวสีออกเทา-น้ำเงินได้ การแพร่เชื้อเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อเป็นหลัก ซึ่งผู้นั้นแม้ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้ ความรุนแรงของอาการท้องร่วงและอาเจียนสามารถนำไปสู่ภาวะขาดน้ำและเสียสมดุลเกลือแร่อย่างรวดเร็ว กระทั่งเสียชีวิตในบางราย การรักษาหลักคือการชดเชยสารน้ำโดยการกิน ซึ่งมักทำโดยให้ดื่มสารละลายชดเชยการขาดน้ำและเกลือแร่ ถ้าไม่ได้ผลหรือได้ผลเร็วไม่เพียงพอหรือดื่มไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เป็นรุนแรงอาจใช้ยาปฏิชีวนะช่วยเพื่อลดระยะเวลาและความรุนแรงของการป่ว..

ใหม่!!: นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและอหิวาตกโรค · ดูเพิ่มเติม »

อุณหพลศาสตร์

แผนภาพระบบอุณหพลศาสตร์ทั่วไป แสดงพลังงานขาเข้าจากแหล่งความร้อน (หม้อน้ำ) ทางด้านซ้าย และพลังงานขาออกไปยังฮีทซิงค์ (คอนเดนเซอร์) ทางด้านขวา ในกรณีนี้มีงานเกิดขึ้นจากการทำงานของกระบอกสูบ อุณหพลศาสตร์ (/อุน-หะ-พะ-ละ-สาด/ หรือ /อุน-หะ-พน-ละ-สาด/) หรือ เทอร์โมไดนามิกส์ (Thermodynamics; มาจากภาษากรีก thermos.

ใหม่!!: นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและอุณหพลศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อ็องเดร-มารี อ็องแปร์

นของอ็องแปร์กับบุตรชาย อ็องเดร-มารี อ็องแปร์ (André-Marie Ampère; 22 มกราคม ค.ศ. 1775 — 10 มิถุนายน ค.ศ. 1836) เป็นนักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ค้นพบทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า หน่วย SI ของการวัดกระแสไฟฟ้า โดยชื่อของหน่วยแอมแปร์ ได้ตั้งตามชื่อของ.

ใหม่!!: นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและอ็องเดร-มารี อ็องแปร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎี

ทฤษฎี (theory) คือ สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบและทดลองหลายครั้งหลายหนจนสามารถอธิบายข้อเท็จจริงสามารถคาดคะเนทำนายเหตุการณ์ทั่วๆไป ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นอย่างถูกต้อง และมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป จึงเป็นผลให้สมมติฐานกลายเป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฎีเซลล์ (Cell theory) ทฤษฏีวิวัฒนาการ (the evolution theory) เป็นต้น หรือ คือกลุ่มความสัมพันธ์ของแนวคิดคำนิยาม และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง และชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายหรือคาดเดาปรากฏการณ์นั้น.

ใหม่!!: นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและทฤษฎี · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดี

ประธานาธิบดี (president) คือตำแหน่งประมุขหรือผู้นำของประเทศที่ปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งประธานาธิบดีจะได้รับตำแหน่งจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ปัจจุบันมีหลายประเทศที่มีประธานาธิบดีเป็นประม.

ใหม่!!: นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและประธานาธิบดี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

นโปเลียน

นโปเลียน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและนโปเลียน · ดูเพิ่มเติม »

เบอนัว ปอล เอมีล กลาแปรง

อมีล กลาแปรง เบอนัว ปอล เอมีล กลาแป-รง (Benoît Paul Émile Clapeyron; 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1799 - 28 มกราคม ค.ศ. 1864) เป็นวิศวกรและนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส หนึ่งในผู้วางรากฐานวิชาอุณหพลศาสตร์ ปี..

ใหม่!!: นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและเบอนัว ปอล เอมีล กลาแปรง · ดูเพิ่มเติม »

เรขาคณิต

รขาคณิต (Geometry; กรีก: γεωμετρία; geo.

ใหม่!!: นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและเรขาคณิต · ดูเพิ่มเติม »

เอนโทรปี

การละลายของน้ำแข็งในน้ำ นับเป็นตัวอย่างหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของเอนโทรปีของน้ำแข็ง ซึ่งเดิมมีโมเลกุลเรียงอยู่กับที่ มาเป็นโมเลกุลเคลื่อนที่ไปมาภายในแก้ว เอนโทรปี (entropy) มาจากภาษากรีก εν (en) แปลว่าภายใน รวมกับ τρέπω (trepo) แปลว่า ไล่ หนี หรือ หมุน ถือเป็นหัวใจของกฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกายภาพที่เกิดขึ้นเองทางธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะทำให้ความแตกต่างของ ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิ แรงดัน ความหนาแน่น หรือค่าอื่น ๆ ในระบบค่อย ๆ น้อยลงจนกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งต่างจากกฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์ ซึ่งกล่าวถึงการอนุรักษ์พลังงาน เอนโทรปีเป็นจำนวนซึ่งใช้อธิบายระบบอุณหพลศาสตร์ เมื่อมองในระดับโมเลกุล กระบวนการทางกายภาพที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทำให้โมเลกุลมีการเรียงตัวที่ไม่เป็นระเบียบมากขึ้น สามารถแทนได้ด้วยค่าเอนโทรปีที่เพิ่มขึ้น ในการคำนวณ นิยมใช้สัญลักษณ์ S ซึ่งนิยามจากสมการดิฟเฟอเรนเซียล dS.

ใหม่!!: นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและเอนโทรปี · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องจักรความร้อน

อะแกรมของเครื่องจักรไอน้ำวัตต์ ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุณหพลศาสตร์, เครื่องจักรความร้อน (Heat Engine) เป็นเครื่องจักรที่ใช้เปลี่ยนพลังงานความร้อนไปสู่งานทางกลศาสตร์ โดยอาศัยความแตกต่างทางอุณหภูมิของแหล่งกำเนิดอุณหภูมิสูง (heat source) และแหล่งกำเนิดอุณหภูมิต่ำ (heat sink).

ใหม่!!: นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและเครื่องจักรความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องจักรไอน้ำ

รื่องจักรไอน้ำ เครื่องจักรไอน้ำ (Steam engine) ประดิษฐ์โดย โทมัส นิวโคเมน (Thomas Newcomen) เมื่อ พ.ศ. 2248 (ค.ศ. 1705) ต่อมา เจมส์ วัตต์ ได้พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำขึ้น ซึ่งหลังจากนั้น ได้มีการนำเอาชื่อท่านมาตั้งเป็นหน่วยของกำลังไฟฟ้า เช่น กำลังไฟฟ้า 400 วัตต์ เป็นต้น เครื่องจักรไอน้ำเป็นเครื่องจักรแรกๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น รถจักรไอน้ำ เรือกลไฟ ฯลฯ เครื่องจักรไอน้ำ เป็นเครื่องจักรประเภท สันดาปภายนอก ที่ให้ความร้อนผ่านของเหลว (น้ำ) และทำการเปลี่ยนไอของของเหลวเป็นพลังงานกล ซึ่งสามารถนำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ โดยการนำไอน้ำมาหมุนกังหันของ เครื่องปั่นไฟ (ไดนาโม) เครื่องจักรไอน้ำต้องมีหม้อต้มในการต้มน้ำในการทำให้เกิดไอน้ำ ไอน้ำที่ได้จากการต้ม จะนำไปเป็นแรงในการดันกระบอกสูบหรือกังหัน ข้อดีของเครื่องจักรไอน้ำประการหนึ่งคือการที่สามารถใช้แหล่งความร้อนจากอะไรก็ได้ เช่น ถ่านหิน, ฟืน, น้ำมันปิโตรเลียม หรือกระทั่ง นิวเคลียร์ และแม้แต่ในปัจจุบัน เครื่องจักรไอน้ำหรือกลไกที่ถูกพัฒนาขึ้นจากเครื่องจักรไอน้ำยังคงปรากฏซ่อนอยู่ในเครื่องจักรเครื่องกลแทบทุกประเภท เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน จนถึง กระบอกสูบในรถยนต์ หรือในเครื่องบินในปัจจุบันนั้นมีการค้นพบรูปแบบใหม่ๆในการนำเครื่องจักรไอน้ำไปใช้งาน การค้นพบครั้งล่าสุดถูกค้นพอโดนลูกชายของโทมัส นิวโครแมน โดยชื่อที่ใช้ในการค้นพบคือ อเล็กซ์ซี่ นิวโครแมน ซึ่งถูกค้นพบเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและเครื่องจักรไอน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

นิโกลาส์ เลโอนาร์ด ซาดี การ์โนต์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »