โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนสมเด็จเจ้าพระยา

ดัชนี ถนนสมเด็จเจ้าพระยา

นนสมเด็จเจ้าพระยา ถนนสมเด็จเจ้าพระยา (Thanon Somdet Chao Phraya) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางเริ่มต้นจากวงเวียนเล็ก ถนนประชาธิปก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในพื้นที่แขวงสมเด็จเจ้าพระยา ตัดกับถนนท่าดินแดงและเข้าพื้นที่แขวงคลองสานที่สี่แยกท่าดินแดง จากนั้นยังคงตรงไปในทิศเดิม จนกระทั่งสิ้นสุดที่สี่แยกคลองสานซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนลาดหญ้า ระยะทางรวม 1.440 กิโลเมตร มีความกว้าง 19.50 เมตร ถนนสมเด็จเจ้าพระยาเป็น "ถนนสายที่ 2" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรี ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ. 2472 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกำหนดแนวเส้นทางไว้ตั้งแต่วัดอมรินทราราม มาทางถนนบ้านขมิ้น ข้ามคลองบางกอกใหญ่ ผ่านถนนสายที่ 1 (ปัจจุบันคือถนนประชาธิปก) แล้วตรงไปตามแนวถนนคลองสานซึ่งมีอยู่แล้ว ไปบรรจบกับถนนสายที่ 4 (ปัจจุบันคือถนนลาดหญ้า) ที่ปากคลองสาน ยาวประมาณ 4,900 เมตร กว้าง 23 เมตร ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร ถนนสายที่ 2 สร้างและขยายใหม่ตามแนวถนนที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้สร้างไว้ รวมทั้งยังเป็นที่ตั้งจวน (บ้าน) ของสมเด็จเจ้าพระยาถึง 4 ท่านอีกด้วย ได้แก่ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ดังนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงทรงตั้งชื่อถนนถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ถนนสมเด็จเจ้าพระยา อย่างไรก็ตาม ถนนสายนี้ตัดสำเร็จเฉพาะส่วนปลาย โดยแยกออกเป็นสองด้านและมีเส้นทางไม่ต่อเนื่องกัน กล่าวคือ ส่วนปลายด้านหนึ่งเริ่มต้นจากวงเวียนเล็ก ใกล้วัดพิชยญาติการามไปจนถึงปากคลองสานซึ่งยังคงใช้ชื่อว่า "ถนนสมเด็จเจ้าพระยา" ตามเดิม และส่วนปลายอีกด้านมีระยะทางเริ่มต้นจากวัดอรุณราชวรารามจนถึงวัดอมรินทรารามจึงเรียกชื่อถนนส่วนนี้ใหม่ว่า "ถนนอรุณอมรินทร์" ส่วนถนนตอนกลางที่เชื่อมระหว่างสองส่วนดังกล่าวเพิ่งสร้างสำเร็จตลอดสายเมื่อไม่นานมานี้ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของถนนอรุณอมรินทร.

24 ความสัมพันธ์: บ้านหวั่งหลีพ.ศ. 2472พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกรุงเทพมหานครล้ง 1919วัดพิชยญาติการามวรวิหารวัดอมรินทรารามวรวิหารวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารวัดอนงคารามวรวิหารวงเวียนเล็กสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)สะพานพระพุทธยอดฟ้าอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจังหวัดธนบุรีถนนลาดหญ้าถนนอรุณอมรินทร์ถนนท่าดินแดงถนนประชาธิปกโรงพยาบาลตากสินเขตคลองสาน

บ้านหวั่งหลี

้านหวั่งหลี สถาปัตยกรรมภายในบ้านหวั่งหลี บ้านหวั่งหลี บ้านหวั่งหลี เป็นบ้านประจำตระกูลหวั่งหลี มีอายุกว่า 130 ปี ตั้งอยู่สุดถนนเชียงใหม่ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและบ้านหวั่งหลี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2472

ทธศักราช 2472 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1929 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและพ.ศ. 2472 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 — 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ล้ง 1919

ล้ง 1919 (อักษรจีน: 廊 1919; Lhong 1919) เป็นแหล่งท่องเที่ยว ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านฝั่งธนบุรี ดำเนินกิจการโดย ตระกูลหวั่งหลี ตั้งอยู่ติดกับบ้านหวั่งหลี มีเนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ และพื้นที่อาคาร 6,800 ตารางเมตร โดยอยู่ฝั่งตรงข้ามกับย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ในฝั่งพระนคร.

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและล้ง 1919 · ดูเพิ่มเติม »

วัดพิชยญาติการามวรวิหาร

ระปรางค์วัดพิชยญาติการามวรวิหาร ภายในพระอุโบสถ วัดพิชัยญาติการามวรวิหาร รอยพระบาท 4 พระองค์ วัดพิชัยญาติการาม หรือ วัดพิชัยญาติ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เชิงสะพานพุทธ บริเวณที่เดิมเรียกว่าวงเวียนเล็ก ในแขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ตั้งอยู่ริมคลองบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน เดิมเป็นวัดร้าง แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) ครั้งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา ได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ประมาณ..

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและวัดพิชยญาติการามวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดอมรินทรารามวรวิหาร

วัดอมรินทรารามวรวิหาร หรือชื่อเดิมว่า วัดบางหว้าน้อย ตั้งอยู่เลขที่ 566 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดราชวรวิหาร ต่อมาถูกจัดเป็นชั้นตรีชนิดวรวิหาร ตามประกาศลงวันที่ 30 กันยายน..

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและวัดอมรินทรารามวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดแจ้ง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ที่ชื่อวัดแจ้ง เพราะ พระเจ้าตากฯ ทำศึกเสร็จ แล้วยกทัพกลับมาเป็นเวลาเช้าพอดี ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในปี พ.ศ. 2327 ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”.

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดอนงคารามวรวิหาร

วัดอนงคาราม วรวิหาร ตั้งอยู่ในบนถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน วัดอนงคาราม วรวิหาร มีชื่อเดิมคือวัดน้อยขำแถม เป็นชื่อท่านผู้หญิงน้อย ซึ่งเป็นภรรยาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย เป็นผู้สร้างขึ้นคู่กันกับวัดพิชัยญาติแล้วถวายเป็นพระอารามหลวงในรัชกาลที่ 3 ส่วนคำว่าขำแถมนั้นมีเพิ่มเติมมาจากนามเดิมของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ) ซึ่งเป็นผู้ปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ ต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 วัดนี้ก็ได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดอนงคารามอย่างในปัจจุบัน พระอุโบสถที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ช่อฟ้า ใบระกาลงรักประดับกระจก หน้าบันและซุ้มประตูหน้าต่างก็มีลวดลายลงรักปิดทองสวยงาม มีพระพุทธรูปสำคัญอย่างพระพุทธจุลนาคซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย เป็นพระประธานในพระวิหาร และมีพระพุทธรูปพระสาวกหล่อด้วยโลหะปิดทองยืนอยู่ด้านซ้ายขวา อีกทั้งด้านหน้าพระประธานยังมีพระพุทธมังคโล ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางสมาธิตั้งอยู่ด้านหน้าอีกด้วย และใกล้ ๆ กับพระวิหารนั้นก็ยังมีพระมณฑปซึ่งสร้างขนาบกับพระวิหาร หลังที่อยู่ด้านทิศตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ที่จำลองมาจากวัดราชาธิวาส และหลังที่อยู่ด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองเอาไว้ วัดอนงคาราม บนชั้นสอง เป็นห้องสมุดประชาชนภายในวัดนั้น และเป็นที่ตั้งของ "พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตคลองสาน" ซึ่งในพิพิธภัณฑ์นั้นมีการจัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปต่างๆ ในเขตคลองสาน ทั้งเรื่องของวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวคลองสานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและวัดอนงคารามวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วงเวียนเล็ก

แยกวงเวียนเล็ก (Wongwian Lek Intersection) ปัจจุบันเป็นสี่แยกจุดบรรจบถนนอรุณอมรินทร์ตัดใหม่และถนนสมเด็จเจ้าพระยา กับถนนประชาธิปก ในพื้นที่เขตธนบุรี และคลองสาน กรุงเทพมหานคร บริเวณหน้าโรงเรียนศึกษานารี ในอดีตเคยเป็นวงเวียนหอนาฬิกาที่รับการจราจรจากสะพานพุทธ และวงเวียนสมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือวงเวียนใหญ่ มีทางแยกถนนสมเด็จเจ้าพระยาไปยังท่าดินแดงและคลองสาน และมีทางแยกถนนเทศบาลสาย 3 เลียบคลองบางไส้ไก่ไปยังชุมชนย่านบุปผารามและวัดกัลยาณมิตร วงเวียนนี้จึงเรียกชื่อว่า "วงเวียนเล็ก" คู่กับ "วงเวียนใหญ่" ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ในภายหลังมีการก่อสร้างสะพานพระปกเกล้า ซึ่งมีเชิงลาดขึ้นสะพานใกล้วงเวียนเล็กมาก จึงได้รื้อวงเวียนเล็กและหอนาฬิกาเดิมทิ้ง และปรับให้เป็นแยกวงเวียนเล็กในช่วงที่สะพานพระปกเกล้ายังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ หลังจากสะพานพระปกเกล้าแล้วเสร็จ เพื่อไม่ให้เป็นการตัดกระแสการจราจรหลักบนถนนประชาธิปกทั้งขาขึ้นและขาลงสะพานพระปกเกล้า จึงได้ยกเลิกการเป็นแยกวงเวียนเล็กทำเกาะกลางถนนปิดกั้นตามแนวถนนประชาธิปก ทำให้กายภาพปัจจุบันไม่มีสภาพการเป็นวงเวียนหรือสี่แยกอีกต่อไป โดยแยกวงเวียนเล็กแต่ละฝั่งจะไม่สามารถสัญจรถึงกันได้ ต้องไปกลับรถที่แยกบ้านแขกหรือใต้สะพานพุทธแทน นอกจากนี้ จุดบรรจบถนนเทศบาลสาย 3 บริเวณหน้าโรงเรียนศึกษานารียังได้มีการตัดถนนอรุณอมรินทร์มาเชื่อมต่อในภายหลัง ทำให้ช่องทางสัญจรจากย่านวัดกัลยาณ์ขยายใหญ่ขึ้น และสามารถใช้เป็นเส้นทางลัดออกจากวงเวียนเล็กไปยังแยกวังเดิมและแยกศิริราชได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่รถที่มาจากถนนอรุณอมรินทร์เข้าสู่แยกวงเวียนเล็กจะถูกบังคับให้เลี้ยวซ้ายเพื่อขึ้นสะพานพระปกเกล้า ไม่สามารถตัดกระแสการจราจรไปใช้สะพานพุทธได้ ปัจจุบัน บริเวณแยกวงเวียนเล็กมีการก่อสร้างหอนาฬิกาขึ้น บริเวณริมคลองสมเด็จเจ้าพระยา ฝั่งเขตคลองสาน เพื่อฟื้นฟูประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของวงเวียนเล็กอีกครั้งหนึ่ง.

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและวงเวียนเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

นายพลเอก มหาอำมาตย์เอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 57 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม พระองค์ยังทรงเป็นต้นราชสกุลดิศกุล.

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ที่พระคลังสินค้าในรัชกาลที่ 4.

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ นามเดิม ช่วง บุนนาค (พ.ศ. 2351 – พ.ศ. 2425) เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการเมืองการปกครองของสยาม โดยเริ่มเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่ง "สมเด็จเจ้าพระยา" เป็นคนสุดท้าย นอกจากนี้ ท่านยังมีบทบาทในการอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองสิริราชสมบัติและได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2416 ด้วย นอกจากด้านการปกครองแล้ว ท่านยังมีบทบาทสำคัญในด้านวรรณกรรม การละคร และดนตรี รวมถึงเป็นแม่กองในการก่อสร้าง บูรณะ ซ่อมแซม สถานที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น พระนครคีรี พระอภิเนาว์นิเวศน์ คลองผดุงกรุงเกษม เป็นต้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีชีวิตยืนยาวถึง 5 รัชกาล ตั้งแต่เกิดในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และถึงแก่พิราลัยด้วยโรคลมขณะที่กำลังเดินทางกลับจากราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2425 ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 โดยมีอายุยืนยาวถึง 74 ปี.

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบิดาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) และเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค).

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระพุทธยอดฟ้า

มุมสูงของสะพานพระพุทธยอดฟ้าและสะพานพระปกเกล้า สะพานพระพุทธยอดฟ้า หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (Phra Phuttha Yodfa Bridge, Memorial Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เชื่อมการคมนาคมติดต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร ที่ปลายถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กับปลายถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท.

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและสะพานพระพุทธยอดฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (Princess Mother Memorial Park) หรือที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า สวนสมเด็จย่า เป็นสวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในซอยสมเด็จเจ้าพระยา 3 ถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา มีเนื้อที่ทั้งหมด 4 ไร่ โดยมีสถานที่สำคัญใกล้เคียง คือ วัดอนงคารามและโรงเรียนสตรีวุทฒิศึกษา โดยสถานที่แห่งนี้ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของบ้านของพระชนกชูและพระชนนีคำ พระชนกและพระชนนีในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ถือเป็นสถานที่ประสูติและดำรงพระชนม์ชีพในช่วงทรงพระเยาว์ของพระองค์ท่าน ปัจจุบันอุทยานนี้เปิดดำเนินการเป็นสวนสาธารณะชุมชนและพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ในแง่มุมประวัติศาสตร์ชุมชน ตลอดจนการเฉลิมพระเกียรติ โดยเป็นพื้นที่อนุรักษ์กลุ่มอาคารเก่า มีพระบรมราชานุสาวรีย์ทองแดงในพระอิริยาบถประทับนั่งของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีตรงทางเข้า, บ้านจำลองเมื่อครั้งทรงพระเยาว์, ศาลาทรงแปดเหลี่ยม มีจารึกแสดงถึงประวัติความเป็นมา และยังมีประติมากรรมนูนต่ำแสดงถึงพระราชกรณียกิจในการเสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ, การดำเนินงานของแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทร์บรมราชชนี (พอ.สว.) การจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เป็นต้น อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดธนบุรี

ตราประจำจังหวัดธนบุรี จังหวัดธนบุรี เป็นจังหวัดในอดีตที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับจังหวัดพระนคร ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี จนกระทั่ง พ.ศ. 2514 ได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร เป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงเทพมหานครเมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและจังหวัดธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ถนนลาดหญ้า

นนลาดหญ้า ถนนลาดหญ้า (Thanon Lat Ya) เป็นถนนสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นถนนขนาด 6 ช่องทางจราจร มีเกาะกลาง เขตถนนกว้าง 28 เมตร ระยะทางยาว 1,650 เมตร มีจุดเริ่มต้นจากวงเวียนใหญ่ซึ่งเป็นที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านสามเหลี่ยมลาดหญ้า (จุดตัดกับถนนอิสรภาพและถนนท่าดินแดง) ข้ามคลองสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านทางแยกคลองสาน (จุดตัดกับถนนสมเด็จเจ้าพระยาและถนนเจริญนคร) ไปสิ้นสุดที่หน้าสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร บริเวณปากคลองสาน ถนนลาดหญ้าเป็น "ถนนสายที่ 4" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเพื่อรองรับการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร พ.ศ. 2473 ได้กำหนดแนวเส้นทางถนนสายที่ 4 ไว้ตั้งแต่ท่าสินค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านถนนสายที่ 2 (ปัจจุบันคือถนนสมเด็จเจ้าพระยา) ถนนสายที่ 3 (ปัจจุบันคือถนนอิสรภาพ) และผ่านถนนสายที่ 1 (ปัจจุบันคือถนนประชาธิปกและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน) ที่วงเวียน ไปสิ้นสุดที่ท่าสินค้าริมคลองบางกอกใหญ่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตั้งชื่อถนนสายต่าง ๆ ในโครงการดังกล่าวถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยใช้เกณฑ์ "มหาชัย" ที่ไทยรบชนะพม่าในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สำหรับถนนสายที่ 4 ทรงตั้งชื่อว่า ถนนลาดหญ้า เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงคราวสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงยกทัพรบชนะกองทัพพม่าที่ทุ่งลาดหญ้า แขวงเมืองกาญจนบุรี ในปี พ.ศ. 2328กนกวลี ชูชั.

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและถนนลาดหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอรุณอมรินทร์

นนอรุณอมรินทร์ ถนนอรุณอมรินทร์ (Thanon Arun Ammarin) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและถนนอรุณอมรินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนท่าดินแดง

นนท่าดินแดง (Thanon Tha Din Daeng) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นถนนขนาด 4 ช่องทางจราจร ไม่มีเกาะกลาง เขตถนนกว้าง 22 เมตร ระยะทางยาว 936 เมตร มีจุดเริ่มต้นจากสามเหลี่ยมลาดหญ้าซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนลาดหญ้าและถนนอิสรภาพ มุ่งขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองสมเด็จเจ้าพระยาและตัดกับถนนสมเด็จเจ้าพระยาที่ทางแยกท่าดินแดง ไปสิ้นสุดที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือท่าดินแดง ถนนท่าดินแดงเป็น "ถนนสายที่ 9" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเพื่อรองรับการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร พ.ศ. 2473 ได้กำหนดแนวเส้นทางถนนสายที่ 9 ไว้ตั้งแต่ถนนสายที่ 4 (ปัจจุบันคือถนนลาดหญ้า) ผ่านถนนสายที่ 3 (ปัจจุบันคือถนนอิสรภาพ) และถนนสายที่ 2 (ปัจจุบันคือถนนสมเด็จเจ้าพระยา) ไปจนถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงข้ามท่าเรือราชวงศ์ ทางการเริ่มก่อสร้างถนนสายที่ 9 ในปี พ.ศ. 2474กนกวลี ชูชั.

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและถนนท่าดินแดง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนประชาธิปก

นนประชาธิปก ถนนประชาธิปก (Thanon Prajadhipok) เป็นถนนสายสำคัญในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยมีจุดเริ่มต้นจากวงเวียนใหญ่ ตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่แขวงหิรัญรูจี ผ่านทางแยกบ้านแขก (ตัดกับถนนอิสรภาพ) และเข้าพื้นที่แขวงวัดกัลยาณ์ ข้ามคลองสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านวงเวียนเล็ก (ตัดกับถนนอรุณอมรินทร์และถนนสมเด็จเจ้าพระยา) หลังจากนั้นถนนจะแยกออกเป็นสามทาง ทางแรกมุ่งหน้าข้ามสะพานพระปกเกล้า เชื่อมกับถนนจักรเพชรในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร และทางที่สองมุ่งหน้าข้ามสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เชื่อมกับถนนตรีเพชรในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร และทางที่สามมุ่งวัดประยุรวงศาวาส ไปสิ้นสุดที่ใต้สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ โดยมีแนวถนนที่ต่อเนื่องไปคือถนนพญาไม้ในพื้นที่แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ระยะทางจากวงเวียนใหญ่ถึงสะพานพระปกเกล้ายาวประมาณ 900 เมตร และยังเป็นเส้นแบ่งระหว่างเขตธนบุรี (ฝั่งขาเข้าเมือง) กับเขตคลองสาน (ฝั่งขาออกเมือง) อีกด้วย ถนนประชาธิปกเป็น "ถนนสายที่ 1" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเพื่อรองรับการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร พ.ศ. 2473 ได้กำหนดแนวเส้นทางถนนสายที่ 1 ไว้ตั้งแต่เชิงสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ตัดกับถนนสายที่ 2 (ปัจจุบันคือถนนอรุณอมรินทร์และถนนสมเด็จเจ้าพระยา) ถนนสายที่ 3 (ปัจจุบันคือถนนอิสรภาพ) และถนนสายที่ 4 (ปัจจุบันคือถนนอินทรพิทักษ์และถนนลาดหญ้า) ไปจนถึงคลองดาวคะนอง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเสนอชื่อถนนสายที่ 1 ของโครงการนี้ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "ถนนพระปกเกล้า" และ "ถนนประชาธิปก" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระนามเดิมคือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์) ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและสร้างถนนเชื่อมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร เมื่อพระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยแล้วได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนสายนี้ว่า ถนนประชาธิปกกนกวลี ชูชั.

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและถนนประชาธิปก · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลตากสิน

รงพยาบาลตากสิน เป็นโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่เลขที่ 543 ถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและโรงพยาบาลตากสิน · ดูเพิ่มเติม »

เขตคลองสาน

ตคลองสาน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนบุรี ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

ใหม่!!: ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและเขตคลองสาน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »