โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทอมัส มอร์

ดัชนี ทอมัส มอร์

ทอมัส มอร์ (Thomas More) คริสตจักรโรมันคาทอลิกเรียกว่านักบุญทอมัส มอร์ เป็นนักกฎหมาย นักปรัชญาสังคม นักเขียน รัฐบุรุษ และนักมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ และประธานฝ่ายตุลาการอังกฤษตั้งแต่เดือนตุลาคม..

21 ความสัมพันธ์: พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนาพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์การประกาศเป็นนักบุญกาตาลินาแห่งอารากอน พระราชินีแห่งอังกฤษมรณสักขีในศาสนาคริสต์มาร์ติน ลูเทอร์มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยารัฐบุรุษราชอาณาจักรอังกฤษสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11สำนักงานราชบัณฑิตยสภาทอมัส โวลซีย์คณะองคมนตรีนักบุญองค์อุปถัมภ์นักกฎหมายนักการเมืองนักเขียนนครลอนดอนโรมันคาทอลิก

พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา

ระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา (Act of Supremacy) พระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนาฉบับแรกมอบอำนาจให้สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษเป็น “ประมุขสูงสุดของคริสตจักรแห่งอังกฤษ” ซึ่งยังคงเป็นอำนาจตามกฎหมายของพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรมาจนถึงทุกวันนี้ ประมุขสูงสุดกำหนดขึ้นโดยเฉพาะในการบรรยายอำนาจทางกฎหมายแพ่งของพระมหากษัตริย์ที่มีอำนาจเหนือกฎบัตรของคริสต์ศาสนจักรในอังกฤษ.

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และพระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (Henry VIII of England) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษตั้งแต่ 21 เมษายน 1509 จนสวรรคต นอกจากนี้ยังทรงเป็นชาวอังกฤษพระองค์แรกที่ได้เป็นกษัตริย์แห่งไอร์แลนด์ และยังเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสอีกด้วย พระเจ้าเฮนรีทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่สองของราชวงศ์ทิวดอร์ ซึ่งครองราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา พระเจ้าเฮนรีที่ 7 นอกจากการอภิเษกสมรสทั้ง 6 ครั้งและความสัมพันธ์กับสตรีนอกสมรสแล้ว อีกหนึ่งเรื่องราวสำคัญในรัชสมัยของพระองค์คือการประกาศให้การอภิเษกกับแคเธอรีนแห่งอารากอน มเหสีคนแรกเป็นโมฆะ ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งกับพระสันตะปาปา และนำประเทศไปสู่การแยกตัวออกจากศาสนจักรโรมันคาทอลิก โดยการสถาปนาคริสตจักรแห่งอังกฤษขึ้นมาแทน ซึ่งเป็นคริสตจักรที่ไม่ขึ้นกับพระสันตะปาปา และถือเอาตัวพระองค์เองในฐานะกษัตริย์เป็น "ประมุขสูงสุดของคริสตจักรในอังกฤษ" และนำไปสู่การยุบอารามขึ้น แต่ในด้านความเชื่อพระองค์ยังคงถือคำสอนหลายอย่างตามโรมันคาทอลิก แม้ว่าจะถูกพระสันตะปาปาประกาศตัดขาดจากศาสนาไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังคอยควบคุมการรวมสหภาพระหว่างอังกฤษกับเวลส์ และพระองค์ยังได้ขึ้นชื่อว่าทรงเป็นศัตรูตลอดกาลกับพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และ จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตลอดรัชสมัยได้ทำสงครามกันหลายต่อหลายครั้ง พระเจ้าเฮนรีถือเป็นกษัตริย์ที่มีเสน่ห์ มีการศึกษาดี และทรงคุณวุฒิ และเป็นประมุขที่ทรงบารมีที่สุดแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ แม้จะทรงใช้อำนาจปกครองประเทศอย่างเด็ดขาดแต่ก็ทรงสนพระทัยการเขียนและนิพนธ์ ทรงเห็นว่าสตรีไม่สามารถสร้างความเจริญและมั่นคงแก่ราชวงศ์ทิวดอร์ได้ จึงมีพระราชประสงค์อย่างมากที่จะได้รัชทายาทชายสืบทอดราชบัลลังก์ ทำให้ทรงอภิเษกสมรสหลายครั้งและต่อมาต้องดำเนินการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ ซึ่งนำให้อังกฤษกลายเป็นชาติโปรเตสแตนต์ ช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระองค์เป็นโรคอ้วนซึ่งทำให้พระพลานามัยย่ำแย่ มีพระรสนิยมผิดปกติ พระสาทิสลักษณ์ของพระองค์จึงมักแสดงออกถึงความมักมาก เห็นแก่ตัว โหดร้าย พระอารมณ์ไม่มั่นคง ภายหลังสวรรคต พระราชโอรส(ตามกฎหมาย)องค์เดียวของพระองค์ ได้สืบราชบัลลังก์ต่อเป็น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ขณะมีพระชันษาเพียง 9 ปี.

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์

มาร์ติน ลูเทอร์ การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ (Protestant Reformation) คือขบวนการการปฏิรูปศาสนาที่เริ่มโดย มาร์ติน ลูเทอร์ เมื่อปี..

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศเป็นนักบุญ

การประกาศเป็นนักบุญ (canonization) เป็นกระบวนการที่คริสตจักรต่าง ๆ เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ และแองกลิคัน ใช้ดำเนินการเพื่อขึ้นทะเบียนคริสต์ศาสนิกชนผู้ล่วงลับให้เข้าในสารบบนักบุญ.

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และการประกาศเป็นนักบุญ · ดูเพิ่มเติม »

กาตาลินาแห่งอารากอน พระราชินีแห่งอังกฤษ

ระนางกาตาลินาแห่งอารากอน (Catalina de Aragón; Catherine of Aragon, Katharine of Aragon; พ.ศ. 2028 — พ.ศ. 2079) พระราชินีแห่งอังกฤษ พระมเหสีพระองค์แรกในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (พ.ศ. 2052-2090) อภิเษกสมรสครั้งแรกในปี พ.ศ. 2044 กับเจ้าชายอาร์เธอร์ พระโอรสในพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ (พ.ศ. 2029-2045) แต่เมื่อพระสวามีสิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เจ้าหญิงกาตาลินาก็ได้ทรงรับหมั้นกับเจ้าชายที่เป็นน้องสามี ซึ่งต่อมาคือพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ในขณะที่มีพระชนมายุเพียง 11 ขวบ และได้อภิเษกสมรสกันในเวลาต่อมาเมื่อ..

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และกาตาลินาแห่งอารากอน พระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

มรณสักขีในศาสนาคริสต์

การทรมานของนักบุญเอรัสมุส โดยเดียริค เบาท์ ราวปี ค.ศ. 1458 ในศาสนาคริสต์ มรณสักขี (martyr) หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนที่ถูกทรมานจนตายหรือถูกฆ่าหรือถูกลงโทษให้ประหารชีวิตเพราะความเชื่อ ในศาสนาคริสต์ยุคแรกมีผู้ถูกทรมานและฆ่าด้วยความทรมานต่างๆเช่นถูกขว้างด้วยก้อนหินให้ตาย ถูกตรึงกางเขน ถูกเผาทั้งเป็น และอื่น ๆ คำว่า “martyr” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “พยาน” การฆ่าเช่นนี้เป็นผลจากการพยายามกำจัดคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการ (การเบียดเบียนทางศาสนา) เช่นในสมัยจักรวรรดิโรมันก่อนที่คริสต์ศาสนาจะเป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมาย คริสต์ศาสนิกชนคนแรกที่เป็นมรณสักขีคือนักบุญสเทเฟนที่บันทึกไว้ใน ถูกขว้างด้วยก้อนหินจนถึงแก่ชีวิตเพราะศรัทธาในพระเยซูว่าเป็นพระเมสสิยาห์ และยังคงมีคริสต์ศาสนิกชนอีกหลายคนที่ถูกฆ่านอกจากนักบุญสเทเฟน ตามที่นักบุญเปาโลอัครทูตกล่าวว่ามีการขู่จะฆ่าสาวกของพระเยซูในเวลานั้นหลายครั้ง ในคริสต์ศตวรรษต่อมาก็มีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการอีกหลายครั้งเช่นในระหว่างการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตหรือเป็น “พวกนิยมพระสันตะปาปา” (Papists).

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และมรณสักขีในศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ติน ลูเทอร์

มาร์ติน ลูเทอร์ (Martin Luther) (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2026 - 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2088) เป็นหนึ่งในผู้ปฏิรูปศาสนาคริสต์ โดยแยกมาเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ เพราะไม่เห็นด้วยกับคำสอนของคริสตจักรโรมันคาทอลิกบางข้อ โดยการปฏิรูปนี้เกิดขึ้นในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เรียกว่าการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ นิกายที่ถือหลักเทววิทยาตามแนวคิดของลูเทอร์เรียกว่านิกายลูเทอแรนซึ่งเป็นนิกายย่อยในนิกายโปรเตสแตนต.

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และมาร์ติน ลูเทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

นักมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเดสิเดอริอัส อีราสมัส ราว ค.ศ. 1523 เขียนโดยฮันส์ โฮลไบน์ (ผู้ลูก) มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance humanism) คือขบวนการทางปัญญาของยุโรปซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญตัวหนึ่งของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่เริ่มขึ้นที่ฟลอเรนซ์ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 14 ขบวนการมนุษยนิยมเริ่มขึ้นเมื่อผู้คงแก่เรียนชาวยุโรปเริ่มพบวรรณกรรมภาษาลาตินและกรีกกันขึ้นมาใหม่ ในระยะแรกนักมนุษยนิยมก็เพียงแต่เป็นปัญญาชนหรือครูที่สองวรรณกรรมภาษาลาติน แต่เมื่อมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 มนุษยนิยมก็พัฒนาขึ้นมาเป็นหลักสูตรการศึกษา — “หลักสูตรการศึกษามนุษยนิยม” (studia humanitatis) — ที่ประกอบด้วยการศึกษาไวยากรณ์, วาทศาสตร์, ปรัชญาจริยธรรม, กวีนิพนธ์ และประวัติศาสตร์ จากงานที่เขียนโดยผู้ประพันธ์เป็นภาษาลาตินและกรีก นักมนุษยนิยมมักจะเป็นปฏิปักษ์ต่อขบวนการปรัชญาที่นิยมกันก่อนหน้านั้นที่เรียกว่าอัสสมาจารย์นิยม (Scholasticism) ซึ่งเป็น “ผู้ร่ำเรียน” (schoolmen) ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในอิตาลี, ปารีส, อ๊อกซฟอร์ด และอื่นๆ การศึกษาของกลุ่มอัสสมาจารย์นิยมพัฒนามาจากความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์และปรัชญาของกรีกโบราณและอาหรับยุคกลาง ตัวอย่างของผู้นำในกลุ่มนี้ก็ได้แก่ทอมัส อควีนาสผู้ที่พยายามสังเคราะห์ปรัชญาของอริสโตเติลในบริบทของลัทธิคาทอลิก แต่แตกต่างจากหลักของมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ก็ตรงที่นักอัสสมาจารย์นิยมมิได้พึ่งวรรณกรรม หรือ ตำราประวัติศาสตร์จากสมัยกรีกโรมันเท่ากันกับเมื่อมาถึงสมัยมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ การกลับมาพบและกลับมาให้ความสนใจกับวรรณกรรม และ ตำราประวัติศาสตร์, วาทศิลป์ และ เทวปรัชญาที่ยังไม่ได้รับการศึกษาโดยนักปรัชญาอัสสมาจารย์นิยม ทำให้มนุษยนิยมเรอเนสซองซ์เปลี่ยนแนวทางทางวัฒนธรรมและทางปรัชญาของยุโรปอย่างสิ้นเชิง ทางด้านปรัชญานักมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์มักจะเน้นบทเขียนของเพลโต ที่บางชิ้นนำกลับมาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่เริ่มเสื่อมโทรมลงเป็นครั้งแรก และให้ความสนใจน้อยกว่าในปรัชญาของอริสโตเติลที่ได้รับการศึกษาอย่างลึกซึ้งแล้วโดยนักอัสสมาจารย์นิยมในระหว่างยุคกลางตอนกลางแล้ว.

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบุรุษ

รัฐบุรุษคือ บุคคลผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินในฐานะต่าง ๆ อาทิ ผู้นำทางการเมือง หรือผู้นำทางทหาร โดยตลอดระยะเวลาที่อยู่ในตำแหน่งได้ประกอบคุณงามความดี ปฏิบัติราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และได้ช่วยเหลือจงรักภักดีต่อชาตินั้น ๆ จนเป็นที่ประจักษ์กันโดยทั่วไป.

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และรัฐบุรุษ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอังกฤษ

ราชอาณาจักรอังกฤษ (Kingdom of England.) เป็นราชอาณาจักรระหว่างปี..

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และราชอาณาจักรอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2

มเด็จพระสันตะปาปา นักบุญจอห์น ปอลที่ 2 มีพระนามเดิมว่า การอล ยูแซฟ วอยตือวา (ในภาษาโปแลนด์) เกิดเมื่อ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 ที่หมู่บ้านวาดอวิตแซ ใกล้เมืองกรากุฟ ประเทศโปแลนด์ บิดาเป็นทหารมียศเป็นจ่าทหารและเกษียณราชการแล้ว มารดาเสียชีวิต เมื่อคาโรลยังเป็นเด็ก ท่านเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์พิเศษ ชอบการกีฬาเป็นอันมาก ท่านยังชอบบทกวีและการแสดงละคร หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 1 คณะพระคาร์ดินัลทั่วโลกก็มีมติเลือกให้พระคาร์ดินัลการอล วอยตือวา ประมุขแห่งอัครมุขมณฑลกรากุฟ ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 58 พรรษา ขึ้นเป็นประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1978 นับเป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 264 ที่สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูต สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เป็นประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก เป็นพระสันตะปาปาที่ไม่ใช่ชาวอิตาเลียนองค์แรกในรอบ 455 ปี และเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกที่เป็นชาวโปแลนด์ รวมทั้งยังเป็นพระสันตะปาปาที่ได้รับเลือกขณะที่มีอายุน้อยที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 อีกด้วย พระองค์เป็นพระสันตะปาปาที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน พระองค์ทรงเดินทางรอบโลกเพื่อเยี่ยมเยียนคริสตชนมากกว่าพระสันตะปาปาองค์ใด ๆ ในอดีตที่ผ่านมา ทรงต่อต้านกระแสทุนนิยมที่ไร้ขอบเขต การกดขี่ทางการเมือง ยืนกรานในการต่อต้านการทำแท้ง และปกป้องวิถีทางของศาสนจักรในเรื่องเพศของมนุษย์ ปัจจุบัน พระองค์ท่านได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2014 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม.

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11

สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 (Pius XI) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1922 ถึง ค.ศ. 1939 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2400 ปิอุสที่ 11 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นลอมบาร์เดีย.

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส โวลซีย์

ทอมัส โวลซีย์ (Thomas Wolsey) (มีนาคม ค.ศ. 1473 - 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1530) เป็นนักการเมืองชาวอังกฤษและพระคาร์ดินัลแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก เมื่อเจ้าชายเฮนรีขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษในปี..

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และทอมัส โวลซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะองคมนตรี

ณะองคมนตรี (privy council) คือ กลุ่มบุคคลที่ให้คำปรึกษาแก่ประมุขแห่งรัฐ โดยทั่วไปในประเทศที่ปกครองแบบราชาธิปไตย ในภาษาอังกฤษ คำว่า "privy" หมายถึง "ส่วนตัว" หรือ "ลับ" ดังนั้นแรกเริ่มเดิมที privy council คือคณะที่ปรึกษาที่ใกล้ชิดที่สุดของกษัตริย์ที่ให้คำปรึกษาที่รักษาเป็นความลับในเรื่องกิจการรัฐ ประเทศที่มีสภาองคมนตรีหรือองค์กรเทียบเท่าในปัจจุบัน เช่น สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ, ประเทศแคนาดา, ราชอาณาจักรเดนมาร์ก, ราชอาณาจักรตองกา และ ราชอาณาจักรไท.

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และคณะองคมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญองค์อุปถัมภ์

นักบุญโยเซฟ องค์อุปถัมภ์คริสตจักรสากล นักบุญองค์อุปถัมภ์ (patron saint) คือนักบุญบนสวรรค์ ซึ่งบางคริสตจักร เช่น อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ โรมันคาทอลิก หรือออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ นับถือว่าเป็นผู้ที่ได้ใกล้ชิดพระยาห์เวห์และสามารถอ้อนวอนขอพรจากพระองค์เพื่อพระหรรษทานในสิ่งต่าง ๆ แก่คริสต์ศาสนิกชนบนโลก เช่น สถานที่ อาชีพ กลุ่มบุคคล เป็นต้น นักบุญต่าง ๆ มักได้รับยกย่องให้เป็นองค์อุปถัมภ์ในดินแดนที่ท่านเกิดหรือปฏิบัติศาสนกิจ ในบางกรณีสถานที่นั้นอาจไม่เกี่ยวข้องกับนักบุญขณะยังมีชีวิต แต่ได้เป็นที่ฝังศพหลังจากมรณกรรมก็ถือว่านักบุญนั้นเป็นองค์อุปถัมภ์เมืองนั้น ในลาตินอเมริกามีหลายเมืองตั้งชื่อตามนักบุญ โดยถือว่านักเดินเรือชาวโปรตุเกสและสเปนมาถึงเมืองตรงกับวันฉลองนักบุญใด ผู้ค้นพบก็จะตั้งชื่อเมืองตามชื่อนักบุญนั้น ทำให้นักบุญนั้นได้กลายเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์เมืองในเวลาต่อมา นักบุญองค์อุปถัมภ์วิชาชีพมาจากอาชีพที่นักบุญนั้นเคยทำขณะยังมีชีวิตอยู่ หรือเคยแสดงการอัศจรรย์ซึ่งเทียบเทียมได้กับอาชีพนั้น ๆ เช่น นักบุญเวโรนีกาผู้ถวายผ้าคลุมผมของตนให้พระเยซูใช้ซับพระพักตร์ระหว่างเดินทางไปตรึงกางเขน แล้วเกิดปาฏิหาริย์รอยพระพักตร์ปรากฏติดบนผ้าผืนนั้น คริสตจักรจึงยกย่องนักบุญเวโรนีกาเป็นองค์อุปถัมภ์การถ่ายภาพ นิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น เพรสไบทีเรียน ไม่ยอมรับการนับถือหรือให้ความสำคัญกับนักบุญ เพราะถือว่าเข้าข่ายการบูชาเทวรูป.

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และนักบุญองค์อุปถัมภ์ · ดูเพิ่มเติม »

นักกฎหมาย

วิลเลียม เมอร์รีย์ เอิร์ลแห่งแมนส์ฟิลด์ เป็นนักกฎหมายผู้เป็นทั้งเนติกร อัยการ และผู้พิพากษา ในเขตอำนาจศาลอังกฤษและเวลส์ นักกฎหมาย (Lawyer) คือผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมาย อาทิ เนติกร, อัยการ, ทนายความ นักกฎหมายทำงานโดยอาศัยประโยชน์จากข้อสรุปของทฤษฎีทางกฎหมายตลอดจนองค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหาของแต่ละปัจเจกบุคคล หรือเป็นคนรับใช้ด้านกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง บทบาทของนักกฎหมาย แตกต่างกันอย่างมากไปตามแต่ละเขตอำนาจศาล คำศัพท์ซึ่งปรากฏอยู่ในบทความนี้เป็นจึงเป็นเฉพาะในบริบทที่เป็นสากล.

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และนักกฎหมาย · ดูเพิ่มเติม »

นักการเมือง

นักการเมือง, ผู้นำทางการเมืองหรือบุคคลทางการเมือง (อังกฤษ: politician มาจากภาษากรีกโบราณ polis ที่แปลว่า "เมือง") เป็นบุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการมีอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะและการวินิจฉัยสั่งการ ซึ่งรวมผู้ดำรงตำแหน่งวินิจฉัยสั่งการในรัฐบาล และผู้ที่มุ่งดำรงตำแหน่งเหล่านั้น ไม่ว่าด้วยวิธีการเลือกตั้ง การสืบทอด รัฐประหาร การแต่งตั้ง การพิชิต หรือวิธีอื่น การเมืองไม่ใช่จำกัดอยู่เพียงวิธีการปกครองผ่านตำแหน่งสาธารณะเท่านั้น ตำแหน่งทางการเมืองอาจถืออยู่ในบรรษัทก็ได้.

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และนักการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

นักเขียน

นักเขียน คือผู้ที่สร้างงานเขียน อย่างไรก็ตามคำนี้มักใช้เฉพาะกับผู้ที่เขียนงานสร้างสรรค์หรือเป็นอาชีพ หรือผู้ที่ได้สร้างงานเขียนในลักษณะอื่น ๆ นักเขียนที่มีความชำนาญจะแสดงความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อที่จะนำเสนอแนวคิดและภาพพจน์ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบันเทิงคดีหรือสารคดี นักเขียนอาจสร้างผลงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทกวี ร้อยกรอง ร้อยแก้ว เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร สารคดี นักเขียนที่ทำงานเฉพาะมักได้รับการเรียกแตกต่างกัน เช่น กวี นักเขียนเรื่องสั้น นักเขียนนวนิยาย นักเขียนบทละคร นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนสารคดี นักเขียนอื่น ๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และนักเขียน · ดูเพิ่มเติม »

นครลอนดอน

นาคารกลางอังกฤษ, ธนาคารกลางของสหราชอาณาจักร นครลอนดอน (City of London) ในทางภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ตอนกลางของลอนดอน ประเทศอังกฤษ นครแห่งนี้ในอดีตเป็นหัวใจสำคัญของลอนดอน เขตแดนของตัวเมืองแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ยุคกลาง และดังนั้นมันจึงเป็นส่วนเล็ก ๆ ในเกรเทอร์ลอนดอนซึ่งใหญ่กว่ามาก ในภาษาอังกฤษ นครลอนดอนถูกเรียกย่อ ๆ ว่า พระนคร (The City - เดอะ ซิตี้) หรือ Square Mile (สแควร์ไมล์) เนื่องจากพื้นที่ในนครแทบจะเท่ากับหนึ่งตารางไมล์ (สแควร์ไมล์ แปลว่า ตารางไมล์ ประมาณ 2.6 กม.²) นครลอนดอนไม่ใช่หนึ่งใน 32 ลอนดอนบุรี มีฐานะเป็นมณฑลในประเทศอังกฤษ เทียบเท่ากับเกรเทอร์ลอนดอน เพียงแค่อยู่ในขอบเขตของเกรเทอร์ลอนดอนเท่านั้น จึงไม่ได้หมายความว่ามณฑลแห่งนี้จะเป็นหนึ่งในลอนดอนบุรี ในยุคกลาง นครเต็มเป็นขอบเขตการขยายอย่างเต็มที่ของลอนดอน หลังจากนั้น ได้มีการแยกเขตเวสต์มินสเตอร์ออกมา ซึ่งต่อมากลายเป็นนครเวสต์มินสเตอร์ ขณะนี้คำว่า ลอนดอน ส่วนใหญ่หมายถึงบริเวณตัวเมืองที่ขยายออกแต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของลอนดอน ซึ่งรวม 'นคร' ทั้งสองเอาไว้ด้วย นครหลวงลอนดอนยังคงเป็นส่วนหนึ่งของใจกลางเมืองลอนดอน ทุกวันนี้ นครลอนดอนเป็นศูนย์กลางทางการค้าขาย การลงทุน และธุรกิจ ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับนิวยอร์กซิตีในฐานะศูนย์กลางผู้นำของการลงทุนทั่วโลก นครถูกปกครองโดยบรรษัทนครลอนดอน ที่มีความรับผิดชอบแปลก ๆ บางอย่างสำหรับหน่วยงานปกครองท้องถิ่น เช่น เป็นหน่วยงานตำรวจสำหรับนครหลวง นอกจากนี้มันยังมีความรับผิดชอบและการเป็นเจ้าของที่วางอยู่บนขอบเขตนครหลวง คำขวัญภาษาละตินของนครลอนดอน คือ "Domine dirige nos" ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "พระเจ้าทรงนำทางพวกเรา".

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และนครลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ทอมัส มอร์และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »