โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นมาซวันศุกร์

ดัชนี นมาซวันศุกร์

250x250px นมาซวันศุกร์ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของประเทศมาเลเซีย อายาตุลลอฮ์ อักบัร ฮาชิมี รัฟซันญานี ณ สถานนมาซวันศุกร์ กรุงเตหะราน นมาซวันศุกร์ คือ นมาซที่ชาวมุสลิมจะมารวมตัวกันนมาซแทนนมาซซุฮ์ริในช่วงเที่ยงของทุกๆวันศุกร์ นมาซนี้ต้องทำรวมกันเป็นหมู่คณะ โดยไม่สามารถนมาซตามลำพังได้ ชาวชีอะฮ์ถือว่านมาซวันศุกร์เป็นข้อบังคับประเภทเลือกกระทำ (วาญิบตัคยีรี) กล่าวคือ ไม่เป็นข้อบังคับในยุคการเร้นกายของอิมามมะฮ์ดี (อ.) หมายความว่าผู้ปฏิบัติศาสนกิจ (มุกัลลัฟ)สามารถเลือกที่จะทำนมาซซุฮ์ริหรือนมาซวันศุกร์ได้   แต่ชาวซุนนีถือว่านมาซวันศุกร์เป็นข้อบังคับต้องปฏิบัติ (วาญิบอัยนี) และเป็นข้อบังคับต้องเข้าร่วมการนมาซ นมาซวันศุกร์มีสองรอกะอัต และมีการยกมือขอพร(กุนูต)สองครั้งที่ควรปฏิบัติ(มุสตะฮับ) กุนูตแรกอยู่ในรอกะอัตที่หนึ่งก่อนก้มรุกัวะอ์ ส่วนกุนูตที่สองอยู่ในรอกะอัตที่สองหลังจากการก้มรุกั้วะอ์ การบรรยายธรรมสองครั้งโดยอิมามนำมาซวันศุกร์นั้นถือเป็นข้อบังคับ วิธีการและขั้นตอนการนมาซวันศุกร์มีดังนี้: กล่าวตักบีรอตุลเอี้ยะห์รอม, อ่านซูเราะฮ์ฮัมด์และซูเราะฮ์ใดซูเราะฮ์หนึ่ง, ยกมือขอพร(กุนูต),ก้มรุกั้วะอ์, ก้มสะญะดะฮ์สองครั้ง, อ่านซูเราะฮ์ฮัมด์และซูเราะฮ์ใดซูเราะฮ์หนึ่ง, ก้มรุกั้วะอ์, ยกมือขอพร(กุนูต), ก้มสะญะดะฮ์สองครั้ง, กล่าวตะชะฮ์ฮุดและกล่าวสลาม.

5 ความสัมพันธ์: การปฏิวัติอิหร่านมุสลิมสนามฟุตบอลความตายประเทศอิหร่าน

การปฏิวัติอิหร่าน

การปฏิวัติอิหร่าน (หรือเรียก การปฏิวัติอิสลาม หรือการปฏิวัติ ค.ศ. 1979; เปอร์เซีย: انقلاب اسلامی, Enghelābe Eslāmi หรือ انقلاب بیست و دو بهمن) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการโค่นราชวงศ์ปาห์ลาวีภายใต้พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา และการแทนที่ด้วยสาธารณรัฐอิสลามภายใต้รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ผู้นำการปฏิวัติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การฝ่ายซ้ายและอิสลามหลายแห่ง และขบวนการนักศึกษาอิหร่าน เริ่มการเดินขบวนต่อต้านชาห์ในเดือนตุลาคม 2520 พัฒนาเป็นการรณรงค์การดื้อแพ่งซึ่งมีทั้งภาคฆราวาสและศาสนา ซึ่งบานปลายในเดือนมกราคม 2521 ระหว่างเดือนสิงหาคมและธันวาคม 2521 การนัดหยุดงานและการเดินขบวนทำให้ประเทศเป็นอัมพาต ชาห์เสด็จออกนอกประเทศอิหร่านเพื่อลี้ภัยเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2522 เป็นพระมหากษัตริย์เปอร์เซียพระองค์สุดท้าย ปล่อยภาระหน้าที่ให้สภาผู้สำเร็จราชการและนายกรัฐมนตรีที่อิงฝ่ายค้าน รัฐบาลเชิญรูฮุลลอฮ์ โคมัยนีกลับประเทศอิหร่าน และกลับสู่กรุงเตหะรานซึ่งมีชาวอิหร่านหลายล้านคนรอต้อนรับ การทรงราชย์สิ้นสุดหลังวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เมื่อกองโจรและทหารกบฏชนะกำลังซึ่งภักดีต่อชาห์ในการสู้รบด้วยอาวุธตามถนน นำให้โคมัยนีเถลิงอำนาจอย่างเป็นทางการ อิหร่านออกเสียงลงคะแนนการลงประชามติทั่วประเทศให้เป็นสาธารณรัฐอิสลามเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2522 และรับรองรัฐธรรมนูญเทวาธิปไตย-สาธารณรัฐนิยมฉบับใหม่Kurzman ซึ่งโคมัยนีกลายเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ ในเดือนธันวาคม 2522 การปฏิวัตินี้แปลกสำหรับความประหลาดใจที่สร้างไปทั่วโลก เพราะขาดสาเหตุการปฏิวัติดังที่เคยมีมา (เช่น แพ้สงคราม วิกฤตการณ์การเงิน กบฏชาวนาหรือกองทัพไม่พอใจ) เกิดในชาติที่มีความมั่งคั่งทางวัตถุและเจริญรุ่งเรืองค่อนข้างดี มีความเปลี่ยนแปลงลึกซึ้งด้วยความเร็ว เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทำให้มีการลี้ภัยของชาวอิหร่านจำนวนมากKurzman, p. 121 และแทนกึ่งสมบูรณาญาสิทธิราชนิยมตะวันตกด้วยเทวาธิปไตยอำนาจนิยมต่อต้านตะวันตกInternational Journal of Middle East Studies, 19, 1987, p. 261โดยยึดมโนทัศน์ความอนุบาลของนักนิติศาสตร์อิสลาม (Guardianship of the Islamic Jurists หรือ velayat-e faqih) เป็นการปฏิวัติที่ค่อนข้างไม่รุนแรง และช่วยนิยามความหมายและการปฏิบัติของการปฏิวัติสมัยใหม่ใหม่ (แม้มีความรุนแรงให้หลังการปฏิวัติ).

ใหม่!!: นมาซวันศุกร์และการปฏิวัติอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

มุสลิม

มุสลิม ผู้นับถือศาสนาอิสลาม หากเป็นบุรุษจะเรียกว่า มุสลิม หรือเป็นสตรีจะเรียกว่า มุสลิมะฮ์ หรือเรียกโดยรวมว่า อิสลามิกชน คำว่า "มุสลิม" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ مسلم แปลว่า ผู้ศิโรราบ ผู้ภักดี มนุษย์ทุกคนสามารถเป็นมุสลิมได้โดยการปฏิญาณตน มุสลิมนั้นไม่จำกัดเผ่าพันธุ์ อายุ เพศ และวรรณะ ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องปฏิบัติตามศาสนวินัยต่าง ๆ ของอิสลาม (ทั้งวาญิบ และฮะรอม) ผู้ที่เป็นมุสลิมต้องปฏิบัติตามหลักศาสนกิจ 5 ประการดังนี้ คือ การกล่าวคำปฏิญานตนเข้ารับอิสลาม, การละหมาด 5 เวลาในแต่ละวัน, การถือศีลอดในเดือนรอมดอน, การบริจาคทาน (ซะกาต), และการทำฮัจญ์ ผู้ที่เป็นมุสลิมมีหลักความเชื่อหลัก 6 ประการ นั่นคือ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ์), เชื่อในบรรดามลาอีกะฮ์, เชื่อในคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า, เชื่อในบรรดาศาสนทูตต่างๆ, เชื่อในวันสิ้นโลก (วันกียามะฮ์), และเชื่อในกฎแห่งความดีความชั่ว (กอดอและกอดัร).

ใหม่!!: นมาซวันศุกร์และมุสลิม · ดูเพิ่มเติม »

สนามฟุตบอล

La Bombonera) สนามฟุตบอล คือบริเวณที่ใช้การเล่นฟุตบอลซึ่งเป็นสนามรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีพื้นสนามเป็นหญ้า โดยบนสนามจะมีเส้นสีขาวแสดงถึงขอบเขตของสนาม โดยเส้นสี่เหลี่ยมรอบนอกจะเป็นเส้นขอบสนาม ซึ่งเมื่อลูกฟุตบอลยังอยู่บนเส้นหรือลอยเหนือเส้น ยังถือว่าลูกฟุตบอลอยู่ในสนาม ยกเว้นแต่ว่าลูกฟุตบอลทั้งลูกออกภายนอกเส้น เช่นเดียวกับการทำประตู ถ้าลูกฟุตบอลยังคงอยู่เหนือเส้นยังไม่ถือว่าเป็นประตู วงกลมตรงกลางสนามจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขัน โดยลูกฟุตบอลจะถูกวางไว้ตรงจุดศูนย์กลางของวงกลม สำหรับกรอบสี่เหลี่ยมที่อยู่ปลายทั้งสองข้างของสนามคือ กรอบเขตโทษ และจะมีจุดโทษอยู่ภายในสำหรับวางตำแหน่งของลูกฟุตบอลใน การยิงลูกโทษ.

ใหม่!!: นมาซวันศุกร์และสนามฟุตบอล · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: นมาซวันศุกร์และความตาย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: นมาซวันศุกร์และประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »