โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นิยามของตราและเครื่องหมาย (มุทราศาสตร์)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นิยามของตราและเครื่องหมาย (มุทราศาสตร์)

นิยามของตรา vs. เครื่องหมาย (มุทราศาสตร์)

นิยามของตรา (Blazon) ในด้านการศึกษาทางด้านมุทราศาสตร์ และ ธัชวิทยา “Blazon” หรือ “นิยามของตรา” คือคำบรรยายอย่างเป็นทางการของลักษณะของตรา ที่ส่วนใหญ่เป็นการบรรยายตราอาร์ม หรือ ธง ที่สามารถทำให้ผู้สร้างสามารถสร้างตรา, ธง หรือ เครื่องหมายได้ตามความต้องการอย่างถูกต้อง ฉะนั้นรูปลักษณะและองค์ประกอบของตราอาร์ม หรือ ธงตามหลักแล้วไม่ใช่เป็นการบรรยายโดยการใช้รูป แต่จะเป็นการบรรยายโดยตัวอักษร (แต่ในสมัยปัจจุบัน จะมีการให้นิยามเพิ่มเติมและบรรยายอย่างเจาะจงกว่าที่เป็นมาด้วยรายละเอียดทางเรขาคณิต) “นิยามของตรา” ใช้ภาษาเฉพาะทางในการเขียนนิยามตั้งแต่หลักการวางตำแหน่งของคำบรรยาย การใช้คำกิริยา ไปจนถึงหลัก และลำดับการเขียนคำบรรยายของแต่ละส่วนที่ย่อยออกไป เช่นคำแรกที่พบในการบรรยายตราคือชื่อผิวตรา ที่หมายถึงสีหรือผิวของพื้นตรา เช่น “Azure...” ซึ่งหมายความว่า “ (พื้นตรา) น้ำเงิน” ผู้อ่านที่เข้าใจหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยามจะทราบว่า “Azure...” เป็นสีของพื้นตราโดยไม่ต้องมีคำว่า “Field” ที่แปลว่าพื้นตรานำหน้าคำว่า “Azure...” เพราะตำแหน่งการวางคำเป็นไปตามหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยาม นอกจากโครงสร้างการวางลำดับการบรรยายและการใช้ไวยากรณ์แล้ว นิยามของตราในมุทราศาสตร์ก็ยังใช้คำศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะกิจเช่นคำว่า “Charge” ที่หมายถึง “เครื่องหมาย” บน “พื้นตรา” (Field) หรือคำว่า “Attitude” ที่หมายถึง “ลักษณะการวางท่า” ของมนุษย์หรือสัตว์ที่ปรากฏบนตรา นอกจากตราอาร์ม หรือ ธง แล้ว “นิยามของตรา” ก็อาจจะใช้ในการบรรยายลักษณะของสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ตรายศ (badge), แถบคำขวัญ (banner) และ ตราประทั. รื่องหมาย (Charge) ในมุทราศาสตร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งของตราอาร์มที่เป็นเครื่องหมายที่อาจจะเป็นตราสัญลักษณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนพื้นตราของโล่ภายในตรา ซึ่งอาจจะเป็นลายเรขาคณิต (บางครั้งเรียกว่า “แถบ”) หรือสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์สำหรับของบุคคล สัตว์ สิ่งของ หรือ สิ่งอื่นๆ ในนิยามของตราของฝรั่งเศสแถบเรียกว่า “pièces” และเครื่องหมายอื่นๆ เรียกว่า “mobile” ซึ่งเป็นคำคำพ้องรูปพ้องเสียง (homonym) กับคำว่า “meuble” ในภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันที่แปลว่าเครื่องเรือน การแบ่งเครื่องหมายออกเป็น “แถบ” หรือ “แถบย่อย” และกลุ่มอื่นๆ เป็นระเบียบใหม่ที่เป็นที่คัดค้านโดยนักเขียนเกี่ยวกับมุทราศาสตร์หลายคนที่รวมทั้งฟ็อกซ์-เดวิส ความสำคัญและความหมายของเครื่องหมายจะได้รับการระบุในนิยามของตรา คำว่า “charge” (“เครื่องหมาย”) อาจจะใช้เป็นคำกิริยา เช่นถ้าโล่มีสิงห์โตสามตัวก็จะนิยามว่า charged with three lions (เครื่องหมายด้วยสิงห์สามตัว) หรือ เครื่องยอดหรือตัว “เครื่องหมาย” เองก็อาจจะเป็น “เครื่องหมาย” ได้ เช่นเป็นปีกเหยี่ยวคู่ charged with trefoils (เป็นเครื่องหมายจิกสามแฉก) (เช่นตราแผ่นดินของบรันเดินบวร์ค) สิ่งสำคัญคือการแสดงความแตกต่างระหว่าง “แถบ” (ordinaries) กับ “ช่องตรา” (divisions of the field) เพราะเครื่องหมายทั้งสองอย่างนี้ใช้วิธีนิยามเดียวกัน เช่นโล่ divided "per chevron" (ช่องแบ่งด้วยแถบเชฟรอน) ที่ต่างจาก charged with chevron (เป็นเครื่องหมายเชฟรอน) สิ่งต่างที่ใช้เป็นเครื่องหมายมาจากธรรมชาติ ตำนาน หรือเทคโนโลยี สิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องหมายก็ได้แก่กางเขนที่เป็นเครื่องหมายของคริสต์ศาสนา เหยี่ยว สิงห์โต หรือ สิ่งก่อสร้าง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นิยามของตราและเครื่องหมาย (มุทราศาสตร์)

นิยามของตราและเครื่องหมาย (มุทราศาสตร์) มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พื้นตรา (มุทราศาสตร์)มุทราศาสตร์สิงโตในมุทราศาสตร์ตราอาร์มเครื่องยอด (มุทราศาสตร์)

พื้นตรา (มุทราศาสตร์)

ื้นตรา (Field) ในมุทราศาสตร์พื้นตราคือสีพื้นของตราอาร์ม ที่มักจะประกอบด้วยผิวตรา หนึ่งหรือสองสีที่อาจจะเป็น (สี หรือ โลหะ) หรือ ขนสัตว์ (Heraldic fur) พื้นตราอาจจะแบ่งเป็นช่องตรา (Division of the field) ที่อาจจะเป็นลักษณะลวดลาย (Variation of the field) ในบางกรณีที่ไม่บ่อยนักพื้นตราหรือช่องตราจะไม่มีรงคตรา แต่จะเป็นภูมิทัศน์ พื้นตราที่เป็นภูมิทัศน์ถือกันโดยนักมุทราศาสตร์ว่าไม่ถูกต้องตามหลักมุทราศาสตร์และทำให้ลดค่าลง เพราะเป็นขัดกับหลักมุทราศาสตร์ที่ว่าตราต้องเป็นลวดลายที่ง่าย เป็นรูปที่มีสีจัด และไม่อาจจะนำมาจากคำนิยามได้ ตัวอย่างดังกล่าวก็ได้แก่ตราอาร์มของเคานท์เซซาเร ฟานี ที่ตรงกับคำนิยามของตราที่ว่า "sky proper" หรือตราของอินเวอราเรย์ และสภาดิสตริคท์คอมมินิตี้ในสกอตแลนด์มีพื้นตราเป็น "คลื่นทะเล".

นิยามของตราและพื้นตรา (มุทราศาสตร์) · พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และเครื่องหมาย (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

มุทราศาสตร์

รื่องยอด มุทราศาสตร์ (heraldry) เป็นอาชีพ, สาขาวิชา หรือศิลปะของการออกแบบ การมอบ และการให้นิยามของตราอาร์ม และ การวางกฎที่เกี่ยวกับศักดิ์หรือข้อกำหนดของพิธีการใช้ที่ควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ตราอาร์ม (officer of arms) คำว่า “heraldry” มาจากภาษาแองโกล-นอร์มันว่า “herald” ที่มีรากมาจากคำสมาทของภาษาเจอร์มานิค “*harja-waldaz” ที่แปลว่า “ผู้นำทัพ”Appendix I. koro-.

นิยามของตราและมุทราศาสตร์ · มุทราศาสตร์และเครื่องหมาย (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตในมุทราศาสตร์

งโต (Lion) เป็นสัตว์ที่นิยมใช้เป็นเครื่องหมายกันในตราอาร์มกันมากที่สุดเครื่องหมายหนึ่ง เพราะเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ การรักษาเกียรติยศ ความแข็งแกร่ง และ ความเป็นสัตว์ที่ถือกันว่าสูงศักดิ์ ที่เดิมถือกันว่าเป็นราชาแห่งสัตว์ทั้งปวง.

นิยามของตราและสิงโตในมุทราศาสตร์ · สิงโตในมุทราศาสตร์และเครื่องหมาย (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ตราอาร์ม

ตราแผ่นดินของหลายประเทศมีลักษณะเป็นตราอาร์ม ดังเช่นภาพตราแผ่นดินของประเทศในสหภาพยุโรป ตราอาร์ม (Coat of arms, เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า armorial achievement หรือ armorial bearings, เรียกอย่างย่อว่า arms) ในธรรมเนียมของทวีปยุโรป เป็นสัญลักษณ์ซึ่งออกแบบขึ้นสำหรับบุคคลหรือคณะบุคคล อันมีการดัดแปลงใช้ในหลายลักษณะ พัฒนามาจากตราประจำตัวของอัศวินในยุโรปสมัยโบราณเพื่อจำแนกพวกของตนออกจากพวกของศัตรู สามัญชนในยุโรปภาคพื้นทวีปอาจใช้ตราอาร์มเป็นสัญลักษณ์ได้เช่นกัน แต่เรียกชื่อชนิดตราต่างออกไปว่า Burgher arms ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ของประเทศไทย ได้ให้นิยามของคำว่า "อาร์ม" ไว้ดังนี้ ตราอาร์มนั้นต่างจากตราประทับ (seal) และตราสัญลักษณ์ (emblem) ตรงที่มีการให้คำอธิบายอย่างเป็นทางการโดยมีศัพท์เฉพาะของตนเอง ซึ่งเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า Blazon หรือเทียบเป็นภาษาไทยว่า นิยามของตรา ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 21 ตราอาร์มได้มีการนำไปใช้กับสถาบันต่างๆ เช่นมหาวิทยาลัย ตราของแต่ละแห่งจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและปกป้องสิทธิการใช้งาน การใช้ตราดังว่ามานี้ยังรวมถึงการใช้เป็นเครื่องหมายราชการประจำชาติหลายประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือใช้เป็น "ตราแผ่นดิน" นั่นเอง ศิลปะในการออกแบบ การแสดงให้ปรากฏ การอธิบาย และการบันทึกตราอาร์ม เรียกว่า heraldry อันอาจแปลเป็นภาษาไทยตามสำนวนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ว่า "มุทราศาสตร์".

ตราอาร์มและนิยามของตรา · ตราอาร์มและเครื่องหมาย (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องยอด (มุทราศาสตร์)

รื่องยอด (Crest) เป็นองค์ประกอบของตราอาร์มที่ได้ชื่อดังกล่าวเพราะตำแหน่งที่ตั้งอยู่เหนือหมวกเกราะเหมือนหงอนที่อยู่บนหัวนกบางชนิด เครื่องยอดแรกที่สุดของอิสริยาภรณ์เป็นภาพที่เขียนบนพัดโลหะ ที่มักจะนำมาใช้ในการประดับตราอาร์ม ที่เขียนบนโล่ ที่ต่อมาเลิกใช้ไป ต่อมาเครื่องยอดใช้แกะบนหนังหรือวัสดุอื่น เดิม “เครื่องยอด” มักจะติดต่อลงมายังพู่ประดับ แต่ปัจจุบันเครื่องยอดมักจะอยู่เหนือผ้าคาด (torse) ที่ประกอบด้วยสีหลักของโล่ (สีประจำเหล่า) แต่บางครั้งก็จะมีการใช้จุลมงกุฎแทนผ้าคาด แต่ก็มีบ้างในบางกรณีก็มีจุลมงกุฎเหนือผ้าคาดและเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องยอด เครื่องยอดจุลมงกุฎที่ใช้กันบ่อยที่สุดคือรูปสัญลักษณ์ของจุลมงกุฎดยุก ที่มีสี่แฉกแทนที่จะเป็นแปดแฉก ถ้าเป็นเครื่องยอดของเมืองก็มักจะเป็น “มงกุฎเชิงเทิน” (mural crown) หรือจุลมงกุฎในรูปของหยักเชิงเทิน สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องยอดก็อาจจะเป็นสัตว์โดยเฉพาะสิงโต ตามปกติมักจะเป็นครึ่งด้านหน้า, มนุษย์ที่มักจะเป็นรูปครึ่งตัว, แขนหรือมือถืออาวุธ หรือปีกนก ในเยอรมนีและประเทศใกล้เคียงเครื่องยอดมักจะนำมาจากเครื่องหมายประจำกลุ่มในรูปของหมวกสูง, ขนนกบนหมวกสลับสี หรือแตรงอนคู่ แตรอาจจะมีรูตรงปลายเพื่อเสียบช่อขนนกหรือช่อดอกไม้.

นิยามของตราและเครื่องยอด (มุทราศาสตร์) · เครื่องยอด (มุทราศาสตร์)และเครื่องหมาย (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นิยามของตราและเครื่องหมาย (มุทราศาสตร์)

นิยามของตรา มี 41 ความสัมพันธ์ขณะที่ เครื่องหมาย (มุทราศาสตร์) มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 10.20% = 5 / (41 + 8)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นิยามของตราและเครื่องหมาย (มุทราศาสตร์) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »