โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก

ดัชนี ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก

ตการแพร่กระจายของภาษากลุ่มออสโตรเอเชียติก ภาษากลุ่มออสโตร-เอเชียติก (Austro-Asiatic languages) เป็นภาษากลุ่มใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบางส่วนในอินเดียและบังกลาเทศ ชื่อนี้มาจากคำในภาษาละตินที่แปลว่า “ใต้” และชื่อทวีปเอเชียในภาษากรีก ดังนั้นชื่อของภาษาตระกูลนี้จึงหมายถึงเอเชียใต้ ในบรรดาภาษากลุ่มนี้ทั้งหมด ภาษาเวียดนาม ภาษาเขมร และภาษามอญเป็นภาษาที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ยาวนาน และเฉพาะภาษาเวียดนาม กับภาษาเขมรเท่านั้นที่เป็นภาษาทางการ ภาษาที่เหลือมักเป็นภาษาที่พูดโดยชนกลุ่มน้อย ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกมีการแพร่กระจายตั้งแต่อินเดีย บังกลาเทศ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แยกจากกันด้วยบริเวณที่มีผู้พูดภาษาตระกูลอื่นอยู่ จึงเชื่อกันว่าภาษาตระกูลนี้เป็นภาษาดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียตะวันออก ส่วนภาษากลุ่มอื่นในบริเวณนี้ได้แก่ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน ไท-กะได ดราวิเดียนและจีน-ทิเบตเป็นผลจากการอพยพเข้ามา มีตัวอย่างคำในภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกอยู่ในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าในเนปาลตะวันออก นักภาษาศาสตร์บางคนเชื่อว่า ภาษานี้เกี่ยวข้องกับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและจัดเป็นตระกูลใหญ่ออสตริก.

21 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาบะห์นาริกกลุ่มภาษากะตูกลุ่มภาษามอญ-เขมรกลุ่มภาษาเวียตติกภาษากรีกภาษากาสีภาษาญัฮกุรภาษามอญภาษาม้งภาษาราชการภาษาละตินภาษาเวียดนามภาษาเขมรรัฐเมฆาลัยทวีปเอเชียตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนประเทศบังกลาเทศประเทศอินเดียประเทศเนปาลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กลุ่มภาษาบะห์นาริก

กลุ่มภาษาบะห์นาริก (Bahnaric Languages) เป็นภาษาในกลุ่มมอญ-เขมร ตระกูลออสโตรเอเชียติก แบ่งเป็น 5 กลุ่มย่อย คือ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและกลุ่มภาษาบะห์นาริก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษากะตู

กลุ่มภาษากะตู (Katuic languages) อยู่ในกลุ่มภาษามอญ-เขมร ตระกูลออสโตรเอเชียติก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและกลุ่มภาษากะตู · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษามอญ-เขมร

กลุ่มภาษามอญ-เขมร เป็นกลุ่มของภาษาพื้นเมืองในแถบอินโดจีน อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกเช่นเดียวกับกลุ่มภาษามุนดาในอินเดีย การแบ่งกลุ่มย่อยของภาษาในกลุ่มนี้ ตามการแบ่งของ Diffloth ที่เขียนไว้ใน Encyclopedia Britannica เมื่อ..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและกลุ่มภาษามอญ-เขมร · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเวียตติก

กลุ่มภาษาเวียตติก หรือ กลุ่มภาษาเหวียด-เหมื่อง เป็นสาขาของภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกซึ่งรวมภาษาเวียดนามและภาษาเหมื่องไว้ในกลุ่มนี้ ภาษาเวียดนามจัดเข้าอยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติกเมื่อ..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและกลุ่มภาษาเวียตติก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากาสี

ษากาสีเป็นภาษากลุ่มออสโตรเอเชียติกใช้พูดในรัฐเมฆาลัย ประเทศอินเดีย อยู่ในสาขามอญ-เขมร และใกล้เคียงกับภาษากลุ่มมุนดาที่เป็นภาษาตระกูลออสโตรเชียติกที่มีผู้พูดในอินเดียกลาง มีผู้พูด 865,000 คน ในรัฐเมฆาลัย มีผู้พูดบางส่วนในหุบเขาตามแนวชายแดนด้านรัฐอัสสัมและในบังกลาเทศตามแนวชายแดนอินเดีย ภาษากาสีมีเรื่องเล่าพื้นบ้านมากมักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับที่มาของชื่อต่างๆของภูเขา แม่น้ำ สัตว์และอื่น.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและภาษากาสี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาญัฮกุร

ษาญัฮกุรเป็นภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก กลุ่มมอญ-เขมร กลุ่มย่อยมอญ ถือว่าใกล้เคียงกับภาษามอญโบราณในสมัยทวารวดี มีผู้พูดคือ ชาวบน ในจังหวัดนครราชสีมา เพชรบูรณ์ และชัยภูมิ บางส่วนเริ่มเปลี่ยนมาพูดภาษาไทย ภาษาญัฮกุรเดิมเป็นเพียงภาษาพูดไม่มีตัวเขียน จึงมีสถานะเป็นภาษาใกล้สูญ เมื่อ..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและภาษาญัฮกุร · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามอญ

ษามอญ (เพียซาโหม่น) เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษามอญ-เขมร ซึ่งเป็นสายหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร 12 สาย พูดโดยชาวมอญ ที่อาศัยอยู่ในพม่า และไทย ภาษาตระกูลมอญ-เขมรมีการใช้มานานประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว มีผู้ใช้ภาษานี้อยู่ประมาณ 5,000,000 คน อักษรมอญ ที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบในประเทศไทย หลักฐานที่พบคือ จารึกวัดโพธิ์ร้าง พ.ศ. 1143 เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบเอเซียอาคเนย์ เป็นจารึกที่เขียนด้วยตัวอักษรปัลลวะ ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น อักษรมอญ และได้พบอักษรที่มอญประดิษฐ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภาษามอญ ในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมืองลพบุรี ข้อความที่จารึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สันนิษฐานว่า จารึกในพุทธศตวรรษที่ 14 ราว..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและภาษามอญ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาม้ง

ษาม้งอยู่ในตระกูลแม้ว-เย้า หรือม้ง-เมี่ยน ใช้กันในชาวม้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ บางส่วนของจีนจัดเป็นภาษาคำโดด โดยหนึ่งคำมีเสียงพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ ไม่มีเสียงตัวสะกด มีวรรณยุกต์สนธิหรือการผสมกันของเสียงวรรณยุกต์เมื่อนำคำมาเรียงต่อกันเป็นประโยค ในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและภาษาม้ง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาราชการ

ษาทางการ หรือ ภาษาราชการ คือภาษาที่มีการกำหนดให้เป็นภาษาหลักในการติดต่อสื่อสารภายในประเทศและเขตแดนที่ติดต่อกับประเทศนั้น บางครั้งภาษาท้องถิ่นถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภาษาทางการเพราะมีการใช้การติดต่อกับทางส่วนการปกครองของท้องที่นั้น ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่มีภาษาทางการ 1 ภาษา บางประเทศมีภาษาทางการ 2 ภาษาขึ้นไป เช่น เบลเยียม แคนาดา ฟินแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ ขณะเดียวกันบางประเทศไม่มีภาษาทางการ เช่น สหรัฐอเมริกา สวีเดน ฯลฯ ภาษาทางการของบางประเทศที่อยู่ภายใต้อาณานิคม เช่น ภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศส ถูกใช้เป็นภาษาทางการ ถึงแม้ว่าไม่ใช่ภาษาที่มีการใช้เป็นหลักในประเทศนั้นๆ ในประเทศไอร์แลนด์ ภาษาไอร์แลนด์ (ไอริช) เป็นภาษาทางการและเป็นภาษาประจำชาติของประเทศ แต่มีผู้ใช้ภาษาไอร์แลนด์น้อยกว่า 1 ใน 3 ของประชากรประเทศ ขณะที่ผู้คนส่วนมากใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ในบางประเทศมีการโต้เถียงอย่างรุนแรง ในประเด็นที่ว่าควรใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการของประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้น ใช้ภาษาไทยมาตรฐาน เป็น "ภาษากลาง" ที่ได้พัฒนารูปแบบขึ้นมาจากภาษาไทยถิ่นกลางมาโดยลำดับ จนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นกลางอื่นๆ เรียกอีกอย่างว่าเป็นภาษาหนังสือ เป็นภาษาที่ใช้ในเอกสารราชการ การประชุมที่เป็นทางการ หนังสือ และตำราต่างๆ โดยปรากฏแนวการพัฒนาเป็นภาษากลางตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและภาษาราชการ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเวียดนาม

ษาเวียดนาม (tiếng Việt เตี๊ยงเหฺวียด, tiếng Việt Nam, Việt ngữ) เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์และเป็นภาษาทางการของประเทศเวียดนาม เป็นภาษาแม่ของประชากรเวียดนามถึงร้อยละ 87 รวมถึงผู้อพยพจากเวียดนามประมาณ 2 ล้านคน และรวมถึงชาวเวียดนาม-อเมริกันเป็นจำนวนพอสมควรด้วย ถึงแม้ว่าจะมีการยืมคำศัพท์จากภาษาจีนและเดิมใช้อักษรจีนเขียน แต่นักภาษาศาสตร์ยังคงจัดภาษาเวียดนามให้เป็นภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติกซึ่งในกลุ่มนี้ภาษาเวียดนามมีผู้พูดมากที่สุด (10 เท่าของภาษาที่มีจำนวนคนพูดเป็นอันดับรองลงมา คือ ภาษาเขมร) ในด้านระบบการเขียนของภาษาเวียดนามนั้น แต่เดิมใช้ตัวเขียนจีน เรียกว่า "จื๋อญอ" ต่อมาชาวเวียดนามได้พัฒนาตัวเขียนจีนเพื่อใช้เขียนภาษาเวียดนาม เรียกว่า "จื๋อโนม" แต่ในปัจจุบันเวียดนามใช้ตัวอักษรโรมันที่พัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส โดยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรใช้เป็นวรรณยุกต.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและภาษาเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเขมร

ษาเขมร (ភាសាខ្មែរ ภาสาแขฺมร เพียซา ขฺมะเอ) ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นหนึ่งในภาษาหลักของภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก และได้รับอิทธิพลหลายๆ ประการมาจากภาษาสันสกฤต และภาษาบาลี พอสมควร ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้เข้ามาผ่านศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู ในขณะที่อิทธิพลจากภาษาอื่นๆ โดยมากเป็นคำยืม เช่น จากภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม เป็นผลมาจากการติดต่อกันทางด้านภาษา และความใกล้ชิดกันในทางภูมิศาสตร์ และภาษาจีนจากการอพยพ ภาษาฝรั่งเศสจากการตกเป็นอาณานิคมช่วงเวลาหนึ่ง และภาษามลายูจากความสัมพันธ์ในอดีตและการที่เคยมีอาณาจักรจามปาในตอนกลางของประเทศเวียดนาม ภาษาเขมรแปลกไปจากภาษาในประเทศเพื่อนบ้าน (ภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม) เนื่องจากไม่มีเสียงวรรณยุกต.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและภาษาเขมร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเมฆาลัย

รัฐเมฆาลัย (Meghalaya) คือหนึ่งในรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย มีเขตติดต่อกับประเทศบังกลาเทศทางทิศใต้และตะวันตก และรัฐอัสสัมทางทิศเหนือและตะวันออก ในปัจจุบันหนึ่งในสามของรัฐยังคงปกคลุมไปด้วยป่าไม้ นอกจากนี้แล้ว รัฐเมฆาลัยยังถือเป็นสถานที่ ๆ ฝนตกชุกที่สุดในโลกและเป็นสถานที่ ๆ ชื้นแฉะที่สุดในโลกอีกด้ว.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและรัฐเมฆาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า

ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า เป็นตระกูลย่อยของตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ใช้พูดในเอเชียกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง พม่า ทิเบต ภาคเหนือของไทย ภาคกลางของจีน ภาคเหนือของเนปาล ภูฏาน อินเดียและปากีสถาน ภาษากลุ่มนี้มี 350 ภาษา ภาษาพม่ามีผู้พูดมากที่สุด (ประมาณ 32 ล้านคน) มีผู้พูดภาษาทิเบตทุกสำเนียงอีกราว 8 ล้านคน นักภาษาศาสตร์บางคนเช่น George van Driem เสนอให้จัดตระกูลทิเบต-พม่าขึ้นเป็นตระกูลใหญ่ และให้กลุ่มภาษาจีนมาเป็นกลุ่มย่อยแทนแต่ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน เป็นตระกูลภาษาที่มีผู้พูดกระจายไปทั่วหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก มีจำนวนน้อยบนผืนแผ่นดินของทวีปเอเชีย อยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนและตระกูลภาษายูราลิกคือสามารถสืบหาภาษาดั้งเดิมของตระกูลได้ คำว่าออสโตรนีเซียนมาจากภาษาละติน austro (ลมใต้) รวมกับคำภาษากรีก nesos (เกาะ) ตระกูลภาษานี้ได้ชื่อนี้ เพราะส่วนมากใช้พูดในบริเวณหมู่เกาะ มีเพียงไม่กี่ภาษา เช่น ภาษามลายู และ ภาษาจามที่ใช้พูดบนผืนแผ่นดิน สมาชิกของตระกูลนี้มีถึง 1,268 ภาษา หรือประมาณ 1 ใน 5 ของภาษาที่รู้จักกันทั่วโลก การแพร่กระจายจากแหล่งกำเนิดของภาษาถือว่ากว้างไกล เริ่มตั้งแต่เกาะมาดากัสการ์ ไปจนถึงเกาะทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ภาษาราปานูอี ภาษามาลากาซี และ ภาษาฮาวาย เป็นภาษาที่ใช้พูดตามรอบนอกของขอบเขตที่มีการใช้ภาษาตระกูลนี้ ภาษาตระกูลนี้มีสาขามากมาย ส่วนมากพบในไต้หวัน ภาษากลุ่มเกาะฟอร์โมซาในไต้หวันเป็นสาขาหลักของภาษาในตระกูลนี้ มีถึง 9 สาขา ภาษาที่ใช้พูดนอกเกาะฟอร์โมซาทั้งหมดอยู่ในภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย ซึ่งบางครั้งเรรียกว่าภาษานอกเกาะฟอร์โมซ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบังกลาเทศ

ังกลาเทศ (বাংলাদেশ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (গণপ্রজাতন্ত্রী বাংলাদেশ) เป็นประเทศในเอเชียใต้ ซึ่งครอบครองเนื้อที่ในส่วนตะวันตกของภูมิภาคเบงกอล คำว่า "บังกลาเทศ (Bangladesh)" แปลว่า "ประเทศแห่งเบงกอล" ถูกล้อมรอบประเทศอินเดีย 3 ด้าน ยกเว้นพรมแดนด้านใต้ติดอ่าวเบงกอล และตะวันออกเฉียงใต้ติดประเทศพม.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและประเทศบังกลาเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Austroasiatic languagesภาษากลุ่มออสโตรเอเชียติกภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติกออสโตร-เอเชียติกตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »