โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน

ดัชนี ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน

ที่ตั้งของดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร (British Overseas Territories) คือดินแดน 14 ดินแดนที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของสหราชอาณาจักร แต่ไม่ได้นับเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร.

42 ความสัมพันธ์: บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรีบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนพลิมัท (มอนต์เซอร์รัต)ภาษาละตินมหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรแอตแลนติกมหาสมุทรแปซิฟิกมอนต์เซอร์รัตยิบรอลตาร์ยูโรสหราชอาณาจักรสแตนลีย์หมู่เกาะบริติชเวอร์จินหมู่เกาะฟอล์กแลนด์หมู่เกาะพิตแคร์นหมู่เกาะเคย์แมนหมู่เกาะเติกส์และเคคอสอิพิสโกพีแคนทูนเมนต์อธิปไตยจอร์จทาวน์ (หมู่เกาะเคย์แมน)ทวีปแอนตาร์กติกาดอลลาร์สหรัฐดินแดนดีเอโกการ์ซีอาคาบสมุทรไอบีเรียคิงเอ็ดเวิร์ดพ็อยนต์ประเทศไซปรัสปอนด์สเตอร์ลิงแอดัมส์ทาวน์แองกวิลลาแอโครเทียรีและดิเคเลียแฮมิลตันแคริบเบียนโรดทาวน์โคเบิร์นทาวน์เบรดส์เบอร์มิวดาเกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิชเจมส์ทาวน์ (โรดไอแลนด์)เดอะแวลลีย์เซนต์เฮเลนา

บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี

ทางอากาศมองเห็นดีเอโกการ์ซีอา บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี (British Indian Ocean Territory) หรือ หมู่เกาะชาโกส เป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งอยู่ครึ่งทางระหว่างแอฟริกากับอินโดนีเซีย อาณาเขตครอบคลุมอะทอลล์ทั้ง 6 แห่งที่เชื่อมต่อถึงกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะชาโกส มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะดีเอโกการ์ซีอา ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของกองกำลังผสมสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี · ดูเพิ่มเติม »

บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี

บริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี หรือ ดินแดนแอนตาร์กติกาของสหราชอาณาจักร (British Antarctic Territory) เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกาซึ่งสหราชอาณาจักรประกาศอ้างสิทธิครอบครอง มีขอบเขตตั้งแต่ขั้วโลกใต้จนถึงละติจูดที่ 60 องศาเหนือ และช่วงระหว่างลองติจูด 20 องศาตะวันตก ถึงลองติจูด 80 องศาตะวันตก แม้ว่าสหราชอาณาจักรจะเริ่มอ้างสิทธิในพื้นที่นี้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2451 ก็ตาม แต่การจัดตั้งเขตการปกครองได้มีขึ้นภายหลังเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2505 พื้นที่ของดินแดนแห่งนี้ครอบคลุมดินแดนต่าง ๆ ซึ่งเคยอยู่ในความดูแลของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ถึง 3 ส่วนคือ เกรอัมแลนด์ (Graham Land) หมู่เกาะเซาท์ออร์กนีย์ (South Orkney Islands) และหมู่เกาะเซาท์เชตแลนด์ (South Shetland Islands) และทับซ้อนกับดินแดนทวีปแอนตาร์กติกาที่ประกาศอ้างสิทธิโดยอาร์เจนตินา (อาร์เจนไทน์แอนตาร์กติกา) และชิลี (จังหวัดอันตาร์ตีกาชีเลนา) ผู้ที่พำนักอยู่ในดินแดนนี้ได้แก่เจ้าหน้าที่วิจัยและสนับสนุนการสำรวจทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของคณะสำรวจทวีปแอนตาร์ติกาของสหราชอาณาจักร (British Antarctic Survey) รวมทั้งองค์กรและสถานีสำรวจของอาร์เจนตินา ชิลี และประเทศอื่น ๆ หมวดหมู่:ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร หมวดหมู่:ทวีปแอนตาร์กติกา.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี · ดูเพิ่มเติม »

บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน

ริเวณเมดิเตอร์เรเนียนที่ปลูกมะกอกได้ แผนที่การเมืองของบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean area) ประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในความหมายทางชีวภูมิศาสตร์ (biogeography) “บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน” หมายถึงบริเวณที่มีภูมิอากาศแบบภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่อุ่น, มีฝนตกระหว่างฤดูหนาว, แห้งระหว่างหน้าร้อนที่เหมาะแก่พืชพันธุ์เมดิเตอร์เรเนียน กฎที่ว่ากันง่ายๆ คือเป็นบริเวณ “โลกเก่า” (Old World) ที่ปลูกมะกอกได้.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน · ดูเพิ่มเติม »

พลิมัท (มอนต์เซอร์รัต)

ลิมัท (Plymouth) เป็นเมืองหลวงโดยนิตินัยของเกาะมอนต์เซอร์รัต ซึ่งเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในทะเลแคริบเบียน เมืองถูกทำลายจากการระเบิดของภูเขาไฟในคริสต์ทศวรรษ 1990 และถูกทิ้งร้าง ศูนย์กลางการบริหารย้ายไปตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเบรดส์ทางตอนเหนือของเกาะ พลิมัทเคยเป็นเมืองท่าเพียงแห่งเดียวของเกาะอยู่เป็นเวลาหลายศตวรรษ.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและพลิมัท (มอนต์เซอร์รัต) · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและมหาสมุทรอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

มอนต์เซอร์รัต

มอนต์เซอร์รัต เป็นดินแดนโพ้นทะเลอังกฤษในทะเลแคริบเบียน ตั้งอยู่ในแนวหมู่เกาะแอนทิลลิสน้อย (Lesser Antilles Islands) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะลีวาร์ด ยาว 16 กิโลเมตร กว้าง 11 กิโลเมตร มีพื้นที่ 40 ตารางกิโลเมตร ชื่อของเกาะมอนเซอร์รัตนี้ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เป็นผู้ตั้งขึ้นในคราวเดินทางแสวงหาโลกใหม่ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2036.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและมอนต์เซอร์รัต · ดูเพิ่มเติม »

ยิบรอลตาร์

รอลตาร์ (Gibraltar) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ใกล้กับจุดใต้สุดของคาบสมุทรไอบีเรีย ในบริเวณช่องแคบยิบรอลตาร์ มีเนื้อที่โดยรวมประมาณ 6.5 ตารางกิโลเมตร ทางทิศเหนือมีพรมแดนติดต่อกับประเทศสเปน และมีประชากรประมาณ 32,000 คน สถานที่ที่มีชื่อเสียงของยิบรอลตาร์คือ โขดหินยิบรอลตาร์ (Rock of Gibraltar) ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยาแห่งหนึ่งของโลก เดิมทียิบรอลตาร์เคยเป็นดินแดนหนึ่งของราชอาณาจักรสเปน จนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและยิบรอลตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูโร

ูโร (euro, €; รหัสธนาคาร EUR) เป็นสกุลเงินที่ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป 19 ประเทศ (ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558) ตกลงใช้ร่วมกัน เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 (บางประเทศใช้ตามในภายหลัง) 1 ยูโรแบ่งออกเป็น 100 เซนต์ แต่ชื่อเรียกของเซนต์อาจแตกต่างกันในแต่ละประเท.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและยูโร · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สแตนลีย์

แตนลีย์ (Stanley) เป็นเมืองหลวงของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ซึ่งเป็นดินแดนของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ที่เกาะอีสต์ฟอล์กแลนด์ มีประชากร 2,115 คนจากข้อมูลสำมะโนประชากรปี..

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและสแตนลีย์ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน

หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน หรือ หมู่เกาะเวอร์จินของอังกฤษ (British Virgin Islands) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่กว่า 50 เกาะ มีที่ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน ทางตะวันออกของประเทศจาเมกา เดิมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิดัตช์ (Dutch Empire) ภายหลังอังกฤษเข้ามาครอบครอง เมื่อ พ.ศ. 2215 ผู้ตั้งชื่อหมู่เกาะนี้คือ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส โดยตั้งชื่อนามนักบุญ Ursula ซึ่งตามตำนานกล่าวว่าท่านมีสาวกเป็นหญิงสาวพรหมจารีถึง 11,000 คน.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะฟอล์กแลนด์

หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (Falkland Islands) หรือ หมู่เกาะมัลบีนัส (Islas Malvinas) เป็นกลุ่มเกาะตั้งอยู่ในหมู่เกาะแอตแลนติกใต้บนไหล่ทวีปปาตาโกเนีย หมู่เกาะหลักอยู่ห่างจากชายฝั่งปาตาโกเนียที่ละติจูดราว 52° ใต้ ไปทางตะวันออกราว 500 กิโลเมตร กลุ่มเกาะมีพื้นที่ 12,173 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะฟอล์กแลนด์ตะวันออก ฟอล์กแลนด์ตะวันตก และเกาะที่เล็กกว่าอื่นอีก 776 เกาะ หมู่เกาะดังกล่าวเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร มีระดับการปกครองตนเองภายในสูง โดยมีสหราชอาณาจักรรับประกันรัฐบาลที่ดีและรับผิดชอบด้านการป้องกันภัยและการต่างประเทศ เมืองหลวง คือ สแตนลีย์บนเกาะฟอล์กแลนด์ตะวันออก มีการถกเถียงว่าด้วยการค้นพบหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ครั้งแรกและการล่าอาณานิคมโดยชาวยุโรปในกาลต่อมา หลายช่วง หมู่เกาะมีนิคมฝรั่งเศส อังกฤษ สเปนและอาร์เจนตินา อังกฤษสถาปนาการปกครองอีกครั้งใน..

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะพิตแคร์น

หมู่เกาะพิตแคร์น (Pitcairn Islands; พิตแคร์น: Pitkern Ailen) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า พิตแคร์น (Pitcairn) เป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร อยู่ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบไปด้วยกลุ่มเกาะ 4 กลุ่ม คือ เกาะพิตแคร์น เกาะแฮนเดอร์สัน เกาะดูซี และเกาะโอเอโน เกาะเหล่านี้ล้วนเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรทั้งสิ้น ซึ่งเขตนี้เป็นอาณานิคมสุดท้ายที่ยังหลงเหลืออยู่ของสหราชอาณาจักรในมหาสมุทรแปซิฟิก.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและหมู่เกาะพิตแคร์น · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะเคย์แมน

หมู่เกาะเคย์แมน (Cayman Islands) เป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรซึ่งตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียนฝั่งตะวันตก ประกอบด้วยเกาะแกรนด์เคย์แมน (Grand Cayman) เกาะเคย์แมนแบร็ก (Cayman Brac) และเกาะลิตเทิลเคย์แมน (Little Cayman) ดินแดนแห่งนี้ถือเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคแคริบเบียน.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและหมู่เกาะเคย์แมน · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะเติกส์และเคคอส

หมู่เกาะเติกส์และเคคอส (Turks and Caicos Islands) เป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรประกอบไปด้วยหมู่เกาะย่อยในเขตร้อน 2 หมู่เกาะ ได้แก่ หมู่เกาะเคคอสและหมู่เกาะเติกส์ อาณานิคมนี้ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน และมีชื่อเสียงในด้านสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นแหล่งหลบเลี่ยงภาษีของบริษัทต่างชาติ หมู่เกาะนี้อยู่ห่างจากเมืองไมแอมี รัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 970 กม.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและหมู่เกาะเติกส์และเคคอส · ดูเพิ่มเติม »

อิพิสโกพีแคนทูนเมนต์

อิพิสโกพีแคนทูนเมนต์ในแอโครเทียรี อิพิสโกพีแคนทูนเมนต์ (Episkopi Cantonment) เป็นเมืองหลวงของแอโครเทียรีและดิเคเลีย ซึ่งเป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ในเขตแอโครเทียรี นอกจากนี้อิพิสโกพีแคนทูนเมนต์ยังถูกใช้เป็นฐานทัพของกองกำลังสหราชอาณาจักรบนเกาะไซปรัสด้วย หมวดหมู่:แอโครเทียรีและดิเคเลีย.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและอิพิสโกพีแคนทูนเมนต์ · ดูเพิ่มเติม »

อธิปไตย

อธิปไตย ในทางพุทธศาสนาหมายถึงอำนาจที่มีผลต่อการตัดสิน มี 3 อำนาจ คือ อัตตาธิปไตย หมายถึงการตัดสินใจที่ถือความคิดของตนเองเป็นที่ตั้ง โลกาธิปไตย การถือตามความคิดของคนส่วนมากเป็นที่ตั้ง ธรรมาธิปไตย การถือตามความถูกต้องโดยถือหลักเหตุผลที่เหมาะสม ไม่ถือตามความเชื่ออย่างสุดโต่ง.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและอธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จทาวน์ (หมู่เกาะเคย์แมน)

จอร์จทาวน์ จอร์จทาวน์ (George Town) เป็นเมืองหลวงของหมู่เกาะเคย์แมน ซึ่งเป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร มีพื้นที่ 29 ตารางกิโลเมคร ประชากร 27,704 คน หมวดหมู่:หมู่เกาะเคย์แมน.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและจอร์จทาวน์ (หมู่เกาะเคย์แมน) · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอนตาร์กติกา

วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและทวีปแอนตาร์กติกา · ดูเพิ่มเติม »

ดอลลาร์สหรัฐ

100 ดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรที่มีค่ามากสุดในสหรัฐในปัจจุบัน ดอลลาร์สหรัฐ (United States dollar; ในเอกสารเก่าอาจพบการใช้ เหรียญสหรัฐ) เป็นสกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังใช้เป็นสกุลเงินสำรองในหลายประเทศทั่วโลก รหัสสากลคือ ISO 4217 ใช้ตัวย่อว่า USD และสัญลักษณ์ $ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเกือบ 34 บาท (baht) สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป ชื่อเล่นที่ชาวอเมริกันเรียก 1 เซนต์ ว่า "เพนนี" (penny), 5 เซนต์ ว่า "นิกเกิล" (nickel), 10 เซนต์ ว่า "ไดม์" (dime), 25 เซนต์ ว่า "ควอเตอร์" (quarter), 1 ดอลลาร์สหรัฐ ว่า "บั๊ก (ภาษาสแลง, ภาษาพูด)" (buck) และเรียก หนึ่งพันดอลลาร์สหรัฐ ว่า แกรนด์ (grand).

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและดอลลาร์สหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ดินแดน

มืองปาโกปาโกเมืองหลวงของอเมริกันซามัว ดินแดนของสหรัฐอเมริกา ดินแดน (territory) คือเขตการปกครอง อาณานิคมหรืออาณาเขตที่ยังไม่ได้รับเอกราชของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรืออาจจะยังไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติก็ได้ ดินแดนในปัจจุบันบางดินแดนมีการเรียกร้องเอกราชกันบ้างแล้ว เช่น เวสเทิร์นสะฮาราของประเทศโมร็อกโก.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและดินแดน · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอโกการ์ซีอา

ถนนในดีเอโกการ์ซีอา ดีเอโกการ์ซีอา (Diego Garcia) เป็นชื่ออะทอลล์ (เกาะปะการังวงแหวน) แห่งหนึ่งในมหาสมุทรอินเดียตอนกลาง เป็นส่วนหนึ่งของบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี (หมู่เกาะชาโกส) เกาะตั้งอยู่ที่ประมาณ 1,970 ไมล์ทะเล (3,650 กิโลเมตร) ทางตะวันออกของชายฝั่งของแอฟริกา (ที่แทนซาเนีย), ห่างออกไป 967 ไมล์ทะเล (1,790 กิโลเมตร) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย (ที่เมืองกันยากุมารี) และ 2,550 ไมล์ทะเล (4,720 กิโลเมตร) ทางตะวันตกเฉียงเหนือขอออสเตรเลีย (ที่รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย) ในอดีตกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาเข้ายึดที่นี่เพื่อใช้เป็นสถานที่ตั้งของกองทัพเรือในสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อสงครามสงบลงสหรัฐจึงได้มอบที่นี่ให้กับสหราชอาณาจักร หมวดหมู่:เกาะในมหาสมุทรอินเดีย.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและดีเอโกการ์ซีอา · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรไอบีเรีย

มุทรไอบีเรีย คาบสมุทรไอบีเรีย (Iberian Peninsula; Península Ibérica; Península Ibérica; Península Ibèrica) ตั้งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 582,860 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นคาบสมุทรที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของทวีปยุโรปรองจากคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ทางทิศเหนือติดกับเทือกเขาพิเรนีสและประเทศฝรั่งเศส ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศใต้สุดติดกับช่องแคบยิบรอลตาร์ คาบสมุทรไอบีเรียมีความยาวประมาณ 900 กิโลเมตร กว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 900 กิโลเมตร รูปร่างคล้ายสีเหลี่ยมพื้นผ้า พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและเทือกเขา พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณเทือกเขาเซียร์ราเนบาดา เป็นบริเวณแห้งแล้งมากแห่งหนึ่งในคาบสมุทร เมืองที่สำคัญที่อยู่ในคาบสมุทรไอบีเรีย ได้แก่ มาดริด บาร์เซโลนา บาเลนเซีย เซบียา บิลบาโอ ลิสบอน โปร์ตู และยิบรอลตาร.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและคาบสมุทรไอบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

คิงเอ็ดเวิร์ดพ็อยนต์

คิงเอ็ดเวิร์ดพ็อยนต์ คิงเอ็ดเวิร์ดพ็อยนต์ (King Edward Point) เป็นศูนย์กลางการบริหารของเกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเซาท์จอร์เจีย พิกัดอยู่ที่ 54 ° 17 '36 ° 30' w ที่นี่เป็นที่ตั้งของท่าเรือ และเป็นที่แห่งเดียวในเกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิชที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน หมวดหมู่:สถานีวิจัย หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์แอนตาร์กติกา.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและคิงเอ็ดเวิร์ดพ็อยนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไซปรัส

ซปรัส (Cyprus; Κύπρος คีโปรส; Kıbrıs) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐไซปรัส (Republic of Cyprus; Κυπριακή Δημοκρατία; Kıbrıs Cumhuriyeti) เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออก อยู่ทางใต้ของประเทศตุรกี 44 ไมล์ อยู่ทางตะวันตกของชายฝั่งประเทศซีเรียประมาณ 64 ไมล์ และห่างจากเกาะโรดส์ และเกาะคาร์ปาทอส ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรีซ 240 ไมล์ ไซปรัสเป็นจุดหมายหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่นักท่องเที่ยวนิยมไปมากที่สุด โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 2.4 ล้านคนต่อปี ไซปรัสได้รับเอกราชจากการเป็นอาณานิคมจากสหราชอาณาจักร เมื่อปี 1960 และเป็นประเทศสมาชิกในเครือจักรภพในปี 1961.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและประเทศไซปรัส · ดูเพิ่มเติม »

ปอนด์สเตอร์ลิง

ปอนด์สเตอร์ลิง (pound sterling) คือ มาตราเงินของอังกฤษ.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและปอนด์สเตอร์ลิง · ดูเพิ่มเติม »

แอดัมส์ทาวน์

แอดัมส์ทาวน์ (Adamstown) คือเมืองหลวงของหมู่เกาะพิตแคร์นอีกทั้งยังเป็นชุมชนแห่งเดียวของหมู่เกาะ ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของเกาะ มีประชากร 48 คน (ค.ศ. 2007) ชุมชนนี้ถือว่าเป็นเมืองหลวงที่เล็กที่สุดในโลก การเดินทางไปแอดัมส์ทาวน์นั้นทำได้ทางเรือเท่านั้น หมวดหมู่:ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและแอดัมส์ทาวน์ · ดูเพิ่มเติม »

แองกวิลลา

แองกวิลลา (Anguilla) เป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในทะเลแคริบเบียน หนึ่งในกลุ่มเกาะที่อยู่ทางเหนือสุดของหมู่เกาะลีเวิร์ดในภูมิภาคเลสเซอร์แอนทิลลิส แองกวิลลาประกอบด้วยเกาะหลักแองกวิลลายาว 26 กิโลเมตร (16 ไมล์) กว้าง 5 กิโลเมตร (3 ไมล์) และกลุ่มเกาะเล็ก ๆ ซึ่งไม่มีคนอาศัยอย่างถาวร เมืองหลักของดินแดนแห่งนี้คือเดอะแวลลีย์ (The Valley) มีเนื้อที่รวมทั้งหมด 102 ตารางกิโลเมตร (39.4 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 13,500 คน (พ.ศ. 2549).

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและแองกวิลลา · ดูเพิ่มเติม »

แอโครเทียรีและดิเคเลีย

แอโครเทียรีและดิเคเลีย (Akrotiri and Dhekelia) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร แอโครเทียรีและดิเคเลียเป็นพื้นที่ฐานอำนาจอธิปไตยตั้งอยู่บนเกาะไซปรัส ซึ่งบริหารจัดการโดยกองทัพสหราชอาณาจักร หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลที่นี่คือกระทรวงกลาโหม ดินแดนนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 254 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 7,500 คน ดินแดนนี้เป็นดินแดนที่มีข้อพิพาทกับประเทศไซปรัสต้องการที่จะปกครองดินแดนนี้แทนสหราชอาณาจักร อาณาเขตของดินแดนครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3% ของเกาะไซปรัส ดินแดนนี้มีพื้นที่สองส่วนแยกกัน คือแอโครเทียรีมีพื้นที่ 123 ตารางกิโลเมตร และดิเคเลียมีพื้นที่ 131 ตารางกิโลเมตร แอโครเทียรีตั้งอยู่ทางใต้ของเกาะไซปรัส ส่วนดิเคเลียตั้งอยู่ทางตะวันออก ซึ่งอยู่ในเขตของไซปรัสเหนือ.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและแอโครเทียรีและดิเคเลีย · ดูเพิ่มเติม »

แฮมิลตัน

แฮมิลตัน (Hamilton) เป็นเมืองหลวงของดินแดนเบอร์มิวดา ซึ่งเป็นดินแดนของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางตอนกลางของเกาะ มีประชากรประมาณ 1,800 คน แฮมิลตันเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของดินแดน นอกจากนี้แฮมิลตันยังเป็นหนึ่งในบรรดาเมืองหลวงขนาดเล็กที่สุดโดยประชากร.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและแฮมิลตัน · ดูเพิ่มเติม »

แคริบเบียน

แคริเบียน (The Caribbean) เป็นกลุ่มประเทศและหมู่เกาะต่างในเขตทะเลแคริเบียนซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเม็กซิโก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเวเนซูเอลา มีรัฐอยู่ราวๆ 25 รัฐซึ่งรวมรัฐอิสระและรัฐภายใต้ความคุ้มครอง (dependencies).

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและแคริบเบียน · ดูเพิ่มเติม »

โรดทาวน์

มืองโรดทาวน์ หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน โรดทาวน์ตั้งอยู่บนบริเวณกลางชายฝั่งทางใต้เกาะทอร์โทลา เป็นเมืองหลวงของประเทศหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน ซึ่งเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร ชื่อเมืองมาจากศัพท์ทางการเดินเรือ "The Roads" (บริเวณนอกอ่าวที่เรือสมารถทอดสมอได้).

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและโรดทาวน์ · ดูเพิ่มเติม »

โคเบิร์นทาวน์

นที่ตั้งโคเบิร์นทาวน์ในหมู่เกาะเติกส์และเคคอส โคเบิร์นทาวน์ (Cockburn Town) เป็นเมืองหลวงของหมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส ซึ่งเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่พิกัดที่ 21.459 องศาเหนือ 71.139 องศาตะวันตก มีประชากร 3,700 คน หมวดหมู่:หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและโคเบิร์นทาวน์ · ดูเพิ่มเติม »

เบรดส์

รดส์ (Brades) เป็นหมู่บ้านและเมืองหลวงโดยพฤตินัยของมอนต์เซอร์รัตซึ่งเป็นดินแดนของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่บริเวณลิตเทิลเบย์ทางทิศเหนือของเกาะ มีประชากรประมาณ 1,000 คน พลิมัทซึ่งเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการของมอนต์เซอร์รัตถูกทิ้งร้างหลังจากเกิดภูเขาไฟระเบิดในปี..

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและเบรดส์ · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์มิวดา

อร์มิวดา เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาห่างจากรัฐนอร์ทแคโรไลนาไปทางตะวันออก 580 ไมล์ เบอร์มิวดาเป็นดินแดนโพ้นทะเลที่เก่าแก่ที่สุดของสหราชอาณาจักร ที่ยังคงเหลืออยู่ โดยมีชาวอังกฤษมาตั้งรกรากก่อนการรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรถึงสองศตวรรษ โดยค้นพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1609).

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและเบอร์มิวดา · ดูเพิ่มเติม »

เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช

เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนวิช (South Georgia and the South Sandwich Islands, SGSSI) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ โดยตกเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2528 จากการทำสงครามกรณีพิพาทหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ระหว่างอังกฤษกับอาร์เจนตินา ดินแดนนี้ถูกปกครองโดยตรงจากหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ หมวดหมู่:สหราชอาณาจักร หมวดหมู่:ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ หมวดหมู่:ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2528 หมวดหมู่:เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและเกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ทาวน์ (โรดไอแลนด์)

มส์ทาวน์ (Jamestown) เป็นเมืองในนิวพอร์ตเคาน์ตี โรดไอแลนด์ สหรัฐอเมริกา ในปี..

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและเจมส์ทาวน์ (โรดไอแลนด์) · ดูเพิ่มเติม »

เดอะแวลลีย์

เดอะแวลลีย์ (The Valley) เป็นเมืองหลวงของแองกวิลลา ซึ่งเป็นดินแดนของสหราชอาณาจักร มีประชากร 1,169 คน หมวดหมู่:แองกวิลลา.

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและเดอะแวลลีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์เฮเลนา

ซนต์เฮเลนา เป็นเกาะภูเขาไฟและอยู่ในเครือจักรภพของสหราชอาณาจักร อยู่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก เกาะใกล้เคียงก็อยู่ในเครือจักรภพเช่นกัน ทั้งเกาะแอสเซนซันและตริสตัน ดา กุนญา เซนต์เฮเลนาเป็นที่รู้จักเมื่อครั้งที่จักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ตแห่งฝรั่งเศส ถูกเนรเทศไปที่เกาะนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2358 จนสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2364 สถานที่สำคัญคือ ลองวู้ด เฮาส์ (Longwood House) อันเป็นสถานที่ที่นโปเลียนพำนักระหว่างการเนรเทศอยู่ และแซน แวลลี (Sane Valley) ซึ่งที่ฝังพระศพ เกาะนี้เคยเป็นของฝรั่งเศสจนกระทั่งกลายมาเป็นของอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2401 เซนต์เฮเลนาเป็นสมาชิกของสมาคมการกีฬาหมู่เกาะนานาชาติ (International Island Games Associetion).

ใหม่!!: ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนและเซนต์เฮเลนา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

British Overseas Territoriesอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรอาณานิคมโพ้นทะเลของอังกฤษดินแดนโพ้นทะเลบริติชดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »