โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาคำยัง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาคำยัง

ตระกูลภาษาไท-กะได vs. ภาษาคำยัง

ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai–Kadai languages) หรือรู้จักกันในนาม กะได (Kadai), ขร้าไท (Kradai) หรือ ขร้า-ไท (Kra–Dai) เป็นตระกูลภาษาของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของประเทศจีน ในช่วงแรก ตระกูลภาษาไท-กะไดเคยถูกกำหนดให้เป็นอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต แต่ปัจจุบันได้แยกมาเป็นอีกตระกูลภาษาหนึ่ง และยังมีผู้เห็นว่าตระกูลภาษาไท-กะไดนี้มีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน โดยอยู่ในกลุ่มภาษาที่เรียกว่า "ออสโตร-ไท" หรือจัดเป็นตระกูลภาษาใหญ่ออสตริก รอเจอร์ เบลนช์ (Roger Blench) ได้กล่าวว่า ถ้าข้อจำกัดของความเชื่อมต่อของตระกูลภาษาออสโตร-ไทมีความสำคัญมาก แสดงว่าความสัมพันธ์ทั้งสองตระกูลอาจไม่ใช่ภาษาที่เป็นพี่น้องกัน กลุ่มภาษากะไดอาจเป็นสาขาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่อพยพจากฟิลิปปินส์ไปสู่เกาะไหหลำ แล้วแพร่สู่จีนแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่สาขาไดของภาษากลุ่มกะไดมีการปรับโครงสร้างใหม่โดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาม้ง-เมี่ยนและภาษาจีน โลร็อง ซาการ์ (Laurent Sagart) ได้เสนอว่า ภาษาไท-กะไดดั้งเดิมได้เกิดขึ้นในยุคต้นของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนที่อาจจะอพยพกลับจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของไต้หวันไปยังชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน หรือจากจีนไปไต้หวันและเกิดการพัฒนาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนบนเกาะนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนและไท-กะไดอาจจะอธิบายได้จากคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน คำยืมในยุคก่อนประวัติศาสตร์และอื่น ๆ ที่ยังไม่รู้ นอกจากนั้นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนอาจจะมีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในบริเวณชายฝั่งของจีนภาคเหนือและภาคตะวันออก ความหลากหลายของตระกูลภาษาไท-กะไดในทางตอนใต้ของประเทศจีนบ่งบอกถึงมีความสัมพันธ์กับถิ่นกำเนิดของภาษา ผู้พูดภาษาสาขาไทอพยพจากตอนใต้ของจีนลงทางใต้เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ครั้งโบราณ เข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยและลาวบริเวณนี้เป็นบริเวณที่พบผู้พูดภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ชื่อ "ไท-กะได" มาจากการจัดแบ่งตระกูลภาษาออกเป็นสองสาขาคือ "ไท" และ "กะได" ซึ่งเลิกใช้แล้ว เนื่องจากกะไดจะเป็นกลุ่มภาษาที่เป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีกลุ่มภาษาไทรวมอยู่ด้วย ในบางบริบทคำว่ากะไดจึงใช้เรียกตระกูลภาษาไท-กะไดทั้งตระกูล แต่บางบริบทก็จำกัดการใช้คำนี้ให้แคบลง โดยหมายถึงกลุ่มภาษาขร้าที่เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษานี้. ษาคำยัง (Shyam ศยามฺ) มีผู้พูดทั้งหมด 50 คน ในหมู่บ้านโป่อ่ายมุข (Pawaimukh) ในเขตทินซูเกีย (Tinsukia District) รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ภาษาคำยังนี้มีความคล้ายคลึงกับภาษาพ่าเกและภาษาไทใหญ่ในประเทศพม่า ผู้ใช้ภาษาคำยังในปัจจุบันหลายคนสามารถอ่านและเขียนภาษาอัสสัมได้ แต่กลายเป็นว่ามีผู้เฒ่าผู้แก่เท่านั้นที่สามารถอ่านและเขียนภาษาคำยังได้ ซึ่งส่วนมากใช้สำหรับพิธีกรรมทางศาสนาในปี ค.ศ. 1981 ชาวคำยังมีความสามารถอ่านและเขียนภาษาอัสสัมเป็นภาษาที่สองได้ถึงร้อยละ 58 ชาวคำยังมีความสนิทสนมกับชาวคำตี่ในรัฐอรุณาจัลประเทศเป็นพิเศษ ปัจจุบันภาษาคำยังถือว่าเป็นภาษาที่ใกล้สูญพันธุ์ ในอนาคตภาษาคำยังคงกลายเป็นเพียงความทรงจำครั้งหนึ่งของชาวคำยังที่มีภาษาและอักษรเป็นของตนเองอยู่ เช่นเดียวกับคนไทกลุ่มอื่น ๆ ที่อยู่ในประเทศอินเดียอย่างกลุ่มอาหมที่ลืมภาษาอาหมของตนเกือบหลายร้อยปีทีเดียว และคงเป็นภาษาที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาแบบเดียวกับภาษาอาหมในไม่ช้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาคำยัง

ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาคำยัง มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กลุ่มภาษากัม-ไทกลุ่มภาษาไทภาษาอัสสัมภาษาอาหมภาษาไทใหญ่ประเทศอินเดีย

กลุ่มภาษากัม-ไท

กลุ่มภาษากัม-ไท (Kam–Tai languages) หรือ กลุ่มภาษาจ้วง-ต้ง (Zhuang–Dong languages) เป็นสาขาภาษาหลักที่มีการเสนอให้จัดแบ่งขึ้นในตระกูลภาษาไท-กะได ประกอบด้วยภาษาของชนชาติต่าง ๆ ในจีนตอนใต้และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณกว่าร้อยละ 80 ของภาษาทั้งหมดในตระกูลดังกล่าว กลุ่มภาษากัม-สุย, เบ และไท (ซึ่งเป็นกลุ่มภาษาหลัก 3 ใน 5 กลุ่มของตระกูลไท-กะได) มักถูกจัดอยู่รวมกันในกลุ่มภาษากัม-ไทเนื่องจากมีคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันจำนวนมาก อย่างไรก็ตามการจัดแบ่งเช่นนี้มีผู้โต้แย้งโดยมองว่าเป็น "หลักฐานของการไม่มีจริง" (negative evidence) ซึ่งอาจเป็นเพราะมีการแทนที่ศัพท์เข้าไปในสาขาอื่น ความคล้ายกันของระบบหน่วยคำทำให้มีนักภาษาศาสตร์จัดสาขาขร้ากับกัม-สุย เป็นกลุ่มกะไดเหนือทางหนึ่ง และสาขาไหลกับไท เป็นกลุ่มกะไดใต้อีกทางหนึ่งแทน ตำแหน่งของภาษาอังเบในข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้ถูกพิจารณาไปด้ว.

กลุ่มภาษากัม-ไทและตระกูลภาษาไท-กะได · กลุ่มภาษากัม-ไทและภาษาคำยัง · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาไท

กลุ่มภาษาไท หรือ᩵ กลุ่มภาษาไต (Tai languages; 台語支, พินอิน: tái yǔ zhī) เป็นกลุ่มภาษาย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได ประกอบด้วยภาษาไทยในประเทศไทย ภาษาลาวในประเทศลาว ภาษาไทใหญ่ในรัฐฉานของประเทศพม่า และภาษาจ้วง หนึ่งในภาษาหลักของประเทศจีนตอนใต้.

กลุ่มภาษาไทและตระกูลภาษาไท-กะได · กลุ่มภาษาไทและภาษาคำยัง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอัสสัม

อัสสัม (অসমীয়া โอสัมมิยะ; Assamese Language) เป็นภาษาที่พูดโดยชาวพื้นเมืองในรัฐอัสสัม มีผู้พูดภาษานี้ในรัฐอรุณาจัลประเทศ และรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนืออื่นๆของอินเดีย รวมทั้งในประเทศภูฏาน และบังกลาเทศด้วย จัดเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนตะวันออก คำว่าอัสสัมเป็นภาษาอังกฤษหมายถึงกลุ่มชนที่อยู่ในหุบเขาพรหมบุตร แต่พวกเขาเรียกตัวเองว่า อาหม และเรียกภาษาของเขาว่า อาหมม.

ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาอัสสัม · ภาษาคำยังและภาษาอัสสัม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหม

ษาอาหม (Ahom language) เป็นหนึ่งในกลุ่มภาษาย่อยไทพายัพ ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มกัม-ไท, เบ-ไท, ไท-แสก อยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได ภาษาอาหมนั้นมีอักษร และถ้อยคำของตนใช้สื่อสารทั้งพูดและเขียนมาอย่างต่อเนื่อง แต่ชาวอาหมในปัจจุบันนั้นหันไปใช้ภาษาอัสสัมซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้อยคำที่บันทึกจารึกไว้ในคัมภีร์ในบทสวดในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ก็แสดงให้เห็นว่านักบวชชาวไทอาหมยังใช้ภาษาไทได้อย่างสมบูรณ.

ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาอาหม · ภาษาคำยังและภาษาอาหม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทใหญ่

ษาไทใหญ่ หรือ ภาษาฉาน (ไทใหญ่:, ความไท, /kwáːm.táj/; Shan language) เป็นภาษาตระกูลไท-กะได ใช้พูดในภาคเหนือของประเทศพม่า ประเทศไทย และทางตอนใต้ของประเทศจีน มีเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้พูดที่แน่นอน เนื่องจากสงครามระหว่างพม่ากับไทใหญ่ ทำให้การเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับชาวไทใหญ่ทำได้ยาก คาดว่ามีผู้พูดราว 4-30 ล้านคน มีอักษรเป็นของตนเอง 2 ชนิดคือ อักษรไทใหญ่ ใช้ในพม่า และอักษรไทใต้คง ใช้ในจีน แม้ว่าจะมีคำกล่าวว่า "อย่ากิ๋นอย่างม่าน อย่าตานอย่างไต" ซึ่งเปรียบเทียบวิถีชีวิตของชาวพม่าที่ให้ความสำคัญกับการกินอยู่ ซึ่งแตกต่างจากชาวไทใหญ่ที่ให้ความสำคัญแก่การทำบุญ ถึงกระนั้นไทใหญ่ก็รับวัฒนธรรม ศาสนา ตลอดจนถึงคำในภาษาพม่าเข้ามามาก จนคำไทใหญ่หลายถิ่นเป็นกวามไตลอแล คือไทใหญ่พูดคำพม่าปนไปหมด เช่นที่เมืองสีป้อและเมืองยางเป็นต้น.

ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทใหญ่ · ภาษาคำยังและภาษาไทใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ตระกูลภาษาไท-กะไดและประเทศอินเดีย · ประเทศอินเดียและภาษาคำยัง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาคำยัง

ตระกูลภาษาไท-กะได มี 55 ความสัมพันธ์ขณะที่ ภาษาคำยัง มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 8.70% = 6 / (55 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาคำยัง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »