โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทอร์

ดัชนี ทอร์

ทอร์ ในเทพปกรณัมนอร์ส ธอร์ (Thor, จากภาษานอร์สโบราณ Þórr) เป็นเทพถือค้อนซึ่งเกี่ยวข้องกับสายฟ้า ฟ้าร้อง พายุ ต้นโอ๊ก พละกำลัง การคุ้มครองมนุษยชาติ และตลอดจนการทำให้ศักดิ์สิทธิ์ การรักษาและความอุดมสมบูรณ์ เทพที่มาจากกำเนิดเดียวกันในเทพปกรณัมเยอรมันและเพเกินที่กว้างกว่า เป็นที่รูจักกันในภาษาอังกฤษเก่าว่า Þunor และภาษาเยอรมันโบราณเขตเหนือว่า Donar (อักษรรูน þonar ᚦᛟᚾᚨᚱ) ซึ่งกำเนิดจากภาษาโปรโตเยอรมัน *Þunraz (หมายถึง "สายฟ้า") ธอร์เป็นเทพที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างสำคัญตลอดประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกของชาวเยอรมัน จากการยึดครองดินแดนเยอรมาเนียของโรมัน ไปจนถึงการขยายชนเผ่าในสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน ไปจนถึงการได้รับความนิยมอย่างสูงในยุคไวกิ้ง เมื่อ ในการเผชิญกับกระบวนการเผยแผ่ศาสนาคริสต์เข้าไปในสแกนดิเนเวีย สัญลักษณ์ค้อนมจอลนีร์ (Mjölnir) ของพระองค์ ถูกสวมใส่เป็นการท้าทายและชื่อตัวของนอร์สเพเกินซึ่งมีชื่อของเทพเจ้าเป็นพยานต่อความนิยมของเขา เมื่อย่างเข้าสู่สมัยใหม่ ธอร์ยังได้การยอมรับต่อไปในตำนานพื้นบ้านชนบททั่วภูมิภาคเยอรมนี ธอร์มักอ้างถึงบ่อยครั้งในชื่อสถานที่ ในวันประจำสัปดาห์ วันพฤหัสบดี (Thursday ("วันของธอร์") ปรากฏนามของพระองค์ และชื่อซึ่งมาจากยุคเพเกินที่มีนามพระองค์นั้นยังมีใช้กันอยู่จวบจนปัจจุบัน ตลอดจนยังเป็นที่มาของคำว่า "ฟ้าร้อง" หรือ "ฟ้าผ่า" ในภาษาอังกฤษ (Thunder) อีกด้วย นอกจากนี้แล้วนักวิชาการชาวอังกฤษผู้หนึ่งยังเชื่อว่า ค้อนมจอลนีร์ที่มีลักษณะขว้างไปแล้วสามารถวนกลับมาสู่มือของทอร์ได้เหมือนบูมเมอแรง เป็นที่มาของสัญลักษณ์สวัสดิกะ ที่แพร่หลายต่อมาในอารยธรรมของชาวอารยันอีกด้วย ธอร์เป็นหนึ่งในสิบสองสำคัญของเทพเจ้าสแกนดิเนเวีย เป็นเทพแห่งสายฟ้า ทอร์เป็นบุตรของเทพเจ้าโอดิน และจอร์ดน่ง (Fjörgyn) ยักษ์แห่งแผ่นดินหน้า 3, เทพสายฟ้า ผู้พิชิต. "ชักธงรบ" โดย กิเลน ประลองเชิง. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21303: วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก.

12 ความสัมพันธ์: ชาวอารยันชาวเยอรมันบูมเมอแรงฟ้าร้องฟ้าผ่าภาษาอังกฤษเก่าภาษานอร์สโบราณลัทธินอกศาสนาวันพฤหัสบดีสมัยการย้ายถิ่นสวัสติกะโอดิน

ชาวอารยัน

วอารยัน หรืออินโดอารยัน เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากพวกอินโดยูโรเปียน ชาวตะวันตกเรียกว่า เปอร์เซีย หมายถึง อิหร่าน สันนิษฐานว่ามีภูมิลำเนาอยู่ทางตอนกลางของทวีปเอเซีย บริเวณรอบๆ ทะเลแคสเปียน ภายหลังได้เดินทางเข้าสู่อินเดียโดยฝ่ายเปอร์เซีย อัฟกานิสถาน และช่องเขาไคเบอร์ เข้ามาประมาณ 1,500 B.C. เข้ายึดครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ จากพวก ดารวิเดียน(ทราวิฑะ:สันสกฤต) และเป็นผู้วางรากฐานระบบวรรณะในประเทศอินเดีย ชาวอารยันเคารพบูชาเทพเจ้าหลายองค์ และถือว่าพระอินทร์เป็นหัวหน้าของเทพเจ้าทั้งปวง หมวดหมู่:ชนเผ่า.

ใหม่!!: ทอร์และชาวอารยัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเยอรมัน

วเยอรมัน (die Deutschen) ชื่อ กลุ่มคนเผ่าพันธุ์ โปรโต-เจอรมานิก ซึ่งมีถิ่นกำเนิดบริเวณจัตแลนด์และบริเวณอเลมันเนียซึ่งก็คือประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน ซึ่งสมัยก่อนชนชาติพวกนี้ถูกเรียกว่าชาวติวตันและชาวก๊อธปัจจุบันมีประชากรโดยรวม160ล้านคน ชาวเยอรมันจัดว่าเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันกับพวกชาวสแกนดิเนเวีย ชาวอังกฤษและชาวดัตช์ซึ่งจัดว่าเป็นพวกตระกูลเจอร์มานิก.

ใหม่!!: ทอร์และชาวเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

บูมเมอแรง

บูมเมอแรง บูมเมอแรง (boomerang) เป็นเครื่องมือไว้ร่อนกลางอากาศ รูปตัววี โดยมากใช้เป็นอาวุธสำหรับล่าของชาวพื้นเมืองอะบอริจิน นอกจากนั้นยังใช้งานเพื่อความบันเทิงด้านกีฬา หมวดหมู่:อุปกรณ์กีฬา หมวดหมู่:อาวุธขว้าง.

ใหม่!!: ทอร์และบูมเมอแรง · ดูเพิ่มเติม »

ฟ้าร้อง

ต้นเหตุของฟ้าร้อง ฟ้าร้อง คือเสียงที่เกิดจากเหตุการณ์ฟ้าแลบ ซึ่งขึ้นกับลักษณะของฟ้าแลบและระยะห่างของผู้สังเกตด้วย โดยอาจเป็นเพียงเสียงแหลมบางเหมือนของแตก ไปจนถึงเสียงคำรามต่ำๆ ยาวๆ ทั้งนี้เนื่องจากฟ้าแลบทำให้ความดันและอุณหภูมิของอากาศเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน ทำให้อากาศรอบๆ บริเวณนั้นเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดคลื่นโซนิคซึ่งสร้างเสียงฟ้าร้องขึ้น.

ใหม่!!: ทอร์และฟ้าร้อง · ดูเพิ่มเติม »

ฟ้าผ่า

ฟ้าผ่า เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากอิเล็กตรอนจำนวนมากเคลื่อนที่กันไปมาระหว่างเมฆกับเมฆหรือเมฆกับพื้นโลก มีพลังงานสูงมาก ๆ จนอาจก่อให้เกิดอันตรายหรือทำลายสิ่งที่กีดขวาง เช่น คน สัตว์ บ้านเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างต่าง.

ใหม่!!: ทอร์และฟ้าผ่า · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษเก่า

ษาอังกฤษเก่า (Ænglisc, Anglisc, Englisc; Old English ย่อว่า OE) หรือ ภาษาแองโกล-ซัคเซิน (Anglo-Saxon) เป็นภาษาอังกฤษยุคแรก ที่พูดกันในบริเวณที่ปัจจุบันคือแคว้นอิงแลนด์ อังกฤษและสกอตแลนด์ตอนใต้ ในระหว่าง กลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 นับเป็นภาษาเจอร์แมนิกตะวันตก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความคล้ายคลึงกับภาษาฟริเซียนเก่า (Old Frisian) และภาษาแซกซันเก่า (Old Saxon) นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับภาษานอร์สเก่า (Old Norse) และเชื่อมโยงไปถึงภาษาไอซ์แลนด์ปัจจุบัน (modern Icelandic) ด้วย ไวยกรณ์ของภาษาอังกฤษเก่ามีความใกล้เคียงกับไวยกรณ์ของภาษาเยอรมันสมัยใหม่ กล่าวคือ คำนาม คำวิเศษณ์ คำสรรพนาม และคำกริยา มีการผันเปลี่ยนรูปข้างท้ายของคำอยู่หลากหลายแบบ และการลำดับคำในประโยคก็มีอิสระมากกว่า ตัวอักษรของภาษาอังกฤษเก่าแค่เดิมเป็นระบบอักษรรูน (runic system) แต่ถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินนับแต่ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษเก่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีการใช้งานตลอดระยะเวลาประมาณ 700 ปี นับตั้งแต่ชนแองโกล-แซ็กซอนอพยพเข้ามายังเกาะบริเตน สร้างอิงแลนด์ขึ้น ในคริสต์ศวรรษที่ 5 จนถึงระยะเวลาหลังพวกนอร์มันบุกรุกเข้าไปเมื่อ ค.ศ. 1066 หลังจากนั้นภาษาอังกฤษก็เคลื่อนเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สำคัญ ในยุคแรกๆ นี้ ภาษาอังกฤษเก่าได้ผสมกลมกลืนเข้ากับภาษาอื่นๆ ที่มีการติดต่อด้วย เช่น ภาษาเคลติก (Celtic) และภาษาถิ่นสองภาษาของภาษานอร์สเก่า (บรรพบุรุษของภาษาแดนิชในปัจจุบัน) จากการบุกรุกของพวกไวกิงจากทางเดนมาร์ก ซึ่งเข้ามาครอบครองและปกครองอาณาเขตในอิงแลนด์ตอนเหนือและตะวันออก หลังจากชาวนอร์แมนยกทัพเข้าชิงอังกฤษจากกษัตริย์แซ็กซอนมาปกครองได้ ใรปี..

ใหม่!!: ทอร์และภาษาอังกฤษเก่า · ดูเพิ่มเติม »

ภาษานอร์สโบราณ

ภาษานอร์สโบราณ (Norrœnt mál) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ พูดในสแกนดิเนเวียและอาณานิคมโพ้นทะเลของชาวสแกนดิเนเวียในยุคไวกิงจนถึงประมาณค.ศ. 1300 ภาษานอร์สโบราณพัฒนามาจากภาษานอร์สดั้งเดิมในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และพัฒนาไปเป็นภาษาเจอร์แมนิกเหนือหลายภาษาหลังยุคไวกิง ภาษาในปัจจุบันที่มาจากภาษานอร์สโบราณได้แก่ภาษาไอซ์แลนด์ แฟโร นอร์เวย์ เดนมาร์ก และสวีเดน นอร์สโบราณ นอร์สโบราณ นอร์สโบราณ หมวดหมู่:ประเทศกลุ่มนอร์ดิก.

ใหม่!!: ทอร์และภาษานอร์สโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธินอกศาสนา

้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

ใหม่!!: ทอร์และลัทธินอกศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

วันพฤหัสบดี

วันพฤหัสบดี เป็นวันลำดับที่ 5 ในสัปดาห์ อยู่ระหว่างวันพุธกับวันศุกร์ แต่ตามมาตรฐาน ISO 8601 กำหนดให้เป็นวันที่ 4 ของสัปดาห.

ใหม่!!: ทอร์และวันพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

สมัยการย้ายถิ่น

แผนที่แสดงการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึงที่ 5 อย่างง่ายๆ สมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป หรือ สมัยการรุกรานของบาร์บาเรียน (Migration Period หรือ Barbarian Invasions, Völkerwanderung) เป็นสมัยของการอพยพของมนุษย์ (human migration) ที่เกิดขึ้นประมาณระหว่างปี..

ใหม่!!: ทอร์และสมัยการย้ายถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

สวัสติกะ

รื่องหมายสวัสติกะ บนพระพุทธรูป สวัสติกะ (ภาษาอังกฤษ: Swastika; สันสกฤต स्वस्तिक svastika) เป็นเครื่องหมายกากบาทที่ตรงส่วนปลายทำมุมฉาก โดยมีทั้งลักษณะที่ทิศทางด้านซ้าย หรือด้านขวา เครื่องหมายสวัสติกะ มีการใช้เป็นสัญลักษณ์ใน ศาสนาฮินดู และ พุทธศาสนา ในประเทศตะวันตกรู้จักกันมากในสัญลักษณ์ของฝ่ายนาซี โดยสวัสติกะของนาซีจะเอียงทำมุม 45 องศากับแนวระนาบ สวัสติกะของฮินดูจะมีจุด ประดับที่มุมต่างๆ ของสัญลักษณ์ สัญลักษณ์สวัสติกะของฝ่ายนาซี จะมีลักษณะทิศทางทางด้านขวา หากสังเกตดูจะพบว่าเป็นรูปอักษรโรมันตัว S 2 ตัวซ้อนกัน ซึ่งย่อมาจากคำในภาษาเยอรมัน โดย S ตัวหนึ่งมาจากคำว่า "Stadt" แปลว่า บ้านเมือง และอีกตัวหนึ่งมาจากคำว่า "Sicherheit" แปลว่า ปลอดภั.

ใหม่!!: ทอร์และสวัสติกะ · ดูเพิ่มเติม »

โอดิน

โอดิน ขี่หลังม้าสเลปนีร์ โอดิน เทพเจ้าสูงสุดของชาวยุโรปเหนือ เป็นเทพเจ้าที่ใฝ่หาความรู้ ยึดมั่นในสัจจะ ช่วยเหลือผู้อื่น และออกผจญภัยเพื่อใช้ชีวิตให้คุ้มค่า รบอย่างกล้าหาญเพื่อให้ได้ตายอย่างมีเกียรติในสนามรบ ให้ลูกหลานนำเรื่องราวของตนไปเล่าขานในฐานะวีรบุรุษ และเพื่อให้ดวงวิญญาณได้รับเลือกให้เข้าร่วมกับกองทัพเทพ ร่วมต่อสู้กับยักษ์ในวันสิ้นโลก (ไวกิ้งเป็นตัวอย่างหนึ่งของชนที่นับถือศาสนานี้) แม้เทพโอดินทรงสร้างโลกแต่พระองค์ก็ไม่สามารถล่วงรู้อนาคตของโลกได้ โดยเฉพาะความลับสูงสุดของจักรวาล การถือกำเนิด ชีวิตหลังความตาย และอนาคตของโลก เพื่อให้ทรงทราบความลับเหล่านี้ จึงทรงทรมาณองค์เองโดยผูกเท้าข้างหนึ่งกับพฤกษาที่เป็นแกนกลางของโลก (อิ๊กก์ดราซิล) แทงหอกที่สีข้าง ทรมาณอยู่ถึง 9 วัน 9 คืน จนถึงกับสิ้นพระชนม์ แต่แล้วก็ทรงฟื้นคืนขึ้นมาใหม่โดยไม่เจ็บปวด แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยปรีชาญาณ ทรงบันทึกสิ่งที่พระองค์ค้นพบในรูปแบบอักษรศักดิ์สิทธิ์ 24 ตัว เรียกว่า รูนส์ ซึ่งต่อมาทรงพระราชทานรูนส์แก่ชาวโลกเพื่อให้ใช้ในฐานะเทพพยากรณ์ ในที่สุด ทรงล่วงรู้อนาคต รู้วันสิ้นโลก รู้ว่าในวันข้างหน้า โลกจะถึงกาลแตกดับ แต่ก่อนจะถึงวันนั้น พระองค์ จะทะนุถนอมโลกที่ทรงสร้างอย่างดี เพื่อเมื่อถึงวันโลกาวินาศ จะได้มีเทพและมนุษย์ที่หลงเหลืออยู่ไปสร้างโลกใหม่ที่มีความสุข แต่ยังทรงต้องการความรู้เพิ่มเติม จึงทรงไปที่รากของต้นไม้อี๊กก์ดราซิลเพื่อดื่มน้ำพุวิเศษที่ทำให้กลายเป็นผู้รอบรู้ ที่บ่อน้ำพุนี้มียักษ์ตนหนึ่งเฝ้าอยู่ ชื่อมีเมียร์ หากจะทรงถืออำนาจดื่มน้ำพุเลย ในฐานะจอมเทพ ย่อมทรงกระทำได้ แต่พระองค์ไม่ทำเพราะเห็นว่าเป็นการกระทำของคนโฉด จึงทรงแลกเปลี่ยนดวงตาข้างหนึ่ง เพื่อการได้ดื่มน้ำ ยักษ์ยินยอม แล้วพระองค์ก็ทรงดื่มน้ำนั้นจนหมดบ่อ แม้จะทรงมีหอกวิเศษกุงเนียร์ อันเป็นหอกที่ไม่เคยพลาดเป้าเป็นอาวุธ แต่กลับไม่ค่อยได้ใช้อาวุธของพระองค์เท่าใดนัก ว่ากันว่าพระองค์จะได้ใช้หอกนี้อย่างแท้จริงก็คือในวันทำสงครามแร็คนาร็อก แต่อย่างใดก็ดี ก็ไม่ช่วยให้พระองค์รอดพ้นจากคมเขี้ยวของพญาสุนัขป่าเฟนริล์ได้ ทรงมีสัตว์เลี้ยงคืออีกาคู่ และถือเป็นสัญลักษณ์ของพระองค์ ชื่อ ฮูกีน (ความคิด) และมูนีน (ความจำ) อีกาทั้งสองจะบินไปรอบโลก เพื่อนำข่าวคราวของสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกมาแจ้งแก่พระองค์ และทรงเลี้ยงสุนัขป่าขนสีเงินอีกสองตัวคือ เกรี และ เฟรคี สุนัขทั้งสองมักนั่งอยู่แทบพระบาท คอยกินอาหารที่ถูกนำมาถวาย ด้วยพระองค์ไม่โปรดอะไรนอกจากเหล้าน้ำผึ้ง ทรงมีพาหนะคือม้าสเลปไนร์ ซึ่งมีขาถึง 8 ขา จึงทำให้มันวิ่งเร็วกว่าม้าใดๆ ทรงมีมเหสีเอกคือเทวีฟริกก์ และต่อมาทรงรับเทวีเฟรยาเป็นมเหสีอีกองค์ เทวีฟริกกาทรงเปี่ยมไปด้วยเมตตา ปราศจากความอิจฉาริษยา เทวีเฟรายาจึงเคารพพระนางเป็นอย่างยิ่ง ไม่เคยทำอะไรให้มเหสีเอกต้องขุ่นเคืองพระทัย สำหรับผู้ที่เป็นนักพยากรณ์โดยไพ่ทาโรต์ จะคุ้นเคยกับใพ่ใบหนึ่งที่เป็นภาพของคนห้อยหัว ผูกขาข้างหนึ่งไว้กับต้นไม้ ไพ่ใบนี้ชื่อ Hang Man เชื่อกันว่ามีที่มาจากตำนานของเทพโอดินนั่นเอง ดังนั้นไพ่ใบนี้ จึงมีความหมายของการพยากรณ์ การหยุดนิ่งก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง การอดทนเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ การรอคอยโอกาสที่ยังมาไม่ถึง หมวดหมู่:เทพเจ้า หมวดหมู่:เทพปกรณัมนอร์ส หมวดหมู่:เทพแห่งสายฟ้า.

ใหม่!!: ทอร์และโอดิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ธอร์ทอร์ (เทพปกรณัมนอร์ส)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »