โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นิติรัฐ

ดัชนี นิติรัฐ

นิติรัฐ (Rechtsstaat) เป็นถ้อยคำที่ใช้กันในประเทศที่ใช้ระบบ ประมวลกฎหมาย ซึ่งถือกำเนิดในยุโรปภาคพื้นทวีป โดยมีกฎหมายโรมัน Jus Civileเป็นแม่แบบ หมายถึงการบริหารปกครองรัฐหรือสังคมซึ่งถือกฎหมายเป็นใหญ่ เป็น "การปกครอง" โดยกฎหมาย มิใช่แล้วแต่อำเภอใจของผู้ใช้อำนาจหรือ "ผู้ปกครอง" ส่วนประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ซึ่งมีประเทศอังกฤษเป็นแม่แบบนั้นจะอ้างถึง "หลักนิติธรรม" หรือ Rule of Law ซึ่งโดยสรุปก็มีความหมายแบบเดียวกันนั่นคือ ถือกฎหมายเป็นใหญ่ในการบริหารจัดการรั.

11 ความสัมพันธ์: พรรคการเมืองกฎหมายยุโรปภาคพื้นทวีปสภานิติบัญญัติหลักนิติธรรมอำนาจบริหารอำนาจตุลาการคอมมอนลอว์คดีแพ่งประเทศอังกฤษโภคิน พลกุล

พรรคการเมือง

รรคการเมือง เรียกย่อว่า พรรค คือองค์กรทางการเมืองที่รวมบุคคลที่มีอุดมการณ์เดียวกัน นั่นคือมีแนวความคิดทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ แบบเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน เพื่อส่งบุคคลเข้ารับเลือกตั้ง เพื่อให้ได้เสียงข้างมากในรัฐสภาและจัดตั้งรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศตามแนวความคิดหรือนโยบายที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ของกลุ่ม ลักษณะสำคัญที่สุดที่ทำให้พรรคการเมืองมีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มทางการเมืองอื่น ๆ ก็คือ พรรคการเมืองจะต้องมีความปรารถนาหรือต้องการที่จะเป็นรัฐบาล เพื่อจะได้มีโอกาสนำนโยบายของพรรคไปปฏิบัติจริง ในระบอบรัฐสภา พรรคการเมืองส่วนใหญ่จะมีผู้นำ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าพรรคการเมืองนั้นได้รับเสียงข้างมาก จะรับหน้าที่เป็นผู้นำรัฐบาล ขณะที่ในระบอบประธานาธิบดี พรรคการเมืองอาจไม่มีผู้นำที่ชัดเจน โดยเฉพาะในระบบการเมืองที่มีการแยกอำนาจโดยสมบูรณ์ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองจะเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญมากและขาดไม่ได้ในกระบวนการปกครอง เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและมีอิทธิพลเหนือรัฐบาล โดยผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร ๑)ความหมายของพรรคการเมือง หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความคิดและผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่คล้ายคลึงกัน.

ใหม่!!: นิติรัฐและพรรคการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมาย

กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้ กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาชิดมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบสำหรับการบัญญัติกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเลือกตั้งผู้แทนทางการเมือง กฎหมายปกครองใช้เพื่อทบทวนการวินิจฉัยของหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมกิจการระหว่างรัฐเอกราชในกิจกรรมตั้งแต่การค้าไปจนถึงระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติทางทหาร นักปรัชญากรีก อริสโตเติล เขียนไว้เมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาลว่า "นิติธรรมดีกว่าการปกครองของปัจเจกบุคคลใด ๆ" ระบบกฎหมายกล่าวถึงสิทธิและความรับผิดชอบในหลายวิถีทาง ความแตกต่างทั่วไปสามารถตัดสินได้ระหว่างเขตอำนาจซีวิลลอว์ ซึ่งประมวลกฎหมายของตน และระบบคอมมอนลอว์ ที่ซึ่งผู้พิพากษาบัญญัติกฎหมายนั้นไม่ถูกรวบรวม ในบางประเทศ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย กฎหมายเป็นบ่อเกิดอันมีคุณค่าของการสอบสวนอย่างคงแก่เรียน ไปยังประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญา การวิเคราะห์เศรษฐกิจหรือสังคมวิทยา กฎหมายยังยกประเด็นที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวข้องกับความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความยุติธรรม ผู้ประพันธ์ อานาตอล ฟร็องส์ กล่าวใน..

ใหม่!!: นิติรัฐและกฎหมาย · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปภาคพื้นทวีป

รปภาคพื้นทวีป ยุโรปภาคพื้นทวีป (Continental Europe) หรือยุโรปแผ่นดินใหญ่ (Mainland Europe) หรือทวีป (the Continent) คือแผ่นดินทวีปยุโรปที่ยกเว้นเกาะต่างๆ และบางครั้งก็ยกเว้นคาบสมุทร ในการใช้ในอังกฤษคำนี้นี้หมายถึงทวีปยุโรปที่ยกเว้นสหราชอาณาจักร, เกาะแมน, ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์ ความหมายโดยทั่วไปของ “ยุโรปภาคพื้นทวีป” หมายถึง “ยุโรปแผ่นดินใหญ่ที่ไม่รวมสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์” ประเทศเกาะอื่นที่ไม่รวมคือไซปรัสและมอลตา แต่ในบริเวณอื่นของยุโรปความหมายของคำนี้อาจจะแตกต่างออกไป เช่นในบางคำจำกัดความก็ขยายไปถึงประเทศภายในเทือกเขายูราลและเทือกเขาคอเคซัสWA.

ใหม่!!: นิติรัฐและยุโรปภาคพื้นทวีป · ดูเพิ่มเติม »

สภานิติบัญญัติ

นิติบัญญัติเป็นสภาปรึกษาหารือชนิดหนึ่งซึ่งมีอำนาจผ่าน แก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกกฎหมาย กฎหมายที่เกิดจากสภานิติบัญญัติเรียก กฎหมายลายลักษณ์อักษร นอกเหนือไปจากการตรากฎหมายแล้ว สภานิติบัญญัติยังมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการเพิ่มหรือลดภาษีและมีมติเห็นชอบงบประมาณและร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงินอื่น สภานิติบัญญัติมีหลายชื่อ ที่พบมากที่สุด คือ รัฐสภาและคองเกรส (congress) โดยสองคำนี้มีความหมายจำเพาะกว่า ในการปกครองระบบรัฐสภา ฝ่ายบริหารรับผิดชอบต่อสภานิติบัญญัติซึ่งอาจถอดถอนฝ่ายบริหารได้ด้วยการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในระบบประธานาธิบดี ตามลัทธิการแยกใช้อำนาจ สภานิติบัญญัติถูกมองว่าเป็นอิสระและเป็นการปกครองแขนงหนึ่งซึ่งเสมอกับฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร องค์ประกอบหลักของสภานิติบัญญัติ คือ มีตั้งแต่หนึ่งสภา (chamber/house) เป็นต้นไป สภา คือ การประชุมซึ่งสามารถอภิปรายและลงมติในร่างกฎหมายได้ สภานิติบัญญัติซึ่งมีสภาเดียว เรียก สภาเดียว ส่วนสภานิติบัญญัติที่มีสองสภา เรียก ระบบสองสภา ซึ่งปกติอธิบายเป็นสภาสูงและสภาล่าง โดยมักมีหน้าที่อำนาจและวิธีการเลือกสมาชิกต่างกัน นอกจากนี้ ยังมีสภานิติบัญญัติที่มีมากกว่าสองสภา แต่ไม่ค่อยพบ ในระบบรัฐสภาส่วนมาก สภาล่างเป็นสภาที่มีอำนาจกว่า ขณะที่สภาสูงเป็นเพียงสภาให้คำปรึกษาหรือทบทวน อย่างไรก็ดี ในระบบประธานาธิบดี อำนาจของสองสภามักคล้ายหรือเท่ากัน ในสหพันธรัฐ สภาสูงมักเป็นตัวแทนของรัฐที่มารวมกัน (component state) ซึ่งรวมถึงสภานิติบัญญัติเหนือชาติของสหภาพยุโรปด้วย ด้วยจุดประสงค์นี้ สภาสูงอาจมีผู้แทนจากรัฐบาลของรัฐ ดังเช่นในกรณีสหภาพยุโรปและเยอรมนี หรือมาจากการเลือกตั้งตามสูตรซึ่งให้การมีผู้แทนเท่าเทียมกันแก่รัฐซึ่งมีประชากรน้อยกว่า เช่นในกรณีออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน.

ใหม่!!: นิติรัฐและสภานิติบัญญัติ · ดูเพิ่มเติม »

หลักนิติธรรม

หลักนิติธรรม (Rule of Law) หากพิจารณาในฐานะแนวคิดของชาวตะวันตกนั้นก็จะพบว่ามีรากเหง้ามาแต่ครั้งสมัยกรีกโบราณจากข้อถกเถียงสำคัญที่ว่า การปกครองที่ดีนั้นควรจะเป็นการปกครองด้วยสิ่งใด ระหว่างกฎหมายที่ดีที่สุด กับ สัตบุรุษ (คนดี) โดยอริสโตเติล (Aristotle) ได้สรุปว่า กฎหมายเท่านั้นที่ควรจะเป็นผู้ปกครองสูงสุดในระบอบการเมือง (Aristotle, 1995: 127) และจากข้อสรุปของอริสโตเติลตรงนี้นี่เอง ที่ได้พัฒนาไปสู่แนวคิดพื้นฐานสำคัญของรัฐสมัยใหม่ในอีกหลายพันปีถัดมาว่า การปกครองที่ดีนั้นควรจะต้องให้กฎหมายอยู่สูงสุด (supremacy of law) และทุกๆ คนต้องมีสถานะที่เสมอภาค และเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย กล่าวคือ แม้ตามหลักการของการแบ่งแยกอำนาจ ผู้ปกครองจะมีอำนาจอันชอบธรรมในการออกและบังคับใช้กฎหมาย แต่ตัวผู้ปกครอง หรือ รัฐเองก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่พวกเขาออก และบังคับใช้ด้วยเฉกเช่นเดียวกันกับพลเมืองคนอื่นๆ ในรัฐ เพื่อที่จะทำให้การเมืองนั้นวางอยู่บนรากฐานของกฎหมาย และรัฐบาลนั้นเป็นรัฐบาลที่จำกัด (limited government) โดยตัวกฎหมายเป็นสำคัญ.

ใหม่!!: นิติรัฐและหลักนิติธรรม · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจบริหาร

อำนาจบริหาร (Executive) เป็นการปกครองส่วนที่มีอำนาจและความรับผิดชอบเฉพาะการบริหารประเทศประจำวัน ระบบการแยกใช้อำนาจออกแบบมาเพื่อกระจายอำนาจในบรรดาหลายฝ่าย เป็นความพยายามที่จะรักษาเสรีภาพปัจเจกบุคคลเพื่อเป็นการสนองตอบผู้นำทรราชตลอดประวัติศาสตร์ บทบาทของฝ่ายบริหาร คือ บังคับใช้กฎหมายตามที่สภานิติบัญญัติบัญญัติขึ้นและระบบตุลาการตีความ ฝ่ายบริหารสามารถเป็นบ่อเกิดของกฎหมายบางประเภทได้ เช่น กฤษฎีกาหรือคำสั่งของฝ่ายบริหาร ระบบข้าราชการประจำบริหารมักเป็นที่มาของระเบี.

ใหม่!!: นิติรัฐและอำนาจบริหาร · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจตุลาการ

อำนาจตุลาการ เป็นระบบศาลซึ่งทำหน้าที่ตีความและใช้บังคับกฎหมาย (apply the law) ในนามของรัฐ ตุลาการยังเป็นกลไกสำหรับระงับข้อพิพาท ภายใต้ลัทธิการแยกใช้อำนาจ ฝ่ายตุลาการมักไม่สร้างกฎหมาย (ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายนิติบัญญัติ) หรือบังคับใช้กฎหมาย (enforce the law) (ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร) แต่ตีความกฎหมายและใช้บังคับกฎหมายเข้ากับข้อเท็จจริงของแต่ละคดี ฝ่ายตุลาการมักได้รับภารกิจให้ประกันความยุติธรรมเท่าเทียมกันตามกฎหมาย มักประกอบด้วยศาลอุทธรณ์สูงสุด (court of final appeal) เรียกว่า "ศาลสูงสุด" หรือ "ศาลรัฐธรรมนูญ" ร่วมกับศาลที่ต่ำกว่า ในหลายเขตอำนาจ ฝ่ายตุลาการมีอำนาจเปลี่ยนแปลงกฎหมายผ่านกระบวนการการพิจารณาทบทวนโดยศาล ศาลที่มีอำนาจการพิจารณาทบทวนโดยศาลอาจบอกล้างกฎหมายและหลักเกณฑ์ของรัฐเมื่อเห็นว่ากฎหมายหรือหลักเกณฑ์นั้นไม่เข้ากับบรรทัดฐานที่สูงกว่า เช่น กฎหมายแม่บท บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายระหว่างประเทศ ผู้พิพากษาเป็นกำลังสำคัญสำหรับตีความและนำรัฐธรรมนูญไปปฏิบัติ ฉะนั้น จึงสร้างประชุมกฎหมายรัฐธรรมนูญในประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ หมวดหมู่:การปกครอง.

ใหม่!!: นิติรัฐและอำนาจตุลาการ · ดูเพิ่มเติม »

คอมมอนลอว์

ระบบกฎหมายทั่วโลก ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common law) เป็นกฎหมายซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้พิพากษาผ่านทางการตัดสินคดีความของศาล และศาลชำนัญพิเศษอื่น ๆ มากกว่าผ่านทางพระราชบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือการดำเนินการของฝ่ายบริหาร "ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์" เป็นระบบกฎหมายซึ่งให้น้ำหนักในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่มีมาก่อนเป็นอย่างมาก บนแนวคิดซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการอยุติธรรมหากตัดสินดำเนินคดีต่อข้อเท็จจริงที่คล้ายคลึงกันในโอกาสที่ต่างกัน ทำให้การตัดสินคดีตาม "คอมมอนลอว์" ผูกมัดการตัดสินคดีในอนาคตตามไปด้วย ในกรณีซึ่งมีกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าว ศาลคอมมอนลอว์ที่เหมาะสมที่สุดจะตรวจสอบการตัดสินคดีที่ผ่านมาของศาลที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน หากข้อพิพาทที่คล้ายคลึงกันได้รับการแก้ไขแล้วในอดีต ศาลจะถูกผูกมัดให้ตัดสินคดีตามการให้เหตุผลซึ่งใช้ในการตัดสินคดีครั้งก่อน ๆ อย่างไรก็ตาม หากศาลพบว่าข้อพิพาทในปัจจุบันมีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับการตัดสินดคีในอดีตทั้งหมด ผู้พิพากษาจะมีอำนาจและหน้าที่ที่จะสร้างกฎหมายโดยการริเริ่มเป็นแบบอย่าง ภายหลังจากนั้น การตัดสินคดีครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างแก่การตัดสินคดีครั้งต่อไป ซึ่งศาลในอนาคตจะต้องยึดมั่น ในทางปฏิบัติ ระบบคอมมอนลอว์เป็นระบบซึ่งมีความซับซ้อนยิ่งกว่าคุณสมบัติอันเป็นอุดมคติดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การตัดสินดำเนินดคีของศาลจะถูกผูกมัดในเฉพาะเขตอำนาจศาลที่เฉพาะเท่านั้น และกระทั่งภายในเขตอำนาจศาลที่กำหนด ศาลบางส่วนก็มีอำนาจยิ่งกว่าศาลทั่วไป อาทิเช่น ในการตัดสินคดีส่วนใหญ่ การตัดสินคดีโดยศาลอุทธรณ์จะถูกผูกมัดตามการตัดสินของศาลชั้นต่ำกว่าในการตัดสินดคีความที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน และการตัดสินคดีในอนาคตจะถูกผูกมัดตามการตัดสินของศาลอุทธรณ์นี้ แต่มีเพียงการตัดสินของศาลชั้นต่ำกว่าเป็นอำนาจซึ่งไม่ถูกผูกมัดโน้มน้าว ระบบกฎหมาย หมวดหมู่:กฎหมายทรัพย์สิน.

ใหม่!!: นิติรัฐและคอมมอนลอว์ · ดูเพิ่มเติม »

คดีแพ่ง

ีแพ่ง คือคดีที่ฟ้องเพื่อเรียกเงินระหว่างกัน เช่น คดีกู้ยืมเงิน คดีผิดสัญญา คดีเช่าทรัพย์ คดีตั๋วเงิน คดีจำนอง คดีซื้อขาย คดีมรดก เป็นต้น เป็นคดีที่เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของบุคคล 2 ฝ่าย ที่มีการทำผิดสัญญาหรือโต้แย้งสิทธิกัน เป็นเรื่องที่ผู้ได้รับการโต้แย้งสิทธิ จะฟ้องร้องอีกฝ่ายที่ทำการโต้แย้งสิทธิ หรือทำผิดสัญญ.

ใหม่!!: นิติรัฐและคดีแพ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: นิติรัฐและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

โภคิน พลกุล

รองศาสตราจารย์ ดร.

ใหม่!!: นิติรัฐและโภคิน พลกุล · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »