โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทฤษฎีกราฟ

ดัชนี ทฤษฎีกราฟ

กราฟที่มีจุดยอด 6 จุด และเส้นเชื่อม 7 เส้น ทฤษฎีกราฟ (graph theory) เป็นหนึ่งในสาขาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่ศึกษาถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของกราฟ.

24 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2279พ.ศ. 2388พ.ศ. 2395พ.ศ. 2519กระแสไฟฟ้ากราฟ (คณิตศาสตร์)กราฟบริบูรณ์การไหลในเครือข่ายรายการประชิดวิทยาการคอมพิวเตอร์ศักย์ไฟฟ้าสะพานทั้งเจ็ดแห่งเมืองเคอนิจส์แบร์กสาขาของคณิตศาสตร์อภิธานศัพท์ทฤษฎีกราฟทฤษฎีบทสี่สีทอพอโลยีขั้นตอนวิธีปัญหากลุ่มพรรคพวกปัญหาวิถีสั้นสุดโครงสร้างข้อมูลเมตริกซ์ประชิดเรขาคณิตเลออนฮาร์ด ออยเลอร์เซตอิสระ

พ.ศ. 2279

ทธศักราช 2279 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและพ.ศ. 2279 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2388

ทธศักราช 2388 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและพ.ศ. 2388 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2395

ทธศักราช 2395 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1852.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและพ.ศ. 2395 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2519

ทธศักราช 2519 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1976 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและพ.ศ. 2519 · ดูเพิ่มเติม »

กระแสไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย โดยที่กระแสถูกแสดงด้วยอักษร ''i'' ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันไฟฟ้า (V), ตัวต้านทาน (R), และกระแส (I) คือ V.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและกระแสไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

กราฟ (คณิตศาสตร์)

วาดของกราฟระบุชื่อที่มีจุดยอด 6 จุด และเส้นเชื่อม 7 เส้น ในคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ กราฟ (Graph) ประกอบไปด้วยเซตของวัตถุที่เรียกว่าจุดยอด (vertex) ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยเส้นเชื่อม (edge) โดยทั่วไปแล้วเรามักวาดรูปแสดงกราฟโดยใช้จุด (แทนจุดยอด) เชื่อมกันด้วยเส้น (แทนเส้นเชื่อม) กราฟเป็นวัตถุพื้นฐานของการศึกษาในวิยุตคณิต หัวข้อทฤษฎีกราฟ เส้นเชื่อมอาจมีทิศทางหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น สมมุติให้จุดยอดแทนคนและเส้นเชื่อมแทนการจับมือกัน เส้นเชื่อมก็จะเป็นเส้นเชื่อมไม่มีทิศ เพราะการที่ A จับมือ B ก็แปลว่า B จับมือ A อย่างไรก็ตาม สมมุติถ้าจุดยอดแทนคนและเส้นเชื่อมแทนการรู้จัก เส้นเชื่อมก็ต้องเป็นเส้นเชื่อมมีทิศทาง เพราะ A รู้จัก B ไม่จำเป็นว่า B ต้องรู้จัก A หรือนั่นก็คือความสัมพันธ์การรู้จักไม่เป็นความสัมพันธ์สมมาตร จุดยอดอาจจะถูกเรียกว่าโหนด ปม หรือจุด ในขณะที่เส้นเชื่อมอาจถูกเรียกว่าเส้น คำว่า "กราฟ" ถูกใช้ครั้งแรกโดย J.J. Sylvester ในปี..

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและกราฟ (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

กราฟบริบูรณ์

กราฟบริบูรณ์ (complete graph) เป็น กราฟ ที่ทุกคู่ของ จุดยอด ถูกเชื่อมต่อด้วย เส้นเชื่อม เป็น กราฟสม่ำเสมอ ที่มีระดับขั้น n-1 กราฟบริบูรณ์บนจุดยอด n จุด ใช้สัญลักษณ์ K_n, มี n จุดยอด, และ \frac เส้นเชื่อม ไดกราฟบริบูรณ์ (complete digraph) ก็เป็นลักษณะเดียวกับกราฟ ต่างกันที่เส้นเชื่อมแต่ละเส้น จะถูกแทนด้วยเป็นเส้นเชื่อมระบุทิศทาง 2 เส้น ในทิศทางตรงข้ามกัน.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและกราฟบริบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

การไหลในเครือข่าย

ในทฤษฎีกราฟ การไหลในเครือข่าย (network flow) คือ การกำหนดค่าให้กับเส้นเชื่อมในกราฟระบุทิศทางถ่วงน้ำหนัก (เรียกว่า เครือข่ายการไหล (Flow network) ในกรณีนี้) ซึ่ง.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและการไหลในเครือข่าย · ดูเพิ่มเติม »

รายการประชิด

รายการประชิด(อังกฤษ: Adjacency List) เป็นวิธีการของโครงสร้างแบบรายการของทฤษฎีกราฟ ซึ่งเป็นการใช้ลิสต์ในการเก็บข้อมูลของกราฟซึ่งเป็นโครงสร้างข้อมูลโดยวิธีการนี้จะใช้สำหรับการแก้ปัญหาของทฤษฎีกราฟ.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและรายการประชิด · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการคอมพิวเตอร์

วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer science) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฎีเครือข่าย ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในห้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร และ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรก.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและวิทยาการคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศักย์ไฟฟ้า

ักย์ไฟฟ้า (electric potential) (ยังถูกเรียกว่า ศักย์สนามไฟฟ้าหรือศักย์ไฟฟ้าสถิต) เป็นปริมาณของพลังงานศักย์ไฟฟ้าที่ประจุไฟฟ้าที่จุดหนึ่งเดียวนั้นจะพึงมีถ้ามันถูกมองหาตำแหน่งที่จุดใดจุดหนึ่งในที่ว่าง และมีค่าเท่ากับงานที่ถูกกระทำโดยสนามไฟฟ้าหนึ่งในการเคลื่อนย้ายหนึ่งหน่วยของประจุบวกจากที่ห่างไกลไม่สิ้นสุด (infinity) มาที่จุดนั้น ในทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าแบบคลาสสิก ศักย์ไฟฟ้าเป็นปริมาณสเกลาร์แสดงโดย, หรือ มีค่าเท่ากับพลังงานศักย์ไฟฟ้า(มีหน่วยเป็นจูล)ของอนุภาคที่มีประจุใด ๆ ที่ตำแหน่งใด ๆ หารด้วยประจุ(มีหน่วยเป็นคูลอมบ์)ของอนุภาคนั้น เมื่อประจุของอนุภาคได้ถูกหารออกไป ส่วนที่เหลือจึงเป็น "คุณสมบัติ" ของตัวสนามไฟฟ้าเอง ค่านี้สามารถคำนวณได้ในสนามไฟฟ้าที่คงที่(เวลาไม่เปลี่ยน)หรือในสนามไฟฟ้าแบบไดนามิก(เปลี่ยนไปตามเวลา)ในเวลาที่กำหนด และมีหน่วยเป็นจูลต่อคูลอมบ์, หรือ volts ศักย์ไฟฟ้าที่อินฟินิตี้สมมติว่ามีค่าเป็นศูนย์ ศักย์ไฟฟ้าเป็นปริมาณสเกลาร์ เพราะศักย์ไฟฟ้าเป็นพลังงานต่อหนึ่งหน่วยประจุเนื่องจากพลังงานศักย์ไฟฟ้ามีหน่วยเป็นจูล (J) ประจุมีหน่วยเป็นคูลอมบ์ (C) ศักย์ไฟฟ้าจึงมีหน่วยเป็น จูลต่อคูบอมบ์ ซึ่งเรียกว่า โวลต์ (V)            ในกรณีสนามโน้มถ่วงของโลก พลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุที่ตำแหน่งต่างๆ ขึ้นกับความสูงของวัตถุเมื่อเทียบกับระดับอ้างอิง ซึ่งจะอยู่ที่ระดับดำก็ได้แล้วแต่จะกำหนด และให้ระดับอ้างอิงนี้มีพลังงานศักย์โน้มถ่วงเป็นศูนย์ ในการหาพลังงานศักย์ไฟฟ้าของประจุที่ตำแหน่งต่างๆ ก็ต้องกำหนดระดับอ้างอิงเช่นกัน นอกจากนี้ศักย์ไฟฟ้าแบบสเกลล่าร์ทั่วไปยังถูกใช้ในระบบ electrodynamics เมื่อสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาปรากฎอยู่ แต่ศักย์ไฟฟ้าทั่วไปนี้ไม่สามารถคำนวนออกมาง่าย ๆ ศักย์ไฟฟ้าและศักย์เวกเตอร์แม่เหล็กรวมเข้าด้วยกันเป็นสี่เวกเตอร์ เพื่อที่ว่าทั้งสองชนิดของศักย์จะถูกนำมาผสมกันภายใต้ Lorentz transformations.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและศักย์ไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

สะพานทั้งเจ็ดแห่งเมืองเคอนิจส์แบร์ก

แผนที่ของเมืองเคอนิจส์แบร์กนสมัยออยเลอร์ แสดงให้เห็นสะพานทั้งเจ็ด สะพานทั้งเจ็ดแห่งเมืองเคอนิจส์แบร์ก (Seven Bridges of Königsberg) เป็นปัญหาที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถานที่ คือ เมืองเคอนิจส์แบร์ก ในปรัสเซีย (คาลินินกราด รัสเซีย ในปัจจุบัน) ซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำเพรเกิลและมีเกาะอยู่ 2 เกาะเชื่อมต่อถึงกันด้วยสะพานทั้ง 7 สะพาน คำถามคือ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเดินให้ครบทุกสะพาน โดยผ่านแต่ละสะพานเพียงครั้งเดียวและกลับมาที่จุดเริ่มต้นได้ ในพ.ศ. 2279 (ค.ศ. 1736) เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ ได้พิสูจน์ว่าไม่มีทางเป็นไปได้.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและสะพานทั้งเจ็ดแห่งเมืองเคอนิจส์แบร์ก · ดูเพิ่มเติม »

สาขาของคณิตศาสตร์

องคณิตศาสตร์ แบ่งตาม.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและสาขาของคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อภิธานศัพท์ทฤษฎีกราฟ

ทฤษฎีกราฟเติบโตอย่างรวดเร็วในวงการวิจัยด้านคณิตศาสตร์ และมีคำศัพท์เฉพาะทางอยู่หลายคำ บทความนี้จะรวบรวมคำและความหมายของศัพท์ในทฤษฎีกราฟ.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและอภิธานศัพท์ทฤษฎีกราฟ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีบทสี่สี

แผนที่ที่ระบายด้วยสี 4 สี ทฤษฎีบทสี่สี (Four color theorem) กล่าวว่า แผนที่ทางภูมิศาสตร์สามารถระบายด้วยสี 4 สี ซึ่งไม่มีพื้นที่ที่อยู่ติดกันมีสีเดียวกันได้เสมอ เราเรียกพื้นที่ว่าติดกันก็ต่อเมื่อมันมีส่วนของขอบร่วมกัน ไม่ใช่แค่จุดร่วมกัน และพื้นที่แต่ละชิ้นจะต้องติดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ใช่แยกเป็นหลายๆ ส่วน อย่างมิชิแกน หรืออาเซอร์ไบจาน เป็นที่ประจักษ์ว่าสี 3 สีนั้นไม่เพียงพอ ซึ่งพิสูจน์ได้ไม่ยาก นอกจากนั้น เราสามารถพิสูจน์ได้ว่าสี 5 สีนั้นเพียงพอในการระบายแผนที่ ทฤษฎีบทสี่สี เป็นทฤษฎีบทแรกที่ถูกพิสูจน์ด้วยคอมพิวเตอร์ แต่การพิสูจน์นี้ไม่เป็นที่ยอมรับจากนักคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่ เพราะว่ามันไม่สามารถตรวจสอบด้วยคนได้ และบางคนถึงกับกังวลในความถูกต้องของตัวแปลภาษา (คอมไพเลอร์) และฮาร์ดแวร์ที่ใช้ทำงานโปรแกรมสำหรับการพิสูจน์ การขาดความสง่างามทางคณิตศาสตร์ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ดังคำกล่าวอันหนึ่งว่า "บทพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ที่ดีเป็นดั่งบทกวี — แต่นี่มันคือสมุดจดเบอร์โทรศัพท์ชัดๆ!".

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและทฤษฎีบทสี่สี · ดูเพิ่มเติม »

ทอพอโลยี

การเปลี่ยนรูปถ้วยกาแฟเป็นโดนัท ทอพอโลยี (Topology, มาจากภาษากรีก: topos, สถานที่ และ logos, การเรียน) เป็นสาขาหลักทางคณิตศาสตร์ ที่สนใจเกี่ยวกับ คุณสมบัติทางรูปร่างที่ไม่แปรเปลี่ยนภายใต้การดึง ยืด หด บีบ (โดยไม่มีการฉีก การเจาะ หรือ การเชื่อมติดใหม่) โดยเรียกคุณสมบัติเหล่านี้ว่าความไม่แปรผันทางทอพอโลยี ทอพอโลยีได้รับการศึกษาอย่างจริงจังในช่วงปี ค.ศ. 1925 - ค.ศ. 1975 นอกจากนี้ ทอพอโลยี ยังหมายความถึง วัตถุทางคณิตศาสตร์ประเภทหนึ่ง ซึ่งในความหมายนี้ ทอพอโลยี คือ ปริภูมิคณิตศาสตร์ หรือที่เรียกกันว่า ปริภูมิทอพอโลยี (topological space) โดยปริภูมิทอพอโลยี มีนิยามเป็น คอลเล็กชันของเซตเปิด ที่มี \varnothing, \varnothing^c เป็นสมาชิก และ มีคุณสมบัติปิดภายใต้การยูเนียนใด ๆ (ยูเนียนจำกัด, ยูเนียนอนันต์นับได้ และ ยูเนียนอนันต์นับไม่ได้) และการอินเตอร์เซกชันแบบจำกั นักทอพอโลยี มักโดนล้อเลียนว่า ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่าง โดนัท หรือ วัตถุรูปห่วงยาง กับ แก้วกาแฟมีหูได้ (เพราะทั้งสองสิ่งเป็นวัตถุที่มีผิวเรียบ ต่อเนื่อง และมีรู 1 รูเหมือนกัน ซึ่งสมมูลกันในเชิงทอพอโลยี) ทอพอโลยีบางครั้งถูกเรียกว่า "เรขาคณิตแผ่นยาง" เนื่องจากในการศึกษานั้นจะไม่นับความแตกต่างระหว่างรูปร่างไม่ว่าจะเป็นวงกลมและสี่เหลี่ยม (เนื่องจากวงกลมที่ทำจากแผ่นยางสามารถดึงให้กลายเป็นรูปสี่เหลี่ยมได้) แต่จะแยกแยะความแตกต่างระหว่างวงกลมและรูปเลขแปด (เราไม่สามารถดึงรูปเลขแปดให้กลายเป็นวงกลมได้โดยไม่ฉีกมันออก).

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและทอพอโลยี · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธี

ั้นตอนวิธี หรือ อัลกอริทึม (algorithm) หมายถึงกระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถเข้าใจได้ มีลำดับหรือวิธีการในการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและชัดเจน เมื่อนำเข้าอะไร แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์เช่นไร ซึ่งแตกต่างจากการแก้ปัญหาแบบสามัญสำนึก หรือฮิวริสติก (heuristic) โดยทั่วไป ขั้นตอนวิธี จะประกอบด้วย วิธีการเป็นขั้นๆ และมีส่วนที่ต้องทำแบบวนซ้ำ (iterate) หรือ เวียนเกิด (recursive) โดยใช้ตรรกะ (logic) และ/หรือ ในการเปรียบเทียบ (comparison) ในขั้นตอนต่างๆ จนกระทั่งเสร็จสิ้นการทำงาน ในการทำงานอย่างเดียวกัน เราอาจจะเลือกขั้นตอนวิธีที่ต่างกันเพื่อแก้ปัญหาได้ โดยที่ผลลัพธ์ที่ได้ในขั้นสุดท้ายจะออกมาเหมือนกันหรือไม่ก็ได้ และจะมีความแตกต่าง ที่จำนวนและชุดคำสั่งที่ใช้ต่างกันซึ่งส่งผลให้ เวลา (time), และขนาดหน่วยความจำ (space) ที่ต้องการต่างกัน หรือเรียกได้อีกอย่างว่ามีความซับซ้อน (complexity) ต่างกัน การนำขั้นตอนวิธีไปใช้ ไม่จำกัดเฉพาะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถใช้กับปัญหาอื่น ๆ ได้เช่น การออกแบบวงจรไฟฟ้า, การทำงานเครื่องจักรกล, หรือแม้กระทั่งปัญหาในธรรมชาติ เช่น วิธีของสมองมนุษย์ในการคิดเลข หรือวิธีการขนอาหารของแมลง หนึ่งในขั้นตอนวิธีอย่างง่าย คือ ขั้นตอนวิธีที่ใช้หาจำนวนที่มีค่ามากที่สุดในรายการ (ซึ่งไม่ได้เรียงลำดับไว้) ในการแก้ปัญหานี้ เราจะต้องดูจำนวนทุกจำนวนในรายการ ซึ่งมีขั้นตอนวิธีดังนี้.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและขั้นตอนวิธี · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหากลุ่มพรรคพวก

ปัญหากลุ่มพรรคพวก (Clique problem) เป็นหนึ่งในปัญหากราฟที่เป็นเอ็นพีบริบูรณ์ (พิสูจน์โดยริชาร์ด คาร์ปในปี 2515) โดยที่กลุ่มพรรคพวก (clique) ภายในกราฟหมายถึงเซ็ตของจุดที่ระหว่างคู่ใดๆมีด้านเชื่อมกัน หรือพูดอีกอย่างก็คือ กลุ่มพรรคพวกเป็น complete induced subgraph ให้ดูตัวอย่างได้ในรูป ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนว่า ระหว่างจุด 1 2 และ 5 มีด้านเชื่อมถึงกันหมด ในกรณีนี้เราเรียกว่าทั้งสามจุดนี้เป็นกลุ่มพรรคพวกที่มีขนาดเท่ากับ 3 ปัญหากลุ่มพรรคพวกคือ ปัญหาที่ตัดสินว่ากราฟที่กำหนดมีกลุ่มพรรคพวกที่มีขนาด k หรือไม่ เราสามารถพิสูจน์ได้ไม่ยากนักว่าปัญหานี้อยู่ในเอ็นพี เพราะว่าถ้าเรากำหนดจุดที่อยู่ในกลุ่มพรรคพวกมาให้ เราสามารถตรวจสอบได้ในเวลา O (k^2) ว่าจุดที่กำหนดมาให้เป็นกลุ่มพรรคพวกจริงหรือไม่ เราอาจจะนิยามปัญหานี้ได้อีกแบบในเชิงของ optimization problem ก็คือ ให้หากลุ่มพรรคพวกที่ใหญ่ที่สุดในกราฟที่กำหนด ปัญหากลุ่มพรรคพวกเป็นเอ็นพีบริบูรณ์เนื่องมาจากความเป็นเอ็นพีบริบูรณ์ของปัญหาเซตอิสระ เนื่องมาจากว่าถ้ามีกลุ่มพรรคพวกที่มีขนาด k ในกราฟ G จะมีเซตอิสระขนาด k ในกราฟ \barเสมอ เพราะฉะนั้นเราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าปัญหากลุ่มพรรคพวกกับปัญหาเซตอิสระสามารถ ลดรูป ระหว่างสองปัญหาได้.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและปัญหากลุ่มพรรคพวก · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาวิถีสั้นสุด

วิถีสั้นสุดบนกราฟไม่ระบุทิศทางที่ไม่ถ่วงน้ำหนักระหว่างจุดยอด 6 กับ 1 คือ (6, 4, 5, 1) ในทฤษฎีกราฟ ปัญหาวิถีสั้นสุด (shortest path problem)​ เป็นปัญหาที่ต้องการหาวิถีสั้นสุดระหว่างจุดยอด 2 จุดภายในกราฟ กล่าวคือในวิถีสั้นสุดนั้น ผลรวมของน้ำหนักในเส้นเชื่อมแต่ละเส้นรวมกันแล้วน้อยที่สุดในบรรดาวิถีทั้งหมด ตัวอย่างปัญหานี้เช่นการหาวิธีเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งในแผนที่ ในกรณีนี้ จุดยอดแทนด้วยสถานที่ต่างๆ ส่วนเส้นเชื่อมแทนด้วยถนนหรือเส้นทาง และน้ำหนักบนเส้นเชื่อมแทนด้วยเวลาในการเดินทางด้วยถนนหรือเส้นทางนั้น.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและปัญหาวิถีสั้นสุด · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้างข้อมูล

ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โครงสร้างข้อมูล เป็นวิธีการจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บ่อยครั้งที่การเลือกโครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสมจะทำให้เราสามารถเลือกใช้ขั้นตอนวิธีที่มีประสิทธิภาพไปพร้อมกันได้ การเลือกโครงสร้างข้อมูลนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นจากการเลือกแบบชนิดข้อมูลนามธรรม โครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบเป็นอย่างดีจะสามารถรองรับการประมวลผลที่หนักหน่วงโดยใช้ทรัพยากรที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งในแง่ของเวลาและหน่วยความจำ โครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบจะเหมาะสมกับงานที่แตกต่างกัน และโครงสร้างข้อมูลบางแบบก็ออกแบบมาสำหรับบางงานโดยเฉพาะ อย่างเช่น ต้นไม้แบบบีจะเหมาะสำหรับระบบงานฐานข้อมูล ในกระบวนการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเลือกโครงสร้างข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องคำนึงถึง ซึ่งจากการพัฒนาระบบงานใหญ่ๆได้แสดงให้เห็นว่า ความยากในการพัฒนาและประสิทธิภาพของระบบจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างข้อมูลที่เลือกใช้อย่างมาก หลังจากตัดสินใจเลือกโครงสร้างข้อมูลที่จะใช้แล้วก็มักจะทราบถึงขั้นตอนวิธีที่ต้องใช้ได้ทันที แต่ในบางครั้งก็อาจจะกลับกัน คือ การประมวลผลที่สำคัญๆของโปรแกรมได้มีการใช้ขั้นตอนวิธีที่ต้องใช้โครงสร้างข้อมูลบางแบบโดยเฉพาะ จึงจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเลือกโครงสร้างข้อมูลด้วยวิธีการใด โครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากอยู่ดี แนวความคิดในเรื่องโครงสร้างข้อมูลนี้ส่งผล กับการพัฒนาวิธีการมาตรฐานต่างๆในการออกแบบและเขียนโปรแกรม หลายภาษาโปรแกรมนั้นได้พัฒนารวมเอาโครงสร้างข้อมูลนี้ไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบโปรแกรม เพื่อประโยชน์ในการใช้ซ้ำ.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและโครงสร้างข้อมูล · ดูเพิ่มเติม »

เมตริกซ์ประชิด

แมทริกซ์ประชิด (Adjacency Matrix) จะใช้เวกเตอร์ (อาร์เรย์หนึ่งมิติ) เพื่อจัดเก็บเวอร์เท็กซ์และใช้แมทริกซ์(อาร์เรย์สองมิติ) เพื่อจัดเก็บเอดจ์ ถ้าหากเวอร์เท็ฏซ์คู่หนึ่งอยู่ประชิดกันและมีเอดจ์เชื่อมโยงระหว่างเวอร์เท็กซ์คู่นั้น แมทริกคู่นั้นจะมีค่าเป็น 1 ในขณะที่หากไม่มีเอดจ์เชื่อมโยงนั่นหมายถึงไม่มีเส้นทางระหว่างกัน แมทริกคู่นั้นก็จะถูกกำหนดให้ มีค่าเท่ากับ 0 ในกรณีเป็นกราฟแบบมีทิศทางหรือไดกราฟ แมทริกซ์ประชิดจะมีลูกศรเป็นตัวกำหนดทิศทาง รูปที่ 1 https://www.slideshare.net/tumetr/graph-43943214.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและเมตริกซ์ประชิด · ดูเพิ่มเติม »

เรขาคณิต

รขาคณิต (Geometry; กรีก: γεωμετρία; geo.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและเรขาคณิต · ดูเพิ่มเติม »

เลออนฮาร์ด ออยเลอร์

องเลออนฮาร์ด ออยเลอร์ วาดโดยจิตรกร เอ็มมานูเอล ฮันด์มันน์ (Emanuel Handmann) เมื่อ ค.ศ.1753 เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ (Leonhard Euler, 15 เมษายน พ.ศ. 2250 – 18 กันยายน พ.ศ. 2326) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวสวิส ได้ชื่อว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลก เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้คำว่า "ฟังก์ชัน" ในแวดวงคณิตศาสตร์ (ตามคำนิยามของไลบ์นิซ ใน ค.ศ. 1694) ในการบรรยายถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปร เช่น y.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและเลออนฮาร์ด ออยเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เซตอิสระ

ซตอิสระ ในทฤษฎีกราฟ เซตอิสระของกราฟ G หมายถึงเซตของจุดที่คู่จุดใด ๆ ภายในเซตไม่มีเส้นเชื่อมถึงกันเลย หรืออาจจะพูดได้อีกแบบหนึ่งคือ เส้นเชื่อมใด ๆ ที่อยู่ในกราฟจะมีจุดปลายของเส้นเชื่อมอยู่ในเซตนี้ไม่เกินหนึ่ง.

ใหม่!!: ทฤษฎีกราฟและเซตอิสระ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ทฤษฏีกราฟ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »