โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตลาดเสรี

ดัชนี ตลาดเสรี

ตลาดเสรี คือตลาดในอุดมคติ ที่การตัดสินใจและกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดของปัจเจกบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนเงินตรา สินค้า และบริการ กระทำด้วยความ สมัครใจ นั่นคือไม่มีการบีบบังคับและการลักทรัพย์ (บางครั้งนิยามของ "การบีบบังคับ" จะครอบคลุมถึง "การลักทรัพย์" ด้วย) เมื่อกล่าวโดยทั่วไป เศรษฐกิจตลาดเสรี หมายถึงระบบเศรษฐกิจที่มีตลาดที่ ค่อนข้าง เสรี เช่นในระบบเศรษฐกิจเมื่อรัฐบาลใช้นโยบายปล่อยให้ทำไป ซึ่งจะแตกต่างกับระบบ แบบผสม หรือ แบบนิยมอำนาจรัฐ ในทางเศรษฐศาสตร์มักใช้คำว่า "ตลาด" หรือ "กลไกตลาด" เพื่อหมายถึงการจัดสรรการผลิตโดยผ่านทางอุปสงค์และอุปทาน ตลาดเสรีได้รับการสนับสนุนโดยผู้นิยมในเศรษฐศาสตร์แนวเสรีนิยม หมวดหมู่:การตลาด หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์.

4 ความสัมพันธ์: ตลาดปล่อยให้ทำไปโจรกรรมเศรษฐกิจแบบผสม

ตลาด

ตลาดสดในสิงคโปร์ ตลาด เป็นการชุมนุมกันทางสังคม แลกเปลี่ยนสินค้ากัน ในภาษาทั่วไป ตลาดหมายความรวมถึงสถานที่ที่มนุษย์มาชุมนุมกันเพื่อค้าขาย ในทางเศรษฐศาสตร์ ตลาดหมายถึงการแลกเปลี่ยนซื้อขาย โดยไม่มีความหมายของสถานที่ทางกายภาพ การค้าขายของไทยสมัยก่อนนั้น เน้นทางน้ำเป็นหลัก เพราะการคมนาคมทางน้ำเป็นการคมนาคมหลักของคนไทย ซึ่งอาจจะเห็นได้จากการมีตลาดน้ำต่าง ๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้าและบริการตามความถนัดของแต่ละครอบครัว เป็นแหล่งรายได้ที่สุจริตของแต่ละครอบครัว เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในชุมชนรวมถึงจากภายนอกเข้าสู่ชุมชนด้วย และยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในระดับชุมชน รวมถึงการช่วยธำรงรักษาวัฒนธรรมประเพณีในชุมชน ในกรณีของชุมชนที่มีวัฒนธรรมความเป็นมา จากการที่กลุ่มคนในชุมชนมีการสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีด้วยกัน คำว่า "ตลาด" สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "ยี่สาร" ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า "บาซาร์" ในภาษาเปอร์เซีย ซึ่งแปลว่า "ตลาด" ตามชาวเปอร์เซียเริ่มเข้ามาในประเทศไทยสมัยพระเจ้าปราสาททอง.

ใหม่!!: ตลาดเสรีและตลาด · ดูเพิ่มเติม »

ปล่อยให้ทำไป

ในทางเศรษฐศาสตร์ ปล่อยให้ทำไป (laissez-faire) หมายถึง ปล่อยให้อุตสาหกรรมดำเนินการไปโดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจำกัดในรูปของพิกัดอัตราศุลกากรและการผูกขาดโดยรัฐบาล วลี "Laissez-faire" เป็นวลีภาษาฝรั่งเศส ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษรว่า "ปล่อยให้ทำไป" จัดเป็นนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมรูปแบบหนึ่ง.

ใหม่!!: ตลาดเสรีและปล่อยให้ทำไป · ดูเพิ่มเติม »

โจรกรรม

รกรรม (ศัพท์ทางศาสนาเรียกว่า ไถยกรรม) หมายถึงการกระทำที่นำเอาทรัพย์สินของผู้อื่นโดยเจตนา เพื่อยึดทรัพย์สินนั้นมาเป็นของตน ซึ่งเจ้าของทรัพย์สินไม่ได้อนุญาตหรือยินยอม คำนี้สามารถเรียกแทนอาชญากรรมบางประเภทที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินอาทิ การลักทรัพย์ (ขโมย) การลักทรัพย์ในเคหสถาน (ย่องเบา/ยกเค้า) การลักทรัพย์ในร้านค้า การยักยอก การชิงทรัพย์ (ปล้น) การฉกชิงทรัพย์ (ปล้นสะดม) และการฉ้อโกง ในบางเขตอำนาจศาล "โจรกรรม" (theft) มีความหมายเหมือนกับ "การลักทรัพย์" (larceny) โจร หมายถึงผู้ที่กระทำโจรกรรมดังกล่าว ภาษาพูดอาจเรียกว่า ผู้ร้าย โบราณเรียก ฎางการ ก็มี ราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: ตลาดเสรีและโจรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจแบบผสม

รษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจซึ่งทั้งภาคเอกชนและรัฐชี้นำเศรษฐกิจ ซึ่งสะท้อนลักษณะของทั้งเศรษฐกิจแบบตลาดและเศรษฐกิจที่มีการวางแผน เศรษฐกิจแบบผสมส่วนมากอาจอธิบายได้ว่าเป็นเศรษฐกิจแบบตลาดที่มีการควบคุมดูแลอย่างเข้มแข็งและการจัดหาสินค้าสาธารณะของรัฐบาล เศรษฐกิจแบบผสมบางแห่งยังมีลักษณะรัฐวิสาหกิจ โดยทั่วไป เศรษฐกิจแบบผสมมีลักษณะคือ เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ความเด่นของตลาดสำหรับการประสานงานเศรษฐกิจ และวิสาหกิจแสวงผลกำไรและการสะสมทุนที่เหลือเป็นปัจจัยขับหลักมูลเบื้องหลังกิจกรรมเศรษฐกิจ ทว่า รัฐบาลจะถืออิทธิพลเศรษฐกิจมหภาคโดยอ้อมเหนือเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลังและการเงินซึ่งออกแบบมาเพื่อรับมือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและแนวโน้มของทุนนิยมต่อวิกฤตการณ์การเงินและการว่างงาน ร่วมกับมีบทบาทในการแทรกแซงซึ่งสนับสนุนสวัสดิการสังคม ซึ่งไม่เหมือนกับเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี ต่อมา เศรษฐกิจแบบผสมบางประเทศได้ขยายขอบเขตให้รวมบทบาทสำหรับการวางแผนเศรษฐกิจชี้นำและ/หรือภาควิสาหกิจสาธารณะขนาดใหญ่ด้วย ไม่มีนิยามระบบเศรษฐกิจแบบผสมอย่างเดียว โดยนิยามหลากหลายว่าเป็นการผสมตลาดเสรีกับการแทรกแซงของรัฐ หรือการผสมวิสาหกิจสาธารณะและเอกชน หรือเป็นการผสมระหว่างตลาดและการวางแผนเศรษฐกิจ จุดแข็งหรือจุดอ่อนเปรียบเทียบของแต่ละส่วนในเศรษฐกิจของชาติอาจต่างกันได้มากแล้วแต่ประเทศ เศรษฐกิจตั้งแต่ของสหรัฐอเมริกาจนถึงคิวบาเรียก เศรษฐกิจแบบผสม คำนี้ยังใช้อธิบายเศรษฐกิจของประเทศที่เรียก รัฐสวัสดิการ เช่น ประเทศนอร์ดิก รัฐบาลในเศรษฐกิจแบบผสมมักจัดการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การรักษามาตรฐานการจ้างงาน ระบบสวัสดิการปรับมาตรฐานและการรักษาการแข่งขัน.

ใหม่!!: ตลาดเสรีและเศรษฐกิจแบบผสม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »