โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทรอปิกออฟแคนเซอร์

ดัชนี ทรอปิกออฟแคนเซอร์

แผนที่โลกแสดงทรอปิกออฟแคนเซอร์ ทรอปิกออฟแคนเซอร์ (Tropic of Cancer) หรือเรียก ทรอปิกเหนือ เป็นวงกลมละติจูดเหนือสุดบนโลกที่ดวงอาทิตย์ปรากฏหัวศีรษะโดยตรงเมื่อถึงจุดสูงสุด เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นปีละครั้ง คือ เวลาอายันเหนือ (Northern solstice) เมื่อซีกโลกเหนือเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ถึงขนาดมากที่สุด วันที่ เส้นนี้อยู่ที่ เหนือเส้นศูนย์สูตร ส่วนในซีกโลกใต้ เส้นที่กำหนดตำแหน่งใต้สุดที่ดวงอาทิตย์อาจปรากฏเหนือศีรษะโดยตรง คือ ทรอปิกออฟแคปริคอร์น สองทรอปิกนี้เป็นการวัดองศาใหญ่หรือวงกลมละติจูดใหญ่สองจากห้าอย่างซึ่งทำเครื่องหมายแผนที่โลก นอกเหนือจากวงกลมอาร์กติกและแอนตาร์กติกและเส้นศูนย์สูตร ตำแหน่งของวงกลมละติจูดเหล่านี้ (สัมพันธ์กับเส้นศูนย์สูตร) กำหนดโดยความเอียงของแกนหมุนโลกเทียบกับระนาบวงโคจรของโลก.

13 ความสัมพันธ์: กลุ่มดาวปูราศีกรกฎละติจูดวงกลมละติจูดวงกลมอาร์กติกวงกลมแอนตาร์กติกอายันเหนือทรอปิกออฟแคปริคอร์นดวงอาทิตย์ครีษมายันซีกโลกใต้ซีกโลกเหนือเส้นศูนย์สูตร

กลุ่มดาวปู

กลุ่มดาวปู หรือ กลุ่มดาวกรกฎ (♋) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี มีขนาดเล็กและไม่สว่าง อยู่ระหว่างกลุ่มดาวคนคู่ทางทิศตะวันตก และกลุ่มดาวสิงโตทางทิศตะวันออก ทางเหนือคือกลุ่มดาวแมวป่า ทางใต้ คือ กลุ่มดาวหมาเล็กและกลุ่มดาวงูไฮดรา หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวปู.

ใหม่!!: ทรอปิกออฟแคนเซอร์และกลุ่มดาวปู · ดูเพิ่มเติม »

ราศีกรกฎ

ราศีกรกฎ (Cancer จากcancer แปลว่า "ปู") เป็นราศีที่ 4 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีเมถุนกับราศีสิงห์ มีสัญลักษณ์เป็นปูหรือกุ้ง ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีกรกฎนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน ถึง 22 กรกฎาคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 กรกฎาคม ถึง 15 สิงหาคม.

ใหม่!!: ทรอปิกออฟแคนเซอร์และราศีกรกฎ · ดูเพิ่มเติม »

ละติจูด

ละติจูด (latitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นรุ้ง แทนด้วยอักษรกรีก φ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลกและแบ่งเขตสภาวะอากาศโดยวัดจากเส้นศูนย์สูตร พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ลองจิจูด พื้นที่ที่มีพิกัดละติจูดต่างกัน จะมีภูมิอากาศ (climate) และสภาพอากาศ (weather) ต่างกัน ละติจูดมีค่าตั้งแต่ 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตร ไปจนถึง 90 องศาที่บริเวณขั้วโลก (นับเป็น 90 องศาเหนือหรือใต้) เนื่องจากเป็นการวัดมุมจากจุดสมมติที่เส้นศูนย์สูตรไปยังจุดขั้วโลกที่ 90 อง.

ใหม่!!: ทรอปิกออฟแคนเซอร์และละติจูด · ดูเพิ่มเติม »

วงกลมละติจูด

วงกลมละติจูด (Circle of Latitude) หรือ เส้นขนาน (Parallel) เป็นเส้นสมมติในแนวตะวันออก-ตะวันตกของโลก ลากเชื่อมจุดต่างๆ ที่มีพิกัดละติจูดเท่ากัน วงกลมละติจูดวัดจากการหมุนรอบตัวของโลก โดยจะตั้งฉากกับแกนหมุนเสมอ และมีวงกลมละติจูดพิเศษ 4 เส้นที่นำมาจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ วงกลมละติจูดที่สำคัญมี 5 เส้นคือ.

ใหม่!!: ทรอปิกออฟแคนเซอร์และวงกลมละติจูด · ดูเพิ่มเติม »

วงกลมอาร์กติก

แผนที่ของอาร์กติก แสดงให้เห็นวงกลมอาร์กติก (เส้นประสีน้ำเงิน) เส้นสีแดงคือเส้นที่แสดงให้เห็นว่าบริเวณภายในเส้นนั้นมีอุณหภูมิมีค่าเท่ากัน วงกลมอาร์กติก (Arctic Circle) คือวงกลมละติจูดที่อยู่เหนือที่สุด ในบรรดา 5 วงกลมละติจูดหลักบนแผนที่โลก พื้นในในบริเวณนี้เรียกว่าอาร์กติก ด้านเหนือสุดของวงกลม มีปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือของฟ้าตลอดเวลาต่อเนื่องกัน 24 ชั่วโมง อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ทำให้สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้แม้ในเวลากลางคืน และมีปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าตลอดเวลาต่อเนื่องกัน 24 ชั่วโมง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทำให้ไม่สามารถเห็นดวงอาทิตย์ได้แม้ในเวลากลางวัน ปรากฏการณ์เกิดขึ้นที่ขั้วโลกใต้เช่นกัน ตำแหน่งของวงกลมอาร์กติก ไม่ใช่ตำแหน่งที่คงที่ จนถึงวันที่ ตำแหน่งอยู่ที่ เหนือเส้นศูนย์สูตร ตำแหน่งนี้ขึ้นอยู่กับการเอียงของแกนโลก ซึ่งมีค่าไม่คงที่ ผันแปรประมาณ 2 องศา ตลอด 40,000 ปีที่ผ่านมานี้ เป็นผลมาจากแรงกระทำจากการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ ทำให้ตำแหน่งของวงกลมอาร์กติกไม่คงที่ ผลที่ตามมาคือ ตำแหน่งของวงกลมอาร์กติกขณะนี้ขยับขึ้นไปทางเหนือ ปีละ 15 เมตร หมวดหมู่:เส้นละติจูด.

ใหม่!!: ทรอปิกออฟแคนเซอร์และวงกลมอาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

วงกลมแอนตาร์กติก

แผนที่วงกลมแอนตาร์กติก วงกลมแอนตาร์กติก คือส่วนที่อยู่ไปทางขั้วโลกใต้มากที่สุดของ 5 วงกลมหลักของวงกลมละติจูดในแผนที่โลก พื้นที่ในบริเวณวงกลมขั้วโลกใต้นี้เป็นที่รู้จักในชื่อแอนตาร์กติก ด้านใต้ของวงกลมแอนตาร์กติกนี้ จะมีเหตุการที่ดวงอาทิตย์อยู่เหนือขอบฟ้า 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์ในเวลากลางคืน และอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งที่ดวงอาทิตย์จะไม่โผล่พ้นขอบฟ้าเป็นเวลาต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ไม่เห็นดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับบริเวณขั้วโลกเหนือ ที่วงกลมอาร์กติกด้วย ตำแหน่งของวงกลมแอนตาร์กติกยังไม่ใช่พิกัดคงที่ จนถึง 9 ธันวาคม 2559 พิกัดอยู่ที่ตำแหน่ง 66°33′46.5″ ด้านใต้ของเส้นศูนย์สูตร ทั้งนี้ละติจูดขึ้นอยู่กับการเอียงของโลก ซึ่งมีค่าไม่คงที่ ผันแปรประมาณ 2 องศา ในรอบ 40,000 ปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากแรงกระทำของการโคจรของดวงจันทร์ ทำให้วงกลมแอนตาร์กติกเลื่อนลงใต้ไปเรื่อยๆ ด้วยความเร็วประมาณปีละ 15 เมตร.

ใหม่!!: ทรอปิกออฟแคนเซอร์และวงกลมแอนตาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

อายันเหนือ

1.

ใหม่!!: ทรอปิกออฟแคนเซอร์และอายันเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทรอปิกออฟแคปริคอร์น

แผนที่โลกแสดงทรอปิกออฟแคปริคอร์น ทรอปิกออฟแคปริคอร์น (Tropic of Capricorn) หรือ ทรอปิกใต้ เป็นวงกลมละติจูดที่ประกอบด้วยจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) ในอายันใต้ (Southern solstice) ของเดือนธันวาคม ทรอปิกออฟแคปริคอร์นเป็นละติจูดใต้สุดที่ดวงอาทิตย์สามารถปรากฏอยู่เหนือหัวพอดี ส่วนละติจูดเหนือสุดที่ดวงอาทิตย์สามารถปรากฏอยู่เหนือหัวพอดีคือทรอปิกออฟแคนเซอร์ ทรอปิกออฟแคปริคอร์นเป็นหนึ่งในห้าวงกลมละติจูดหลักบนแผนที่ของโลก ละติจูดของเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์นคือ ใต้เส้นศูนย์สูตร (ณ วันที่) แต่เส้นนี้ค่อยๆเลื่อนไปทางเหนือด้วยอัตรา 0.47 พิลิปดา หรือ 15 เมตรต่อปีในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ทรอปิกออฟแคนเซอร์และทรอปิกออฟแคปริคอร์น · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ทรอปิกออฟแคนเซอร์และดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ครีษมายัน

แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกในส่วนครึ่งซีกโลกเหนือในวันครีษมายัน ครีษมายัน หรือ อุตตรายัน (summer solstice) เป็นการที่ดวงอาทิตย์ โคจรไปถึงจุดหยุด (solstice) คือ จุดสุดทางเหนือในราววันที่ 20 มิถุนายน หรือ 21 มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวันนานกว่ากลางคืน, ตรงข้ามกับ เหมายัน (winter solstice) (สันสกฤต: คฺรีษฺม + อายนฺ).

ใหม่!!: ทรอปิกออฟแคนเซอร์และครีษมายัน · ดูเพิ่มเติม »

ซีกโลกใต้

ซีกโลกใต้จากเหนือขั้วโลกใต้ ซีกโลกใต้เป็นครึ่งทรงกลมของโลกที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร มีทั้งหมดหรือบางส่วนของห้าทวีป (แอนตาร์กติกา ออสเตรเลีย ประมาณ 9/10 ของทวีปอเมริกาใต้ 1/3 ทางใต้ของทวีปแอฟริกา และหลายหมู่เกาะทางใต้นอกฝั่งแผ่นดินใหญ่ทวีปเอเชีย) สี่มหาสมุทร (อินเดีย แอตแลนติกใต้ ใต้และแปซิฟิกใต้) และโอเชียเนียส่วนมาก เนื่องจากความเอียงของการหมุนของโลกเทียบกับดวงอาทิตย์และระนาบอุปราคา ฤดูร้อนจึงกินเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงมีนาคม และฤดูหนาวกินเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน วันที่ 22 หรือ 23 กันยายนเป็นวสันตวิษุวัต และวันที่ 20 หรือ 21 มีนาคมเป็นศารทวิษุวัต.

ใหม่!!: ทรอปิกออฟแคนเซอร์และซีกโลกใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ซีกโลกเหนือ

แผนที่ทางภูมิศาสตร์ของซีกโลกเหนือ บริเวณสีน้ำเงินคือซีกโลกเหนือ ส่วนบริเวณสีเหลืองคือซีกโลกใต้ เส้นที่ลากผ่านกึ่งกลางภาพคือเส้นศูนย์สูตร ซีกโลกเหนือ (northern hemisphere) คือบริเวณของโลกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปจนถึงขั้วโลกเหนือ ตรงข้ามกับซีกโลกใต้ ค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของละติจูดของตำแหน่งใดก็ตามบนซีกโลกเหนือจะเป็นบวกเสมอและใช้สัญลักษณ์แทนด้วยตัว N ฤดูหนาวของพื้นที่ในซีกโลกเหนือจะเริ่มตั้งแต่เหมายัน (ราววันที่ 21 ธันวาคม) จนถึงวสันตวิษุวัต (ราววันที่ 20 มีนาคม) ส่วนฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่ครีษมายัน (ราววันที่ 21 มิถุนายน) ไปจนถึงศารทวิษุวัต (ราววันที่ 23 กันยายน) ซีกโลกเหนือประกอบด้วยพื้นน้ำมากกว่าแผ่นดินอย่างชัดเจน แต่ก็ยังปกคลุมด้วยแผ่นดินมากกว่าซีกโลกใต้ ซีกโลกเหนือประกอบด้วยแผ่นดิน 39 % และพื้นน้ำ 61 % ประชากรราว 90 % ของโลกอาศัยอยู่ในซีกโลกเหนือ แผ่นดินส่วนใหญ่เป็นทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทวีปอเมริกาเหนือ และส่วนใหญ่ของทวีปแอฟริกา นอกจากนี้ยังมีบางส่วนของทวีปอเมริกาใต้ กรีนแลนด์ เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มหาสมุทรที่มีพื้นที่อยู่ในซีกโลกเหนือได้แก่มหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแปซิฟิกและแอตแลนติกราวครึ่งหนึ่ง และมหาสมุทรอินเดียบางส่วน จุดศูนย์กลางของซีกโลกเหนือคือขั้วโลกเหนือ ซึ่งเป็นจุดตัดทิศเหนือระหว่างขั้วโลกกับพื้นผิวของโลก ส่วนขั้วแม่เหล็กเหนือจะแปรผันไปเหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล ออโรราที่เกิดขึ้นในซีกโลกเหนือเรียกว่า aurora borealis หรือ แสงเหนือ ในภาษาไทย เนื่องจากแรงโคริออลิสจากการหมุนของโลก บริเวณความกดอากาศต่ำที่กำเนิดในซีกโลกเหนือ เช่น เฮอร์ริเคนหรือไต้ฝุ่น จะปรากฏการหมุนของพายุในทิศทวนเข็มนาฬิกาเสมอ ซีกเหนือของดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะสามารถนิยามได้จาก บริเวณของดาวที่มีซีกฟ้าเดียวกับขั้วโลกเหนือเมื่อเทียบกับระนาบไม่แปรผันของระบบสุร.

ใหม่!!: ทรอปิกออฟแคนเซอร์และซีกโลกเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นศูนย์สูตร

้นศูนย์สูตรบนแผนที่โลก ในทางภูมิศาสตร์ เส้นศูนย์สูตร (Equator) คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวทิศตะวันตก-ตะวันออก และตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก เป็นเส้นสมมุติที่ลากผ่านเส้นศูนย์กลางวงกลม แบ่งโลกออกเป็นสองซีกเท่า ๆ กัน ผู้สังเกตที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตร มีระยะเวลาของกลางวันกับกลางคืนยาวนานเกือบเท่ากันตลอดทั้งปี และเห็นดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะในเวลาเที่ยงของวันวิษุวัต เส้นศูนย์สูตรของโลกมีความยาวประมาณ 40,075 กิโลเมตร ลากผ่าน 13 ประเทศ และเป็นหนึ่งในละติจูด 5 เส้นสำคัญของโลก เป็นละติจูดที่เรียกว่า "Great Circle" ที่ลากแบ่งครึ่งโลกเป็นวงกลมขนาดใหญ่ที่มีจุดศูนย์กลางและมีรัศมีเท่า ๆ กัน เมื่อขยายเส้นศูนย์สูตรโลกเป็นระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Plane) ออกไปตัดทรงกลมฟ้า เกิดเป็นวงกลมใหญ่ เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial Equator).

ใหม่!!: ทรอปิกออฟแคนเซอร์และเส้นศูนย์สูตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Tropic of Cancer

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »