โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนเจ้าฟ้า

ดัชนี ถนนเจ้าฟ้า

นนเจ้าฟ้า (Thanon Chao Fa) เป็นถนนสายสั้น ๆ สายหนึ่ง ในแขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่ถนนพระอาทิตย์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและท่าช้างวังหน้า ทอดผ่านตรอกโรงไหม, ซอยรามบุตรี และไปสิ้นสุดที่บริเวณจุดตัดกับถนนจักรพงษ์, ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า และถนนราชดำเนินกลาง รวมระยะทาง 570 เมตร โดยชื่อถนนนั้นมาจากพระนามพระอิสริยยศ ของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ พระโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กับพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี เนื่องจากในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ บริเวณท่าช้าง หรือวังหน้า อันเป็นจุดเริ่มต้นของถนน เคยเป็นที่ตั้งวังประทับของพระองค์มาก่อน.

13 ความสัมพันธ์: พระราชวังบวรสถานมงคลพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดีพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์กรุงเทพมหานครการเฉลิมพระยศเจ้านายสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)ถนนพระอาทิตย์ถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)ถนนรามบุตรีถนนจักรพงษ์เขตพระนคร

พระราชวังบวรสถานมงคล

ระราชวังบวรสถานมงคล หรือ พระบวรราชวัง ตั้งอยู่ที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระราชวังที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทซึ่งทรงดำรงพระอิสริยยศกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดให้สร้างขึ้น โดยเริ่มสร้างพร้อม ๆ กับพระบรมมหาราชวังใน พ.ศ. 2325 การก่อสร้างพระราชวังแห่งนี้ใช้พื้นที่ตั้งแต่ทิศเหนือของวัดสลัก (ปัจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร) ขึ้นไปจรดคลองคูเมืองเดิม และได้ทำผาติกรรมที่ดินส่วนหนึ่งทางด้านเหนือของวัดสลัก เข้ามาเป็นเขตพระราชวังบวรสถานมงคลด้วย อาณาเขตของพระราชวังบวรสถานมงคลเดิมกว้างขวางมาก แต่ปัจจุบันได้ดัดแปลงส่วนหนึ่งเป็นสนามหลวง และถนน และเป็นที่ตั้งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โรงละครแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

ใหม่!!: ถนนเจ้าฟ้าและพระราชวังบวรสถานมงคล · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี

ระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี (20 มีนาคม พ.ศ. 2328 — 4 มิถุนายน พ.ศ. 2410) พระราชธิดาพระองค์ที่ 11 ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย ต่อมาได้เสกสมรสเป็นฝ่ายในของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ มีพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวคือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพง.

ใหม่!!: ถนนเจ้าฟ้าและพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์

ระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ เกวลวงษวิสุทธิ์ สุรสีหุตมศักดิ์ อภิลักษณ์ปวโรภยชาติ บริสัษยนารถนราธิบดี (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2363 — 29 ตุลาคม พ.ศ. 2404) เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กับพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี พระองค์เป็นเจ้าฟ้าวังหน้าพระองค์ที่สองต่อจากสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าพิกุลทอง กรมขุนศรีสุนทร และเป็นเจ้าฟ้าวังหน้าพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์จักรี พระราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม..

ใหม่!!: ถนนเจ้าฟ้าและพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ถนนเจ้าฟ้าและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

การเฉลิมพระยศเจ้านาย

ระยศเจ้านาย ในราชสกุลมี 2 ประเภทคือ สกุลยศ คือ ยศที่เกิดเป็นเจ้าชั้นใดในเบื้องต้น เจ้านายที่เกิดในสกุลยศชั้นใด ก็อยู่ในชั้นยศชั้นนั้น เป็นยศที่ได้โดยการเกิด และ "อิสริยยศ" คือยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาแต่งตั้งให้ทางราชการในภายหลัง และ"ยศทางสกุล"โดยชั้นข้าหลวงให้นำหน้าสกุลว่า"วงค์"(เมื่อสิ้นสุดรัชกาล สำหรับเมื่อเป็นสามัญชน) เช่น วงค์ปินตา วงค์สมบูรณ์ วงค์บวรคง วงค์ปิ่นแก้ว ฯลฯ.

ใหม่!!: ถนนเจ้าฟ้าและการเฉลิมพระยศเจ้านาย · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ

มเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2328 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2375) เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: ถนนเจ้าฟ้าและสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

มุมมองแม่น้ำเจ้าพระยาจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (Somdet Phra Pinklao Bridge) หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานปิ่นเกล้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าระหว่างเขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับเขตบางกอกน้อย (ฝั่งธนบุรี) กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท สะพานพระปิ่นเกล้าเป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร ความกว้างของสะพาน 26.60 เมตร ความยาว 622 เมตร สร้างขึ้นเพื่อผ่อนคลายความคับคั่งของการจราจร โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ในการสำรวจออกแบบสะพาน และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลไทย โดยให้เงินกู้สมทบกับเงินงบประมาณของรัฐบาลไทย เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2514 และสร้างเสร็จทำพิธีเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2516 โดยได้รับพระราชทานนามว่า "สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า" เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพื้นที่ของสะพานทางฝั่งพระนครนั้นเคยเป็นเขตของพระราชวังบวรสถานมงคล.

ใหม่!!: ถนนเจ้าฟ้าและสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)

ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน..

ใหม่!!: ถนนเจ้าฟ้าและอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระอาทิตย์

ป้ายชื่อถนนพระอาทิตย์บริเวณป้อมพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ (Thanon Phra Athit) เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ในท้องที่แขวงพระบรมมหาราชวังและแขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีระยะทางระหว่างประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงบริเวณป้อมพระสุเมรุ ถนนพระสุเมรุ ชื่อของถนนพระอาทิตย์นำมาจากป้อมพระอาทิตย์ซึ่งเป็นป้อมปราการ 1 ใน 14 ป้อม ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อสถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานี ปัจจุบันป้อมพระอาทิตย์ถูกรื้อไปแล้ว.

ใหม่!!: ถนนเจ้าฟ้าและถนนพระอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)

นนราชดำเนินกลางและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน (Thanon Ratchadamnoen) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยถนน 3 สาย ได้แก.

ใหม่!!: ถนนเจ้าฟ้าและถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร) · ดูเพิ่มเติม »

ถนนรามบุตรี

นนรามบุตรี ช่วงข้างวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ถนนรามบุตรี หรือ ซอยรามบุตรี (Thanon Ram Buttri, Soi Ram Buttri) เป็นถนนขนาดเล็กสายหนึ่งลักษณะเป็นซอย ในย่านบางลำพู พื้นที่แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกเชื่อมระหว่างถนนสิบสามห้าง กับถนนจักรพงษ์ และช่วงที่ 2 จากถนนจักรพงษ์บริเวณข้างวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร เลี้ยวไปออกถนนเจ้าฟ้า บริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และตรงข้ามกับโรงละครแห่งชาติ ถนนรามบุตรี มีที่มาจากสะพานข้ามคลองวัดชนะสงคราม หรือคลองบางลำพูที่ชื่อ "สะพานรามบุตรี" ซึ่งเป็นสะพานที่หม่อมเจ้าหญิงเป้า สุริยกุล พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยา กรมพระรามอิศเรศ มีดำริให้มีการสร้างขึ้นโดยการบริจาคทรัพย์ เพื่อเป็นการถวายเป็นบำเพ็ญพระกุศลถวายแด่พระบิดา แล้วสร้างแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานนามให้ว่า สะพานรามบุตรี อันมีความหมายว่า "สะพานที่บุตรีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยา กรมพระรามอิศเรศ เป็นผู้สร้าง" และได้ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม..

ใหม่!!: ถนนเจ้าฟ้าและถนนรามบุตรี · ดูเพิ่มเติม »

ถนนจักรพงษ์

นนจักรพงษ์ในปี พ.ศ. 2559 ถนนจักรพงษ์ (Thanon Chakrabongse) เริ่มตั้งแต่ถนนเจ้าฟ้าถึงสะพานนรรัตน์สถาน (สะพานข้ามคลองรอบกรุง) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงชนะสงครามกับแขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ถนนจักรพงษ์เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น โดยทรงใช้วิธีการให้เจ้าของที่ดินริมถนนที่จะตัดขึ้นใหม่ออกเงินตัดถนนเอง แล้วพระราชทานนามว่า ถนนจักรพงษ์ ซึ่งมาจากพระนามของจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ต้นราชสกุลจักรพงษ์ พระราชโอรสซึ่งประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง ถนนจักรพงษ์เป็นถนนที่ตัดผ่านย่านการค้าสำคัญของกรุงเทพมหานครคือย่านบางลำพู.

ใหม่!!: ถนนเจ้าฟ้าและถนนจักรพงษ์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ถนนเจ้าฟ้าและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »