โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตารางธาตุ

ดัชนี ตารางธาตุ

ตารางธาตุในลักษณะที่เป็นมาตรฐาน ตารางธาตุ (Periodic table) คือ ตารางที่ใช้แสดงรายชื่อธาตุเคมี ซึ่งจัดเรียงบนพื้นฐานของเลขอะตอม (จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส) การจัดเรียงอิเล็กตรอน และสมบัติทางเคมี โดยจะเรียงตามเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะระบุไว้ในร่วมกับสัญลักษณ์ธาตุเคมี ในกล่องของธาตุนั้น ตารางธาตุมาตรฐานจะมี 18 หมู่และ 7 คาบ และมีคาบพิเศษเพิ่มเติมมาอยู่ด้านล่างของตารางธาตุ ตารางยังสามารถเปลี่ยนเป็นการจัดเรียงตามบล็อก โดย บล็อก-s จะอยู่ซ้ายมือ บล็อก-p จะอยู่ขวามือ บล็อก-d จะอยู่ตรงกลางและบล็อก-f อยู่ที่ด้านล่าง แถวแนวนอนในตารางธาตุจะเรียกว่า คาบ และแถวในแนวตั้งเรียกว่า หมู่ โดยหมู่บางหมู่จะมีชื่อเฉพาะ เช่นแฮโลเจน หรือแก๊สมีตระกูล โดยคำนิยามของตารางธาตุ ตารางธาตุยังมีแนวโน้มของสมบัติของธาตุ เนื่องจากเราสามารถใช้ตารางธาตุบอกความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของธาตุแต่ละตัว และใช้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ ธาตุที่ยังไม่ถูกค้นพบ หรือธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น และด้วยความพิเศษของตารางธาตุ ทำให้มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาวิชาเคมีหรือวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ ดมีตรี เมนเดเลเยฟ รู้จักกันในฐานะผู้ที่ตีพิมพ์ตารางธาตุในลักษณะแบบนี้เป็นคนแรก ใน..

124 ความสัมพันธ์: บล็อก-dบล็อก-fบล็อก-gบล็อก-pบล็อก-sบล็อกในตารางธาตุฟลิโรเวียมฟลูออรีนพลังงานไอออไนเซชันพลูโทเนียมพันธะโคเวเลนต์กลศาสตร์ควอนตัมการสลายให้อนุภาคบีตาการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ (หน้าข้อมูล)มวลอะตอมมีเทนรัศมีอะตอมรัทเทอร์ฟอร์เดียมรายการธาตุเคมีริชาร์ด ไฟน์แมนลอว์เรนเซียมลิเวอร์มอเรียมลิเทียมลูทีเชียมสมบัติทางเคมีสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนสังกะสีสารประกอบสถานะออกซิเดชันสแกนเดียมหมู่ (ตารางธาตุ)หมู่คาร์บอนหมู่เกาะแห่งเสถียรภาพห่วงโซ่การสลายออกซิเจนอะลูมิเนียมอัตราเร็วของแสงอิตเทรียมอิตเทอร์เบียมอิเล็กโตรเนกาทิวิตีอูนอูนเอนเนียมอูนไบออกเทียมอูนไบนิลเลียมอูนไบเฮกเซียมอนุภาคมูลฐานอโลหะอ็อกเทฟอ็องตวน ลาวัวซีเยฮัสเซียม...ฮีเลียมจอห์น อเล็กซานเดอร์ เรนา นิวแลนส์ธาตุธาตุกึ่งโลหะธาตุหมู่ 11ธาตุหมู่ 12ธาตุหมู่ 3ธาตุหลังยูเรเนียมธาตุคาบ 6ธาตุคาบ 7ธาตุคาบ 8ทฤษฎีสัมพัทธภาพทฤษฎีควอนตัมดมีตรี เมนเดเลเยฟดาวนิวตรอนคลอรีนคาบ (ตารางธาตุ)คาร์บอนตะกั่วตารางตารางธาตุซิลิคอนซีลีเนียมซีเรียมปรอทประเทศกาบองนิวไคลด์ดึกดำบรรพ์นีออนแบบจำลองของบอร์แบเรียมแพลทินัมแกลเลียมแก๊สแก๊สมีตระกูลแลนทาไนด์แอกทิไนด์แฮฟเนียมแฮโลเจนแทนทาลัมแคลิฟอร์เนียมแคดเมียมแนวโน้มพิริออดิกโพซิตรอนโพแทสเซียมโยฮันน์ ว็อล์ฟกัง เดอเบอไรเนอร์โลหะโลหะมีสกุลโลหะแอลคาไลโลหะแอลคาไลน์เอิร์ทโอกาเนสซอนโครงแบบอิเล็กตรอนโคเปอร์นิเซียมโซเดียมไอน์สไตเนียมไอโอดีนไอโซโทปไฮโดรเจนไนโอเบียมเบริลเลียมเฟอร์เมียมเรดอนเรเดียมเลขอะตอมเวเลนซ์เวเลนซ์อิเล็กตรอนเอิร์ท (อนุกรมเคมี)เจอร์เมเนียมเทลลูเรียมเทนเนสซีนเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทยเซอร์โคเนียมเปลือกอิเล็กตรอนเป็กกา ปืกเกอเนปทูเนียม ขยายดัชนี (74 มากกว่า) »

บล็อก-d

บล็อก-d (d-block) เป็นหนึ่งในบล็อกของตารางธาตุ ธาตุเหล่านี้ในสภาวะที่อะตอมมีพลังงานต่ำสุด (ground state) อิเล็กตรอนที่มีพลังงานสูงสุดจะอยู่ในวงโคจรดี (d-atomic orbital) ธาตุในบล็อก-d จะเป็นธาตุกลุ่มโลหะทรานซิชัน หมวดหมู่:ตารางธาตุ.

ใหม่!!: ตารางธาตุและบล็อก-d · ดูเพิ่มเติม »

บล็อก-f

บล็อก-f (f-block) เป็นหนึ่งในบล็อกของตารางธาตุ ธาตุเหล่านี้ในสภาวะที่อะตอมมีพลังงานต่ำสุด (ground state) อิเล็กตรอนที่มีพลังงานสูงสุดจะอยู่ในวงโคจรเอฟ (f-atomic orbital) ธาตุในบล็อก-f จะเป็นประกอบด้วยแลนทาไนด์ และ แอกทิไนด์ หมวดหมู่:ตารางธาตุ.

ใหม่!!: ตารางธาตุและบล็อก-f · ดูเพิ่มเติม »

บล็อก-g

บล็อก-g (g-block) เป็นหนึ่งในบล็อกของตารางธาตุ ธาตุเหล่านี้ในสภาวะที่อะตอมมีพลังงานต่ำสุด(ground state) อิเล็กตรอนที่มีพลังงานสูงสุดจะอยู่ในวงโคจรจี(g-atomic orbital) ยังไม่มีการค้นว่ามีธาตุใดอยู่ในบล็อก-g หมวดหมู่:ตารางธาตุ.

ใหม่!!: ตารางธาตุและบล็อก-g · ดูเพิ่มเติม »

บล็อก-p

ล็อก-p (p-block) เป็นหนึ่งในบล็อกของตารางธาตุ ประกอบด้วยธาตุกลุ่มอโลหะ และ กึ่งโลหะ และกลุ่มโลหะบางตัว ในหกหมู่หลังยกเว้นฮีเลียม ธาตุเหล่านี้ในสภาวะที่อะตอมมีพลังงานต่ำสุด (ground state) อิเล็กตรอนที่มีพลังงานสูงสุดจะอยู่ในวงโคจรพี (p-atomic orbital) ธาตุในบล็อก-p มีดังนี้.

ใหม่!!: ตารางธาตุและบล็อก-p · ดูเพิ่มเติม »

บล็อก-s

บล็อก-s (s-block) เป็นหนึ่งในบล็อกของตารางธาตุ ประกอบด้วยสองหมู่แรกของตารางธาตุ คือ โลหะแอลคาไล และโลหะแอลคาไลน์เอิร์ท รวมทั้งไฮโดรเจนและฮีเลียม ธาตุเหล่านี้ในสภาวะที่อะตอมมีพลังงานต่ำสุด (ground state) อิเล็กตรอนที่มีพลังงานสูงสุดจะอยู่ในวงโคจรเอส (s-atomic orbital) ธาตุในบล็อก-s จะเป็นตัวรีดิวต์ทางเคมีสูง (reductant)และมีคุณสมบัติทางโลหะสูงสุด เช่น ออกไซด์ของธาตุกลุ่มนี้ มีความเป็นเบสสูงมาก เป็นต้น ธาตุในบล็อกนี้มีธาตุอยู่14ตัว ได้แก่ ไฮโดรเจน ฮีเลียม ลิเทียม เบริลเลียม โซเดียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม แคลเซียม รูบิเดียม สตรอนเชียม ซีเซียม แบเรียม แฟรนเซียม และเรเดียม หมวดหมู่:ตารางธาตุ.

ใหม่!!: ตารางธาตุและบล็อก-s · ดูเพิ่มเติม »

บล็อกในตารางธาตุ

บล็อก (periodic table block) ในตารางธาตุ คือกลุ่มของหมู่ธาตุที่ใกล้เคียงกันโดยใช้อิเล็กตรอนที่มีพลังงานสูงสุดเป็นตัวกำหนด แต่ละบล็อกจะตั้งชื่อตามลักษณะวงโคจรอิเล็กตรอนซึ่งมีบล็อกทั้งหมด 5 บล็อก ดังนี้ บล็อก-s บล็อก-p บล็อก-d บล็อก-f และ บล็อก-g (ยังไม่พบว่าธาตุใดมี g-บล็อก) หมวดหมู่:ตารางธาตุ.

ใหม่!!: ตารางธาตุและบล็อกในตารางธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ฟลิโรเวียม

ฟลิโรเวียม (Flerovium) เป็นชื่อของธาตุกัมมันตรังสีที่มีหมายเลขอะตอม 114 สัญลักษณ์ธาตุคือ Fl มีไอโซโทปที่มีเลขมวลระหว่าง 285-289 ซึ่งไอโซโทปที่มีครึ่งชีวิตนานที่สุด คือ 289Fl ซึ่งมีครึ่งชีวิตนาน 2.6 วินาที ก่อนการเปลี่ยนชื่อเป็นฟลิโรเวียม โดย IUPAC เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ตารางธาตุและฟลิโรเวียม · ดูเพิ่มเติม »

ฟลูออรีน

ฟลูออรีน (Fluorine) (จากภาษาละติน Fluere แปลว่า "ไหล") เป็นธาตุเคมีที่เป็นพิษและทำปฏิกิริยาได้มากที่สุด มีสัญลักษณ์ F และเลขอะตอม 9 เป็นธาตุแฮโลเจนที่เป็นเบาที่สุดและมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากที่สุด มันปรากฎอยู่ในรูปของแก๊สสีเหลืองที่ภาวะอุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ธาตุนี้ทำปฏิกิริยาได้เกือบทุกธาตุรวมทั้งแก๊สมีตระกูลบางตัว มีสมบัติเป็นอโลหะมากที่สุด (ถ้าไม่รวมแก๊สมีตระกูล).

ใหม่!!: ตารางธาตุและฟลูออรีน · ดูเพิ่มเติม »

พลังงานไอออไนเซชัน

ลังงานไอออไนเซชัน (Ionization Energy, IE) คือค่าพลังงาน ที่ใช้ในการดึงให้อิเล็กตรอนวงนอกสุด (เวเลนซ์อิเล็กตรอน) หลุดออกจากอะตอมหรือโมเลกุลที่อยู่ในสถานะก๊าซปริมาณพลังงานที่น้อยที่สุดที่สามารถทำให้อะตอมหรือโมเลกุลปลดปล่อยอิเล็กตรอน ค่าพลังงานไอออไนเซชันจะบ่งบอกว่าอะตอมหรือไอออนนั้นสามารถเสียอิเล็กตรอนได้ง่ายหรือยาก หรือในอีกมุมหนึ่งเป็นการบ่งบอกระดับพลังงานของอิเล็กตรอนวงนอกสุดของอะตอมหรือไอออนนั้นว่ามีความเสถียรมากเพียงใด โดยทั่วไปค่าพลังงานไอออไนเซชันจะมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อพยายามที่จะทำให้อิเล็กตรอนตัวต่อไปถูกปลดปล่อยออกมา เนื่องจากการผลักกันของประจุอิเล็กตรอนมีค่าลดลงและการกำบังของอิเล็กตรอนชั้นวงในมีค่าลดลง ซึ่งทำให้แรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียสและอิเล็กตรอนมีค่ามาขึ้น อย่างไรก็ตามค่าที่เพิ่มขึ้นอาจไม่เพิ่มเท่าที่ควรจะเป็นในกรณีที่เมื่อปลดปล่อยอิเล็กตรอนตัวนั้นแล้วส่งผลให้เกิดการบรรจุเต็มหรือการบรรจุครึ่งในระดับชั้นพลังงาน เนื่องจากทั้งสองกรณีมีเสถียรภาพเป็นพิเศษ กระบวนการสูญเสียอิเล็กตรอนนี้เกิดได้หลายครั้งสำหรับอะตอมหรือโมเลกุลที่มีหลายอิเล็กตรอน จึงเรียกเป็น IE1 IE2 IE3...

ใหม่!!: ตารางธาตุและพลังงานไอออไนเซชัน · ดูเพิ่มเติม »

พลูโทเนียม

ลูโทเนียม (Plutonium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 94 และสัญลักษณ์ คือ Pu เป็นธาตุโลหะกัมมันตรังสี เป็นโลหะแอกทิไนด์สีขาวเงิน และจะมัวลงเมื่อสัมผัสอากาศซึ่งเกิดจากการรวมตัวกับออกซิเจน โดยปกติ พลูโทเนียมมี 6 ไอโซโทป และ 4 สถานะออกซิเดชัน สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับคาร์บอน ฮาโลเจน ไนโตรเจน และซิลิกอน เมื่อสัมผัสอากาศชื้นจะสร้างสารประกอบออกไซด์และไฮไดรด์มากกว่า 70 % ของปริมาตรซึ่งจะแตกออกเป็นผงแป้งที่สามารถติดไฟได้เอง พลูโทเนียมมีพิษที่เกิดจากการแผ่รังสีที่จะสะสมที่ไขกระดูก นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ทำให้การจัดการพลูโทเนียมเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ไอโซโทปที่สำคัญของพลูโทเนียม คือ พลูโทเนียม-239 ซึ่งมีครึ่งชีวิต 24,100 ปี พลูโทเนียม-239 และ 241 เป็นวัสดุฟิสไซล์ ซึ่งหมายความว่านิวเคลียสของอะตอมสามารถแตกตัว โดยการชนของนิวตรอนความร้อนเคลื่อนที่ช้า ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงาน รังสีแกมมา และนิวตรอนจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ได้ นำไปสู่การประยุกต์สร้างอาวุธนิวเคลียร์และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ไอโซโทปที่เสถียรที่สุด คือ พลูโทเนียม-244 ซึ่งมีครึ่งชีวิตประมาณ 80 ล้านปี นานพอที่จะสามารถพบได้ในธรรมชาติ พลูโทเนียม-238 มีครึ่งชีวิต 88 ปี และปลดปล่อยอนุภาคแอลฟาออกมา มันเป็นแหล่งความร้อนของเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยความร้อนจากไอโซโทปรังสี ซึ่งใช้ในการให้พลังงานในยานอวกาศ พลูโทเนียม-240 มีอัตราของการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมด้วยตัวเองสูง เป็นการเพิ่มอัตรานิวตรอนพื้นฐานของตัวอย่างที่มีไอโซโทปนี้ประกอบอยู่ด้วย การมีอยู่ของ Pu-240 เป็นข้อจำกัดสมรรถภาพของพลูโทเนียมที่ใช้ในอาวุธหรือแหล่งพลังงานและเป็นตัวกำหนดเกรดของพลูโทเนียม: อาวุธ (19%) ธาตุลำดับที่ 94 สังเคราะห์ได้เป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ตารางธาตุและพลูโทเนียม · ดูเพิ่มเติม »

พันธะโคเวเลนต์

ในโมเลกุลของฟลูออรีน อะตอมของธาตุฟลูออรีนสองอะตอมสร้างพันธะโคเวเลนต์กัน พันธะโคเวเลนต์ (Covalent bond) คือพันธะเคมี ภายในโมเลกุลลักษณะหนึ่ง พันธะโคเวเลนต์เกิดจากอะตอมสองอะตอมใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนหนึ่งคู่หรือมากกว่าร่วมกัน ทำให้เกิดแรงดึงดูดที่รวมอะตอมเป็นโมเลกุลขึ้น อะตอมมักสร้างพันธะโคเวเลนต์เพื่อเติมวงโคจรอิเล็กตรอนรอบนอกสุดให้เต็ม ดังนั้น อะตอมที่สร้างพันธะโคเวเลนต์จึงมักมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่มาก เช่น ธาตุหมู่ VI และหมู่ VII เป็นต้น พันธะโคเวเลนต์แข็งแรงกว่าพันธะไฮโดรเจนและมีความแข็งแรงพอ ๆ กับพันธะไอออนิก พันธะโคเวเลนต์มักเกิดขึ้นระหว่างอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตีใกล้เคียงกัน ธาตุอโลหะมีแนวโน้มที่จะสร้างพันธะโคเวเลนต์มากกว่าธาตุโลหะซึ่งมักสร้างพันธะโลหะ เนื่องจากอิเล็กตรอนของธาตุโลหะสามารถเคลื่อนอย่างอิสระ ในทางกลับกัน อิเล็กตรอนของธาตุอโลหะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระนัก การใช้อิเล็กตรอนร่วมกันจึงเป็นทางเลือกเดียวในการสร้างพันธะกับธาตุที่มีสมบัติคล้าย ๆ กัน อย่างไรก็ดี พันธะโคเวเลนต์ที่มีโลหะนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเร่งปฏิกิริยา ตัวอย่างเช่น พันธะโคเวเลนต์ระหว่างสารอินทรีย์กับโลหะเป็นเครื่องมือสำคัญของกระบวนการสร้างพอลิเมอร์หลายๆ กระบวนการ เป็นต้น(cr.ดร.วัชราฃรณ์ ลาบา).

ใหม่!!: ตารางธาตุและพันธะโคเวเลนต์ · ดูเพิ่มเติม »

กลศาสตร์ควอนตัม

'''ฟังชันคลื่น''' (Wavefunction) ของอิเล็กตรอนในอะตอมของไฮโดรเจนที่ทรงพลังงานกำหนดแน่ (ที่เพิ่มลงล่าง ''n''.

ใหม่!!: ตารางธาตุและกลศาสตร์ควอนตัม · ดูเพิ่มเติม »

การสลายให้อนุภาคบีตา

ในฟิสิกส์นิวเคลียร์, การสลายให้อนุภาคบีตา (beta decay) เป็นรูปแบบหนึ่งของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีที่อนุภาคบีตา (อิเล็กตรอนหรือโพซิตรอน) ถูกปลดปล่อยออกมา ในกรณีปลดปล่อยอิเล็กตรอน จะเป็น บีตาลบ (^-) ขณะที่ในกรณีปลดปล่อยโพซิตรอนจะเป็น บีตาบวก (^+) พลังงานจลน์ของอนุภาคบีตามีพิสัยสเปกตรัมต่อเนื่องจาก 0 ถึงค่าสูงสุดที่จะเป็นไป (Q) ซึ่งขึ้นกับสภาวะนิวเคลียร์ของต้นกำเนิดและลูกที่เกี่ยวข้องกับการสลาย โดยทั่วไป Q มีค่าประมาณ 1 MeV แต่สามารถมีพิสัยจากสองสาม keV ไปจนถึง สิบ MeV อนุภาคบีตากระตุ้นส่วนใหญ่มีความเร็วสูงมากเป็นซึ่งมีความเร็วใกล้เคียงอัตราเร็วของแสง.

ใหม่!!: ตารางธาตุและการสลายให้อนุภาคบีตา · ดูเพิ่มเติม »

การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ (หน้าข้อมูล)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ตารางธาตุและการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ (หน้าข้อมูล) · ดูเพิ่มเติม »

มวลอะตอม

อะตอมของ ลิเทียม-7 ที่ทันสมัยประกอบไปด้วย 3 โปรตอน 4 นิวตรอน และ 3 อิเล็กตรอน (มวลของอิเล็กตรอนทั้งหมดจะเป็น ~1/4300 ของมวลของนิวเคลียส) มันมีมวล 7.016 u ลิเทียม-6 ที่หายากในธรรมชาติ (มวล 6.015 u) มีนิวตรอนเพียง 3 ตัว เป็นผลให้มวลอะตอม (เฉลี่ย) ลดลงเหลือเพียง 6.941 u มวลอะตอม (ma) (อังกฤษ: Atomic mass) คือมวลของอนุภาคของอะตอมหรืออนุภาคย่อยของอะตอมหรือโมเลกุลของธาตุใด ๆ มีหน่วยเป็น หน่วยมวลอะตอมหรือเอเอ็มยู (unified Atomic Mass Unit - UAMU) หรือแค่ "u" โดย 1 u มีค่าเท่ากับ 1/12 ของมวลของหนึ่งอะตอมนิ่งของคาร์บอน-12 หรือ 1.66 x 10-24 กรัม โดยน้ำหนักนี้เทียบมาจาก 1 อะตอมของไฮโดรเจน หรือ 1/16 ของ 1 อะตอมของออกซิเจน สำหรับอะตอมทั่วไป มวลของโปรตอนและนิวตรอนเกือบจะเป็นมวลทั้งหมดของอะตอม และมวลอะตอมที่มีค่าเป็น u เกือบจะเป็นค่าเดียวกับเลขมวล.

ใหม่!!: ตารางธาตุและมวลอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

มีเทน

มีเทน (Methane) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนพวกแอลเคน สูตรเคมี คือ CH4 เป็นแก๊สไม่มีสี ติดไฟได้ เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของแก๊สธรรมชาติ แก๊สมีเทนอาจได้มาจากการหมักมูลสัตว์และนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก ก๊าซมีเทนอาจพบได้ในชั้นถ่านหิน (Coal Bed Methane) โดยจากกระบวนการเกิดถ่านหินทำให้ก๊าซสะสมตัวและกักเก็บอยู่ในช่องว่างในเนื้อถ่านหิน.

ใหม่!!: ตารางธาตุและมีเทน · ดูเพิ่มเติม »

รัศมีอะตอม

รัศมีอะตอม คือ ระยะห่างระหว่างนิวเคลียสของอะตอมถึงอิเล็กตรอนนอกสุดของอะตอมนั้นในสภาพที่เสถียรซึ่งวัดได้ในหน่วยพิโกเมตรหรืออังสตรอม รัศมีอะตอมสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ขึ้นอยู่กับชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมของธาตุนั้นๆ ได้แก่ รัศมีโควาเลนต์ รัศมีแวนเดอร์วาลส์ และรัศมีโลห.

ใหม่!!: ตารางธาตุและรัศมีอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

รัทเทอร์ฟอร์เดียม

รัทเทอร์ฟอร์เดียม (Rutherfordium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 104 และสัญลักษณ์คือ Rf รัทเทอร์ฟอร์เดียมเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่สังเคราะห์ในห้องทดลอง ไอโซโทปที่มีเสถียรภาพมีครึ่งชีวิตน้อยกว่า 70 วินาที มีสมบัติทางเคมีคล้ายแฮฟเนียม รัทเทอร์ฟอร์เดียม ตั้งชื่อตาม เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด รัททเอร์ฟอร์ด รัททเอร์ฟอร์ด รัททเอร์ฟอร์ด.

ใหม่!!: ตารางธาตุและรัทเทอร์ฟอร์เดียม · ดูเพิ่มเติม »

รายการธาตุเคมี

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ตารางธาตุและรายการธาตุเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด ไฟน์แมน

ริชาร์ด ฟิลลิปส์ ไฟน์แมน (Richard Phillips Feynman) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 เสียชีวิต 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 เป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ ที่ทรงคุณค่าและมีอิทธิพลมากที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในการจัดอันดับนักฟิสิกส์ยอดเยี่ยมตลอดกาลของโลก โดยสำนักข่าวบีบีซี ที่ให้นักฟิสิกส์ชั้นนำของโลกร่วม 100 คนช่วยกันตัดสิน ไฟน์แมน เป็นนักฟิสิกส์สมัยใหม่เพียงคนเดียว ที่ชนะใจเหล่านักฟิสิกส์ชั้นนำทั่วโลก โดยติดอันดับ 10 คนแรกของโลก (สมัยใหม่ในที่นี้ คือนับหลังจากยุคทองของทฤษฎีควอนตัม คือในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน ค.ศ. 2005) แม้แต่นักฟิสิกส์ผู้โด่งดังอย่างสตีเฟ่น ฮอว์คิง ก็ยังได้เพียงอันดับ 16 ในผลโหวต แน่นอนผลโหวตนี้ไม่สามารถตัดสินอะไรได้ แต่ก็เป็นเครื่องบ่งชี้อย่างดีว่า ไฟน์แมนมีอิทธิพลต่อวงการฟิสิกส์ยุคปัจจุบันแค่ไหน ทั้งในแง่ผลงานทางวิชาการ การสอนหนังสือ และการใช้ชีวิต ผลงานของไฟน์แมนมีมากมาย เช่น การขยายทฤษฎีพลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัมให้กว้างใหญ่ขึ้นมาก ซึ่งนำไปสู่รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ เมื่อปี ค.ศ. 1965 ซึ่งเขาได้ร่วมกับจูเลียน ชวิงเกอร์ และโทะโมะนะกะ ชินอิจิโร ไฟน์แมนปฏิเสธตำแหน่งนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ที่ที่ไอน์สไตน์อยู่, เพียงเพราะเขาต้องการสอนหนังสือให้กับเด็ก ครั้งหนึ่งเขาเคยพูดว่า "ผมอยากสอน เพราะในตอนที่ผมไม่มีไอเดียอะไรใหม่ ๆ ในงานวิจัย ผมก็ยังสามารถให้อะไรกับสังคมได้" ไฟน์แมนตัดสินใจรับตำแหน่งที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (แคลเทค) สร้างยุคทองของมหาวิทยาลัย ร่วมกับเมอเรย์ เกลมานน์ ผู้คิดค้นทฤษฎีควาร์ก, ไลนัส พอลลิง หนึ่งในนักเคมีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 หนึ่งในผู้คิดค้นทฤษฎีควอนตัมเคมี และนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำท่านอื่นๆ ในแง่ของการเป็นอาจารย์ เขาได้เขียนคำบรรยายฟิสิกส์ของไฟน์แมน (Feynman Lectures on Physics) อันโด่งดัง ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้สอนวิชาฟิสิกส์เป็นจำนวนมาก ทั้งในแง่เนื้อหาและการนำเสนอ เป็นการพลิกการเรียนการสอนฟิสิกส์แบบเก่า ๆ ให้เข้าใจง่าย นอกจากนั้นเขายังเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโลก ในโครงการแมนฮัตตัน เป็นหนึ่งในผู้ตรวจสอบการระเบิดของกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ และเป็นผู้ริเริ่มเสนอแนวคิดของนาโนเทคโนโลยี.

ใหม่!!: ตารางธาตุและริชาร์ด ไฟน์แมน · ดูเพิ่มเติม »

ลอว์เรนเซียม

ลอว์เรนเซียม (Lawrencium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 103 และสัญลักษณ์คือ Lr ลอว์เรนเซียมเป็นธาตุโลหะสีขาวเงินหรือสีเทาที่สังเคราะห์ในห้องทดลองจากธาตุแคลิฟอร์เนียม ลอว์เรนเซียม ตั้งชื่อตาม เออร์เนส ลอว์เรนซ์ (Ernest Lawrence).

ใหม่!!: ตารางธาตุและลอว์เรนเซียม · ดูเพิ่มเติม »

ลิเวอร์มอเรียม

ลิเวอร์มอเรียม (Livermorium) เป็น ธาตุในกลุ่มโลหะหลังทรานซิชัน ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 116 และมีสัญลักษณ์ Lv ชื่อนี้ตั้งขึ้นโดย IUPAC เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ตารางธาตุและลิเวอร์มอเรียม · ดูเพิ่มเติม »

ลิเทียม

ลิเทียม (Lithium) เป็นธาตุมีสัญลักษณ์ Li และเลขอะตอม 3 ในตารางธาตุ ตั้งอยู่ในกลุ่ม 1 ในกลุ่มโลหะอัลคาไล ลิเทียมบริสุทธิ์ เป็นโลหะที่อ่อนนุ่ม และมีสีขาวเงิน ซึ่งถูกออกซิไดส์เร็วในอากาศและน้ำ ลิเทียมเป็นธาตุของแข็ง ที่เบาที่สุด และใช้มากในโลหะผสมสำหรับการนำความร้อน ในถ่านไฟฉายและเป็นส่วนผสมในยาบางชนิดที่เรียกว่า "mood stabilizer".

ใหม่!!: ตารางธาตุและลิเทียม · ดูเพิ่มเติม »

ลูทีเชียม

ลูทีเชียม (Lutetium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 71 และสัญลักษณ์คือ Lu ลูทีเชียมเป็นธาตุโลหะที่อยู่ในกลุ่มหายากมักพบอยู่กับอิตเทรียม ใช้ประโยชน์ในโลหะผสมและเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี หมวดหมู่:ตารางธาตุ หมวดหมู่:วัสดุศาสตร์ หมวดหมู่:ธาตุเคมี.

ใหม่!!: ตารางธาตุและลูทีเชียม · ดูเพิ่มเติม »

สมบัติทางเคมี

"สมบัติทางเคมี" (Chemical property) เป็นคำอรรถาธิบายที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของวัสดุที่สภาวะมาตรฐาน (คือ ที่อุณหภูมิห้อง ความกดดันบรรยากาศเท่ากับ 1) สมบัติเหล่านี้จะปรากฏระหว่างปฏิกิริยาเคมี คำจำกัดความนี้จะคอบคุมเนื้อหาดังนี้.

ใหม่!!: ตารางธาตุและสมบัติทางเคมี · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ

หภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (International Union of Pure and Applied Chemistry, ย่อ: IUPAC /ไอยูแพ็ก/) เป็นสหพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งประกอบด้วยองค์กรที่เป็นตัวแทนของนักเคมีในแต่ละประเทศ สหภาพฯ เป็นสมาชิกของสภาสหภาพวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (ICSU) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำนักงานบริหาร หรือที่รู้จักกันในชื่อ "สำนักเลขาธิการ IUPAC" ตั้งอยู่ที่อุทยานสามเหลี่ยมวิจัย รัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา สำนักงานบริหารแห่งนี้นำโดยผู้อำนวยการบริหารของ IUPAC IUPAC ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ตารางธาตุและสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน

ในเคมีและฟิสิกส์อะตอม สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (Electron affinity) ของอะตอมหรือโมเลกุลคือค่าที่แสดงถึงปริมาณพลังงานที่ ถูกปล่อยออกมา เมื่ออิเล็กตรอนถูกเพิ่มเข้าไปในอะตอมหรือโมเลกุลที่เป็นกลางทางไฟฟ้า ในสถานะแก๊สเพื่อทำให้เกิดไอออนประจุลบ ในฟิสิกส์ของแข็ง คำนิยามของ "สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน" จะแตกต่างออกไป โดยสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนในความหมายของฟิสิกส์ของแข็ง คือ พลังงาน ที่ได้รับ จากอิเล็กตรอนที่กำลังเคลื่อนที่ออกจากสุญญาก.

ใหม่!!: ตารางธาตุและสัมพรรคภาพอิเล็กตรอน · ดูเพิ่มเติม »

สังกะสี

ังกะสี (Zinc) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 30 และสัญลักษณ์คือ Zn สังกะสีอยู่ในตารางธาตุหมู่ 12 ชื่อในภาษาอังกฤษมาจากภาษาเยอรมันว่า Zink เป็นธาตุประเภทโลหะที่มีความไวต่อปฏิกิริยาเคมีพอสมควรกับออกซิเจนและธาตุที่ไม่ใช่โลหะ สังกะสีเมื่อทำปฏิกิริยากับกรดเจือจางจะปล่อยก๊าซไฮโดรเจนออก ธาตุชนิดนี้เป็นโลหะธาตุที่มีลักษณะที่เป็นสีเงิน มันวาว เป็นที่นิยมนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมมากมาย เพื่อเป็นโลหะโครงสร้างหรือโลหะผสมกับโลหะอื่นสำหรับประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ นอกจากนั้น สังกะสียังเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในร่างกายมนุษย์ และสัตว์ เนื่องจากจัดเป็นแร่ที่ร่างกายต้องการชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: ตารางธาตุและสังกะสี · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบ

น้ำ ถือเป็นสารประกอบทางเคมีอย่างหนึ่ง สารประกอบ เป็นสารเคมีที่เกิดจากธาตุเคมีตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมารวมตัวกันโดย พันธะเคมีด้วยอัตราส่วนของส่วนประกอบที่แน่นอน ตัวอย่าง เช่น ไดไฮโรเจนโมน็อกไซด์ หรือ น้ำ มีสูตรเคมีคือ H2Oซึ่งเป็นสารที่ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 2 อะตอม และ ออกซิเจน 1 อะตอม ในสารประกอบอัตราส่วนของส่วนประกอบจะต้องคงที่และตัวชี้วัดความเป็นสารประกอบที่สำคัญคือ คุณสมบัติทางกายภาพ ซึ่งจะแตกต่างจาก ของผสม (mixture) หรือ อัลลอย (alloy) เช่น ทองเหลือง (brass) ซูเปอร์คอนดักเตอร์ YBCO, สารกึ่งตัวนำ อะลูมิเนียม แกลเลียม อาร์เซไนด์ (aluminium gallium arsenide) หรือ ช็อคโกแลต (chocolate) เพราะเราสามารถกำหนดอัตราส่วนของ ของผสมได้ ตัวกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสารประกอบที่สำคัญคือ สูตรเคมี (chemical formula) ซึ่งจะแสดงอัตราส่วนของอะตอมในสารประกอบนั้น ๆ และจำนวนอะตอมในโมเลกุลเดียว เช่น สูตรเคมีของ อีทีน (ethene) จะเป็นC2H4 ไม่ใช่ CH2) สูตรไม่ได้ระบุว่าสารประกอบประกอบด้วยโมเลกุล เช่น โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง, NaCl) เป็น สารประกอบไอออนิก (ionic compound).

ใหม่!!: ตารางธาตุและสารประกอบ · ดูเพิ่มเติม »

สถานะออกซิเดชัน

นะออกซิเดชัน (oxidation state)เป็นสมบัติที่สำคัญของอะตอมเมื่อเกิดเป็นสารประกอบ เนื่องจากสมบัติทางเคมีและกายภาพหลายอย่างสามารถอธิบายโดยใช้สถานะออกซิเดชัน ตลอดระยะเวลาผ่านมามีการนิยามคำว่า สถานะออกซิเดชันที่หลากหลายและยังมีข้อสับสนเกี่ยวกับคำว่า สถานะออกซิเดชัน (Oxpongsak stare) และ เลขออกซิเดชัน (Oxpongsak Number) ที่พบในหนังสือแบบเรียนต่างๆทั่วโลก ในปลายปี 2015 จึงมีผู้เสนอให้นิยามคำๆนี้ให้ชัดเจนและเป็นทางการพร้อมทั้งให้บอกวิธีการในการหาให้ชัดเจนด้ว.

ใหม่!!: ตารางธาตุและสถานะออกซิเดชัน · ดูเพิ่มเติม »

สแกนเดียม

แกนเดียม (Scandium) คือธาตุ ที่มีเลขอะตอม 21 และสัญลักษณ์คือ Sc สแกนเดียมอยู่ในตารางธาตุหมู่ 21 สแกนเดียมเป็นธาตุประเภททรานซิชัน (transition element) มีลักษณะสีขาวเงินอ่อนนุ่ม สแกนเดียมพบในแร่ธรรมชาติในประเทศแถบสแกนดิเนเวี.

ใหม่!!: ตารางธาตุและสแกนเดียม · ดูเพิ่มเติม »

หมู่ (ตารางธาตุ)

ตารางธาตุ หมู่ตารางธาตุ (periodic table group) คือคอลัมน์ในแนวดิ่งของธาตุเคมีในตารางธาตุ มีทั้งหมด 18 หมู่ในตารางธาตุมาตรฐานในยุคใหม่นี้การจัดหมวดหมู่ของธาตุในตารางธาตุจะพิจารณาจากการโคจรของอิเล็กตรอนในวงโคจรชั้นนอกสุดของอะตอม ซึ่งคุณสมบัติทางเคมีของธาตุจะขึ้นอยู่กับการให้อิเล็กตรอนชั้นนอกสุดนี้ ธาตุที่อะตอมมีวงโคจรของอิเล็กตรอนชั้นนอกสุดเหมือนกันมักจะมีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์เหมือนกัน หมู่ตารางธาตุมีรายละเอียดดังนี้ (ในวงเล็บเป็นระบบเก่า: ยุโรป-อเมริกัน).

ใหม่!!: ตารางธาตุและหมู่ (ตารางธาตุ) · ดูเพิ่มเติม »

หมู่คาร์บอน

ตุหมู่ 14 (group 14 element) หรือ ธาตุหมู่คาร์บอน (carbon group) คือ อนุกรมเคมีของธาตุเคมีในตารางธาตุ ที่มีจำนวนอิเล็กตรอนในวงโคจรชั้นนอกสุดของอะตอมเท่ากับ 4 แนวโน้มการสูญเสียอิเล็กตรอนของธาตุเหล่านี้จะแปรผันตามขนาดของอะตอมที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งก็หมายถึงจำนวนเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้นด้วย ธาตุคาร์บอนตามลำพังตัวมันเองจะแสดงตัวเป็นไอออนปะจุลบ คือ คาร์ไบด์ไออน (carbide (C4-) ions) ส่วนทั้งซิลิกอน และ เจอร์เมเนียมเป็นธาตุกึ่งโลหะจะแสดงตัวเป็นไอออน +4 (+4 ions) ธาตุหมู่ 14 ประกอบด้ว.

ใหม่!!: ตารางธาตุและหมู่คาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะแห่งเสถียรภาพ

Z.

ใหม่!!: ตารางธาตุและหมู่เกาะแห่งเสถียรภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ห่วงโซ่การสลาย

ในฟิสิกส์นิวเคลียร์ ห่วงโซ่การสลาย (Decay chain) คือ การสลายให้กัมมันตรังสีของผลผลิตจากการสลายที่มีกัมมันตรังสีที่ไม่เสถียร เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องแบบห่วงโซ่ของการเปลี่ยนแปลงไอโซโทปของผลผลิตนั้น กระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นห่วงโซ่นี้บางครั้งเรียกว่า "การลดหลั่นของกัมมันตรังสี" (radioactive cascades) ไอโซโทปรังสีส่วนใหญ่จะไม่สลายตัวโดยตรงไปสู่สถานะที่เสถียร แต่มีการสลายตัวโดยลำดับจนกระทั่งในที่สุดไอโซโทปนั้นจะเสถียร ขั้นตอนการสลายตัวจะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของพวกมันที่มีต่อขั้นตอนก่อนหน้านี้หรือขั้นตอนถัดไป ไอโซโทปพ่อแม่เป็นพวกที่มีการสลายจนกลายเป็นไอโซโทปลูกสาว หนึ่งในตัวอย่างนี้คือยูเรเนียม (เลขอะตอม 92) สลายกลายเป็นทอเรียม (เลขอะตอม 90) ไอโซโทปลูกสาวอาจจะเสถียรหรืออาจจะสลายต่อไปเป็นไอโซโทปลูกสาวของตัวมันเอง ไอโซโทปลูกสาวของลูกสาวบางครั้งเรียกว่าไอโซโทปหลานสาว เวลาที่ใช้สำหรับอะตอมพ่อแม่หนึ่งตัวที่จะสลายไปเป็นอะตอมหนึ่งตัวของไอโซโทปลูกสาวของมันอาจแตกต่างกันไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่สำหรับห่วงโซ่พ่อ-ลูกที่แตกต่างกันเท่านั้น แต่ยังสำหรับการจับคู่ที่เหมือนกันของไอโซโทปของพ่อแม่และลูกสาวอีกด้วย ในขณะที่การสลายตัวของอะตอมเดี่ยวจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ การสลายตัวของประชากรเริ่มต้นของอะตอมที่เหมือนกันในช่วงเวลา t ตามด้วยการกระจายของการสลายแบบเอ๊กโปเนนเชียล e-λt เมื่อ λ เป็นค่าคงที่การสลายตัว เนื่องจากธรรมชาติของเอ๊กโปเนนเชียลนี้ หนึ่งในคุณสมบัติของไอโซโทปคือครึ่งชีวิตของมัน ครึ่งชีวิตเป็นเวลาที่ครึ่งหนึ่งของจำนวนเริ่มต้นของไอโซโทปรังสีผู้พ่อแม่ที่เหมือนกันได้มีการสลายตัวไปเป็นลูกสาวของพวกมัน ครึ่งชีวิตได้มีการกำหนดในห้องปฏิบัติการสำหรับหลายพันของไอโซโทปรังสี (หรือนิวไคลด์รังสี (radionuclide)) ครึ่งชีวิตเหล่านี้สามารถมีช่วงเวลาจากเกือบทันทีจนนานมากถึง 1019 ปีหรือมากกว่า ในขั้นตอนกลางแต่ละช่วง จะมีการปล่อยกัมมันตภาพรังสีจำนวนเดียวกันกับไอโซโทปดั้งเดิม (แต่ไม่ใช่พลังงานเดียวกัน) เมื่อมีความสมดุล ไอโซโทปหลานจะปรากฏให้เห็นในสัดส่วนโดยตรงกับครึ่งชีวิตของมัน แต่เนื่องจากกิจกรรมของมันเป็นสัดส่วนผกผันกับครึ่งชีวิตของมัน นิวไคลด์แต่ละตัวในห่วงโซ่การสลายในที่สุดก็ก่อให้เกิดกัมมันตภาพรังสีมากเท่ากับส่วนหัวของห่วงโซ่ แม้ว่าจะไม่ใช่พลังงานเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นยูเรเนียม-238 มีกัมมันตรังสีอย่างอ่อน แต่ pitchblende ซึ่งเป็นแร่ยูเรเนียมดิบ มีกัมมันตรังสีมากกว่าเป็น 13 เท่าของโลหะยูเรเนียมบริสุทธิ์ในปริมาณที่เท่ากันเพราะมันประกอบด้วยเรเดียมและไอโซโทปลูกสาวอื่น.

ใหม่!!: ตารางธาตุและห่วงโซ่การสลาย · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: ตารางธาตุและออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

อะลูมิเนียม

มื่อวัดในทั้งปริมาณและมูลค่า การใช้อะลูมิเนียมมีมากกว่าโลหะอื่น ๆ ยกเว้นเหล็ก และมีความสำคัญในเศรษฐกิจโลกทุกด้าน อะลูมิเนียมบริสุทธิ์มีแรงต้านการดึงต่ำ แต่สามารถนำไปผสมกับธาตุต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม แมงกานีส และซิลิกอน (เช่น duralumin) ในปัจจุบันวัสดุเกือบทั้งหมดที่เรียกว่าอะลูมิเนียมเป็นโลหะผสมของอะลูมิเนียม อะลูมิเนียมบริสุทธิ์พบเฉพาะเมื่อต้องการความทนต่อการกัดกร่อนมากกว่าความแข็งแรงและความแข็ง เมื่อรวมกับกระบวนการทางความร้อนและกลการ (thermo-mechanical processing) โลหะผสมของอะลูมิเนียมมีคุณสมบัติทางกลศาสตร์ที่ดีขึ้น โลหะผสมอะลูมิเนียมเป็นส่วนสำคัญของเครื่องบินและจรวดเนื่องจากมีอัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง อะลูมิเนียมสามารถสะท้อนแสงที่มองเห็นได้ดีเยี่ยม (~99%) และสามารถสะท้อนแสงอินฟราเรดได้ดี (~95%) อะลูมิเนียมชั้นบาง ๆ สามารถสร้างบนพื้นผิวเรียบด้วยวิธีการควบแน่นของไอสารเคมี (chemical vapor deposition) หรือวิธีการทางเคมี เพื่อสร้างผิวเคลือบออปติคัล (optical coating) และกระจกเงา ผิวเคลือบเหล่านี้จะเกิดชั้นอะลูมิเนียมออกไซด์ที่บางยิ่งกว่า ที่ไม่สึกกร่อนเหมือนผิวเคลือบเงิน กระจกเงาเกือบทั้งหมดสร้างโดยใช้อะลูมิเนียมชั้นบางบนผิวหลังของแผ่นกระจกลอย (float glass).

ใหม่!!: ตารางธาตุและอะลูมิเนียม · ดูเพิ่มเติม »

อัตราเร็วของแสง

ปรากฏการณ์เชเรนคอฟ ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นผลมาจาก อิเล็กตรอนเคลื่อนที่เร็วกว่าแสงที่เดินทางในน้ำ อัตราเร็วของแสง (speed of light) ในสุญญากาศ มีนิยามว่าเท่ากับ 299,792,458 เมตรต่อวินาที (หรือ 1,080,000,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือประมาณ 186,000.000 ไมล์ต่อวินาที หรือ 671,000,000 ไมล์ต่อชั่วโมง) ค่านี้เขียนแทนด้วยตัว c ซึ่งมาจากภาษาละตินคำว่า celeritas (แปลว่า อัตราเร็ว) และเรียกว่าเป็นค่าคงที่ของไอน์สไตน์ แสงเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดนั่นคือไม่ว่าผู้สังเกตจะเคลื่อนที่หรือหยุดนิ่ง ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด ด้วยเงื่อนไขใด อัตราเร็วของแสงที่ผู้สังเกตคนนั้นวัดได้ จะเท่าเดิมเสมอ ซึ่งขัดกับความรู้สึกของคนทั่วไป แต่เป็นไปตาม ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ สังเกตว่าอัตราเร็วของแสงในสุญญากาศ เป็น นิยาม ไม่ใช่ การวัด ในหน่วยเอสไอกำหนดให้ เมตร มีนิยามว่าเป็นระยะทางที่แสงเดินทางในสุญญากาศในเวลา 1/299,792,458 วินาที แสงที่เดินทางผ่านตัวกลางโปร่งแสง (คือไม่เป็นสุญญากาศ) จะมีอัตราเร็วต่ำกว่า c อัตราส่วนของ c ต่ออัตราเร็วของแสงที่เดินทางผ่านในตัวกลาง เรียกว่า ดรรชนีหักเหของตัวกลางนั้น โดยเมื่อผ่านแก้ว จะมีดรรชนีหักเห 1.5-1.9 ผ่านน้ำจะมีดรรชีนีหักเห 1.3330 ผ่านเบนซินจะมีดรรชนีหักเห 1.5012 ผ่านคาร์บอนไดซัลไฟต์จะมีดรรชนีหักเห 1.6276 ผ่านเพชรจะมีดรรชนีหักเห 2.417 ผ่านน้ำแข็งจะมีดรรชนีหักเห 1.309.

ใหม่!!: ตารางธาตุและอัตราเร็วของแสง · ดูเพิ่มเติม »

อิตเทรียม

อิตเทรียม (อังกฤษ: Yttrium) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 39 และสัญลักษณ์คือ Y อิตเทรียมอยู่ในตารางธาตุหมู่ 39 อิตเทรียมเป็นโลหะประเภททรานซิชันมีสีขาวเงิน พบเล็กน้อยในแร่บนพื้นโลกสารประกอบของมันใช้ทำสีแดงในทีวีสี อิตเทรียม อิตเทรียม อิตเทรียม อิตเทรียม.

ใหม่!!: ตารางธาตุและอิตเทรียม · ดูเพิ่มเติม »

อิตเทอร์เบียม

อิตเทอร์เบียม (Ytterbium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 70 และสัญลักษณ์คือ Yb อิตเทอร์เบียมเป็นธาตุโลหะเอิร์ธหายากมีลักษณะสีเงินวาวอ่อนนุ่มสามารถตัดได้ด้วยมีดและตีเป็นแผ่นได้ อิตเทอร์เบียมเป็นธาตุในกลุ่มแลนทาไนด์ (lanthanide) พบมากในแร่โมนาไซต์ (monazite) และแกโดลิไนต์ (gadolinite) และซีโนไทม์ (xenotime) อิตเทอร์เบียม อิตเทอร์เบียม อิตเทอร์เบียม อิตเทอร์เบียม.

ใหม่!!: ตารางธาตุและอิตเทอร์เบียม · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กโตรเนกาทิวิตี

อิเล็กโตรเนกาติวิตี (อังกฤษ: Electronegativity,::\chi) เป็นค่าที่แสดงถึงความสามารถของอะตอมในการที่จะดึงอิเล็กตรอนเข้าหาตัวเองเมื่อเกิดพันธะเคมี (chemical bond) ทั้งนี้ มีการเสนอวิธีการแสดงอิเล็กโตรเนกาทิวิตีหลายวิธี อาทิ เพาลิง สเกล (Pauling scale) ถูกเสนอในปี ค.ศ. 1932 มูลลิเกน สเกล (Mulliken scale) ถูกเสนอในปี ค.ศ. 1934 และ ออลล์เรด-โรโชสเกล (Allred-Rochow scale).

ใหม่!!: ตารางธาตุและอิเล็กโตรเนกาทิวิตี · ดูเพิ่มเติม »

อูนอูนเอนเนียม

อูนอูนเอนเนียม (Ununennium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 119 และมีสัญลักษณ์ Uue "อูนอูนเอนเนียม" เป็นชื่อชั่วคราวในระบบ IUPAC (บางตำราอ่านว่า "อูนันเอนเนียม") และมีชื่อชั่วคราวอีกชื่อตามพยากรณ์ของดมีตรี เมนเดเลเยฟว่า "เอกา-แฟรนเซียม" (eka-francium) อูนอูนเอนเนียมเป็นธาตุในหมู่โลหะแอลคาไลและเป็นธาตุแรกในคาบที่ 8.

ใหม่!!: ตารางธาตุและอูนอูนเอนเนียม · ดูเพิ่มเติม »

อูนไบออกเทียม

อูนไบออกเทียม (Unbioctium, Unbioctium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 128 และมีสัญลักษณ์ Ubo "อูนไบออกเทียม" เป็นชื่อชั่วคราวในระบบ IUPAC และมีชื่อชั่วคราวอีกชื่อตามพยากรณ์ของดมีตรี เมนเดเลเยฟว่า "เอกา-คูเรียม" (eka-curium) อูนไบออกเทียมเป็นธาตุในหมู่ซูเปอร์แอกทิไน.

ใหม่!!: ตารางธาตุและอูนไบออกเทียม · ดูเพิ่มเติม »

อูนไบนิลเลียม

อูนไบนิลเลียม (Unbinilium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 120 และมีสัญลักษณ์ Ubn "อูนไบนิลเลียม" เป็นชื่อชั่วคราวในระบบ IUPAC และมีชื่อชั่วคราวอีกชื่อตามพยากรณ์ของดมีตรี เมนเดเลเยฟว่า "เอกา-เรเดียม" (eka-radium) อูนไบนิลเลียมเป็นธาตุในหมู่โลหะแอลคาไลน์เอิร์ธและเป็นธาตุมีลักษณะคล้ายแบเรียมและเรเดียม.

ใหม่!!: ตารางธาตุและอูนไบนิลเลียม · ดูเพิ่มเติม »

อูนไบเฮกเซียม

อูนไบเฮกเซียม (Unbihexium, Unbihexium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 126 และมีสัญลักษณ์ Ubh "อูนไบเฮกเซียม" เป็นชื่อชั่วคราวในระบบ IUPAC และมีชื่อชั่วคราวอีกชื่อตามพยากรณ์ของดมีตรี เมนเดเลเยฟว่า "เอกา-พลูโทเนียม" (eka-plutonium) อูนไบเฮกเซียมเป็นธาตุในหมู่ซูเปอร์แอกทิไน.

ใหม่!!: ตารางธาตุและอูนไบเฮกเซียม · ดูเพิ่มเติม »

อนุภาคมูลฐาน

แบบจำลองมาตรฐานของอนุภาคมูลฐาน ในฟิสิกส์ของอนุภาค อนุภาคมูลฐาน (elementary particle หรือ fundamental particle) หมายถึงอนุภาคหนึ่งที่โครงสร้างย่อยไม่เป็นที่รู้จัก ดังนั้นเราจึงไม่รู้ว่ามันประกอบขึ้นด้วยอนุภาคอื่นหรือไม่ มันเป็นหน่วยย่อยที่สุดในทางทฤษฎีฟิสิกส์ทั่วไป เราไม่ถือว่ามันประกอบขึ้นมาจากสิ่งใดอีก อนุภาคมูลฐานที่เรารู้จักกันดีที่สุดคือ อิเล็กตรอน ซึ่งไม่สามารถแยกย่อยเป็นอนุภาคใดๆได้อีก อนุภาคมูลฐานที่รู้จักแล้ว ได้แก่ เฟอร์มิออนพื้นฐาน (ควาร์ก, เลปตอน, ปฏิควาร์ก และปฏิเลปตอน) ซึ่งอนุภาคเหล่านี้โดยทั่วไปเป็น "อนุภาคสสาร" และ "อนุภาคปฏิสสาร" อีกชนิดหนึ่งได้แก่ โบซอนพื้นฐาน (เกจโบซอน และอนุภาคฮิกส์) ซึ่งอนุภาคเหล่านี้โดยทั่วไปเป็น "อนุภาคแรง" ที่เป็นตัวเชื่อมปฏิสัมพันธ์พื้นฐานในหมู่เฟอร์มิออนด้วยกัน อนุภาคที่ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานตั้งแต่สองอนุภาคขึ้นไปจะเป็น "อนุภาคผสม" (composite particle) สสารในชีวิตประจำวันจะประกอบด้วยอะตอม ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกสันนิษฐานว่ามันเป็นอนุภาคมูลฐานของสสาร คำว่า "อะตอม" แปลว่า "แบ่งไม่ได้" ในภาษากรีก แม้ว่าการมีอยู่ของอะตอมยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจนถึงประมาณปี 1910 อย่างที่นักฟิสิกส์ชั้นนำบางคนถือว่าโมเลกุลเป็นภาพลวงตาทางคณิตศาสตร์ และถือว่าสสารอย่างสุดขั้วที่สุดจะประกอบด้วยพลังงาน ในไม่ช้า มีการค้นพบว่าอะตอมประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย เมื่อเริ่มทศวรรษที่ 1930 อิเล็กตรอนและโปรตอนได้ถูกค้นพบ พร้อมกับโฟตอนซึ่งเป็นอนุภาคของรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ในช่วงเวลานั้น การค้นพบล่าสุดของกลศาสตร์ควอนตัมได้มีก​​ารเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของแนวคิดของอนุภาค อย่างเช่นอนุภาคเดี่ยวดูเหมือนจะสามารถขยายสนามได้อย่างที่คลื่นสามารถทำได้ (ทวิภาคของอนุภาคกับคลื่น (particle-wave duality)) ข้อความที่ขัดแย้งยังคงหลีกเลี่ยงคำอธิบายที่น่าพอใจ โดยผ่านทางทฤษฎีควอนตัม โปรตอนและนิวตรอนถูกพบว่าประกอบด้วยควาร์กหลายตัว ได้แก่อัพควาร์กและดาวน์ควาร์ก ซึ่งในปัจจุบันถือว่าพวกนี้เป็นอนุภาคมูลฐาน และภายในโมเลกุลหนึ่ง สามองศาอิสระของอิเล็กตรอน (ประจุ, สปินและวงโคจร) สามารถแยกผ่านทาง wavefunction ออกเป็นสาม'อนุภาคคล้าย' (quasiparticle) (Holon, spinon และ Orbiton) แต่อิเล็กตรอนอิสระ ซึ่งไม่ได้กำลังโคจรรอบนิวเคลียส จะขาดการเคลื่อนไหวในการโคจร และจะปรากฏในรูปที่แบ่งแยกไม่ได้ จึงยังคงถือว่าเป็นอนุภาคมูลฐาน ราวปี 1980 สถานะของอนุภาคมูลฐานที่เป็นมูลฐานอย่างแท้จริง-"องค์ประกอบสุดชั้ว" ของสสาร- ได้ถูกละทิ้งเป็นส่วนใหญ่สำหรับแนวโน้มที่จะเป็นการปฏิบัติมากขึ้น ได้ถูกประมวลอยู่ในแบบจำลองมาตรฐานของฟิสิกส์ของอนุภาค ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ประสบความสำเร็จจากทดลองทางวิทยาศาสตร์มากที่สุด การขยายความและทฤษฎีทั้งหลายที่อธิบายเกินกว่าแบบจำลองมาตรฐาน รวมทั้งทฤษฎี supersymmetry ที่นิยมกันอย่างสุดขั้ว ได้เพิ่มจำนวนอนุภาคมูลฐานเป็นสองเท่าโดยการตั้งสมมติฐานที่แต่ละอนุภาคที่รู้จักกันแล้วควบรวมเข้ากับพันธมิตร"เงา" ทำให้มีจำนวนอนุภาคมากกว่าเดิม แม้ว่าสุดยอดพันธมิตรดังกล่าวทั้งหมดยังคงไม่ได้ถูกค้นพบแต่อย่างใด ในขณะเดียวกัน โบซอนมูลฐานที่เป็นตัวเชื่อมแรงโน้มถ่วงที่เรียกว่า แกรวิตอน (Graviton) ก็ยังคงเป็นสมมุติฐานอยู.

ใหม่!!: ตารางธาตุและอนุภาคมูลฐาน · ดูเพิ่มเติม »

อโลหะ

แก๊สมีตระกูลนอกเหนือจากไฮโดรเจน อโลหะอยู่ในบล็อก-p ธาตุฮีเลียมแม้เป็นธาตุบล็อก-s แต่ปกติวางอยู่เหนือนีออน (ในบล็อก-p) เนื่องจากคุณสมบัติแก๊สมีตระกูลของมัน ในวิชาเคมี อโลหะเป็นธาตุเคมีซึ่งส่วนมากขาดคุณสมบัติของโลหะ ทางกายภาพ อโลหะมักกลายเป็นไอ (ระเหย) ง่าย มีความยืดหยุ่นต่ำ และเป็นฉนวนความร้อนและไฟฟ้าที่ดี ในทางเคมี ธาตุเหลานี้มักมีพลังงานไอออไนเซชันและค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตี (electronegativity) สูง และให้หรือได้อิเล็กตรอนเมื่อทำปฏิกิริยากับธาตุหรือสารประกอบอื่น มีสิบเจ็ดธาตุที่จัดเป็นอโลหะโดยทั่วไป ส่วนมากเป็นแก๊ส (ไฮโดรเจน ฮีเลียม ไนโตรเจน ออกซิเจน ฟลูออรีน นีออน คลอรีน อาร์กอน คริปทอน ซีนอนและเรดอน) หนึ่งธาตุเป็นของเหลว (โบรมีน) และส่วนน้อยเป็นของแข็ง (คาร์บอน ฟอสฟอรัส กำมะถัน เซเลเนียมและไอโอดีน) ธาตุอโลหะมีโครงสร้างซึ่งมีเลขโคออร์ดิเนชัน (อะตอมเพื่อนบ้านใกล้ที่สุด) น้อยลงเรื่อย ๆ เมื่อเลื่อนไปทางขวามือของตารางธาตุแบบมาตรฐาน อโลหะหลายอะตอมมีโครงสร้างที่มีอะตอมเพื่อนบ้านใกล้ที่สุดสามอะตอม เช่นในกรณีของคาร์บอน (ในสถานะมาตรฐานกราฟีน) หรือสองอะตอม เช่นในกรณีของกำมะถัน อโลหะสองอะตอม เช่น ไฮโดรเจน มีอะตอมเพื่อนบ้านใกล้ที่สุดหนึ่งอะตอม และแก๊สมีตระกูลอะตอมเดียว เช่น ฮีเลียม ไม่มีอะตอมเพื่อนบ้านใกล้ที่สุด ยิ่งมีจำนวนอะตอมเพื่อนบ้านใกล้ที่สุดน้อยลงเท่าใดยิ่งสัมพันธ์กับการลดลงของความเป็นโลหะและเพิ่มความเป็นอโลหะมากขึ้นเท่านั้น แต่ข้อแตกต่างระหว่างอโลหะสามหมวดในแง่ของความเป็นโลหะที่ลดนั้นไม่สัมบูรณ์ มีขอบเขตทับซ้อนกันเมื่อธาตุรอบนอกในแต่ละหมวดแสดง (หรือเริ่มแสดง) คุณสมบัติที่ต่างกันน้อย คล้ายลูกผสมหรือไม่ตรงแบบ แม้ว่าธาตุโลหะมีมากกว่าอโลหะห้าเท่า แต่ธาตุอโลหะสองธาตุ ไฮโดรเจนและฮีเลียม ประกอบเป็นร้อยละ 99 ของเอกภพที่สังเกตได้ และหนึ่งธาตุ ออกซิเจน ประกอบเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของเปลือกโลก มหาสมุทรและบรรยากาศของโลก สิ่งมีชีวิตยังประกอบด้วยอโลหะแทบทั้งหมด และธาตุอโลหะก่อสารประกอบมากกว่าโลหะมาก.

ใหม่!!: ตารางธาตุและอโลหะ · ดูเพิ่มเติม »

อ็อกเทฟ

อ็อกเทฟ (octave) หรือ ขั้นคู่แปดเพอร์เฟกต์ (perfect eighth) มักเขียนย่อเป็น 8ve หรือ P8 คือขั้นคู่เสียง (interval) ที่เทียบจากโน้ตดนตรีตัวหนึ่งไปสู่โน้ตตัวหนึ่งในระดับเสียงที่ต่างกัน ซึ่งโน้ตตัวนั้นมีความถี่เป็นครึ่งหนึ่งหรือเป็นสองเท่าจากโน้ตตัวเดิม และเหตุที่เรียกว่าขั้นคู่แปด เนื่องจากตัวโน้ตสองตัวที่อยู่ห่างกัน 8 ขั้นบนบันไดเสียง (หรือ 12 ครึ่งเสียง) จะเกิดสมบัติดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นบันไดเสียงเมเจอร์หรือบันไดเสียงไมเนอร.

ใหม่!!: ตารางธาตุและอ็อกเทฟ · ดูเพิ่มเติม »

อ็องตวน ลาวัวซีเย

อ็องตวน-โลร็อง เดอ ลาวัวซีเย (Antoine-Laurent de Lavoisier; 26 สิงหาคม พ.ศ. 2286 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2337) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้ซึ่งต้องจบชีวิตลงโดยกิโยติน เขามีผลงานสำคัญคือ ได้ตั้งกฎการอนุรักษ์มวล (หรือกฎทรงมวล) และการล้มล้างทฤษฎีโฟลจิสตัน ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการศึกษาวิชาเคมี.

ใหม่!!: ตารางธาตุและอ็องตวน ลาวัวซีเย · ดูเพิ่มเติม »

ฮัสเซียม

ัสเซียม (Hassium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 108 และสัญลักษณ์คือ Hs ฮัสเซียมเป็นธาตุที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น ไอโซโทปที่เสถียรของมันคือ Hs-265 มีครึ่งชีวิตประมาณ 2 มิลลิวินาที ฮัสเซียมมีอีกชื่อหนึ่งว่าเอกา-ออสเมียม (Eka-osmium).

ใหม่!!: ตารางธาตุและฮัสเซียม · ดูเพิ่มเติม »

ฮีเลียม

ีเลียม (Helium) เป็นธาตุเคมีที่มีสัญลักษณ์ว่า He และมีเลขอะตอมเท่ากับ 2 ฮีเลียมเป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่เป็นพิษ เฉื่อย มีอะตอมเดี่ยวซึ่งถูกจัดให้อยู่ในหมู่แก๊สมีตระกูลบนตารางธาตุ จุดเดือดและจุดหลอมเหลวของฮีเลียม มีค่าต่ำสุดกว่าบรรดาธาตุทั้งหมดในตารางธาตุ และมันจะปรากฏในอยู่รูปของแก๊สเท่านั้น ยกเว้นในสภาวะที่เย็นยิ่งยว.

ใหม่!!: ตารางธาตุและฮีเลียม · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น อเล็กซานเดอร์ เรนา นิวแลนส์

จอห์น อเล็กซานเดอร์ เรนา นิวแลนส์ (John Alexander Reina Newlands; 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2380 – 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2441) เป็นนักเคมีชาวอังกฤษผู้ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาตารางธาตุ หมวดหมู่:นักเคมีชาวอังกฤษ.

ใหม่!!: ตารางธาตุและจอห์น อเล็กซานเดอร์ เรนา นิวแลนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุ

ในทางเคมี ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานเลขอะตอม อันเป็นจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น ตัวอย่างธาตุที่คุ้นเคยกัน เช่น คาร์บอน ออกซิเจน อะลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง ทองคำ ปรอทและตะกั่ว จนถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: ตารางธาตุและธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุกึ่งโลหะ

ตุกึ่งโลหะ (metalloids) เป็นธาตุที่มีองค์ประกอบทางเคมีซึ่งมีคุณสมบัติก้ำกึ่งระหว่างสมบัติของโลหะกับอโลหะ โดยไม่มีการกำหนดมาตรฐานหรือข้อตกลงที่แน่นอนของการเป็นธาตุกึ่งโลหะ ส่วนใหญ่เป็นสารกึ่งตัวนำ (semiconductors) โดยปกติทั่วไปแล้วธาตุกึ่งโลหะ ประกอบด้วย 6 ธาตุ คือ โบรอน, ซิลิคอน, เจอร์เมเนียม, สารหนู, พลวงและเทลลูเรียม แต่บางครั้งการจำแนกธาตุกึ่งโลหะได้รวม คาร์บอน, อะลูมิเนียม, ซีลีเนียม, พอโลเนียมและแอสทาทีนไว้ด้วย ในตารางธาตุทั่วไปนั้นสามารถพบธาตุกึ่งโลหะได้ที่บริเวณเส้นทแยงมุมของ บล็อก-p โดยเริ่มจากโบรอนไปจนถึงแอสทาทีน ในบางตารางธาตุที่ประกอบด้วยเส้นแบ่งระหว่างโลหะกับอโลหะและธาตุกึ่งโลหะนั้นจะอยู่ติดกับเส้นแบ่งนี้ ธาตุกึ่งโลหะมีลักษณะเหมือนโลหะ แต่เปราะและนำไฟฟ้าได้ไม่ดี ในทางเคมีนั้นธาตุกึ่งโลหะมีสมบัติคล้ายกับธาตุอโลหะ และยังสามารถผสมกับโลหะได้เป็นอัลลอยหรือโลหะผสม คุณสมบัติทางฟิสิกส์และทางเคมีส่วนใหญ่เป็นกลางในธรรมชาติ สารประกอบและธาตุกึ่งโลหะใช้ในการผลิตโลหะผสม, สารชีวภาพ, ตัวเร่งปฏิกิริยา, สารทนไฟ, แก้วและใยแก้วนำแสง คุณสมบัติทางไฟฟ้าของซิลิกอนและเจอเมเนียมได้มีการใช้ประโยชน์ในสถานประกอบการอุตสาหกรรมของสารกึ่งตัวนำในปี 1950 และได้มีการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งในต้นปี 1960 กึ่งโลหะเป็นองค์ประกอบที่มีคุณสมบัติเป็นกลาง หรือเรียกว่าไฮบริด กึ่งโลหะได้เป็นที่แพร่หลายในปี 1940-1960 กึ่งโลหะบางครั้งถูกเรียกว่ากึ่งโลหะ จากการปฏิบัติที่นิยม กึ่งโลหะเป็นคำที่มีความหมายที่แตกต่างกันในทางฟิสิกส์มากกว่าในทางเคมี ทางฟิสิกส์จะมีความหมายโดยเฉพาะหมายถึงโครงสร้างวงอิเล็กทรอนิกส์ของสาร.

ใหม่!!: ตารางธาตุและธาตุกึ่งโลหะ · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุหมู่ 11

ตุหมู่ 11 (Group 11 element) คืออนุกรมเคมีของธาตุเคมีในตารางธาตุ ที่มีจำนวนอิเล็กตรอนในวงโคจรชั้นนอกสุดของอะตอมเท่ากับ 4 เป็นโลหะทรานซิชันหรือเรียกกันในชื่อเดิมว่าโลหะคอยน์เอจ(coinage metals)ซึ่งประกอบด้ว.

ใหม่!!: ตารางธาตุและธาตุหมู่ 11 · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุหมู่ 12

ตุหมู่ 12 (Group 12 element) คืออนุกรมเคมีของธาตุเคมีในตารางธาตุเป็นโลหะทรานซิชัน มี 2 ตัวเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้องคือ ปรอท และ โคเปอร์นิเซียม ซึ่งโคเปอร์นิเซียมได้จากการสังเคราะห์ขึ้นเท่านั้นไม่มีในธรรมชาติธาตุในหมู่ 12 นี้ประกอบด้ว.

ใหม่!!: ตารางธาตุและธาตุหมู่ 12 · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุหมู่ 3

'''หมู่''' '''3''' '''คาบ''' '''4''' 21Sc --> 21Sc '''5''' 39Y ธาตุหมู่ 3 (group 3 element) ธาตุเหล่านี้ทุกตัวอยู่ในหมู่ 3 เพราะว่าวงโคจรชั้นนอกของอะตอมของมันมีอิเล็กตรอน 3 ตัว สแคนเดียมอิตเทรียม และธาตุในกลุ่มแลนทาไนด์ยกเว้นโพรมีเทียมสามารถพบได้ในธรรมชาติ โพรมีเทียม แอกทิเนียม โพรแทกทิเนียม เนปทูเนียม และอะเมริเซียม ถึงลอว์เรนเซียมสังเคราะห์ขึ้นในห้องทดลองไม่พบในธรรมชาติเลย ธาตุหมู่ 3 คือ อนุกรมเคมีของธาตุเคมีของหมู่ในตารางธาตุซึ่งประกอบด้ว.

ใหม่!!: ตารางธาตุและธาตุหมู่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุหลังยูเรเนียม

ตุกัมมันตรังสีอย่างรุนแรง ธาตุเหล่านี้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพวกมันน้อยมากเนื่องจากความไม่เสถียรและกัมมันตภาพรังสี ในทางเคมี ธาตุหลังยูเรเนียม (transuranium element, transuranic element) เป็นธาตุเคมีซึ่งมีเลขอะตอมมากกว่า 92 (เลขอะตอมของยูเรเนียม) ธาตุเหล่านี้เป็นธาตุไม่เสถียรและจะสลายตัวให้รังสีจนกลายสภาพไปเป็นธาตุอื่น.

ใหม่!!: ตารางธาตุและธาตุหลังยูเรเนียม · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุคาบ 6

ธาตุคาบ 6 (period 6 element) คือทั้งหมดที่อยู่ในแถวที่ 6 ของตารางธาตุ ธาตุในคาบจะรวมกลุ่มอนุกรมเคมีแลนทาไนด์ด้วย มีรายละเอียดดังนี้: ธาตุเคมีในคาบที่ 6 หมู่ '''1''' '''2''' '''3''' '''4''' '''5''' '''6''' '''7''' '''8''' '''9''' '''10''' '''11''' '''12''' '''13''' '''14''' '''15''' '''16''' '''17''' '''18''' #ชื่อธาตุ 55Cs 56Ba 57-71 72Hf 73Ta 74W 75Re 76Os 77Ir 78Pt 79Au 80Hg 81Tl 82Pb 83Bi 84Po 85At 86Rn แลนทาไนด์ 57La 58Ce 59Pr 60Nd 61Pm 62Sm 63Eu 64Gd 65Tb 66Dy 67Ho 68Er 69Tm 70Yb 71Lu e--conf. โลหะแอลคาไล โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท แลนทาไนด์ แอกทิไนด์ โลหะทรานซิชัน โลหะหลังทรานซิชัน ธาตุกึ่งโลหะ อโลหะ แฮโลเจน ก๊าซมีตระกูล หมวดหมู่:ตารางธาตุ.

ใหม่!!: ตารางธาตุและธาตุคาบ 6 · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุคาบ 7

ธาตุคาบ 7 (period 7 element) คือ ทั้งหมดที่อยู่ในแถวที่ 7 ของตารางธาตุ ธาตุในคาบจะรวมกลุ่มอนุกรมเคมีแอกทิไนด์ด้วย มีรายละเอียดดังนี้: ธาตุเคมีในคาบที่ 7 หมู่ '''1''' '''2''' '''3''' '''4''' '''5''' '''6''' '''7''' '''8''' '''9''' '''10''' '''11''' '''12''' '''13''' '''14''' '''15''' '''16''' '''17''' '''18''' #ชื่อธาตุ 87 Fr 88Ra 89-103 104Rf 105Db 106Sg 107Bh 108Hs 109Mt 110Ds 111Rg 112Cn 113Nh 114Fl 115Mc 116Lv 117Ts 118Og แอกทิไนด์ 89Ac 90Th 91Pa 92U 93Np 94Pu 95Am 96Cm 97Bk 98Cf 99Es 100Fm 101Md 102No 103Lr e--conf. โลหะแอลคาไล โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท แลนทาไนด์ แอกทิไนด์ โลหะทรานซิชัน โลหะหลังทรานซิชัน ธาตุกึ่งโลหะ อโลหะ แฮโลเจน ก๊าซมีตระกูล หมวดหมู่:ตารางธาตุ.

ใหม่!!: ตารางธาตุและธาตุคาบ 7 · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุคาบ 8

ธาตุคาบ 8 (period 8 element) คือทั้งหมดที่อยู่ในแถวที่ 8 ของตารางธาตุ ธาตุในคาบดังกล่าวยังไม่มีการสังเคราะห์หรือค้นพบขึ้น โดยธาตุคาบ 8 นี้เป็นการพยากรณ์โดย IUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry) โลหะแอลคาไล โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท แลนทาไนด์ แอกทิไนด์ โลหะทรานซิชัน โลหะหลังทรานซิชัน ธาตุกึ่งโลหะ อโลหะ แฮโลเจน ก๊าซมีตระกูล หมวดหมู่:ตารางธาตุ.

ใหม่!!: ตารางธาตุและธาตุคาบ 8 · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีสัมพัทธภาพ

มมิติของความโค้งปริภูมิ-เวลาที่อธิบายในสัมพัทธภาพทั่วไป ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ครอบคลุมสองทฤษฎีของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์คือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษและทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป มโนทัศน์ที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพริเริ่มมีปริภูมิ-เวลาซึ่งเป็นเอนทิตีรวม (unified entity) ของปริภูมิและเวลา สัมพัทธภาพของความเป็นเวลาเดียวกัน (relativity of simultaneity) การเปลี่ยนขนาดของเวลาทางจลนศาสตร์และความโน้มถ่วง (kinematic and gravitational time dilation) และการหดตัวของความยาว (length contraction) ทฤษฎีสัมพัทธภาพเปลี่ยนแปลงฟิสิกส์ทฤษฎีและดาราศาสตร์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อพิมพ์ครั้งแรก สัมพัทธภาพเข้าแทนที่ทฤษฎีกลศาสตร์อายุ 200 ปีที่ไอแซก นิวตันเป็นผู้ประดิษฐ์หลัก ในสาขาฟิสิกส์ สัมพัทธภาพพัฒนาวิทยาศาสตร์ของอนุภาคมูลฐานและอันตรกิริยามูลฐานของพวกมัน ร่วมกับการก้าวสู่ยุคนิวเคลียร์ ด้วยสัมพัทธภาพ จักรวาลวิทยาและฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทำนายปรากฏการณ์ดาราศาสตร์พิเศษอย่างดาวนิวตรอน หลุมดำและคลื่นความโน้มถ่วง ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษและทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเชื่อมโยงกัน ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษใช้กับปรากฏการณ์กายภาพทั้งหมดยกเว้นความโน้มถ่วง ทฤษฎีทั่วไปให้กฎความโน้มถ่วง และความสัมพันธ์กับแรงอื่นของธรรมชาต.

ใหม่!!: ตารางธาตุและทฤษฎีสัมพัทธภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีควอนตัม

ทฤษฎีควอนตัม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ตารางธาตุและทฤษฎีควอนตัม · ดูเพิ่มเติม »

ดมีตรี เมนเดเลเยฟ

มีตรี อีวาโนวิช เมนเดเลเยฟ (Дми́трий Ива́нович Менделе́ев; อักษรโรมัน:Dmitriy Ivanovich Mendeleyev) เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1834 ถึงแก่กรรมวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1907 ในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมนเดเลเยฟเป็นนักเคมีชาวรัสเซีย เขาได้รับการยกย่องมีฐานะบุคคลแรกที่สร้างตารางธาตุฉบับแรกขึ้นมา แต่เมนเดเลเยฟนั้นมีความคิดแตกต่างจากผู้เขียนตารางธาตุคนอื่นๆ นั่นคือ เขาได้ทำนายคุณสมบัติของธาตุต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้ค้นพบด้วย และนอกจากการทุ่มเทให้กับการวางแบบแผนตารางธาตุและเคมีแล้ว เขายังให้ความสนใจปัญหาสังคมด้ว.

ใหม่!!: ตารางธาตุและดมีตรี เมนเดเลเยฟ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวนิวตรอน

วนิวตรอน (Neutron Star) เป็นซากที่เหลือจากยุบตัวของการระเบิดแบบซูเปอร์โนวาชนิด II,Ib หรือ Ic และจะเกิดเฉพาะดาวฤกษ์มวลมากมีส่วนประกอบเพียงนิวตรอนที่อะตอมไร้กระแสไฟฟ้า (นิวตรอนมีมวลสารใกล้เคียงโปรตอน) และดาวประเภทนี้สามารถคงตัวอยู่ได้ด้วยหลักการกีดกันของเพาลีเกี่ยวกับแรงผลักระหว่างนิวตรอน ดาวนิวตรอนมีมวลประมาณ 1.35 ถึง 2.1 เท่ามวลดวงอาทิตย์ และมีรัศมี 20 ถึง 10 กิโลเมตรตามลำดับ (เมื่อดาวนิวตรอนมีมวลเพิ่มขึ้น รัศมีของดาวจะลดลง) ดาวนิวตรอนจึงมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ 30,000 ถึง 70,000 เท่า ดังนั้นดาวนิวตรอนจึงมีความหนาแน่นที่ 8*1013 ถึง 2*1015 กรัมต่อลูกบากศ์เซนติเมตร ซึ่งเป็นช่วงของความหนาแน่นของนิวเคลียสอะตอม ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นประมาณ 150,000 กิโลเมตรต่อวินาที หรือประมาณครึ่งหนึ่งของความเร็วแสง โดยทั่วไปแล้ว ดาวที่มีมวลน้อยกว่า 1.44 เท่ามวลดวงอาทิตย์ จะเป็นดาวแคระขาวตามขีดจำกัดของจันทรสิกขาร์ ถ้าอยู่ระหว่าง 2 ถึง 3 เท่ามวลดวงอาทิตย์อาจจะเป็นดาวควาร์ก (แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่) ส่วนดาวที่มีมวลมากกว่านี้จะกลายเป็นหลุมดำไป เมื่อดาวฤกษ์มวลมากเกิดซูเปอร์โนวาและกลายเป็นดาวนิวตรอน ส่วนแก่นของมันจะได้รับโมเมนตัมเชิงมุมมา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรัศมีจากใหญ่ไปเล็กนั้นจะทำให้ความเร็วในการหมุนรอบตัวเองขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็จะหมุนรอบตัวเองช้าลงทีละน้อย ความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของดาวนิวตรอนที่มีการบันทึกได้นั้นอยู่ระหว่าง 700 รอบต่อวินาทีไปจนถึง 30 วินาทีต่อรอบ ความเร่งที่พื้นผิวอยู่ที่ 2*1011 ถึง 3*1012 เท่ามากกว่าโลก ด้วยเหตุนี้ดาวนิวตรอนจึงสามารถส่งคลื่นวิทยุออกมาเป็นช่วงหรือพัลซาร์ และกระแสแม่เหล็กออกมาปริมาณมหาศาล การที่ดาวนิวตรอนสามารถส่งคลื่นวิทยุออกมาเป็นช่วงๆ นั้นทำได้อย่างไร ยังคงเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ แม้ว่าจะมีการวิจัยเรื่องนี้มานานกว่า 40 ปีแล้วก็ตามในดาราจักรของเรานั้นเราพบเพียงไม่กี่สิบดวงเท่านั้น เรายังพบอีกว่า ดาวนิวตรอนน่าจะเป็นต้นกำเนิดของ แสงวาบรังสีแกมมา ที่มีความสว่างมากกว่าซูเปอร์โนวา หลายเท.

ใหม่!!: ตารางธาตุและดาวนิวตรอน · ดูเพิ่มเติม »

คลอรีน

ลอรีน (Chlorine) (จากภาษากรีกว่า Chloros แปลว่าสี "เขียวอ่อน") เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 17 และสัญลักษณ์ Cl เป็นแฮโลเจน พบในตารางธาตุ ในกลุ่ม 17 เป็นส่วนของเกลือทะเลและสารประกอบอื่น ๆ ปรากฏมากในธรรมชาติ และจำเป็นต่อสิ่งมีชวิตส่วนใหญ่ รวมถึงมนุษย์ด้วย ในรูปของก๊าซ คลอรีนมีสีเขียวอมเหลือง มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ 2.5 เท่า มีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง และเป็นพิษอย่างร้ายแรง เป็นตัวออกซิไดซ์ ฟอกขาว และฆ่าเชื้อได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: ตารางธาตุและคลอรีน · ดูเพิ่มเติม »

คาบ (ตารางธาตุ)

350px ในตารางธาตุนั้น ธาตุต่างๆ จะถูกจัดเรียงให้อยู่ในรูปแบบเชิงตารางอันประกอบด้วยแถวและคอลัมน์ เราเรียกแถวหนึ่งๆ ในตารางธาตุเรียกว่าคาบ (period) และเรียกคอลัมน์หนึ่งๆ ในตารางธาตุว่าหมู่ (group) การจัดเรียงธาตุในเชิงตารางนี้ทำให้ธาตุที่มีคุณสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกันถูกจัดไว้ในหมู่เดียวกัน ธาตุที่อยู่ในคาบเดียวกันจะมีจำนวนชั้นของอิเล็กตรอน (electron shell) เท่ากัน โดยจำนวนของอิเล็กตรอนและโปรตอนของธาตุในคาบเดียวกันนี้จะเพิ่มขึ้นทีละหนึ่ง พร้อมทั้งความเป็นโลหะที่ลดลงจากธาตุหมู่ทางด้านซ้ายมือไปยังขวามือของตารางธาตุ ในขณะที่อิเล็กตรอนจะถูกจัดเรียงในชั้นใหม่เมื่อชั้นเดิมถูกจัดเรียงจนเต็ม หรือก็คือเริ่มคาบใหม่ในตารางธาตุ การจัดเรียงเช่นนี้ทำให้เกิดการวนซ้ำของธาตุที่มีคุณสมบัติทางเคมีที่ใกล้เคียงกันเมื่อเพิ่มเลขอะตอม ยกตัวอย่างเช่น โลหะอัลคาไลน์ ถูกจัดเรียงอยู่ในหมู่ 1 และมีคุณสมบัติทางเคมีที่คล้ายกัน เช่น ความไวต่อปฏิกิริยาเคมี หรือ มีแนวโน้มในการสูญเสียอิเล็กตรอน 1 ตัวเมื่อทำปฏิกิริยากับธาตุอื่นเพื่อที่จะจัดเรียงอิเล็กตรอนให้มีลักษณะเหมือนการจัดเรียงอิเล็กตรอนของแก๊สเฉื่อย ปัจจุบันตารางธาตุจัดเรียงธาตุไว้ทั้งสิ้น 118 ธาตุ กลศาสตร์ควอนตัมสมัยใหม่อธิบายการวนซ้ำของคุณสมบัติเคมีของธาตุเหล่านี้โดยใช้ชั้นของอิเล็กตรอน อิเล็กตรอนจะถูกเติมในชั้นอิเล็กตรอนตามลำดับที่แสดงในแผนภาพด้านขวาตามเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น การเพิ่มอิเล็กตรอนภายในชั้นเทียบได้กับคาบในตารางธาตุ ใน s-block และ p-block ของตารางธาตุ ธาตุในคาบเดียวกันไม่แสดงแนวโน้มหรือความคล้ายคลึงในคุณสมบัติเคมี (แนวโน้มของธาตุภายในหมู่เดียวกันชัดเจนกว่า) อย่างไรก็ดี ใน d-block แนวโน้มคุณสมบัติของธาตุภายในคาบเดียวกันเพิ่มความเด่นชัดมากขึ้น และยิ่งเห็นชัดเจนในกลุ่มธาตุใน f-block (โดยเฉพาะกลุ่มของแลนทาไนด์).

ใหม่!!: ตารางธาตุและคาบ (ตารางธาตุ) · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอน

ร์บอน (Carbon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะที่มีอยู่มาก มีวาเลนซ์ 4 และมีหลายอัญรูป.

ใหม่!!: ตารางธาตุและคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

ตะกั่ว

ตะกั่ว (Lead) เป็นธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 82 และสัญลักษณ์คือ Pb (Plumbum) ตะกั่วเป็นธาตุโลหะ เนื้ออ่อนนุ่มสามารถยืดได้ เมื่อตัดใหม่ๆ จะมีสีขาวอมน้ำเงิน แต่เมื่อถูกกับอากาศสีจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ตะกั่วเป็นโลหะหนักที่มีพิษ ใช้ทำวัสดุก่อสร้าง แบตเตอรี่ กระสุนปืน โลหะผสม.

ใหม่!!: ตารางธาตุและตะกั่ว · ดูเพิ่มเติม »

ตาราง

ตัวอย่างตารางแสดงผลข้อมูล ตาราง เป็นทั้งรูปแบบการแสดงข้อมูลเพื่อใช้ในการสื่อสาร และการจัดเรียงข้อมูล มีปรากฏการใช้งานทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์ การเขียนด้วยมือ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ และในสื่อหลายแห่ง รูปแบบของตารางมีความหลากหลายทั้งทางด้านโครงสร้าง โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญของตารางคือ "แถว" (มีการเรียกว่า สดมภ์) และ "หลัก" หมวดหมู่:อินโฟกราฟิกส์.

ใหม่!!: ตารางธาตุและตาราง · ดูเพิ่มเติม »

ตารางธาตุ

ตารางธาตุในลักษณะที่เป็นมาตรฐาน ตารางธาตุ (Periodic table) คือ ตารางที่ใช้แสดงรายชื่อธาตุเคมี ซึ่งจัดเรียงบนพื้นฐานของเลขอะตอม (จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส) การจัดเรียงอิเล็กตรอน และสมบัติทางเคมี โดยจะเรียงตามเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะระบุไว้ในร่วมกับสัญลักษณ์ธาตุเคมี ในกล่องของธาตุนั้น ตารางธาตุมาตรฐานจะมี 18 หมู่และ 7 คาบ และมีคาบพิเศษเพิ่มเติมมาอยู่ด้านล่างของตารางธาตุ ตารางยังสามารถเปลี่ยนเป็นการจัดเรียงตามบล็อก โดย บล็อก-s จะอยู่ซ้ายมือ บล็อก-p จะอยู่ขวามือ บล็อก-d จะอยู่ตรงกลางและบล็อก-f อยู่ที่ด้านล่าง แถวแนวนอนในตารางธาตุจะเรียกว่า คาบ และแถวในแนวตั้งเรียกว่า หมู่ โดยหมู่บางหมู่จะมีชื่อเฉพาะ เช่นแฮโลเจน หรือแก๊สมีตระกูล โดยคำนิยามของตารางธาตุ ตารางธาตุยังมีแนวโน้มของสมบัติของธาตุ เนื่องจากเราสามารถใช้ตารางธาตุบอกความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของธาตุแต่ละตัว และใช้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ ธาตุที่ยังไม่ถูกค้นพบ หรือธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น และด้วยความพิเศษของตารางธาตุ ทำให้มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาวิชาเคมีหรือวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ ดมีตรี เมนเดเลเยฟ รู้จักกันในฐานะผู้ที่ตีพิมพ์ตารางธาตุในลักษณะแบบนี้เป็นคนแรก ใน..

ใหม่!!: ตารางธาตุและตารางธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ซิลิคอน

ซิลิคอน (Silicon) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ ที่มีสัญลักษณ์ Si และเลขอะตอม 14 เป็นธาตุกึ่งโลหะแบบเตตระวาเลนต์ (คือมีวาเลนซ์เป็น 4) ซิลิคอนทำปฏิกิริยาน้อยกว่าธาตุที่คล้ายกันคือคาร์บอน เป็นธาตุที่มีมากที่สุดในเปลือกโลกเป็นอันดับ 2 มีปริมาตร 25.7% โดยน้ำหนัก ปรากฏในดินเหนียว เฟลด์สปาร์ (feldspar) หินแกรนิต ควอตซ์ และทราย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของซิลิคอน ไดออกไซด์ (หรือซิลิกา) และซิลิเกต (สารประกอบที่ประกอบจากซิลิคอน ออกซิเจน และ โลหะ) ซิลิคอน เป็นส่วนประกอบหลักของแก้ว ซีเมนต์ เซรามิก, อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ส่วนใหญ่ และซิลิโคน (สารพลาสติกที่มักจะสับสนกับซิลิคอน) ซิลิคอนใช้เป็นสารกึ่งตัวนำอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก สารกึ่งตัวนำเจอร์เมเนียมมีปัญหาเกี่ยวกับการไหลของกระแสไหลย้อนกลับ (reverse leakage current).

ใหม่!!: ตารางธาตุและซิลิคอน · ดูเพิ่มเติม »

ซีลีเนียม

ซีลีเนียม (Selenium) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 34 และสัญลักษณ์คือ Se ซีลีเนียมอยู่ในตารางธาตุหมู่ 34 ซีลีเนียมเป็นธาตุอโลหะที่มีพิษซึ่งมีสมบัติทางเคมีที่สัมพันธ์กับกำมะถันและเทลลูเรียม ในธรรมชาติปรากฏอยู่หลายสถานภาพ ที่มีเสถียรภาพสูงจะมีลักษณะคล้ายโลหะสีเทามีสมบัติการนำไฟฟ้าที่ดีในที่สว่างมากกว่าที่มืดจึงใช้ประโยชน์ในการทำแผงแสงอาทิตย์ ธาตุตัวนี้มักพบมากในแร่ซัลไฟด์เช่นไพไรต์ หมวดหมู่:ธาตุเคมี หมวดหมู่:วัสดุศาสตร์ หมวดหมู่:สารต้านอนุมูลอิสระ.

ใหม่!!: ตารางธาตุและซีลีเนียม · ดูเพิ่มเติม »

ซีเรียม

ซีเรียม (Cerium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 58 และสัญลักษณ์คือ Ce ซีเรียมเป็นธาตุเป็นธาตุโลหะลักษณะเงินอยู่ในกลุ่มแลนทาไนด์ (lanthanide group) ใช้ในการทำโลหะผสมสีและสนิมเหมือนเหล็กแต่อ่อนนุ่มกว่าสามารถยืดเป็นเส้นและตีเป็นแผ่นได้ มันสามารถละลายในสารละลายด่างและกรดเข็มข้นได้อย่างรวดเร็ว ในสภาพที่เป็นโลหะบริสุทธิ์มันสามารถติดไฟได้เองถ้าตัดเฉือนหรือขีดข่วนด้วยมีด ซีเรียมอ๊อกซิไดซ์ช้าในน้ำเย็นและจะรวดเร็วในน้ำร้อน หมวดหมู่:ซีเรียม ซีเซียม ซีเรียม.

ใหม่!!: ตารางธาตุและซีเรียม · ดูเพิ่มเติม »

ปรอท

ปรอท (Mercury; Hydragyrum) เป็นธาตุเคมีสัญลักษณ์ Hg และเลขอะตอมเท่ากับ 80 รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ควิกซิลเวอร์ (quicksilver) และมีชื่อเดิมคือ ไฮดราเจอรัม (hydrargyrum) ปรอทเป็นโลหะหนักสีเงินในบล็อก-d เป็นธาตุโลหะชนิดเดียวที่เป็นของเหลวในที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ธาตุอื่นอีกธาตุหนึ่งที่เป็นของเหลวภายใต้สภาวะเช่นนี้คือ โบรมีน แม้ว่าโลหะอย่างซีเซียม แกลเลียม และรูบิเดียมจะละลายที่อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้อง ปรอทพบได้ทั่วโลก ส่วนใหญ่พบในรูปซินนาบาร์ (เมอร์คิวริกซัลไฟด์) เมอร์คิวริกซัลไฟด์บริสุทธิ์เป็นผงสีแดงชาด ได้จากปฏิกิริยาของปรอท (เกิดจากรีดักชันจากซินนาบาร์) กับกำมะถัน หากสัมผัส สูดดมไอ หรือทานอาหารทะเลที่ปนเปื้อนปรอทที่ละลายน้ำ (เช่น เมอร์คิวริกคลอไรด์ หรือเมธิลเมอร์คิวรี) อาจเกิดเป็นพิษได้ ปรอทมักใช้ประโยชน์ในเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ มาโนมิเตอร์ สฟิกโมมาโนมิเตอร์ โฟลตวาล์ว สวิตช์ปรอท ปรอทรีเลย์ หลอดฟลูออเรสเซนต์ และอุปกรณ์อื่น ๆ แม้ว่ายังมีประเด็นเรื่องพิษที่อาจทำให้เทอร์โมมิเตอร์และสฟิกโมมาโนมิเตอร์ไม่ถูกนำมาใช้อีก แต่จะใช้แอลกอฮอล์ หรือแก้วที่เติมกาลินสแตน หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเทอร์มิสเตอร์ หรืออินฟราเรดแทน เช่นเดียวกัน สฟิกโมมาโนมิเตอร์ถูกแทนด้วยเกจความดันเชิงกลและเกจรับความตึงอิเล็กทรอนิกส์ ปรอทยังคงมีใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และสารอะมัลกัมสำหรับอุดฟันในบางท้องที่ ปรอทนำมาใช้ผลิตแสงสว่าง กล่าวคือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านไอปรอทในหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์จะสร้างแสงอัลตราไวโอเลตคลื่นสั้น ก่อให้เกิดฟอสเฟอร์ ทำให้หลอดเรืองแสง และเกิดเป็นแสงสว่างขึ้นม.

ใหม่!!: ตารางธาตุและปรอท · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกาบอง

กาบอง (Gabon) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐกาบอง (République Gabonaise) เป็นประเทศในตอนกลางของภาคตะวันตกของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับอิเควทอเรียลกินี แคเมอรูน สาธารณรัฐคองโก และอ่าวกินี กาบองปกครองโดยประธานาธิบดีที่สถาปนาตนเองขึ้นสู่อำนาจนับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2503 กาบองได้นำระบบหลายพรรคการเมืองและรัฐธรรมนูญใหม่มาใช้ในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ที่ทำให้เกิดกระบวนการการเลือกตั้งที่โปร่งใสยิ่งขึ้น รวมทั้งเกิดการปฏิรูปสถาบันต่าง ๆ ของรัฐ กาบองมีจำนวนประชากรไม่มาก แต่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย จึงเป็นที่สนใจของนักลงทุนเอกชนต่างชาติ ทำให้กาบองกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มั่งคั่งที่สุดในภูมิภาคนี้.

ใหม่!!: ตารางธาตุและประเทศกาบอง · ดูเพิ่มเติม »

นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์

ในธรณีเคมีและธรณีฟิสิกส์นิวเคลียร์ นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์ (Primodial nuclide) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ไอโซโทปดึกดำบรรพ์ เป็นนิวไคลด์ที่พบบนโลกที่ยังคงสภาพเดิมนับตั้งแต่ก่อนที่โลกก่อตัวขึ้น นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์นี้เป็นสิ่งที่เหลือตกค้างมาจากบิกแบง นิวไคลด์อื่นๆในเอกภพ และจากซูเปอร์โนวา ซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จะมีระบบสุริยะ พวกมันประกอบไปด้วยนิวไคลด์ที่เสถียรแล้ว และมีอายุที่ยาวนานนับตั้งแต่เนบิวลาดาวฤกษ์ยุคแรก ผ่านการก่อตัวของดาวเคราะห์ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน มีนิวไคลด์ที่เสถียรแล้ว 288 ตัวที่เป็นที่รู้จัก มีนิวไคลด์เสถียร 254 ตัว ซึ่งเป็นนิวไคลด์ดึกดำบรรพ์โดยแท้ และมีอีก 34 ตัวที่มีครึ่งชีวิตที่ยาวนานพอที่จะรอดมาจากการกำเนิดโลก นิวไลคด์ดึกดำบรรพ์ 34 ตัวนี้ แบ่งเป็นไอโซโทปของธาตุ 28 ธาตุ เป็นของแคดเมียม เทลลูเรียม นีโอดีเมียม และยูเรเนียม อย่างละ 2 ตัว (113Cd, 116Cd; 128Te, 130Te; 144Nd, 150Nd และ 235U, 238U) และซาแมเรียมมี 3 ตัว (146Sm 147Sm 148Sm).

ใหม่!!: ตารางธาตุและนิวไคลด์ดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

นีออน

นีออน (Neon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Ne และเลขอะตอม 10 นีออนเป็นก๊าซเฉื่อย เป็นสมาชิกหมู่ที่ 8 ของตารางธาตุ เป็นแก๊สอะตอมเดี่ยวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและเกือบจะไม่เกิดปฏิกิริยาเคมีใดๆ และเกิดแสงเรืองสีแดงเมื่อใช้ในหลอดสุญญากาศ (vacuum discharge tube) กับไฟนีออน และพบในปริมาณเล็กน้อยในอากาศ (หนึ่งส่วนใน 55,000ส่วน) ได้จากการนำอากาศเหลวมากลั่นลำดับส่วนและเกือบจะไม่เกิดปฏิกิริยาเคมีใดๆ เลย จึงทำให้ไม่มีสารประกอบนีออนที่เรารู้จักเลย ซึ่งนีออนจะไม่เป็นอันตรายต่อคนโดยตรง.

ใหม่!!: ตารางธาตุและนีออน · ดูเพิ่มเติม »

แบบจำลองของบอร์

nm (แสงสีแดง) ในการศึกษาฟิสิกส์อะตอม แบบจำลองของบอร์ (Bohr model) ที่นีลส์ บอร์นำเสนอเมื่อปี..

ใหม่!!: ตารางธาตุและแบบจำลองของบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แบเรียม

แบเรียม (Barium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 56 และสัญลักษณ์คือ Ba แบเรียมเป็นธาตุโลหะแอลคาไลน์เอิร์ทมีลักษณะเป็นสีเงินอ่อนนุ่มหลอมเหลวที่อุณหภูมิสูงมาก อ๊อกไซด์ของมันเรียกแบริตา (baryta) ตามธรรมชาติพบในแร่แบไรต์ไม่พบในสภาพบริสุทธิ์เพราะไวต่อปฏิกิริยาเคมีกับอาก.

ใหม่!!: ตารางธาตุและแบเรียม · ดูเพิ่มเติม »

แพลทินัม

แพลทินัม หรือ ทองคำขาว (Platinum) คือธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 78 และสัญลักษณ์คือ Pt เป็นธาตุโลหะทรานซิชัน มีสีเงินเทา มีน้ำหนักมาก สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ แพลทินัมทนต่อการกัดกร่อนมาก ในธรรมชาติพบอยู่กับสินแร่ของนิกเกิลและทองแดง ปัจจุบันแพลทินัมมีราคาสูงกว่าทองคำ 2-3 เท่า แพลทินัมสามารถใช้ทำเครื่องประดับ อุปกรณ์ในห้องทดลอง ตัวนำไฟฟ้า งานทันตกรรม และเครื่องกรองไอเสียในรถยนต์ ธาตุแพลทินัมเรียกได้อีกอย่างว่า ทองคำขาว ซึ่งอาจจะสร้างความสับสนกับ ทองขาว (White gold) แพลทินัมจะแกะลายได้สวยกว่าทองเนื่องจากความหนาแน่นสูง และเมื่อใช้ไปในระยะยาวจะยังคงมีลายที่คมชัดเหมือนเดิมไม่สึกออกไปเหมือนทอง (แพลทินัมจะน้ำหนักเท่าเดิมไม่สูญหายเหมือนทองที่พอใช้ไปเรื่อยๆ เนื้อทองจะหลุดร่อนทุกครั้งที่กระทบกับวัตถุอื่นๆ).

ใหม่!!: ตารางธาตุและแพลทินัม · ดูเพิ่มเติม »

แกลเลียม

แกลเลียม (Gallium) สัญลักษณ์ธาตุ Ga ถูกค้นพบในปี..

ใหม่!!: ตารางธาตุและแกลเลียม · ดูเพิ่มเติม »

แก๊ส

อนุภาคในสถานะแก๊ส (อะตอม โมเลกุล หรือไอออน) เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระภายในสนามแม่เหล็ก แก๊ส หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ก๊าซ (Gas) เป็นหนึ่งในสถานะพื้นฐานทั้งสี่ของสสาร (ที่เหลือ คือ ของแข็ง ของเหลวและพลาสมา) แก๊สบริสุทธิ์ประกอบไปด้วยอะตอมเดี่ยว เช่น แก๊สมีตระกูล ส่วนแก๊สที่เป็นธาตุเคมี จะอยู่ในรูปหลายอะตอม แต่เป็นชนิดเดียวกัน เช่น ออกซิเจน หรือเป็นโมเลกุลสารประกอบที่อยู่ในรูปหลายอะตอมและต่างชนิดกัน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สผสม เป็นแก๊สที่เกิดจากแก๊สบริสุทธิ์หลายชนิดรวมกัน เช่น อากาศ สิ่งที่แตกต่างระหว่างแก๊สที่ในอุณหภูมิห้องเป็นของเหลวกับแก๊สที่ในอุณหภูมิห้องเป็นของแข็ง คือโมเลกุลของแก๊ส และการแยกนี้ทำให้มีแก๊สไม่มีสี ซึ่งทำให้เรามองไม่เห็น การทำงานร่วมกันของอนุภาคของแก๊สมีขึ้นในสนามแม่แหล็กและแรงโน้มถ่วง แก๊สประเภทหนึ่งที่รู้จักกันดีคือ ไอน้ำ แก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมากจะอยู่ห่างกันและแพร่กระจายอยู่ทั่วทั้งภาชนะที่บรรจุ ทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนแปลงตามขนาดและรูปร่างของภาชนะ สมบัติของแก๊ส 1.แก๊สมีรูปร่างเป็นปริมาตรไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ บรรจุในภาชนะใดก็จะมีรูปร่างเป็นปริมาตรตามภาชนะนั้น เช่น ถ้าบรรจุในภาชนะทรงกลมขนาด 1 ลิตร แก๊สจะมีรูปร่างเป็นทรงกลมมีปริมาตร 1 ลิตร เพราะแก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมากจึงทำให้อนุภาคของแก๊สสามารถเคลื่อนที่หรือแพร่กระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ 2.ถ้าให้แก๊สอยู่ให้ภาชนะที่ได้ ปริมาตรของแก๊สจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมลดังนั้นเมื่อบอกปริมาตรของแก๊สจะต้องบอกอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมล 3.สารที่อยู่ในสถานะแก๊สมีความหนาแน่นน้อยกว่าเมื่ออยู่ในสถานะของแข็งและของเหลวมาก 4.แก๊สสามารถแพร่ได้ และแพร่ได้เร็ว เพราะแก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าของเหลวและของแข็ง 5.แก๊สต่างๆ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเมื่อนำมาใส่ในภาชนะเดียวกันแก๊สแต่ละชนิดจะแพร่ผสมกันอย่างสมบูรณ์ทุกส่วนนั้นคือส่วนผสมของแก๊สเป็นสารเดียวหรือเป็นสารละลาย 6.แก๊สส่วนใหญ่ไม่มีสีและโปร่งใสเช่นแก๊สออกซิเจน แก๊สไฮโดรเจน เป็นต้น.

ใหม่!!: ตารางธาตุและแก๊ส · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สมีตระกูล

แก๊สมีตระกูล (Noble gas) หมายถึง แก๊สที่ไม่ไวต่อการทำปฏิกิริยากับธาตุอื่น ไม่เกิดสารประกอบคลอไรด์ ออกไซด์และซัลไฟล์ กลุ่มธาตุเคมีที่มีสมบัติเหมือนกัน: ที่ภาวะมาตรฐาน ธาตุในหมู่นี้จะไม่มีกลิ่น ไม่มีสี เป็นแก๊สที่เฉื่อยต่อการเกิดปฏิกิริยา แก๊สมีตระกูลหกตัวที่ปรากฏในธรรมชาติ ได้แก่ ฮีเลียม (He), นีออน (Ne), อาร์กอน (Ar), คริปทอน (Kr), ซีนอน (Xe) และเรดอน (Rn) ซึ่งเป็นกัมมันตรังสี ธาตุพวกนี้เป็นธาตุโมเลกุลเดี่ยว (monoatomic molecule) แก๊สมีตระกูลมีคุณสมบัติดังนี้.

ใหม่!!: ตารางธาตุและแก๊สมีตระกูล · ดูเพิ่มเติม »

แลนทาไนด์

แลนทาไนด์ (Lanthanide) เป็น อนุกรมเคมีของธาตุ ในตารางธาตุ จำนวน 15 ตัว ตั้งแต่ ธาตุแลนทานัม ถึง ธาตุลูทีเตียม ชื่ออนุกรมมีที่มาจากชื่อธาตุแลนทานัม ซึ่งเป็นธาตุแรกในอนุกรม สิ่งที่น่าสนใจ ได้แก.

ใหม่!!: ตารางธาตุและแลนทาไนด์ · ดูเพิ่มเติม »

แอกทิไนด์

แอกทิไนด์ (อ.: Actinide) เป็น อนุกรมเคมีของธาตุ ในตารางธาตุ จำนวน 15 ตัว ตั้งแต่ ธาตุแอกทิเนียม ถึง ธาตุลอว์เรนเซียม สิ่งที่น่าสนใจ ได้แก.

ใหม่!!: ตารางธาตุและแอกทิไนด์ · ดูเพิ่มเติม »

แฮฟเนียม

แฮฟเนียม (Hafnium) เป็นธาตุโลหะกลุ่มโลหะทรานซิชัน ในตารางธาตุ คุณสมบัติทางเคมีคล้ายเซอร์โคเนียม เลขอะตอม 72 สัญลักษณ์คือ Hf.

ใหม่!!: ตารางธาตุและแฮฟเนียม · ดูเพิ่มเติม »

แฮโลเจน

แฮโลเจน (halogens) คือ อนุกรมเคมีของกลุ่มธาตุในหมู่ 7 ของตารางธาตุ ซึ่งประกอบด้ว.

ใหม่!!: ตารางธาตุและแฮโลเจน · ดูเพิ่มเติม »

แทนทาลัม

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ตารางธาตุและแทนทาลัม · ดูเพิ่มเติม »

แคลิฟอร์เนียม

แคลิฟอร์เนียม (Californium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 98 และสัญลักษณ์คือ Cf เป็นธาตุโลหะหนักกัมมันตรังสี มีลักษณะสีเงินวาว อยู่ในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide group) แคลิฟอร์เนียมถูกสังเคราะห์ขึ้นครั้งแรกโดยการยิงคูเรียมด้วยอนุภาคแอลฟา (ฮีเลียมไอออน) ธาตุใหม่ที่ได้ตั้งชื่อตามรัฐแคลิฟอร์เนีย Cf-252 เป็นไอโซโทปที่มีครึ่งชีวิตเท่ากับ 2.6 ปี เป็นตัวปลดปล่อยนิวตรอนอย่างรุนแรง และเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่อันตรายมาก คลิฟอร์เนียมค้นพบโดย S.G. Thompson, A. Ghiorso, K. Street และ G.T. Seaborg ในวันที่ 9 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ตารางธาตุและแคลิฟอร์เนียม · ดูเพิ่มเติม »

แคดเมียม

แคดเมียม (cadmium) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 48 และสัญลักษณ์คือ Cd แคดเมียมเป็นโลหะทรานซิชันสีขาว-ฟ้า เป็นธาตุมีพิษ ในธรรมชาติพบอยู่ในแร่สังกะสี แคดเมียมใช้ประโยชน์ในการทำแบตเตอรี.

ใหม่!!: ตารางธาตุและแคดเมียม · ดูเพิ่มเติม »

แนวโน้มพิริออดิก

อิเล็กโทรเนกาติวิตีเป็นแรงดึงดูดของอะตอมที่ใช้ดึงอิเล็กตรอนเข้ามา อิเล็กโทรเนกาติวิตีของอะตอมอะตอมหนึ่ง เป็นผลมาจากเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น และระยะห่างจากนิวเคลียสถึงวาเลนซ์อิเล็กตรอน ยิ่งมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากเท่าไร ความสามารถที่จะดึงดูดอิเล็กตรอนก็มากขึ้นเท่านั้น แนวคิดถูกเสนอครั้งแรกโดย ใน..

ใหม่!!: ตารางธาตุและแนวโน้มพิริออดิก · ดูเพิ่มเติม »

โพซิตรอน

ซิตรอน (positron) หรือ แอนติอิเล็กตรอน (antielectron) เป็นปฏิยานุภาคหรือปฏิสสารของอิเล็กตรอน โพซิตรอนมีประจุไฟฟ้าเป็น +1 มีสปินเป็น 1/2 และมีมวลเท่ากับอิเล็กตรอน ถ้าโพซิตรอนพลังงานต่ำชนกับอิเล็กตรอนพลังงานต่ำจะเกิดการประลัย (annihilation) คือมีการเกิดโฟตอนรังสีแกมมา 2 โฟตอนหรือมากกว่า โพซิตรอนอาจจะเกิดจากการสลายตัวของการปลดปล่อยโพซิตรอนกัมมันตรังสี (ผ่านอันตรกิริยาอย่างอ่อน) หรือโดยการผลิตคู่จากโฟตอนที่มีพลังงานเพียงพอ.

ใหม่!!: ตารางธาตุและโพซิตรอน · ดูเพิ่มเติม »

โพแทสเซียม

แทสเซียม (Potassium) ธาตุเคมีในกลุ่มโลหะ มีเลขอะตอม 19 สัญลักษณ์ K สัญลักษณ์ของโพแทสเซียม มาจากภาษาเยอรมันว่า Kalium ส่วนชื่อโพแทสเซียม มาจากคำว่า โพแทส ซึ่งเป็นชื่อเรียกแร่ชนิดหนึ่งที่สกัดธาตุโพแทสเซียมได้ โพแทสเซียมเป็นโลหะอัลคาไล เป็นผงสีขาว-เงินอ่อนๆ ในธรรมชาติมักเป็นสารประกอบร่วมกับธาตุอื่นเพราะไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก สามารถออกซิไดซ์ได้อย่างรวดเร็วในอากาศ มีสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกับโซเดียม.

ใหม่!!: ตารางธาตุและโพแทสเซียม · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ ว็อล์ฟกัง เดอเบอไรเนอร์

โยฮันน์ ว็อล์ฟกัง เดอเบอไรเนอร์ (Johann Wolfgang Döbereiner; 13 ธันวาคม พ.ศ. 2323 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2392) เป็นนักเคมีชาวเยอรมัน ที่เป็นที่รู้จักในการคาดเดากฎพิริออดิกของธาตุเคมี หมวดหมู่:นักเคมีชาวเยอรมัน.

ใหม่!!: ตารางธาตุและโยฮันน์ ว็อล์ฟกัง เดอเบอไรเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โลหะ

ลหะ คือ วัสดุที่ประกอบด้วยธาตุโลหะที่มีอิเล็กตรอนอิสระอยู่มากมาย นั่นคืออิเล็กตรอนเหล่านี้ไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้มีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ เช่น.

ใหม่!!: ตารางธาตุและโลหะ · ดูเพิ่มเติม »

โลหะมีสกุล

ลหะมีตระกูล โลหะมีสกุล หรือ โลหะมีตระกูล (noble metals) เป็นกลุ่มโลหะหรือกลุ่มธาตุโลหะ ธาตุเดี่ยวหรือผสม ในธรรมชาติจะไม่ทำปฏิกิริยาหรือทำปฏิกิริยากับสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นได้ยาก ทนทานต่อการกัดกร่อน ส่วนใหญ่เป็นโลหะมีค่า เช่น ทองคำ แพลทินัม โรเดียม อย่างไรก็ตามมีโลหะบางชนิดมีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนแต่ไม่นับเป็นโลหะมีสกุล เช่น ไททาเนียม ไนโอเบียม แทนทาลัม.

ใหม่!!: ตารางธาตุและโลหะมีสกุล · ดูเพิ่มเติม »

โลหะแอลคาไล

ลหะแอลคาไล (Alkali metals) เป็นหมู่ (คอลัมน์) ในตารางธาตุ ประกอบไปด้วยธาตุเคมี ลิเทียม (Li), โซเดียม (Na)สัญลักษณ์เคมี "Na" ของธาตุโซเดียมเป็นตัวย่อของคำว่า "นาเทรียม" (Natrium) ซึ่งเป็นคำในภาษาละติน และยังมีการใช้ชื่อนี้อยู่ในบางภาษา เช่น เยอรมัน หรือรัสเซีย ก่อนหน้านั้นโซเดียมถูกเสนอว่าให้มีสัญลักษณ์เคมีว่า So, โพแทสเซียม (K)สัญลักษณ์เคมี "K" ของธาตุโพแทสเซียม เป็นตัวย่อของคำว่า "คาเลียม" (Kalium) แต่ก็ยังมีการใช้ชื่อธาตุว่า คาเลียม ในบางภาษา เช่น เยอรมัน หรือ รัสเซีย ก่อนหน้านั้นโพแทสเซียมถูกเสนอให้มีสัญลักษณ์ว่า Po ซึ่งไปชนกับพอโลเนียม ที่มีสัญลักษณ์ทางเคมีว่า Po เหมือนกัน, รูบิเดียม (Rb), ซีเซียม (Cs) และแฟรนเซียม (Fr).

ใหม่!!: ตารางธาตุและโลหะแอลคาไล · ดูเพิ่มเติม »

โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท

ลหะแอลคาไลน์เอิร์ท (Alkaline earth metal) เป็นอนุกรมเคมี ในตารางธาตุ ประกอบด้วยธาตุเคมี ใน หมู่ที่ 2 ได้แก.

ใหม่!!: ตารางธาตุและโลหะแอลคาไลน์เอิร์ท · ดูเพิ่มเติม »

โอกาเนสซอน

อกาเนสซอน (Oganesson) เป็นชื่อที่ตั้งโดยสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ สำหรับธาตุหลังแอกทิไนด์ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 118 และมีสัญลักษณ์คือ Og โอกาเนสซอนยังรู้จักกันในชื่อว่า เอคา-เรดอน หรือ ธาตุ 118 และบนตารางธาตุ มันถูกจัดให้อยู่ในบล็อก-p และเป็นธาตุตัวสุดท้ายบนคาบที่ 7 ปัจจุบัน โอกาเนสซอนเป็นธาตุสังเคราะห์เพียงตัวเดียวของธาตุหมู่ 18 มันยังเป็นธาตุที่มีเลขอะตอมและมวลอะตอมมากที่สุดเท่าที่ค้นพบในปัจจุบัน อะตอมกัมมันตรังสีของโอกาเนสซอนมีความไม่เสถียรสูงมาก เนื่องด้วยค่ามวลที่สูง และนับตั้งแต..

ใหม่!!: ตารางธาตุและโอกาเนสซอน · ดูเพิ่มเติม »

โครงแบบอิเล็กตรอน

ออร์บิทัลของอิเล็กตรอนและการจัดเรียงระดับพลังงาน การจัดเรียงอิเล็กตรอน หมายถึง อิเล็กตรอนในแต่ละอะตอมจะมีการจัดเรียงตามระดับพลังงานหลักและระดับพลังงานย่อย โดยมีการแบ่งชั้นที่แน่นอน เรียงไปเรื่อย ๆ ตามเลขอะตอม.

ใหม่!!: ตารางธาตุและโครงแบบอิเล็กตรอน · ดูเพิ่มเติม »

โคเปอร์นิเซียม

ปอร์นิเซียม (Copernicium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 112 สัญลักษณ์คือ Cn โคเปอร์นิเซียมเป็นธาตุหนักยิ่งยวด (superheavy) ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นไอโซโทปที่เสถียรของมันคือ Cn-285 มีครึ่งชีวิตประมาณ 11 นาที ก่อนการเปลี่ยนชื่อเป็นโคเปอร์นิเซียม โดย IUPAC เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ธาตุนี้เคยใช้ชื่อว่า "อูนอูนเบียม" (ununbium มาจากภาษาละติน ūnus + ūnus + bi- + -ium, หนึ่ง หนึ่ง สอง) มีสัญลักษณ์คือ Uub เป็นชื่อชั่วคราวในระบบ IUPAC โคเปอร์นิเซียมเป็นโลหะที่เป็นของเหลวและระเหยเร็วกว่าปรอท โคเปอร์นิเซียม ตั้งชื่อตาม นิโคลัส โคเปอร์นิคัส ผู้เสนอทฤษฏีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล.

ใหม่!!: ตารางธาตุและโคเปอร์นิเซียม · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียม

ซเดียม (Sodium) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์ Na (จากคำว่า Natrium ในภาษาละติน) และหมายเลขอะตอม 11 โซเดียมเป็นโลหะอ่อน มีลักษณะเป็นไข มีสีเงิน และอยู่ในกลุ่มโลหะแอลคาไล โซเดียมมีมากในสารประกอบทางธรรมชาติ (โดยเฉพาะแฮไลต์) โซเดียมทำปฏิกิริยาได้ว่องไวมาก ให้เปลวไฟสีเหลือง ออกซิไดส์ในอากาศและทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำมากจนเกิดเปลวไฟได้ จึงจำเป็นต้องเก็บอยู่ในน้ำมัน.

ใหม่!!: ตารางธาตุและโซเดียม · ดูเพิ่มเติม »

ไอน์สไตเนียม

ไอน์สไตเนียม (Einsteinium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 99 และสัญลักษณ์คือ Es เป็นธาตุโลหะหนักกัมมันตรังสี มีลักษณะสีเงินวาว อยู่ในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide group) ไอน์สไตเนียมสังเคราะห์ครั้งแรกโดยการยิงธาตุพลูโทเนียมด้วยอนุภาคนิวตรอน ธาตุใหม่ที่ได้ตั้งชื่อตาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ไอน์สไตเนียมพบในซากปรักหักพังของการทดลองระเบิดไฮโดรเจนด้วย อไน์สตไนเอียม อไน์สตไนเอียม อไน์สตไนเอียม อไน์สตไนเอียม.

ใหม่!!: ตารางธาตุและไอน์สไตเนียม · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอดีน

อโอดีน (อังกฤษ:Iodine) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 53 และสัญลักษณ์คือ I ไอโอดีน (เป็นคำในภาษากรีก Iodes, มีความหมายว่า "สีม่วง") เป็นธาตุที่ไม่ละลายน้ำ มีความจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต สมบัติทางเคมีของไอโอดีนมีความไวน้อยกว่าธาตุในกลุ่มฮาโลเจนด้วยกัน ไอโอดีนมีประโยชน์ในทางการแพทย์ การถ่ายภาพ และสีย้อมผ้า ไอโอดีนสามารถระเหิดได้ โครงสร้างอะตอมของไอโอดีน (2-8-18-18-7).

ใหม่!!: ตารางธาตุและไอโอดีน · ดูเพิ่มเติม »

ไอโซโทป

แสดงไอโซโทปของไฮโดรเจนที่เกิดในธรรมชาติทั้งสามตัว ความจริงที่ว่าแต่ละไอโซโทปมีโปรตอนเพียงหนึ่งตัว ทำให้พวกมันทั้งหมดเป็นไฮโดรเจนที่แตกต่างกัน นั่นคือ ตัวตนของไอโซโทปถูกกำหนดโดยจำนวนของนิวตรอน จากซ้ายไปขวา ไอโซโทปเป็นโปรเทียม (1H) ที่มีนิวตรอนเท่ากับศูนย์, ดิวเทอเรียม (2H) ที่มีนิวตรอนหนึ่งตัว, และ ทริเทียม (3H) ที่มีสองนิวตรอน ไอโซโทป (isotope) เป็นความแตกต่างขององค์ประกอบทางเคมีที่เฉพาะเจาะจงของธาตุนั้นซึ่งจะแตกต่างกันในจำนวนของนิวตรอน นั่นคืออะตอมทั้งหลายของธาตุชนิดเดียวกัน จะมีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวล(โปรตอน+นิวตรอน)ต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น.

ใหม่!!: ตารางธาตุและไอโซโทป · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจน

รเจน (Hydrogen; hydrogenium ไฮโดรเจเนียม) เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 1 สัญลักษณ์ธาตุคือ H มีน้ำหนักอะตอมเฉลี่ย 1.00794 u (1.007825 u สำหรับไฮโดรเจน-1) ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุดและพบมากที่สุดในเอกภพ ซึ่งคิดเป็นมวลธาตุเคมีประมาณร้อยละ 75 ของเอกภพ ดาวฤกษ์ในลำดับหลักส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจนในสถานะพลาสมา ธาตุไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหาได้ค่อนข้างยากบนโลก ไอโซโทปที่พบมากที่สุดของไฮโดรเจน คือ โปรเทียม (ชื่อพบใช้น้อย สัญลักษณ์ 1H) ซึ่งมีโปรตอนหนึ่งตัวแต่ไม่มีนิวตรอน ในสารประกอบไอออนิก โปรเทียมสามารถรับประจุลบ (แอนไอออนซึ่งมีชื่อว่า ไฮไดรด์ และเขียนสัญลักษณ์ได้เป็น H-) หรือกลายเป็นสปีซีประจุบวก H+ ก็ได้ แคตไอออนหลังนี้เสมือนว่ามีเพียงโปรตอนหนึ่งตัวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง แคตไอออนไฮโดรเจนในสารประกอบไอออนิกเกิดขึ้นเป็นสปีซีที่ซับซ้อนกว่าเสมอ ไฮโดรเจนเกิดเป็นสารประกอบกับธาตุส่วนใหญ่และพบในน้ำและสารประกอบอินทรีย์ส่วนมาก ไฮโดรเจนเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาเคมีกรด-เบส โดยมีหลายปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนโปรตอนระหว่างโมเลกุลละลายได้ เพราะเป็นอะตอมที่เรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทราบ อะตอมไฮโดรเจนจึงได้ใช้ในทางทฤษฎี ตัวอย่างเช่น เนื่องจากเป็นอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าเพียงชนิดเดียวที่มีผลเฉลยเชิงวิเคราะห์ของสมการชเรอดิงเงอร์ การศึกษาการพลังงานและพันธะของอะตอมไฮโดรเจนได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม มีการสังเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนขึ้นเป็นครั้งแรกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการผสมโลหะกับกรดแก่ ระหว่าง..

ใหม่!!: ตารางธาตุและไฮโดรเจน · ดูเพิ่มเติม »

ไนโอเบียม

ไนโอเบียม (Niobium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 41 และสัญลักษณ์คือ Nb ไนโอเบียมเป็นโลหะทรานซิชัน มีสีเทาหายาก อ่อนนุ่ม ตีเป็นแผ่นได้ พบในแร่ไนโอไบต์ ใช้ทำโลหะผสม โดยเฉพาะการเชื่อมข้อต่อ หมวดหมู่:ธาตุเคมี หมวดหมู่:วัสดุศาสตร์.

ใหม่!!: ตารางธาตุและไนโอเบียม · ดูเพิ่มเติม »

เบริลเลียม

ริลเลียม (Beryllium) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Be และเลขอะตอม 4 เป็นธาตุไบวาเลนต์ที่มีพิษ น้ำหนักอะตอม 9.0122 amu จุดหลอมเหลว 1287°C จุดเดือด (โดยประมาณ) 2970°C ความหนาแน่น (จากการคำนวณ) 1.85 g/cc ที่ 4ํc เลขออกซิเดชันสามัญ + 2 เบริลเลียมเป็นโลหะแอลคาไลน์เอิร์ธ มีสีเทาเหมือนเหล็ก แข็งแรง น้ำหนักเบา แต่เปราะ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เป็นตัวที่ทำให้โลหะผสมแข็งขึ้น (โดยเฉพาะทองแดงเบริลเลียม).

ใหม่!!: ตารางธาตุและเบริลเลียม · ดูเพิ่มเติม »

เฟอร์เมียม

เฟอร์เมียม (Fermium.) เป็นธาตุในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide group) มีเลขอะตอม 100 และสัญลักษณ์ Fm โดยตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์นิวเคลียร์ชื่อ เอนรีโก แฟร์มี (Enrico Fermi) มีสีเงินวาว เป็นธาตุโลหะหนักกัมมันตรังสี และเป็นธาตุสังเคราะห์โดยสังเคราะห์ได้ครั้งแรกจากการยิงพลูโทเนียมด้วยนิวตรอน หมวดหมู่:ธาตุเคมี หมวดหมู่:สารกัมมันตรังสี หมวดหมู่:วัสดุศาสตร์.

ใหม่!!: ตารางธาตุและเฟอร์เมียม · ดูเพิ่มเติม »

เรดอน

รดอน (อังกฤษ: Radon) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 86 และสัญลักษณ์คือ Rn เรดอนเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่เป็นก๊าซเฉื่อย (radioactive noble gas) ได้จากการแยกสลายธาตุเรเดียม เรดอนเป็นก๊าซที่หนักที่สุดและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไอโซโทปของเรดอนคือ Rn-222 ใช้ในงานรักษาผู้ป่วยแบบเรดิโอเธอราปี (radiotherapy) ก๊าซเรดอนที่สะสมในบ้านเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดและทำให้ผู้ป่วยในสหภาพยุโรปเสียชีวิตปีละ 20,000 คน เรดอนถูกสร้างขึ้นโดยผ่านกระบวนการอีกขั้นหนึ่งของการย่อยสลายธาตุกัมมันตรังสีทั่วไป โดยที่ธอเรียมและยูเรเนียมซึ่งเป็นธาตุกัมมันตภาพดึกดำบรรพ์ที่มีอยู่ตั้งแต่ครั้งที่โลกเริ่มก่อตัวขึ้น ได้เกิดการสลายตัวของธาตุและให้ผลเป็นธาตุเรเดียม และการสลายตัวของเรเดียมจึงทำให้เกิดธาตุเรดอน ซึ่งเมื่อเรดอนสลายตัว ก็ทำให้เกิดธาตุ radon  daughter อันเป็นชื่อเรียกของธาตุกัมมันตรังสีใหม่ที่ได้มา ซึ่งต่างจากเรดอนที่มีสถานะเป็นแก๊ซตรงที่มีสถานะเป็นของแข็งและเกาะติดกับพื้นผิว.

ใหม่!!: ตารางธาตุและเรดอน · ดูเพิ่มเติม »

เรเดียม

เรเดียม (Radium) คือธาตุที่มีเลขอะตอม 88 และสัญลักษณ์คือ Ra เรเดียมเป็นธาตุโลหะแอลคาไลน์เอิร์ท ถูกค้นพบโดยมารี กูรี ขณะบริสุทธิ์จะมีสีขาวและจะดำลงเมื่อสัมผัสกับอากาศ ในธรรมชาติพบอยู่กับแร่ยูเรเนียม เรเดียมเป็นธาตุกัมมันตรังสีชนิดเข้มข้น ไอโซโทปที่เสถียรของมันคือ Ra-226 มีครึ่งชีวิตประมาณ 1602 ปี และจะสลายกลายเป็นก๊าซเรดอน รเดเอียม รเดเอียม รเดเอียม รเดเอียม รเดเอียม.

ใหม่!!: ตารางธาตุและเรเดียม · ดูเพิ่มเติม »

เลขอะตอม

เลขอะตอม (atomic number) หมายถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้นๆ หรือหมายถึงจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งวนรอบนิวเคลียสของอะตอมที่เป็นกลาง เช่น ไฮโดรเจน (H) มีเลขอะตอมเท่ากับ 1 เลขอะตอม เดิมใช้หมายถึงลำดับของธาตุในตารางธาตุ เมื่อ ดมิทรี อีวาโนวิช เมนเดลีเยฟ (Dmitry Ivanovich Mendeleev) ทำการจัดกลุ่มของธาตุตามคุณสมบัติร่วมทางเคมีนั้น เขาได้สังเกตเห็นว่าเมื่อเรียงตามเลขมวลนั้น จะเกิดความไม่ลงรอยกันของคุณสมบัติ เช่น ไอโอดีน (Iodine) และเทลลูเรียม (Tellurium) นั้น เมื่อเรียกตามเลขมวล จะดูเหมือนอยู่ผิดตำแหน่งกัน ซึ่งเมื่อสลับที่กันจะดูเหมาะสมกว่า ดังนั้นเมื่อเรียงธาตุในตารางธาตุตามเลขอะตอม ตารางจะเรียงตามคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ เลขอะตอมนี้ถึงแม้โดยประมาณ แล้วจะแปรผันตรงกับมวลของอะตอม แต่ในรายละเอียดแล้วเลขอะตอมนี้จะสะท้อนถึงคุณสมบัติของธาตุ เฮนรี โมสลีย์ (Henry Moseley) ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการกระเจิงของ สเปกตรัมของรังสีเอ็กซ์ (x-ray) ของธาตุ และตำแหน่งที่ถูกต้องบนตารางธาตุ ในปี ค.ศ. 1913 ซึ่งต่อมาได้ถูกอธิบายด้วยเลขอะตอม ซึ่งอธิบายถึงปริมาณประจุในนิวเคลียส หรือ จำนวนโปรตอนนั่นเอง ซึ่งจำนวนของโปรตอนนี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ หมวดหมู่:อะตอม ลเขอะตอม ลเขอะตอม.

ใหม่!!: ตารางธาตุและเลขอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

เวเลนซ์

วเลนซ์ หรือ เวเลนซี (valence or valency) ของธาตุเคมีเป็นการระบุความสามารถของอะตอมในการเกิดเป็นสารประกอบหรือโมเลกุล โดยหลักการเกี่ยวกับเวเลนซีนี้ได้ถูกพัฒนาในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และใช้ในการอธิบายโครงสร้างของสารได้ทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ แม้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับเวเลนซ์จะถูกกล่าวถึงมานานแต่ยังสามารถใช้ได้กับอีกทฤษฎีเกี่ยวกับพันธะเคมี อาทิ ทฤษฎีอะตอมทรงลูกบาศก์ (cubical atom) โครงสร้างลิวอีส (Lewis structures) ทฤษฎีพันธะเวเลนซ์ (valence bond theory; VBT) ทฤษฎีออร์บิทัลเชิงโมเลกุล (molecular orbital theory; MOT) ทฤษฎีการผลักกันของคู่อิเล็กตรอนวงเวเลนซ์ (valence shell electron pair repulsion theory; VSEPR) รวมถึงทฤษฎีควอนตัมสมัยใหม่ เป็นต้น.

ใหม่!!: ตารางธาตุและเวเลนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เวเลนซ์อิเล็กตรอน

วเลนซ์อิเล็กตรอน (valence electron) คือ อิเล็กตรอนในอะตอมที่สามารถมีส่วนร่วมในการสร้างพันธะเคมี สำหรับธาตุหมู่หลัก เวเลนซ์อิเล็กตรอนจะเป็นอิเล็กตรอนในวงนอกสุด (outermost shall) เท่านั้น ส่วนโลหะแทรนซิชัน เวเลนซ์อิเล็กตรอนสามารถเป็นอิเล็กตรอนในวงใน (inner shell) ได้.

ใหม่!!: ตารางธาตุและเวเลนซ์อิเล็กตรอน · ดูเพิ่มเติม »

เอิร์ท (อนุกรมเคมี)

อิร์ท (earth) อาจแปลได้ว่า "ปฐวีธาตุ" (ธาตุดิน) นิยามโดยทั่วไปในภาษาอังกฤษ จึงอาจอ้างเทียบกับ "ธาตุดิน" กล่าวคือหมายถึง มวลสารที่ประกอบขึ้นเป็นแผ่นดินโลก หรือสสารที่มีสถานะเป็นของแข็ง สำหรับนิยามทางเคมี และวิทยาแร่ อาจเจาะจงหมายถึง แร่หรือสารประกอบกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นสารประกอบประเภทออกไซด์ของธาตุโลหะ ที่ปรากฏพบได้ในธรณีภาค (ชั้นหิน) ของโลก รวมถึง ธาตุเคมี ที่ประกอบขึ้นเป็นแร่หรือสารประกอบนั้น โดยมีข้อสังเกตว.

ใหม่!!: ตารางธาตุและเอิร์ท (อนุกรมเคมี) · ดูเพิ่มเติม »

เจอร์เมเนียม

อร์เมเนียม (Germanium) เป็นธาตุที่อยู่ระหว่างซิลิคอน (Si) และดีบุก (Sn) สัญลักษณ์คือ Ge ในกลุ่ม IVa ของตารางธาตุ เป็นพวกเมทัลลอยด์สีเทาเงิน มีคุณสมบัติก้ำกึ่งระหว่างโลหะและอโลห.

ใหม่!!: ตารางธาตุและเจอร์เมเนียม · ดูเพิ่มเติม »

เทลลูเรียม

เทลลูเรียม (Tellurium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 52 และสัญลักษณ์คือ Te เทลลูเรียมเป็นธาตุกึ่งโลหะ (metalloid) มีสีขาวเงินเหมือนดีบุก เทลลูเรียมมีสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกับซีลีเนียมและกำมะถัน ใช้ประโยชน์ในการทำโลหะผสมและสารกึ่งตัวนำ หมวดหมู่:เทลลูเรียม หมวดหมู่:ธาตุเคมี หมวดหมู่:วัสดุศาสตร์.

ใหม่!!: ตารางธาตุและเทลลูเรียม · ดูเพิ่มเติม »

เทนเนสซีน

ทนเนสซีน (Tennessine) เป็นธาตุในกลุ่มโลหะหลังทรานซิชัน ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 117 และมีสัญลักษณ์ Ts เคยมีชื่อชั่วคราวในระบบ IUPAC คือ "อูนอูนเซปเทียม" (สัญลักษณ์ธาตุ Uus) และมีชื่อชั่วคราวอีกชื่อตามพยากรณ์ของดมีตรี เมนเดเลเยฟว่า "เอกา-แอสทาทีน" (eka-astatine) ถูกค้นพบในปี..

ใหม่!!: ตารางธาตุและเทนเนสซีน · ดูเพิ่มเติม »

เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย

รือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ในชื่อภาษาอังกฤษว่า สคูลเน็ตไทยแลนด์ (SchoolNet Thailand) คือโครงการส่งเสริมการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนทั่วประเทศไทย ก่อตั้งโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยยกระดับการศึกษาและคุณภาพการศึกษาของเยาวชนไทย พร้อมกับลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระหว่างเด็กนักเรียนในเมืองและชนบท เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์แห่งแรกในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่เปิดโอกาสให้โรงเรียนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน และได้รับการยกย่องว่าเป็นโครงการตัวอย่าง (Best Practice) ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการศึกษาหาความรู้ (digital divide) ในรายงาน Human Development Report 2001 ขององค์การสหประชาชาติ และในรายงาน APEC New Economy Report 2001 นอกจากนี้ UNESCO ยังได้ผลักดันให้เกิดเป็นความร่วมมือในประเทศสมาชิกอาเซียนจัดทำโครงการ ASEAN SchoolNet เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดทำ และพัฒนา SchoolNet ของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน.

ใหม่!!: ตารางธาตุและเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย · ดูเพิ่มเติม »

เซอร์โคเนียม

ซอร์โคเนียม (Zirconium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 40 และสัญลักษณ์คือ Zr เป็นโลหะทรานซิชันมีสีขาวเทาคล้ายไทเทเนียม สามารถสกัดได้จากแร่เซอร์คอนมันทนต่อการกันกร่อนมาก เซอร์โคเนียมในรูปของออกไซด์ค้นพบโดย N.H. Klaproth ในปี ค.ศ. 1789 ขณะที่ทำการศึกษาแร่ zircon ซึ่งเป็นซิลิเกตของเซอร์โคเนียม, (ZrSio5) ในรูปของพลอย (gemstone) จากซีลอน พลอย zircon มีชื่อมาจากภาษาอาหรับ zargum หมายถึงสีทองคำ และ Klaproth ตั้งชื่อธาตุนี้ว่า zirconium ในปี..

ใหม่!!: ตารางธาตุและเซอร์โคเนียม · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกอิเล็กตรอน

ตารางธาตุกับชั้นพลังงานของอิเล็กตรอน ในสาขาวิชาเคมีและฟิสิกส์ของอะตอม เปลือกอิเล็กตรอน (electron shell) หรือ ระดับพลังงานหลัก (principal energy level) อาจเข้าใจได้ว่าเป็นวงโคจรของอิเล็กตรอนที่หมุนวนอยู่รอบนิวเคลียสของอะตอม เปลือกที่ใกล้นิวเคลียสที่สุดเรียกว่าเป็น เปลือกชั้นที่ 1 (หรือเปลือก K) ต่อมาจึงเป็น เปลือกชั้นที่ 2 (หรือเปลือก L), เปลือกชั้นที่ 3 (หรือเปลือก M) ไกลออกมาเรื่อย ๆ จากนิวเคลียส เปลือกเหล่านั้นจะสอดคล้องกับเลขควอนตัมหลัก (n.

ใหม่!!: ตารางธาตุและเปลือกอิเล็กตรอน · ดูเพิ่มเติม »

เป็กกา ปืกเกอ

ป็กกา ปืกเกอ (Pekka Pyykkö) เกิดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2483 เป็นศาสตราจารย์ชาวฟินแลนด์ด้านเคมีในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ในช่วง..

ใหม่!!: ตารางธาตุและเป็กกา ปืกเกอ · ดูเพิ่มเติม »

เนปทูเนียม

นปทูเนียม (Neptunium)เป็นธาตุกลุ่มแอคติไนต์ธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 93 สัญลักษณ์ Np เป็นธาตุโลหะหนัก กัมมันตภาพรังสี อยู่ในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide group) และเป็นธาตุทรานซูแรนิค (transuranic element) เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่ไม่ปรากฏในธรรมชาติที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ซึ่งชนิดแรกที่ได้จากการสังเคราะห์เป็นผลพลอยได้จากเตาปฏิกรปรมณูและการผลิตพลูโทเนียมไอโซโทปที่เสถียรที่สุดคือ Np-237 ในธรรมชาติพบปริมาณเล็กน้อยในสินแร่ยูเรเนียมธาตุเนปทูเนียมมีสมบัติเป็นโลหะหนักเป็นของแข็งสีเงินเป็นมันวาว มีความบริสุทธิ์สูงมีประโยชน์อย่างมากในการนำมาใช้ผลิตธาตุที่เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานนิวเคลียร์ สามารถใช้ทำระเบิดนิวเคลียร์ได้.

ใหม่!!: ตารางธาตุและเนปทูเนียม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Periodic table

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »