ทวีปเอเชียและโอไซริส
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ทวีปเอเชียและโอไซริส
ทวีปเอเชีย vs. โอไซริส
แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี. อไซริส (Osiris; Ὄσιρις) เป็นเทพอียิปต์ซึ่งมักได้รับการระบุว่า เป็นเทพแห่งชีวิตหลังความตาย เทพแห่งนรก และเทพแห่งวิญญาณ เดิมทีเชื่อกันว่า เป็นบุรุษเพศ มีกายสีเขียว มีมัสสุดังฟาโรห์ กายเบื้องล่างพันผ้าห่อศพไว้ ฉลองมงกุฏประดับขนนกกระจอกเทศสองข้าง หัตถ์ทั้งสองถือตะขอกับไม้หวดข้าว ถือกันมาระยะหนึ่งว่า โอไซริสเป็นโอรสของเก็บ (Geb) เทพผืนดิน กับนัต (Nut) เทพีท้องฟ้า ทั้งเป็นเชษฐภาดาและภัสดาของไอซิส (Isis) มีโอรสด้วยกันหนึ่งองค์เมื่อสิ้นชนม์ไปแล้ว คือ ฮอรัส (Horus) โอไซริสยังเกี่ยวเนื่องกับสมญาที่ว่า "เค็นที-อาเมนทีอู" (Khenti-Amentiu) แปลว่า ที่สุดแห่งชาวตะวันตก ซึ่งหมายถึง การได้ปกครองนรกภูมิ โอไซริสในฐานะมัจจุราชนั้นบางทีได้รับการเรียกขานว่า "เจ้าชีวิต" (king of the living) เพราะชาวอียิปต์โบราณถือว่า วิญญาณที่ได้รับเซ่นสรวงบูชานั้นเป็น "สิ่งมีชีวิต" (living one) โอไซริสปรากฏเป็นครั้งแรกในช่วงกลางราชวงศ์ที่ห้าแห่งอียิปต์ แต่น่าเชื่อว่า ได้รับการเคารพบูชามาก่อนหน้านั้นแล้ว นอกจากนี้ สมญา "เค็นที-อาเมนทีอู" ยังปรากฏย้อนหลังไปถึงราชวงศ์ที่หนึ่งโดยเป็นสมัญญาสำหรับพระมหากษัตริย์ด้วย เรื่องราวเกี่ยวกับโอไซริสนั้นส่วนใหญ่ได้มาจากการกล่าวถึงในตำราพีระมิด (Pyramid Texts) ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อปลายราชวงศ์ที่ห้า ตลอดจนเอกสารในชั้นหลัง ๆ เช่น ศิลาชาบากา (Shabaka Stone) และคัมภีร์เรื่อง การชิงชัยระหว่างฮอรัสกับเซท (Contending of Horus and Seth) รวมถึงการพรรณนาในงานเขียนของปรัชญาเมธีกรีกหลายคน เช่น พลูตาร์ก (Plutarch) และดีโอโอรัส ซีกูลัส (Diodorus Siculus) ในนรกภูมิ ถือว่า โอไซริสเป็นตุลาการผู้เปี่ยมเมตตา ทั้งยังทำหน้าที่แทนนรกในการบันดาลให้เกิดสรรพชีวิต รวมถึง การแตกหน่อก่อผลของพืชผัก และการสร้างน้ำท่วมเพื่อความอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งไนล์ นอกจากนี้ โอไซริสยังได้ชื่อว่าเป็น "กามเทพ" "พระผู้ปราศศัตรูและทรงเยาว์วัยตลอดกาล"The Oxford Guide: Essential Guide to Egyptian Mythology, Edited by Donald B. Redford, p302-307, Berkley, 2003, ISBN 0-425-19096-X และ "เจ้าแห่งความสงัด" พระเจ้าแผ่นดินอียิปต์จะทรงเป็นส่วนหนึ่งของโอไซริสเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว เชื่อกันว่า เมื่อสิ้นพระชนม์ โอไซริสจะสถิตอยู่ในพระวิญญาณ และพระวิญญาณที่มีโอไซริสเป็นส่วนหนึ่งนี้จะดำรงอยู่ชั่วกัลปาวสานหลังผ่านพิธีกรรมทางไสยเวทบางประการ ครั้นถึงช่วงอาณาจักรใหม่ ความเชื่อเปลี่ยนไปว่า ใช่แต่พระเจ้าแผ่นดินเท่านั้นที่จะเข้ารวมกับโอไซริสในโลกหลังความตาย บุคคลธรรมดาสามัญทั้งหลายก็ด้วย แต่ต้องผ่านพิธีกรรมทำนองเดียวกัน ไอโซริสได้รับการนับถือเป็นมัจจุราชมาจนศาสนาอียิปต์โบราณระงับไปในช่วงคริสตกาล.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทวีปเอเชียและโอไซริส
ทวีปเอเชียและโอไซริส มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ทวีปเอเชียและโอไซริส มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทวีปเอเชียและโอไซริส
การเปรียบเทียบระหว่าง ทวีปเอเชียและโอไซริส
ทวีปเอเชีย มี 213 ความสัมพันธ์ขณะที่ โอไซริส มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (213 + 9)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทวีปเอเชียและโอไซริส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: