โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และถนนสามเสน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และถนนสามเสน

ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร) vs. ถนนสามเสน

นนราชวิถี (ถ่ายจากมุมสูง) ถนนราชวิถี (Thanon Ratchawithi) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างถนนราชปรารภกับถนนดินแดงในท้องที่แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพญาไท และถนนพหลโยธินที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เข้าสู่ท้องที่แขวงทุ่งพญาไท ผ่านโรงพยาบาลราชวิถี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ไปตัดกับถนนพระรามที่ 6 (สี่แยกตึกชัย) ตัดกับถนนกำแพงเพชร 5 และทางรถไฟสายเหนือ เข้าสู่ท้องที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต ตัดกับถนนสวรรคโลก (สี่แยกอุภัยเจษฎุทิศ) และถนนพระรามที่ 5 (สี่แยกราชวิถี) ผ่านสวนสัตว์ดุสิต จากนั้นตัดกับถนนอู่ทองใน (สามแยกอู่ทองใน) ถนนนครราชสีมา (สี่แยกการเรือน) และถนนสามเสน (สี่แยกซังฮี้) เข้าสู่ท้องที่แขวงวชิรพยาบาล ก่อนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา (สะพานกรุงธนบุรี) เข้าเขตบางพลัด โดยเป็นเส้นแบ่งการพื้นที่ปกครองระหว่างแขวงบางพลัดกับแขวงบางยี่ขันไปจนถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ (สี่แยกบางพลัด) ถนนราชวิถี เดิมชื่อ ถนนซางฮี้ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิตบริเวณพื้นที่ระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมและคลองสามเสน โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนรอบพระราชวังดุสิต 3 สาย คือ ถนนลก (ปัจจุบันคือถนนพระรามที่ 5) ถนนดวงตะวัน (ปัจจุบันคือถนนศรีอยุธยา) และถนนซางฮี้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าซังฮี้ (ปัจจุบันคือถนนราชวิถี) นามถนนทั้ง 3 สายนี้ พระราชทานตามชื่อเครื่องกิมตึ๋งคือภาพเครื่องลายครามจีน "ซางฮี้" (อักษรจีน: 双喜) ในภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋วแปลว่า มงคลคู่ หมายความว่า สุข สนุก สบาย อักษรซางฮี้ใช้เป็นเครื่องหมายในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน และใช้เป็นลวดลายประดับสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนซางฮี้เป็น "ถนนราชวิถี". แผนที่เขตดุสิต ถนนสามเสนอยู่บริเวณซ้ายบน ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนสามเสน (Thanon Sam Sen) เป็นถนนสายสำคัญในพื้นที่เขตพระนครและเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และถนนสามเสน

ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และถนนสามเสน มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวังดุสิตกรุงเทพมหานครรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานครคลองผดุงกรุงเกษมแม่น้ำเจ้าพระยาเขตดุสิต

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ถนนสามเสนและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังดุสิต

ระราชวังดุสิต ตั้งอยู่ที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นที่เสด็จประทับชั่วคราว เนื่องจากภายในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นพระราชนิเวศน์ที่ประทับนั้น ประกอบด้วย พระราชมณเฑียร หมู่พระตำหนัก หมู่เรือนในเขตพระราชฐานชั้นใน และหมู่เรือนข้าราชบริพาร ปลูกสร้างอยู่กันอย่างแออัด ปิดทางลม ทำให้ที่ประทับร้อนจัด ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทรงพระประชวรกันเสมอ ต่อมา จึงสร้างขึ้นเพื่อเป็นพระราชวังที่ประทับถาวรจนตลอดรัชกาล โดยได้สร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และพระราชวังดุสิต · ถนนสามเสนและพระราชวังดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

กรุงเทพมหานครและถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร) · กรุงเทพมหานครและถนนสามเสน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

ตัดกันระหว่างคลองบางน้อย กับคลองบางกอกใหญ่ ในพื้นที่แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน คลองในกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 1,161 คลอง และคูลำกระโดง จำนวน 521 คู รวมเป็น 1,682 คูคลอง ความยาว 2,604 กม.

ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ถนนสามเสนและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองผดุงกรุงเกษม

ลองผดุงกรุงเกษมบริเวณสะพานเจริญสวัสดิ์ (ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5) คลองผดุงกรุงเกษม ในปัจจุบัน คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองรอบพระนครชั้นนอก ขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุดเมื่อ..

คลองผดุงกรุงเกษมและถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร) · คลองผดุงกรุงเกษมและถนนสามเสน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และแม่น้ำเจ้าพระยา · ถนนสามเสนและแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

เขตดุสิต

ตดุสิต เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขตทหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ตั้งรัฐสภา กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวัง จึงทำให้เขตนี้มีลักษณะราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย อนึ่ง ที่ทำการสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานประจำประเทศไทย ขององค์การสหประชาชาติ และขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ก็อยู่ในพื้นที่เขตนี้.

ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และเขตดุสิต · ถนนสามเสนและเขตดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และถนนสามเสน

ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร) มี 32 ความสัมพันธ์ขณะที่ ถนนสามเสน มี 51 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 8.43% = 7 / (32 + 51)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)และถนนสามเสน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »