โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทาร์ทารัส

ดัชนี ทาร์ทารัส

ในเทพปกรณัมคลาสสิก เบื้องล่างของยูเรนัส ไกอาและพอนตัส ทาร์ทารัส หรือ ทาร์ทารอส (กรีกโบราณ: Τάρταρος แปลว่า "สถานที่ลึก") เป็นหลุมลึกหรือห้วงอเวจีที่ลึกและมืดหม่นไม่มีที่สิ้นสุด ถูกใช้เป็นสถานที่คุกมืดสำหรับทรมานและทำให้ได้รับความเจ็บปวดแก่โครนอสซึ่งอยู่ใต้โลกบาดาลเป็นที่ที่ซุสใช้เคียวของโครนอสสับโครนอสผู้เป็นบิดาเป็นพันชิ้นแล้วโปรยลงไปในนรกทาร์ทารัสตามตำนานกรีก ในกอร์จิอัส ผลงานของเพลโต (ประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาล) ได้เขียนไว้ว่า เช่นเดียวกับสิ่งดั้งเดิมอื่น ๆ (เช่น โลกและเวลา) ทาร์ทารัสเองก็เป็นอำนาจหรือเทพที่มีมาแต่ดั้งเดิมด้วยเช่นกัน หมวดหมู่:เทพปกรณัมกรีก.

2 ความสัมพันธ์: ภาษากรีกโบราณเพลโต

ภาษากรีกโบราณ

ทเปิดเรื่องมหากาพย์ ''โอดิสซีย์'' ภาษากรีกโบราณ เป็นรูปแบบของภาษากรีกที่ใช้ในยุคกรีซโบราณ และกรีซยุคคลาสสิค ตลอดจนโลกยุคโบราณของอารยธรรมเมดิเตอเรเนียน ตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล จนถึง ศตวรรษที่ 6..

ใหม่!!: ทาร์ทารัสและภาษากรีกโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

เพลโต

"แนวคิดหลักทางปรัชญาของยุโรป ล้วนแต่เป็นเชิงอรรถของเพลโต" -- อัลเฟรด นอร์ท ไวท์เฮด, Process and Reality, ค.ศ. 1929 เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, Plato.) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์ เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้ ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราตีสเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราตีส และส่วนใดเป็นของเพลโต.

ใหม่!!: ทาร์ทารัสและเพลโต · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »