เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 vs. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร−บ้านฉาง เป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายแรกของประเทศไทย มีระยะทางยาว 125.865 กิโลเมตร ทางสายนี้เป็นโครงข่ายทางหลวงที่มีความสำคัญในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งกับพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดคับคั่งในถนนสุขุมวิท และถนนเทพรัตน และเป็นทางเชื่อมเข้าสู่ท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่ คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถนนสายนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 19 และทางหลวงเอเชียสาย 123 ปัจจุบันทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มีเส้นทางตั้งแต่กรุงเทพมหานครไปถึงแค่เพียงเมืองพัทยาเท่านั้น ซึ่งเส้นทางไปยังอำเภอบ้านฉางอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง นอกจากนี้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในปัจจุบัน ยังถูกกำหนดในเส้นทางอื่นอีก ได้แก่ ทางแยกไปบรรจบถนนเทพรัตน, ทางแยกเข้าชลบุรี, ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง และทางแยกเข้าพัทยา รวมถึงทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (บ้านอำเภอ) ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361 หรือ ถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดพิเศษ 12 ช่องจราจร แบ่งออกเป็นช่องทางหลัก (Main Road) 4 ช่องจราจร และช่องทางขนาน (Frontage Road) 2 ช่องจราจร แยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) และ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 ที่ทางแยกต่างระดับหนองไม้แดง ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344 หลังจากทางแยกต่างระดับแยกเข้าบางแสน ช่องจราจรเหลือ 4 ช่องจราจรไป-กลับ จนถึงทางแยกเข้าชลบุรี (มอเตอร์เวย์) ระยะทางรวม 13 กิโลเมตร เดิมทางเลี่ยงเมืองชลบุรี เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 (ชลบุรี-พัทยา) ที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า ถนนบายพาส ก่อสร้างขึ้นเพื่อแบ่งเบาภาระการจราจรบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ภายหลังจากที่มีการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์) จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขเส้นทาง โดยกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 และทำการก่อสร้างช่วงตั้งแต่ทางแยกต่างระดับชลบุรี ถึงทางแยกต่างระดับเลี่ยงเมืองบางแสนเป็น 12 ช่องจราจร ก่อนที่จะกำหนดให้เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361 ในเวลาต่อมา ส่วนช่วงทางแยกต่างระดับบางแสนจนถึงทางแยกต่างระดับคีรีนคร ก็ถูกกำหนดให้เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361 เช่นกัน และช่วงทางแยกต่างระดับคีรีนครจนถึงแยกพัทยากลาง ได้ถูกกำหนดให้เป็นทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 เนื่องจากเป็นเส้นทางของโครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงชลบุรี-พัท.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361 มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อำเภอเมืองชลบุรีจังหวัดชลบุรีถนนศุขประยูรถนนสุขุมวิทถนนเทพรัตนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36

อำเภอเมืองชลบุรี

อำเภอเมืองชลบุรี เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครองและการบริหารราชการของจังหวัดชลบุรี.

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7และอำเภอเมืองชลบุรี · ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361และอำเภอเมืองชลบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชลบุรี

ังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัดที่ติดกับอ่าวไทยจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งตั้งอยู่ นอกจากด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้วยังเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกอย่างมาก นอกจากนั้นยังเป็นทั้งในด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศ ในอดีตจังหวัดชลบุรีนั้นเคยเป็นแหล่งที่ตั้งของเมืองท่าที่มีความสำคัญมาก แม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่มีความสำคัญของประเทศรองจากท่าเรือกรุงเทพ นั่นก็คือท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม จังหวัดชลบุรีนั้นมีอาณาเขตติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดระยอง และจังหวัดจันทบุรี.

จังหวัดชลบุรีและทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 · จังหวัดชลบุรีและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนศุขประยูร

นนศุขประยูร หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315 สายฉะเชิงเทรา - ชลบุรี เป็นถนนแอสฟัลต์คอนกรีต เริ่มจากทางแยกคอมเพล็กซ์ (ทางแยกกองพลทหารราบที่ 11) อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เข้าเขตอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เลี้ยวขวาที่ทางแยกพนัสนิคม ไปทางทิศตะวันตก เข้าสู่พื้นที่อำเภอพานทองและอำเภอเมืองชลบุรี ผ่านทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี (สิ้นสุดทางหลวงแผ่นดินบริเวณนี้) และไปบรรจบถนนสุขุมวิทที่ทางแยกเฉลิมไทย ช่วงจากทางแยกคอมเพล็กซ์ถึงอำเภอพนัสนิคมมีขนาด 2 ช่องจราจร ระยะทาง 25 กิโลเมตร และช่วงจากอำเภอพนัสนิคมถึงปลายทางมีขนาด 4 ช่องจราจร ระยะทาง 22 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 47 กิโลเมตร ช่วงที่เป็นทางหลวงแผ่นดินอยู่ในความดูแลของแขวงการทางฉะเชิงเทราและแขวงการทางชลบุรี สำนักทางหลวงที่ 12 (ชลบุรี) ถนนศุขประยูรเดิมมีชื่อเรียกว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายฉะเชิงเทรา พนัสนิคม-ชลบุรี" - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม..

ถนนศุขประยูรและทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 · ถนนศุขประยูรและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสุขุมวิท

นนสุขุมวิท (Thanon Sukhumvit) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายบางนา–หาดเล็ก เป็นหนึ่งในทางหลวงแผ่นดินสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางไปตามชายทะเลภาคตะวันออก และสิ้นสุดที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ติดต่อกับชายแดนจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา รวมระยะทางยาวทั้งสิ้นประมาณ 488 กิโลเมตร.

ถนนสุขุมวิทและทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 · ถนนสุขุมวิทและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเทพรัตน

นนเทพรัตน (Thanon Debaratana) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 สายบางนา–หนองไม้แดง เป็นทางหลวงแผ่นดินแนวตะวันตก–ตะวันออก แยกออกมาจากถนนสุขุมวิท ในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร แล้วไปบรรจบถนนสุขุมวิทที่ทางแยกต่างระดับหนองไม้แดง ในท้องที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี.

ถนนเทพรัตนและทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 · ถนนเทพรัตนและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344 สายชลบุรี–แกลง เป็นถนนที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อย่นระยะทางจากจังหวัดชลบุรีไปสู่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด โดยไม่ผ่านตัวเมืองระยอง เป็นถนนผิวจราจรแอสฟัลต์คอนกรีต ขนาด 4 ช่องจราจรตลอดสาย เริ่มต้นจากถนนสุขุมวิท อำเภอเมืองชลบุรี ผ่านถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี ถนนกรุงเทพฯ-ชลบุรี ทางแยกบ้านบึงพัฒนา (แยกเอ็ม 16) อำเภอบ้านบึง ทางแยกหนองปรือ และอำเภอหนองใหญ่ เข้าเขตจังหวัดระยอง ผ่านอำเภอวังจันทร์ สิ้นสุดที่ถนนสุขุมวิทบริเวณทางแยกภิบาลพัฒนา (แยกแกลง) อำเภอแกลง จังหวัดระยอง รวมระยะทาง 102.181 กิโลเมตร ทางหลวงสายนี้เป็นส่วนต่อขยายจากทางหลวงสายชลบุรี–บ้านบึงที่มีอยู่เดิม สันนิษฐานว่าเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2521 อันเนื่องมาจากการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงสายบ้านบึง–แกลง ในสมัยรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งต่อมาในประกาศกระทรวงคมนาคม กำหนดให้ทางหลวงจังหวัดสายนี้เป็นทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วน ปัจจุบันทางหลวงเส้นนี้เป็นถนนสายหลักสายหนึ่งที่ใช้เพื่อขนส่งผลผลิตทางการเกษตรทางภาคตะวันออก เนื่องจากอยู่นอกเขตนิคมอุตสาหกรรม.

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344 · ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 สายกะทิงลาย–ปลวกเกตุ หรือที่เรียกกันทั่วไป ถนนบายพาสพัทยา–ระยอง เป็นถนนแอสฟัลต์คอนกรีตขนาด 4 ช่องจราจรไป-กลับ ถนนสายนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 123.

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 · ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361 · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มี 61 ความสัมพันธ์ขณะที่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361 มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 10.00% = 7 / (61 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361 หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: