โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนพหลโยธิน

ดัชนี ถนนพหลโยธิน

นนพหลโยธิน (Thanon Phahon Yothin) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายกรุงเทพมหานคร−แม่สาย (เขตแดน) เป็นถนนสายหลักในกรุงเทพมหานคร และเป็นหนึ่งในทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย (ประกอบด้วยถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพ ถนนสุขุมวิท และถนนเพชรเกษม) สายทางเริ่มต้นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ผ่านภาคกลาง และมุ่งเข้าสู่ภาคเหนือของประเทศไทย สิ้นสุดที่ด่านพรมแดนแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย บริเวณชายแดนประเทศพม่า รวมระยะทางยาว 994.749 กิโลเมตร บางช่วงของถนนพหลโยธินอยู่ในโครงข่ายทางหลวงเอเชีย ได้แก่ ช่วงบ้านหินกองถึงอำเภอบางปะอินเป็นทางหลวงเอเชียสาย 1, ช่วงแยกหลวงพ่อโอ (เส้นแบ่งเขตจังหวัดชัยนาทกับจังหวัดนครสวรรค์) ถึงอำเภอเมืองตาก เป็นทั้งทางหลวงเอเชียสาย 1 และสาย 2 และช่วงอำเภอเมืองสระบุรีถึงบ้านหินกองเป็นทางหลวงเอเชียสาย 12 นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงคุนหมิง–กรุงเทพ ถนนพหลโยธินช่วงตั้งแต่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เส้นทางของถนนจะเบี่ยงไปทิศตะวันออก ผ่านจังหวัดสระบุรีและจังหวัดลพบุรี แล้ววกกลับมายังจังหวัดชัยนาท เนื่องจากในสมัยก่อนต้องการให้ทางหลวงสายหลักผ่านที่ตั้งของกองทหารสำคัญของประเท.

224 ความสัมพันธ์: บางนาบึงบอระเพ็ดพ.ศ. 2479พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)พระตำหนักดอยตุงกรุงเทพมหานครกว๊านพะเยาการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475ภาคกลาง (ประเทศไทย)ภาคเหนือ (ประเทศไทย)มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงรัฐชานรังสิตวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหารสะพานกรุงธนสะพานเดชาติวงศ์สี่แยกภาคเหนือสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต)หลักกิโลเมตรอยุธยาอำเภอบรรพตพิสัยอำเภอบางบัวทองอำเภอบางปะอินอำเภอชุมแสงอำเภอบ้านหมี่อำเภอบ้านตากอำเภอพยุหะคีรีอำเภอพระพุทธบาทอำเภอพัฒนานิคมอำเภอพานอำเภอภาชีอำเภอภูกามยาวอำเภอมโนรมย์อำเภอร้องกวางอำเภอลาดยาวอำเภอลำลูกกาอำเภอลี้อำเภอวังชิ้นอำเภอวังน้อยอำเภอวังเหนืออำเภอวังเจ้าอำเภอสบปราบอำเภอสองอำเภอสามเงาอำเภอหนองม่วงอำเภอหนองแคอำเภอหนองเสืออำเภออุ้มผางอำเภอธัญบุรีอำเภอทุ่งเสลี่ยม...อำเภอท่าตะโกอำเภอขาณุวรลักษบุรีอำเภอดอกคำใต้อำเภอคลองลานอำเภอคลองหลวงอำเภอคลองขลุงอำเภองาวอำเภอตากฟ้าอำเภอตาคลีอำเภอปากเกร็ดอำเภอป่าแดดอำเภอแม่พริกอำเภอแม่ลาวอำเภอแม่สอดอำเภอแม่สายอำเภอแม่จันอำเภอแม่ทะอำเภอแม่ใจอำเภอแม่เมาะอำเภอโกรกพระอำเภอโกสัมพีนครอำเภอโคกสำโรงอำเภอโคกเจริญอำเภอเชียงคำอำเภอเกาะคาอำเภอเมืองชัยนาทอำเภอเมืองพะเยาอำเภอเมืองกำแพงเพชรอำเภอเมืองลพบุรีอำเภอเมืองลำปางอำเภอเมืองสระบุรีอำเภอเมืองตากอำเภอเมืองปทุมธานีอำเภอเมืองนครสวรรค์อำเภอเมืองเชียงรายอำเภอเมืองเชียงใหม่อำเภอเวียงชัยอำเภอเถินอำเภอเด่นชัยอำเภอเฉลิมพระเกียรติอำเภอเฉลิมพระเกียรติ (จังหวัดสระบุรี)อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจังหวัดชัยภูมิจังหวัดชัยนาทจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพะเยาจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดลพบุรีจังหวัดลำพูนจังหวัดลำปางจังหวัดสระบุรีจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดสุโขทัยจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดอ่างทองจังหวัดตากจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดนครสวรรค์จังหวัดนครนายกจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดเพชรบูรณ์จุดผ่านแดนถาวรแม่สายถนนพญาไทถนนพระราม 9ถนนพระรามที่ 1ถนนพระรามที่ 4ถนนกาญจนาภิเษกถนนกำแพงเพชรถนนมิตรภาพถนนรัชดาภิเษกถนนรังสิต-นครนายกถนนราชวิถีถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)ถนนลาดพร้าวถนนวิภาวดีรังสิตถนนสุรนารายณ์ถนนสุขุมวิทถนนงามวงศ์วานถนนประเสริฐมนูกิจถนนนวมินทร์ถนนแจ้งวัฒนะถนนเพชรเกษมถนนเทพรักษ์ทางพิเศษศรีรัชทางยกระดับอุตราภิมุขทางหลวงสายเอเชียทางหลวงหมายเลข 4 (ประเทศพม่า)ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1016ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1020ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1021ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 103ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 104ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 110ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 122ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1232ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 127ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1290ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3196ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3312ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 333ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 352ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 362ทางหลวงเอเชียสาย 1ทางหลวงเอเชียสาย 12ทางหลวงเอเชียสาย 2ทางด่วนทางแยกต่างระดับบางปะอิน 1ทางแยกต่างระดับมิตรภาพทางแยกต่างระดับรัชวิภาทางแยกต่างระดับรังสิตทางแยกต่างระดับวังน้อยทางแยกต่างระดับหินกองทางแยกต่างระดับอนุสรณ์สถานท่าอากาศยานดอนเมืองท่าขี้เหล็กดอยแม่สลองคลองดาวคะนองคณะราษฎรตำบลนครชุมประเทศพม่านายกรัฐมนตรีไทยน้ำแม่กกน้ำแม่อิงแม่น้ำสายแม่น้ำปิงแม่น้ำป่าสักแม่น้ำเจ้าพระยาแยกรัชดา-ลาดพร้าวแยกสามเหลี่ยมดินแดงแยกสุทธิสารแยกเกียกกายแปลก พิบูลสงครามโรงพยาบาลอานันทมหิดลเทศบาลนครนครสวรรค์เทศบาลเมืองลพบุรีเขื่อนภูมิพลเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เขื่อนเจ้าพระยาเขตบางกะปิเขตบางคอแหลมเขตบางนาเขตบางเขนเขตพญาไทเขตพระนครเขตมีนบุรีเขตราชเทวีเขตสายไหมเขตหลักสี่เขตจตุจักรเขตดอนเมือง ขยายดัชนี (174 มากกว่า) »

บางนา

งนา อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและบางนา · ดูเพิ่มเติม »

บึงบอระเพ็ด

ึงบอระเพ็ด บึงบอระเพ็ด เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย และเป็นบึงทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีเนื้อที่ 132,737 ไร่ อยู่ในท้องที่สามอำเภอของจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอท่าตะโก และอำเภอชุมแสง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ กลางบึงมีตำหนักแพที่สร้างขึ้นครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน เดิมบึงบอระเพ็ดแห่งนี้มีชื่อว่า "ทะเลเหนือ" หรือ "จอมบึง" เนื่องจากมีสัตว์และพันธุ์พืชน้ำเป็นจำนวนมาก รวมทั้งจระเข้ จากการสำรวจพบว่ามีสัตว์อาศัยอยู่ประมาณ 148 ชนิด พืช 44 ชนิด มีพันธุ์สัตว์ที่หายากได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (พบครั้งแรกที่บึงบอระเพ็ด) ปลาเสือตอ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคมจะมีนกเป็ดน้ำอพยพมาที่บึงแห่งนี้เป็นจำนวนมาก พื้นที่บางส่วนได้รับการประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและบึงบอระเพ็ด · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2479

ทธศักราช 2479 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1936.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและพ.ศ. 2479 · ดูเพิ่มเติม »

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)

ระยาพหลพลพยุหเสนา (แถวหน้าซ้ายมือ) นำคณะรัฐมนตรีของไทยเข้าเยือนประเทศญี่ปุ่น และพบกับ ฮิเดกิ โตโจ (แถวหน้าตรงกลาง) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2485 ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เดิมชื่อว่า "พจน์ พหลโยธิน" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 2 เกิดวันที่ 29 มีนาคม..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) · ดูเพิ่มเติม »

พระตำหนักดอยตุง

ระตำหนักดอยตุง พระตำหนักดอยตุง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 บ้านมูเซอลาบา ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย บริเวณสันเขาของเทือกดอยนางนอน ระดับความสูงประมาณ 1,200 ม. เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาดอยตุง.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและพระตำหนักดอยตุง · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กว๊านพะเยา

กว๊านพะเยา (60px) อยู่ในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือ และ อันดับ 4 ของประเทศไทย (รองจากบึงบอระเพ็ด, หนองหาน และบึงละหาน) คำว่า "กว๊าน" ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง" เกิดขึ้นจากกรมประมงได้ทำประตูกั้นน้ำไว้เพื่อให้ราษฎรมีน้ำใช้ในฤดูแล้ง และในฤดูฝนก็กั้นไม่ให้น้ำไหลแรงไปท่วมเรือกสวนไร่นาที่อยู่ปลายน้ำ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากหลัง เกิดจากน้ำที่ไหลมาจากห้วยต่างๆ 18 สาย มีปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ 29.40 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพันธุ์ปลาน้ำจืดถึง 45 ชนิด ใน 17 วงศ์หน้า 10 ทัศนะวิจารณ์, ปลาจ๋าอย่าหยุดร้องเพลงที่กว๊าน.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและกว๊านพะเยา · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

การปฏิวัติสยาม..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 · ดูเพิ่มเติม »

ภาคกลาง (ประเทศไทย)

กลาง เป็นภูมิภาคตอนกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ติดต่อกับภาคเหนือทางทิศเหนือ ติดต่อกับภาคตะวันออก และภาคอีสานทางทิศตะวันออกโดยมีทิวเขาเพชรบูรณ์กั้น ติดต่อกับภาคตะวันตก ทิศเหนือติดต่อกับทิวเขาผีปันน้ำ พื้นนี้เคยเป็นดินแดนที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยา และยังเป็นพื้นที่ที่สำคัญของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยตั้งอยู่ และมีประชากรในภูมิภาคมากที่สุดในประเท.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและภาคกลาง (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภาคเหนือ (ประเทศไทย)

หนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ด้านบนสุดของไทย มีลักษณะภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ต่อเนื่องมาจากทิวเขาฉานโยมาในประเทศพม่าและประเทศลาว ภาคเหนือมีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา เหมือนกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ การที่มีพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลและมีเส้นละติจูดอยู่ตอนบนทำให้สภาพอากาศของภาคเหนือเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ของภาคเหนือมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับอาณาจักรล้านน.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและภาคเหนือ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาลตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 25 กันยายน..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐชาน

รัฐชาน หรือ รัฐฉาน (ရှမ်းပြည်နယ်, ช้าน ปหฺยี่แหน่; ไทใหญ่:; เมิ้งไต๊) บ้างเรียก รัฐไทใหญ่ เป็นรัฐหนึ่งในประเทศพม.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและรัฐชาน · ดูเพิ่มเติม »

รังสิต

รังสิต อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและรังสิต · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร

วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า มีพระภิกษุไทยคณะหนึ่ง เดินทางไปยังลังกาทวีป เพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาท พระสงฆ์ลังกากล่าวว่า ประเทศไทยก็มีรอยพระพุทธบาทอยู่แล้วที่เขาสุวรรณบรรพต จึงได้นำความกราบทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมให้ทรงทราบ และได้สืบหาจนพบรอยพระพุทธบาท เพื่อเป็นที่สักการบูชา เป็นศูนย์รวมแห่งพลังศรัทธาอันยิ่งใหญ่ พระพุทธบาทสระบุรีเป็นพระอารามหลวง ที่พระมหากษัตริย์แทบทุกพระองค์ทรงทำนุบำรุงและเสด็จไปนมัสการตลอดมา ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สะพานกรุงธน

นกรุงธน (Krung Thon Bridge) หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า สะพานซังฮี้ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณถนนราชวิถี เชื่อมระหว่างแขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กับแขวงบางพลัดและแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมทางหลวงชนบท.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและสะพานกรุงธน · ดูเพิ่มเติม »

สะพานเดชาติวงศ์

link.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและสะพานเดชาติวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

สี่แยกภาคเหนือ

ี่แยกภาคเหนือ หรือ สี่แยกห้าเชียง ตั้งอยู่บนจุดตัดของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 และ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 จังหวัดลำปาง อยู่ในเขตของ เทศบาลนครลำปาง ซึ่งในอนาคตจะมี ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 ถนนมอเตอร์เวย์ลำปาง-เชียงใหม่ ยกระดับเหนือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข11 ข้ามถนนพหลโยธิน ไปจนถึงจังหวัเชียงใหม่อีก (โครงการในอนาคต) ซึ่งโครงการนี้กำลังอยู่ในระหว่างการออกแบบและการวางแผน โดยจะมีการสร้างทางแยกต่างระดับ บริเวณจุดตัดถนนพหลโยธิน ซึ่งในส่วนนี้ จะมีการขอเวนคืนพื้นที่บางส่วนบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอในการก่อสร้างทางแยกต่างระดับ ส่วนถนนพหลโยธิน จะมีการก่อสร้างทางคู่ขนานเพิ่มเติม ฝั่งละ 2 ช่องจราจร จากหน้าห้างบิ๊กซีลำปาง ไปจนถึงหน้าองค์การบริหารส่วนจังหวัลำปาง อำเภอเกาะคาด้วย รวมทั้งการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำวังเพิ่มอีกหนึ่งแห่ง สำหรับ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและสี่แยกภาคเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต)

นีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลาดหมอชิต) เป็นสถานีขนส่งที่ใช้รับส่งผู้โดยสารจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง และเป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท ขนส่ง จำกัด บนเนื้อที่ของกรมธนารักษ์จำนวน 63 ไร่ เปิดทำการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 ปัจจุบันปิดทำการ และก่อสร้างใหม่เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมระบบรถไฟฟ้า ของโครงการรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา และสำนักงานใหญ่ของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เรียบร้อยแล้ว.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต) · ดูเพิ่มเติม »

หลักกิโลเมตร

หลักไมล์ในเมืองโคลัมบัส รัฐโอไฮโอ หลักกิโลเมตร หรือ หลักไมล์ เป็นเครื่องหมายอย่างหนึ่งที่กำกับด้วยตัวอักษรและตัวเลข ส่วนมากจะเป็นเสาหินหรือเสาปูนเตี้ยๆ แล้วจารึกหรือเขียนตัวอักษรด้วยสี ติดตั้งไว้เป็นระยะๆ เท่ากัน (ทุก 1 กิโลเมตรหรือ 1 ไมล์) ตลอดเส้นทางที่ริมถนนหรือระยะโดยเฉลี่ยตรงกลางถนน จุดประสงค์ของการสร้างหลักกิโลเมตรเพื่อเป็นการบอกผู้เดินทางว่า ได้เดินทางมาเป็นระยะทางเท่าใดแล้ว หรืออีกไกลเท่าไรกว่าจะถึงจุดหมาย สำหรับการเลือกใช้หลักกิโลเมตรหรือหลักไมล์ ขึ้นอยู่กับว่าในประเทศนั้นนิยมการวัดความยาวในระบบอังกฤษหรือระบบเมตริก.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและหลักกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

อยุธยา

อยุธยา อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบรรพตพิสัย

รรพตพิสัย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครสวรร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอบรรพตพิสัย · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบางบัวทอง

งบัวทอง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี ในอดีตมีพื้นที่กว้างใหญ่มากโดยคลุมพื้นที่อำเภอไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ และบางส่วนของอำเภอปากเกร็ด (ปัจจุบันแยกออกไปแล้ว) มีประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2445 เดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม แต่ปัจจุบันเมื่อความเจริญจากกรุงเทพมหานครแผ่ขยายออกมาจนถึงบางบัวทอง ทำให้มีหมู่บ้านจัดสรร บริษัทห้างร้าน สำนักงานจำนวนมาก รวมถึงหน่วยงานราชการต่าง ๆ ทยอยย้ายเข้ามาอยู่ในท้องที่นี้ แต่ก็ยังคงเห็นท้องนาบางส่วนอยู่ นอกจากนี้ อำเภอบางบัวทองยังเป็นอำเภอที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดนนทบุรีด้วย (และมีความหนาแน่นมากเป็นอันดับ 3).

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอบางบัวทอง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบางปะอิน

งปะอิน เป็นอำเภอหนึ่งใน 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภอพระราชวัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน ซึ่งเป็นอำเภอที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของจังหวัดพระนครศรีอ.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอบางปะอิน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอชุมแสง

มแสง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ อยู่ห่างจากตัวเมืองนครสวรรค์ประมาณ 39 กิโลเมตร ระยะการเดินทางประมาณครึ่งชั่วโมง อำเภอชุมแสงมีสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจหลายที่ อากาศค่อนข้างร้อน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำน.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอชุมแสง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบ้านหมี่

อำเภอบ้านหมี่ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอบ้านหมี่ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบ้านตาก

อำเภอบ้านตาก เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดตาก.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอบ้านตาก · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอพยุหะคีรี

หะคีรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครสวรร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอพยุหะคีรี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอพระพุทธบาท

อำเภอพระพุทธบาท ตั้งอยู่ในจังหวัดสระบุรี.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอพระพุทธบาท · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอพัฒนานิคม

อำเภอพัฒนานิคม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี และเป็นอำเภอที่ตั้งของเขื่อนป่าสักชลสิท.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอพัฒนานิคม · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอพาน

น (30px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอพาน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอภาชี

อำเภอภาชี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอ.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอภาชี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอภูกามยาว

อำเภอภูกามยาว (40px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวั.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอภูกามยาว · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอมโนรมย์

มโนรมย์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยนาท ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ปรากฏว่าเป็น “เมือง” มาก่อนซึ่งสร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยให้ชื่อว่า “เมืองมโนรมย์ ”.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอมโนรมย์ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอร้องกวาง

อำเภอร้องกวาง (40px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอร้องกวาง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอลาดยาว

ลาดยาว เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครสวรร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอลาดยาว · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอลำลูกกา

ลำลูกกา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอลำลูกกา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอลี้

ลี้ (20px) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดลำพูน มีเนื้อที่เกือบครึ่งหนึ่งของจังหวัด เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และยังมีโบราณสถานหลายแห่งน่าเที่ยวชม.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอลี้ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอวังชิ้น

อำเภอวังชิ้น (35px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอวังชิ้น · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอวังน้อย

วังน้อย เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภออุไทยน้อย ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอวังน้อย · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอวังเหนือ

วังเหนือ (50px) เป็นอำเภอที่อยู่เหนือสุดของจังหวัดลำปาง เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำวัง ชุมชนในท้องถิ่นมีวิถีการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย อยู่กับธรรมชาต.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอวังเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอวังเจ้า

อำเภอวังเจ้า เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตาก.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอวังเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสบปราบ

ปราบ (40px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลำปาง เดิมมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่อำเภอเสริมงามด้วย แต่ถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอเกาะคาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบอำเภอสบปราบลงเป็นกิ่งอำเภอสบปราบ ในปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอสบปราบ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสอง

อำเภอสอง (30px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอสอง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสามเงา

อำเภอสามเงา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดตาก.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอสามเงา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอหนองม่วง

อำเภอหนองม่วง ตั้งอยู่ในจังหวัดลพบุรี ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอหนองม่วง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอหนองแค

หนองแค เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสระบุรี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด สภาพภูมิศาสตร์โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ที่ดินส่วนใหญ่ถูกใช้ประโยชน์ในการทำเกษตรกรรมและกสิกรรม แต่เนื่องจากการมีสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวย รวมทั้งมีระยะทางห่างจากจังหวัดปริมณฑลอื่น ๆ ที่ไม่ไกลนัก (มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครไม่เกิน 100 กิโลเมตรและมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอันเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมสำคัญ) จีงมีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ด้ว.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอหนองแค · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอหนองเสือ

อำเภอหนองเสือ เป็นอำเภอหนึ่งใน 7 อำเภอของจังหวัดปทุมธานี สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นท้องทุ่ง มีลำคลองไหลผ่านหล.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอหนองเสือ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภออุ้มผาง

อำเภออุ้มผาง เป็นอำเภอหนึ่งทางตอนใต้ของจังหวัดตาก จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภออุ้มผาง พ.ศ. 2502 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภออุ้มผาง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอธัญบุรี

ัญบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี มีลักษณะเป็นแนวยาวขนานไปกับคลองรังสิตประยูรศักดิ์ไปจนสุดเขตจังหวัด เป็นพื้นที่ที่มีความเจริญมากกว่าอำเภอเมืองปทุมธานี เนื่องจากเป็นทางผ่านของการคนนาคมไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีเขตเทศบาลนคร 1 แห่ง เขตเทศบาลเมือง 2 แห่ง และเขตเทศบาลตำบลอีก 1 แห่งในพื้นที.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอธัญบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอทุ่งเสลี่ยม

ทุ่งเสลี่ยม (40px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย เป็นประตูสู่อารยธรรมล้านนา ศิลปะล้านนา "ทุ่งเสลี่ยม" เป็นภาษาล้านนา หมายถึง ทุ่ง.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอทุ่งเสลี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอท่าตะโก

อำเภอท่าตะโก เริ่มตั้งครั้งแรกเมื่อปี..2443 อยู่ที่บ้านเขาน้อย ตำบลท่าตะโก  เรียกว่า อำเภอเขาน้อย หรือ อำเภอดอนคา ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เพราะเขาน้อยและดอนคา อยู่ติดกัน   สาเหตุชื่ออำเภอท่าตะโกนั้น มีประวัติมาว่า เมื่อสมัยก่อนมีชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือนอยู่กันหนาแน่น  และมีท่าจอดเรือบริเวณหลังตลาดท่าตะโกซึ่งมีต้นตะโกใหญ่อยู่ต้นหนึ่งที่ขึ้นอยู่ที่ท่าน้ำ ชาวบ้านใช้เป็นที่อาศัยร่มเงาเวลาไปตักน้ำ อาบน้ำ หรือนำวัว ควายไปพัก ท่าจอดเรือแรกเริ่มเดิมทีนั้นเรียกท่าน้ำนี้ว่า ท่ายายหมา เพราะมีศาลาของยายหมาตั้งอยู่ตรงนั้น แต่นั้นมาชาวบ้านเห็นว่าชื่อนี้ไม่ไพเราะ ผู้ที่สัญจรไปมาจึงเปลี่ยนชื่อท่าใหม่โดยยึดเอาสัญลักษณ์ของท่าคือต้นตะโก ชาวบ้านทั่วไปจึงเรียกว่า ตำบลท่าตะโก    เมื่อย้ายมาตั้งเป็นอำเภอที่ตำบลท่าตะโก สมัยนั้นชาวบ้านนิยมเรียกตำบลที่ตั้งของอำเภอเป็นชื่อเดียวกับกับตำบล โดยมีนายอำเภอคนแรกชื่อ หลวงมหาดไทย   และในปี..2460 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอท่าตะโก      มีนายอำเภอคนแรก ชื่อหลวงวรรักษ์บุราภิรมย์  อำเภอท่าตะโก เป็นหนึ่งในอำเภอของจังหวัดนครสวรรค์มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ อำเภอท่าตะโกเป็นเมืองเก่าโบราณสมัยทวาราวดีจากการสำรวจหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี พบว่าเมืองดอนคา เมืองหัวถนน อำเภอท่าตะโก เป็นชุมชนโบราณสมัยทวาราวดี พบร่องรอยลักษณะของเมืองที่มีคูน้ำคันดิน ทั้งแบบชั้นเดียว และคล้ายคลึงหรือมีลักษณะร่วมสมัยกับเมืองสมัยทวาราวดีอื่นๆ นอกจากนี้ตามหลักฐานทางโบราณคดี ยังขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้ ที่เป็นโลหะและหล่อสำริด พบแว ดินเผา (เครื่องปั่นด้าย) และเครื่องประดับที่ทำจากเปลือกหอย และหินมีค่า เช่นลูกปัดแก้ว  ที่บ้านทำนบ และบ้านเขาล้อ ปัจจุบันอำเภอท่าตะโกเป็นอำเภอหนึ่งใน 15 อำเภอ  ของจังหวัดนครสวรรค์ มีตราสัญลักษณ์ อำเภอท่าตะโก เป็นรูปทรงข้าวบิณฑ์ มีลักษณะคล้ายหยดน้ำ หรือ ดอกบัวตูม.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอท่าตะโก · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอขาณุวรลักษบุรี

ณุวรลักษบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอขาณุวรลักษบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอดอกคำใต้

อกคำใต้ (69px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพะเยาและอยู่ใกล้กับตัวเมืองพะเยามากที่สุด อยู่ห่างตัวเมืองเพียง 11 กิโลเมตร ดอกคำใต้เป็นที่รู้จักกันในนามแม่หญิงงามดอกคำใต้ ซึ่งผู้หญิงในอำเภอดอกคำใต้นั้นมีความงดงามทั้งหน้าตาและกิริยา สมกับเป็นหญิงงามแห่งเมืองเหนือ ประวัติอำเภอดอกคำใต้ ในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งมีพ่อขุนรามคำแหงเป็นกษัตริย์ ได้มีสัมพันธ์ไมตรีอย่างดียิ่งกับ เมืองภูกามยาว(จังหวัดพะเยาในปัจจุบัน) ซึ่งมีพ่อขุนงำเมืองเป็นกษัตริย์ พ่อขุนรามคำแหงได้เสด็จมาเยี่ยมเป็นประจำ โดยยกขบวนช้าง ม้า บริวาร มาเป็นอันมาก โดยเสด็จผ่านทางเวียงโกศัย(เมืองแพร่) ผ่านมาทางอำเภอดอกคำใต้ จนถึงเมืองภูกามยาว จนเกิดรอยตีนช้าง ตีนม้า เมื่อฝนตกทำให้น้ำไหลตามรอยตีนช้าง ตีนม้า จนกลายเป็นร่องลึก เรียกว่า “แม่น้ำร่องช้าง” ประชาชนเห็นว่าเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์จึงมาตั้งบ้านแปงเมืองอยู่ตามลำน้ำ และประกอบกับสองฝั่งลำน้ำร่องช้างมีต้นดอกคำใต้ขึ้นเป็นอันมาก จึงตั้งชื่อชุมชนนี้ว่า บ้านดอกคำใต้ ต่อมาชุมชนมีขนาดใหญ่ขึ้น และยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อ..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอดอกคำใต้ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอคลองลาน

ลองลาน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชรเดิมเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองกำแพงเพชร มีชื่อว่า " ตำบลโป่งน้ำร้อน " ในปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอคลองลาน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอคลองหลวง

ลองหลวง เป็นอำเภอที่สำคัญอำเภอหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี เพราะเป็นที่ตั้งขององค์กรสำคัญหลายแห่ง.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอคลองหลวง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอคลองขลุง

ลองขลุง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอคลองขลุง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภองาว

งาว (30px) เป็นหนึ่งใน 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง มีพื้นที่ประมาณ 1,815 ตารางกิโลเมตร เป็นอำเภอที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 650 กิโลเมตร เป็นอำเภอยุทธศาสตร์ชายแดนที่มีบริเวณชายแดนติดต่อกันถึงสามจังหวัดได้แก่ จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่และจังหวัดลำปาง.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภองาว · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอตากฟ้า

ตากฟ้า เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครสวรร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอตากฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอตาคลี

ตาคลี เป็นอำเภอในจังหวัดนครสวรร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอตาคลี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอปากเกร็ด

ปากเกร็ด เป็นเป็นอำเภอที่มีตำบลมากที่สุดในจังหวัดนนทบุรี ที่ตั้งมีแม่น้ำเจ้าพระยาตัดผ่านตัวอำเภอ สภาพพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกส่วนใหญ่เป็นสวนผลไม้ต่าง ๆ ไร่นา ท้องทุ่ง ปศุสัตว์ ดังเช่นในชนบท ส่วนทางฝั่งตะวันออกมีที่พักอาศัย อุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และยังเป็นที่ตั้งหน่วยงานราชการส่วนกลางของประเทศ ในอดีตอำเภอปากเกร็ดเคยขึ้นกับจังหวัดพระนครอยู่ช่วงหนึ่ง และบางตำบลเคยอยู่ในอำเภอบางบัวทอง.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอปากเกร็ด · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอป่าแดด

ป่าแดด (50px) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย เดิมเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอพาน ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 52 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 333.300 ตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอป่าแดด · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแม่พริก

แม่พริก (40px) เป็นอำเภอแห่งหนึ่งใน จังหวัดลำปาง.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอแม่พริก · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแม่ลาว

แม่ลาว (45px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอแม่ลาว · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแม่สอด

อำเภอแม่สอด (50px; မဲဆောက်; ႄႈသၢႆ) เป็นอำเภอหนึ่งทางตอนกลางของจังหวัดตาก ได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอมาตั้งแต่ พ.ศ. 2441 ตัวอำเภออยู่ในที่ราบระหว่างภูเขาระหว่างเทือกเขาถนนธงชัยทิวเขาในฝั่งประเทศไทย อีกส่วนหนึ่งเป็นทิวเขาฝั่งประเทศพม่า อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ประมาณ 1,986 ตารางกิโลเมตร ประชากรมีทั้งชาวเขาและคนที่อพยพจากอำเภอเมืองตากเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ รวมทั้งชาวพม่าที่มีภรรยาและบุตรเป็นคนไทยด้วย อำเภอแม่สอดอยู่ห่างจากอำเภอเมืองตาก 86 กิโลเมตร แม่สอดเป็นอำเภอที่มีการค้าระหว่างประเทศไทยกับพม่า เนื่องจากเป็นอำเภอที่อยู่ติดชายแดน และเป็นที่ตั้งจุดผ่านแดนถาวรด่านพรมแดนแม่สอด เชื่อมโยงเมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ประวัติความเป็นมาของอำเภอแม่สอดนั้นยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจะเป็นเมืองฉอดของขุนสามชนที่เคยยกทัพไปตีกรุงสุโขทัยหรือไม่ ยังไม่มีผู้ใดพิสูจน์ได้ เมื่อดูตามสภาพบ้านเมืองของอำเภอแม่สอดนั้น ไม่พบว่ามีสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่มีอายุอยู่ในยุคของสุโขทัยได้เลย ฉะนั้นจึงน่าเชื่อได้ว่าไม่ใช่เมืองเดียวกัน และขณะนี้ได้มีนักโบราณคดีพบซากเมืองโบราณอยู่ในป่าทึบในท้องที่อำเภอแม่ระมาด ซึ่งอาจจะเป็นเมืองฉอดตามศิลาจารึกกรุงสุโขทัยได้ ตามผังประเทศไทย พ.ศ. 2560 อำเภอแม่สอดได้รับการสนับสนุนให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษตามหนึ่งในแนวทางของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก โดยเป็นศูนย์กลางการค้าที่ติดต่อกับเมืองเมียวดีในประเทศพม.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอแม่สอด · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแม่สาย

แม่สาย (50px; 50px) เป็นอำเภอเหนือสุดของจังหวัดเชียงรายและเหนือสุดของประเทศไทย ตั้งที่ว่าการที่ตำบลเวียงพางคำ มีด่านชายแดนไทย-พม่าเรียกว่า "ด่านแม่สาย" สามารถผ่านด่านข้ามไปยังจังหวัดท่าขี้เหล็กของพม่าได้โดยมีแม่น้ำสายเป็นพรมแดนทางธรรมชาติ การคมนาคมจากอำเภอเมืองเชียงรายไปอำเภอแม่สายโดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน ตอนเชียงราย-แม่สาย) ระยะทาง 63 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอแม่สาย · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแม่จัน

อำเภอแม่จัน (45px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอแม่จัน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแม่ทะ

แม่ทะ (50px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลำปาง.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอแม่ทะ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแม่ใจ

อำเภอแม่ใจ (50px) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวั.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอแม่ใจ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแม่เมาะ

แม่เมาะ (50px) คืออำเภอหนึ่งในจังหวัดลำปาง.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอแม่เมาะ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอโกรกพระ

กรกพระ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครสวรร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอโกรกพระ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอโกสัมพีนคร

อำเภอโกสัมพีนคร เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอในปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอโกสัมพีนคร · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอโคกสำโรง

อำเภอโคกสำโรง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอโคกสำโรง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอโคกเจริญ

อำเภอโคกเจริญ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี ยกฐานะจากกิ่งอำเภอโคกเจริญ ในปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอโคกเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเชียงคำ

ียงคำ (50px) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพะเยา ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มน้ำลาว น้ำยวน และน้ำแวน ซึ่งเป็นลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำอิง ในอดีตเป็นแอ่งอารยธรรมของชุมชนที่มีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอเชียงคำ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเกาะคา

กาะคา (40px) เป็นหนึ่งใน 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง และเป็นที่ตั้งวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางคือ วัดพระธาตุลำปางหลวง.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอเกาะคา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองชัยนาท

มืองชัยนาท เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยนาท.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอเมืองชัยนาท · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองพะเยา

มืองพะเยา (60px) เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง การบริหารราชการ การศึกษา และเศรษฐกิจ ความเจริญ ของจังหวั.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอเมืองพะเยา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองกำแพงเพชร

มืองกำแพงเพชร เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอเมืองกำแพงเพชร · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองลพบุรี

อำเภอเมืองลพบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอเมืองลพบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองลำปาง

มืองลำปาง (70px) เป็นอำเภอศูนย์กลางการบริหาร ธุรกิจ และวัฒนธรรมของจังหวัดลำปาง.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอเมืองลำปาง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองสระบุรี

มืองสระบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระบุรี.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอเมืองสระบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองตาก

อำเภอเมืองตาก เป็นอำเภอในจังหวัดตาก ศูนย์กลางทางด้านคมนาคม และจุดเชื่อมต่อไปยังอำเภอแม่สอด ศูนย์กลางค้าชายแดนไทย-พม่า อำเภอเมืองตากเดิมชื่อ "เมืองระแหง" ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านตาก ต่อมาเมื่อได้สถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแล้ว เมืองตากมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญด้านฝั่งตะวันตก ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายตัวเมืองตากจากฝั่งขวาของแม่น้ำปิงมายังฝั่งซ้ายบริเวณตำบลบ้านระแหงจนกระทั่งทุกวันนี้.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอเมืองตาก · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองปทุมธานี

อำเภอเมืองปทุมธานี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี มีประชากรจำนวนกว่า 1.9 แสนคน ประกอบด้วยตำบล 14 ตำบล และเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการของจังหวัดปทุมธานีอีกด้วย อำเภอเมืองปทุมธานีเป็นอำเภอมีความหนาแน่นเฉลี่ยของประชากรสูงถึง 1,421 คนต่อตารางกิโลเมตร และมีความเจริญกระจายตัวอย่างทั่วถึงทั้งอำเภอ ตรงกลางอำเภอมีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลางอำเภอ.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอเมืองปทุมธานี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองนครสวรรค์

มืองนครสวรรค์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครสวรร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอเมืองนครสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองเชียงราย

ตัวเมืองเชียงราย เมืองเชียงราย (80px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ที่มีศูนย์กลางการบริหาร ศูนย์กลางคมนาคม ศูนย์กลางธุรกิจ และศูนย์กลางทางศาสนาและวัฒนธรรมล้านนาของจังหวัดเชียงราย นับเป็นหนึ่งในอำเภอเมืองที่มีความเจริญมากในภาคเหนือตอนบนรองจากอำเภอเมืองเชียงใหม.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอเมืองเชียงราย · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองเชียงใหม่

มืองเชียงใหม่ (70px เมืองเจียงใหม่) เป็นศูนย์กลางการบริหาร ความเจริญศูนย์กลางธุรกิจ และวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นเมืองที่มีความเจริญมากที่สุดของจังหวัดและของภาคเหนือ และเป็นเมืองอันดับสองรองจากกรุงเทพมหานคร อำเภอเมืองเชียงใหม่มีเขตนครเชียงใหม่และปริมณฑลล้อมรอบ ได้แก่ เมืองลำพูน หางดง สันกำแพง สารภี แม่ริม สันทราย สันป่าตอง ฯลฯ.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอเมืองเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเวียงชัย

อำเภอเวียงชัย (55px) เป็นอำเภอหนึ่งในตอนกลางของจังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญโดยมีน้ำแม่ลาวไหลผ่านทางทิศตะวันตก และน้ำแม่กกไหลผ่านทางทิศเหนือ แบ่งการปกครองออกเป็น 5 ตำบล.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอเวียงชัย · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเถิน

น (25px) เป็นหนึ่งใน 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดรองจากอำเภองาว.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอเถิน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเด่นชัย

อำเภอเด่นชัย (38px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร่ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดแพร่ ทั้งทางถนน และ ทางรถไฟ มีสถานีรถไฟเด่นชัยเป็นสถานีประจำจังหวัดแพร่ และ ถนนที่เชื่อมไปยังจังหวัดต่างๆ ทั้งทางภาคเหนือตอนบนและกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอเด่นชัย · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ เป็นอำเภอซึ่งได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอำเภอกรณีพิเศษ โดยไม่ผ่านการเป็นกิ่งอำเภอ มีการประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2539 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี โดยมีการตั้งชื่ออำเภอว่า อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ใน 5 จังหวัด ดังนี้.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอเฉลิมพระเกียรติ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (จังหวัดสระบุรี)

ฉลิมพระเกียรติ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระบุรี.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอำเภอเฉลิมพระเกียรติ (จังหวัดสระบุรี) · ดูเพิ่มเติม »

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นอนุสาวรีย์ในกรุงเทพมหานคร โดยรอบเป็นวงเวียนอยู่กึ่งกลางระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนราชวิถี และถนนพญาไท ตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 5.0 ถนนพหลโยธิน โดยที่ กม.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ

อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่ ณ วงเวียนหลักสี่ จุดตัดระหว่างถนนพหลโยธินกับถนนแจ้งวัฒนะและถนนรามอินทรา ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญจัดสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองการปราบกบฏบวรเดช โดยมีการบรรจุอัฐิทหารและตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ภายในรวม 17 นาย จึงมีชื่อเรียกอื่นๆ ได้แก่ อนุสาวรีย์ปราบกบฏ อนุสาวรีย์ 17 ทหารและตำรวจ อนุสาวรีย์หลักสี่ หรืออนุสาวรีย์หลวงอำนวยสงคราม มีการปรับปรุงพื้นที่บริเวณโดยรอบอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญอยู่หลายครั้งโดยกรมทางหลวง เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดโดยรอบอนุสาวรีย์ อาทิ การปรับภูมิทัศน์เป็นสี่แยกและการขุดอุโมงค์ลอดอนุสาวรีย์ และการก่อสร้างสะพานลอยด้านข้างอนุสาวรีย์เพื่อเชื่อมต่อถนนแจ้งวัฒนะกับถนนรามอินทรา ปัจจุบันในบริเวณอนุสาวรีย์มีการก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายหมอชิต - คูคต และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี (พ.ศ. 2561) อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญได้รับการออกแบบโดยหลวงนฤมิตรเลขการ อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยยึดหลักทางการเมืองของรัฐบาล 5 ประการ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กองทัพ และรัฐธรรมนูญ อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เรียกข้อมูลวันที่ 19 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย การก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเริ่มขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นผลงานการออกแบบของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล อันเป็นแบบที่ชนะการประกวดการออกแบบอนุสาวรีย์แห่งนี้ การออกแบบได้นำสถาปัตยกรรมแบบไทยมาผสมผสาน ตรงกลางเป็นสมุดไทยที่สื่อถึงรัฐธรรมนูญประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า นอกจากการเป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงประชาธิปไตยนั้น อนุสาวรีย์แห่งนี้ ยังเป็นหลักกิโลเมตรที่ศูนย์ของกรุงเทพมหานครและประเทศไทยอีกด้วย อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้ใช้เป็นพื้นที่สำคัญของการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้ง อาทิ การชุมนุมของประชาชนและนักศึกษาใน เหตุการณ์ 14 ตุลา, การชุมนุมของประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553, การชุมนุมคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ พ.ศ. 2556 เป็นต้น.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชัยภูมิ

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดชัยภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชัยนาท

ังหวัดชัยนาท เดิมสะกดว่า ไชยนาท เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอุทัยธานี.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดชัยนาท · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เคยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดที่ไม่มีอำเภอเมือง มีอำเภอพระนครศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า".

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพะเยา

ังหวัดพะเยา (30px พ(ร)ะญาว) เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบน บริเวณที่ตั้งของตัวเมืองพะเยาในปัจจุบันอยู่ติดกับกว๊านพะเยา เดิมเป็นที่ตั้งของเมือง ภูกามยาว หรือ พะยาว ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 โดยกษัตริย์องค์แรกคือ พญาจอมธรรม ซึ่งเป็นราชบุตรองค์หนึ่งจากเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสน และเป็นบรรพบุรุษของกษัตริย์เมืองพะยาวอีกหลายองค์ เช่น พญาเจือง วีรบุรุษแห่งเผ่าไท-ลาวในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง และพญางำเมืองซึ่งได้กระทำสัตย์สาบานเป็นไมตรีต่อกันกับพญามังรายแห่งนครพิงค์เชียงใหม่ และพญาร่วงรามคำแหงแห่งสุโขทัย ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจ และตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านนา ในสมัยพญาคำฟู เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ใน..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดพะเยา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพิษณุโลก

ังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีประชากรในปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดพิษณุโลก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพิจิตร

ังหวัดพิจิตร เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางภาคกลางตอนบนระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่ประมาณ 4,531 ตารางกิโลเมตร มีประชากรในปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดพิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดกำแพงเพชร

ังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 8,607 ตารางกิโลเมตร มีประชากรในปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดกำแพงเพชร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลพบุรี

ังหวัดลพบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นถึง 8 จังหวัด วนตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลพบุรีเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดลพบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลำพูน

ังหวัดลำพูน (30px หละปูน) เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในภาคเหนือ นับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ ยาวนาน เคยเป็นที่ตั้งของนครหริภุญชัย ในสมัยพระนางจามเทวีเดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองโบราณ มีอายุประมาณ 1,343 ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย โดยฤๅษีวาสุเทพ เป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตรหรือชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้น ในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิง เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม “จามเทวี” มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชยสืบราชวงศ์กษัตริย์ต่อมาหลายพระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพญายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พญามังราย ผู้รวบรวมแว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา ถึงแม้ว่าเมืองลำพูนจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่ และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดลำพูน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลำปาง

ังหวัดลำปาง (40px) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบล้อมรอบด้วยภูเขา มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกอย่างหลากหลายตั้งแต่ เขลางค์นคร, เวียงละกอน, นครลำปาง ฯลฯ ในภายหลังเป็นที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองรถม้า ที่สัมพันธ์กับเอกลักษณ์ของลำปาง.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดลำปาง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสระบุรี

ังหวัดสระบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของภาคกลาง นับเป็นเสมือนด่านผ่านระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งทางประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และยังเป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดสระบุรี นับว่าเป็นทำเลแห่งการเพาะปลูก ได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำสายหลัก คือแม่น้ำป่าสัก และสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดสระบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสิงห์บุรี

ังหวัดสิงห์บุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไท.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดสิงห์บุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุพรรณบุรี

รรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 107 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศเหนือ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และกาญจนบุรี.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดสุพรรณบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุโขทัย

ทัย (ᩈᩩᨠᩮ᩠ᨡᩣᨴᩱ᩠ᨿ, เดิมสะกดว่า ศุโขไทย) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก และลำปาง (เรียงตามเข็มนาฬิกาจากด้านเหนือ).

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดสุโขทัย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุทัยธานี

ังหวัดอุทัยธานี เดิมสะกดว่า อุไทยธานี เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 6,730 ตารางกิโลเมตร มีประชากรในปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดอุทัยธานี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุตรดิตถ์

ังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมสะกดว่า อุตรดิฐ เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนล่าง โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาด ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัย แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดอุตรดิตถ์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอ่างทอง

ังหวัดอ่างทอง เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น ตุ๊กตาชาววัง งานจักสาน เป็นต้น.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดอ่างทอง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดตาก

นมิตรภาพ ไทย-พม่า (แม่สอด-เมียวดี) ทอดข้ามแม่น้ำเมย จังหวัดตาก (30px) เป็นจังหวัดในภาคตะวันตกหรือบางแห่งจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่างของไทย มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ แต่มีประชากรเบาบางที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดชายแดนที่สำคัญอีกจังหวัดหนึ่งของไทย มีประวัติศาสตร์เก่าแก่นับแต่สมัยกรุงสุโขทัย ทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่งดงามหลายแห่งด้วย นอกจากนี้จังหวัดตากยังเป็นจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดอื่น ๆ ถึง 9 จังหวั.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดตาก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดปทุมธานี

ังหวัดปทุมธานี (เดิมสะกดว่า ประทุมธานี) เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร เทศบาลที่ตั้งศาลากลางจังหวัด คือ เทศบาลเมืองปทุมธานี แต่เทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัด คือ เทศบาลนครรังสิต ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอธัญบุรี.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดปทุมธานี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครราชสีมา

นครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยและมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อเมืองนครราชสีมาปรากฏครั้งแรกเป็นเมืองพระยามหานครในการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีรับสั่งให้ย้ายเมืองนครราชสีมามาตั้งบริเวณพื้นที่ปัจจุบัน เมื่อ..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดนครราชสีมา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครสวรรค์

ังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างตอนบนของภาคกลาง มีพื้นที่ประมาณ 9,597 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับหลายจังหวัด ได้แก่ ด้านเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร ทางตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ด้านใต้ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี ส่วนด้านตะวันตกติดกับจังหวัดตาก.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดนครสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครนายก

ังหวัดนครนายก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดนครนายก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดแพร่

ังหวัดแพร่ (25px) เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อดีตนครรัฐอิสระขนาดเล็ก มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบระหว่างภูเขา โดยมีทิวเขาล้อมรอบ และมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านคือแม่น้ำยม.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดแพร่ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเชียงราย

ังหวัดเชียงราย (55px เจียงฮาย; 50px) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีภูมิศาสตร์อยู่ทางเหนือสุดของประเทศ ที่ตั้งของเมืองมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เช่น เมืองเงินยาง เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองเชียงรายเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชาวไทยวน ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ มีน้ำแม่กก น้ำแม่อิง แม่น้ำรวก และแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว หรือรู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งอดีตเป็นแหล่งผลิตฝิ่นที่สำคัญของโลก ปัจจุบัน จังหวัดเชียงรายได้รับความสนใจในฐานะประตูสู่พม่า ลาว และจีนตอนใต้ ผ่านทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 3 เมืองเชียงรายมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นที่ตั้งของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ซึ่งเป็นนครหลวงก่อนการกำเนิดอาณาจักรล้านนา มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในรูปแบบล้านนา ไทใหญ่ ไทเขิน และไทลื้อจากสิบสองปันนาผสมผสานกัน.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดเชียงราย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเชียงใหม่

ังหวัดเชียงใหม่ (40px เจียงใหม่) เป็นจังหวัดหนึ่งของไทย ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากร 1,746,840 คน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมือง 960,906 คน โดยจังหวัดเชียงใหม่ทิศเหนือติดต่อกับรัฐฉานของเมียนมา จังหวัดเชียงใหม่ จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศไทย รองจากกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาสมัครเมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเพชรบูรณ์

ังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 12,668 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 9 ของประเทศ มีประชากร 994,397 คน แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ และมีเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรมชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจังหวัดเพชรบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

จุดผ่านแดนถาวรแม่สาย

ป้ายชื่อด่านพรมแดนแม่สาย และด่านศุลกากรแม่สาย จุดผ่านแดนถาวรแม่สาย ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 117 หมู่ที่ 10 บ้านป่ายางผาแตก ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย เชื่อมต่อกับ ด่านพรมแดนท่าขี้เหล็ก แขวงท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ประเทศพม่า จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 เป็นที่ตั้งของ ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงราย และ ด่านศุลกากรแม.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและจุดผ่านแดนถาวรแม่สาย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพญาไท

นนพญาไทช่วงมาบุญครองและสี่แยกปทุมวัน ถนนพญาไท (Thanon Phaya Thai) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนพระรามที่ 4 (สี่แยกสามย่าน) ไปทางทิศเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวังใหม่กับแขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน ผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นตัดกับถนนพระรามที่ 1 (สี่แยกปทุมวัน) ข้ามคลองบางกะปิ หรือคลองแสนแสบ (ที่สะพานเฉลิมหล้า 56 หรือสะพานหัวช้าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี ตัดกับถนนเพชรบุรี (สี่แยกราชเทวี) จากนั้นเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงทุ่งพญาไทและแขวงถนนพญาไท โดยตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามทางรถไฟสายตะวันออก ตัดกับถนนศรีอยุธยา (สี่แยกพญาไท) ไปสิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือ ถนนพหลโยธิน.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนพญาไท · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระราม 9

นนพระราม 9 ในเขตสวนหลวง ถนนพระราม 9 (Thanon Rama IX) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่ทางแยกพระราม 9 ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษกและถนนอโศก-ดินแดงในพื้นที่เขตดินแดง มุ่งหน้าไปทางตะวันออก เข้าพื้นที่เขตห้วยขวาง ผ่านแยกถนนวัฒนธรรม ผ่านจุดตัดกับถนนประดิษฐ์มนูธรรม และตัดกับถนนรามคำแหงในพื้นที่เขตบางกะปิ ไปสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ในพื้นที่เขตสวนหลวง โดยมีถนนมอเตอร์เวย์เป็นเส้นทางต่อเนื่อง ซึ่งถนนพระราม 9 ช่วงตั้งแต่ทางแยกรามคำแหงถึงทางแยกต่างระดับถนนศรีนครินทร์ เคยมีฐานะเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร เหตุที่ถนนพระราม 9 ไม่มีคำว่า "ที่" ต่อท้ายนั้น ปรากฏชัดเจนจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานแก่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและปลัดกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 19 กันยายน..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนพระราม 9 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 1

นนพระรามที่ 1 ช่วงสยามสแควร์ ถนนพระรามที่ 1 (Thanon Rama I) เริ่มต้นจากถนนกรุงเกษม (สี่แยกกษัตริย์ศึก) ซึ่งต่อเนื่องมาจากถนนบำรุงเมือง บริเวณสะพานกษัตริย์ศึก (ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม และทางรถไฟสายเหนือ) ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนรองเมือง (ทางแยกกลางสะพานกษัตริย์ศึก) ถนนพระรามที่ 6 และทางพิเศษศรีรัช (สี่แยกพงษ์พระราม) ข้ามคลองสวนหลวงและตัดกับถนนบรรทัดทอง (สี่แยกเจริญผล) ถนนพญาไท (สี่แยกปทุมวัน) ข้ามคลองอรชร (สะพานเฉลิมเผ่า 52) และตัดกับถนนอังรีดูนังต์ (สามแยกเฉลิมเผ่า) ไปสิ้นสุดที่แยกตัดถนนราชดำริ (สี่แยกราชประสงค์ ต่อเนื่องไปยังถนนเพลินจิต) อยู่ในพื้นที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนพระรามที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 4

นนพระรามที่ 4 ช่วงสวนลุมพินี ถนนพระรามที่ 4 (Thanon Rama IV) เป็นถนนในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ทางแยกหมอมี (แยกจากถนนเจริญกรุง) ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่สะพานเจริญสวัสดิ์ ผ่านสถานีหัวลำโพง สามย่าน ไปบรรจบถนนสุขุมวิท.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนพระรามที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนกาญจนาภิเษก

นนกาญจนาภิเษก (Thanon Kanchanaphisek) หรือ ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 เป็นถนนสายสำคัญที่มีเส้นทางเชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนล้อมรอบตัวเมืองกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ รวมถึงผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 168 กิโลเมตร ถนนสายนี้สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีปริมาณการจราจรและการขนส่งเพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเป็นทางเลี่ยงเมืองกรุงเทพมหานครที่เป็นตัวเชื่อมทางสายหลักเข้าไปสู่ทุกภาคของประเทศ เริ่มก่อสร้างครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนกาญจนาภิเษก · ดูเพิ่มเติม »

ถนนกำแพงเพชร

นนกำแพงเพชร (Thanon Kamphaeng Phet) เป็นถนนที่สร้างขึ้นในเขตการรถไฟแห่งประเทศไทย บ้างขนานกับรางรถไฟ บ้างก็ไม่ขนานเป็นถนนโดด ตั้งชื่อว่าถนนกำแพงเพชร เพื่อระลึกถึง กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน บิดาแห่งกิจการรถไฟ ในตอนแรก การรถไฟแห่งประเทศไทย มีความประสงค์ที่จะตั้งชื่อถนนชุดนี้ว่า "ถนนบุรฉัตร" ตามพระนามเดิมใน กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ได้พระราชทานนามถนนในเขตที่ดินรถไฟชุดนี้ว่า "ถนนกำแพงเพชร".

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนกำแพงเพชร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนมิตรภาพ

นนมิตรภาพ ซึ่งเป็นชื่อเรียกของ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 หรือ ทางหลวงสายสระบุรี–สะพานมิตรภาพที่หนองคาย (เขตแดนไทย/ลาว) เป็นหนึ่งในทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย โดยสายทางเริ่มต้นที่จังหวัดสระบุรี มุ่งเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย มีระยะทางทั้งสิ้น 509 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 12 ถนนมิตรภาพเป็นทางหลวงที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในด้านงบประมาณการก่อสร้าง เทคนิควิชาการในการก่อสร้าง นับเป็นทางหลวงสายแรกที่ก่อสร้างถูกต้องตามแบบมาตรฐานการก่อสร้างทางหลวงทุกขั้นตอน และเป็นทางหลวงสายแรกของประเทศไทยที่มีผิวจราจรลาดยางแบบแอสฟอลต์คอนกรีต โดยเปิดให้บริการเมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนมิตรภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนรัชดาภิเษก

นนรัชดาภิเษก (Thanon Ratchadaphisek) เป็นถนนวงแหวนรอบในของกรุงเทพมหานคร เริ่มจากสะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่ ผ่านสะพานกรุงเทพ ตัดผ่านถนนพระรามที่ 3 ถนนสุขุมวิท ถนนเพชรบุรี ถนนพระราม 9 ถนนลาดพร้าว ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนประชาชื่น ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ข้ามสะพานพระราม 7 เข้าเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ตัดกับถนนบางกรวย-ไทรน้อย ลอดใต้สะพานพระราม 6 เข้าเขตกรุงเทพมหานคร รวมกับถนนจรัญสนิทวงศ์ และมาบรรจบที่ทางแยกท่าพร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนรัชดาภิเษก · ดูเพิ่มเติม »

ถนนรังสิต-นครนายก

นนรังสิต-นครนายก ซึ่งมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305 เป็นถนนแนวตะวันตก-ตะวันออก เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดปทุมธานีกับจังหวัดนครนายก เป็นถนนขนาด 4-8 ช่องทางจราจร ระยะทางตลอดทั้งสาย 74.811 กิโลเมตร โดยทางหลวงสายนี้ได้ช่วยเพิ่มความสะดวกในการเข้าสู่จังหวัดนครนายกและจังหวัดใกล้เคียงมากขึ้น โดยไม่ต้องใช้ถนนพหลโยธิน แล้วเข้าถนนสุวรรณศรที่ทางแยกต่างระดับหินกอง อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ทำให้สามารถช่วยร่นระยะทางให้สั้นกว่าประมาณ 30 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนรังสิต-นครนายก · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชวิถี

นนราชวิถี เป็นชื่อถนนที่มีอยู่ในหลายจังหวัดของประเทศไทย ทั้งนี้อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนราชวิถี · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)

นนราชดำเนินกลางและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน (Thanon Ratchadamnoen) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยถนน 3 สาย ได้แก.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร) · ดูเพิ่มเติม »

ถนนลาดพร้าว

นนลาดพร้าว (Thanon Lat Phrao) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่ห้าแยกลาดพร้าว (หรือที่นิยมเรียกว่า "ปากทางลาดพร้าว") ในพื้นที่เขตจตุจักร ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนพหลโยธินและถนนวิภาวดีรังสิต มีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษก ผ่านพื้นที่เขตห้วยขวางในระยะสั้น ๆ เข้าพื้นที่เขตวังทองหลาง ผ่านแยกถนนโชคชัย 4 (ลาดพร้าว 53) ซอยลาดพร้าว 71 และถนนประดิษฐ์มนูธรรม เข้าพื้นที่ระหว่างเขตวังทองหลางกับเขตบางกะปิ ผ่านแยกถนนลาดพร้าว 101 (วัดบึงทองหลาง) เข้าพื้นที่เขตบางกะปิ ผ่านสามแยกบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ ไปสิ้นสุดที่สี่แยกบางกะปิตัดกับถนนนวมินทร์และถนนพ่วงศิริ โดยจากแยกนี้ไปจะเป็นถนนเสรีไทย ในปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนลาดพร้าว · ดูเพิ่มเติม »

ถนนวิภาวดีรังสิต

นนวิภาวดีรังสิต (Thanon Vibhavadi Rangsit) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 (ดินแดง - ดอนเมือง) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานในภาคกลาง เชื่อมต่อถนนในกรุงเทพมหานครกับถนนพหลโยธินสู่ภาคกลาง, ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ถนนสายนี้มีลักษณะเป็นทางหลวงพิเศษหรือซูเปอร์ไฮเวย์ ซึ่งแบ่งช่องทางเดินรถเป็นทางด่วนหรือทางหลัก และทางคู่ขนาน ยกเว้นช่วงที่ผ่านหน้าท่าอากาศยานดอนเมืองจะไม่แบ่งเป็นช่องทางด่วนและทางคู่ขนานเนื่องจากมีพื้นที่จำกัดเพราะถูกขนาบด้วยสนามบิน และทางรถไฟสายเหนือ ปัจจุบันมีทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) เป็นทางด่วนพิเศษยกระดับเก็บค่าผ่านทาง อยู่เหนือถนนวิภาวดีรังสิตด้วย เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้เดินทางที่ต้องการความรวดเร็วกว่าเดิม.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนวิภาวดีรังสิต · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสุรนารายณ์

นนสุรนารายณ์ หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 สายบ้านหมี่–สามแยกสุรนารายณ์ เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อการจราจรระหว่างจังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดนครราชสีมา มีระยะทางตลอดทั้งสาย 231.085 กิโลเมตร ขนาด 2 ช่องจราจรสลับกับ 4 ช่องจราจร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนสุรนารายณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสุขุมวิท

นนสุขุมวิท (Thanon Sukhumvit) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายบางนา–หาดเล็ก เป็นหนึ่งในทางหลวงแผ่นดินสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางไปตามชายทะเลภาคตะวันออก และสิ้นสุดที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ติดต่อกับชายแดนจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา รวมระยะทางยาวทั้งสิ้นประมาณ 488 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนสุขุมวิท · ดูเพิ่มเติม »

ถนนงามวงศ์วาน

นนงามวงศ์วาน ถนนงามวงศ์วาน (Thanon Ngam Wong Wan) เป็นถนนสายหนึ่งในจังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มจากทางแยกแครายซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนติวานนท์และถนนรัตนาธิเบศร์ ในท้องที่ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มุ่งตรงไปทางทิศตะวันออก ผ่านบริเวณปากซอยงามวงศ์วาน 2 (อัคนี) เข้าเขตตำบลบางเขน ตัดกับทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ตรงไปทางทิศเดิม ข้ามคลองประปาและตัดกับถนนประชาชื่นเข้าสู่ท้องที่แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร จากนั้นแนวเส้นทางเริ่มโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามคลองบางเขนเข้าสู่ท้องที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร ข้ามคลองเปรมประชากร ตัดกับถนนกำแพงเพชร 6 ทางรถไฟสายเหนือ และถนนวิภาวดีรังสิตที่ทางแยกบางเขน ผ่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปสิ้นสุดที่ทางแยกเกษตรซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนพหลโยธิน โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนประเสริฐมนูกิจ ถนนงามวงศ์วานเป็นถนนที่กรมทางหลวงตัดขึ้นและตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นายดำรง งามวงศ์วาน อดีตนายช่างกำกับหมวดนนทบุรี กรมทางหลวง ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างถนนสายนี้ ตามนโยบายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ให้ตั้งชื่อถนนตามชื่อของนายช่างที่กำกับการก่อสร้างหรือผู้บังคับบัญชา ปัจจุบันถนนงามวงศ์วานเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302 (แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - ต่างระดับบางใหญ่) อยู่ในความดูแลของแขวงทางหลวงนนทบุรีและแขวงทางหลวงกรุงเทพ กรมทางหลวง ยกเว้นช่วงตั้งแต่สะพานข้ามคลองประปาถึงหน้าเรือนจำกลางคลองเปรมซึ่งมีฐานะเป็นทางหลวงท้องถิ่นในความดูแลของกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนงามวงศ์วาน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนประเสริฐมนูกิจ

นนประเสริฐมนูกิจ หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 351 สายมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์–คันนายาว หรือที่นิยมเรียกกันว่า ถนนเกษตร-นวมินทร์ เป็นเส้นทางจราจรระหว่างท้องที่เขตจตุจักร เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม และเขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร มีระยะทาง 11.656 กิโลเมตร เริ่มจากบริเวณถนนงามวงศ์วานตัดกับถนนพหลโยธินที่สี่แยกเกษตร เขตจตุจักร เป็นถนนขนาด 8 ช่องทางจราจร มุ่งไปทางทิศตะวันออกในพื้นที่แขวงเสนานิคม ข้ามคลองบางบัวเข้าสู่พื้นที่เขตลาดพร้าวในแขวงจรเข้บัว ตัดกับถนนลาดปลาเค้า จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เข้าสู่แขวงลาดพร้าว ตัดกับถนนสุคนธสวัสดิ์และถนนประดิษฐ์มนูธรรม เข้าสู่พื้นที่แขวงนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม ข้ามคลองลำเจียก ตัดกับถนนรัชดา-รามอินทรา ซ้อนกับแนวปากทางถนนนวลจันทร์และข้ามคลองบางขวดก่อนตัดกับถนนนวมินทร์ เข้าพื้นที่แขวงคลองกุ่ม ตรงไปทางทิศเดิม วกขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบวบขม ข้ามคลองลำปลาดุกเข้าสู่พื้นที่แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว และข้ามคลองครุก่อนไปสิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 (ถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านใน) ซึ่งในอนาคตอาจมีการก่อสร้างเป็นทางแยกต่างระดับด้ว.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนประเสริฐมนูกิจ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนนวมินทร์

นนนวมินทร์ (Thanon Nawamin) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อว่า ถนนสุขาภิบาล 1 มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่สี่แยกบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนลาดพร้าว ถนนเสรีไทย และถนนพ่วงศิริ ในแขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ มีทิศทางมุ่งขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านพื้นที่เขตบึงกุ่ม ไปสิ้นสุดที่แยกตัดกับถนนรามอินทรา (บริเวณกิโลเมตรที่ 8) ในเขตคันนายาว เดิมถนนนวมินทร์ได้รับการกำหนดให้เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3202 ในความดูแลของกรมทางหลวง ต่อมากรมทางหลวงได้โอนให้สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ดูแลตลอดระยะทาง.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนนวมินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนแจ้งวัฒนะ

นนแจ้งวัฒนะ ถนนแจ้งวัฒนะ (Thanon Chaeng Watthana) เป็นถนนสายหนึ่งในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เขตหลักสี่ และเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นายชลอ แจ้งวัฒนะ อดีตนายช่างกำกับแขวงการทางกรุงเทพที่ 2 กรมทางหลวง ซึ่งเป็นนายช่างที่ควบคุมการก่อสร้างถนนสายนี้ - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนแจ้งวัฒนะ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเพชรเกษม

นนเพชรเกษม (Thanon Phet Kasem) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายกรุงเทพมหานคร–จุดผ่านแดนถาวรสะเดา (เขตแดนไทย/มาเลเซีย) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายประธานของประเทศไทย ที่มีเส้นทางมุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย มีระยะทาง 1277.512 กิโลเมตร นับเป็นทางหลวงหรือถนนสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ถนนเพชรเกษมมีเส้นทางเริ่มต้นที่สะพานเนาวจำเนียร (ข้ามคลองบางกอกใหญ่) ตั้งอยู่บนเส้นแบ่งการปกครองระหว่างเขตบางกอกใหญ่กับเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา บริเวณเขตแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย เชื่อมต่อกับทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือ ที่เมืองบูกิตกายูฮีตัม รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย บางช่วงของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 123.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนเพชรเกษม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเทพรักษ์

นนเทพรักษ์ (Thanon Thep Rak) เป็นถนนสายหนึ่งในท้องที่เขตบางเขนและเขตสายไหม ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและถนนเทพรักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทางพิเศษศรีรัช

ทางพิเศษศรีรัช หรือ ระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วนในเมือง) เป็นทางพิเศษในกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างและเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กันยายน..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางพิเศษศรีรัช · ดูเพิ่มเติม »

ทางยกระดับอุตราภิมุข

ทางยกระดับอุตราภิมุข หรือ ดอนเมืองโทลล์เวย์ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า โทลล์เวย์ เป็นทางด่วนสายหนึ่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง และบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) โดยมีการแบ่งการบริหารจัดการทางยกระดับเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ทางยกระดับดินแดง–ดอนเมือง เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 และเป็นทางหลวงสัมปทาน และส่วนทางยกระดับอนุสรณ์สถาน−รังสิต เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ทางยกระดับอุตราภิมุขมีแนวสายทางเริ่มจากบริเวณเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร แล้วสิ้นสุดเส้นทางที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี รวมระยะทางทั้งสิ้น 28.224 กิโลเมตร โดยเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางยกระดับอุตราภิมุข · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงสายเอเชีย

แผนที่ทางหลวงสายเอเชีย ป้ายทางหลวงเอเชียสาย 2 ที่จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย ป้ายทางหลวงสายเอเชีย ป้ายนี้ใช้ในทางหลวงเอเชียสาย 18 ทางหลวงสายเอเชีย หรือย่อเป็น AH เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปเอเชียและยุโรป และคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) สหประชาชาติ เพื่อปรับปรุงระบบทางหลวงในเอเชีย เป็นหนึ่งในสามเสาหลักของโครงการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางบกของทวีปเอเชีย อนุมัติโดยคณะกรรมการเอสแคป ในการประชุมครั้งที่ 48 ในปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงสายเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงหมายเลข 4 (ประเทศพม่า)

ทางหลวงหมายเลข 4 เป็นทางหลวงแนวตะวันตก-ตะวันออกที่สำคัญของประเทศพม่า เชื่อมต่อเมืองเมะทีลา ในเขตมัณฑะเลย์ ไปยังเมืองท่าขี้เหล็ก ในรัฐฉาน บริเวณพรมแดนประเทศไทย ทางหลวงเส้นนี้เริ่มต้นใกล้กับเมืองเมะทีลา ซึ่งเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 1 ไปทางทิศตะวันออกผ่านเมือง Hopong บรรจบกับทางหลวงหมายเลข 5 ทางทิศใต้ และไปสิ้นสุดที่เมืองท่าขี้เหล็ก เชื่อมต่อกับถนนพหลโยธิน ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย หมวดหมู่:ถนนในประเทศพม่า.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงหมายเลข 4 (ประเทศพม่า) · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1016

| หมายเล.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1016 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1020

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1020 สายเชียงราย – เชียงของ เป็นถนนสายหลักที่ใช้ในการเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองเชียงรายของประชาชนในอำเภอเชียงของ อำเภอเวียงแก่น อำเภอขุนตาล และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เป็นถนนที่แยกมาจากถนนพหลโยธินหรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 3 สร้างขึ้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายเชียงราย-เทิง-เชียงของ..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1020 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1021

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1021 หรือ ถนนพิศาล เป็นทางหลวงที่สร้างขึ้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงจังหวัด สายพะเยา-ดอกคำใต้-เชียงคำ..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1021 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 103

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 103 สายร้องกวาง–งาว หรือ ถนนวังซ้าย หรือ สายแพร่–ลำปาง (สายเก่า) เป็นทางหลวงแผ่นดินขนาด 2 ช่องจราจร ไป-กลับ และขนาด 4 ช่องจราจรในบางช่วง เริ่มต้นจากทางหลวงหมายเลข 101 (ถนนยันตรกิจโกศล) ที่บ้านร้องเข็ม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ จากนั้นมีทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1154 แยกขวามือไปยัง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และเป็นเส้นทางบนภูเขาผ่าน ตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง จนบรรจบกับถนนพหลโยธิน ที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง ระยะทาง 64.345 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินสายนี้แต่เดิม มีชื่อเรียกว่า ถนนวังซ้าย ตั้งชื่อตามนายตุ่น วังซ้าย นายช่างกรมทางหลวง มีแนวเส้นทางทับ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 103 บางส่วน และ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1154 (อำเภอสอง - อำเภองาว) ในภายหลัง กรมทางหลวงได้พิจารณาตัดแนวทางใหม่แทนเส้นทางเดิมที่คับแคบ และประสบปัญหาผ่านพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่งาว ไม่อาจขยายเขตทางได้ ซึ่งแต่เดิมเส้นทางหลวงหมายเลข 103 นี้ เป็นเส้นทางสายเก่าที่สุดของจังหวัดแพร่ และจังหวัดลำปาง ในสมัยก่อน เมื่อประมาณ 50 กว่าปีที่แล้ว เดิมเป็นเส้นทางคมนาคมที่ต้องเดินทางขึ้นสายเหนือไปทางจังหวัดลำปาง พะเยา เชียงราย และเชียงใหม่ในอดีต แต่ปัจจุบันนี้ ได้กลายมาเป็นเส้นทางไปจังหวัดพะเยา เชียงราย และลำปาง ซึ่งรถโดยสารประทำทาง สายกรุงเทพฯ -เชียงราย (สายใหม่) สายกรุงเทพฯ - แม่สาย และรถประจำทางสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น นครพนม นครราชสีมา) รถประจำทางสายตะวันออกและสายใต้ (ระยอง พัทยา ภูเก็ต) ที่ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 103 นี้ ไปยังจังหวัดพะเยา และเชียงราย เป็นหลัก.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 103 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 104

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 104 หรือ ถนนพหลโยธินสายเก่า เป็นถนนแอสฟัลต์คอนกรีตขนาด 2 ช่องจราจรไป-กลับ เริ่มต้นแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 บริเวณทางแยกตาก อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 บริเวณสะพานวุฒิกุล อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก ระยะทางรวม 26.015 กิโลเมตร เดิมทางนี้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 104 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 สายดอนไชย–อุโมงค์ เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร มีแนวเส้นทางเริ่มจากทางแยกถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1) อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ผ่านอำเภอลี้ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน และตัดเข้าตัวเมืองเชียงใหม่ สิ้นสุดที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เส้นทางนี้เป็นเส้นทางลัดจากถนนพหลโยธิน ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังสถานที่สำคัญ เช่น อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติออบหลวง โดยไม่ต้องผ่านตัวเมืองเชียงใหม่ และสามารถใช้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 108 เข้าสู่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้โดยไม่ต้องเริ่มจากตัวเมืองเชียงใหม่ แต่ไม่เป็นที่นิยมนักเนื่องจากช่วงอำเภอเถิน ถึงอำเภอลี้ (รอยต่อระหว่างจังหวัดลำปางและจังหวัดลำพูน) เป็นทางแคบ ตัดขึ้นภูเขาสูง และคดเคี้ยวมาก จึงไม่เหมาะในการสัญจรในเวลากลางคืน โดยส่วนที่แคบและคดเคี้ยวนั้นคือส่วนที่ตัดผ่านอุทยานแห่งชาติดอยจง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ช่วงจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่นั้น มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์คือ มีต้นขี้เหล็กและต้นยางนาสูงใหญ่ปลูกเรียงรายตลอดสองข้างทางตั้งแต่ลำพูนจนถึงเชียงใหม่ จนเรียกกันว่าเป็น "ถนนสายต้นยาง" หรือ "ถนนต้นยาง".

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107

นนโชตนา ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 สายเชียงใหม่–แม่จัน เป็นทางหลวงแผ่นดินในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย เป็นทางหลวงสายหลักของจังหวัดเชียงใหม่ในการติดต่อกับอำเภอต่าง ๆ ทางทิศเหนือ และเชื่อมต่อไปยังจังหวัดเชียงราย มีระยะทางตลอดทั้งสาย 240.301 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 สายอินทร์บุรี–เชียงใหม่ เป็นทางหลวงแผ่นดินสายประธานแนวเหนือ–ใต้ เชื่อมการคมนาคมระหว่างจังหวัดในภาคกลางกับจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย มีระยะทาง 545.779 กิโลเมตร ปลายทางทิศใต้ของทางหลวงสายนี้อยู่ที่ทางแยกต่างระดับอินทร์บุรี ที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ในอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ส่วนปลายทางทิศเหนืออยู่ที่ถนนสุเทพ ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 110

150px ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 110 เป็น ถนนพหลโยธิน (เดิม) ช่วงต่อจาก ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (กรุงเทพฯ - เชียงราย)ที่ห้าแยกพ่อขุนฯ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันได้ยกระดับเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (กรุงเทพฯ - เขตแดนแม่สาย) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ทางหลวงสายเอเซีย สาย AH2.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 110 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 สายนครสวรรค์ – บ้านม่วงเจ็ดต้น (รวมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1325, 1104 และ 1047 สายคลองเมม – ม่วงเจ็ดต้น) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายหลักที่เชื่อมการขนส่งจราจรระหว่างจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดพิษณุโลก และเป็นทางหลวงสายรองในช่วงจังหวัดพิษณุโลกถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ รวมระยะทางตลอดทั้งสาย 396.784 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118 สายเชียงใหม่ – สันป่าสัก เป็นทางหลวงแผ่นดินสายหลักที่เชื่อมระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ไปยังจังหวัดเชียงราย รวมถึงไปยังจังหวัดพะเยา มีเส้นทางแยกมาจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ที่แยกศาลเด็ก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่http://bmm.doh.go.th/website/index.php/statistics-for-maintenance/map-distance-control/39-highways-agency-1 แผนที่ระยะทางควบคุม สำนักงานทางหลวงที่ 1 เชียงใหม่ ไปบรรจบกับถนนพหลโยธิน หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ที่แยกแม่ลาว อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงรายhttp://bmm.doh.go.th/website/index.php/statistics-for-maintenance/map-distance-control/40-highways-agency-2 แผนที่ระยะทางควบคุม สำนักงานทางหลวงที่ 2 แพร่ เดิมเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1019 (เชียงใหม่-แม่สรวย) และส่วน 25 กิโลเมตรแรกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 109 (บ.ป่าสัก-แม่สรวย-ฝาง) ทางหลวงสายนี้ตัดผ่านอำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภอสันทราย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย และอำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ผ่านพื้นที่ต้นน้ำแม่กวงและต้นน้ำแม่ลาวในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ และอุทยานแห่งชาติขุนแจ ทางหลวงสายนี้เป็นถนนสายหลักที่ใช้ในการเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองเชียงรายของประชาชน ในอำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และอำเภอแจ้ห่ม อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 สายแม่สอด (เขตแดน)–มุกดาหาร เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานที่เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่เชื่อมระหว่างภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย สายทางเริ่มต้นที่สะพานมิตรภาพไทย-พม่า อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และสิ้นสุดที่อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 793.391 กิโลเมตร อีกทั้งรัฐบาลยังวางแผนให้เป็นหนึ่งในถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ที่เชื่อมระหว่างเมืองเมาะลำเลิง ประเทศพม่า และเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม นอกจากนี้เส้นทางหลวงแผ่นดินสายนี้ยังถือเป็นทางหลวงสายเอเชีย ได้แก่ ทางหลวงเอเชียสาย 1 และทางหลวงเอเชียสาย 16 อีกด้ว.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 122

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 122 หรือ ทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ด้านตะวันตก เป็นทางหลวงแผ่นดินในจังหวัดนครสวรรค์ สายทางเริ่มต้นที่ทางต่างระดับเข้าเมืองนครสวรรค์ ที่หลักกิโลเมตรที่ 331+810อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และสิ้นสุดที่อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 23.686 กิโลเมตร นอกจากนี้เส้นทางหลวงแผ่นดินสายนี้ยังถือเป็นเส้นทางหลวงเอเชียสาย 1 และทางหลวงเอเชียสาย 2 เฉพาะช่วงทางหลวงหมายเลข 1 หลักกิโลเมตรที่ 331.348 อีกด้ว.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 122 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1232

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1232 (อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งราย–เวียงชัย) เป็นถนนที่แยกมาจากถนนพหลโยธินที่อนุสาวรีย์พญามังราย บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 932+907 ซึ่งเป็นหลักกิโลเมตรใหม่หรือหลักกิโลเมตรที่ 829+290 ซึ่งเป็นหลักกิโลเมตรเดิมของถนนพหลโยธินซึ่งจุดเริ่มต้นของถนนสายนี้เริ่มต้นในเขตของอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ไปบรรจบทางหลวงหมายเลข 1173 ใน อำเภอเวียงชัย ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1232 เป็นถนนสายหลักที่ใช้ในการเดินทางเข้าสู่ตัวอำเภอเวียงชัย และตัวเมืองเชียงรายของประชาชนในตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย และตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1232 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 127

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 127 หรือ ทางเลี่ยงเมืองลำปาง เป็นถนนแอสฟัลต์คอนกรีตขนาด 2 ช่องจราจรไป-กลับ เริ่มต้นแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 บริเวณสามแยกโยนก อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง สิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 บริเวณสี่แยกภาคเหนือ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ระยะทางรวม 8.522กิโลเมตร เดิมทางนี้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 127 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1290

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1290 สายแม่สาย–เชียงของ มีระยะทาง 93.027 กม.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1290 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 สายสามแยกพุแค – เลย เป็นทางหลวงแผ่นดินสายประธานแนวเหนือ-ใต้ ที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทยสู่จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดเลย สายทางเริ่มต้นที่สามแยกพุแค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี และสิ้นสุดที่อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 412.874 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานทางหลวงที่ 6 (เพชรบูรณ์) ระยะทางประมาณ 325 กิโลเมตรhttp://bmm.doh.go.th/website/index.php/statistics-for-maintenance/map-distance-control/44-highways-agency-6 แผนที่ระยะทางควบคุม สำนักงานทางหลวงที่ 6 เพชรบูรณ์ และอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานทางหลวงที่ 9 (ลพบุรี) ระยะทางประมาณ 87 กิโลเมตรhttp://bmm.doh.go.th/website/index.php/statistics-for-maintenance/map-distance-control/49-highways-agency-11 แผนที่ระยะทางควบคุม สำนักงานทางหลวงที่ 11 ลพบุรี มีทางเลี่ยงเมือง 2 จุด ได้แก่ ทางเลี่ยงเมืองเพชรบูรณ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 234) และทางเลี่ยงเมืองหล่มสัก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21).

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 สายแยกบึงบอระเพ็ด–ชัยภูมิ เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มต้นที่สามแยกบึงบอระเพ็ด ตัดกับถนนพหลโยธินก่อนขึ้นสะพานเดชาติวงศ์ ตัดผ่าน อำเภอชุมแสง อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอบึงสามพันและอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ขึ้นไปสู่จังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเทพสถิต อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอบ้านเขว้า และสิ้นสุดที่วงเวียนอนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ระยะทางยาวประมาณ 268 กิโลเมตรเป็นทางหลวง 2 จราจรสวนกัน และบางช่วงเป็น 4 ช่องจราจร โดยถนนเส้นนี้อยู่ในส่วนหนึ่งของแผนงานการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร ระยะที่ 2 (โครงข่ายที่ 6 สายนครสวรรค์–ชัยภูมิ–อำเภอบ้านไผ่–มหาสารคาม–ร้อยเอ็ด–ยโสธร–อุบลราชธานี–ช่องแม็ก) ระยะทาง 672 กิโลเมตร ของกรมทางหลวง อย่างไรก็ตาม เส้นทางบางส่วนที่มีความสำคัญสูงมาก เนื่องจากอยู่ใกล้ตัวเมืองใหญ่ หรือเป็นเส้นทางหลักของประเทศ ได้มีการเสนอของบประมาณ และดำเนินการไปบ้างแล้ว.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 สายปากเกร็ด–สะพานต่างระดับนครราชสีมา เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานที่เชื่อมระหว่างจังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานคร จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครราชสีมา มีจุดเริ่มต้นบนถนนติวานนท์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306) ที่ห้าแยกปากเกร็ด ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และสิ้นสุดบนถนนมิตรภาพ กับทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมาด้านตะวันตก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204) ที่ทางแยกต่างระดับนครราชสีมา ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ระยะทางทั้งสิ้น 298.515 กิโลเมตร อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง 296.707 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 สายวังน้อย–สิงห์บุรี เป็นถนนสายหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสิงห์บุรี ระยะทางรวม 96.968 กิโลเมตร โดยลักษณะเส้นทางเป็นถนนขนาด 2-4 ช่องจราจร บางช่วงขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นถนนสายเก่าที่เป็นเส้นทางคมนาคมจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดภาคกลางทั้งสามจังหวัด ก่อนที่จะมีถนนสายเอเชียในเวลาต่อม.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311 สายลพบุรี–ชัยนาท เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างจังหวัดลพบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท เป็นถนนขนาด 2-6 ช่องจราจร ระยะทางทั้งหมด 85.216 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3196

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3196 สายดงพลับ–เจ้าปลุก เป็นถนนแอสฟัลต์คอนกรีตขนาด 2 ช่องจราจร แยกจากถนนพหลโยธินบริเวณสามแยกดงพลับ ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ขนานไปกับคลองอนุศาสนนันท์ทางทิศตะวันตก ผ่าน อำเภอบ้านหมี่ อำเภอโคกสำโรง อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ถึงถนนพระโหราธิบดี เขตเทศบาลเมืองลพบุรี จากนั้นจะเลียบคลองชลประทานลพบุรี-บางปะหัน เข้าสู่ อำเภอบ้านแพรก อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิ้นสุดเส้นทาง บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3267 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 ที่สี่แยกเจ้าปลุก อำเภอมหาราช ระยะทาง 105.736 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3196 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 สายบางปะอิน–แยกหลวงพ่อโอ เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานที่รู้จักกันทั่วไปในฐานะส่วนหนึ่งของโครงข่ายทางหลวงเอเชีย เป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครสู่จังหวัดในภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงคุนหมิง–กรุงเทพ มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 150.545 กิโลเมตร ในอนาคตมีโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 สายบางปะอิน-นครสวรรค์ โดยใช้เส้นทางร่วมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 สายสุพรรณบุรี–อรัญประเทศ (เขตแดนไทย/กัมพูชา) เป็นทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดในภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย สายทางเริ่มต้นในจังหวัดสุพรรณบุรี และสิ้นสุดที่ชายแดนประเทศกัมพูชา อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 299.549 กิโลเมตร ในปัจจุบัน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 เฉพาะช่วงหินกองถึงอรัญประเทศได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายทางหลวงเอเชียสาย 1 โดยถนนตลอดสายมีขนาดระหว่าง 2-6 ช่องจราจร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3312

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3312 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3312 สายสนามกีฬาธูปะเตมีย์ - คลอง 16 หรือนิยมเรียกกันว่า ถนนลำลูกกา เริ่มตั้งแต่ทางแยกออกจากถนนพหลโยธินตรงสนามกีฬาธูปะเตมีย์ (ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี) ไปทางทิศตะวันออก สิ้นสุดที่คลองสิบหก (ตำบลพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก) บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 369 และทางหลวงชนบทหมายเลข นย.4009 รวมระยะทางประมาณ 39.2 กิโลเมตร ถนนแบ่งเป็นสามช่วง ช่วงแรกตั้งแต่แยกถนนพหลโยธิน ไปจนถึงประมาณ 500 เมตรถัดจากแยกถนนนิมิตใหม่ เป็นถนน 6 ช่องทาง มีเกาะกลางถนน ช่วงที่สองไปจนถึงประมาณ 200 เมตรถัดจากสะพานข้ามคลองสิบเป็นถนน 4 ช่องทาง ไม่มีเกาะกลางถนนหรือแผงกั้น ช่วงสุดท้ายไปจนถึงแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3369 เป็นถนน 2 ช่องทาง ไม่มีเกาะกลางถนนหรือแผงกั้น.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3312 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 333

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 333 สายอู่ทอง–ท่าน้ำอ้อย เป็นเส้นทางเชื่อมการจราจรระหว่างจังหวัดสุพรรณบุรี อุทัยธานี และนครสวรรค์ เป็นเส้นทางที่มีสายทางต่อมาจากถนนมาลัยแมน ในอำเภออู่ทอง ผ่านอำเภอดอนเจดีย์ อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอบ้านไร่ อำเภอห้วยคต อำเภอหนองฉาง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี ผ่านสะพานพระวันรัต หรือสะพานท่าน้ำอ้อย ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับท่าน้ำอ้อยในอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ใช้เป็นเส้นทางเลี่ยงน้ำท่วมใหญ..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 333 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 สายบางบัวทอง–ชัยนาท หรือเรียกกันทั่วไปว่า ถนนบางบัวทอง–สุพรรณบุรี และ ถนนสุพรรณบุรี–ชัยนาท เป็นทางหลวงแผ่นดินสายหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดชัยนาท ระยะทาง 164.21 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่สามารถไปภาคเหนือได้โดยไม่ต้องผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 เดิมชื่อ ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ก่อสร้างเมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 สายต่างระดับรังสิต–พนมทวน เป็นถนนสายหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี, จังหวัดนนทบุรี, จังหวัดนครปฐม และจังหวัดกาญจนบุรี ต้นทางอยู่ที่ทางแยกต่างระดับรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี และปลายทางอยู่ที่แยกพนมทวน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ถนนสายนี้เริ่มจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ที่ทางแยกต่างระดับรังสิต มาทางทิศตะวันตก เข้าสู่เขตอำเภอเมืองปทุมธานี และตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345 (ติวานนท์-รังสิต) ที่แยกบางพูน แล้วผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3309 ผ่านทางพิเศษอุดรรัถยา แล้วตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306 (ติวานนท์) ที่แยกบ้านกลาง แล้วโค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 (ปทุมธานี-บางปะหัน) ที่แยกเทคโนปทุมธานี ข้ามสะพานปทุมธานี ตัดผ่านตัวจังหวัดปทุมธานี ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3111 (ปทุมสามโคก) ที่แยกสันติสุข แล้วโค้งไปทางใต้ ตัดกับถนนปทุมลาดหลุมแก้วที่แยก อ.ปทุมธานี ออกไปทางถนนกาญจนาภิเษกและตัดกันที่ทางแยกต่างระดับลาดหลุมแก้ว เข้าสู่อำเภอลาดหลุมแก้ว ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 (บางบัวทอง-สุพรรณบุรี) ทีแยกนพวงศ์ จากนั้นข้ามคลองลากค้อน เข้าเขตอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ตัดกับทางหลวงชนบท น.3004 และทางหลวงท้องถิ่นสายบ้านไทรน้อย-บ้านคลองนาหมอนที่แยกไทรน้อย เข้าสู่อำเภอบางเลน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เข้าสู่อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี สิ้นสุดเส้นทาง.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 352

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 352 สายธัญบุรี–ลำตาเสา หรือเรียกว่า ถนนธัญบุรี–วังน้อย เป็นทางหลวงขนาด 2-4 ช่องจราจร เชื่อมต่อระหว่างทางหลวงชนบท ปท.3004 (แยกทางหลวงหมายเลข 305-ลำลูกกา) บริเวณคลองเจ็ด ข้ามคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ผ่านถนนรังสิต-นครนายกที่อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ผ่านถนนพหลโยธิน และไปสิ้นสุดที่ถนนโรจนะ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยะทางรวม 27.934 กิโลเมตร ปัจจุบันช่วงหลักกิโลเมตรที่ 0 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 22 อยู่ในความควบคุมของสำนักบำรุงทางนครนายก และตั้งแต่กิโลเมตรที่ 22 ถึงบรรจบกับถนนโรจนะอยู่ในความควบคุมของแขวงการทางอ.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 352 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 362

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 362 หรือ ถนนวงแหวนรอบเมืองสระบุรี เป็นเส้นทางคมนาคมในจังหวัดสระบุรีเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรในอำเภอเมืองสระบุรี ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2551 เริ่มต้นที่ถนนพหลโยธินข้ามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือและตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3041 จากนั้นข้ามแม่น้ำป่าสักจากนั้นตัดถนนพหลโยธิน และข้ามแม่น้ำป่าสักและทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นตัดกับถนนมิตรภาพบริเวณทางแยกต่างระดับตลิ่งชัน แล้วลงไปทิศใต้เชื่อมกับถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 99 ที่อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี เดิมทางเลี่ยงเมืองสระบุรีเป็นส่วนหนึ่งของถนนพหลโยธิน รวมระยะทาง 33 กิโลเมตร เป็นถนนขนาด 4-6 ช่องจราจรตลอดสาย เป็นวงแหวนปลายเปิด เนื่องจากวงแหวนช่วงใต้กับวงแหวนช่วงตะวันตกไม่เชื่อมต่อกัน โดยวงแหวนตะวันตกและใต้มีระยะห่างกัน 4 กิโลเมตร ในปัจจุบัน ทางเลี่ยงเมืองสระบุรีด้านตะวันออก กำลังมีการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ช่วง บางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา โดยแนวก่อสร้างเริ่มต้นที่ทางแยกต่างระดับพระพุทธฉาย จนถึงบริเวณทางโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของตำบลหนองปลาไหล รวมระยะทางที่ก่อสร้าง ประมาณ 6.3 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 362 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงเอเชียสาย 1

ทางหลวงเอเชียสาย 1 (AH1) เป็นถนนที่ยาวที่สุดในเครือข่ายทางหลวงสายเอเชีย ระยะทางทั้งสิ้น 12,845 ไมล์ (20,557 กิโลเมตร) จากโตเกียว ญี่ปุ่น ผ่านเกาหลี, จีน, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (แผ่นดินใหญ่), อินเดีย, ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน และอิหร่าน สิ้นสุดที่ตุรกี และบัลแกเรีย โดยมีเส้นทางต่อไปทางทิศตะวันตกต่อจากอิสตันบูล ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของทางหลวงยุโรป E80.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงเอเชียสาย 1 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงเอเชียสาย 12

ทางหลวงเอเชียสาย 12 ถนนเครือข่ายทางหลวงสายเอเชีย ประเภทสายประธาน มีระยะทางรวม 1,195 กิโลเมตร เริ่มต้นจากทางหลวงเอเชียสาย 3 ในบ้านนาเตย ประเทศลาว ผ่านเมืองไชย, หลวงพระบาง, วังเวียง, เวียงจันทน์, หนองคาย, อุดรธานี, ขอนแก่น, นครราชสีมา และสระบุรี จนสิ้นสุดที่ ทางหลวงเอเชียสาย 1 ในเทศบาลตำบลหินกอง อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ทางหลวงเอเชียสาย 12 ในประเทศไทยเริ่มต้นที่ทางแยกต่างระดับหินกอง ตำบลโคกแย้ อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 1 ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงทางแยกต่างระดับมิตรภาพ (แยกปากเพรียว) ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี สิ้นสุดที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ระยะทาง 520 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงเอเชียสาย 12 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงเอเชียสาย 2

ทางหลวงเอเชียสาย 2 (AH2) เป็นเครือข่ายทางหลวงสายเอเชีย ระยะทาง 8,230 ไมล์ (13,177 กม.) จากเดนพาซาร์, อินโดนีเซีย ถึง โคสราวี, อิหร่าน โดยช่วงที่ผ่านประเทศไทย เริ่มจากพรมแดนพม่าที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ลงมาจนจรดชายแดนบ้านจังโหลน จังหวัดสงขลา เป็นระยะทาง 2,254 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางหลวงเอเชียสาย 2 · ดูเพิ่มเติม »

ทางด่วน

ทางหลวงรัฐออนแทรีโอหมายเลข 401 ในทางตอนใต้ของรัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา เป็นฟรีเวย์สายสำคัญของประเทศ ทางหลวงที่ควบคุมการเข้าถึง (controlled-access highway) หรือ ทางด่วน เป็นทางหลวงประเภทหนึ่งของที่มีความสามารถที่จะรองรับปริมาณการจราจรได้จำนวนหนึ่ง ออกแบบมาเพื่อรองรับการจราจรที่รวดเร็วอย่างปลอดภัย โดยอาจจะเปิดให้ใช้ในลักษณะถนนที่เก็บค่าผ่านทางหรือไม่ก็ได้ แต่ส่วนมากมักจะเก็บค่าผ่านทาง ซึ่งในแคนาดาและทวีปเอเชียเรียก เอกซ์เพรสเวย์ (expressway) ในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์เรียก มอเตอร์เวย์ (motorway) และในสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียเรียก ฟรีเวย์ (freeway) ทางหลวงที่ควบคุมการเข้าถึงจะไม่มีการขัดขวางของการจราจรด้วยไฟจราจร ทางแยก และไม่มีการเข้าถึงสถานที่ที่อยู่ติดถนน เป็นอิสระจากจุดตัดที่ผ่านถนน ทางรถไฟ หรือทางเท้าที่ระดับดิน โดยอาจออกแบบเป็นทางยกระดับหรือทางลอดก็ได้ สามารถเข้าและออกจากทางหลวงนี้ได้โดยทางลาดและทางแยกต่างระดับ และมีการแบ่งทิศทางการจราจรด้วยเกาะกลาง อาจเป็นแบบราว กำแพงกั้น หรือเป็นที่ว่างปลูกหญ้า การกำจัดจุดตัดในทิศทางต่าง ๆ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยของนักเดินทาง รวมทั้งช่วยเพิ่มความสามารถในการรองรับปริมาณจราจร ทางหลวงที่ควบคุมการเข้าถึงมีการพัฒนาขึ้นในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 ประเทศอิตาลีได้เปิดใช้ เอาโตสตราดา (autostrada) เป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางด่วน · ดูเพิ่มเติม »

ทางแยกต่างระดับบางปะอิน 1

ทางแยกต่างระดับบางปะอิน 1 (Bang Pa-in 1 Interchange) เป็นชุมทางต่างระดับแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจุดตัดระหว่างถนนสายเอเชีย ถนนกาญจนาภิเษก และถนนพหลโยธิน ตั้งอยู่ในตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอ.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางแยกต่างระดับบางปะอิน 1 · ดูเพิ่มเติม »

ทางแยกต่างระดับมิตรภาพ

ทางแยกต่างระดับมิตรภาพ (Mittraphap Interchange) หรือชื่อเดิม แยกปากเพรียว เป็นชุมทางต่างระดับบริเวณถนนพหลโยธินและถนนมิตรภาพ บรรจบกับถนนพหลโยธิน บริเวณหน้าโรงพยาบาลมิตรภาพเมโมเรียล และศูนย์การทหารม้าสระบุรี ค่ายอดิศร ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางแยกต่างระดับมิตรภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ทางแยกต่างระดับรัชวิภา

ทางแยกต่างระดับรัชวิภา (Ratchawipha Interchange) เป็นชุมทางต่างระดับบริเวณ ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนรัชดาภิเษก และถนนกำแพงเพชร 2 ในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางแยกต่างระดับรัชวิภา · ดูเพิ่มเติม »

ทางแยกต่างระดับรังสิต

ทางแยกต่างระดับรังสิต (Rangsit Interchange) เป็นชุมทางต่างระดับแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี เป็นจุดตัดระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนรังสิต-นครนายก และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 ตั้งอยู่ในตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางแยกต่างระดับรังสิต · ดูเพิ่มเติม »

ทางแยกต่างระดับวังน้อย

ทางแยกต่างระดับวังน้อย (Wang Noi Interchange) เป็นชุมทางต่างระดับในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตัดกันระหว่างถนนพหลโยธิน และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 352.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางแยกต่างระดับวังน้อย · ดูเพิ่มเติม »

ทางแยกต่างระดับหินกอง

ทางแยกต่างระดับหินกอง (Hinkong Interchange) เป็นชุมทางต่างระดับแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี เป็นจุดตัดระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนสุวรรณศร และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 329 ตั้งอยู่ในตำบลห้วยขมิ้น อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางแยกต่างระดับหินกอง · ดูเพิ่มเติม »

ทางแยกต่างระดับอนุสรณ์สถาน

ทางแยกต่างระดับอนุสรณ์สถาน (Anuson Sathan Interchange) เป็นชุมทางแยกต่างระดับแห่งหนึ่งในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บริเวณถนนพหลโยธินตัดกับถนนวิภาวดีรังสิต.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและทางแยกต่างระดับอนุสรณ์สถาน · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานดอนเมือง

แผนผังท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง (ชื่อเดิมคือ ท่าอากาศยานกรุงเทพ) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า สนามบินดอนเมือง ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง ช่วงกิโลเมตรที่ 24 ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร เป็นจุดศูนย์กลางทางการบินในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถเชื่อมโยงการคมนาคมทางอากาศไปยังจุดต่างๆ ของโลกได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการบินภายในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน หรือระหว่างทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย ซึ่งสามารถใช้เป็นจุดแวะลงและเชื่อมต่อในการเดินทางของผู้โดยสารตลอดจนพัสดุไปรษณียภัณฑ์ไปยังจุดอื่นๆ ได้อย่างดี เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 โดยปิดตัวลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 วันเดียวกับที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้งาน โดยสนามบินดอนเมืองถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่ซ่อมเครื่องบิน ฝึกบิน และสำหรับจอดเครื่องบินส่วนตัวของบุคคลสำคัญ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาให้บริการเที่ยวบินแบบประจำ (scheduled flight) เที่ยวบินในประเทศอีกครั้งโดยมี สายการบินไทย นกแอร์ วันทูโก และพีบีแอร์มาเปิดให้บริการในลำดับแรก หลังจากพบปัญหาหลายอย่างที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาเปิดให้บริการในฐานะสนามบินนานาชาติแห่งที่สองอีกครั้ง เนื่องด้วยนโยบายรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรต้องการลดความแออัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลง ปัจจุบัน ท่าอากาศยานดอนเมือง รับเที่ยวบิน จาก ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศกัมพูชา ประเทศมาเลเซีย ประเทศพม่า ประเทศเวียดนาม ประเทศไต้หวัน ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินเดีย ประเทศมัลดีฟส์ ฮ่องกง ประเทศฟิลิปปินส์ มาเก๊า และล่าสุด ประเทศเนปาล รวม 14 ประเทศ ส่วนเที่ยวบินภายในประเทศสำหรับท่าอากาศยานดอนเมืองมีเที่ยวบินภายในประเทศบริการบินไปกลับ จาก ท่าอากาศยานแพร่ ท่าอากาศยานตรัง ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด ท่าอากาศยานนครพนม ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ท่าอากาศยานระนอง ท่าอากาศยานสกลนคร ท่าอากาศยานพิษณุโลก ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ท่าอากาศยานน่านนคร ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน ท่าอากาศยานแม่สอด และ ท่าอากาศยานเพชรบูรณ์ ซึ่ง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไม่มีบริการใน 13 จังหวัดดังกล่าว ใน 13 จังหวัดดังกล่าวมีเที่ยวบินให้บริการที่ ท่าอากาศยานดอนเมืองเท่านั้น.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและท่าอากาศยานดอนเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ท่าขี้เหล็ก

ท่าขี้เหล็ก (တာချီလိတ်မြို့) เป็นเมืองชายแดนตั้งอยู่ในรัฐฉาน ทางตะวันออกของประเทศพม่า เป็นที่ตั้งศูนย์ราชการของเมืองท่าขี้เหล็ก และแขวงท่าขี้เหล็ก เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในรัฐฉาน จากสำรวจสำมะโนประชากรเมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและท่าขี้เหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ดอยแม่สลอง

ทัศนียภาพของดอยแม่สลอง ดอยแม่สลอง เป็นที่ตั้งของ หมู่บ้านสันติคิรี ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง เดิมชื่อ บ้านแม่สลองนอก เป็นชุมชนผู้อพยพจากกองพล 93 จากสหภาพพม่าเข้ามาในเขตไทย จำนวนสองกองพันคือ กองพันที่ 3 เข้ามาอยู่ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และกองพันที่ 5 อยู่ที่บ้านแม่สลองนอก ภูเขาที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ที่เป็นพื้นที่ที่มีการปลูกชาที่ดีที่สุดของประเทศและมีต้นนางพญาเสือโคร่งมีดอกช่วงช่วงต้นเดือนมกราคม จนถึงปลายเดือนมีนาคม ประชากรในดอยแม่สลองเดิมเป็นชาวอาข่าอีก้อ ที่สวมชุดประจำเผ่าสีดำประดับเครื่องเงิน.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและดอยแม่สลอง · ดูเพิ่มเติม »

คลองดาวคะนอง

ลองดาวคะนอง เป็นลำน้ำสาขาฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา กับคลองบางขุนเทียน ฝั่งคลองดาวคะนองฟากเหนือจากกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา จนถึงถนนสุขสวัสดิ์ เป็นเส้นแบ่งแขวงดาวคะนอง เขตธนบุรี กับแขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ เป็นหนึ่งในคลองที่มีการสัญจรทางน้ำมาก เนื่องด้วยเป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางน้ำของกรุงเทพมหานคร เชื่อมไปยังคลองลัดผ้าเช็ดหน้า และคลองสนามชัย สู่ตลาดน้ำวัดไทร และสวนงูธนบุรี มีประตูระบายน้ำและประตูเรือสัญจร 1 แห่งบนปากคลองริมแม่น้ำเจ้าพร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและคลองดาวคะนอง · ดูเพิ่มเติม »

คณะราษฎร

ณะราษฎร (อ่านว่า "คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน"; มักสะกดผิดเป็น คณะราษฎร์) คือ กลุ่มบุคคลที่ดำเนินการการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อาจได้ชื่อว่าเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของไท.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและคณะราษฎร · ดูเพิ่มเติม »

ตำบลนครชุม

ตำบลนครชุม สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและตำบลนครชุม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรีไทย

นายกรัฐมนตรีไทย เป็นประธานแห่งคณะรัฐมนตรีไทย และทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาลของประเทศไทย โดยมีจุดกำเนิดมาจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภา โดยปกติแล้วนายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยจะมีที่มาจากสภาผู้แทนราษฎรไทย ซึ่งโดยหลักแล้วถือว่านายกรัฐมนตรีมีต้องมาจากการแต่งตั้งทางอ้อมโดยประชาชน แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมติสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สภาที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง) ซึ่งผลการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีปรากฏว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและนายกรัฐมนตรีไทย · ดูเพิ่มเติม »

น้ำแม่กก

น้ำแม่กก (45px) เป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย มีต้นกำเนิดจากทิวเขาแดนลาวและทิวเขาผีปันน้ำตอนเหนือของเมืองกก จังหวัดเชียงตุงภายในอาณาเขตของรัฐชานในประเทศพม่า ไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่ช่องน้ำแม่กก อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ไหลมาเรื่อย ๆ จนผ่านตัวอำเภอเมืองเชียงราย หลังจากนั้นก็ไหลลงแม่น้ำโขงที่บริเวณสบกก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีความยาว 285 กิโลเมตร (ในประเทศไทยยาว 130 กิโลเมตร) ลำน้ำสาขาที่สำคัญได้แก่ น้ำแม่ฝาง น้ำแม่ลาว และน้ำแม่สรว.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและน้ำแม่กก · ดูเพิ่มเติม »

น้ำแม่อิง

น้ำแม่อิง (40px) เป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา เป็นเพียงหนึ่งในแม่น้ำไม่กี่สายในประเทศที่ไหลย้อนขึ้นทางทิศเหนือ น้ำแม่อิงเป็นลำน้ำสาขาสายหนึ่งของแม่น้ำโขง โดยไหลลงแม่น้ำโขงที่บ้านปากอิง หมู่ที่ 16 ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและน้ำแม่อิง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำสาย

แม่น้ำสาย (50px) เดิมเรียกว่า แม่น้ำละว้า เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่เป็นสัญลักษณ์ของอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีความยาวรวมทั้งหมด 30 กิโลเมตร มีความยาวในประเทศไทย 15 กิโลเมตร แม่น้ำสายแห่งนี้เป็นแม่น้ำที่เป็นพรมแดนทางธรรมชาติที่กั้นระหว่างไทยกับพม่า ต้นน้ำของแม่น้ำสายอยู่ที่ประเทศพม่าหลังจากนั้นก็ไหลผ่านประเทศไทยระหว่างอำเภอแม่สายกับแขวงท่าขี้เหล็กแล้วก็ไปรวมกับแม่น้ำรวกภายในอำเภอ แม่น้ำหลังจากนั้นก็ไหลรวมเข้ากับแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงแสน ชาวบ้านต่างใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายด้านเกษตรกรรม แต่อย่างไรก็ตามแม่น้ำสายและแม่น้ำรวกต่างมีปัญหาการกัดเซาะของแม่น้ำทำให้ลำน้ำเปลี่ยนทิศทาง เกิดแผ่นดินงอกและแผ่นดินหด จึงเป็นเหตุพิพาทเรื่องดินแดนระหว่างไทยและพม่า จนมีข้อตกลงกันในปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและแม่น้ำสาย · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำปิง

แม่น้ำปิง (50px) เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในสองของแม่น้ำที่บรรจบมาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิงไหลอยู่ในหุบเขาระหว่างทิวเขาถนนธงชัยกลางกับทิวเขาผีปันน้ำตะวันตก มีต้นน้ำอยู่ที่ดอยเชียงดาวในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ไหลลงทางใต้ผ่านจังหวัดลำพูน รวมกับแม่น้ำวังที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ไหลลงใต้ผ่านจังหวัดกำแพงเพชร แล้วบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และจากจุดนี้ไปเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิงมีความยาวทั้งสิ้น 658 กิโลเมตร แม่น้ำปิงมีแม่น้ำสาขาที่สำคัญอยู่ 6 สาย ได้แก่ น้ำแม่งัด น้ำแม่แตง น้ำแม่กวง น้ำแม่ลี้ น้ำแม่กลาง และน้ำแม่แจ่ม ในบริเวณแม่น้ำปิงตอนบนเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีเนื้อที่ 627,346 ไร่ (1,003.75 ตร.กม.).

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและแม่น้ำปิง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำป่าสัก

แม่น้ำป่าสัก เป็นแม่น้ำที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ในเขตพื้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ไหลลงใต้ผ่าน จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี และ จังหวัดพระนครศรีอ.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและแม่น้ำป่าสัก · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

แยกรัชดา-ลาดพร้าว

แยกรัชดา-ลาดพร้าว (Ratchada-Lat Phrao Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนรัชดาภิเษกกับถนนลาดพร้าว ในท้องที่แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและแยกรัชดา-ลาดพร้าว · ดูเพิ่มเติม »

แยกสามเหลี่ยมดินแดง

ระวังสับสนกับ แยกด่วนดินแดง หรือ แยกใต้ทางด่วนดินแดง ซึ่งบางครั้งมักเรียกว่า แยกสามเหลี่ยมดินแดง เช่นกัน แยกสามเหลี่ยมดินแดง หรือ แยกดินแดง (Sam Liam Din Daeng Junction, Din Daeng Junction) เป็นสามแยกเชื่อมถนนราชวิถีเข้ากับถนนราชปรารภและถนนดินแดง ในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและแยกสามเหลี่ยมดินแดง · ดูเพิ่มเติม »

แยกสุทธิสาร

แยกสุทธิสาร (Sutthisan Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตกับถนนสุทธิสารวินิจฉัย ในแขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โดยในสมัยก่อนยังเป็นทางแยกสัญญาณไฟจราจรควบคุมทุกทิศทาง ต่อมาเมื่อการจราจรหนาแน่นขึ้นจึงมีการก่อสร้างสะพานข้ามทางแยกบริเวณช่องทางหลักขนาด 4 ช่องจราจรในสมัยนั้น และช่วงประมาณปี 2539-2540 มีการสร้างทางด่วนยกระดับดอมเมืองโทลล์เวย์คร่อมช่องจราจรทางหลักอีกที่ แต่เนื่องจากการจราจรหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆในปี 2549 จึงก่อสร้างสะพานข้ามแยกแบบเหล็กบริเวณช่องทางคู่ขนานทั้งฝั่งขาออกและขาเข้าขนาด 2 ช่องจราจร และขยายสะพานข้ามทางแยกในช่องทางหลักเดิมฝั่งขาออกเป็น 3 ช่องจราจรจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและแยกสุทธิสาร · ดูเพิ่มเติม »

แยกเกียกกาย

แยกเกียกกาย (Kiakkai Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนประชาราษฎร์ สาย 1, ถนนทหาร และถนนสามเสน ในพื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร คำว่า "เกียกกาย" เป็นศัพท์โบราณที่ใช้เรียกกองทหารส่วนดูแลเสบียง หรือเทียบได้กับกองพลาธิการ ในยุคปัจจุบัน รอบ ๆ แยกเกียกกายเป็นแหล่งที่ตั้งของค่ายทหารต่าง ๆ ในส่วนของกองทัพบก เช่น กองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์, กองพันทหารม้าที่ 4 กองพลที่ 1 รักษาพระองค์, กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน, กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ สถานีวิทยุกระจายเสียง ศูนย์การทหารม้า (วิทยุยานเกราะ) เป็นต้น ซึ่งหลายแห่งได้เป็นหน่วยที่ได้เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ความเปลี่ยนแปลงของประเทศชาติในหลายยุคสมัย เช่น การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475, เหตุการณ์ 6 ตุลา, กบฏเมษาฮาวาย หรือกบฏ 9 กันยา เป็นต้น และเคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนโยธินบูรณะ ที่อยู่ฝั่งถนนสามเสน ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาในปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและแยกเกียกกาย · ดูเพิ่มเติม »

แปลก พิบูลสงคราม

งครามอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและแปลก พิบูลสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลอานันทมหิดล

รงพยาบาลอานันทมหิดล (Ananda Mahidol Hospital) กรมแพทย์ทหารบก เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของกองทัพบกไทย ให้บริการทั้งข้าราชการทหารและพลเรือนรวมถึงประชาชนทั่วไป และใหญ่เป็นลำดับที่สามรองจากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และ โรงพยาบาลค่ายสุรนารี ปัจจุบันโรงพยาบาลอานันทมหิดล ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและโรงพยาบาลอานันทมหิดล · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลนครนครสวรรค์

ทศบาลนครนครสวรรค์ เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เดิมเป็นเทศบาลเมืองนครสวรรค์ ต่อมาได้ยกฐานะเป็นเทศบาลนครนครสวรรค์เมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและเทศบาลนครนครสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลเมืองลพบุรี

ทศบาลเมืองลพบุรี เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดลพบุรี มีพื้นที่ 6.85 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหินทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลทะเลชุบศร มีประชากรในปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและเทศบาลเมืองลพบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เขื่อนภูมิพล

ื่อนภูมิพล เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกในประเทศไทย ลักษณะเป็นเขื่อนคอนกรีตรูปโค้ง ได้รับการอนุมัติให้สำรวจและก่อสร้างในปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและเขื่อนภูมิพล · ดูเพิ่มเติม »

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนดินกักเก็บน้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สืบค้นวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม เริ่มดำเนินการก่อสร้างในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยกรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบ สืบค้นวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

เขื่อนเจ้าพระยา

ื่อนเจ้าพระยา เป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่บริเวณคุ้งบางกระเบียน หมู่ที่ 4 ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดเขื่อนเจ้าพระยาเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เขื่อนเจ้าพระยามีลักษณะเป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว 237.50 เมตร สูง 16.5 เมตร ติดตั้งบานประตูเหล็กรูปโค้งสูง 7.50 เมตร มีช่องระบายให้น้ำไหลผ่านขนาดกว้าง 12.50 เมตร จำนวน 16 ช่อง ประตูน้ำสำหรับเรือสัญจรติดกับเขื่อนด้านขวากว้าง 14 เมตร ยาว 170.50 เมตร เรือขนาดใหญ่สามารถผ่านเข้าออกได้ บนสันเขื่อนมีสะพานกว้าง 7 เมตร รับรถน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 20 ตัน และมีทางระบายน้ำล้นฉุกเฉินสร้างบนคันกั้นน้ำซ้ายมือเหนือเขื่อนเจ้าพระยา กว้าง 10 เมตร ยาว 1,000 เมตร เพื่อช่วยระบายน้ำเมื่อเกิดอุทกภัย อัตราการระบายน้ำผ่านเขื่อนสูงสุดประมาณ 3,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่การปล่อยน้ำจะควบคุมให้อยู่ในระดับไม่เกิน 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อมิให้กระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทัศนียภาพรอบเขื่อนสวยงาม ช่วงเดือนมกราคมในบริเวณแม่น้ำเหนือเขื่อนจะมีฝูงนกเป็ดน้ำนับหมื่นมาอาศัยหากิน เขื่อนนี้ใช้ประโยชน์ด้านการชลประทาน การทดน้ำเพื่อการเกษตร โดยระบายน้ำจากแม่น้ำในภาคเหนือสู่ภาคกลางและอ่าวไทย ส่งน้ำไปในพื้นที่เพาะปลูกภาคกลางเข้าคลองส่งน้ำสายใหญ่รวม 5 สาย คือ แม่น้ำน้อย แม่น้ำท่าจีน คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง คลองชัยนาท-ป่าสัก และคลองชัยนาท-อยุธยา และยังใช้ผลิตไฟฟ้าสำหรับจ่ายในจังหวั.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและเขื่อนเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางกะปิ

ตบางกะปิ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก ซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนใต้).

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและเขตบางกะปิ · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางคอแหลม

ตบางคอแหลม เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและเขตบางคอแหลม · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางนา

ตบางนา เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ สภาพทั่วไปเป็นเขตชุมชนเมืองหนาแน่นปานกลางผสมกับชุมชนการเกษตร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและเขตบางนา · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางเขน

ตบางเขน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ) ของกรุงเทพมหานคร และเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ในกรุงเทพมหานครรองจากเขตบางแ.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและเขตบางเขน · ดูเพิ่มเติม »

เขตพญาไท

ตพญาไท เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและเขตพญาไท · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

เขตมีนบุรี

ตมีนบุรี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองและลำรางไหลผ่านหลายสาย ในอดีตเป็นเรือกสวนไร่นา บ่อปลา นาบัว และไร่หญ้า แต่ปัจจุบันเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากพื้นที่หลายแห่งถูกเปลี่ยนสภาพเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่น หมู่บ้าน อาคารพาณิชย์ สถานที่ประกอบการทั้งเล็กและขนาดใหญ.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและเขตมีนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เขตราชเทวี

ตราชเทวี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและเขตราชเทวี · ดูเพิ่มเติม »

เขตสายไหม

ตสายไหม เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ และเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและเขตสายไหม · ดูเพิ่มเติม »

เขตหลักสี่

ตหลักสี่ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ) ของกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและเขตหลักสี่ · ดูเพิ่มเติม »

เขตจตุจักร

ตจตุจักร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ซึ่งถือเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและเขตจตุจักร · ดูเพิ่มเติม »

เขตดอนเมือง

ตดอนเมือง เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย โดยมีแหล่งสถาบันราชการอยู่ทางด้านตะวันออกของพื้นที.

ใหม่!!: ถนนพหลโยธินและเขตดอนเมือง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พหลโยธินถ.พหลโยธินถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ลำปาง-งาวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »