โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธรณีวิทยา

ดัชนี ธรณีวิทยา

The Blue Marble: ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของโลก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ถ่ายโดยแฮร์ริสสัน ชมิตต์ (Harrison Schmitt) นักธรณีวิทยาคนแรกที่ร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศอะพอลโล 17 (Apollo 17) ที่เดินทางไปยังดวงจันทร์ ธรณีวิทยา, ธรณีศาสตร์ (Geology จากγη- (''เก-'', โลก) และ λογος (''ลอกอส'', ถ้อยคำ หรือ เหตุผล).) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย นักธรณีวิทยาศึกษาพบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี (4.5x109 ปี) และเห็นตรงกันว่าเปลือกโลกแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือเนื้อโลกหรือแมนเทิลที่มีสภาวะกึ่งหลอมเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ นักธรณีวิทยายังทำหน้าที่ระบุตำแหน่งและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งหิน แหล่งแร่ แหล่งปิโตรเลียมเช่น น้ำมันและถ่านหิน รวมทั้งโลหะอย่างเหล็ก ทองแดง และยูเรเนียม วิชาธรณีวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มีการบูรณการความรู้จากหลากหลายวิชา เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขาวิชา เช่น ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology) ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics) ตะกอนวิทยา (Sedimentology) ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) ธรณีเคมี (Geochemistry) ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) เป็นต้น '''การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก''' วิชาธรณีวิทยานอกโลก ศึกษาองค์ประกอบทางธรณีวิทยาของวัตถุในระบบสุริยะ อย่างไรก็ตาม ยังมีศัพท์เฉพาะอื่น ๆ ที่ใช้เรียกธรณีวิทยานอกโลก เช่น "ศศิวิทยา" (selenology) ศึกษาธรณีวิทยาบนดวงจันทร์, areology ศึกษาธรณีวิทยาบนดาวอังคาร เป็นต้น วิชาธรณีวิทยา สามารถตอบปัญหาต่างๆ มากมาย ที่เกี่ยวข้องกับ วิวัฒนาการของโลก ดาวเคราะห์ และ จักรวาล ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร.

88 ความสัมพันธ์: บรมยุคเฮเดียนบรรพชีวินวิทยาบริเวณแห้งแล้งบั้งไฟพญานาคชีววิทยาฟิสิกส์พ.ศ. 2434พ.ศ. 2501พ.ศ. 2502พ.ศ. 2545พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกรมทรัพยากรธรณีกระทรวงกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ (ประเทศไทย)กระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย)กระทรวงการคลัง (ประเทศไทย)กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)กระทรวงอุตสาหกรรม (ประเทศไทย)กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย)กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)การสังเคราะห์ด้วยแสงการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคภูเขาภูเขาไฟมหายุคมีโซโซอิกมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดลมหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมหาสมุทรยูเรเนียมรอยเลื่อนระบบสุริยะวิวัฒนาการวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์โลกสมัยโฮโลซีนสสารสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยหลุมยุบหอดูดาวเกิดแก้วหินอุลกมณีจักรวาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยธรณีฟิสิกส์ธรณีพิบัติภัยธรณีวิทยา...ธรณีวิทยาโครงสร้างธรณีสัณฐานวิทยาธรณีเคมีถ่านหินทรัพยากรธรรมชาติทวีปแอฟริกาทองแดงทะเลดวงจันทร์ดาวอังคารดาวเคราะห์ดินคลื่นสึนามิคณิตศาสตร์ซากดึกดำบรรพ์ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินประเทศไทยปิโตรเลียมน้ำน้ำมันน้ำท่วมแม่น้ำแร่แผ่นดินไหวแถบ นีละนิธิโลกโลหะโคลนถล่มไดโนเสาร์เชื้อเพลิงเหล็กเหล็กไหลเคมีเปลือกโลกเนื้อโลก1 มกราคม14 กรกฎาคม3 ตุลาคม ขยายดัชนี (38 มากกว่า) »

บรมยุคเฮเดียน

รมยุคเฮเดียน (Hadean) เป็นบรมยุคแรกที่เกิดขึ้นบนโลกต่อจากการกำเนิดโลกและระบบสุริยะ อยู่ระหว่าง 4,600 ล้านปีมาแล้วถึง 4,000 ล้านปีมาแล้ว ในยุคนี้ไม่มีสิ่งมีชีวิตใด ๆ ช่วงต้นยุคเป็นดาวหินหลอมเหลว และช่วงที่เปลือกนอกเริ่มจะแข็งตัว ดาวเคราะห์ขนาดดาวอังคารชื่อ "ทีอา" (Theia) ชนโลก ทำให้เกิดเป็นดวงจันทร์ และยังไม่มีออกซิเจน.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและบรมยุคเฮเดียน · ดูเพิ่มเติม »

บรรพชีวินวิทยา

นักบรรพชีวินวิทยา บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) คือ วิชาที่ศึกษาลักษณะรูปร่าง ลักษณะความเป็นอยู่ และประวัติการวิวัฒนการของสิ่งมีชีวิต ได้แก่สัตว์และพืชในธรณีกาล โดยอาศัยข้อมูลหรือร่องรอยต่างๆ ของสัตว์และพืชนั้นๆที่ถูกเก็บบันทึกและรักษาไว้ในชั้นหิน จัดเป็นแขนงหนึ่งของวิชาธรณีวิทยา ที่อาศัยความรู้ทางชีววิทยาปัจจุบันไปเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ได้สภาพซากดึกดำบรรพ์ เพื่อให้เข้าใจสภาพแวดล้อมในอดีตในช่วงที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาศัยอยู่ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ เรียกว่า นักบรรพชีวินวิท.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

บริเวณแห้งแล้ง

ทะเลทราย ทะเลทรายอาตากามา บริเวณแห้งแล้ง หรือ ทะเลทราย (desert) เป็นบริเวณแผ่นดินแห้งแล้งซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อยและทำให้สภาพการดำรงชีพไม่เอื้อสำหรับพืชและสัตว์ ประมาณหนึ่งในสามของพื้นผิวดินของโลกแห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง ซึ่งรวมเขตขั้วโลกด้วยซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อย และบ้างเรียก "บริเวณแห้งแล้งเย็น" บริเวณแห้งแล้งสามารถจำแนกได้โดยปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตก อุณหภูมิ สาเหตุของการกลายเป็นบริเวณแห้งแล้ง (desertification) หรือโดยที่ตั้งภูมิศาสตร.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและบริเวณแห้งแล้ง · ดูเพิ่มเติม »

บั้งไฟพญานาค

กล่าวกันว่าบั้งไฟพญานาคเป็นดวงไฟที่พุ่งขึ้นกลางลำน้ำโขง (ภาพจำลอง) ภาพถ่ายกระสุนส่องวิถีเปิดหน้ากล้องนาน 30 วินาที ในคืนวันออกพรรษาปี 2555 ที่บ้านตาลชุม อำเภอรัตนวาปี บั้งไฟพญานาค หรือก่อนปี 2529 เรียก บั้งไฟผี เป็นปรากฏการณ์ที่กล่าวกันว่าเห็นที่แม่น้ำโขง ลักษณะเป็นลูกกลมเรืองแสงลอยขึ้นจากน้ำขึ้นไปในอากาศ จำนวนลูกไฟมีรายงานระหว่างหลายสิบถึงหลายพันลูกต่อคืน บั้งไฟพญานาคเกิดช่วงวันออกพรรษาทุกปี ในปี 2555 ผู้จัดการออนไลน์ ลงข่าวที่มีช่างภาพไปถ่ายภาพบั้งไฟพญานาค ช่างภาพเล่าว่า จากสายตาพวกเขาเห็นตรงกันว่าลูกไฟนั้นขึ้นจากน้ำ แต่ภาพที่บันทึกด้วยการเปิดหน้ากล้อง 5–30 วินาทีเป็นภาพต่อเนื่องเหมือนเลเซอร์ซึ่งมีจุดเริ่มอยู่บนบกของฝั่งลาวที่ห่างจากไทยประมาณ 1 กิโลเมตร ช่างภาพอีกคนว่า บริเวณที่จัดไว้ให้ชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคนั้นมืดมาก ในปี 2558 มีผู้คาดว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้มีเงินสะพัดกว่า 150 ล้านบาท นอกจาก "บั้งไฟพญานาค" แล้ว ยังมีปรากฏารณ์ลูกไฟโดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในบริเวณอื่นของโลก.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและบั้งไฟพญานาค · ดูเพิ่มเติม »

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2434

ทธศักราช 2434 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1891 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและพ.ศ. 2434 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2501

ทธศักราช 2501 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1958 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและพ.ศ. 2501 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2502

ทธศักราช 2502 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1959 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและพ.ศ. 2502 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2545

ทธศักราช 2545 V 2002 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2002 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและพ.ศ. 2545 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

กรมทรัพยากรธรณี

กรมทรัพยากรธรณี เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและกรมทรัพยากรธรณี · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวง

กระทรวง คือหน่วยงานของรัฐบาล ทำหน้าที่ในการจัดการและบริหารประเทศ ส่วนราชการหนึ่งในราชการบริหารส่วนกลางในภาครัฐ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและกระทรวง · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ (ประเทศไทย)

กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เป็นหน่วยงานราชการระดับกระทรวงของไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 ในสมัยรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 29 ของไทย โดยมีหน้าที่ในการดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานด้านพลังงาน การพัฒนาที่ดิน การทางหลวง สหกรณ์ และทรัพยากรธรณี ภายหลังหลังการรัฐประหารโดยจอมพลถนอม กิตติขจร ได้มีการยุบกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย)

กระทรวงพาณิชย์ (Ministry of Commerce) เป็นกระทรวงหนึ่งของประเทศไทยที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และราชการอื่นๆ ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ตั้งอยู่ที่ 44/100 ถนนสนามบินน้ำ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและกระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงการคลัง (ประเทศไทย)

กระทรวงการคลัง (Ministry of Finance) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน การภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ดินราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่เพียงผู้ เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือสัตยาบัน รวมทั้งการค้ำประกันหนี้ของส่วนราชการและองค์การรัฐ สถาบันการเงินและรัฐวิสาหก.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและกระทรวงการคลัง (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)

กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมืองและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไท.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและกระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงอุตสาหกรรม (ประเทศไทย)

กระทรวงอุตสาหกรรม (Ministry of Industry) เป็นส่วนราชการของรัฐบาลไทย ประเภทกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาผู้ประกอบการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและกระทรวงอุตสาหกรรม (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย)

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Ministry of Natural Resources and Environment) เป็นหน่วยงานราชการไทย ประเภทกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และดูแลหน่วยงานราชการอื่น ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม..

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (Ministry of Agriculture and Cooperatives) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในชื่อ กระทรวงเกษตรพานิชการ มี เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ขณะมีบรรดาศักดิ์ที่พระยาภาสกรวงศ์เป็นเสนาบดีคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 ได้ยุบรวมกระทรวงเกษตรพานิชการเข้ากับ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พร้อมกับลดฐานะลงเป็นกรม ๆ หนึ่ง ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2442 มีพระบรมราชโองการแยกกรมเกษตรพานิชการออกมาตั้งเป็นกระทรวงใหม่ใช้ชื่อว่า กระทรวงเกษตราธิการ มี เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) ขณะมีบรรดาศักดิ์ที่พระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์เป็นเสนาบดีคนแรก โดยใช้ หอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นที่ทำการชั่วคราว ในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการยุบรวมกระทรวงเกษตราธิการเข้ากับ กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ใช้ชื่อว่า กระทรวงเกษตรพาณิชยการ ต่อมาวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อและอำนาจหน้าที่จากกระทรวงเกษตรพาณิชยการเป็น กระทรวงเศรษฐการ ในวันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

การสังเคราะห์ด้วยแสง

ใบไม้เป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์ด้วยแสง การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) เป็นกระบวนการทางชีวเคมีที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้พืช สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิดสามารถเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานทางเคมีได้ สิ่งมีชีวิตแทบทั้งหมดล้วนอาศัยพลังงานที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อการเจริญเติบโตทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ยังมีการผลิตออกซิเจน ซึ่งมีเป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่มากของบรรยากาศโลกด้วย สิ่งมีชีวิตที่สร้างพลังงานจากกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ เรียกว่า "phototrophs" โดยโมเลกุลที่มีความสามารถในการดูดกลืนแสงที่มีอยู่ในพืชและสิ่งมีชีวิตนี้คือ รงควัตถุ (pigment).

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและการสังเคราะห์ด้วยแสง · ดูเพิ่มเติม »

การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค

แผนที่แสดงแผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลก การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้พัฒนาต่อยอดจากทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปเดิมที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานนี้ได้รับการยอมรับเป็นที่แพร่หลายหลังจากการเสนอแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500) โครงสร้างส่วนนอกของโลกนั้นแบ่งตามคุณสมบัติของชั้นหินต่อคลื่นไหวสะเทือนได้สองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้นธรณีภาคชั้นดินแข็ง (lithosphere) อันประกอบด้วยเปลือกโลกและเนื้อโลก (mantle) ชั้นบนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและแข็งเกร็ง ชั้นล่างลงไปคือชั้นฐานธรณีภาคชั้นดินอ่อน (asthenosphere) ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งแต่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนที่ได้คล้ายของเหลวเมื่อพิจารณาในช่วงระยะเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง ธรณีภาคแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่นประกอบกัน ในกรณีของโลกสามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เคลื่อนที่สัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ขอบของเปลือกโลกสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทตามลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกสัมพัทธ์ของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นนั้น คือ ขอบเปลือกโลกที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเปลือกโลกที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวของภูเขา และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขา

ทือกเขาร็อกกี ภูเขา (mountain) เป็นลักษณะของพื้นโลกที่มีความสูงกว่าพื้นที่บริเวณโดยรอบ ภูเขา หรือเทือกเขาหมายถึง ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไปจากพื้นที่บริเวณรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนินเขา แต่ว่าเนินเขานั้น จะมีพื้นที่สูงจากบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 150 แต่ไม่เกิน 600 เมตร ภูเขาสามารถแบ่ง เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและภูเขา · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟ

ูเขาไฟโบรโมและภูเขาไฟสิเมรุบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐานที่หินหนืดปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า จุดร้อนภูเขาไฟ (Volcanic Hotspot) วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟ เรียกว่า วิทยาภูเขาไฟ (vulcanology หรือ volcanology).

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

มหายุคมีโซโซอิก

มหายุคมีโซโซอิก (อังกฤษ: Mesozoic Era) เป็นมหายุคที่สองจาก 3 มหายุคทางธรณีกาลของโลกในบรมยุคฟาเนอโรโซอิก โดยอยู่ถัดจากมหายุคพาลีโอโซอิกและอยู่ก่อนหน้ามหายุคซีโนโซอิก มหายุคมีโซโซอิกมีช่วงอายุตั้งแต่ 251-65 ล้านปีมาแล้ว อยู่ในช่วงเวลาที่มีการแยกตัวออกจากกันของแผ่นดินพันเจีย ทำให้เกิดผืนแผ่นดินลอเรเซียและผืนแผ่นดินกอนด์วานา คั่นกลางด้วยมหาสมุทรเททิส จากนั้นจึงเกิดการแยกตัวขึ้นอีกภายในผืนแผ่นดินทั้งสองทำให้เกิดทวีปต่าง ๆ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มหายุคมีโซโซอิกเป็นมหายุคที่เรียกได้ว่าสัตว์เลื้อยคลานครองโลก.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและมหายุคมีโซโซอิก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัย (University) หมายถึง สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลากหลายสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา หรือปริญญา แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในหลายระดับรวมถึง ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งการทำการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและมหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University; ชื่อย่อ: ม.มหิดล / MU) เป็นสถาบันที่มีที่มาจากการเป็นโรงเรียนแพทย์ ณ โรงพยาบาลศิริราช ชื่อว่า โรงเรียนแพทยากร ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและมหาวิทยาลัยมหิดล · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อังกฤษ: Khon Kaen University; อักษรย่อ: มข.) เดิมชื่อมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น มีจุดประสงค์เพื่อให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม..

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและมหาวิทยาลัยขอนแก่น · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Chiang Mai University; อักษรย่อ: มช.) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาค ตามโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูม..

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อังกฤษ: Kasetsart University; อักษรย่อ: มก.) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านการเกษตร ก่อตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ เดิมเป็นโรงเรียนช่างไหมในปี..

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (อังกฤษ: Suranaree University of Technology; อักษรย่อ: มทส.) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 โดยได้มีการยกฐานะจาก "วิทยาลัยสุรนารี" ในสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ทำการจัดการเรียนการสอนครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ใน 7 สำนักวิชาและ 1 สถาบันสมทบ โดยมีหลักสูตรในระดับปริญญาตรี 32 หลักสูตร ปริญญาโท 34 หลักสูตร และปริญญาเอก 28 หลักสูตร (ข้อมูลในปีการศึกษา 2553) นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคณาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกคิดเป็นร้อยละสูงที่สุดในประเทศไทย (ร้อยละ 80.21) และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผลงานวิจัยต่อหัวคณาจารย์สูงที่สุดในประเทศไท.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทร

การแบ่งมหาสมุทรตามแบบต่างๆ แผ่นที่กายภาพก้นทะเล มหาสมุทร (ocean) เป็นผืนน้ำทะเลขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 (71%) ของพื้นผิวโลก มหาสมุทรเรียงตามลำดับขนาดจากมากไปน้อยได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และมหาสมุทรอาร์กติก คำว่า sea หรือทะเล บางครั้งใช้แทนคำว่า "ocean" หรือ "มหาสมุทร" ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันได้ แต่หากเจาะจงการพูดแล้ว sea คือแหล่งน้ำเค็ม (ส่วนหนึ่งของมหาสมุทร) ส่วนที่มีพื้นที่ติดพื้นดิน มวลน้ำเค็มปกคลุมประมาณ 72% ของพื้นผิวโลก (~3.6 กม.2) และถูกแบ่งเป็นมหาสมุทรหลัก ๆ และทะเลขนาดเล็กอีกหลายแห่ง โดยมหาสมุทรจะครอบคลุมพื้นที่โลกประมาณ 71% มหาสมุทรประกอบด้วยน้ำของโลก 97% และนักสมุทรศาสตร์กล่าวว่ามหาสมุทรในโลกเพิ่งได้มีการสำรวจไปได้เพียง 5% เท่านั้น ปริมาตรสุทธิมีประมาณ 1.35 พันล้านลูกบาศก์กิโลเมตร (320 ล้านลูกบาศก์ไมล์) มีความลึกเฉลี่ยที่ เนื่องจากมหาสมุทรเป็นส่วนประกอบหลักของอุทกภาคของโลก มหาสมุทรจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เป็นส่วนหนึ่งในวัฏจักรคาร์บอน และมีอิทธิพลต่อภูมิอากาศและลมฟ้าอากาศ มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตกว่า 230,000 สปีชีส์ แม้ว่ามหาสมุทรในส่วนที่ลึก ๆ ส่วนมากยังคงไม่ถูกสำรวจ และเชื่อกันว่ามีสิ่งมีชีวิตใต้น้ำมากกว่า 2 ล้านชนิดอยู่ในนั้น จุดกำเนิดของมหาสมุทรนั้นยังไม่มีคำตอบ แต่มีความคิดว่ามันเกิดขึ้นในบรมยุคเฮเดียน และอาจจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกระบวนการกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและมหาสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

ยูเรเนียม

ูเรเนียม (Uranium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 92 และสัญลักษณ์คือ U เป็นธาตุโลหะหนักกัมมันตรังสี ตามธรรมชาติมีลักษณะสีเงินวาว อยู่ในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide group) ไอโซโทป U-235 ใช้เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และอาวุธนิวเคลียร์ ตามธรรมชาติพบยูเรเนียมในปริมาณเล็กน้อยในหิน ดิน น้ำ พืช และสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ด้วย ครึ่งชีวิตของธาตุยูเรเนียมคือ 4,500 ล้านปี (U-238).

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและยูเรเนียม · ดูเพิ่มเติม »

รอยเลื่อน

รอยเลื่อยในหินดินดานใกล้กับเมือง แอดิเลด ของออสเตรเลีย ในทางธรณีวิทยานั้น รอยเลื่อน (fault) หรือ แนวรอยเลื่อน (fault line) เป็นรอยแตกระนาบ (planar fracture) ในหิน ที่หินด้านหนึ่งของรอยแตกนั้นเคลื่อนที่ไปบนหินอีกด้านหนึ่ง รอยเลื่อนขนาดใหญ่ในชั้นเปลือกโลกเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกันหรือเฉือนกันและเขตรอยเลื่อนมีพลัง (active fault zone) เป็นตำแหน่งที่ไม่แน่นอนของการเกิดแผ่นดินไหวทั้งหลาย แผ่นดินไหวเกิดจากการปล่อยพลังงานออกมาระหว่างการเลื่อนไถลอย่างรวดเร็วไปตามรอยเลื่อน รอยเลื่อนหนึ่งๆตามแนวตะเข็บรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกของการแปรสัณฐาน (tectonic) สองแผ่นเรียกว่ารอยเลื่อนแปรสภาพขนาดใหญ่ (transform fault) ด้วยปรกติแล้วรอยเลื่อนมักจะไม่เกิดขึ้นเป็นรอยเลื่อนเดี่ยวอย่างชัดเจน คำว่า “เขตรอยเลื่อน” (fault zone) จึงถูกนำมาใช้เมื่อกล่าวอ้างถึงเขตที่มีการเปลี่ยนลักษณะที่ซับซ้อนที่เกิดขึ้นร่วมกับระนาบรอยเลื่อน ด้านทั้งสองของรอยเลื่อนที่ไม่วางตัวอยู่ในแนวดิ่งเรียกว่า “ผนังเพดาน” (hanging wall) และ “ผนังพื้น” (foot wall) โดยนิยามนั้นหินเพดานอยู่ด้านบนของรอยเลื่อนขณะที่หินพื้นนั้นอยู่ด้านล่างของรอยเลื่อน นิยามศัพท์เหล่านี้มาจากการทำเหมือง กล่าวคือเมื่อชาวเหมืองทำงานบนมวลสินแร่รูปทรงเป็นแผ่นเมื่อเขายืนบนหินพื้นของเขาและมีหินเพดานแขวนอยู่เหนือเขานั่นเอง.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและรอยเลื่อน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์โลก

อซ์แลนด์ กำลังพวยพุ่ง วิทยาศาสตร์โลก, โลกวิทยา, โลกศาสตร์, พิภพวิทยา, วิทยาศาสตร์พื้นพิภพ (Earth Sciences) เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกครอบคลุมแขนงต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์โลก วิทยาศาสตร์โลกอาจถือได้ว่าเป็นกรณีพิเศษของวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ เนื่องจากโลกเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวเท่าที่เรารู้จักที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ แนวทางในการศึกษาวิทยาศาสตร์โลกนั้น มีทั้งคตินิยมแบบลดทอนและแบบองค์รวม สาขาวิชาสำคัญ ๆ ของวิทยาศาสตร์โลกเท่าที่ผ่านมานั้น จะใช้วิชาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เคมี และชีววิทยา เพื่อสร้างความเข้าใจเชิงปริมาณในพื้นที่หรือภาค (sphere) หลัก ๆ ของระบบโลก ซึ่งได้แก.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและวิทยาศาสตร์โลก · ดูเพิ่มเติม »

สมัยโฮโลซีน

อุณหภูมิเฉลี่ยของบรรยากาศโลกในสมัยโฮโลซีน โฮโลซีน (Holocene) เป็นสมัย (epoch) ทางธรณีวิทยา ที่เริ่มขึ้นหลังจากการสิ้นสุดของไพลสโตซีน (11,700 ปีก่อนปัจจุบัน ตามปีปฏิทิน) มาจนถึงปัจจุบัน สมัยโฮโลซีนเป็นส่วนหนึ่งของยุคควอเทอร์นารี โดยนับตั้งแต่ปลายยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด ชื่อโฮโลซีน มาจากรากศัพท์ภาษากรีก ὅλος (holos แปลว่า ทั้งหมด) และ καινός (kainos แปลว่า ใหม่) ซึ่งแปลว่า "ใหม่ทั้งหมด" ได้รับการบัญญัติโดยสภาธรณีวิทยาสากล ในปี..

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและสมัยโฮโลซีน · ดูเพิ่มเติม »

สสาร

ว.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและสสาร · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว. หรือ TRF) เป็นองค์การมหาชน ประเภทจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย · ดูเพิ่มเติม »

หลุมยุบ

หลุมยุบ หลุมยุบ (Sinkhole) คือ ธรณีพิบัติภัยประเภทหนึ่ง ที่มีลักษณะพื้นผิวพังทลายเป็นหลุม ซึ่งเกิดจากหินตะกอนที่มีองค์ประกอบทางเคมีจำพวกคาร์บอเนต เช่น หินปูน ชั้นเกลือ หรือ หินตามธรรมชาติที่สามารถถูกละลายด้วยน้ำ ซึ่งเมื่อเกิดการไหลเวียนของน้ำใต้ดิน จะทำให้หินใต้ดินดังกล่าวละลาย เกิดช่องว่างใต้ดินขึ้น จนถึงจุดๆหนึ่งที่บริเวณพื้นผิวมีน้ำหนักมากเกินไป จะทำให้เกิดการถล่ม เกิดเป็นหลุมยุบ หลุมยุบปรากฏและพบมากในหลายๆ รัฐของประเทศอเมริกา เช่น ฟลอริดา เท็กซัส อลับามา เคนตักกี้ และเพนซิวาเนีย เป็นต้น สาเหตุการเกิดหลุมยุบ ไม่จำเป็นต้องเกิดจากธรรมชาติเท่านั้น อาจจะจากการกระทำของมนุษย์ได้ เช่น การใช้งานที่ดินทางด้านชลประทานหรือการสูบน้ำ เพื่อการก่อสร้างและพัฒนา หรือมีการก่อสร้างและส่งผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนทางน้ำ หรือระบบทางน้ำธรรมชาติใหม่ หรือ มีการปล่อยน้ำจากโรงงานอุตสาหรรม ซึ่งจากที่กล่าวมาทำให้เกิดหลุมยุบได้ หรือการบรรทุกของที่หนักเกินไป ถนนที่รถบรรทุกวิ่งผ่านมากๆ ย่อมทำให้เกิดหลุมยุบได้เร็วยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและหลุมยุบ · ดูเพิ่มเติม »

หอดูดาวเกิดแก้ว

หอดูดาวเกิดแก้ว เป็นหอดูดาวของเอกชนจัดตั้งขึ้นเมื่อกลางปี พ.ศ. 2538 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากพลอากาศโทสำเริง - นางกัลยา เกิดแก้วและเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2539 เป็นสถานที่ให้ความรู้เกี่ยวกับดวงดาวและธรรมชาติ เหมาะสำหรับผู้รักธรรมชาติและสนใจในด้านดาราศาสตร์ ภายในบริเวณจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้สำหรับการดูดาว มีหอดูดาวรูปโดม หอดูดาวเกิดแก้วตั้งอยู่ที่ ต.หลุมรัง อ.บ่อพลอย จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 และเข้าทางหลวงหมายเลข 3086 (กาญจนบุรี-บ่อพลอย) กิโลเมตรที่ 49 เลี้ยวซ้ายประมาณ 3 กิโลเมตร โทรศัพท์: 08 7920 6630.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและหอดูดาวเกิดแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

หิน

หินทราย หิน เป็นของแข็งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสารผสมที่เกิดจากการเกาะตัวกันแน่นของแร่ตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป หรือ เป็นสารผสมของแร่กับแก้วภูเขาไฟ หรือ แร่กับซากดึกดำบรรพ์ หรือของแข็งอื่น ๆ หินมีหลายลักษณะ รูปร่างที่แตกต่างกันออกไป มีสีสันที่ต่างกันออกไป ตามถิ่นที่อยู่ เราสามารถจำแนกหินที่อยู่บนเปลือกโลกทางธรณีวิทยาออกได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและหิน · ดูเพิ่มเติม »

อุลกมณี

ตัวอย่างก้อนอุลกมณีที่พบบนพื้นผิวโลก อุลกมณี มีหลายชื่อที่เรียกหากัน อุกกามณี แก้วข้าว สะเก็ดดาว เหล็กไหลต่างดาว คดปลวก พลอยจันทรคราส หยดน้ำฟ้า(ตามรูปร่างที่ปรากฏ) สะเก็ดดาว หรืออุลกมณี ตรงกับคำว่า "tektite" ในภาษาอังกฤษ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า Tektos ในภาษากรีก แปลว่า หลอมละลาย อุลกมณีที่พบจะมีเนื้อแก้ว ส่วนใหญ่สีดำทึบคล้ายนิล บางชิ้นมีเนื้อในสีน้ำตาลใส บางชิ้นก็มีเนื้อโปร่งแสงสีเขียว ผิวของอุลกมณีจะเป็นหลุมเล็ก ๆ โดยรอบ รูปลักษณ์สัณฐานของอุลกมณีไม่แน่นอน อาจเป็นก้อนกลม ยาวแบน แท่งกลมยาว คนไทยบางท่านเชื่อว่าสามารถแบ่งอุลกมณี เป็นชนิดต่างๆตามรูปร่าง เช่น ตัวผู้(รูปทรงเป็นแท่งคล้ายลึงค์) หรือตัวเมีย(รูปทรงกลม) มนุษย์เรารู้จักอุลกมณีมานานแล้ว โดยเชื่อกันว่าเป็นสะเก็ดดาวจากนอกโลก ที่ตกเข้ามายังพื้นผิวโลก แต่ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาและทราบว่าแท้จริงแล้ว อุลกมณี หรือ tektite เป็นทรายที่เกิดบนโลกที่เกิดการหลอมละลายจากความร้อนจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ขณะที่ทรายหลอมละลายจะกระเซ็นขึ้นไปบนท้องฟ้า แล้วเกิดการเย็นและแข็งตัวกลางอากาศ ก่อนจะตกกลับคืนสู่พื้นดิน จึงทำให้เกิดรูปร่างหลากหลายแบบ สีของ อุลกมณีจะมีความแตกต่างกันจากการเกิด ว่าเมื่อเกิด มีแร่ธาตุอะไรเข้าไปผสมอยู่ด้ว.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและอุลกมณี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวาล

การแกะลายแบบ Flammarion, กรุงปารีส ค.ศ. 1888 จักรวาล (cosmos) คือ เอกภพซึ่งอยู่ในรูปแบบที่ซับซ้อนและเป็นระบบระเบียบ เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับความยุ่งเหยิง (chaos) นักปรัชญา พีทาโกรัส ใช้คำว่า จักรวาล (cosmos) เพื่อกล่าวถึงความเป็นระเบียบของเอกภพ ทว่าคำนี้ไม่ถูกใช้ในภาษาสมัยใหม่จนคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อนักภูมิศาสตร์ อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์ ได้นำคำนี้จากกรีกโบราณกลับมาใช้อีกครั้ง ในชุดหนังสือของเขา Kosmos ซึ่งส่งผลกระทบต่อมุมมองสมัยใหม่องค์รวม ที่มองเอกภพเป็นสิ่งสิ่งเดียวซึ่งปฏิสัมพันธ์กัน.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและจักรวาล · ดูเพิ่มเติม »

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครราชกิจจานุเบกษ.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีฟิสิกส์

ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของธรณีวิทยา ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรณีวิทยา โดยใช้วิธีการทางกายภาพฟิสิกส์ ได้แก่ การศึกษาสมบัติและกระบวนการทางธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องกับภาคพื้นดิน อุทกภาค (hydrosphere) บรรยากาศ และความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังมีความหมายถึงการใช้เครื่องมือเพื่อศึกษาดวงจันทร์และดาวเคราะห์ด้วย ประเด็นปัญหาทางธรณีฟิสิกส์ยังคาบเกี่ยวกับเรื่องของทางดาราศาสตร์ด้วย เนื่องจากการศึกษานั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากการสังเกตโดยตรง ต้องอาศัยการแปลความเชิงคณิตศาสตร์ จากการวัดเชิงกายภาพ เช่น การวัดสนามแรงโน้มถ่วงทั้งบนบกและในทะเล และดาวเทียมในอวกาศ การวัดสภาพแม่เหล็กของสนามแม่เหล็กบนดาวเคราะห์ และการสำรวจด้านวิทยาแผ่นดินไหว ของโครงสร้างทางธรณีวิทยา โดยอาศัยคลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหว หรือวิธีการอื่นๆ ธรณีฟิสิกส์ยังแตกสาขาเป็นศาสตร์แขนงต่างๆ ได้แก่ วิทยาแผ่นดินไหว (seiesmology) ธรณีฟิสิกส์แปรสัณฐาน (tectonophysics) และธรณีฟิสิกส์เชิงวิศวกรรม (engineering geophysics) ธธรณีฟิสิกส์.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีพิบัติภัย

ประเทศชิลี ค.ศ. 2007 ธรณีพิบัติภัย (geohazard) หมายถึง ภัยธรรมชาติที่เกิดจากกระบวนการทางธรณีวิทยา เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ หลุมยุบ ดินถล่ม หิมะถล่ม ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น ถือเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากกระบวนการทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันและรุนแรง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือน ชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เกิดเหต.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและธรณีพิบัติภัย · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีวิทยา

The Blue Marble: ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของโลก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ถ่ายโดยแฮร์ริสสัน ชมิตต์ (Harrison Schmitt) นักธรณีวิทยาคนแรกที่ร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศอะพอลโล 17 (Apollo 17) ที่เดินทางไปยังดวงจันทร์ ธรณีวิทยา, ธรณีศาสตร์ (Geology จากγη- (''เก-'', โลก) และ λογος (''ลอกอส'', ถ้อยคำ หรือ เหตุผล).) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย นักธรณีวิทยาศึกษาพบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี (4.5x109 ปี) และเห็นตรงกันว่าเปลือกโลกแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือเนื้อโลกหรือแมนเทิลที่มีสภาวะกึ่งหลอมเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ นักธรณีวิทยายังทำหน้าที่ระบุตำแหน่งและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งหิน แหล่งแร่ แหล่งปิโตรเลียมเช่น น้ำมันและถ่านหิน รวมทั้งโลหะอย่างเหล็ก ทองแดง และยูเรเนียม วิชาธรณีวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มีการบูรณการความรู้จากหลากหลายวิชา เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขาวิชา เช่น ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology) ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics) ตะกอนวิทยา (Sedimentology) ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) ธรณีเคมี (Geochemistry) ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) เป็นต้น '''การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก''' วิชาธรณีวิทยานอกโลก ศึกษาองค์ประกอบทางธรณีวิทยาของวัตถุในระบบสุริยะ อย่างไรก็ตาม ยังมีศัพท์เฉพาะอื่น ๆ ที่ใช้เรียกธรณีวิทยานอกโลก เช่น "ศศิวิทยา" (selenology) ศึกษาธรณีวิทยาบนดวงจันทร์, areology ศึกษาธรณีวิทยาบนดาวอังคาร เป็นต้น วิชาธรณีวิทยา สามารถตอบปัญหาต่างๆ มากมาย ที่เกี่ยวข้องกับ วิวัฒนาการของโลก ดาวเคราะห์ และ จักรวาล ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและธรณีวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีวิทยาโครงสร้าง

รณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) หมายถึง สาขาธรณีวิทยาแขนงหนึ่งที่ว่าด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมและโครงสร้าง โดยการศึกษาธรณีวิทยาโครงสร้าง คือ “การศึกษาลักษณะสถาปัตยกรรมโครงสร้างของเปลือกโลก’’ เพราะการศึกษาของธรณีวิทยาโครงสร้าง หมายรวมถึงการศึกษา รูปทรงสัณฐานทางเรขาคณิต ความสมมาตร พร้อมกับความงดงาม (Elegance) ทางศิลปกรรมของโลกที่ถูกสร้างขึ้นในชั้นหิน และ/หรือในเนื้อหินชนิดต่าง ๆ ภาพแสดงชั้นหินคดโค้งที่พบใน Monterey Formation กระบวนการเปลี่ยนลักษณะของหินในเปลือกโลก มีการเกิดตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หรือดังคำกล่าวที่ว่า "โลกที่ไม่เคยหยุดนิ่ง (The Dynamic Earth) " โดยอาจเป็นไปอย่างช้า ๆ ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า เช่น การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก หรือเป็นไปอย่างรวดเร็ว เช่น การระเบิดของภูเขาไฟ การเกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น ดังนั้นหินในเปลือกโลกจึงมีการเปลี่ยนลักษณะไปอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงลักษณะ (Deformation) เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการศึกษาธรณีวิทยาโครงสร้าง โดยถือได้ว่าเป็นกระบวนการหนึ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโครงสร้างทางธรณีวิทยา โดยการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาเป็นผลมาจากแรงที่กระทำต่อหินนั้นมีขนาดมากกว่าความแข็งแรงของกำลังรับแรงของหินที่จะรับแรงกระทำไว้ได้ (Strength) ดังนั้นเมื่อกำลังรับแรงของหินมีน้อยกว่าแรงที่มากระทำ จึงส่งผลให้หินเกิดการเปลี่ยนลักษณะอย่างถาวร โดยโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่เกิดจากการกระทำดังกล่าวนั้นสามารถจำแนกอย่างหลัก ๆ ได้ 8 โครงสร้าง คือ รอยแยก (Joint) รอยแตกเฉือน (Shear Fracture) รอยเลื่อน (Fault) ชั้นหินคดโค้ง (Fold) ริ้วขนาน (Foliation) แนวแตกเรียบ (Cleavage) โครงสร้างแนวเส้น (Lineation) และ เขตรอยเฉือน (Shear Zone) ในการศึกษาธรณีวิทยาโครงสร้างในหินโผล่ (Outcrop Scale) จะเริ่มพิจารณาที่ระดับที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (ตั้งแต่ขนาดมิลลิเมตรถึงขนาดหลาย ๆ เมตร) ซึ่งอาจพบว่ามีแนวรอยเลื่อน (Fault) แนวคดโค้ง (Fold) แนวแยก (Joint) แนวแตกเรียบ (Cleavage) หรือแนวขนาน (Foliation) ปรากฏให้เห็น จากนั้นเราอาจนำเอาตัวอย่างหิน (Rock Samples) ที่เราเก็บมานั้นมาศึกษาในมาตราส่วนที่เล็กลง (Down Scale) ด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic Scale) หรือกล้องกำลังขยายสูงมาก (Submicroscopic Scale) ในขนาดที่เล็กมาก 10-6 เมตร (Micron) หรือเราอาจนำเอาข้อมูลหินโผล่นั้นมาศึกษาในมาตราส่วนที่ใหญ่ขึ้น (Up Scale) ซึ่งอาจจะมีขนาดเป็นเมตรหรือเป็นกิโลเมตรได้ สำหรับการศึกษาในมาตราส่วนแบบไพศาล (Regional Scale) นั้นเรามักศึกษาจากหินโผล่หลาย ๆ จุด แล้วนำมาวิเคราะห์ผลเพื่อหาความสัมพันธ์กันในมาตราส่วนแบบไพศาล แต่เนื่องจากด้วยการศึกษาหินโผล่เพียงจุดเดียวนั้นไม่สามารถบ่งบอกสภาพธรณีวิทยาภูมิภาคได้อย่างครบถ้วน ดังนั้นในการศึกษาธรณีวิทยาโครงสร้างจึงมีความจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์โครงสร้างในมาตราส่วนต่าง ๆ กันและวิเคราะห์ตัวอย่างหินจากหลาย ๆ พื้นที่มาประกอบกัน เพื่อเชื่อมโยงหาการเปลี่ยนแปลงลักษณะของโครงสร้างหลัก (Major Structure) ซึ่งเป็นผลให้เราสามารถเข้าใจถึงสภาพและวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงลักษณะได้มากขึ้นอีกด้ว.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและธรณีวิทยาโครงสร้าง · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีสัณฐานวิทยา

รณีสัณฐาน. ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) คือศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของภูมิประเทศชนิดต่าง ๆ ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาตามกระบวนการทางกายภาพหรือทางเคมี เช่น ภูมิประเทศที่เกิดจากการกัดเซาะ การพัดพา การเคลื่อนไหวของเปลือกโลกนักธรณีวิทยาพยายามที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิทัศน์ว่าทำไมแต่ละที่จึงมีลักษณะต่างกันจึงพยายามศึกษาประวัติและพลศาสตร์ของธรณีสัณฐานเพื่อรวบรวมการเปลี่ยนแปลงผ่านการสังเกตภาคสนาม การทดลองทางกายภาพและการสร้างแบบจำลองเชิงตัวเลข ธรณีสัณฐานวิทยาเป็นส่วนหนึ่งในสาขาของภูมิศาสตร์กายภาพ ธรณีวิทยา จีออเดซี วิศวกรรมธรณี โบราณคดีและวิศวกรรมธรณีเทคนิคซึ่งแต่ละสาขาวิชาจะทำให้เกิดรูปแบบและผลงานวิจัยที่แตกก่างกันไป.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและธรณีสัณฐานวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีเคมี

รณีเคมี (Geochemistry) เป็นวิทยาศาสตร์ ที่ใช้เป็นเครื่องมือและหลักการทางเคมี เพื่ออธิบายกลไกที่อยู่เบื้องหลังระบบธรณีวิทยาที่สำคัญ ๆ เช่น เปลือกโลก และมหาสมุทร ในขอบเขตของธรณีเคมีขยายไปไกลกว่าของโลก, การครอบคลุมทั้งระบบสุริยะ และมีส่วนร่วมสำคัญในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆรวมถึง การพาความร้อนของเปลือกโลกในชั้นหลอมเหลว (Mantle convection),การก่อตัวของดาวเคราะห์และต้นกำเนิดของหินแกรนิต และหินบะซอลต.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและธรณีเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ถ่านหิน

นหิน ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิดหนึ่งที่เกิดจากการตกตะกอนสะสมของซากพืชในยุคดึกดำบรรพ์เป็นเวลายาวนานหลายล้านปี จนตะกอนนั้นได้เปลี่ยนสภาพไปและมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นธาตุคาร์บอน โดยมีธาตุอื่นๆทั้งที่เป็นก๊าซและของเหลวปนอยู่ด้วยในสัดส่วนที่น้อยกว่าและเป็นแร่เชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้ มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ มีทั้งชนิดผิวมันและผิวด้าน น้ำหนักเบา ถ่านหินประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ 4 อย่างได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และออกซิเจน นอกจากนั้น มีธาตุหรือสารอื่น เช่น กำมะถัน เจือปนเล็กน้อย ถ่านหินที่มีจำนวนคาร์บอนสูงและมีธาตุอื่น ๆ ต่ำ เมื่อนำมาเผาจะให้ความร้อนมาก ถือว่าเป็นถ่านหินคุณภาพดี.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและถ่านหิน · ดูเพิ่มเติม »

ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติ เกิดขึ้นตามธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างปลอดการรบกวนจากมนุษย์ ในรูปแบบของธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติมักมีลักษณะของปริมาณความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายของภูมิประเทศในหลายระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติมาจากสิ่งแวดล้อม บางทรัพยากรสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์ ขณะที่ส่วนใหญ่ถูกใช้เพื่อตอบสนองความต้องการ ทรัพยากรธรรมชาติยังอาจจำแนกต่อไปได้อีกหลายวิธีเช่นการทำสิ่งต่างๆที่เป็นประโยช ทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัสดุและองค์ประกอบที่สามารถพบได้ในสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ทุกอย่างที่มนุษย์ทำขึ้นประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติ (ในระดับมูลฐาน) ทรัพยากรธรรมชาติอาจมีเป็นสิ่งแยกกัน เช่น น้ำและอากาศบริสุทธิ์ เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอย่างปลา หรืออาจมีอยู่ในรูปผลัด (alternative) ที่ต้องผ่านขบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากร เช่น แร่โลหะ น้ำมันและพลังงานรูปส่วนใหญ่ มีการถกเถียงอย่างมากทั่วโลกในเรื่องการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งบางส่วนเป็นเพราะความขาดแคลนที่เพิ่มขึ้น (การหมดไปของทรัพยากร) แต่ยังเนื่องจากการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจหลายประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศพัฒนาแล้ว) บางทรัพยากรธรรมชาติสามารถพบได้ทุกหนแห่ง เช่น แสงอาทิตย์และอากาศ อย่างไรก็ดี ทรัพยากรส่วนมากมิได้พบทั่วไป เพียงเกิดขึ้นในพื้นที่เล็ก ๆ กระจัดกระจายกัน ทรัพยากรกลุ่มนี้เรียกว่า ทรัพยากรท้องถิ่น มีทรัพยากรน้อยชนิดมากที่ถูกพิจารณาว่าใช้แล้วไม่หมด (inexhaustible) คือ จะไม่หมดไปในอนาคตอันใกล้ ทรัพยากรกลุ่มนี้ ได้แก่ รังสีดวงอาทิตย์ พลังงานความร้อนใต้พิภพ และอากาศ (แม้การเข้าถึงอากาศที่สะอาดอาจหมดไปได้) อย่างไรก็ดี ทรัพยากรส่วนใหญ่เป็นประเภทที่ใช้แล้วหมดไป (exhaustible) หมายความว่า มีปริมาณจำกัด และหมดไปได้หากจัดการอย่างไม่เหมาะสม ทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัสดุ ซึ่งสิ่งมีชีวิตสามารถได้รับจากธรรมชาติเพื่อดำรงชีพหรือองค์ประกอบอื่นของสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์ได้เพื่อเพิ่มสวัสดิการของตนก็ถูกพิจารณาว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติเช่นกัน.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและทรัพยากรธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทองแดง

ทองแดง (Copper) คือธาตุที่มีเลขอะตอม 29 และสัญลักษณ์คือ Cu ทองแดงอยู่ในตารางธาตุหมู่ 29 เป็นที่ทราบกันว่ามนุษย์ใช้ประโยชน์จากทองแดงมาไม่น้อยกว่า 10,000 ปี พบหลักฐานว่ามนุษย์สามารถหลอมสกัดทองแดงให้บริสุทธิ์ได้เมื่อประมาณ 5000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่มนุษย์จะรู้จักกับทองคำ โดยมนุษย์รู้จักทองคำ เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและทองแดง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ดวงจันทร์

วงจันทร์เป็นวัตถุดาราศาสตร์ที่โคจรรอบโลก เป็นดาวบริวารถาวรดวงเดียวของโลก เป็นดาวบริวารใหญ่ที่สุดอันดับที่ 5 ในระบบสุริยะ และเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่สุดเมื่อเทียบกับกขนาดของดาวเคราะห์ที่โคจร ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารที่มีความหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากไอโอของดาวพฤหัสบดี ซึ่งบางส่วนไม่ทราบความหนาแน่น คาดว่าดวงจันทร์ก่อกำเนิดประมาณ 4.51 พันล้านปีก่อน ไม่นานหลังจากโลก คำอธิบายที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุดคือดวงจันทร์ก่อกำเนิดจากเศษที่เหลือจากการชนขนาดยักษ์ระหว่างโลกกับเทห์ขนาดประมาณดาวอังคารชื่อเธียอา ดวงจันทร์หมุนรอบโลกแบบประสานเวลา จะหันด้านเดียวเข้าหาโลกเสมอคือด้านใกล้ที่มีลักษณะเป็นทะเลภูเขาไฟมืด ๆ ซึ่งเติมที่ว่างระหว่างที่สูงเปลือกโบราณสว่างและหลุมอุกกาบาตที่เห็นได้ชัดเจน เมื่อสังเกตจากโลก เป็นเทห์ฟ้าที่เห็นได้เป็นประจำสว่างที่สุดอันดับสองในท้องฟ้าของโลกรองจากดวงอาทิตย์ พื้นผิวแท้จริงแล้วมืด แม้เทียบกับท้องฟ้าราตรีแล้วจะดูสว่างมาก โดยมีการสะท้อนสูงกว่าแอสฟอลต์เสื่อมเล็กน้อย อิทธิพลความโน้มถ่วงของดวงจันทร์ทำให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร และทำให้หนึ่งวันยาวขึ้นเล็กน้อย มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร เทียบเท่ากับ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก จุดศูนย์กลางมวลร่วมของระบบตั้งอยู่ที่ตำแหน่ง 1700 กิโลเมตรใต้ผิวโลก หรือประมาณ 1 ใน 4 ของรัศมีของโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในเวลาประมาณ 27.3 วันตัวเลขอย่างละเอียดคือ คาบโคจรแท้จริงเฉลี่ยของดวงจันทร์ (sideral orbit) คือ 27.321661 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 11.5วินาที) และคาบโคจรเฉลี่ยแบบทรอปิคัล (tropical orbit) อยู่ที่ 27.321582 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 4.7 วินาที) (Explanatory Supplement to the Astronomical Ephemeris, 1961, at p.107).

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและดวงจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอังคาร

วอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ''ไวกิง'' โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและดาวอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์

วเคราะห์ (πλανήτης; planet หรือ "ผู้พเนจร") คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือ โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ในปี..

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ดิน

ั้นดินที่อยู่ใต้รากของพืช ดิน หมายถึง วัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการสลายตัวทางกายภาพ และทางเคมีของหินและแร่ รวมกับสารอินทรีย์ ที่เกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์เป็นผิวชั้นบนที่หุ้มห่อโลก ซึ่งดินจะมีลักษณะและคุณสมบัติต่างกันไปในที่ต่างๆ ตามสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วัตถุต้นกำเนิด สิ่งมีชีวิตและระยะเวลาการสร้างตัวของดิน.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและดิน · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นสึนามิ

แสดงคลื่นสึนามิพัดขึ้นฝั่ง คลื่นสึนามิ เป็นกลุ่มคลื่นน้ำที่เกิดขึ้นจากการย้ายที่ของปริมาตรน้ำก้อนใหญ่ คือ มหาสมุทรหรือทะเลสาบขนาดใหญ่ แผ่นดินไหว การปะทุของภูเขาไฟและการระเบิดใต้น้ำอื่นๆ (รวมทั้งการจุดวัตถุระเบิดหรือวัตถุระเบิดนิวเคลียร์ใต้น้ำ) ดินถล่ม ธารน้ำแข็งไถล อุกกาบาตตกและการรบกวนอื่น ไม่ว่าเหนือหรือใต้น้ำ ล้วนอาจก่อให้เกิดเป็นคลื่นสึนามิได้ทั้งสิ้น คลื่นสึนามิไม่เหมือนกับคลื่นทะเล(tidal wave)ตามปกติ เพราะมีความยาวคลื่นยาวกว่ามาก แทนที่จะเป็นคลื่นหัวแตก (breaking wave) ตามปกติ คลื่นสึนามิเริ่มแรกอาจดูเหมือนกับว่าคลื่นน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และด้วยเหตุนี้ คลื่นสึนามิจึงมักเรียกว่าเป็นคลื่นยักษ์ โดยทั่วไป คลื่นสึนามิประกอบด้วยกลุ่มคลื่นซึ่งมีคาบเป็นนาทีหรืออาจมากถึงชั่วโมง มากันเรียกว่าเป็น "คลื่นขบวน" (wave train) ความสูงของคลื่นหลายสิบเมตรนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์ขนาดใหญ่ แม้ผลกระทบของคลื่นสึนามินั้นจะจำกัดอยู่แค่พื้นที่ชายฝั่ง แต่อำนาจทำลายล้างของมันสามารถมีได้ใหญ่หลวงและสามารถมีผลกระทบต่อทั้งแอ่งมหาสมุทร คลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยมีผู้เสียชีวิตกว่า 230,000 คน ใน 14 ประเทศที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ธูซิดดิดีส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก เสนอเมื่อ 426 ปีก่อนคริสตกาล ว่า คลื่นสึนามิเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวใต้ทะเลThucydides: แต่ความเข้าใจในธรรมชาติของคลื่นสึนามิยังมีเพียงเล็กน้อยกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 และยังมีอีกมากที่ยังไม่ทราบในปัจจุบัน ขณะที่แผ่นดินไหวที่รุนแรงน้อยกว่ามากกลับก่อให้เกิดคลื่น พยายามพยากรณ์เส้นทางของคลื่นสึนามิข้ามมหาสมุทรอย่างแม่นยำ และยังพยากรณ์ว่าคลื่นสึนามิจะมีปฏิสัมพันธ์กับชายฝั่งแห่งหนึ่ง ๆ อย่างไร.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและคลื่นสึนามิ · ดูเพิ่มเติม »

คณิตศาสตร์

ยูคลิด (กำลังถือคาลิเปอร์) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ในสมัย 300 ปีก่อนคริสตกาล ภาพวาดของราฟาเอลในชื่อ ''โรงเรียนแห่งเอเธนส์''No likeness or description of Euclid's physical appearance made during his lifetime survived antiquity. Therefore, Euclid's depiction in works of art depends on the artist's imagination (see ''Euclid''). คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้าง, การเปลี่ยนแปลง และปริภูมิ กล่าวคร่าว ๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ "รูปร่างและจำนวน" เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์ ในอดีตผู้คนจะใช้สิ่งของแทนจำนวนที่จะนับยิ่งนานเข้าจำนวนประชากรยิ่งมีมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มคิดที่จะประดิษฐ์ตัวเลขขึ้นมาแทนการนับที่ใช้สิ่งของนับแทนจากนั้นก็มีการบวก ลบคูณ และหาร จากนั้นก็ก่อให้เกิดคณิตศาสตร์ คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน

ม้กลายเป็นหิน (petrified wood) คือซากดึกดำบรรพ์ของพืชประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นจากท่อนไม้ถูกฝังกลบอยู่ใต้ผิวดินในสภาพที่ขาดออกซิเจนทำให้เนื้อไม้ไม่เน่าเปื่อย และถูกฝังแช่อยู่ในสารละลายซิลิก้าที่มีความเข้มข้นสูงเพียงพอ ในสภาพแวดล้อมที่ท่อนไม้และสารละลายซิลิกาได้สัมผัสกับออกซิเจนเป็นบางช่วงเวลาทำให้สารละลายซิลิกาตกตะกอนในรูปของซิลิกาเจล สะสมตัวแทนที่โมเลกุลของเนื้อไม้ (replacement) จนทำให้ท่อนไม้ที่เป็นเนื้อสารอินทรีย์เปลี่ยนไปเป็นเนื้อหินซิลิกาแต่ยังคงรักษาโครงสร้างเนื้อไม้ดั้งเดิมเอาไว้ ด้วยระยะเวลานับเป็นหมื่นเป็นแสนปีหรือมากกว่านี้ ไม้กลายเป็นหินจะค่อย ๆ สูญเสียน้ำทีละน้อยและค่อย ๆ พัฒนาเป็นโอปอลที่มีสีสันสวยงามได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมลทินซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ปะปนอยู่ในเนื้อของซิลิกาออกไซด์ ซึ่งแร่ธาตุต่าง ๆ ให้สีสันต่าง ๆ กันไป เช่น.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปิโตรเลียม

แหล่งน้ำมันสำรองทั่วโลกที่พิสูจน์แล้วใน ค.ศ. 2009 บ่อปิโตรเลียมแห่งหนึ่งในเท็กซัส ปิโตรเลียม (petroleum, petra (หิน) + oleum (น้ำมัน) รวมหมายถึง "น้ำมันที่ได้จากหิน") หรือ น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต (มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียม หลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์ นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 อะตอม.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและปิโตรเลียม · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ

น้ำในสองสถานะ: ของเหลว (รวมทั้งก้อนเมฆซึ่งเป็นตัวอย่างของละอองลอย) และของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำเป็นสิ่งที่โปร่งใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และเกือบจะไม่มีสี ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักของลำธาร, แม่น้ำ, และมหาสมุทรในโลก เป็นต้น และยังเป็นของเหลวในสิ่งมีชีวิต มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิมะ, ธารน้ำแข็ง, และภูเขาน้ำแข็ง, ก้อนเมฆ, หมอก, น้ำค้าง, ชั้นหินอุ้มน้ำ และ ความชื้นในบรรยากาศ น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน น้ำดื่มสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี..

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำมัน

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ น้ำมัน (Oil) เป็นคำสามัญที่ใช้เรียกสารอินทรีย์ของเหลวที่ผสมเข้ากันไม่ได้ (immiscible) กับน้ำ เนื่องจากน้ำมันเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว คำว่า น้ำมัน ในภาษาอังกฤษ (Oil) มาจากภาษาละติน oleum ซึ่งหมายถึงน้ำมันมะกอก บ่อยครั้งที่คำว่า น้ำมัน ใช้หมายถึง น้ำมันปิโตรเลียม (น้ำมันดิบ) ซึ่งน้ำมันชนิดนี้จะถูกสูบขึ้นมาจากพื้นดิน ปัจจุบันน้ำมันปิโตรเลียมเป็นแหล่งพลังงานหลักและเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจโลก.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและน้ำมัน · ดูเพิ่มเติม »

น้ำท่วม

วัดไชยวัฒนารามที่ถูกน้ำท่วมในอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 น้ำท่วม เป็นการไหลล้นของห้วงน้ำซึ่งทำให้แผ่นดินจมอยู่ใต้น้ำ คำว่า "น้ำเอ่อล้น" (flowing water) ยังอาจใช้กับการไหลเข้าของกระแสน้ำ น้ำท่วมอาจเป็นผลของปริมาตรน้ำภายในแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำหรือทะเลสาบ ซึ่งไหลล้นหรือทลายคันดิน เป็นผลให้น้ำบางส่วนออกจากขอบเขตตามปกติของมัน ขณะที่ขนาดของทะเลสาบหรือแหล่งน้ำอื่นมีความแตกต่างกันตามการเปลี่ยนแปลงหยาดน้ำฟ้าและการละลายของหิมะตามฤดูกาล แต่น้ำนั้นมิใช่อุทกภัยที่สำคัญเว้นแต่น้ำนั้นออกมาคุกคามพื้นที่ดินที่มนุษย์ใช้ เช่น หมู่บ้าน นครหรือพื้นที่อยู่อาศัยอื่น น้ำท่วมยังสามารถเกิดในแม่น้ำได้ เมื่อการไหลนั้นเกินความจุของฝั่งน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หัวเลี้ยว (bend) หรือทางน้ำโค้งตวัด (meander) อุทกภัยมักทำความเสียหายแก่บ้านและธุรกิจหากตั้งอยู่ในที่ราบน้ำท่วมถึงตามธรรมชาติ ขณะที่ความเสียหายอันเกิดจากอุทกภัยนั้นแท้จริงแล้วหมดไปได้โดยการย้ายออกจากแม่น้ำหรือแหล่งน้ำอื่น หากตั้งแต่สมัยโบราณ ผู้คนได้อาศัยและทำงานอยู่ริมน้ำเพื่อการยังชีพและได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวและการพาณิชย์ที่ถูกและง่ายโดยอาศัยอยู่ใกล้น้ำ การที่มนุษย์ยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมนั้นเป็นหลักฐานว่า มูลค่าที่สัมผัสได้ของการอาศัยอยู่ใกล้น้ำมีมากเกินมูลค่าของน้ำท่วมที่เกิดซ้ำเป็นเวล.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและน้ำท่วม · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำ

แม่น้ำตาปี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำ (river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) หรือชะวากทะเล (Estuary).

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แร่

ผลึกแร่ชนิดต่าง ๆ แร่ (Mineral) เป็นธาตุหรือสารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ด้วยกระบวนการทางอนินทรีย์ ส่วนใหญ่เป็นของแข็ง มีโครงสร้างภายในที่เป็นระเบียบ มีสูตรเคมีและสมบัติอื่น ๆ ที่แน่นอนคงที่หรืออาจเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกั.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและแร่ · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหว

แผนที่โลกแสดงจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวระหว่างปี พ.ศ. 2506–2541 ทั้งสิ้น 358,214 จุด แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์สั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปจะไม่รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา เรียกว่า วิทยาแผ่นดินไหว เมื่อจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่อยู่นอกชายฝั่ง อาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ นอกจากนี้ แผ่นดินไหวยังอาจก่อให้เกิดดินถล่ม และบางครั้งกิจกรรมภูเขาไฟตามมาได้ แผ่นดินไหววัดโดยใช้การสังเกตจากไซสโมมิเตอร์ (seismometer) มาตราขนาดโมเมนต์เป็นมาตราที่ใช้มากที่สุดซึ่งทั่วโลกรายงานแผ่นดินไหวที่มีขนาดมากกว่าประมาณ 5 สำหรับแผ่นดินไหวอีกจำนวนมากที่ขนาดเล็กกว่า 5 แมกนิจูด สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวแต่ละประเทศจะวัดด้วยมาตราขนาดท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ หรือเรียก มาตราริกเตอร์ สองมาตรานี้มีพิสัยความถูกต้องคล้ายกันในเชิงตัวเลข แผ่นดินไหวขนาด 3 หรือต่ำกว่าส่วนใหญ่แทบไม่รู้สึกหรือรู้สึกได้เบามาก ขณะที่แผ่นดินไหวตั้งแต่ขนาด 7 อาจก่อความเสียหายรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง ขึ้นอยู่กับความลึก แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มีขนาดมากกว่า 9 เล็กน้อย แม้จะไม่มีขีดจำกัดว่าขนาดจะมีได้ถึงเท่าใด แผ่นดินไหวใหญ่ล่าสุดที่มีขนาด 9.0 หรือมากกว่า คือ แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2554 และเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกในญี่ปุ่น ความรุนแรงของการสั่นสะเทือนวัดโดยมาตราเมร์กัลลีที่ถูกดัดแปลง หากตัวแปรอื่นคงที่ แผ่นดินไหวที่อยู่ตื้นกว่าจะสร้างความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างมากกว่าแผ่นดินไหวที่อยู่ลึกกว.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและแผ่นดินไหว · ดูเพิ่มเติม »

แถบ นีละนิธิ

ตราจารย์อุปการคุณ แถบ นีละนิธิ (1 กรกฎาคม 2450 - 10 สิงหาคม 2523) อดีตราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน, อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และอดีตคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและแถบ นีละนิธิ · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและโลก · ดูเพิ่มเติม »

โลหะ

ลหะ คือ วัสดุที่ประกอบด้วยธาตุโลหะที่มีอิเล็กตรอนอิสระอยู่มากมาย นั่นคืออิเล็กตรอนเหล่านี้ไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้มีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ เช่น.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและโลหะ · ดูเพิ่มเติม »

โคลนถล่ม

ลนถล่มพัดสะพานและถนนขาด ใน อ.ท่าปลา อุตรดิตถ์ โคลนถล่ม เป็นภัยธรรมชาติ คือ คำเรียกรวมๆของการเคลื่อนที่ของมวลสาร (Mass movement หรือ mass-wasting) ซึ่งคือ กระบวนการเคลื่อนตัวของมวลหิน ดินและทรายลงมาตามความลาดชันภายใต้แรงดึงดูดของโลกเป็นหลัก โดยอาจอาศัยตัวกลางระหว่างการพัดพา ยกตัวอย่างเช่น น้ำ, ลมและธารน้ำแข็ง ซึ่งตัวกลางเหล่านี้เป็นตัวช่วยเสริมการย้ายมวล ดังนั้นหากตะกอนอิ่มตัวด้วยน้ำ แรงเสียดทานระหว่างเม็ดตะกอนจะลดลง การย้ายมวลจึงเกิดได้ดีขึ้น หลายคนเข้าใจว่า การย้ายมวลเกิดเฉพาะบนแผ่นดิน (Continents) เท่านั้น แต่จากการศึกษาทางธรณีฟิสิกส์และการลำดับชั้นหินตะกอนพบว่า บริเวณไหล่ทวีป ของมหาสมุทรหลายแห่ง มีการเคลื่อนตัวของตะกอนเช่นเดียวกับบนแผ่นดิน และจัดเป็นการเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วลงมาตามความลาดชัน เรียกว่า กระแสน้ำขุ่นข้น (turbidity current).

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและโคลนถล่ม · ดูเพิ่มเติม »

ไดโนเสาร์

นเสาร์ (dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน) หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เชื้อเพลิง

ม้ เชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง เชื้อเพลิง คือวัสดุใดๆ ที่นำไปเผาไหม้หรือแปรเปลี่ยนเพื่อนำมาซึ่งพลังงาน เชื้อเพลิงจะปลดปล่อยพลังงานผ่านปฏิกิริยาทางเคมีเช่นการเผาไหม้ หรือปฏิกิริยานิวเคลียร์เช่นการแตกตัวหรือการรวมตัวของนิวเคลียส อย่างใดอย่างหนึ่ง คุณสมบัติสำคัญของเชื้อเพลิงที่มีประโยชน์คือพลังงานที่มีอยู่สามารถถูกบรรจุและปลดปล่อยได้ตามต้องการ และการปลดปล่อยนั้นถูกควบคุมในทางใดทางหนึ่งเพื่อให้สามารถใช้สร้างงานทางวิศวกรรมได้ สิ่งมีชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นพื้นฐาน (carbon-based life) ทุกชนิด คือตั้งแต่จุลชีพไปจนถึงสัตว์รวมทั้งมนุษย์ ใช้เชื้อเพลิงเป็นแหล่งพลังงาน เซลล์ต่างๆ จะต้องเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า เมแทบอลิซึม (metabolism) ซึ่งดึงเอาพลังงานออกมาจากอาหารหรือแสงอาทิตย์ในรูปแบบที่สามารถใช้ในการดำรงชีวิต นอกจากนั้นมนุษย์ใช้เทคนิคที่หลากหลายเพื่อแปรเปลี่ยนพลังงานรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการสร้างพลังงานก็เพื่อจุดประสงค์ที่มากไปกว่าพลังงานในร่างกายมนุษย์ การใช้พลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกจากเชื้อเพลิงมีตั้งแต่ การทำความร้อนเพื่อการปรุงอาหาร การผลิตไฟฟ้า หรือแม้แต่การเพิ่มแสนยานุภาพของอาว.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและเชื้อเพลิง · ดูเพิ่มเติม »

เหล็ก

หล็ก (Iron ออกเสียงว่า ไอเอิร์น /ˈaɪ.ərn/) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ มีสัญลักษณ์ธาตุ Fe และหมายเลขอะตอม 26 เหล็กเป็นธาตุโลหะทรานซิชันหมู่ 8 และคาบ 4 สัญลักษณ์ Fe ย่อมาจาก ferrum ในภาษาละติน.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

เหล็กไหล

หล็กไหล เป็นธาตุศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนื่งในความเชื่อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ในมาเลเซียมีชื่อเรียกว่า บือซีรีเละ) มีมากมายหลายชนิดแต่ที่เชื่อกันแพร่หลายที่สุดนั้นจะฝังตัวอยู่ในถ้ำมีลักษณะสีดำคล้ายนิล ลนไฟให้ยืดได้ เชื่อกันว่าในการไปเอาเหล็กไหลนั้นจะต้องใช้น้ำผึ้งชโลมก้อนเหล็กไหลแล้วใช้ไฟลนเหล็กไหลถึงจะยืดออกมากินน้ำผึ้งไปพร้อมกับเล่นไฟด้วย แล้วก็ลนไฟไปกระทั่งทั้งเหล็กไหลยืดออกมาเรื่อยๆจนกระทั่งบางเท่าเส้นด้ายถึงจะตัดขาด (ทั้งนี้ในการไปตัดเหล็กไหลนั้นกล่าวกันว่าคนธรรมดานั้นไม่สามารถตัดเหล็กไหลเองได้เนื่องจากมีเทพเจ้า เจ้าป่า เจ้าเขา พญานาคหรือยักษ์รักษาอยู่และพร้อมจะเข้าทำร้ายผู้เข้าไปเอาได้ถ้าผู้นั้นไม่ใช่คนดีมีบุญหรือมีวิชาอาคมแกร่งกล้าพอ และตัวเหล็กไหลนั้นก็มีฤทธิ์ขัดขืนคนที่เข้าไปเอาได้ด้วยเช่นกล่าวว่าเคยมีคนเข้าไปตัดเหล็กไหลแล้วเอามือไปจับเหล็กไหลแล้วมีอาการคล้ายถูกฟ้าผ่าหรือถูกไฟฟ้าแรงสูงดูดเป็นต้น) เหล็กไหลที่ได้นี้กล่าวกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มากมักฝังไว้ตามตัวผู้ที่ครอบครองกล่าวกันว่าจะไม่มีอะไรที่ทำร้ายผู้ที่ครอบครองตัวเหล็กไหลได้ทั้งมีด ปืน หรือแม้กระทั่งระเบิด ดินปืนทุกชนิดไม่สามารถจุดติดได้ในอาณาเขตที่มีเหล็กไหลอยู่ ในความเชื่อนี้กล่าวอีกว่าเหล็กไหลยังแบ่งเป็นสามระดับหรือสามชนิด คือ.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและเหล็กไหล · ดูเพิ่มเติม »

เคมี

มี (chemistry) เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาในเรื่องของสสาร โดยไม่เพียงแต่ศึกษาเฉพาะในเรื่องของปฏิกิริยาเคมี แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบ โครงสร้างและคุณสมบัติของสสารอีกด้วย การศึกษาทางด้านเคมีเน้นไปที่อะตอมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมกับอะตอม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติของพันธะเคมี บางครั้ง เคมีถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ศูนย์กลาง เพราะเป็นวิชาช่วยที่เชื่อมโยงฟิสิกส์เข้ากับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสาขาอื่น เช่น ธรณีวิทยาหรือชีววิทยา ถึงแม้ว่าเคมีจะถือเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์กายภาพแต่ก็มีความแตกต่างจากวิชาฟิสิกส์ค่อนข้างมาก มีการถกเถียงกันอย่างมากมายถึงต้นกำเนิดของเคมี สันนิษฐานว่าเคมีน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากการเล่นแร่แปรธาตุซึ่งเป็นที่นิยมกันมาอย่างยาวนานหลายสหัสวรรษในหลายส่วนของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลาง.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและเคมี · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกโลก

ภาพหน้าตัดของโลกทั้งหมด เปลือกโลก (Crust) เป็นเปลือกแข็งชั้นนอกสุดของโครงสร้างโลก มีทั้งที่เป็นแผ่นดิน และมหาสมุทร มีความหนาประมาณ 5 - 40 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เปลือกโลกภาคพื้นทวีป (Continental Crust) เป็นหินแกรนิต มักมีความหนามาก มีความหนาแน่นต่ำ ประกอบด้วยแร่ อะลูมินา และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีชื่อเรียกว่า ชนิดไซอัล (SIAL) และเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร (Oceanic Crust) เป็นหินบะซอลต์ มักจะมีความหนาน้อยกว่าเปลือกโลกภาคพื้นทวีป มีความหนาแน่นมากกว่า เนื่องจากประกอบด้วยแร่ แมกนีเซียม และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชั้นไซมา (SIMA) แผ่นของเปลือกโลก (Crust of the Earth) ประกอบไปด้วยความหลากหลายของหินอัคนี หินแปร หินตะกอน รองรับด้วยชั้นเนื้อโลก Mantle ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหิน peridotite หินที่มีความหนาแน่น และมีอยู่มากในเปลือกโลก รอยต่อระหว่างชั้นเปลือกโลก และชั้นเนื้อโลก หรือในทางธรณีวิทยาเรียกว่า ความไม่ต่อเนื่องของโมโฮโลวิคซิค (Mohorovicic’s discontinuity) คือเขตแดนที่ใช้เปรียบเทียบพฤติกรรมของคลื่นไหวสะเทือน หมวดหมู่:ธรณีวิทยา หมวดหมู่:เปลือกโลก.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและเปลือกโลก · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อโลก

หน้าตัดของโลกทั้งหมด เนื้อโลก (mantle) เป็นชั้นโครงสร้างของโลกที่อยู่ระหว่างเปลือกโลกกับแก่นโลก นอกจากนี้เรายังสามารถพบชั้นหินในลักษณะเดียวกับชั้นเนื้อโลกหรือแมนเทิลนี้ได้ในดาวเคราะห์หินทั่วไป สำหรับชั้นแมนเทิลของดาวเคราะห์โลกนี้มีความหนาประมาณ 2,885 กิโลเมตร ซึ่งนับเป็นองค์ประกอบร้อยละ 84 ของปริมาตรทั้งหมดของโลก ส่วนประกอบหลักของชั้นเนื้อโลกส่วนใหญ่เป็นแมกนีเซียมและเหล็ก เกือบทั้งหมดมีสถานะเป็นของแข็ง ยกเว้นที่ความลึกประมาณ 70-260 กิโลเมตรหรือที่เรียกว่าฐานธรณีภาค (asthenosphere) ในชั้นนี้มีการหลอมละลายของหินเป็นบางส่วน.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและเนื้อโลก · ดูเพิ่มเติม »

1 มกราคม

วันที่ 1 มกราคม เป็นวันแรกของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 364 วันในปีนั้น (365 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและ1 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

14 กรกฎาคม

วันที่ 14 กรกฎาคม เป็นวันที่ 195 ของปี (วันที่ 196 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 170 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและ14 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

3 ตุลาคม

วันที่ 3 ตุลาคม เป็นวันที่ 276 ของปี (วันที่ 277 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 89 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาและ3 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Geologyธรณีศาสตร์ปฐพีศาสตร์นักธรณีวิทยา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »