โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรและนิยามของตรา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรและนิยามของตรา

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร vs. นิยามของตรา

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร (Royal coat of arms of the United Kingdom) เป็นตราอาร์มของพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรที่ในปัจจุบันคือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ตรานี้ใช้โดยสมเด็จพระราชินีนาถในโอกาสทางราชการในฐานะพระมหากษัตรีย์แห่งสหราชอาณาจักร และ รู้จักอย่างเป็นทางการว่า “ตราอาร์มแห่งราชอาณาจักร” (Arms of Dominion) ตราอาร์มที่แปลงจากตรานี้ใช้โดยสมาชิกอื่นๆ ในพระราชวงศ์อังกฤษ และ โดยรัฐบาลบริเตนในกิจการที่เกี่ยวกับการบริหารและการปกครองประเทศ ในสกอตแลนด์สมเด็จพระราชินีนาถทรงมีตราที่แปลงจากตรานี้ ซึ่งเป็นตราเดียวกับที่ใช้โดยรัฐบาลสกอตแลนด์ (Scotland Office) โล่ในตราแบ่งสี่ ในช่องที่หนึ่งหรือช่องบนซ้าย และช่องที่สี่หรือล่างขวาเป็นตราสิงห์สามตัวที่เป็นสัญลักษณ์ของอังกฤษ ในช่องที่สองหรือบนขวาเป็นสิงห์ยืนในกรอบล้อมด้วยสัญลักษณ์ดอกลิลลี ที่เป็นสัญลักษณ์ของสกอตแลนด์ และในช่องที่สามหรือช่องล่างซ้ายเป็นฮาร์พเกลลิค (Clàrsach) ที่เป็นสัญลักษณ์ของไอร์แลนด์เหนือ (การบรรยายเป็นไปตามหลักการให้คำนิยามของตรา) เครื่องยอด (crest) เป็นสิงห์ยืนหันหน้าหน้าสวมมงกุฎอิมพีเรียลสเตทบนหัวและยืนบนสัญลักษณ์ของมงกุฎเดียวกัน ประคองข้าง (Supporters) ด้านซ้ายเป็นสิงห์ยืนผงาดสวมมงกุฎ ประคองข้างด้านขวาเป็นยูนิคอร์นเงินแห่งสกอตแลนด์ ตามตำนานยูนิคอร์นที่เป็นอิสระเป็นสัตว์ที่อันตราย ฉะนั้นยูนิคอร์นที่ใช้ในอิสริยาภรณ์จึงเป็นยูนิคอร์นที่ล่ามโซ่ เช่นเดียวกับยูนิคอร์นสองตัวที่ประคองข้างตราแผ่นดินของสกอตแลนด์ ตรามีคำขวัญของทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร (Dieu et Mon Droit) “พระเจ้าและสิทธิแห่งข้า” และ คำขวัญของเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์ “ความละอายจงมาสู่ผู้คิดร้าย” (Honi soit qui mal y pense) บนแถบอยู่รอบโล่หลังตร. นิยามของตรา (Blazon) ในด้านการศึกษาทางด้านมุทราศาสตร์ และ ธัชวิทยา “Blazon” หรือ “นิยามของตรา” คือคำบรรยายอย่างเป็นทางการของลักษณะของตรา ที่ส่วนใหญ่เป็นการบรรยายตราอาร์ม หรือ ธง ที่สามารถทำให้ผู้สร้างสามารถสร้างตรา, ธง หรือ เครื่องหมายได้ตามความต้องการอย่างถูกต้อง ฉะนั้นรูปลักษณะและองค์ประกอบของตราอาร์ม หรือ ธงตามหลักแล้วไม่ใช่เป็นการบรรยายโดยการใช้รูป แต่จะเป็นการบรรยายโดยตัวอักษร (แต่ในสมัยปัจจุบัน จะมีการให้นิยามเพิ่มเติมและบรรยายอย่างเจาะจงกว่าที่เป็นมาด้วยรายละเอียดทางเรขาคณิต) “นิยามของตรา” ใช้ภาษาเฉพาะทางในการเขียนนิยามตั้งแต่หลักการวางตำแหน่งของคำบรรยาย การใช้คำกิริยา ไปจนถึงหลัก และลำดับการเขียนคำบรรยายของแต่ละส่วนที่ย่อยออกไป เช่นคำแรกที่พบในการบรรยายตราคือชื่อผิวตรา ที่หมายถึงสีหรือผิวของพื้นตรา เช่น “Azure...” ซึ่งหมายความว่า “ (พื้นตรา) น้ำเงิน” ผู้อ่านที่เข้าใจหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยามจะทราบว่า “Azure...” เป็นสีของพื้นตราโดยไม่ต้องมีคำว่า “Field” ที่แปลว่าพื้นตรานำหน้าคำว่า “Azure...” เพราะตำแหน่งการวางคำเป็นไปตามหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยาม นอกจากโครงสร้างการวางลำดับการบรรยายและการใช้ไวยากรณ์แล้ว นิยามของตราในมุทราศาสตร์ก็ยังใช้คำศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะกิจเช่นคำว่า “Charge” ที่หมายถึง “เครื่องหมาย” บน “พื้นตรา” (Field) หรือคำว่า “Attitude” ที่หมายถึง “ลักษณะการวางท่า” ของมนุษย์หรือสัตว์ที่ปรากฏบนตรา นอกจากตราอาร์ม หรือ ธง แล้ว “นิยามของตรา” ก็อาจจะใช้ในการบรรยายลักษณะของสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ตรายศ (badge), แถบคำขวัญ (banner) และ ตราประทั.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรและนิยามของตรา

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรและนิยามของตรา มี 10 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2380พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)สหราชอาณาจักรสิงโตในมุทราศาสตร์สีทอง (มุทราศาสตร์)คำขวัญตราอาร์มประคองข้าง (มุทราศาสตร์)เออร์มินเครื่องยอด (มุทราศาสตร์)

พ.ศ. 2380

ทธศักราช 2380 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1837.

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรและพ.ศ. 2380 · นิยามของตราและพ.ศ. 2380 · ดูเพิ่มเติม »

พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)

ู่ประดับ หรือ ประดับหลัง (Mantling หรือ lambrequin) ในมุทราศาสตร์ “พู่ประดับ” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็น ที่มีลักษณะเหมือนพู่ที่ผูกติดกับหมวกเกราะที่ตั้งอยู่เหนือโล่ภายในตราและเป็นฉากหลังของโล่ ในการบรรยายพู่ประดับมักจะกล่าวว่าเป็นสิ่งที่ใช้สำหรับการป้องกัน (มักจะทำด้วยผ้าลินนิน) ที่ใช้โดยอัศวินบนหมวกเกราะ ประการที่สองเพื่อเป็นการช่วยลดความรุนแรงเมื่อถูกโจมตี ซึ่งทำให้วาดเป็นชายขาดเป็นริ้ว มีแต่ในบางกรณีที่เป็นผ้าทั้งชิ้นที่ปรากฏบนตราของนักบวชที่ใช้หมวกเกราะและพู่ประดับเพื่อแสดงว่านักบวชมิได้เข้าต่อสู้ในการรบ โดยทั่วไปแล้วพู่ประดับจะนิยามว่า “mantled x, doubled” “y”(“พู่ประดับ ก สองด้าน ข”) ผ้าที่ใช้เป็นพู่มีสองด้านที่มักจะใช้สีที่เป็นที่เป็นสีหลักของตราหรือสีประจำเหล่า (ดูรายละเอียดการใช้สีในบทความผิวตรา) แต่ก็มีบางกรณีที่มิได้เป็นไปตามกฎที่ว่านี้หรือด้านหน้าอาจจะมีสองสีที่นิยามว่า “per pale of x and y”(“ ผ่ากลาง สี ก และ สี ข”) หรือทั้งด้านนอกและในจะผ่ากลางเป็นสองสี และบางครั้งก็จะแบ่งต่างไปจากการผ่ากลาง แต่ก็มีไม่มากนัก และที่มีบ้างคือการใช้ผ่ากลางที่เป็นผิวตราโลหะสองชนิด หรือพู่ประดับทั้งหมดเป็นสีเดียว พู่ประดับของ Black Loyalist Heritage Society เป็นพู่ที่เป็นเอกลักษณ์ที่เป็นพู่ที่ประกอบด้วยขนสัตว์สองนอกและใน (เออร์มินบุด้วยเออร์มิน) ตราแผ่นดินของแคนาดาพู่ประดับสองสีแดงและขาวหรือ “argent doubled gules” หรือ “พื้นขาว ด้านหลังสีแดง” ที่เป็นใบเมเปิล ตราอาร์มของหลวงเช่นตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรหรือตราประจำพระองค์ของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะมีนิยามพู่ประดับว่า “Or, lined ermine” หรือ “พื้นทอง, บุเออร์มิน” ซึ่งเป็นลักษณะที่สงวนไว้สำหรับพระมหากษัตริย์ ซิริล วูดส์ บารอนแห่งสเลนมีพู่ประดับที่นิยามว่า “tasselled Gold” หรือ “พู่ประดับปลายเป็นพู่สีทอง” ในสมัยแรกของการออกแบบเครื่องยอดก่อนที่จะมีแพรประดับ ก็มีการใช้จุลมงกุฎและมาลา (chapeau) และสิ่งตกแต่งก็จะต่อเนื่องลงมาที่นิยามว่า “continued into the mantling” หรือ “ต่อลงมาเป็นพู่ประดับ” ซึ่งยังคงใช้กันมากในเยอรมนี ไฟล์:Grosses_Wappen_Celle.png|พู่ประดับเป็นริ้วสองด้านสองสีของเซลเลอในเยอรมนี ไฟล์:Wappen Pirna.png|พู่ประดับสองสีของแพร์นาในเยอรมนี ไฟล์:Royal Coat of Arms of the United Kingdom.svg|พู่ประดับทองและเออร์มินของตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ไฟล์:Duke of Argyll coat of arms.svg|พู่ประดับเออร์มินของตราของดยุคแห่งอาร์กาล์ย ไฟล์:Wappen-wenkheim.png|พู่ประดับทั้งชิ้นที่ไม่เป็นริ้ว ไฟล์:Coat of arms of Canada (1921-1957).svg|พู่ประดับที่ไม่ใช่ผ้าของตราแผ่นดินของแคนาดา ไฟล์:Escudo de Quilpué.svg|พู่ประดับที่ไม่ใช่ผ้าแต่เป็นเถาองุ่นของ Quilpué ในชิลี ไฟล์:Coat of arms of Bahrain.svg|พู่ประดับไม่มีหมวงของตราแผ่นดินของบาห์เรน ไฟล์:Coat_of_Arms_of_Russian_Empire.svg|ตราแผ่นดินของรัสเซีย ไฟล์:ArmesADN3.png|พู่ประดับทางศาสน.

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรและพู่ประดับ (มุทราศาสตร์) · นิยามของตราและพู่ประดับ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรและสหราชอาณาจักร · นิยามของตราและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตในมุทราศาสตร์

งโต (Lion) เป็นสัตว์ที่นิยมใช้เป็นเครื่องหมายกันในตราอาร์มกันมากที่สุดเครื่องหมายหนึ่ง เพราะเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ การรักษาเกียรติยศ ความแข็งแกร่ง และ ความเป็นสัตว์ที่ถือกันว่าสูงศักดิ์ ที่เดิมถือกันว่าเป็นราชาแห่งสัตว์ทั้งปวง.

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรและสิงโตในมุทราศาสตร์ · นิยามของตราและสิงโตในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สีทอง (มุทราศาสตร์)

ีทองทางซ้าย หรือ ลายประ ตราแผ่นดินของนอร์เวย์ สีทอง หรือ ออร์ (Or (heraldry)) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีทอง ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีอ่อนที่เรียกว่ากลุ่ม “โลหะ” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ (engraving) “ทอง” ก็จะเป็นลายประที่เป็นจุดห่างจากกันเท่าๆ กัน “ออร์” มักจะปรากฏเป็นสีเหลือง แต่บางทีก็ใช้ทองคำเปลวถ้าเป็นภาพในหนังสือวิจิตร หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “Or (heraldry)” ของคำว่า “Or (heraldry)” คำว่า “Or” มาจากภาษาฝรั่งเศส ว่า “Or” ที่แปลว่า “ทอง” บางครั้งก็จะใช้คำว่า “Gold” แทนที่จะใช้คำว่า “Or” ในการให้นิยามของตรา บางครั้งเพื่อป้องกันการใช้คำว่า “Or” ซ้ำกันหลายครั้ง หรือเพราะเป็นคำที่นิยมใช้กันเมื่อทำการบันทึก หรือเจ้าหน้าที่ผู้บันทึกนิยามอาจจะนิยมใช้คำว่า “Gold” มากกว่า อักษร “O” ของ “Or” มักจะสะกดด้วยอักษรตัวใหญ่ เช่นในคำนิยาม Gules, a fess Or (พื้นตราสีแดง, แถบขวางสีทอง) เพื่อไม่ให้สับสนกับคำว่า “or” (ที่แปลว่าหรือ) ที่เป็นคำสันธานในภาษาอังกฤษ รงคตราสีทองเป็นสัญลักษณ์ของ.

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรและสีทอง (มุทราศาสตร์) · นิยามของตราและสีทอง (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

คำขวัญ

ำขวัญ หมายถึง ถ้อยคำ ข้อความ คำคล้องจอง หรือบทกลอนสั้นๆ เพื่อให้จำได้ง่าย โดยอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้.

คำขวัญและตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร · คำขวัญและนิยามของตรา · ดูเพิ่มเติม »

ตราอาร์ม

ตราแผ่นดินของหลายประเทศมีลักษณะเป็นตราอาร์ม ดังเช่นภาพตราแผ่นดินของประเทศในสหภาพยุโรป ตราอาร์ม (Coat of arms, เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า armorial achievement หรือ armorial bearings, เรียกอย่างย่อว่า arms) ในธรรมเนียมของทวีปยุโรป เป็นสัญลักษณ์ซึ่งออกแบบขึ้นสำหรับบุคคลหรือคณะบุคคล อันมีการดัดแปลงใช้ในหลายลักษณะ พัฒนามาจากตราประจำตัวของอัศวินในยุโรปสมัยโบราณเพื่อจำแนกพวกของตนออกจากพวกของศัตรู สามัญชนในยุโรปภาคพื้นทวีปอาจใช้ตราอาร์มเป็นสัญลักษณ์ได้เช่นกัน แต่เรียกชื่อชนิดตราต่างออกไปว่า Burgher arms ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ของประเทศไทย ได้ให้นิยามของคำว่า "อาร์ม" ไว้ดังนี้ ตราอาร์มนั้นต่างจากตราประทับ (seal) และตราสัญลักษณ์ (emblem) ตรงที่มีการให้คำอธิบายอย่างเป็นทางการโดยมีศัพท์เฉพาะของตนเอง ซึ่งเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า Blazon หรือเทียบเป็นภาษาไทยว่า นิยามของตรา ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 21 ตราอาร์มได้มีการนำไปใช้กับสถาบันต่างๆ เช่นมหาวิทยาลัย ตราของแต่ละแห่งจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและปกป้องสิทธิการใช้งาน การใช้ตราดังว่ามานี้ยังรวมถึงการใช้เป็นเครื่องหมายราชการประจำชาติหลายประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือใช้เป็น "ตราแผ่นดิน" นั่นเอง ศิลปะในการออกแบบ การแสดงให้ปรากฏ การอธิบาย และการบันทึกตราอาร์ม เรียกว่า heraldry อันอาจแปลเป็นภาษาไทยตามสำนวนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ว่า "มุทราศาสตร์".

ตราอาร์มและตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร · ตราอาร์มและนิยามของตรา · ดูเพิ่มเติม »

ประคองข้าง (มุทราศาสตร์)

ประคองข้าง (Supporters) ในมุทราศาสตร์ “ประคองข้าง” เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็นมักจะตั้งอยู่สองข้างของโล่ (Escutcheon) ในท่าประคอง รูปที่ใช้อาจจะเป็นสิ่งที่มีจริงหรือสิ่งจากจินตนาการที่รวมทั้งมนุษย์, สัตว์, พันธุ์ไม้ หรือองค์ประกอบของสถาปัตยกรรม และอื่นๆ สิ่งที่ใช้มักจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อเจ้าของตรา เช่นชาวประมงและคนทำเหมืองของตราของแคว้นคอร์นวอลล์ หรือมีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์ เช่นสิงโตของอังกฤษและยูนิคอร์นของสกอตแลนด์ในตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร หรือตราของริโอกรานเดเดอนอร์เตในบราซิลที่มีต้นมะพร้าวและปาล์มเป็นประคองข้าง “ประคองข้าง” ที่เป็นมนุษย์อาจจะเป็นอุปมานิทัศน์หรือนักบุญ โดยทั่วไปแล้วประคองข้างมักจะตั้งอยู่สองข้างของโล่แต่ก็มีบางตราที่มีประคองข้างเพียงข้างเดียวเช่นตราของสาธารณรัฐคองโก หรือของเมืองเพิร์ธในสกอตแลนด์ ถ้าเป็นสัตว์ก็มักจะเป็นท่า “ยืนผงาด” (rampant) ซึ่งเป็นท่ายืนบนเท้าหลัง สองขาหน้ายกขึ้นประคองตร.

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรและประคองข้าง (มุทราศาสตร์) · นิยามของตราและประคองข้าง (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เออร์มิน

ออร์มิน หรือ สโทธ หรือ เพียงพอนหางสั้น (Ermine, Stoat, Short-tailed weasel) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกินเนื้อขนาดเล็กจำพวกวีเซล หรือเพียงพอน เออร์มิน เป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ทวีปยุโรป, ยูเรเชีย และอเมริกาเหนือ เป็นสัตว์นักล่าที่หากินสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ ไม่เลือก เป็นอาหาร เป็นสัตว์ที่ถูกล่าเพื่อนำหนังและขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์ สีขนของเออร์มินจะเปลี่ยนไปเป็นสีขาวล้วนในช่วงฤดูหนาว สีขนโดยปกติจะเป็นสีน้ำตาลที่ส่วนหลัง บริเวณท้องซีดจางกว่า หางเป็นพุ่มพวงปลายหางแหลมเป็นสีดำ สามารถแบ่งออกได้เป็นชนิดย่อยทั้งสิ้น 37 ชนิด ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียมาก พฤติกรรมในธรรมชาติ ตัวเมียจะผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกันยายนและพฤศจิกายนและมีระยะเวลาการตั้งท้องนาน 8-11 เดือน ออกลูกเพียงปีละครั้ง ครั้งหนึ่งประมาณ 6-13 ตัว มีพฤติกรรมอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย สามารถพบเห็นได้ตามหาดทรายจนถึงบนชนบทที่อยู่สูง โดยสามารถพบได้ในทุกความสูงจากระดับน้ำทะเล เออร์มินชอบที่จะอยู่ในป่าที่เป็นถิ่นกำเนิดดั้งเดิม, ป่าละเมาะ, เนินทราย และพุ่มหญ้า จัดเป็นสัตว์ที่มีความว่องไวมากและจากการที่เป็นสัตว์ที่กินอาหารไม่เลือก จึงสร้างความเสียหายใหญ่หลวงให้แก่นก และสัตว์อื่น ๆ เพราะสามารถล่านกตลอดจนไข่กินเป็นอาหารได้ และจัดเป็นสัตว์รังควานอีกชนิดหนึ่ง เออร์มินได้ถูกนำเข้าไปในนิวซีแลนด์ ซึ่งดั้งเดิมไม่เคยมีสัตว์กินเนื้อมาก่อน ปัจจุบันเออร์มินได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไปแล้ว ที่คุกคามสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่มีเฉพาะในนิวซีแลนด์หลายชนิด เช่น นกกีวี หรือนกแก้วคาคาโป โดยเออร์มินจะเข้าไปกินไข่หรือล่าตัวอ่อนนกเหล่านี้ ซึ่งเป็นนกบินไม่ได้เป็นอาหาร อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการใกล้สูญพัน.

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรและเออร์มิน · นิยามของตราและเออร์มิน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องยอด (มุทราศาสตร์)

รื่องยอด (Crest) เป็นองค์ประกอบของตราอาร์มที่ได้ชื่อดังกล่าวเพราะตำแหน่งที่ตั้งอยู่เหนือหมวกเกราะเหมือนหงอนที่อยู่บนหัวนกบางชนิด เครื่องยอดแรกที่สุดของอิสริยาภรณ์เป็นภาพที่เขียนบนพัดโลหะ ที่มักจะนำมาใช้ในการประดับตราอาร์ม ที่เขียนบนโล่ ที่ต่อมาเลิกใช้ไป ต่อมาเครื่องยอดใช้แกะบนหนังหรือวัสดุอื่น เดิม “เครื่องยอด” มักจะติดต่อลงมายังพู่ประดับ แต่ปัจจุบันเครื่องยอดมักจะอยู่เหนือผ้าคาด (torse) ที่ประกอบด้วยสีหลักของโล่ (สีประจำเหล่า) แต่บางครั้งก็จะมีการใช้จุลมงกุฎแทนผ้าคาด แต่ก็มีบ้างในบางกรณีก็มีจุลมงกุฎเหนือผ้าคาดและเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องยอด เครื่องยอดจุลมงกุฎที่ใช้กันบ่อยที่สุดคือรูปสัญลักษณ์ของจุลมงกุฎดยุก ที่มีสี่แฉกแทนที่จะเป็นแปดแฉก ถ้าเป็นเครื่องยอดของเมืองก็มักจะเป็น “มงกุฎเชิงเทิน” (mural crown) หรือจุลมงกุฎในรูปของหยักเชิงเทิน สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องยอดก็อาจจะเป็นสัตว์โดยเฉพาะสิงโต ตามปกติมักจะเป็นครึ่งด้านหน้า, มนุษย์ที่มักจะเป็นรูปครึ่งตัว, แขนหรือมือถืออาวุธ หรือปีกนก ในเยอรมนีและประเทศใกล้เคียงเครื่องยอดมักจะนำมาจากเครื่องหมายประจำกลุ่มในรูปของหมวกสูง, ขนนกบนหมวกสลับสี หรือแตรงอนคู่ แตรอาจจะมีรูตรงปลายเพื่อเสียบช่อขนนกหรือช่อดอกไม้.

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรและเครื่องยอด (มุทราศาสตร์) · นิยามของตราและเครื่องยอด (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรและนิยามของตรา

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร มี 28 ความสัมพันธ์ขณะที่ นิยามของตรา มี 41 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 10, ดัชนี Jaccard คือ 14.49% = 10 / (28 + 41)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรและนิยามของตรา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »