โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทาสใกล้ตาย

ดัชนี ทาสใกล้ตาย

ทาสใกล้ตาย (Dying Slave) เป็นประติมากรรมที่สร้างโดยไมเคิล แอนเจโลประติมากรคนสำคัญชาวอิตาลีของสมัยเรอเนสซองซ์ ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีสในประเทศฝรั่งเศส ประติมากรรม “ทาสใกล้ตาย” สลักโดยไมเคิล แอนเจโล ราวระหว่างปี ค.ศ. 1513 ถึงปี ค.ศ. 1516 เป็นประติมากรรมคู่กับประติมากรรม “ทาสหัวรั้น” (Rebellious Slave) ที่สร้างขึ้นประดับอนุสรณ์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 งานชิ้นนี้สลักจากหินอ่อน มีความสูง 2.28 เมตร ข้อมือซ้ายมัดได้กับด้านหลังของคอ และรอบอกมีแถบคาด นอกจากนั้นก็มีลิงที่แกะไว้บางส่วนเกาะอยู่ที่หน้าแข้งซ้าย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเกี่ยวพันกับโลก งานชิ้นนี้ได้รับอิทธิพลมาจาก งานประติมากรรมของประติมากรจากเกาะโรดส์ชื่อ “เลอาโคอันและบุตร” ในปี..

12 ความสัมพันธ์: ชาวอิตาลีพ.ศ. 2056พ.ศ. 2059พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์มีเกลันเจโลสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีสมเด็จพระสันตะปาปาจูลิอุสที่ 2ประติมากรรมประเทศฝรั่งเศสปารีสเลออโคออนและบุตร

ชาวอิตาลี

วอิตาลี (italiani, Italians) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ที่มีวัฒนธรรม และ การสืบเชื้อสายร่วมกัน และพูดภาษาอิตาลีเป็นภาษาแม่ ภายในอิตาลีการเป็นชาวอิตาลีคือการถือสัญชาติอิตาลีไม่ว่าจะสืบเชื้อสายมาจากผู้ใดหรือมาจากประเทศใด ซึ่งแตกต่างจากผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวอิตาลี และทางประวัติศาสตร์จากผู้มีเชื้อสายอิตาลีที่ไม่ได้อยู่ในดินแดนที่เป็นของอิตาลีบนคาบสมุทรอิตาลี เพราะการอพยพหลายครั้งออกจากอิตาลีที่เป็นชนพลัดถิ่น มีชาวอิตาลีสัญชาติอิตาลีที่อาศัยอยู่นอกอิตาลี 4 ล้านคน และมีมากกว่า 70 ล้านคนที่มีเชื้อสายเต็มหรือบางส่วน โดยมากแล้วอาศัยอยู่ในอเมริกาใต้ อเมริกาเหนือ และส่วนอื่นของยุโรป.

ใหม่!!: ทาสใกล้ตายและชาวอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2056

ทธศักราช 2056 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ทาสใกล้ตายและพ.ศ. 2056 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2059

ทธศักราช 2059 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ทาสใกล้ตายและพ.ศ. 2059 · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

ัณฑ์ลูฟวร์ (Musée du Louvre) หรือในชื่อทางการว่า the Grand Louvre เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้เมื่อปี พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์กาเปเซียง ตัวอาคารเดิมเคยเป็นพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกเป็นจำนวนมากกว่า 35,000 ชิ้น จากตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงศตวรรษที่ 19 อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St.

ใหม่!!: ทาสใกล้ตายและพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ · ดูเพิ่มเติม »

มีเกลันเจโล

มีเกลันเจโล หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ ไมเคิลแองเจโล มีชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บูโอนาร์โรตี ซีโมนี (Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564) เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดัง ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) มีเกลันเจโลเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1475 ที่หมู่บ้านคาปรีส (ปัจจุบันอยู่ในทัสกานี, อิตาลี) เขาเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ หลังจากที่ไปอยู่ที่กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโลสร้างประติมากรรมรูปสลัก เดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมัน ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโล เดิมทีเป็นคนที่เกลียดเลโอนาร์โด ดา วินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก ในช่วงนี้ (ค.ศ. 1497 - ค.ศ. 1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี ค.ศ. 1545 ต่อมาในปี ค.ศ. 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะภาพ คำพิพากษาครั้งสุดท้าย (The Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี เสียชีวิตที่กรุงโรม เมื่อปี ค.ศ. 1564 รวมอายุได้ 88 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจากสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของมิเกลันเจโลให้ยืนยาวออกไปอีก".

ใหม่!!: ทาสใกล้ตายและมีเกลันเจโล · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: ทาสใกล้ตายและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

มัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (ภาษาอังกฤษ: Italian Renaissance) เป็นจุดแรกของการเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาซึ่งเป็นช่วงเวลาของความเจริญทางวัฒนธรรมที่สูงสุดในยุโรปที่เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ไปจนสิ้นสุดลงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เป็นช่วงเวลาที่เชื่อมระหว่างยุคกลางของยุโรปกับยุโรปสมัยใหม่ตอนต้น (Early Modern Europe) คำว่า “เรอเนสซองซ์” เป็นคำสมัยใหม่ที่มาใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในงานของนักประวัติศาสตร์เช่นเจคอป เบิร์คฮาร์ดท์ (Jacob Burckhardt) ที่มาของขบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเริ่มจากการวิวัฒนาการทางวรรณกรรมของผู้ก่อตั้งในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 แต่ วัฒนธรรมด้านอื่นๆของอิตาลีในขณะนั้นยังคงเป็นวัฒนธรรมของยุคกลาง ปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยามิได้แพร่หลายอย่างเต็มที่จนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 คำว่า “เรอเนสซองซ์” หรือ “Rinascimento” ในภาษาอิตาลีหมายความว่า “เกิดใหม่” และเป็นสมัยที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในการฟื้นฟูความสนใจในวัฒนธรรมของกรีกโรมันหลังจากสมัยที่นักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์ (Renaissance humanist) ตั้งชื่อว่ายุคมืด (Dark Ages) ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแต่จำกัดอยู่แต่ในกลุ่มชนชั้นสูงและทิ้งให้ประชากรส่วนใหญ่ในยุโรปยังมีความเป็นอยู่ที่ไม่ต่างจากสมัยกลางที่ผ่านมา สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเริ่มในทัสเคนีโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ฟลอเรนซ์และเซียนา และต่อมาในเวนิสที่มีผลเป็นอันมาก เพราะงานต่างๆ ของกรีกโบราณถูกนำไปรวบรวมไว้ที่เวนิสซึ่งทำให้กลายเป็นแหล่งความรู้ต่างๆ ที่ใหม่ๆ ให้แก่นักมนุษยนิยม ผู้คงแก่เรียนในเวนิสในขณะนั้น ต่อมาปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยาก็มามีอิทธิพลในกรุงโรม ที่ทำให้เกิดการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ มากมายที่ส่วนใหญ่โดยการอุปถัมภ์ของพระสันตปาปาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีรุ่งเรืองที่สุดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 หลังจากนั้นก็ลดถอยลงหลังจากการรุกรานจากต่างประเทศที่ก่อสงครามในอิตาลี แต่การฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีก็มิได้หยุดนิ่งลงแต่เผยแพร่ไปทั่วยุโรปและเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนเหนือของยุโรปและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอังกฤษและประเทศอื่นๆ ในยุโรป สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในความสำเร็จทางด้านวัฒนธรรม วรรณกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีรวมนักมนุษยนิยมผู้มีชื่อเสียงเช่นเปตรากที่รู้จักกันดีในงานซอนเน็ต “Il Canzoniere”; จิโอวานนิ บอคคาซิโอ (Giovanni Boccaccio) ในงานเรื่องเล่า “Decameron” และนักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์เช่นโปลิซิอาโน (Poliziano), มาร์ซิลิโอ ฟิซิโน (Marsilio Ficino), โลเร็นโซ วาลลา (Lorenzo Valla), อัลโด มานูซิโอ (Aldo Manuzio), โพจจิโอ บราชชิโอลินิ (Poggio Bracciolini) นอกจากนั้นก็มีนักประพันธ์มหากาพย์เรอเนสซองซ์เช่นบัลดัสซาเร คาสติกลิโอเน (Baldassare Castiglione) (“The Book of the Courtier”), ลุโดวิโค อริโอสโต (Ludovico Ariosto) (“Orlando Furioso”) และทอร์ควาโท ทาสโซ (Torquato Tasso) (“Jerusalem Delivered”) และนักประพันธ์ร้อยแก้วเช่นนิคโคโล มาเคียเวลลี (“The Prince”) จิตรกรรมเรอเนสซองซ์อิตาลีเป็นจิตรกรรมที่มีอิทธิพลต่อจิตรกรรมตะวันตกต่อมาอีกหลายร้อยปี โดยมีจิตรกรเช่นไมเคิล แอนเจโล, ราฟาเอล, ซานโดร บอตติเชลลี, ทิเชียน และเลโอนาร์โด ดา วินชี และเช่นเดียวกันกับสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยมีสถาปนิกเช่นอันเดรอา ปัลลาดีโอ และงานเช่นมหาวิหารฟลอเรนซ์ และมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม ในขณะเดียวกันนักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันเห็นว่าเป็นสมัยของความหดตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมามีความก้าวหน้ามากกว่าในวัฒนธรรมของโปรเตสแตนต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: ทาสใกล้ตายและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาจูลิอุสที่ 2

มเด็จพระสันตะปาปาจูลิอุสที่ 2 (ละติน: Julius II) พระสันตะปาปาจูลิอุสที่ 2 มีพระฉายานามว่า “พระสันตะปาปาผู้เหี้ยมโหด” (Il Papa Terribile) พระนามเมื่อเกิดคือจูเลียโน จูลิอาโน เดลลา โรเวเร ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาระหว่างปี ค.ศ. 1503 ถึง ค.ศ. 1513 สมัยของพระองค์เป็นสมัยที่รู้จักกันว่าเป็นสมัยที่มีนโยบายต่างประเทศที่รุนแรง, สมัยของการก่อสร้าง และสมัยของการอุปถัมภ์ศิลป.

ใหม่!!: ทาสใกล้ตายและสมเด็จพระสันตะปาปาจูลิอุสที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ประติมากรรม

ผลงานประติมากรรมนูนต่ำ(ภาพแกะสลัก)ที่ปราสาทนครวัด โรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ผลงานประติมากรรมลอยตัว ของโรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ประติมากรรม (Sculpture) เป็นงานศิลปะแสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติมากรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร.

ใหม่!!: ทาสใกล้ตายและประติมากรรม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: ทาสใกล้ตายและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ทาสใกล้ตายและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

เลออโคออนและบุตร

ลออโคออนและบุตร (Laocoön and His Sons) หรือ กลุ่มเลออโคออน (Laocoön Group) เป็นประติมากรรมหินอ่อนขนาดใหญ่ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วาติกันในนครรัฐวาติกันในประเทศอิตาลี นักประพันธ์และนักปรัชญาพลินิผู้อาวุโสกล่าวว่าเป็นงานที่อาจจะสร้างโดยประติมากรสามคนจากเกาะโรดส์: อเจซานเดอร์แห่งโรดส์ (Agesander of Rhodes), เอธีโนโดรอส (Athenodoros) หรือโพลิโดรัส (Polydorus) ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นภาพของนักบวชโทรจันเลออโคออนและบุตรอันทิฟานทีส (Antiphantes) และ ไทม์บราเอียส (Thymbraeus) ถูกกำลังถูกรัดโดยงูทะเล.

ใหม่!!: ทาสใกล้ตายและเลออโคออนและบุตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Dying Slave

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »