โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตำนานเก็นจิ

ดัชนี ตำนานเก็นจิ

มุราซากิ ชิคิบุ ตำนานเก็นจิ (源氏物語; Genji Monogatari) เป็นงานเขียนของ มุราซากิ ชิคิบุ นางข้าหลวงในราชสำนักญี่ปุ่นสมัยเฮอัน หรือ เฮอันเคียว ซึ่งมีชิวิตอยู่ราวต้นศตวรรษที่ 11 ว่ากันว่า นี่คือนวนิยายที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก และมีการจัดกิจกรรมฉลองครบรอบ 1000 ปี ในปี 2008 ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีหลักฐานสนับสนุนจากเนิ้อความใน มุราซากิ ชิคิบุ นิกกิ (Murasaki Shikibu Nikki บันทึกของมุราซากิ ชิคิบุ) ซึ่งเธอได้เขียนบันทึกนั้นในวันที่ 1 เดือนพฤศจิกายน.1008 ว่า ฟุจิวะระ โนะ คินโตะ (Fujiwara no Kinto) นักปราชญ์ราชบัณฑิตชั้นแนวหน้าในยุคนั้น ชื่นชมในงานเขียนของเธอเป็นอันมาก และบันทึกนี้ยืนยันกับเราให้ทราบว่า เธอเขียน บท วะกะมุราซากิ จบในเวลานั้นเอง (1 พฤศจิกายน ค ศ.1008) บางข้อมูลอ้างว่า มุราซากิ ชิคิบุ เริ่มเขียน ตำนานเก็นจิที่วัดอิชิยะมะเดระ ในคืนวันจันทร์เต็มดวงของวันที่ 15 เดือนสิงหาคม ปี.

39 ความสัมพันธ์: มะสึกะเซะมิโอะสึกุชิมุระซะกิ ชิกิบุยุคมุโระมะชิยุคเฮอังยูงะโอะราชวงศ์ถังวะกะมุระซะกิวากิ ยามาโตะสัทธรรมปุณฑรีกสูตรหยางกุ้ยเฟย์อะกะชิ (ตำนานเก็นจิ)อะโอะอิอุสึเซะมิอุจิจูโจฮะสึเนะฮะฮะกิงิฮะนะจิรุซะโตะฮะนะโนะเอ็งจักรพรรดิซุซะกุจักรพรรดิเรเซทะมะกะซุระด้วยเมฆหมอกแห่งรักคิริสึโบะตระกูลฟูจิวาระซะกะกิซุมะซุเอะสึมุฮะนะประเทศญี่ปุ่นโมะมิจิโนะกะโยะโมะงิอุโอะโตะเมะโคกินวากาชูโคะโจไป๋ จวีอี้เก็มปุกุเอะอะวะเซะเซะกิยะเซ็สโซและคัมปะกุ

มะสึกะเซะ

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและมะสึกะเซะ · ดูเพิ่มเติม »

มิโอะสึกุชิ

มิโอะซึคุชิ - แสวงบุญ ณ สุมิโยชิ (澪標, Miotsukushi) "Channel Buoys" "Pilgrimage to Sumiyoshi" เป็นบทที่ 14 ของตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุระซะกิ ชิคิบุ จากทั้งหมด 54 บท ''มิโอะซึคุชิ'' เสาวัดระดับน้ำ.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและมิโอะสึกุชิ · ดูเพิ่มเติม »

มุระซะกิ ชิกิบุ

มุระซะกิ ชิกิบุ มุระซะกิ ชิกิบุ (ค.ศ. 973 - ค.ศ. 1014 หรือ 1025) เป็นกวีชาวญี่ปุ่น เป็นผู้สร้างผลงาน ตำนานเก็นจิ เธอเป็นหญิงในราชสำนักสมัยเฮอัง เกิดในปี เทนเอน ที่ 1(Ten-en 1) หรือราว.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและมุระซะกิ ชิกิบุ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคมุโระมะชิ

มุโระมะชิ ตรงกับค.ศ. 1336 - ค.ศ. 1568 ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 14 อะชิคะงะ โยะชิมิสึ ได้ปราบปรามชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบ และตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นอีกครั้งที่ เคียวโตะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนนี้ได้ปกครองญี่ปุ่นต่อมาเป็นเวลานานถึงสองศตวรรษเศษอันเป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมของชนชั้นนักรบก็ได้กลืนวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลโชกุนของตระกูลอะชิคะงะ เกิดจากการรวมตัวของขุนศึกสำคัญ ๆ ตามหัวเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จึงเป็นธรรมดาที่การรวบอำนาจให้รัฐบาลมีเสถียรภาพนั้นเป็นไปได้อย่างลำบาก ดังนั้นในครึ่งหลังศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ขุนศึกตามหัวเมืองต่าง ๆ จึงเริ่มทำสงครามแย่งชิงอำนาจกัน จนทั้งประเทศญี่ปุ่นตกเข้าสู่ยุคสงคราม ภายในยุคนี้เป็นยุคที่ชนชั้นนักรบมีอำนาจเหนือเกษตรกรและมีกรรมสิทธิเหนือที่ดินจึงเป็นการปกครองระบบศักดินาโดยสมบูรณ์ ด้านเศรษฐกิจก็เจริญรุ่งเรืองมาก เนื่องจากทำการค้ากับจีนสมัยหมิงด้านวัฒนธรรม ลัทธิเซนเป็นส่วนเพิ่มเติมให้กับวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองและชนชั้นนักรบ ซึ่งเห็นรูปแบบได้จากตำหนักทอง (Kinkaku) ในปลายศตวรรษที่ 14 อันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมคิตะยะมะ (Kitayama) และตำหนักเงิน (Ginkaku) ในปลายศตวรรษที่ 15 อันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมฮิงะชิยะมะ (Higashiyama) การละคร อย่างเช่น โน เคียวเง็น และการต่อเพลง ก็เริ่มแพร่หลายสู่ประชาชนภายนอก ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น อย่างเช่น พิธีชงชา การจัดดอกไม้ ก็เริ่มมีรากฐานมาจากยุคนี้ และในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 พวกฝรั่ง เช่น ชาติโปรตุเกส และสเปนก็ได้นำอาวุธปืนยาวและศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ที่ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและยุคมุโระมะชิ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเฮอัง

อัง อยู่ในช่วง ค.ศ. 794 - ค.ศ. 1185 ในปลายศตวรรษที่ 8 มีการย้ายเมืองหลวงไปที่ เฮอังเกียว (平安京 Heian-kyou) หรือเมืองเคียวโตะในปัจจุบัน นับเป็นยุคทองของประเทศญี่ปุ่น ที่ทั้งศิลปะและวัฒนธรรมรุ่งเรืองถึงขีดสุด มีการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมต่างๆ ที่หยิบยืมมาจากประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถัง และลัทธิขงจื้อ จนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบเฉพาะตัวของญี่ปุ่น เฮอัง (平安,Heian) แปลว่า ความสงบสันต.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและยุคเฮอัง · ดูเพิ่มเติม »

ยูงะโอะ

มพ์ ''วิญญาณยูงะโอะ''ผลงานของ ซึคิโอะกะ โยชิโทชิ, 1886. จากภาพพิมพ์ชุด the 100 Phases of the Moon series ดอกยูงะโอะ ยูงะโอะ - พักตราแห่งสนธยา (夕顔, Yūgao) "Evening Faces" "Twilight Beauty" เป็นบทที่ 4 ของ ตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุราซากิ ชิคิบุ ที่มีทั้งหมด 54 บท.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและยูงะโอะ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ถัง

ราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161-1450) ราชวงศ์นี้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้จีนอย่างมาก ทั้งด้านศิลปกรรม วัฒนธรรม และอีกหลาย ๆ ด้าน หลี่ยวนได้ตั้งตัวเองเป็น จักรพรรดิถังเกาจู่ หลังจากรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาทขึ้น ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ หลี่ซื่อหมินนั้น มีความดีความชอบมาก เนื่องจากรบชนะมาหลายครั้ง ต่อมา ถังเกาจู่ก็สละราชสมบัติ ตั้งตนเองเป็นไท่ช่างหวง ราชวงศ์ถังปกครองประเทศนานถึง 289 ปีตั้งแต..

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและราชวงศ์ถัง · ดูเพิ่มเติม »

วะกะมุระซะกิ

ตำนานเก็นจิ "วะกะมุราซากิ" ดอกมุราซากิ หรือ ชิคง รากมุราซากิ มุราซากิ - สีม่วง ดอกฟุจิ หรือ วิสเทเรีย วะกะมุราซากิ - เยาวมาลีสีม่วง (若紫, Wakamurasaki) "Lavander" "Young Murasaki" เป็นบทที่ 5 ของ ตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุราซากิ ชิคิบุ ที่มีทั้งหมด 54 บท.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและวะกะมุระซะกิ · ดูเพิ่มเติม »

วากิ ยามาโตะ

มาโตะกับผลงานของเธอ วากิ ยามาโตะ (เกิด 13 มีนาคม ค.ศ. 1948) เป็นนามปากกาของนักวาดการ์ตูนหญิงชาวญี่ปุ่น จบการศึกษาระดับอนุปริญญาจากมหาวิทยาลัยโฮะกุเซ กะกุเอ็ง (Hokusei Gakuen University)ปัจจุบันเป็นนักเขียนการ์ตูนแนวโชโจะ ชั้นแนวหน้าคนหนึงของญี่ปุ่น ผลงานเปิดตัวครั้งแรกของเธอคือ นางฟ้าจอมโจร (Dorobou Tenshi) จากนั้นก็สร้างสรรผลงานการ์ตูนแนวโชโจะหลากหลายเนื้อหาและอารมณ์ ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งปัจจุบัน สามีเป็นบรรณาธิการคนหนึ่งของสำนักพิมพ์โคดันฉ.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและวากิ ยามาโตะ · ดูเพิ่มเติม »

สัทธรรมปุณฑรีกสูตร

ัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับอักษรฮันจา (อักษรจีนที่ใช้ในประเทศเกาหลี) สมัยราชวงศ์โครยอ เขียนขึ้นราว ค.ศ. 1340 สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र) เป็นพระสูตรที่สำคัญในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนิกชนมหายานโดยเฉพาะในประเทศเอเชียตะวันออก เป็นสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าเทศนาในช่วง 8 ปีสุดท้ายก่อนปรินิพพาน สมัยแห่งการบันทึกพระสูตรเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกนั้นไม่มีมติที่แน่นอน ซึ่งการค้นพบต้นฉบับของสัทธรรมปุณฑริกสูตรในหลายสถานที่จากหลากหลายภูมิภาค สัทธรรมปุณฑริกสูตรมีการแปลเป็นหลายภาษา และมีการคัดลอกต้นฉบับตลอดช่วงเวลาอันยาวนาน อันเป็นข้อพิสูจน์ว่าสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนจำนวนมากในหลากหลายเชื้อชาติ โดยมีการค้นพบต้นฉบับภาษาต่าง ๆ อันได้แก่ สันสกฤต บาลี คานธารี โขตาน ซากา โตคาเรียน ซอกเดีย อุยกูร์เก่า ทิเบต จีน มองโกเลีย แมนจู ซีเซี่ย(ตันกัต) เกาหลี เวียดนาม เป็นต้น ตัวอย่างของสะสมจากสถาบันต้นฉบับภาษาตะวันออกแห่งสมาคมวิทยาศาสตร์รัสเซียมีต้นฉบับคัมภีร์ภาษาสันสกฤต คัดลอกด้วยตัวอักษรพราหมีเตอร์กีสถานใต้ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8-9 ต้นฉบับแปลภาษาจีน คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ต้นฉบับแปลภาษาอุยกูร์เก่า คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในปัจจุบันมีการแปลเป็นภาษา อังกฤษ อิตาเลียน เกาหลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ไทย ลาว กรีก สเปน เป็นต้น วินเตอร์นิตซ์ได้เสนอความเห็นว่า พระนาคารชุนได้อ้างถึงข้อความจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรอยู่หลายตอน เพราะฉะนั้นต้นฉบับเดิมย่อมต้องมีอยู่แล้วใน..

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและสัทธรรมปุณฑรีกสูตร · ดูเพิ่มเติม »

หยางกุ้ยเฟย์

หยางกุ้ยเฟย์ หยางกุ้ยเฟย์ ตามสำเนียงกลาง หรือ เอียกุยฮุย ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (26 มิถุนายน ค.ศ. 719 – 15 กรกฎาคม ค.ศ. 756) ชื่อตัวว่า หยาง อฺวี้-หฺวัน และชื่อเมื่อบวชว่า ไท่เจิน (太真; "จริงยิ่ง") เป็นสนมเอกของจักรพรรดิเสฺวียนจงแห่งราชวงศ์ถัง และเป็นหนึ่งในสี่ยอดพธู ในปลายรัชกาลจักรพรรดิเสฺวียนจง แม่ทัพอาน ลู่ชาน (安祿山) ก่อกบฏ จักรพรรดิและข้าราชการหนีจากเมืองฉางอานไปเมืองเฉิงตู บรรดาทหารขอให้จักรพรรดิประหารสนมหยางเสีย เพราะเชื่อว่า หยาง กั๋วจง (楊國忠) ญาติของสนมหยาง เป็นตัวการกบฏ จักรพรรดิจึงสั่งให้ขันทีเกา ลี่ชื่อ (高力士) รัดคอสนมหยางจนสิ้นชีวิต.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและหยางกุ้ยเฟย์ · ดูเพิ่มเติม »

อะกะชิ (ตำนานเก็นจิ)

อะคะชิ (明石, Akashi) "Akashi" เป็นบทที่ 13 ของตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุระซะกิ ชิคิบุ จากทั้งหมด 54 บท.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและอะกะชิ (ตำนานเก็นจิ) · ดูเพิ่มเติม »

อะโอะอิ

ตรา อะโอะอิ 2 ใบ ''ฟุตะบะอะโอะอิ'' ใบ''อะโอะอิ'' กิ่ง''อะโอะอิ'' ประดับบนหมวก ในขบวนพิธีของ''เทศกาลอะโอะอิ'' แห่งศาลเจ้าคะโมะ เคียวโตะ อะโอะอิ (葵, Aoi) "Heartvine" "Heart-to-Heart" เป็นบทที่ 9 ของตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุระซะกิ ชิคิบุ จากทั้งหมด 54 บท.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและอะโอะอิ · ดูเพิ่มเติม »

อุสึเซะมิ

ประกอบตำนานเก็นจิบท ''อุสึเซะมิ'' อุสึเซะมิ เป็นบทที่ 3 ของ ตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุราซากิ ชิคิบุ ที่มีทั้งหมด 54 บท.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและอุสึเซะมิ · ดูเพิ่มเติม »

อุจิจูโจ

ตำนานเก็นจิภาค อุจิจูโจ (宇治十帖: Uji JuuJou: The Ten Books of Uji) รูปปั้นมุราซากิ ชิคิบุ ริมแม่น้ำอุจิ เป็นเหตุการณ์ภาคหลังในเรื่องตำนานเก็นจิ ซึ่งประพันธ์โดย มุราซากิ ชิคิบุ นางข้าหลวงในราชสำนักญี่ปุ่นสมัยเฮอัน กล่าวถึงเหตุการณ์หลังจากที่เก็นจิตายไปแล้ว ตัวเอกของเรื่องในภาค อุจิ นี้คือ คาโอรุ ผู้เป็นบุตรชายที่เกิดจากความสัมพันธ์ต้องห้ามระหว่าง คะชิวะงิ (บุตรชายคนโตของ โทโนะจูโจ และเพื่อนสนิทของ ยูงิริ) กับ พระธิดาอนนะซังโนะมิยะ (พระธิดาองค์ที่ 3 ของอดีตจักรพรรดสุซาคุ และเป็นภรรยาเอกของเก็นจิ) ได้รับการเลี้ยงดูและใช้ชีวิตในฐานะลูกชายคนสุดท้องของเก็นจิ ตัวคาโอรุเองไม่ล่วงรู้ความลับนี้ แต่ก็สงสัยในชาติกำเนิดตัวเอง เพราะมารดา (พระธิดาอนนะซังโนะมิยะ) ออกบวชชีตั้งแต่ยังสาว และที่เขาได้รับการขนานนามว่า คาโอรุ เป็นเพราะเขามีกลิ่นกายหอมติดตัวมาแต่กำเนิดนั่นเอง.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและอุจิจูโจ · ดูเพิ่มเติม »

ฮะสึเนะ

ึเนะ, Hatsune หรือ 初音 แปลว่า สำเนียงแรกแห่งสกุณา, อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและฮะสึเนะ · ดูเพิ่มเติม »

ฮะฮะกิงิ

กิงิ หรือ โฮกิงุสะ หรือ โฮกิงิ ฮะฮะกิงิ - พฤกษาฮะฮะกิงิ(帚木, Hahakigi) "Broom Tree" เป็นบทที่ 2 ของ ตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุราซากิ ชิคิบุ ที่มีทั้งหมด 54 บท.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและฮะฮะกิงิ · ดูเพิ่มเติม »

ฮะนะจิรุซะโตะ

อกส้มทะจิบะนะ ผลส้มทะจิบะนะ ฮะนะ จิรุ ซะโตะ - ท่านหญิงดอกส้ม (花散里, Hana Chiru Sato) "Orange Blossoms" "Falling Flowers" เป็นบทที่ 11 ของตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุระซะกิ ชิคิบุ จากทั้งหมด 54 บท บทที่ 11 นี้เป็นบทสั้นๆ บอกเล่าเหตุการณ์ช่วงเวลา ที่หนึ่งทับซ้อนอยู่ในบท ซะคะก.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและฮะนะจิรุซะโตะ · ดูเพิ่มเติม »

ฮะนะโนะเอ็ง

''ซะกง โนะ ซะกุระ '' หน้าตำหนัก ชิชินเด็ง พระราชวังเกียวโต ตำหนัก ''ชิชินเด็ง'' พระราชวังเกียวโต ฮะนะโนะเอ็ง (花宴; Hana no En; วสันต์สังสรรค์; Festival of the Cherry Blossoms หรือ Under the Cherry bossoms) เป็นบทที่ 8 ของตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุราซากิ ชิคิบุ จากทั้งหมด 54 บท.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและฮะนะโนะเอ็ง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิซุซะกุ

ักรพรรดิซุซะกุ (Emperor Suzaku) จักรพรรดิองค์ที่ 61 แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่นImperial Household Agency (Kunaichō): ตามที่ได้จัดเรียงไว้ใน รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น โดยพระนามของพระองค์มีที่มาจากชื่อประตู ๆ หนึ่งของ พระราชวังเฮโจ ซึ่งมีชื่อว่า ประตูซุซะกุ เมื่อ จักรพรรดิไดโงะ พระราชบิดาได้สละราชบัลลังก์ในวันที่ 22 เดือน 9 ปี เอ็นโช ที่ 8 ตรงกับวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 930 เจ้าชายฮิโระอะกิระพระราชโอรสองค์ที่ 11 พระชนมายุเพียง 7 พรรษาจึงขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิซุซะกุ โดยได้มีการประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 22 เดือน 11 ปี เอ็นโช ที่ 8 ตรงกับวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 930 จักรพรรดิซุซะกุได้สละราชบัลลังก์เมื่อวันที่ 13 เดือน 4 ปี เท็นเกียว ที่ 2 ตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 946 ให้กับเจ้าชายนะริอะกิระพระอนุชาต่างพระราชมารดาขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิมุระกะมิ หลังจากครองสิริราชสมบัติได้ 15 ปี.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและจักรพรรดิซุซะกุ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเรเซ

ักรพรรดิเรเซ (Emperor Reizei) จักรพรรดิองค์ที่ 63 แห่ง ราชวงศ์ญี่ปุ่น ตามที่ได้จัดเรียงไว้ใน รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น จักรพรรดิเรเซทรงครอง ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ระหว่างปี ค.ศ. 967 - ค.ศ. 969 ต่อมาพระนามของพระองค์ได้ถูกนำไปใช้เป็นพระนามของ จักรพรรดิโกะ-เรเซ จักรพรรดิองค์ที่ 70 ในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 11.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและจักรพรรดิเรเซ · ดูเพิ่มเติม »

ทะมะกะซุระ

200px ทะมะคะซึระ - มาลัยแก้วประดับเกล้า (玉鬘, Tamakazura) "Jeweled Chaplet" "Tendril Wreath"เป็นบทที่ 22 ของตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุระซะกิ ชิคิบุ จากทั้งหมด 54 บท.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและทะมะกะซุระ · ดูเพิ่มเติม »

ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก

้วยเมฆหมอกแห่งรัก ดัดแปลงจาก "Genji Monogatari" หรือ "ตำนานเก็นจิ" วรรณกรรมคลาสสิกของญี่ปุ่นจากยุคเฮอัน (ราว ค.ศ. 794-1192) ว่าด้วยเรื่องราวชีวิตรักของท่านฮิคารุ เกนจิ ผู้สูงส่งทั้งชาติสมบัติและรูปสมบัติ วรรณกรรมเรื่องนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดวรรณกรรมญี่ปุ่นและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก แม้แต่ในหนังสือ Lifetime Reading Plan ของ Clifton Fadiman ก็ยังยกให้เป็นหนึ่งในวรรณกรรมเอกของโลกที่ทุกคนควรจะได้อ่านสักครั้งหนึ่งในชีวิต "ตำนานเกนจิ"ฉบับนิยายภาพนี้ เขียนโดย ยามาโตะ วากิ (Yamato Waki) ผู้ซึ่งใช้เวลาเนิ่นนานหลายปีกับงานชิ้นนี้ทั้งในการศึกษาเตรียมงานและการดัดแปลงถ่ายทอดเป็นภาคการ์ตูน ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร Mimi ระหว่างปี..

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและด้วยเมฆหมอกแห่งรัก · ดูเพิ่มเติม »

คิริสึโบะ

ริสึโบะ - ตำหนักคิริ (桐壺, Kiritsubo)"Paulownia Court" "Paulownia Pavilion" คิริสึโบะ เป็นบทแรกของ ตำนานเก็นจิผลงานของ มุราซากิ ชิคิบุ ที่มีทั้งหมด 54 บท ต้นคิริ ดอกและใบคิร.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและคิริสึโบะ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลฟูจิวาระ

ฟูจิวาระ คามาตาริ ต้นตระกูลฟูจิวาระ ฟูจิวาระ เป็นกลุ่มขุนนางที่เคยมีอำนาจและอิทธิพลอย่างยิ่งใหญ่ต่อราชสำนักญี่ปุ่น ในยุคเฮอัง โดย ฟูจิวาระ โนะ โมโตสึเนะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคัมปากุ ซึ่งเป็นตำแหน่งขุนนางที่ทรงอิทธิพลที่สุด และคนของฟุจิวาระก็เข้ายึดครองอำนาจในราชสำนัก ทำให้กลายเป็นตระกูลทหารที่มีอำนาจสูงสุด ยาวนานกว่า 500 ปี โดยฟูจิวาระ ได้ผูกขาดตำแหน่งคัมปากุ เซ็สโช และไดโจไดจิงตลอด 500 ปี และยังให้บุตรสาวของตระกูลอภิเษกสมรสกับจักรพรรดิ เพื่อให้เชื้อสายของตนเองเป็นจักรพรรดิอีกด้วย อย่างไรก็ตามจักรพรรดิเชื้อสายฟูจิวาระได้หมดไปในภายหลัง พร้อม ๆ กับการล่มสลายของตระกูลฟูจิวาระที่ครองอำนาจกว่า 500 ปี ตระกูลฟูจิวาระล่มสลายลงไปปี..

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและตระกูลฟูจิวาระ · ดูเพิ่มเติม »

ซะกะกิ

กิ่ง''ซะคะกิ'' ดอก''ซะคะกิ'' ศาลเจ้าโนะโนะมิยะ ใน ซะงะโนะ เกียวโต ซะคะกิ; Sakaki) เป็นบทที่ 10 ของตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุระซะกิ ชิคิบุ จากทั้งหมด 54 บท.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและซะกะกิ · ดูเพิ่มเติม »

ซุมะ

หาด สุมะ ถ่ายจาก สวนริมชายหาด สุมะ - สู่สุมะ (須磨, Suma) "Suma" เป็นบทที่ 12 ของตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุระซะกิ ชิคิบุ จากทั้งหมด 54 บท.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและซุมะ · ดูเพิ่มเติม »

ซุเอะสึมุฮะนะ

ซุเอะสึมุฮะนะ หรือ เบะนิฮะนะ หรือ คำฝอย ซุเอะสึมุฮะนะ - มาลีสีชาด (末摘花, Suetsumuhana) "Safflower" เป็นบทที่ 6 ของ ตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุราซากิ ชิคิบุ ที่มีทั้งหมด 54 บท.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและซุเอะสึมุฮะนะ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

โมะมิจิโนะกะ

ประกอบบท ''โมมิจิ โนะ กะ'' โมมิจิ 24 พันธุ์ในเขตจูบุ โมมิจิ โนะ กะ - ชมใบไม้แดง (紅葉賀, Momiji no Ga) "Autumn Excursion" "Beneath the Autumn Leaves" เป็นบทที่ 7 ของ ตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุราซากิ ชิคิบุ ที่มีทั้งหมด 54 บท บท โมมิจิ โนะ กะ ดำเนินเรื่องในฤดูใบไม้ร่วง ในขณะที่เก็นจิ อายุราว 18 ปี เนื้อหาเกี่ยวข้องทับซ้อนกับช่วงปลายของบท สุเอทสึมุฮานะ และ ช่วงปลายของบท วะกะมุราซากิ ดำเนินเรื่องต่อมาจนถึงฤดูใบไม้ร่วงปีต่อมา ที่เก็นจิอายุ 19 ปี.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและโมะมิจิโนะกะ · ดูเพิ่มเติม »

โยะโมะงิอุ

กม้วนภาพตำนานเก็นจิ ตอน โยะโมะงิอุ จาก พิพิธภัณฑ์ศิลปะโตคุกาวะ โยะโมะงิอุ - คฤหาสน์หญ้าคา (蓬生, Yomogiu "Wormwood Patch" "Waste of Weeds") เป็นบทที่ 15 ของตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุระซะกิ ชิคิบุ จากทั้งหมด 54 บท เป็นบทที่ดำเนินเรื่องช่วงระหว่างบท อะคะชิ และ มิโอะซึ.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและโยะโมะงิอุ · ดูเพิ่มเติม »

โอะโตะเมะ

อะโตะเมะ - นางรำโกะเซะจิ (乙女, Otome) "Maiden" "Maidens" เป็นบทที่ 21 ของตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุระซะกิ ชิคิบุ จากทั้งหมด 54 บท.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและโอะโตะเมะ · ดูเพิ่มเติม »

โคกินวากาชู

ปก โคกินวากาชู ฉบับ เก็นเอบ็อง ศตวรรษที่ 12 โคกินวากาชู หรือ โคกิงวากาชู (古今和歌集, The Kokin Wakashū) เรียกกันสั้น ๆ ว่า โคกินชู (古今集, Kokinshū)ชื่อ หมายถึง ประชุมบทร้อยกรองแบบญี่ปุ่นตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบัน เป็นหนังสือประชุมบทร้อยกรองแบบวากะ ที่จัดทำโดยสำนักพระราชวังในต้นยุคเฮอัง โดยพระราชดำริของจักรพรรรดิอูดะ (Emperor Uda ค.ศ. 887–897) และจัดทำโดยพระราชรับสั่งของจักรพรรดิไดโงะ (Emperor Daigo ค.ศ 897–930) ราชโอรส ราวปี..

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและโคกินวากาชู · ดูเพิ่มเติม »

โคะโจ

ระบำผีเสื้อ โคะโจ โคะโจ - ระบำผีเสื้อ (胡蝶, Kochō) "Butterflies" เป็นบทที่ 24 ของตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุระซะกิ ชิคิบุ จากทั้งหมด 54 บท.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและโคะโจ · ดูเพิ่มเติม »

ไป๋ จวีอี้

ภาพวาดของไป๋จวีอี้กวีสมัยราชวงศ์ถัง ไป๋จวีอี้ (จีน: 白居易; พินอิน: Bái Jūyì; Wade-Giles: Po Chü-i, 772–846) เขาเป็นกวีช่วงกลางราชวงศ์ถัง มีบทประพันธ์กว่า 2,800 บท เขาถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ.846 (พ.ศ. 1389) ขณะอายุได้ 74 ปี หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ถัง หมวดหมู่:กวีชาวจีน.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและไป๋ จวีอี้ · ดูเพิ่มเติม »

เก็มปุกุ

เก็มปุกุ หรือ พิธีฉลองการเจริญวัย พิธีโบราณของญี่ปุ่นที่ถูกจัดขึ้นเพื่อแสดงถึงการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ซึ่งพิธีนี้เป็นพิธีที่รับมาจากเมืองจีนในสมัย ราชวงศ์ถัง โดยต้องย้อนไปถึง ยุคนะระ (1253 – 1337) เมื่อการประกอบพิธีเก็มปุกุเสร็จสิ้นลงก็จะมีการมอบชื่อใหม่ให้กับผู้รับการประกอบพิธีซึ่งปัจจุบันพิธีเก็มปุกุแบบโบราณได้ถูกยกเลิกไปโดยได้มีการจัดงานที่เรียกว่า เซจิงชิกิ ขึ้นมาแทน หมวดหมู่:วัฒนธรรมญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและเก็มปุกุ · ดูเพิ่มเติม »

เอะอะวะเซะ

thumb เอะ อะวะเสะ - แข่งขันประชันภาพ (絵合, E Awase) "Picture Contest" เป็นบทที่ 17 ของตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุระซะกิ ชิคิบุ จากทั้งหมด 54 บท.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและเอะอะวะเซะ · ดูเพิ่มเติม »

เซะกิยะ

thumb เซะกิยะ - ด่านแห่งการพานพบ (関屋, Sekiya) "Gatehouse" "At The Pass" เป็นบทที่ 16 ของตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุระซะกิ ชิคิบุ จากทั้งหมด 54 บท.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและเซะกิยะ · ดูเพิ่มเติม »

เซ็สโซและคัมปะกุ

งราชวงศ์สำหรับผู้สำเร็จราชการ ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เซ็สโซ เป็นยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สำหรับจักรพรรดิที่ยังทรงพระเยาว์เกินกว่าจะปกครองก่อนที่พระองค์จะเจริญพรรษาพอที่จะปกครองประเทศ เซ็สโซจะว่าราชการแทน และ คัมปะกุ เป็นตำแหน่งผู้สำเร็จราชการสำหรับจักรพรรดิที่ทรงเจริญพระชนพรรษาแล้ว โดยอ้างว่าพระจักรพรรดิทรงไม่รู้เรื่องงานบริหารประเทศ จึงต้องให้คัมปะกุ คอยช่วยบริหารจัดการ ตลอดสมัยเฮอัง อำนาจการบริหารประเทศอยู่ในสองตำแหน่งนี้ คือ เซ็สโซ และคัมปะกุตลอด 500 ปี ผูกขาดโดยคนของตระกูลฟุจิวะระ และสายย่อยของตระกูลนี้ตลอด โดยเราจะเรียกตระกูลเหล่านี้ว่า เซ็สกัง หรือตระกูลผู้สำเร็จราชการนั่นเอง ภายหลังจากสมัยเฮอังอำนาจอยู่ในมือของรัฐบาลทหาร โดยโชกุนปกครองประเทศแทน โดยผู้สำเร็จราชการของโชกุนจะเรียกว่า ชิกเก็ง.

ใหม่!!: ตำนานเก็นจิและเซ็สโซและคัมปะกุ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

The Tale of Genjiตำนานเกนจิเกนจิ โมะโนะงะตะริเกนจิ โมโนงาตาริเรื่องเล่าเกนจิ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »