โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธาตุสังเคราะห์

ดัชนี ธาตุสังเคราะห์

ตุสังเคราะห์ คือ ธาตุที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นในห้องทดลอง ไม่พบอยู่ตามธรรมชาติ และไม่เสถียร มีครึ่งชีวิตที่สั้น (เป็นไปได้ตั้งแต่ ไม่กี่มิลลิวินาที จนถึงหลักล้านปี ก็มี) เมื่อเทียบกับอายุของโลก ที่อะตอมของธาตุนั้น ๆ อาจเคยปรากฏขณะเกิดโลกแล้วสลายไปจนหมด ธาตุที่สังเคราะห์ขึ้นได้ชนิดแรกคือ เทคนีเชียม (technetium) โดยค้นพบว่า ไม่มีไอโซโทปใดที่เสถียร และมีครึ่งชีวิตเท่ากับ 4.2 ล้านปี จึงพบได้ยากมากบนโลกปัจจุบัน เพราะอายุของโลกนานมากกว่า 4,600 ล้านปี อย่างไรก็ตาม ไม่จัดเทคนีเชียมเป็นธาตุสังเคราะห์ที่แท้จริง เพราะปัจจุบันตรวจพบได้บ้างแม้เป็นปริมาณที่น้อยมาก เช่น ในหินอุกกาบาต และยังถือว่ามีอายุนานกว่าธาตุสังเคราะห์อื่น ธาตุที่จัดเป็นธาตุสังเคราะห์นั้นมีอายุสั้นมาก พบเฉพาะที่เป็นผลิตผลจาก เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (nuclear reactors) หรือ เครื่องเร่งอนุภาค (particle accelerator) เท่านั้น.

36 ความสัมพันธ์: ฟลิโรเวียมพลูโทเนียมมอสโกเวียมรัทเทอร์ฟอร์เดียมลอว์เรนเซียมลิเวอร์มอเรียมอะตอมอะเมริเซียมอุกกาบาตฮัสเซียมธาตุดาร์มสตัดเทียมดุบเนียมครึ่งชีวิตคูเรียมซีบอร์เกียมนิโฮเนียมแคลิฟอร์เนียมโบห์เรียมโพรมีเทียมโอกาเนสซอนโคเปอร์นิเซียมโนเบเลียมไมต์เนเรียมไอน์สไตเนียมไอโซโทปเบอร์คีเลียมเฟอร์เมียมเมนเดลีเวียมเรินต์เกเนียมเลขอะตอมเทคนีเชียมเทนเนสซีนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เครื่องเร่งอนุภาคเนปทูเนียม

ฟลิโรเวียม

ฟลิโรเวียม (Flerovium) เป็นชื่อของธาตุกัมมันตรังสีที่มีหมายเลขอะตอม 114 สัญลักษณ์ธาตุคือ Fl มีไอโซโทปที่มีเลขมวลระหว่าง 285-289 ซึ่งไอโซโทปที่มีครึ่งชีวิตนานที่สุด คือ 289Fl ซึ่งมีครึ่งชีวิตนาน 2.6 วินาที ก่อนการเปลี่ยนชื่อเป็นฟลิโรเวียม โดย IUPAC เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และฟลิโรเวียม · ดูเพิ่มเติม »

พลูโทเนียม

ลูโทเนียม (Plutonium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 94 และสัญลักษณ์ คือ Pu เป็นธาตุโลหะกัมมันตรังสี เป็นโลหะแอกทิไนด์สีขาวเงิน และจะมัวลงเมื่อสัมผัสอากาศซึ่งเกิดจากการรวมตัวกับออกซิเจน โดยปกติ พลูโทเนียมมี 6 ไอโซโทป และ 4 สถานะออกซิเดชัน สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับคาร์บอน ฮาโลเจน ไนโตรเจน และซิลิกอน เมื่อสัมผัสอากาศชื้นจะสร้างสารประกอบออกไซด์และไฮไดรด์มากกว่า 70 % ของปริมาตรซึ่งจะแตกออกเป็นผงแป้งที่สามารถติดไฟได้เอง พลูโทเนียมมีพิษที่เกิดจากการแผ่รังสีที่จะสะสมที่ไขกระดูก นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ทำให้การจัดการพลูโทเนียมเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ไอโซโทปที่สำคัญของพลูโทเนียม คือ พลูโทเนียม-239 ซึ่งมีครึ่งชีวิต 24,100 ปี พลูโทเนียม-239 และ 241 เป็นวัสดุฟิสไซล์ ซึ่งหมายความว่านิวเคลียสของอะตอมสามารถแตกตัว โดยการชนของนิวตรอนความร้อนเคลื่อนที่ช้า ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงาน รังสีแกมมา และนิวตรอนจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ได้ นำไปสู่การประยุกต์สร้างอาวุธนิวเคลียร์และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ไอโซโทปที่เสถียรที่สุด คือ พลูโทเนียม-244 ซึ่งมีครึ่งชีวิตประมาณ 80 ล้านปี นานพอที่จะสามารถพบได้ในธรรมชาติ พลูโทเนียม-238 มีครึ่งชีวิต 88 ปี และปลดปล่อยอนุภาคแอลฟาออกมา มันเป็นแหล่งความร้อนของเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยความร้อนจากไอโซโทปรังสี ซึ่งใช้ในการให้พลังงานในยานอวกาศ พลูโทเนียม-240 มีอัตราของการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมด้วยตัวเองสูง เป็นการเพิ่มอัตรานิวตรอนพื้นฐานของตัวอย่างที่มีไอโซโทปนี้ประกอบอยู่ด้วย การมีอยู่ของ Pu-240 เป็นข้อจำกัดสมรรถภาพของพลูโทเนียมที่ใช้ในอาวุธหรือแหล่งพลังงานและเป็นตัวกำหนดเกรดของพลูโทเนียม: อาวุธ (19%) ธาตุลำดับที่ 94 สังเคราะห์ได้เป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และพลูโทเนียม · ดูเพิ่มเติม »

มอสโกเวียม

มอสโกเวียม (Moscovium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 115 และสัญลักษณ์คือ Mc มอสโกเวียมเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสีหนักมาก (superheavy) ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น มีอีกชื่อหนึ่งว่าเอกา-บิสมัท (eka-bismuth) ในเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และมอสโกเวียม · ดูเพิ่มเติม »

รัทเทอร์ฟอร์เดียม

รัทเทอร์ฟอร์เดียม (Rutherfordium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 104 และสัญลักษณ์คือ Rf รัทเทอร์ฟอร์เดียมเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่สังเคราะห์ในห้องทดลอง ไอโซโทปที่มีเสถียรภาพมีครึ่งชีวิตน้อยกว่า 70 วินาที มีสมบัติทางเคมีคล้ายแฮฟเนียม รัทเทอร์ฟอร์เดียม ตั้งชื่อตาม เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด รัททเอร์ฟอร์ด รัททเอร์ฟอร์ด รัททเอร์ฟอร์ด.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และรัทเทอร์ฟอร์เดียม · ดูเพิ่มเติม »

ลอว์เรนเซียม

ลอว์เรนเซียม (Lawrencium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 103 และสัญลักษณ์คือ Lr ลอว์เรนเซียมเป็นธาตุโลหะสีขาวเงินหรือสีเทาที่สังเคราะห์ในห้องทดลองจากธาตุแคลิฟอร์เนียม ลอว์เรนเซียม ตั้งชื่อตาม เออร์เนส ลอว์เรนซ์ (Ernest Lawrence).

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และลอว์เรนเซียม · ดูเพิ่มเติม »

ลิเวอร์มอเรียม

ลิเวอร์มอเรียม (Livermorium) เป็น ธาตุในกลุ่มโลหะหลังทรานซิชัน ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 116 และมีสัญลักษณ์ Lv ชื่อนี้ตั้งขึ้นโดย IUPAC เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และลิเวอร์มอเรียม · ดูเพิ่มเติม »

อะตอม

อะตอม (άτομον; Atom) คือหน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียสที่หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนที่มีประจุลบ นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอนที่มีประจุบวกกับนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า (ยกเว้นในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งเป็นนิวไคลด์ชนิดเดียวที่เสถียรโดยไม่มีนิวตรอนเลย) อิเล็กตรอนของอะตอมถูกดึงดูดอยู่กับนิวเคลียสด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ในทำนองเดียวกัน กลุ่มของอะตอมสามารถดึงดูดกันและกันก่อตัวเป็นโมเลกุลได้ อะตอมที่มีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากันจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า มิฉะนั้นแล้วมันอาจมีประจุเป็นบวก (เพราะขาดอิเล็กตรอน) หรือลบ (เพราะมีอิเล็กตรอนเกิน) ซึ่งเรียกว่า ไอออน เราจัดประเภทของอะตอมด้วยจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียส จำนวนโปรตอนเป็นตัวบ่งบอกชนิดของธาตุเคมี และจำนวนนิวตรอนบ่งบอกชนิดไอโซโทปของธาตุนั้น "อะตอม" มาจากภาษากรีกว่า ἄτομος/átomos, α-τεμνω ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไป หลักการของอะตอมในฐานะส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสารที่ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไปถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดยนักปรัชญาชาวอินเดียและนักปรัชญาชาวกรีก ซึ่งจะตรงกันข้ามกับปรัชญาอีกสายหนึ่งที่เชื่อว่าสสารสามารถแบ่งแยกได้ไปเรื่อยๆ โดยไม่มีสิ้นสุด (คล้ายกับปัญหา discrete หรือ continuum) ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 นักเคมีเริ่มวางแนวคิดทางกายภาพจากหลักการนี้โดยแสดงให้เห็นว่าวัตถุหนึ่งๆ ควรจะประกอบด้วยอนุภาคพื้นฐานที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกต่อไป ระหว่างช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักฟิสิกส์ค้นพบส่วนประกอบย่อยของอะตอมและโครงสร้างภายในของอะตอม ซึ่งเป็นการแสดงว่า "อะตอม" ที่ค้นพบตั้งแต่แรกยังสามารถแบ่งแยกได้อีก และไม่ใช่ "อะตอม" ในความหมายที่ตั้งมาแต่แรก กลศาสตร์ควอนตัมเป็นทฤษฎีที่สามารถนำมาใช้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอะตอมได้เป็นผลสำเร็จ ตามความเข้าใจในปัจจุบัน อะตอมเป็นวัตถุขนาดเล็กที่มีมวลน้อยมาก เราสามารถสังเกตการณ์อะตอมเดี่ยวๆ ได้โดยอาศัยเครื่องมือพิเศษ เช่น กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ มวลประมาณ 99.9% ของอะตอมกระจุกรวมกันอยู่ในนิวเคลียสไอโซโทปส่วนมากมีนิวคลีออนมากกว่าอิเล็กตรอน ในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งมีอิเล็กตรอนและนิวคลีออนเดี่ยวอย่างละ 1 ตัว มีโปรตอนอยู่ \begin\frac \approx 0.9995\end, หรือ 99.95% ของมวลอะตอมทั้งหมด โดยมีโปรตอนและนิวตรอนเป็นมวลที่เหลือประมาณเท่า ๆ กัน ธาตุแต่ละตัวจะมีอย่างน้อยหนึ่งไอโซโทปที่มีนิวเคลียสซึ่งไม่เสถียรและเกิดการเสื่อมสลายโดยการแผ่รังสี ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการแปรนิวเคลียสที่ทำให้จำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสเปลี่ยนแปลงไป อิเล็กตรอนที่โคจรรอบอะตอมจะมีระดับพลังงานที่เสถียรอยู่จำนวนหนึ่งในลักษณะของวงโคจรอะตอม และสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไปมาระหว่างกันได้โดยการดูดซับหรือปลดปล่อยโฟตอนที่สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ต่างกัน อิเล็กตรอนเหล่านี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติทางแม่เหล็กของอะตอม แนวคิดที่ว่าสสารประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ ไม่ต่อเนื่องกันและไม่สามารถแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กไปได้อีก เกิดขึ้นมานับเป็นพันปีแล้ว แนวคิดเหล่านี้มีรากฐานอยู่บนการให้เหตุผลทางปรัชญา นักปรัชญาได้เรียกการศึกษาด้านนี้ว่า ปรัชญาธรรมชาติ (Natural Philosophy) จนถึงยุคหลังจากเซอร์ ไอแซค นิวตัน จึงได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า 'วิทยาศาสตร์' (Science) เกิดขึ้น (นิวตันเรียกตัวเองว่าเป็น นักปรัชญาธรรมชาติ (natural philosopher)) ทดลองและการสังเกตการณ์ ธรรมชาติของอะตอม ของนักปรัชญาธรรมชาติ (นักวิทยาศาสตร์) ทำให้เกิดการค้นพบใหม่ ๆ มากมาย การอ้างอิงถึงแนวคิดอะตอมยุคแรก ๆ สืบย้อนไปได้ถึงยุคอินเดียโบราณในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล โดยปรากฏครั้งแรกในศาสนาเชน สำนักศึกษานยายะและไวเศษิกะได้พัฒนาทฤษฎีให้ละเอียดลึกซึ้งขึ้นว่าอะตอมประกอบกันกลายเป็นวัตถุที่ซับซ้อนกว่าได้อย่างไร ทางด้านตะวันตก การอ้างอิงถึงอะตอมเริ่มขึ้นหนึ่งศตวรรษหลังจากนั้นโดยลิวคิพพุส (Leucippus) ซึ่งต่อมาศิษย์ของเขาคือ ดีโมครีตุส ได้นำแนวคิดของเขามาจัดระเบียบให้ดียิ่งขึ้น ราว 450 ปีก่อนคริสตกาล ดีโมครีตุสกำหนดคำว่า átomos (ἄτομος) ขึ้น ซึ่งมีความหมายว่า "ตัดแยกไม่ได้" หรือ "ชิ้นส่วนของสสารที่เล็กที่สุดไม่อาจแบ่งแยกได้อีก" เมื่อแรกที่ จอห์น ดาลตัน ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับอะตอม นักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นเข้าใจว่า 'อะตอม' ที่ค้นพบนั้นไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกแล้ว ถึงแม้ต่อมาจะได้มีการค้นพบว่า 'อะตอม' ยังประกอบไปด้วย โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน แต่นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันก็ยังคงใช้คำเดิมที่ดีโมครีตุสบัญญัติเอาไว้ ลัทธินิยมคอร์พัสคิวลาร์ (Corpuscularianism) ที่เสนอโดยนักเล่นแร่แปรธาตุในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซูโด-กีเบอร์ (Pseudo-Geber) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า พอลแห่งทารันโท แนวคิดนี้กล่าวว่าวัตถุทางกายภาพทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดละเอียดเรียกว่า คอร์พัสเคิล (corpuscle) เป็นชั้นภายในและภายนอก แนวคิดนี้คล้ายคลึงกับทฤษฎีอะตอม ยกเว้นว่าอะตอมนั้นไม่ควรจะแบ่งต่อไปได้อีกแล้ว ขณะที่คอร์พัสเคิลนั้นยังสามารถแบ่งได้อีกในหลักการ ตัวอย่างตามวิธีนี้คือ เราสามารถแทรกปรอทเข้าไปในโลหะอื่นและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของมันได้ แนวคิดนิยมคอร์พัสคิวลาร์อยู่ยั่งยืนยงเป็นทฤษฎีหลักตลอดเวลาหลายร้อยปีต่อมา ในปี..

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

อะเมริเซียม

อะเมริเซียม (Americium) เป็นธาตุสังเคราะห์ มีสัญลักษณ์ว่า Am และมีเลขอะตอม 95 เป็นธาตุโลหะกัมมันตรังสี ธาตุอเมริเซียมเป็นธาตุแอกทิไนด์ ธาตุนี้ได้ถูกสังเคราะห์ขึ้นในปี..

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และอะเมริเซียม · ดูเพิ่มเติม »

อุกกาบาต

อุกกาบาตที่ถูกพบในสหรัฐอเมริกา อุกกาบาต คือ วัตถุในอวกาศ ที่ผ่านชั้นบรรยากาศลงมาสู่โลก ตอนอยู่ในอวกาศจะเรียกว่า สะเก็ดดาวตก พอเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก จะเรียกว่า ดาวตก เราสามารถพบหรือเจออุกกาบาตได้บนดาวเคราะห์ดวงอื่น เช่น ดาวอังคาร เป็นต้น อุกกาบาตเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงประมาณ 40-70 กิโลเมตร/วินาที และเกิดการ compression กับอากาศในชั้นบรรยากาศโลก ทำให้อากาศรอบๆอุกกาบาตมีความดันสูงขึ้นจึงเกิดความร้อนสูงจนลุกไหม้ สะเก็ดอุกกาบาตเล็กจะถูกเผาไหม้จนหมดแต่สำหรับก้อนที่มีขนาดใหญ่นั้นจะไม่ถูกเผาไหม้จนหมดทำให้ตกมายันบนพื้นโลก และเกิดหลุมอุกกาบาต ชนิดของอุกกาบาต ชนิดของอุกกาบาต มีดังนี้.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และอุกกาบาต · ดูเพิ่มเติม »

ฮัสเซียม

ัสเซียม (Hassium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 108 และสัญลักษณ์คือ Hs ฮัสเซียมเป็นธาตุที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น ไอโซโทปที่เสถียรของมันคือ Hs-265 มีครึ่งชีวิตประมาณ 2 มิลลิวินาที ฮัสเซียมมีอีกชื่อหนึ่งว่าเอกา-ออสเมียม (Eka-osmium).

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และฮัสเซียม · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุ

ในทางเคมี ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานเลขอะตอม อันเป็นจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น ตัวอย่างธาตุที่คุ้นเคยกัน เช่น คาร์บอน ออกซิเจน อะลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง ทองคำ ปรอทและตะกั่ว จนถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ดาร์มสตัดเทียม

ร์มสตัดเทียม (Darmstadtium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 110 และสัญลักษณ์คือ Ds ดาร์มสตัดเทียมเป็นธาตุที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น ไอโซโทปที่เสถียรของมันคือ Ds-280 และ Ds-281 มีครึ่งชีวิตประมาณ 7.6 วินาที และ 1.1 นาที ตามลำดับ ดาร์มสตัดเทียมมีอีกชื่อหนึ่งว่า เอกา-แพลทินัม (Eka-Platinum) หรือ อูนอูนนิลเลียม (ununnilium).

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และดาร์มสตัดเทียม · ดูเพิ่มเติม »

ดุบเนียม

ดุบเนียม (Dubnium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 105 และสัญลักษณ์คือ Db ดุบเนียมเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น ดุบเนียม-268 เป็นไอโซโทปที่เสถียรของมันมีครึ่งชีวิตประมาณ 16 ชั่วโมง ดุบเนียม ตั้งชื่อตามเมืองดุบนา ในประเทศรัสเซีย หมวดหมู่:ธาตุเคมี หมวดหมู่:วัสดุศาสตร์.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และดุบเนียม · ดูเพิ่มเติม »

ครึ่งชีวิต

ครึ่งชีวิต (t½) (Half-life) คือเวลาที่สารกัมมันตรังสีใช้ในการสลายตัวเหลือครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่เดิม มักถูกใช้เพื่ออธิบายคุณสมบัติของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี แต่อาจจะใช้เพื่ออธิบายปริมาณใด ๆ ก็ตามที่มีสลายตัวแบบเอ็กโพเนนเชียลด้วย จุดกำเนิดของคำศัพท์คำนี้ ได้ระบุไว้ว่าเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ดได้ค้นพบหลักการนี้ในปี 1907 และเรียกว่า "ช่วงเวลาครึ่งชีวิต" (half-life period) ต่อมาคำนี้ถูกย่อให้สั้นลงเหลือเป็น "ครึ่งชีวิต" (half-life) ในช่วงต้นทศวรรษปี 1950 หมวดหมู่:กัมมันตรังสี หมวดหมู่:นิวเคลียร์เคมี หมวดหมู่:ฟิสิกส์นิวเคลียร์ หมวดหมู่:การยกกำลัง.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และครึ่งชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

คูเรียม

ูเรียม (Curium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 96 และสัญลักษณ์คือ Cm คูเรียมเป็นธาตุโลหะกัมมันตภาพรังสี เป็นธาตุที่สังเคราะห์ขึ้นโดยการยิงพลูโตเนียมด้วยอนุภาคแอลฟ่า (ฮีเลียมไอออน) คูเรียมเป็นธาตุในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide) คูเรียมตั้งชื่อตามมารี กูรีและสามีของเธอ ปิแอร์ กูรี.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และคูเรียม · ดูเพิ่มเติม »

ซีบอร์เกียม

ซีบอร์เกียม (Seaborgium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 106 และสัญลักษณ์คือ Sg ซีบอร์เกียมเป็นธาตุที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นไอโซโทปที่เสถียรของมันคือ 226Sg มีครึ่งชีวิตประมาณ 21 วินาที มันมีสมบัติทางเคมีเหมือนทังสเตน บางทีเรียกว่าเอกา-ทังสเตน (Eka-Tungsten) ซีบอร์เกียมมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าอูนนิลเฮกเซียม (Unilhexium: Unh) ชื่อธาตุนี้ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน เกลนน์ ที. ซีบอร์ก หมวดหมู่:วัสดุศาสตร์ หมวดหมู่:ธาตุเคมี.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และซีบอร์เกียม · ดูเพิ่มเติม »

นิโฮเนียม

นิโฮเนียม (Nihonium; สัญลักษณ์ Nh) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 113 นิโฮเนียมเป็นธาตุหนักที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นใหม่ยังไม่รายละเอียดมากนัก มีอีกชื่อหนึ่งว่าเอกา-แทลเลียม (eka-thallium) ในเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และนิโฮเนียม · ดูเพิ่มเติม »

แคลิฟอร์เนียม

แคลิฟอร์เนียม (Californium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 98 และสัญลักษณ์คือ Cf เป็นธาตุโลหะหนักกัมมันตรังสี มีลักษณะสีเงินวาว อยู่ในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide group) แคลิฟอร์เนียมถูกสังเคราะห์ขึ้นครั้งแรกโดยการยิงคูเรียมด้วยอนุภาคแอลฟา (ฮีเลียมไอออน) ธาตุใหม่ที่ได้ตั้งชื่อตามรัฐแคลิฟอร์เนีย Cf-252 เป็นไอโซโทปที่มีครึ่งชีวิตเท่ากับ 2.6 ปี เป็นตัวปลดปล่อยนิวตรอนอย่างรุนแรง และเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่อันตรายมาก คลิฟอร์เนียมค้นพบโดย S.G. Thompson, A. Ghiorso, K. Street และ G.T. Seaborg ในวันที่ 9 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และแคลิฟอร์เนียม · ดูเพิ่มเติม »

โบห์เรียม

ห์เรียม (Bohrium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 107 และสัญลักษณ์คือ Bh โบห์เรียมเป็นธาตุที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น ไอโซโทปที่เสถียรของมันคือ Bh-262 มีครึ่งชีวิตประมาณ 102 ms โบห์เรียมมีอีกชื่อหนึ่งว่าเอกา-รีเนียม (Eka-Rhenium) โบห์เรียม ตั้งชื่อตาม นีลส์ บอร.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และโบห์เรียม · ดูเพิ่มเติม »

โพรมีเทียม

โพรมีเทียม (Promethium) ธาตุ มีเลขอะตอม 61 และสัญลักษณ์ Pm เป็นธาตุสังเคราะห์ในกลุ่มแลนทาไนด์ โพรมีเทียมไม่มีไอโซโทปที่เสถียร ซึ่งแผ่รังสีเบต้า แต่ไม่แผ่รังสีแกมม่า โพรมีเทียมที่บริสุทธิ์มี 2 อัญรูป (allotropic forms) เกลือของโพรมีเทียมเรืองแสงสีน้ำเงินหรือสีเขียวในที่มืดได้ เนื่องจากมีกัมมันตภาพรังสีสูง พโรมีทเอียม พโรมีทเอียม.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และโพรมีเทียม · ดูเพิ่มเติม »

โอกาเนสซอน

อกาเนสซอน (Oganesson) เป็นชื่อที่ตั้งโดยสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ สำหรับธาตุหลังแอกทิไนด์ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 118 และมีสัญลักษณ์คือ Og โอกาเนสซอนยังรู้จักกันในชื่อว่า เอคา-เรดอน หรือ ธาตุ 118 และบนตารางธาตุ มันถูกจัดให้อยู่ในบล็อก-p และเป็นธาตุตัวสุดท้ายบนคาบที่ 7 ปัจจุบัน โอกาเนสซอนเป็นธาตุสังเคราะห์เพียงตัวเดียวของธาตุหมู่ 18 มันยังเป็นธาตุที่มีเลขอะตอมและมวลอะตอมมากที่สุดเท่าที่ค้นพบในปัจจุบัน อะตอมกัมมันตรังสีของโอกาเนสซอนมีความไม่เสถียรสูงมาก เนื่องด้วยค่ามวลที่สูง และนับตั้งแต..

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และโอกาเนสซอน · ดูเพิ่มเติม »

โคเปอร์นิเซียม

ปอร์นิเซียม (Copernicium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 112 สัญลักษณ์คือ Cn โคเปอร์นิเซียมเป็นธาตุหนักยิ่งยวด (superheavy) ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นไอโซโทปที่เสถียรของมันคือ Cn-285 มีครึ่งชีวิตประมาณ 11 นาที ก่อนการเปลี่ยนชื่อเป็นโคเปอร์นิเซียม โดย IUPAC เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ธาตุนี้เคยใช้ชื่อว่า "อูนอูนเบียม" (ununbium มาจากภาษาละติน ūnus + ūnus + bi- + -ium, หนึ่ง หนึ่ง สอง) มีสัญลักษณ์คือ Uub เป็นชื่อชั่วคราวในระบบ IUPAC โคเปอร์นิเซียมเป็นโลหะที่เป็นของเหลวและระเหยเร็วกว่าปรอท โคเปอร์นิเซียม ตั้งชื่อตาม นิโคลัส โคเปอร์นิคัส ผู้เสนอทฤษฏีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และโคเปอร์นิเซียม · ดูเพิ่มเติม »

โนเบเลียม

นเบเลียม (Nobelium) ธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 102 และสัญลักษณ์คือ No โนเบเลียมเป็นธาตุโลหะกัมมันตรังสีทรานซูแรนิค (transuranic) และอยู่ในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide series) เป็นธาตุสังเคราะห์จากการยิงอะตอมของคูเรียมด้วยอิออนของคาร์บอน โนเบเลียม ตั้งชื่อตาม อัลเฟรด โนเบล ผู้ให้กำเนิดรางวัลโนเบล.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และโนเบเลียม · ดูเพิ่มเติม »

ไมต์เนเรียม

มต์เนเรียม (Meitnerium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 109 และสัญลักษณ์คือ Mt ไมต์เนเรียมเป็นธาตุที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น ไอโซโทปที่เสถียรของมันคือ Mt-266 มีครึ่งชีวิตประมาณ 3.4 ms ไมต์เนเรียมมีอีกชื่อหนึ่งว่าเอกา-อิริเดียม (Eka-eridium) ไมต์เนเรียม ตั้งชื่อตาม ลิซ ไมต์เนอร.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และไมต์เนเรียม · ดูเพิ่มเติม »

ไอน์สไตเนียม

ไอน์สไตเนียม (Einsteinium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 99 และสัญลักษณ์คือ Es เป็นธาตุโลหะหนักกัมมันตรังสี มีลักษณะสีเงินวาว อยู่ในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide group) ไอน์สไตเนียมสังเคราะห์ครั้งแรกโดยการยิงธาตุพลูโทเนียมด้วยอนุภาคนิวตรอน ธาตุใหม่ที่ได้ตั้งชื่อตาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ไอน์สไตเนียมพบในซากปรักหักพังของการทดลองระเบิดไฮโดรเจนด้วย อไน์สตไนเอียม อไน์สตไนเอียม อไน์สตไนเอียม อไน์สตไนเอียม.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และไอน์สไตเนียม · ดูเพิ่มเติม »

ไอโซโทป

แสดงไอโซโทปของไฮโดรเจนที่เกิดในธรรมชาติทั้งสามตัว ความจริงที่ว่าแต่ละไอโซโทปมีโปรตอนเพียงหนึ่งตัว ทำให้พวกมันทั้งหมดเป็นไฮโดรเจนที่แตกต่างกัน นั่นคือ ตัวตนของไอโซโทปถูกกำหนดโดยจำนวนของนิวตรอน จากซ้ายไปขวา ไอโซโทปเป็นโปรเทียม (1H) ที่มีนิวตรอนเท่ากับศูนย์, ดิวเทอเรียม (2H) ที่มีนิวตรอนหนึ่งตัว, และ ทริเทียม (3H) ที่มีสองนิวตรอน ไอโซโทป (isotope) เป็นความแตกต่างขององค์ประกอบทางเคมีที่เฉพาะเจาะจงของธาตุนั้นซึ่งจะแตกต่างกันในจำนวนของนิวตรอน นั่นคืออะตอมทั้งหลายของธาตุชนิดเดียวกัน จะมีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวล(โปรตอน+นิวตรอน)ต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และไอโซโทป · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์คีเลียม

อร์คีเลียม (Berkelium) เป็นธาตุที่มีเลขเชิงอะตอม 97 และเป็นธาตุที่ 5 ของธาตุหลังยูเรเนียม (transuranium elements) ธาตุนี้เป็นธาตุโลหะ มีสัญลักษณ์คือ Bk เบอร์คีเลียมเป็นธาตุที่ 5 ของธาตุหลังยูเรเนียม (transuranium elements) มีตำแหน่งอยู่หลังธาตุคูเรียม (Cm) ของธาตุแอกทิไนด์ในตารางธาตุ ที่ได้รับการสังเคราะห์ขึ้น ไม่ปรากฏมีในธรรมชาติ และไม่มีไอโซโทปที่เสถียร ไอโซโทปทีมีครึ่งชีวิตยาวนานทีสุด คือ 247Bk ซึ่งมีครึ่งชีวิต 1.4 x 103 ปี ในปัจจุบันยังไม่มีการเตรียมธาตุนี้ในรูปของธาตุอิสร.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และเบอร์คีเลียม · ดูเพิ่มเติม »

เฟอร์เมียม

เฟอร์เมียม (Fermium.) เป็นธาตุในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide group) มีเลขอะตอม 100 และสัญลักษณ์ Fm โดยตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์นิวเคลียร์ชื่อ เอนรีโก แฟร์มี (Enrico Fermi) มีสีเงินวาว เป็นธาตุโลหะหนักกัมมันตรังสี และเป็นธาตุสังเคราะห์โดยสังเคราะห์ได้ครั้งแรกจากการยิงพลูโทเนียมด้วยนิวตรอน หมวดหมู่:ธาตุเคมี หมวดหมู่:สารกัมมันตรังสี หมวดหมู่:วัสดุศาสตร์.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และเฟอร์เมียม · ดูเพิ่มเติม »

เมนเดลีเวียม

มนเดลีเวียม (Mendelevium) เป็นธาตุ ในกลุ่มแอกทิไนด์ ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 101 ในตารางธาตุ และมีสัญลักษณ์ธาตุเป็น Md ชื่อมีที่มาจากการตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ ดมิตรี เมนเดลีฟ (Dmitri Mendeleev) นักเคมีชาวรัสเซีย ผู้ประดิษฐ์ตารางธาตุ เป็นธาตุกัมมันตรังสี ธาตุบริสุทธิ์มีสถานะเป็นของแข็ง ที่ STP สีเงินวาว สังเคราะห์ได้ครั้งแรกโดยการยิงธาตุไอน์สไตเนียม ด้วยอนุภาคแอลฟา) เกิดจาก รวมตัวกับ เป็นที่ STP.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และเมนเดลีเวียม · ดูเพิ่มเติม »

เรินต์เกเนียม

รินต์เกเนียม (Roentgenium; Röntgenium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 111 และสัญลักษณ์คือ Rg เรินต์เกเนียมเป็นธาตุที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น ไอโซโทปที่เสถียรของมันคือ Rg-280 มีครึ่งชีวิตประมาณ 3.6 วินาที เรินต์เกเนียมมีอีกชื่อหนึ่งว่าเอกา-โกลด์ (Eka-gold) หรืออูนอูนอูนเนียม (unununium) เรินต์เกเนียมเป็นโลหะหนักทรานซิชันมีลักษณะมันวาวเหมือนทองคำ.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และเรินต์เกเนียม · ดูเพิ่มเติม »

เลขอะตอม

เลขอะตอม (atomic number) หมายถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้นๆ หรือหมายถึงจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งวนรอบนิวเคลียสของอะตอมที่เป็นกลาง เช่น ไฮโดรเจน (H) มีเลขอะตอมเท่ากับ 1 เลขอะตอม เดิมใช้หมายถึงลำดับของธาตุในตารางธาตุ เมื่อ ดมิทรี อีวาโนวิช เมนเดลีเยฟ (Dmitry Ivanovich Mendeleev) ทำการจัดกลุ่มของธาตุตามคุณสมบัติร่วมทางเคมีนั้น เขาได้สังเกตเห็นว่าเมื่อเรียงตามเลขมวลนั้น จะเกิดความไม่ลงรอยกันของคุณสมบัติ เช่น ไอโอดีน (Iodine) และเทลลูเรียม (Tellurium) นั้น เมื่อเรียกตามเลขมวล จะดูเหมือนอยู่ผิดตำแหน่งกัน ซึ่งเมื่อสลับที่กันจะดูเหมาะสมกว่า ดังนั้นเมื่อเรียงธาตุในตารางธาตุตามเลขอะตอม ตารางจะเรียงตามคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ เลขอะตอมนี้ถึงแม้โดยประมาณ แล้วจะแปรผันตรงกับมวลของอะตอม แต่ในรายละเอียดแล้วเลขอะตอมนี้จะสะท้อนถึงคุณสมบัติของธาตุ เฮนรี โมสลีย์ (Henry Moseley) ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการกระเจิงของ สเปกตรัมของรังสีเอ็กซ์ (x-ray) ของธาตุ และตำแหน่งที่ถูกต้องบนตารางธาตุ ในปี ค.ศ. 1913 ซึ่งต่อมาได้ถูกอธิบายด้วยเลขอะตอม ซึ่งอธิบายถึงปริมาณประจุในนิวเคลียส หรือ จำนวนโปรตอนนั่นเอง ซึ่งจำนวนของโปรตอนนี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ หมวดหมู่:อะตอม ลเขอะตอม ลเขอะตอม.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และเลขอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

เทคนีเชียม

|- | Electron affinity || -53 kJ/mol เทคนีเชียม (Technetium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 43 และสัญลักษณ์คือ Tc เทคนีเชียมเป็นโลหะทรานซิชันมีสีเทาเงิน Tc-99m เป็นไอโซโทป อายุสั้นใช้ตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ได้มากมาย ที่พบบนโลกเกิดจากผลพลอยได้ของปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิสซั่นของยูเรเนียม-235 และตามธรรมชาติพบในแร่ยูเรเนียม หมวดหมู่:วัสดุศาสตร์ หมวดหมู่:ธาตุเคมี หมวดหมู่:โลหะมีสกุล.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และเทคนีเชียม · ดูเพิ่มเติม »

เทนเนสซีน

ทนเนสซีน (Tennessine) เป็นธาตุในกลุ่มโลหะหลังทรานซิชัน ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 117 และมีสัญลักษณ์ Ts เคยมีชื่อชั่วคราวในระบบ IUPAC คือ "อูนอูนเซปเทียม" (สัญลักษณ์ธาตุ Uus) และมีชื่อชั่วคราวอีกชื่อตามพยากรณ์ของดมีตรี เมนเดเลเยฟว่า "เอกา-แอสทาทีน" (eka-astatine) ถูกค้นพบในปี..

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และเทนเนสซีน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

แกนของ CROCUS, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็กที่ใช้สำหรับการวิจัยที่ EPFL ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (Nuclear Reactor) เป็นอุปกรณ์ที่ก่อกำเนิดและควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียร์ลูกโซ่ (Nuclear chain reaction) อย่างยั่งยืน มันถูกนำมาใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้าและในการขับเคลื่อนเรือ ความร้อนจากนิวเคลียร์ฟิชชั่นถูกส่งไปให้กับของเหลว (น้ำหรือก๊าซ) ให้เป็นตัวทำงาน (working fluid) ของเหลวความร้อนสูงจะไหลไปหมุนกังหันเพื่อหมุนใบพัดเรือหรือหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไอน้ำที่สร้างโดยนิวเคลียร์ในหลักการสามารถนำมาใช้เพื่อให้ความร้อนในกระบวนการอุตสาหกรรมหรือสำหรับให้ความร้อนชุมชน (district heating) เครื่องปฏิกรณ์บางเครื่องใช้ในการผลิตไอโซโทปสำหรับการใช้งานทางการแพทย์และอุตสาหกรรมหรือผลิตพลูโตเนียมสำหรับทำอาวุธ บางเครื่องก็ใช้สำหรับงานวิจัยเท่านั้น ทุกวันนี้มีประมาณ 450 เครื่องปฏิกรณ์พลังงานนิวเคลียร์ที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในประมาณ 30 ประเทศทั่วโลก.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องเร่งอนุภาค

รื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น Van de Graaff แบบ single stage 2 MeV ในช่วงทศวรรษ 1960s กำลังอยู่ระหว่างซ่อมบำรุง ภาพสเก็ตช์ของเครื่องเร่งไฟฟ้าสถิตย์แบบแวนเดอกราฟ เครื่องเร่งอนุภาค (particle accelerator) คือเครื่องมือชนิดหนึ่งที่อาศัยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในการเร่งให้อนุภาคที่มีประจุเคลื่อนที่ไปจนกระทั่งมีความเร็วสูง โดยให้เคลื่อนที่อยู่ภายในท่อที่เตรียมเอาไว้ โทรทัศน์แบบ CRT เป็นตัวอย่างแบบง่ายๆ อย่างหนึ่งของเครื่องเร่งอนุภาค มีเครื่องเร่งอนุภาคพื้นฐานอยู่ 2 แบบคือ เครื่องเร่งอนุภาคแบบ electrostatic และแบบ oscillating field.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และเครื่องเร่งอนุภาค · ดูเพิ่มเติม »

เนปทูเนียม

นปทูเนียม (Neptunium)เป็นธาตุกลุ่มแอคติไนต์ธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 93 สัญลักษณ์ Np เป็นธาตุโลหะหนัก กัมมันตภาพรังสี อยู่ในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide group) และเป็นธาตุทรานซูแรนิค (transuranic element) เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่ไม่ปรากฏในธรรมชาติที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ซึ่งชนิดแรกที่ได้จากการสังเคราะห์เป็นผลพลอยได้จากเตาปฏิกรปรมณูและการผลิตพลูโทเนียมไอโซโทปที่เสถียรที่สุดคือ Np-237 ในธรรมชาติพบปริมาณเล็กน้อยในสินแร่ยูเรเนียมธาตุเนปทูเนียมมีสมบัติเป็นโลหะหนักเป็นของแข็งสีเงินเป็นมันวาว มีความบริสุทธิ์สูงมีประโยชน์อย่างมากในการนำมาใช้ผลิตธาตุที่เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานนิวเคลียร์ สามารถใช้ทำระเบิดนิวเคลียร์ได้.

ใหม่!!: ธาตุสังเคราะห์และเนปทูเนียม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ธาตุที่สังเคราะห์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »